Amazon Web Services
AWS Lambda บริการรันโค้ดแบบ serverless เปิดบริการรองรับคอนเทนเนอร์ ทำให้นักพัฒนาสามารถนำคอนเทนเนอร์ขึ้นไปรันได้แบบเดียวกับ Cloud Run ของกูเกิลที่เปิดตัวมาก่อนหน้านี้
แม้จะสามารถใช้คอนเทนเนอร์ใดๆ ก็ได้ แต่อิมเมจต้องอิมพลีเมนต์ Lambda Runtime API รอรับการเรียก API จาก Lambda และหากต้องการเพิ่มความสามารถในการมอนิเตอร์ก็สามารถอิมพลีเมนต์ Lambda Extensions API เพิ่ม ระหว่างการสร้างอิมเมจทาง AWS มี Lambda Runtime Interface Emulator ให้ทดสอบว่าอิมเมจพร้อมนำไปรันบน Lambda ได้หรือยัง
อิมเมจต้องมีขนาดไม่เกิน 10GB และเก็บไว้บน Amazon ECR สามารถใช้งานได้แล้ววันนี้ในหลายภูมิภาครวมถึงสิงคโปร์
AWS เปิดสินค้าฝั่งซอฟต์แวร์ ECS Anywhere และ EKS Anywhere แพลตฟอร์มคอนเทนเนอร์ที่เป็นบริการคลาวด์ของ AWS ยอดนิยม ให้เป็นซอฟต์แวร์เปิดลูกค้าสามารถซื้อไปใช้งานในองค์กรได้ นับเป็นการเปิดตลาด hybrid-multi cloud สำหรับรันคอนเทนเนอร์ที่ก่อนหน้านี้ Red Hat OpenShift ครองตลาดเป็นหลัก
ECS เป็นแพลตฟอร์มคอนเทนเนอร์เฉพาะตัวที่ AWS ทำมาก่อนที่ Kubernetes จะได้รับความนิยมจนชนะบริการอื่นๆ และท่าทีของ AWS ตอนนี้ที่ออก ECS Anywhere ก็แสดงให้เห็นว่าบริษัทจะเดินทางสนับสนุน ECS ต่อไป
AWS เปิดโครงการโอเพนซอร์ส Babelfish for PostgreSQL ตัวแปลงโปรโตคอล ทำให้แอปที่พัฒนาเพื่อเชื่อมต่อกับ Microsoft SQL Server ผ่านทางโปรโตคอล TDS และภาษาคิวรี T-SQL สามารถเชื่อมต่อเข้ากับ PostgreSQL และทำงานต่อไปได้โดยไม่ต้องเสียค่าไลเซนส์ Microsoft SQL Server อีกต่อไป
Babelfish รับคำสั่ง SQL บางส่วนที่ SQL Server รองรับ เช่น คำสั่ง SQL ทั่วไป, cursors, catalog views, data types, triggers, stored procedures, และ function หากแอปพลิเคชั่นใช้งานเฉพาะส่วนที่ Babelfish รองรับก็จะสามารถรันแอปต่อไปได้เลย แม้เอนจินฐานข้อมูลด้านหลังจะกลายเป็น PostgreSQL ไปแล้วก็ตาม
AWS เปิดตัวเครื่อง EC2 แบบ mac1.metal เปิดทางให้ลูกค้าสามารถเช่าเครื่องแมครายวันเพื่อการพัฒนาแอปโดยไม่ต้องซื้อเครื่องแมคมาใช้งาน
เครื่อง mac1.metal บน AWS สามารถเลือกใช้ macOS 10.14 (Mojave) และ macOS 10.15 (Catalina) ตัวฮาร์ดแวร์เป็น Mac mini ใช้ Core i7 รุ่นที่ 8 แรม 32GB เชื่อมต่อกับสตอเรจ EBS, EFS, S3
ผู้ใช้เครื่อง mac1.metal สามารถ SSH เข้าไปทำงานในเครื่อง หรือจะใช้ VNC เพื่อรันแอปแบบ GUI ก็ได้ ข้อจำกัดสำคัญคือ mac1.metal เป็นเครื่องแบบ Dedicated Host การใช้งานแต่ละครั้งมีเวลาขั้นต่ำ 24 ชั่วโมง และไม่สามารถใช้งานใน Auto Scaling Group
Matt Asay วิศวกรดูแลโครงการโอเพนซอร์สของ AWS เขียนบล็อกถึงภาษา Rust ว่ากำลังมีความสำคัญกับ AWS มากขึ้นเรื่อยๆ และ AWS มีแนวทางจะลงทุนเพื่อช่วยเหลือโครงการต่อไปในอนาคต เนื่องจาก Rust ทำให้บริษัทสามารถพัฒนาซอฟต์แวร์ที่ผ่านมาตรฐานความปลอดภัยได้ในเวลาที่สั้นลง
AWS เปิดตัว edge location ในไทย บริการนี้เป็นจุดส่งต่อข้อมูลจาก region ของคลาวด์ไปยังผู้ใช้ปลายทาง ทำให้ลดความหน่วง (latency) ของผู้ใช้โดยอาศัยการแคชข้อมูลบางส่วนในไทย และลดเวลาการเชื่อมต่อที่ต้องส่งข้อมูลไปมาหลายครั้งเช่นการเชื่อมต่อ TLS
ในการเปิดตัวครั้งนี้ทาง AWS ระบุว่ามีลูกค้าเริ่มทดลองใช้งานแล้ว เช่น BBTV, Pomelo, และ TrueIDC
ก่อนหน้านี้บริการที่ตั้งเซิร์ฟเวอร์อยู่บน AWS และไม่ได้ใช้บริการ CDN อื่นจะต้องให้ผู้ใช้เชื่อมต่อไปยังศูนย์ข้อมูลในสิงคโปร์ ทำให้ค่า latency อยู่ที่ 35-40ms ทาง AWS เปิดเผยว่าหลังจากใช้ Cloudfront ที่เป็นบริการ CDN ในไทยจะทำให้ผู้ใช้เชื่อมต่อบริการได้โดยมีค่า latency เหลือเพียง 15-30ms เท่านั้น โดยเฉลี่ยลดลง 30%
AWS ประกาศเตรียมเปิดบริการรีจิสตรีคอนเทนเนอร์ ให้นักพัฒนาสามารถวางอิมเมจที่เปิดต่อสาธารณะได้ฟรี 50GB ขณะที่การดาวน์โหลดอิมเมจก็ฟรี 500GB ต่อเดือนโดยไม่ต้องล็อกอิน และหากล็อกอินด้วยบัญชี AWS ก็ดาวน์โหลดได้ถึง 5TB ต่อเดือน และหากดาวน์โหลดจากภายใน AWS เองจะไม่มีการจำกัดการดาวน์โหลดเลย
การประกาศครั้งนี้มาพร้อมกับการแจ้งเตือนผู้ใช้ AWS ว่าคลัสเตอร์ Kubernetes อาจจะมีปัญหาเนื่องจาก Docker Hub กำลังจำกัดอัตราการดึงอิมเมจเหลือเพียง 100 ครั้งต่อ 6 ชั่วโมงเท่านั้น แม้ว่าอิมเมจของลูกค้าที่ใช้บริการ Amazon EKS จำนวนมากจะโฮสต์อยู่บนบริการ ECR ของ AWS เอง แต่ก็มีบริการจำนวนหนึ่งดึงจาก Docker Hub โดยตรง
AWS เริ่มให้บริการเครื่อง Amazon EC2 แบบใหม่ P4 instance ที่ใช้จีพียู NVIDIA A100 สถาปัตยกรรม Ampere สำหรับลูกค้าที่ต้องการเครื่องพลังสูงมาทำ Machine Learning และงานด้าน HPC
ตอนนี้เครื่อง P4 ยังมีเพียงรุ่นย่อยเดียวคือ P4d.24xlarge และยังมีบริการเฉพาะเขตสหรัฐ สเปกเครื่องคือ
Canalys บริษัทวิเคราะห์ตลาดรายงานภาพรวมตลาดคลาวด์ทั่วโลกประจำไตรมาส 3 ปี 2020 พบว่าตลาดกำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว มูลค่าตลาดรวม 36,500 ล้านดอลลาร์ เติบโตขึ้นจากปีที่แล้ว 32.5% หรือเป็นเงิน 9,000 ล้านดอลลาร์ โดย AWS ยังคงครองตลาดได้ 32% ตามมาด้วย Azure 19%, Google Cloud 7%, และ Alibaba Cloud 6% แต่หากนับเฉพาะตลาดจีน Alibaba Cloud ยังคงอันดับหนึ่งต่อไป เนื่องจากภาครัฐหันมาใช้คลาวด์มากขึ้นในช่วงหลัง
ในรายงานยังระบุว่าความสนใจของตลาดเทไปทางเทคโนโลยี multi-cloud และ hybrid IT เนื่องจากองค์กรพยายามหาแนวทางการใช้งานที่เหมาะกับแต่ละงาน
ที่มา - Canalys
AWS เปิดตัวซีพียู Graviton ของตัวเอง (เป็น ARM) ในปี 2018, อัพเกรดเป็น Graviton 2 ในปี 2019 และเพิ่งเริ่มนำ Graviton 2 มาให้บริการในเดือนพฤษภาคม 2020 นี้เอง
ล่าสุด AWS ประกาศว่าบริการ Amazon ElastiCache จะเริ่มนำ instance ที่เป็นซีพียู Graviton 2 (M6g และ R6g) มาใช้งานแล้ว ความน่าสนใจคือ ElastiCache จะเลือกใช้ Graviton 2 เป็นค่าดีฟอลต์ด้วย ถ้าลูกค้าไม่เปลี่ยนค่าอะไร แปลว่าจะรันบน ARM แทนที่จะเป็น x86 นั่นเอง
AWS โอเพนซอร์สโครงการ Diagram Maker ไลบรารีจาวาสคริปต์สำหรับสร้างตัววาดแผนภาพ ที่แอปพลิเคชั่นจำนวนมากก็ต้องใช้งานกันอยู่แล้ว โดย AWS ระบุว่าไลบรารีที่มีอยู่เดิมไม่เหมาะกับงาน IoT เนื่องจากไลบรารีบางตัวก็เป็นระดับล่างเกินไปหรือบางตัวมี API ระดับสูงก็อินทิเกรดกับแอปพลิเคชั่นได้ยาก
Diagram Maker ของ AWS มีฟีเจอร์มาให้ในตัวค่อนข้างครบ ได้แก่
AWS เปิดฟีเจอร์ Cost Anomaly Detection สำหรับเตือนเมื่อค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นอย่างผิดปกติให้ลูกค้าทั่วไปใช้งานแบบพรีวิว โดยสามารถติดตามค่าใช้จ่ายทั้งในบัญชีเดียวกัน, ตามกลุ่มบัญชี, แยกประเภทบริการ, และแยกตามแท็กของบริการที่ใช้งาน
บริการนี้ไม่ได้ใช้เงื่อนไขตรงไปตรงมา เช่น การตั้งเพดานค่าใช้จ่ายหรือความเปลี่ยนแปลงรายวัน แต่ AWS ใช้อัลกอริทึมแบบ machine learning เพื่อตรวจจับแนวโน้มค่าใช้จ่าย โดยผู้ใช้สามารถกำหนดได้ว่าความผิดปกติเกินระดับใดจะแจ้งเตือน และจะให้บริการแจ้งเตือนบ่อยเพียงใด
นอกจากการใช้ machine learning ในการตรวจจับความผิดปกติแล้ว เมื่อมีการแจ้งเตือนบริการจะระบุต้นเหตุว่าเกิดค่าใช้จ่ายจากส่วนใด พร้อมลิงก์ไปยังบริการ Cost Explorer เพื่อตรวจสอบปัญหาต่อไป
Amazon CloudFront บริการ content delivery network (CDN) ของ AWS ประกาศรองรับการบีบอัดข้อมูลแบบ Brotli โดยเปิดใช้งานเป็นดีฟอลต์ (ก่อนหน้านี้ต้องเปิดตัวเลือกเอง)
Brotli เป็นฟอร์แมตการบีบอัดข้อมูลที่กูเกิลพัฒนาขึ้นในปี 2015 เพื่อใช้ทดแทน gzip ซึ่งนิยมใช้กันแพร่หลายในวงการเว็บเซิร์ฟเวอร์ ค่าเฉลี่ยแล้วอาจบีบอัดไฟล์ได้เล็กลงถึง 24% เทียบกับ gzip
AWS เปิดตัวเซิร์ฟเวอร์ EC2 แบบใหม่ T4g ที่ใช้ซีพียู Graviton2 ที่เป็นซีพียูสถาปัตยกรรม Arm ที่ AWS พัฒนาเอง
T4g ราคาถูกกว่า T3 20% ทำให้ราคาเครื่อง t4g.nano แรม 0.5GB มีค่าใช้งานเพียงเดือนละ 3.024 ดอลลาร์ ที่ราคาศูนย์ข้อมูล US East (Ohio) หรือประมาณ 95 บาทต่อเดือนเท่านั้น นับเป็นเครื่องรุ่นแรกของ AWS ที่ค่าบริการไม่ถึงเดือนละร้อย
T4g คิดค่าใช้งานแบบเครดิตซีพียู โดย AWS จะรับประกันประสิทธิภาพพื้นฐาน (baseline performance) เพียงบางส่วนของประสิทธิภาพคอร์จริง และหากใช้งานไม่เกินก็จะได้เครดิตสำหรับใช้งานให้เต็มประสิทธิภาพคอร์
Gartner ออกรายงานสรุปสถานการณ์แข่งขันในตลาดคลาวด์ (Magic Quadrant for Cloud Infrastructure and Platform Services) ประจำปี 2020
ผลลัพธ์ออกมาไม่มีอะไรน่าประหลาดใจ เพราะยังเหมือนปีก่อนๆ ที่ผู้ให้บริการ Top 3 ของโลก (AWS, Microsoft, Google) ยังอยู่ในกลุ่ม "ผู้นำ" (leaders) โดย AWS ยังนำคู่แข่งรายอื่นๆ แบบค่อนข้างทิ้งห่าง ส่วนผู้เล่นรายที่เหลือ 4 ราย (Alibaba Cloud, Oracle, IBM, Tencent Cloud) อยู่ในกลุ่ม "เฉพาะทาง" (niche players)
จากกรณี ไมโครซอฟท์เบียดชนะ AWS คว้างานใหญ่ JEDI Cloud กลาโหมสหรัฐ 1 หมื่นล้านดอลลาร์ เมื่อเดือนตุลาคม 2019 จนทำให้ AWS ต้องยื่นฟ้องศาลว่ากระบวนการพิจารณาไม่เป็นธรรม
กระทรวงกลาโหมสหรัฐตรวจสอบกระบวนการแล้วไม่พบความผิดปกติ และล่าสุดเสร็จสิ้นกระบวนการตรวจสอบ ยืนยันว่ายังให้ไมโครซอฟท์เป็นผู้ชนะโครงการ JEDI Cloud ดังเดิม (วิธีการคัดเลือกคือ กระทรวงกำหนดราคา 10,000 ล้านดอลลาร์ แล้วให้บริษัทเป็นผู้เสนอว่าจะให้อะไรบ้างในงบประมาณเท่านี้)
AWS เปิดตัว Bottlerocket OS ระบบปฎิบัติการเพื่อการรันคอนเทนเนอร์โดยเฉพาะ ตัดส่วนประกอบอื่นๆ ที่ใช้งานสำหรับเซิร์ฟเวอร์ปกติออกไป และเพิ่มระบบคอนฟิกผ่าน API แทนระบบไฟล์
จุดขายสำคัญของ Bottlerocket คือความปลอดภัย โดยส่วนประกอบอื่นๆ นอกจากเคอร์เนลพัฒนาด้วยภาษา Rust เป็นส่วนใหญ่เพื่อลดความเสี่ยงช่องโหว่การจัดการหน่วยความจำ, โครงการตั้งค่า SELinux แบบ enforcing เป็นค่าเริ่มต้น, และยังตรวจสอบการแก้ไขระบบปฎิบัติการ เพื่อหาการฝัง rootkit ด้วย dm-variety
AWS เปิดตัว AWS Controllers for Kubernetes (ACK) ซอฟต์แวร์ Operator สำหรับ Kubernetes ที่จะทำให้บริการบนคลาวด์กลายเป็นบริการที่เรียกใช้งานได้จากใน Kubernetes โดยตรง จากเดิมที่ก่อนหน้านี้เคยมีโครงการ AWS Service Operator ที่ Chris Hein พัฒนาเป็นงานอดิเรกมาก่อน ตอนนี้ทาง AWS ก็นำโครงการมาพัฒนาต่อ
ACK ทำให้การเรียกใช้ทรัพยากรต่างๆ ของ AWS กลายเป็นคอนฟิก YAML บน Kubernetes ไป โดยตอนนี้รองรับบริการ API Gateway V2, DynamoDB, ECR, S3, SNS, และ SQS ส่วนฟีเจอร์ที่กำลังเพิ่มในเร็วๆ นี้คือการเรียกระบบฐานข้อมูล RDS และ ElastiCache นอกจากนี้ทาง AWS ยังพิจารณาว่าจะรองรับการสร้างคลัสเตอร์ Kubernetes (Amazon EKS) บน ACK เอง ทำให้ผู้ใช้สามารถจัดการคลัสเตอร์จากคลัสเตอร์ได้
Amazon Braket บริการเช่าเครื่องคอมพิวเตอร์ควอนตัมของ AWS เข้าสถานะ GA (generally available) เรียบร้อย หลังเปิดทดสอบมาตั้งแต่เดือนธันวาคม 2019
Amazon Braket รองรับทั้งการรันควอนตัมบนซิมูเลเตอร์ และบนเครื่องจริงๆ (QPU หรือ Quantum Processing Unit) จากผู้ให้บริการ 3 รายคือ D-Wave, IonQ, Rigetti ซึ่งมีแนวทางแตกต่างกัน โดย IonQ และ Rigetti เป็นแนวทาง circuit-based ส่วน D-Wave เป็นแนวทาง quantum annealing
AWS ประกาศปรับรูปแบบงานประจำปี re:Invent จากเดิมเหมาหลายโรงแรมในลาสเวกัสกลายเป็นงานออนไลน์เต็มรูปแบบ และงานจะนานขึ้นเป็น 19 วันจากวันที่ 30 พฤศจิกายน ถึงวันที่ 18 ธันวาคมนี้
เดิม re:Invent มีกำหนดจัดงานวันที่ 30 พฤศจิกายน ถึงวันที่ 4 ธันวาคม ซึ่งเป็นช่วงเดิมของทุกปี เฉพาะปี 2019 ค่าเข้าร่วมงานเต็มรูปแบบอยู่ที่ 1,799 ดอลลาร์และมีผู้ร่วมงานกว่า 60,000 คน
ผู้สนใจลงทะเบียนขอรับอัพเดตได้ที่เว็บ AWS
ที่มา - @jeffbarr
ไมโครซอฟท์ซื้อกิจการ Minecraft มาตั้งแต่ปี 2014 แต่ยังคงปล่อยให้ Minecraft ใช้เทคโนโลยีที่ไม่ใช่ของไมโครซอฟท์มายาวนาน ทั้งโปรแกรมเวอร์ชัน Java และรันบนคลาวด์ AWS (ภายหลัง Minecraft ออกเวอร์ชัน C++ ที่เรียกว่า Bedrock Edition มาเพิ่มเติม แต่เวอร์ชัน Java ก็ยังอยู่)
ล่าสุดไมโครซอฟท์ประกาศย้ายเซิร์ฟเวอร์ของ Minecraft จาก AWS มาเป็น Azure แล้ว โดยให้ข้อมูลสั้นๆ แค่ว่าทยอยย้ายระบบมาสู่ Azure เป็นเวลาหลายปีแล้ว และจะย้ายเสร็จสิ้นภายในปีนี้
ก่อนหน้านี้มีกรณีคล้ายๆ กันคือ LinkedIn ที่ซื้อมาตั้งแต่ปี 2016 ก็ทยอยย้ายมา Azure เสร็จในปี 2019
จุดเริ่มต้นของ Amazon Web Services คือการที่ Amazon ต้องการนำเทคโนโลยีเซิร์ฟเวอร์ที่พัฒนาขึ้นเพื่อใช้ภายใน มาหารายได้จากการให้องค์กรอื่น (ที่มีขีดความสามารถทางเทคโนโลยีเยอะไม่เท่า) มาเช่าใช้งานด้วย ภายหลังจึงค่อยพัฒนามาเป็นบริการคลาวด์อันดับหนึ่งของโลกในยุคปัจจุบัน
แต่แนวคิดการนำเทคโนโลยีภายในมาเปิดใช้งานยังคงอยู่ ล่าสุด Amazon เปิดเทคโนโลยีด้านไลฟ์สตรีมมิ่งที่เราคุ้นกันจาก Twitch มาให้องค์กรอื่นใช้งาน ในรูปบริการตัวใหม่ของ AWS ชื่อว่า Interactive Video Service (Amazon IVS)
AWS เปิดตัว cdk8s+ ไลบรารีที่ขยายต่อมาจาก cdk8s ที่เพิ่งเปิดตัวไปเมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา โดย cdk8s+ สร้างเป็นส่วนขยายขึ้นมาเพื่อลดการเขียนโค้ดส่วนที่ไม่จำเป็นลง
โดยปกติการคอนฟิก Kubernetes มีออปเจกต์ต้องคอนฟิกต่อเนื่องกันหลายส่วน เช่นการเปิดบริการขึ้นมารับการเชื่อมต่อผ่านเน็ตเวิร์คก็ต้องคอนฟิกทั้งพอร์ตของบริการและสร้างออปเจกต์ Service ขึ้นมาอีกครั้ง รวมถึงต้องประกาศ label เพื่อให้ Kubernetes ส่งทราฟิกไปยังคอนเทนเนอร์ได้ถูกตัว แต่ใน cdk8s+ สามารถเขียนโค้ดประกาศบริการทีเดียว คอนฟิกที่ออกมาจะสร้าง label และออปเจกต์ขึ้นมาเอง
แม้เพิ่งประกาศโครงการมาไม่นานแต่ตอนนี้ repository ของ cdk8s ก็มีคนกดดาวถึง 1,300 คนแล้ว
Docker Inc. ร่วมมือกับ AWS รองรับการรัน docker-compose ขึ้น Amazon ECS และ AWS Fargate จาก Docker Desktop ได้ในคำสั่งเดียว
ผู้ใช้สามารถล็อกอินเข้า AWS ได้จาก Docker CLI จากนั้นสั่ง docker ecs compose up
เพื่อรันคอนเทนเนอร์บนคลาวด์ได้ทันทีโดยไม่ต้องเรียนการคอนฟิกบริการ ECS อีก
บริการนี้ยังอยู่ในสถานะเบต้า นักพัฒนาต้องใช้ Docker Desktop Edge เวอร์ชั่น 2.3.3.0 ขึ้นไป และตัวโค้ดเบื้องหลังเป็นปลั๊กอินของ Docker ที่เป็นโครงการโอเพนซอร์ส
ที่มา - AWS Blog
AWS ปรับสถานะบริการฐานข้อมูล RDS บน Outpost (ที่เพิ่งวางขายในไทย) เป็นสถานะ GA เปิดให้ลูกค้าสามารถสร้างฐานข้อมูลในองค์กรโดยไม่ต้องดูแลซอฟต์แวร์เอง ทำให้ AWS กลายเป็นคู่แข่งโดยตรงกับออราเคิลที่ให้ขายคลาวด์สำหรับการสร้างฐานข้อมูลในศูนย์ข้อมูลลูกค้าเองมาก่อนในชื่อ Cloud at Customer