Amazon Web Services
ในระบบคลาวด์ AWS มี "เขต" (Region) ซึ่งหมายถึงที่ตั้งของศูนย์ข้อมูล AWS ตามประเทศต่างๆ ที่คอยให้บริการลูกค้าในละแวกใกล้เคียง
ศูนย์ข้อมูลของ AWS ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ตั้งอยู่ที่สิงคโปร์ (ศูนย์อื่นในเอเชียแปซิฟิก อยู่ที่โตเกียว ซิดนีย์ โซล มุมไบ ปักกิ่ง) และ AWS มีจุดวาง CloudFront CDN หรือที่เรียกว่า "Edge" คอยช่วยยกระดับความเร็วในการเข้าถึงเซิร์ฟเวอร์ในแต่ละเขตด้วย
การวางระบบบนไอทีใหม่ๆ แล้วใช้ระบบคลาวด์เป็นเรื่องปกติไปแล้วในยุคนี้ แต่การใช้คลาวด์ไม่ใช่แค่เรื่องของการหยุดซื้อเซิร์ฟเวอร์แล้วไปเช่าเซิร์ฟเวอร์รายวันบนคลาวด์เพื่อวางระบบเดิมๆ แต่ต้องอาศัยความเข้าใจเฉพาะทางเพื่อให้ได้ประสิทธิภาพที่ดีขึ้น ขยายระบบได้เต็มความสามารถของคลาวด์เอง และประหยัดต้นทุนเมื่อระบบถูกใช้งานน้อยลง
The Wall Street Journal รายงานว่าห้างค้าปลีกรายใหญ่ในอเมริกา Walmart ได้แจ้งบริษัทกลุ่มเทคโนโลยีที่ทำธุรกิจร่วมกับ Walmart ให้เลิกใช้ AWS ของ Amazon ในการรันโปรแกรมต่างๆ เสีย และให้ไปใช้ของผู้ให้บริการรายอื่นแทน
ตัวแทนของ Walmart กล่าวว่าข้อมูลของ Walmart ส่วนใหญ่จะเก็บไว้ในศูนย์ข้อมูลของ Walmart เอง และมีบางส่วนที่ใช้คลาวด์ของคู่แข่ง Amazon อาทิเช่น Azure ของไมโครซอฟท์ อย่างไรก็ตามยังมีแอพของเวนเดอร์บางรายที่ทำงานอยู่บน AWS ซึ่ง Walmart มองว่าข้อมูลใดๆ ของบริษัท ไม่ควรเก็บไว้อยู่ในแพลตฟอร์มของคู่แข่ง แม้ตอนนี้จะมีอยู่ไม่มากก็ตาม
Amazon Rekognition บริการด้านปัญญาประดิษฐ์ของ AWS เปิดตัวมาตั้งแต่ปีที่แล้ว ตอนนี้มีอัพเดตเพิ่มเติม เป็นบริการ Celebrity recognition บริการจับใบหน้าของคนดัง
ตอนนี้มีรายชื่อคนดังที่รองรับนับแสนคน กระจายทุกหมวดหมู่ ตั้งแต่ การเมือง, กีฬา, บันเทิง, ธุรกิจ ฯลฯ โดยจะเพิ่มรายชื่อไปเรื่อยๆ การคืนค่าจะระบุชื่อและลิงก์เป็น IMDB เท่านั้น หากเป็นคนนอกวงการบันเทิงตอนนี้ยังไม่มีลิงก์ให้แต่อย่างใด
ค่าบริการยังเท่า Amazon Rekognition API ปกติ 1 ดอลลาร์ต่อ 1,000 ภาพ
ที่มา - AWS Blog
AWS Greengrass บริการใหม่สำหรับอุปกรณ์ IoT ที่ทำงานแบบโลคัลไม่ต้องต่อเน็ตตลอดเวลา เข้าสถานะ General Availability (GA) แล้ว
แนวคิดของ Greengrass คือการนำ AWS Lambda บริการประมวลผลแบบ serverless ไปรันอยู่บนเซิร์ฟเวอร์ปลายทาง (edge server หรือในที่นี้เรียก Greengrass Core) เพื่อรับข้อมูลจากอุปกรณ์ IoT ในพื้นที่นั้นๆ โดยไม่ต้องรันอยู่บนคลาวด์ของ AWS เสมอไป จากนั้นตัว Core ค่อยซิงก์ข้อมูลกับคลาวด์เป็นระยะๆ ตามที่ต้องการหรือในตอนที่เชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตได้
สัปดาห์ที่ผ่านมา Blognone มีโอกาสได้เข้าร่วมงาน AWS Summit 2017 งานประชุมประจำปีในภูมิภาค ซึ่งจัดในกรุงเทพเป็นครั้งแรก มีทั้งช่วงคีย์โน้ตโดย Adrian Cockcroft รองประธานฝ่ายกลยุทธ์สถาปัตยกรรมคลาวด์และช่วงสัมภาษณ์ Nick Walton ผู้อำนวยการประจำภูมิภาคของ AWS
James Gosling บิดาแห่งภาษา Java เคยทำงานกับกูเกิลเป็นระยะเวลาสั้นๆ จากนั้นย้ายไปทำงานกับบริษัทหุ่นยนต์ใต้น้ำ Liquid Robotics
ล่าสุดเขาประกาศใน Faecbook ของตัวเองว่าย้ายไปอยู่กับ Amazon Web Services แล้ว แต่ก็ไม่ได้บอกว่าอยู่ในตำแหน่งอะไร ทาง AWS ยืนยันข่าวว่า Gosling มาจริง แต่ก็ไม่ได้เปิดเผยว่าทำงานตำแหน่งไหนเช่นกัน
ตลาดคลาวด์ในปัจจุบันค่อนข้างชัดแล้วว่าผู้นำตลาดคือ AWS ตามด้วย Azure และ Google Cloud Platform (GCP) แต่ส่วนแบ่งตลาดของแต่ละรายก็ไม่ชัดเท่าไรนัก
Michael Crandell ซีอีโอของบริษัท RightScale ที่ทำธุรกิจช่วยย้ายระบบองค์กรไปสู่คลาวด์ ให้ข้อมูลว่าลูกค้าของเขา 60% ใช้ AWS, 30% ใช้ Azure และประมาณ 10% เท่านั้นที่ใช้ GCP แม้ว่าในมุมมองของเขาแล้ว บริการของ GCP เรียบง่ายที่สุดและมีโครงสร้างต้นทุนดีที่สุดก็ตาม
Crandell มองว่า GCP ยังเจาะตลาดองค์กรได้ไม่ดีนัก ต้องหันมาเน้นงานขายให้จริงจังกว่านี้ และอาจต้องใช้วิธีซื้อกิจการบริษัทอื่นเพื่อขยายช่องทางการรุกเข้าตลาดองค์กร
Amazon Web Services มีบริการชื่อ Lex สำหรับให้บริการแชทบ็อต ที่รองรับทั้งการคุยด้วยข้อความและเสียง โดยใช้เอนจินตัวเดียวกับที่ Alexa ใช้งาน ก่อนหน้านี้ Lex ยังเปิดให้ทดสอบในวงจำกัดเท่านั้น
Lex ไม่ใช่การเปิดให้นักพัฒนาแอพเรียกใช้ Alexa ตัวเต็มได้ แต่เป็นการเรียกใช้ความสามารถประมวลผลเสียงและข้อความแบบเดียวกับ Alexa เพื่อประหยัดแรงไม่ต้องพัฒนาเอง จากนั้นนักพัฒนาค่อยสร้างระบบ backend สำหรับให้บริการข้อมูลกับบ็อตอีกทีหนึ่ง
MongoDB อาจเป็นฐานข้อมูลสาย NoSQL ยอดนิยม แต่พอมาถึงยุคของคลาวด์ ผู้ให้บริการรายใหญ่อย่าง AWS ก็มีผลิตภัณฑ์ฐานข้อมูล NoSQL ของตัวเองในชื่อว่า DynamoDB
ล่าสุด AWS เพิ่มบริการย้ายฐานข้อมูล Database Migration Service (DMS) ให้เราสามารถย้ายข้อมูลจาก MongoDB ขึ้นมาเก็บบน DynamoDB ได้โดยตรงแล้ว
ที่ผ่านมา บริการย้ายฐานข้อมูล DMS ของ AWS รองรับเฉพาะการย้ายฐานข้อมูลแบบ relational database (เช่น Oracle, Microsoft SQL Server, MySQL, MariaDB, PostgreSQL) ไปยังฐานข้อมูลลักษณะเดียวกันบนคลาวด์ หรือย้ายข้อมูลจาก data warehouse ยี่ห้อต่างๆ ไปยัง Amazon Redshift
Amazon ประกาศให้เครดิต AWS เป็นเงิน 100 ดอลลาร์ต่อเดือนสำหรับนักพัฒนา Alexa เพื่อให้ใช้งานเซิร์ฟเวอร์ของบริการ AWS เพื่อทำการโฮสต์ Alexa skill โดยโปรโมชั่นนี้ยังไม่กำหนดวันหมดอายุ
ปัญหา AWS S3 ในโซน US-EAST-1 ล่มเมื่อต้นเดือนที่ผ่านมา พาบริการสำคัญๆ ล่มตามไปด้วยจำนวนมาก ตอนนี้ทีมงาน AWS ก็ออกมาชี้แจงปัญหาที่เกิดขึ้นแล้ว
รายงานระบุว่าทีมงานกำลังแก้ปัญหาระบบ billing อัพเดตช้ากว่าที่ควรจะเป็นโดยการถอดเครื่องบางส่วนออกจากระบบ billing แต่การสั่งสคริปต์ผิดพลาดทำให้ถอดเครื่องในระบบ index (สำหรับการดึงข้อมูลและลบข้อมูล) และระบบ placement (สำหรับการ PUT ข้อมูล) ออกไปเป็นจำนวนมาก
บริการสตอเรจ AWS S3 มีปัญหาในโซน US-EAST-1 ส่งผลให้บริการสำคัญๆ ในสหรัฐฯ หยุดทำงานไปพร้อมกัน
บริการที่มีมีปัญหาแล้วตอนนี้ เช่น Audible ที่ไม่ได้บอกตรงๆ ว่าปัญหาเกิดจากอะไร, Medium ระบุชัดว่าปัญหาเกิดจาก S3, Slack มีปัญหาส่วนแชร์ไฟล์ และบริการอื่นๆ ที่พบปัญหาในช่วงเวลาเดียวกัน เช่น fastly, maxcdn
ตัว Health Dashboard ของ AWS แจ้งว่ามีความผิดปรกติใน S3
Amazon ได้เปิดตัว AWS Marketplace ซึ่งเป็นสถานที่รวบรวมโปรแกรมสำหรับติดตั้งบนเซิร์ฟเวอร์ของ AWS และตอนนี้ Amazon ก็ได้ขยายบริการนี้เพิ่มเติมเป็นที่รวบรวมโปรแกรมสำหรับใช้งานเดสก์ท็อป โดยจะยังคงใช้วิธีการคิดเงินตามระยะเวลาที่ใช้งานเหมือนเดิม
โปรแกรมบนเดสก์ท็อปที่ซื้อผ่าน AWS Marketplace นี้ สามารถใช้งานได้ทั้งตัวผู้ซื้อเองหรือผู้ใช้ที่อยู่ในองค์กรเดียวกันผ่านระบบ Amazon WorkSpaces ที่ผู้ดูแลระบบจะทำการเพิ่มให้ทุกคนได้ใช้ผ่าน Amazon WorkSpace Application Manager โดยจะเป็นโปรแกรมที่ใช้งานบน Windows เท่านั้น
Amazon ได้ออกโฆษณาใหม่โดยทำการเปลี่ยนป้ายทุกป้ายของสถานีรถไฟใต้ดิน Westminster ในกรุงลอนดอน ซึ่งเป็นสถานีที่อยู่ใกล้กับสถานที่สำคัญอย่างรัฐสภาและ Big Ben โดยเปลี่ยนเป็น Webminster ซึ่งทาง Amazon ได้จ่ายเงินให้กับ TfL กว่า 390,000 ปอนด์ เพื่อทำแคมเปญโฆษณาเปลี่ยนป้ายชั่วคราวเพียงวันเดียวในครั้งนี้
Amazon ได้เปิดตัวศูนย์ข้อมูลแห่งใหม่ของบริการ AWS แห่งใหม่ในยุโรป โดยก่อนหน้านี้ก็เพิ่งเปิดตัวศูนย์ข้อมูลในแคนาดาไป ซึ่งตั้งอยู่ที่กรุงลอนดอน สหราชอาณาจักร โดยเป็นศูนย์ข้อมูลในยุโรปของ AWS แห่งที่สามถัดจาก Ireland และ Frankfurt เพื่อให้องค์กร, สตาร์ทอัพ และภาคส่วนต่าง ๆ ในสหราชอาณาจักรเข้ามาใช้บริการได้เพื่อลดค่าใช้จ่ายไอทีลง และลงทุนในส่วนใหม่ ๆ ได้เร็วขึ้น เช่น การวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ และ IoT
ศูนย์ข้อมูลในลอนดอน ก็จะมีให้บริการหลักของ AWS ทุกอย่าง เช่น EC2, S3, RDS แต่ว่าระบบบางอย่าง เช่น Lambda และ machine learning ยังไม่มีให้ใช้ในศูนย์ข้อมูลแห่งใหม่ในลอนดอน
Amazon ได้เปิดตัวศูนย์ข้อมูลใหม่ของบริการ AWS ในพื้นที่ประเทศแคนาดาอย่างเป็นทางการ และพร้อมให้บริการกับผู้ใช้แล้วในวันนี้ โดยตัวศูนย์ข้อมูลจะเรียกว่า Canada (Central) ตั้งอยู่ที่เมือง Montreal มีสองโซนที่แยกกัน โดยศูนย์ข้อมูลในแคนาดานี้เป็นศูนย์ข้อมูลแห่งที่ 6 ในอเมริกาเหนือ และแห่งที่ 15 ทั่วโลก และเท่ากับตอนนี้ AWS มีให้บริการแล้ว 40 โซนทั่วโลก
สำหรับ AWS ในแคนาดา ก็จะมีให้บริการหลายอย่าง ตั้งแต่ Elastic Compute Cloud (EC2), Simple Storage Service (S3) และ Relational Database Service (RDS)
AWS เปิดตัวแพลตฟอร์ม IoT ของตัวเองในชื่อ AWS Greengrass ที่เป็นเฟรมเวิร์คสำหรับรัน AWS Lambda บนคอมพิวเตอร์ปลายทาง ไม่ต้องส่งมารันบน AWS
Greengrass จะช่วยให้กระบวนการควบคุมอุปกรณ์ IoT ไปอยู่ที่เครื่องของลูกค้า ซึ่งเหมาะกับงานควบคุมที่ต้องการความเร็ว หรือบางกรณีที่การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตไม่เสถียร
Amazon Web Services เดินหน้าสนับสนุน IPv6 อย่างต่อเนื่อง ล่าสุดประกาศว่าเครื่อง EC2 ที่รันอยู่บนบริการ Virtual Private Clouds (VPC) รองรับการใช้ IPv6 แล้ว
ก่อนหน้านี้ AWS รองรับ IPv6 บนบริการสตอเรจ S3, CloudFront, Route 53 มาแล้ว การรองรับ IPv6 บน EC2 และ VPC ย่อมช่วยให้การใช้งานแพร่หลายมากขึ้น
รูปแบบการทำงานของ IPv6 ของ AWS จะเป็น dual-stack นั่นคือหนึ่ง instance จะมีทั้ง IPv4 และ IPv6 ไปพร้อมกัน เพื่อให้ทำงานเข้ากันได้กับระบบเดิม
ตอนนี้ IPv6 บน EC2 เริ่มใช้ได้ในเขต US East (Ohio) เป็นที่แรก และจะค่อยๆ ขยายไปยังเขตอื่นในภายหลัง
ที่มา - AWS Blog
Amazon ได้เปิดตัวปุ่ม Dash สำหรับการใช้งานกับ AWS หรือ AWS IoT Button รุ่นที่สอง โดยตัวปุ่มนี้จะสามารถโปรแกรมได้มากกว่า Dash ที่เอาไว้สำหรับการสั่งสินค้าบน Amazon หลังจากที่รุ่นแรกเปิดตัวมาตั้งแต่เดือนพฤษภาคม
สำหรับความสามารถที่ Amazon ได้กล่าวไว้ คือปุ่ม AWS IoT จะสามารถทำได้โดยกำหนดในคลาวด์ว่าการกดปุ่มจะทำอะไร เช่น กดเพื่อนับจำนวนสินค้า, โทรหาหรือแจ้งเตือนใครสักคน, สั่งล็อกหรือเปิดประตูบ้าน, เป็นรีโมทควบคุมอุปกรณ์ภายในบ้าน, กดเพื่อสั่งพิซซ่า โดยตัวปุ่มสามารถรวม API จาก Twitter, Facebook, Twilio, Slack หรือบริการอะไรก็ได้ที่รองรับ
Amazon เปิดตัวเครื่องมือ AI สำหรับนักพัฒนาใหม่ 3 อย่างบน Amazon Web Services ดังนี้
ที่มา - Recode
AWS เปิดตัวบริการใหม่ด้านฐานข้อมูลอีกสองตัว ได้แก่ PostgreSQL for Aurora และ Athena บริการคิวรีจาก S3
AWS ระบุว่า PostgreSQL for Aurora จะประสิทธิภาพดีกว่า PostgreSQL หลายเท่าตัว เช่นเดียวกับ Aurora รุ่นเดิมที่เป็น MySQL
อีกด้านของระบบการจัดการข้อมูลองค์กร AWS เปิดบริการ Athena บริการคิวรีข้อมูลจาก S3 ด้วยคำสั่ง SQL โดยตรง เป็นบริการที่สามต่อจาก Redshift และ EMR ความแตกต่างคือบริการนี้ผู้ใช้ไม่ต้องสร้างคลัสเตอร์ขึ้นมารันคิวรี แต่สามารถสั่งรันได้โดยตรง โดยคิดค่าบริการรายครั้งไป
AWS บุกตลาด API ปัญญาประดิษฐ์ของตัวเอง ด้วย API สามชุด ได้แก่ Rekognition, Polly, และ LEX
Rekognition คือ API บรรยายภาพ ว่ามีอะไรในภาพบ้าง แบบเดียวกับ Google Cloud Vision API ที่เปิดตัวมาตั้งแต่ต้นปี แต่บริการนี้มีความสามารถในการจดจำในหน้าคนได้ด้วย ค่าบริการ 1 ดอลลาร์ต่อ 1,000 ภาพ และการเก็บข้อมูลใบหน้าจะอยู่ที่ 0.01 ดอลลาร์ต่อ 1,000 ใบหน้าต่อเดือน
บริการ Polly แปลงข้อความเป็นเสียง โดยแปลงอย่างฉลาดคล้ายคน เช่น การอ่านตัวย่อชื่อรัฐ หรือการอ่านเครื่องหมายต่างๆ
AWS เปิดตัวเซิร์ฟเวอร์ในกลุ่ม EC2 ชุดใหญ่ นอกจากการอัพเกรดเครื่องตามรอบแล้วยังมีสามบริการสำคัญคือ Lightsail, Elastic GPU, และเครื่อง F1 สำหรับการออกแบบวงจรเร่งความเร็วเอง
Lightsail ตอบโจทย์สำหรับผู้ที่ต้องการตั้งเซิร์ฟเวอร์เพื่องานง่ายๆ เช่นเว็บบล็อก ผู้ใช้จะสามรรถเลือกแอปพลิเคชั่นที่ต้องการใช้งานแล้วเลือกขนาดเซิร์ฟเวอร์เพื่อรันได้ทันที โดยไม่ต้องยุ่งกับระบบความปลอดภัยของ AWS อีก
Elastic GPU เป็นบริการเสริมของเครื่อง EC2 ทุกรุ่น ทำให้ทุกเครื่องสามารถใช้งานกราฟิกได้โดยไม่ต้องซื้อเครื่อง P2 ที่มีขนาดใหญ่เสมอไป แต่สามารถซื้อเครื่องและกราฟิกแยกจากกันตามความต้องการ
AWS เปิดตัว Snowball มาตั้งแต่ปีที่แล้วโดยมีความจุ 50TB ที่งาน re:Invent ปีนี้บริษัทก็เปิดตัว Snowball Edge รุ่นอัพเกรดที่มีความจุเพิ่มเป็นสองเท่า และรองรับการประมวลผลในตัว พร้อมกับ Snowmobile ตู้คอนเทนเนอร์สำหรับขนข้อมูลระดับย้ายทั้งศูนย์ข้อมูล 100PB
ทาง AWS ระบุว่าลูกค้าบางรายแจ้งกับบริษัทว่าต้องการขนข้อมูลออกจาศูนย์ข้อมูลทั้งหมดในระดับ exabyte การขนข้อมูลระดับนี้แม้จะใช้ลิงก์ขนาด 10Gbps ก็ยังใช้เวลาถึง 26 ปี การใช้ฮาร์ดดิสก์ขนาดตู้คอนเทนเนอร์ขนข้อมูลไปกลับจะใช้เวลารวมๆ เพียง 6 เดือนเท่านั้น