Amazon Web Services
AWS เปิดตัวเครื่องตระกูลใหม่ Bare Metal Instance หรือ i3.metal เซิร์ฟเวอร์ที่ไม่มีระบบ hypervisor มาแย่งทรัพยากรในเครื่อง ไม่ว่าจะเป็นซีพียูหรือแรม
เครื่อง i3.metal ใช้ซีพียู Xeon E5-2686v4 รวม 72 คอร์ แรม 512 GiB, SSD 15.2 เทราไบต์, เน็ตเวิร์ค 25 Gbps
การทำเครื่องเปล่ามาขายได้อาศัยระบบจัดการฮาร์ดแวร์ใหม่ที่ชื่อว่า Nitro ทำให้ไม่ต้องมีเอเจนต์มารันเครื่องอีกต่อไป Nitro ใช้มาตั้งแต่เครื่องตระกูล C5 และเครื่องที่ใช้ VMware เครื่อง i3.metal จึงสามารถใช้งานอิมเมจของเครื่อง C5 ได้ด้วยเช่นกัน
ที่มา - AWS Blog
AWS เปิดตัวโครงการให้เงินทุนสำหรับการวิจัยด้าน machine learning ในชื่อว่า AWS Machine Learning Research Awards โดยใช้คลาวด์ของ Amazon โดยจะให้เป็นรางวัลกับสถาบันที่ทำการวิจัย และเครดิตในการใช้แพลตฟอร์ม AWS เพื่อช่วยดึงดูดให้นักวิจัยมาใช้แพลตฟอร์มของ AWS มากยิ่งขึ้น
Amazon เริ่มเข้าสู่สมรภูมิ VR และ AR ด้วย Sumerian เครื่องมือสำหรับนักพัฒนาในการนำโมเดลสามมิติมาใช้กับระบบ VR และ AR โดยมีไลบรารีของวัตถุที่มาพร้อมกับโมเดลเต็มตัวที่สามารถใช้งานได้ทันที กับการรองรับไฟล์ประเภท FBX และ OBJ และยังสามารถนำเข้าข้อมูลจากโปรเจค Unity ได้ด้วย
Sumerian ถูกออกแบบมาเพื่อเน้นกลุ่มนักพัฒนาที่เพิ่งเริ่มพัฒนาระบบสามมิติโดยเฉพาะ เพื่อตอบสนองความต้องการในยุคปัจจุบันที่นักพัฒนาหันมาสนใจการพัฒนาคอนเทนต์เพื่อใช้กับระบบ VR และ AR มากขึ้น โดย Sumerian สามารถสร้างคอนเทนต์เพื่อใช้รันบน HTC Vive, Oculus Rift และ iPhone ได้ และในอนาคต Sumerian จะรองรับการสร้างสภาพแวดล้อม AR สำหรับอุปกรณ์ Android ที่รองรบักับ ARCore ด้วยในอนาคต
เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ หรือคอมพิวเตอร์เรียนรู้ด้วยตัวเอง (machine learning) เคยเป็นเทคโนโลยีที่คนทั่วไปเข้าถึงได้ยากและต้องการความเชี่ยวชาญเฉพาะ แต่ในช่วงปีที่ผ่านมาบริการคลาวด์ก็เริ่มออกบริการปัญญาประดิษฐ์มากขึ้นเรื่อยๆ ทำให้เราสามารถคิดพัฒนาแอปพลิเคชั่นต่อยอดได้
AWS ประกาศว่า Symantec ได้เลือกจับมือเป็นพาร์ทเนอร์กับบริษัท โดยจะส่งเวิร์คโหลดส่วนใหญ่ไปรันบนคลาวด์ของ AWS โดยทางบริษัทจะสร้าง data lake ไว้บน AWS ซึ่งเก็บข้อมูลนับเทระไบต์ในทุกวันจาก 175 ล้านจุด endpoints และเซนเซอร์ตรวจจับการบุกรุกกว่า 57 ล้านเซนเซอร์
การที่ Symantec เลือกใช้ AWS ในการรันระบบคลาวด์ เนื่องจากขนาดของ AWS ที่รองรับงานของ Symantec ได้ และมีเครื่องมือที่มีความสามารถต่าง ๆ ให้ครบถ้วน ทั้งบริการข้อมูล, การวิเคราะห์ข้อมูล, machine learning และการจัดการคอนเทนเนอร์ ทำให้ Symantec สามารถให้บริการซอฟต์แวร์และเครื่องมือเพื่อความปลอดภัยให้ผู้ใช้ได้เร็วมากยิ่งขึ้น และยังสามารถเข้าถึง AWS Marketplace เพื่อให้บริการความปลอดภัยได้อีกด้วย
เมื่อปลายปีที่แล้ว AWS เปิดตัวบริการ Amazon Rekognition ระบบ AI แยกแยะข้อมูลในภาพ พร้อมฟีเจอร์จดจำใบหน้าคน (รู้จักใบหน้าคนดังด้วย) ให้ลูกค้าเรียกใช้งานได้ผ่าน API และคิดเงินตามจำนวนภาพ
เวลาผ่านมาหนึ่งปี Amazon Rekognition เพิ่มฟีเจอร์ใหม่อีก 3 อย่าง
AWS เปิดตัวบริการให้คำปรึกษาเกี่ยวกับ machine learning ในชื่อว่า Amazon ML Solutions Lab เพื่อให้ลูกค้าสามารถปรึกษาและเรียนรู้กับผู้เชี่ยวชาญ machine learning จาก Amazon ในการสร้างโมเดลได้ เพื่อช่วยเหลือภาคธุรกิจที่ต้องการใช้งาน machine learning แต่ไม่มีผู้เชี่ยวชาญและเป็นการตอบโจทย์ปัญหาการขาดแคลนผู้มีความรู้ความสามารถในด้านนี้
ผู้ใช้บริการคลาวด์ AWS คงทราบดีว่าแบ่งเขตการให้บริการเป็น "ภูมิภาค" (region) ตามเมืองต่างๆ เช่น เอเชียแปซิฟิก (สิงคโปร์) หรือ ยุโรป (ลอนดอน)
ล่าสุด AWS เปิดตัวภูมิภาคใหม่ที่ใช้ชื่อว่า AWS Secret Region
Secret Region เป็นพื้นที่บริการพิเศษ สำหรับหน่วยงานด้านข่าวกรองของสหรัฐอเมริกาที่เก็บข้อมูลลับเฉพาะ เพื่อแยกบริการโดยไม่ปะปนกับลูกค้าอื่นทั่วไป ตัวบริการจะถูกตรวจสอบมาตรฐานความปลอดภัยหลายชั้นตามความต้องการของหน่วยงานเหล่านี้ และมีสัญญาเช่าใช้งานแบบพิเศษที่ออกแบบมาสำหรับหน่วยข่าวกรองโดยเฉพาะ
ONNX (Open Neural Network Exchange) เป็นโครงการสร้างฟอร์แมตกลางสำหรับแลกเปลี่ยนโมเดล AI ที่ริเริ่มโดยไมโครซอฟท์และเฟซบุ๊ก และมีบริษัทอื่นๆ เข้าร่วมอีกหลายราย
ล่าสุด ONNX ได้สมาชิกรายสำคัญคือ Amazon Web Services (AWS) โดยเข้ามาช่วยทำแพกเกจสำหรับ Apache MXNet ซึ่งเป็นเฟรมเวิร์คด้าน deep learning ที่ได้รับความนิยมอีกตัว (และเป็นเฟรมเวิร์คหลักที่ AWS เลือกใช้) ตอนนี้โครงการ ONNX-MXNet เปิดเผยซอร์สโค้ดแล้วบน GitHub
Amazon เตรียมขายสินทรัพย์สำหรับการให้บริการ public cloud ในประเทศจีน โดย Beijing Sinnet Technology ซึ่งเป็นพาร์ทเนอร์ของ Amazon ในจีน ได้รายงานในเอกสารว่าทางบริษัทจะเป็นผู้ซื้อส่วนนี้เป็นจำนวนเงิน 2 พันล้านหยวน คิดเป็นเงินประมาณ 300 ล้านดอลลาร์ ซึ่งโฆษกของ AWS กล่าวว่าการขายสินทรัพย์โครงสร้างพื้นฐาน AWS ให้พาร์ทเนอร์ในจีนครั้งนี้เป็นไปตามกฎหมายของประเทศจีน
AWS เปิดตัวเรื่องตระกูล C ประมวลผลสูงรุ่นล่าสุด C5 ใช้ซีพียู Skylake-SP (ตามหลังกูเกิลประมาณครึ่งปี) นอกจากจะอัพเกรดตัวคอร์แล้ว ยังเพิ่มขนาดสูงสุด จากรุ่น c4 ที่จำกัด 36 คอร์ เป็น 72 คอร์ และแรมสูงสุดจากเดิม 60GB เป็น 144GB
เครื่องกลุ่ม C5 เริ่มต้นที่ 2 คอร์ แรม 4GB ราคาชั่วโมงละ 0.085 ดอลลาร์ หรือเดือนละ 61.2 ดอลลาร์ ไปจนถึงเครื่องใหญ่สุด 72 คอร์ ชั่วโมงละ 3.06 ดอลลาร์หรือเดือนละ 2203.2 ดอลลาร์
ช่วงแรกยังใช้งานได้เฉพาะ 3 โซน ได้แก่ US-East (N. Virginia), US-West (Oregon), และ EU (Ireland)
Nokia เซ็นสัญญาเป็นพันธมิตรด้านคลาวด์กับ Amazon Web Services (AWS) โดยมีรายละเอียดดังนี้
Microsoft และ AWS ร่วมมือกันเปิดตัว Gluon ส่วนประสานงาน deep learning ซึ่งออกแบบมาเพื่อนักพัฒนาทั่ว ๆ ไปที่ไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญด้าน AI สามารถสร้างและรันโมเดล machine learning สำหรับแอพและบริการต่าง ๆ ได้ง่ายขึ้น
Gluon นั้นถือเป็นก้าวใหญ่ของการพัฒนาระบบที่ใช้ AI โดยการนำส่วนสำคัญของระบบ deep learning ซึ่งได้แก่อัลกอริทึมสำหรับเทรนนิ่ง และโมเดล neural network มารวมกัน สามารถดูแลตั้งแต่การโปรโตไทป์, การสร้าง, การเทรน ไปจนถึงการ deploy machine learning model สำหรับคลาวด์และอุปกรณ์ต่าง ๆ
บริษัท แสนสิริ จำกัด (มหาชน) บริษัทด้านอสังหาริมทรัพย์ประกาศความร่วมมือกับ Amazon Web Service และ DailiTech คอนซัลท์ด้านไอที เปิดตัว A.I. Box กล่องขนาดเล็กลักษณะคล้ายลำโพงอัจฉริยะที่รับคำสั่งเสียงภาษาไทย โดยอาศัยเอนจินจาก Amazon Lex
ความสามารถของ A.I. Box ถูกพัฒนาขึ้นผ่านทาง Alexa Skill โดย DailiTech การรองรับคำสั่งเบื้องต้นยังค่อนข้างจำกัด อาทิ ตรวจสอบค่าน้ำค่าไฟและพัสดุ ตรวจสอบสถานะห้องหรือบริการส่วนกลาง ไปจนถึงสิ่งอำนวยความสะดวกอื่นๆ ในโครงการ สั่งเปิดปิดอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ ภายในบ้าง ตรวจสอบเส้นทางจราจร พยากรณ์อากาศ สรุปข่าวหรือหุ้นรายวัน ซึ่งทาง DailiTech ระบุว่าจะมีการพัฒนาความสามารถให้มากขึ้นต่อไป
Amazon Web Services ประกาศเปลี่ยนวิธีคิดเงินของบริการหลายตัว ได้แก่ Elastic Compute Cloud (EC2), Elastic Block Store (EBS), Elastic MapReduce (EMR) และ AWS Batch จากรายชั่วโมง มาเป็นตามวินาที (Per-Second Billing)
AWS จะเริ่มคิดเงินเป็นวินาทีตั้งแต่วันที่ 2 ตุลาคมนี้ในทุก AWS Region โดยกรณีของ EC2 จะมีผลเฉพาะเครื่องที่เป็นลินุกซ์เท่านั้น ไม่มีผลกับเครื่องที่เป็นวินโดวส์หรือลินุกซ์บางดิสโทรที่ยังคิดเป็นรายชั่วโมง นอกจากนี้การคิดเงินเป็นวินาทีจะมีขั้นต่ำ 1 นาทีแรก และราคาที่แสดงบนหน้าเว็บของ AWS จะยังแสดงเป็นรายชั่วโมง แต่การลงบิลจะเปลี่ยนมาคำนวณเป็นรายวินาที
ช่วงนี้ VMware มีงานใหญ่ประจำปี VMworld 2017 ข่าวสำคัญที่ประกาศในงานคือ VMware Cloud บน AWS เปิดให้บริการอย่างเป็นทางการแล้ว
VMware ประกาศโครงการนี้เมื่อเกือบ 1 ปีก่อน มันคือการนำซอฟต์แวร์คลาวด์ของ VMware vSphere/VSAN/NSX ซึ่งได้รับความนิยมอย่างสูงในตลาด private cloud ขององค์กร ไปรันบนโครงสร้างพื้นฐานของ AWS ที่เป็นเบอร์หนึ่งในตลาด public cloud ผลคือองค์กรสามารถย้ายงานข้ามไปมาระหว่างคลาวด์ทั้งสองฝั่งได้ง่ายขึ้น
บริการนี้เริ่มเปิดให้เช่าแล้วใน AWS เขต US West คิดราคาเริ่มต้นที่ 8.3681 ดอลลาร์ต่อโฮสต์ต่อชั่วโมง (ซื้อเยอะมีลดราคามากกว่านี้) ผู้ขาย ออกบิล และซัพพอร์ตจะเป็น VMware ทั้งหมด
AWS เปิดตัวบริการใหม่ในชื่อว่า Macie โดยเป็นบริการใช้ machine learning ในการจัดแบ่งข้อมูลและวิเคราะห์แพทเทิร์นการเข้าใช้งาน เพื่อให้ตัวข้อมูลมีความปลอดภัย
เมื่อผู้ใช้เริ่มต้นตั้งค่าเครื่อง จะต้องให้คะแนนความเสี่ยงกับข้อมูลนั้น ๆ จากนั้น Macie จะทำการใช้ข้อมูลเหล่านี้เทรนข้อมูลใหม่ที่เข้ามาในระบบของ AWS หลังจากนั้นจะใช้ระบบ machine learning แบบ unsupervised ในการคำนวณแพทเทิร์นการเข้าใช้งานข้อมูลในแบบปกติ และหากพบอะไรเปลี่ยนแปลง Macie จะแจ้งเตือนให้ทีมความปลอดภัยตรวจสอบ
บริการนี้ออกแบบมาเพื่อช่วยปกป้องการรั่วไหลข้อมูลเป็นจำนวนมากโดยนำ machine learning เข้ามาช่วย เช่นถ้าเกิดระบบพบว่ามีการเข้าใช้ข้อมูลทรัพยากรบุคคลเป็นจำนวนมากเกินไปจะแจ้งเตือนให้ผู้ดูแลระบบทราบ
เมื่อไม่กี่วันก่อน ไมโครซอฟท์เข้าร่วม Cloud Native Computing Foundation เพื่อพัฒนาเทคโนโลยี Kubernetes ส่งผลให้ Amazon Web Services เป็นผู้ให้บริการคลาวด์รายเดียวที่อยู่นอกวง
วันนี้ AWS ประกาศสมัครเป็นสมาชิก Cloud Native Computing Foundation (CNCF) ในระดับสูงสุดคือ Platinum ซึ่งจะได้ที่นั่งในบอร์ดของมูลนิธิด้วย
ปัญหาเรื่องความปลอดภัยไซเบอร์ในปัจจุบัน ปัจจัยหนึ่งมาจากผู้ใช้เองที่ไม่ได้เปิดใช้มาตรการรักษาความปลอดภัยที่ดีพอ แม้ตัวบริการนั้นมีระบบรักษาความปลอดภัยขั้นสูง (เช่น two-factor authentication) ให้ใช้งานก็ตาม
ที่ผ่านมาเราเห็นข่าวข้อมูลหลุด อยู่เรื่อยๆ เช่น กรณีของข้อมูลส่วนตัวชาวอเมริกันหลายล้านคน ที่อัพโหลดขึ้น AWS แบบเปิดให้ใครๆ เข้าถึงได้
ในระบบคลาวด์ AWS มี "เขต" (Region) ซึ่งหมายถึงที่ตั้งของศูนย์ข้อมูล AWS ตามประเทศต่างๆ ที่คอยให้บริการลูกค้าในละแวกใกล้เคียง
ศูนย์ข้อมูลของ AWS ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ตั้งอยู่ที่สิงคโปร์ (ศูนย์อื่นในเอเชียแปซิฟิก อยู่ที่โตเกียว ซิดนีย์ โซล มุมไบ ปักกิ่ง) และ AWS มีจุดวาง CloudFront CDN หรือที่เรียกว่า "Edge" คอยช่วยยกระดับความเร็วในการเข้าถึงเซิร์ฟเวอร์ในแต่ละเขตด้วย
การวางระบบบนไอทีใหม่ๆ แล้วใช้ระบบคลาวด์เป็นเรื่องปกติไปแล้วในยุคนี้ แต่การใช้คลาวด์ไม่ใช่แค่เรื่องของการหยุดซื้อเซิร์ฟเวอร์แล้วไปเช่าเซิร์ฟเวอร์รายวันบนคลาวด์เพื่อวางระบบเดิมๆ แต่ต้องอาศัยความเข้าใจเฉพาะทางเพื่อให้ได้ประสิทธิภาพที่ดีขึ้น ขยายระบบได้เต็มความสามารถของคลาวด์เอง และประหยัดต้นทุนเมื่อระบบถูกใช้งานน้อยลง
The Wall Street Journal รายงานว่าห้างค้าปลีกรายใหญ่ในอเมริกา Walmart ได้แจ้งบริษัทกลุ่มเทคโนโลยีที่ทำธุรกิจร่วมกับ Walmart ให้เลิกใช้ AWS ของ Amazon ในการรันโปรแกรมต่างๆ เสีย และให้ไปใช้ของผู้ให้บริการรายอื่นแทน
ตัวแทนของ Walmart กล่าวว่าข้อมูลของ Walmart ส่วนใหญ่จะเก็บไว้ในศูนย์ข้อมูลของ Walmart เอง และมีบางส่วนที่ใช้คลาวด์ของคู่แข่ง Amazon อาทิเช่น Azure ของไมโครซอฟท์ อย่างไรก็ตามยังมีแอพของเวนเดอร์บางรายที่ทำงานอยู่บน AWS ซึ่ง Walmart มองว่าข้อมูลใดๆ ของบริษัท ไม่ควรเก็บไว้อยู่ในแพลตฟอร์มของคู่แข่ง แม้ตอนนี้จะมีอยู่ไม่มากก็ตาม
Amazon Rekognition บริการด้านปัญญาประดิษฐ์ของ AWS เปิดตัวมาตั้งแต่ปีที่แล้ว ตอนนี้มีอัพเดตเพิ่มเติม เป็นบริการ Celebrity recognition บริการจับใบหน้าของคนดัง
ตอนนี้มีรายชื่อคนดังที่รองรับนับแสนคน กระจายทุกหมวดหมู่ ตั้งแต่ การเมือง, กีฬา, บันเทิง, ธุรกิจ ฯลฯ โดยจะเพิ่มรายชื่อไปเรื่อยๆ การคืนค่าจะระบุชื่อและลิงก์เป็น IMDB เท่านั้น หากเป็นคนนอกวงการบันเทิงตอนนี้ยังไม่มีลิงก์ให้แต่อย่างใด
ค่าบริการยังเท่า Amazon Rekognition API ปกติ 1 ดอลลาร์ต่อ 1,000 ภาพ
ที่มา - AWS Blog
AWS Greengrass บริการใหม่สำหรับอุปกรณ์ IoT ที่ทำงานแบบโลคัลไม่ต้องต่อเน็ตตลอดเวลา เข้าสถานะ General Availability (GA) แล้ว
แนวคิดของ Greengrass คือการนำ AWS Lambda บริการประมวลผลแบบ serverless ไปรันอยู่บนเซิร์ฟเวอร์ปลายทาง (edge server หรือในที่นี้เรียก Greengrass Core) เพื่อรับข้อมูลจากอุปกรณ์ IoT ในพื้นที่นั้นๆ โดยไม่ต้องรันอยู่บนคลาวด์ของ AWS เสมอไป จากนั้นตัว Core ค่อยซิงก์ข้อมูลกับคลาวด์เป็นระยะๆ ตามที่ต้องการหรือในตอนที่เชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตได้
สัปดาห์ที่ผ่านมา Blognone มีโอกาสได้เข้าร่วมงาน AWS Summit 2017 งานประชุมประจำปีในภูมิภาค ซึ่งจัดในกรุงเทพเป็นครั้งแรก มีทั้งช่วงคีย์โน้ตโดย Adrian Cockcroft รองประธานฝ่ายกลยุทธ์สถาปัตยกรรมคลาวด์และช่วงสัมภาษณ์ Nick Walton ผู้อำนวยการประจำภูมิภาคของ AWS