คณะกรรมการรัฐสภาเกาหลีใต้ ลงมติเสนอแก้ไขกฎหมายในพระราชบัญญัติธุรกิจโทรคมนาคม ห้าม Google และ Apple จากการบังคับเก็บค่าคอมมิชชั่นนักพัฒนาจากการซื้อในแอป ขั้นตอนต่อไปคือ การลงคะแนนเสียงขั้นสุดท้ายในรัฐสภา
Kosta Eleftheriou ผู้สร้างแอปคีย์บอร์ด FlickType ที่ออกแบบมาสำหรับคนที่มีปัญหาด้านการมองเห็นหรือตาบอด ประกาศหยุดพัฒนาคีย์บอร์ดบน iOS หลังแอปเปิลบล็อคอัพเดตโดยให้เหตุผลว่าแอปของเขาต้องขออนุญาต full access จากผู้ใช้ถึงจะใช้งานได้ ซึ่งไม่เป็นความจริง เพราะแอปของเขาออกแบบมาให้ใช้งานในโหมด VoiceOver ได้ และต้องใช้สิทธิ์ full access สำหรับการพิมพ์แบบ tap typing ซึ่งแอปจะคาดเดาคำที่ผู้ใช้ต้องการพิมพ์จากตำแหน่งที่ผู้ใช้สัมผัสหน้าจอเท่านั้น
วุฒิสมาชิกสหรัฐ Richard Blumenthal, Marsha Blackburn และ Amy Klobuchar เสนอกฎหมาย Open App Markets Act มีเป้าหมายเพื่อกำกับดูแลตลาดแอปพลิเคชัน โดยมีเป้าหมายสำคัญคือ Google และ Apple ที่มีอำนาจในการกำหนดเงื่อนไขของตลาดแอป โดยเฉพาะเรื่องการบังคับเงื่อนไขจ่ายเงินในแอป ซึ่งเป็นประเด็นสำคัญที่ทำให้ Apple โดนเพ่งเล็งเรื่องผูกขาดในช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมา
เป็นอีกความพยายามร่วมกันของบริษัทเทคโนโลยีจีน ที่จะติดตามข้อมูลผู้ใช้งาน iPhone เพื่อทำการโฆษณาเจาะกลุ่มได้ แต่ก็ต้องล้มเหลว โดย Financial Time รายงานว่า Baidu, Tencent และ TikTok ของ ByteDance ทำงานร่วมกับบริษัทสองแห่งในปักกิ่งเพื่อพัฒนาวิธีการใหม่ในการติดตาม iPhone สำหรับทำโฆษณาที่เรียกว่า CAID สามารถติดตามผู้ใช้ได้ แม้ผู้ใช้งานจะตั้งค่าปฏิเสธไม่ให้เข้าถึง Advertising Identifier (IDFA)
ทางบริษัทจีนพยายามทดสอบระบบมาตั้งแต่เดือนมีนาคม และความเคลื่อนไหวล่าสุดคือ แอปเปิลปฏิเสธการอัปเดตแอปจีนใน App Store หลายแอป ที่ตรวจพบว่ามีระบบ CAID
ต่อเนื่องจากที่แอปเปิลออกรายงาน อธิบายเหตุผลว่าการให้ผู้ใช้ iOS ต้องโหลดแอปผ่าน App Store เท่านั้น ก็เพื่อความปลอดภัยในการใช้งาน ล่าสุด Fast Company ได้สัมภาษณ์ Erik Neuenschwander หัวหน้าฝ่ายความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้งานของแอปเปิล โดยเขาย้ำว่าการเปิดให้โหลดแอปจากนอก App Store ได้นั้น มีความเสี่ยงในการใช้งาน
เขายอมรับว่าแนวทางนี้ของแอปเปิล เป็นข้อจำกัดและไม่สร้างทางเลือกให้ผู้ใช้งาน แบบที่ทำได้ในระบบปฏิบัติการอื่น (ซึ่งคงตีความเป็นอื่นไม่ได้นอกจาก Android) ที่ผ่านมาผู้ใช้งาน iOS ก็เข้าใจเงื่อนไขนี้
แอปเปิลออกเอกสารรายงาน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการชี้แจงต่อหน่วยงานกำกับดูแลในสหรัฐ อังกฤษ และยุโรป จากประเด็นการผูกขาดทางการค้าในแพลตฟอร์มบนมือถือ ซึ่งแอปเปิลไม่เปิดให้ผู้ใช้งานลงแอปจากแหล่งภายนอกได้เอง หากไม่ผ่าน App Store ที่เป็นระบบของแอปเปิลเอง
คำอธิบายของแอปเปิลอาจไม่มีประเด็นใหม่หากติดตามเรื่องนี้มาตลอด โดยแอปเปิลย้ำว่าการให้ผู้ใช้งานโหลดแอปจากแหล่งภายนอกได้เอง เป็นการลดความปลอดภัยของ iOS เพิ่มความเสี่ยงในการใช้งาน โดยยกตัวอย่างเช่น เด็กสามารถดาวน์โหลดเกมที่พ่อแม่ไม่สามารถควบคุมผ่าน Parental Control ได้, แอปอาจเข้ามาล็อกโฟลเดอร์ภาพถ่ายได้, แอปอาจเก็บข้อมูลเบื้องหลังโดยผู้ใช้งานไม่รู้ตัวได้ เป็นต้น
Federal Cartel Office (FCO) หน่วยงานด้านต่อต้านการผูกขาดของเยอรมนี (ชื่อภาษาเยอรมันคือ Bundeskartellamt) ประกาศเริ่มกระบวนการสืบสวนแอปเปิล ว่ามีพฤติกรรมผูกขาดตลาดหรือไม่ จากประเด็น App Store ที่กำลังร้อนแรงในช่วงหลัง เพราะเป็นช่องทางที่แอปเปิลใช้บีบการทำงานของบริษัท third party รายอื่น โดยเฉพาะเรื่องการบังคับจ่ายเงินในแอพ และการหักส่วนแบ่ง 30%
เยอรมนีเพิ่งออกกฎหมายการแข่งขันการค้าฉบับใหม่ German Competition Act ช่วงต้นปี 2021 ทำให้ FCO มีอำนาจมากขึ้น โดยเฉพาะการสอบสวนบริการดิจิทัลที่มีความไม่ชัดเจนเรื่องพรมแดนการทำธุรกิจ
การสอบสวนของ FCO เพิ่งอยู่ในขั้นเริ่มต้นเท่านั้น ประกาศนี้เป็นการแจ้งต่อแอปเปิลและสาธารณะให้รับทราบ
Kosta Eleftheriou นักพัฒนาใน FlickType ไปเจอความผิดพลาดในระบบให้เรตติ้งของแอปบน iOS ตัวแอปจะไม่สามารถเปิดใช้งานได้ หากผู้ใช้งานไม่ให้เรตติ้ง 5 ดาว
ตามปกติแล้ว เมื่อจะใช้งานแอป ผู้ใช้มีทางเลือกที่จะกด Not Now เพื่อจะให้เรตติ้งแอปในภายหลังได้ แต่ความผิดพลาดที่เกิดขึ้นจากการทดสอบใช้แอป UPNP Xtreme คือกด Not Now ไม่ได้ และกดรีวิวต่ำกว่า 5 ดาวก็ไม่ได้ ต้องกด 5 ดาวเท่านั้นถึงจะใช้งานได้ ดูได้จากวิดีโอตัวอย่างด้านล่าง ล่าสุดพบว่าแอปดังกล่าวถูกลบออกไปแล้ว
อีกหนึ่งข้อมูลที่ถูกเปิดเผยในคดี Epic v. Apple เป็นอีเมลที่ถูกส่งภายใน เพื่อถกเรื่องการแจ้งผู้ใช้ที่ดาวน์โหลดแอปอันตราย กว่า 2,500 แอป ที่มียอดดาวน์โหลดกว่า 203 ล้านครั้ง โดยผู้ใช้กว่า 128 ล้านคน บน App Store ในปี 2015
ในอีเมลพูดถึงความยุ่งยากในการแปลภาษาให้ถูกต้องตามภาษาท้องถิ่น รวมถึงการแจ้งชื่อแอปที่อันตรายให้กับผู้ใช้ เนื่องจากแอปเหล่านี้ถูกดาวน์โหลดโดยผู้ใช้จากทั่วโลก ทำให้ผู้บริหารตัดสินใจไม่ส่งอีเมลแจ้งผู้ใข้ที่ได้รับผลกระทบโดยตรง
หลัง Apple บังคับแอปต่างๆ ว่าต้องขออนุญาตผู้ใช้งานก่อนติดตามข้อมูลผู้ใช้ ตามนโยบาย App Tracking Transparency ของ iOS 14.5 และทำให้การเก็บข้อมูลของ Google และ Facebook ทำได้ยากขึ้น โดยอ้างว่าทั้งหมดทำไปเพื่อผู้ใช้งาน ล่าสุด Apple ได้เปิดขายโฆษณาในหมวด Search ของ App Store ซะเอง โดยยิงโฆษณาจากข้อมูลที่เก็บมาจากผู้ใช้
คดีความผูกขาดและการปะทะระหว่าง Apple และ Epic เผยให้เห็นรายละเอียดอื่นๆ เพิ่มเติม โดยเว็บไซต์ 9to5Mac พบเอกสารอีเมลส่งกันภายในองค์กรในปี 2018 ที่ระบุว่า Apple พยายามยับยั้งไม่ให้ Netflix ทดสอบยกเลิกระบบ IAP ของ Apple (In-App Purchase) เพื่อหลีกเลี่ยงการโดนหักส่วนแบ่ง 30% โดย Apple พยายามทำทุกทาง แสดงให้เห็นว่า การตัดสินใจของ Netflix ส่งผลต่อ Apple อย่างมาก
Carson Oliver ผู้อำนวยการฝ่ายการจัดการธุรกิจ App Store ระบุในอีเมลว่า จากการตัดสินใจของ Netflix ที่จะทดสอบไม่รับสมาชิกผ่าน App Store นั้นจะส่งผลต่อประสบการณ์ลูกค้า และโอกาสในการร่วมมือกันทางการตลาดระหว่าง Apple และ Netflix นอกจากนี้ Oliver ยังระบุถึงมาตรการโต้กลับ Netflix ด้วยเช่น ดึงเนื้อหาของ Netflix ออกจากแพลตฟอร์มในช่วงการทดสอบ
เมื่อปลายปีที่แล้ว แอปเปิลออกกฎให้แอพบน App Store ต้องประกาศข้อมูลความเป็นส่วนตัว แอพต้องระบุว่าเก็บข้อมูลใดบ้าง
วันนี้ กูเกิลเดินตามรอยแอปเปิลโดยประกาศมาตรการแบบเดียวกันของ Google Play Store ให้แอพต้องประกาศข้อมูลด้านความปลอดภัย (เช่น การเข้ารหัส), การเก็บข้อมูล-วิธีการให้ผู้ใช้ขอลบข้อมูลตัวเอง, นโยบายด้านเด็กและครอบครัว ฯลฯ
ประกาศของกูเกิลเป็นแค่การแจ้งเตือนล่วงหน้าให้เตรียมตัว รายละเอียดว่าจะต้องประกาศอะไรบ้างจะตามมาใน Q3/2021, เริ่มรับข้อมูลจากนักพัฒนาใน Q4/2021, เริ่มแสดงข้อมูลให้ผู้ใช้เห็น Q1/2022 และเส้นตายที่นักพัฒนาต้องประกาศข้อมูลคือ Q2/2022
คณะกรรมการยุโรป (European Commission) ส่งจดหมายถึงแอปเปิล ให้รับทราบว่า EC ประเมินเบื้องต้น (preliminary view) ว่าแอปเปิลกีดกันการแข่งขันในตลาดเพลงสตรีมมิ่ง
มุมมองของ EC คือ แอปเปิลใช้เงื่อนไขเรื่อง in-app purchase (IAP) บน App Store ทำให้บริการ Apple Music ของตัวเองได้เปรียบในการแข่งขันเหนือคู่แข่งรายอื่นๆ
จุดเริ่มต้นของเรื่องนี้มาจากคำร้องเรียนของ Spotify ทำให้ EC เริ่มเข้ามาสอบสวนแอปเปิลในเดือนมิถุนายน 2020 และได้ข้อสรุป (เบื้องต้น) ว่าแอปเปิลกีดกันการแข่งขันจริง จากนโยบายบังคับ IAP ผ่าน App Store และห้ามนักพัฒนาแอพโฆษณาวิธีการจ่ายเงินทางอื่น
App Store ได้ออกอัพเดตแอปเก่าที่ไม่มีอัพเดตมานานในวันนี้ ซึ่งไม่ใช่การอัพเดตฟีเจอร์หรือแก้ไขบั๊กจากฝั่งผู้พัฒนา แต่แอปเปิลได้อัพเดตแอปเหล่านี้ให้เอง ระบุรายละเอียดว่าเป็นการปรับปรุงการลงชื่อในใบรับรอง (Signing Certificate) ให้เป็นเวอร์ชันล่าสุด เพื่อรองรับ iOS 14.5
ทั้งนี้ฝั่งผู้พัฒนาแอปไม่ต้องทำอะไรเพิ่มเติมแต่อย่างใด โดยแอปเปิลได้ส่งอีเมลแจ้งนักพัฒนาถึงการเปลี่ยนแปลงนี้ด้วย
การออกอัพเดตนี้อาจบอกใบ้ได้ว่า iOS 14.5 น่าจะออกมาให้อัพเดตสำหรับผู้ใช้งานทั่วไปเร็ว ๆ นี้
ที่มา: MacRumors
หลัง Apple ออกกฎว่านักพัฒนาแอพต้องประกาศในหน้า App Store ว่าเก็บข้อมูลอะไรของผู้ใช้บ้าง ในหมวด “App privacy” ที่มีผลบังคับใช้วันที่ 8 ธันวาคม ปี 2020 Google ต้องใช้เวลาถึงประมาณ 2 เดือน ในการอัพเดตข้อมูลนี้ โดยเริ่มจากแอพ Gmail อัพเดตข้อมูลในวันที่ 22 กุมภาพันธ์ หลังจากนั้นจึงเพิ่มมาเรื่อยๆ และครบแล้วในวันนี้ โดยแอพสุดท้ายเพิ่มข้อมูลหมวด App privacy คือ Google Photos
การออกกฎ App privacy นี้ ทำให้แอพของ Google หลายแอพบน iOS อัพเดตช้ากว่าปกติ เช่นแอพ Gmail ก็ไม่ได้อัพเดตกว่าสองเดือน ก่อนจะมีข้อมูล App privacy ในเดือนกุมภาพันธ์ ก่อนได้รับอัพเดตเมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2021 และในปัจจุบัน แอพ Google Maps กับ Google Photos แม้จะมีข้อมูล App privacy ในหน้า Store แล้ว แต่ก็ยังไม่ได้รับการอัพเดตเวอร์ชันใหม่มานานกว่า 4 เดือน
แอปเปิลยอมทำตามกฎหมายรัสเซีย แสดงการแนะนำแอปพลิเคชั่นของรัสเซียใน App Store เช่น Yandex Browser, Yandex Maps ซึ่งเป็นบราวเซอร์ที่ใช้กันแพร่หลายในรัสเซีย รวมถึงแอปอื่นๆ ที่พัฒนาโดยนักพัฒนารัสเซีย เช่น ICQ, VK, Mail.ru โดยมีข้อความที่แอปเปิลระบุไว้ก่อนแสดงแอปแนะนำว่า เพื่อให้เป็นไปตามข้อกำหนดทางกฎหมายของรัสเซีย
ย้อนกลับไปในปี 2015 บริษัท PMC (Personalized Media Communications) ผู้ออกใบอนุญาตสิทธิบัตรเดิมฟ้องแอปเปิลอ้างว่าบริษัทละเมิดสิทธิบัตร 7 รายการ นำมาใช้ในเทคโนโลยี FairPlay หรือระบบตรวจสอบสิทธิ์ (DRM) แอปที่ซื้อผ่าน iTunes, App Store และ Apple Music ซึ่งล่าสุดศาลเท็กซัสตัดสินว่าแอปเปิลผิด และต้องจ่าย 308.5 ล้านเหรียญ
จากประกาศของกูเกิล เรื่องการลดค่าธรรมเนียม Play Store ลงจาก 30% เป็น 15% ซึ่งก็คือลดลงครึ่งหนึ่ง มีผลกับนักพัฒนาในรายได้ 1 ล้านดอลลาร์แรกต่อปี กูเกิลบอกว่าการเปลี่ยนแปลงนี้มีผลกับนักพัฒนาถึง 99% ก็อาจมีข้อสงสัยว่ากูเกิลรายได้จะหายไปมากน้อยแค่ไหน
บริษัทวิจัยตลาดแอปมือถือ Sensor Tower ประเมินจากตัวเลขจากรายได้ Play Store ปี 2020 ที่ 11,600 ล้านดอลลาร์ โดยคาดว่าการลดค่าธรรมเนียมนี้ ถ้าเป็นปี 2020 จะทำให้กูเกิลเสียรายได้ไปประมาณ 587 ล้านดอลลาร์ คิดเป็น 5% ของรายได้รวม
แอปเปิลยังคงโปรโมตนโยบายความเป็นส่วนตัวในการใช้งาน โดยล่าสุดได้เพิ่มหน้าเว็บไซต์ รวบรวมข้อมูลแอป 1st Party ทั้งหมดของแอปเปิลเอง ทั้งบน iOS, iPadOS, macOS, watchOS และ tvOS ว่าเก็บข้อมูลส่วนตัวผู้ใช้งานอะไรบ้าง
ที่น่าสนใจคือรายงานนี้ มีทุกแอปแม้กระทั่ง Xcode ที่เก็บข้อมูลการใช้งานบางอย่าง แต่ไม่ระบุตัวตนผู้ใช้ และบางแอปก็ลงรายละเอียดแยกเป็นเวอร์ชันที่แตกต่างกันของระบบปฏิบัติการ อาทิ Classroom หรือ GarageBand
ข้อมูลเหล่านี้แอปเปิลได้แสดงไว้ในหน้าแต่ละแอป ที่อยู่บน App Store ด้วยเช่นกัน
หน่วยงานกำกับดูแลการแข่งขันของสหราชอาณาจักร (Competition and Markets Authority หรือ CMA) ประกาศกำลังสอบสวนแอปเปิล หลังมีการร้องเรียนเข้ามาว่า ข้อกำหนดและเงื่อนไขสำหรับนักพัฒนาแอปลง App Store นั้นไม่เป็นธรรม และไม่เอื้อให้เกิดการแข่งขันทางการค้า ซึ่งอาจทำให้ลูกค้าเสียโอกาสในการซื้อและใช้แอป
กูเกิลออกอัพเดตแอป YouTube บน iOS เป็นครั้งแรกในรอบมากกว่า 2 เดือน ทำให้เป็นแอปที่มีฐานผู้ใช้งานสูงแอปแรกของกูเกิล ที่ออกอัพเดตบน iOS หลังจากแอปเปิลออกกฎใหม่ ให้นักพัฒนาต้องเปิดเผยว่าเก็บข้อมูลใดบ้าง
ในช่วง 2 เดือนที่ผ่านมา กูเกิลไม่ได้ออกอัพเดตแอปบน iOS จากปกติที่มีความถี่ในการอัพเดตสม่ำเสมอ จนเกิดข้อสงสัยตามมา แต่กูเกิลก็ยืนยันในตอนนั้นว่าจะออกอัพเดตแน่นอน
Kosta Eleftheriou ผู้พัฒนาแอป FlickType แอปคีย์บอร์ดแบบปาด (swipe) บน Apple Watch ออกมาทวีตแฉปัญหาบน App Store ว่ามีแอปคู่แข่งของเขาและแอปอื่นๆ ที่ใช้งานไม่ได้จริง แต่กลับทำเงินได้เดือนละหลายแสนดอลลาร์สหรัฐ จากระบบจ่ายเงินแบบ subscription รายสัปดาห์ (ที่เมื่อกดจ่ายแล้ว ถึงจะยกเลิกก็ยังเสียเงิน) โดยแอปคีย์บอร์ดปลอมบางแอปถึงกับขโมยวิดีโอโฆษณาของเขาไปใช้เป็นโฆษณาบน Facebook ของตัวเองเลยทีเดียว
แอปเปิลกำหนดให้นักพัฒนาแอปใน App Store ต้องเพิ่มข้อมูลว่าเก็บข้อมูลใดบ้างของผู้ใช้งาน มีผลตั้งแต่ 8 ธันวาคม ปีที่แล้ว ซึ่งมีผู้สังเกตว่า กูเกิล ไม่มีการออกอัปเดตแอปในเครือบน App Store เลย นับตั้งแต่ข้อกำหนดนี้มีผล ซึ่งหลังมีรายงานออกไป กูเกิลก็ชี้แจงในตอนนั้นว่าเตรียมออกอัปเดตภายใน 1-2 สัปดาห์
ตอนนี้ 1-2 สัปดาห์ที่ว่าได้ผ่านไปแล้ว กูเกิลก็ยังไม่ออกอัปเดตแอปใด ๆ ใน App Store ซึ่งคิดเป็นเวลารวมมากกว่า 1 เดือนแล้ว
แอปเปิลแบนแอพ Parler โซเชียลเน็ตเวิร์คของฐานเสียง Donald Trump ออกจาก App Store แล้ว ตามหลังกูเกิลที่แบน Parler ไปก่อนหน้านี้
เหตุผลที่แอปเปิลแบนคือ Parler ละเมิดเงื่อนไขของ App Store เรื่องมาตรการคัดกรองเนื้อหาที่รุนแรง และก่อนหน้านี้แอปเปิลแจ้ง Parler ให้ปรับมาตรการแล้ว แต่แอปเปิลมองว่ามาตรการที่ Parler แจ้งมานั้นยังไม่เพียงพอ จึงตัดสินใจแบน Parler จนกว่าจะแก้ปัญหาได้
ตอนนี้คนใกล้ชิด Donald Trump หลายคนเริ่มหันไปใช้ Parler กันบ้างแล้ว เช่น Eric Trump และ Donald Trump Jr. ลูกชายของเขาทั้งสองคน และนักการเมืองที่ใกล้ชิดกับ Trump เช่น Ted Cruz ก็เปิดบัญชีบน Parler แล้ว
แอปเปิลรายงานสถิติตัวเลขของกลุ่มธุรกิจซอฟต์แวร์อินเทอร์เน็ตและบริการ (Internet Software and Services) ในปี 2020 ซึ่งเป็นธุรกิจของแอปเปิลที่มีการเติบโตสูงต่อเนื่องมาหลายไตรมาส
โดยช่วงเทศกาลวันหยุดที่ผ่านมามีการใช้จ่ายผ่าน App Store มากถึง 1.8 พันล้านดอลลาร์ ส่วนใหญ่เป็นการใช้จ่ายในเกม เฉพาะในวันปีใหม่การใช้จ่ายนั้นสูงถึง 540 ล้านดอลลาร์ แอปเปิลยังบอกว่าได้จ่ายเงินให้นักพัฒนาไปแล้วมากกว่า 2 แสนล้านดอลลาร์ นับตั้งแต่ App Store เปิดตัวในปี 2008
Apple Music ก็ทำสถิติใหม่สูงสุดเช่นกัน โดยมีการฟังเพลงที่มากขึ้น และผู้ใช้ iOS 14 เกือบ 90% ได้เข้ามาใช้งานคุณสมบัติใหม่ อาทิ "ฟังตอนนี้", สถานีวิทยุส่วนตัว และอื่น ๆ