Tags:
Node Thumbnail

ทีมวิจัยห้องปฎิบัติการ MRC Laboratory of Molecular Biology มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ประกาศความสำเร็จในการทำแผนที่สมองแมลงวันทอง (Drosophila fruit fly) ครบทั้งสมอง รวม 140,000 นิวรอน การเชื่อมโยงไซแนปส์รวม 15 ล้านชุด สามารถระบุประเภทเซลล์สมองได้ 8,452 ประเภท จากเดิมที่จำแนกได้เพียง 3,643 ประเภทเท่านั้น

กระบวนการทำแผนที่สมองอาศัยการสไลซ์ตัวอย่างเป็นแผ่นๆ หนา 40 นาโนเมตรแล้วสแกนด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอน จากนั้นใช้ปัญญาประดิษฐ์แยกส่วนของภาพว่าส่วนใดเป็นนิวรอนและเชื่อมต่อกับเซลล์ใดบ้าง จากนั้นยืนยันข้อมูลด้วยนักวิทยาศาสตร์ทั้งในทีมงานเองและนักวิทยาศาสตร์อาสาสมัคร โดยรวมใช้เวลายืนยันการเชื่อมต่อประมาณ 33 ปีทำงาน

Tags:
Node Thumbnail

คณะนักวิจัยด้านชีววิทยาจากประเทศจีน ค้นพบแมงมุมสายพันธุ์ใหม่ในมณฑลกวางสีของจีน โดยเป็นแมงมุมที่อาศัยอยู่ในถ้ำที่ไม่มีแสงสว่าง ทำให้ความสามารถในการมองเห็นหายไป และกลายเป็นแมงมุมพันธุ์ที่ไม่มีดวงตา

ความพิเศษของเรื่องนี้คือคณะผู้วิจัยตั้งชื่อแมงมุมสายพันธุ์นี้ว่า Otacilia khezu โดย Otacilia เป็นชื่อวงศ์ของแมงมุมลักษณะนี้ ส่วน Khezu มาจากชื่อมอนสเตอร์บินได้ตาบอดในเกมซีรีส์ Monster Hunter ซึ่งเรื่องนี้ถูกเขียนไว้ในเปเปอร์วิจัยอย่างชัดแจ้ง

Tags:
Node Thumbnail

ทีมวิจัยจาก Indiana University Bloomington รายงานถึงความสำเร็จในการสร้างหน่วยประมวลผลปัญญาประดิษฐ์ที่ใช้เซลล์สมองจริงๆ มาทดแทนชิปเซมิคอนดักเตอร์ เรียกว่า Bainoware

ทีมวิจัยเลี้ยงกลุ่มเซลล์สมอง (brain organoid) แล้วไปวางบนแผงขั้วไฟฟ้า แล้วต่อขั้วไฟฟ้า จากนั้นแปลงข้อมูลอินพุตให้กลายเป็นการกระตุ้นไฟฟ้าเข้าไปยังเซลล์สมอง แล้วอ่านค่าจากการตอบสนองของเซลล์

Tags:
Node Thumbnail

นับเป็นเรื่องสะเทือนวงการการศึกษา เมื่อบทเรียนต่าง ๆ รวมถึงบทเรียนที่เป็นที่รู้จักกันดีอย่าง “ตารางธาตุ” และ “ทฤษฎีวิวัฒนาการ” กลับถูกถอนจากหลักสูตรของนักเรียนในประเทศอินเดีย
ช่วงต้นปีนี้ สภาวิจัยและฝึกอบรมทางการศึกษาแห่งชาติ (NCERT) ซึ่งเป็นหน่วยงานสาธารณะที่พัฒนาหลักสูตรและตำราเรียนของโรงเรียนอินเดีย ได้ถอน “ตารางธาตุ” ออกจากบทเรียนของชั้นเรียนปีที่ 10 ซึ่งเป็นชั้นปีสุดท้ายที่บังคับเรียน วิชาวิทยาศาสตร์ ดังนั้นจะมีเพียงนักเรียนส่วนน้อยที่เลือกเรียนวิชาเคมีในชั้นปีที่ 11 และ 12 เท่านั้นที่จะได้เรียนรู้เกี่ยวกับตารางธาตุ (โดยชั้นเรียนปีที่10-12 นั้นเทียบเท่ากับชั้นมัธยมศึกษาปีที่4-6ในไทย)

Tags:
Node Thumbnail

สำหรับผู้ที่ประกอบวิชาชีพในสายงานสาธารณสุขรวมทั้งผู้ที่บริจาคเลือดอย่างสม่ำเสมอคงพึงเข้าใจเป็นอย่างดีว่าทุกวันนี้การบริหารคลังเลือดเพื่อใช้สำหรับการรักษาผู้ป่วยนั้นเป็นเรื่องสำคัญขนาดไหน ทุกวันนี้ยังคงมีความต้องการรับบริจาคเลือดอยู่ตลอดเวลาเนื่องจากความต้องการใช้เลือดยังคงมีอย่างต่อเนื่อง ซึ่งที่ผ่านมาปริมาณเลือดสำรองนั้นล้วนมาจากการรับบริจาคทั้งหมด แต่ตอนนี้มีความเป็นไปได้ใหม่ทางวิทยาศาสตร์ที่อาจมาช่วยบรรเทาปัญหาขาดแคลนเลือดได้ นั่นคือการใช้ "เลือดสังเคราะห์"

Tags:
Node Thumbnail

ศาสตราจารย์ Ugur Sahin และ Ozlem Tureci ผู้ร่วมก่อตั้งบริษัท BioNTech ซึ่งเป็นผู้ผลิตวัคซีนป้องกันโควิดให้กับ Pfizer เผยว่า ขณะนี้กำลังพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ที่นำ mRNA มาใช้เพื่อรักษาโรคมะเร็ง ซึ่งอาจจะรักษามะเร็งผิวหนัง มะเร็งลำไส้ใหญ่ และเนื้องอกชนิดอื่น ๆ ได้ และน่าจะนำมาใช้กับผู้ป่วยได้ก่อนปี 2030

Tags:
Node Thumbnail

งานวิจัยใหม่จากญี่ปุ่นยืนยันสิ่งที่เจ้าของหมาหลายคนอาจนึกสงสัยมานานว่าเวลาพวกเขาไปทำงานนั้นน้องหมาที่บ้านคิดถึงพวกเขามากไหม และผลการทดลองวิจัยพบว่าน้องหมาก็คิดถึงเจ้าของเป็นเหมือนกัน และมันจะดีใจมากจริงๆ เวลาที่ได้กลับมาเจอกัน จนถึงขนาดหลั่งฮอร์โมนแห่งความสุขมากมายจนน้ำตาไหล

จุดเริ่มต้นของงานวิจัยนี้เริมมาจากตัวนักวิจัยเองซึ่งเลี้ยงหมาเอาไว้ เมื่อหนึ่งในหมา 2 ตัวของเขาคลอดลูกออกมาใหม่ เขาสังเกตมันแล้วพบว่าดวงตาของมันดูเหมือนมีน้ำตามากกว่าปกติ และเขารู้สึกว่ามันน่ารักยิ่งกว่าเคย นั่นทำให้เขารู้สึกสงสัยว่าปริมาณน้ำตาของน้องหมาสัมพันธ์กับระดับฮอร์โมนในร่างกายของหมาโดยเฉพาะฮอร์โมนออกซิโตซินซึ่งเรียกว่าเป็นฮอร์โมนแห่งความรักหรือไม่

Tags:
Node Thumbnail

นักวิจัยสร้างกระจกตาเทียมด้วยคอลลาเจนจากหนังหมู นำมาทดลองปลูกถ่ายให้อาสาสมัคร 20 ราย ทำให้ผู้รับการปลูกถ่ายได้การมองเห็นกลับคืนมา

งานวิจัยนี้ประกอบไปด้วยสมาชิกทีมวิจัยจากหลายสถาบันใน 3 ประเทศ อันได้แก่สวีเดน, อิหร่าน และอินเดีย โดยมีการผ่าตัดปลูกถ่ายกระจกตาเทียมแล้วเฝ้าติดตามผลหลังการผ่าตัดนาน 2 ปี ก่อนมีการสรุปผลวิจัย

Tags:
Node Thumbnail

เชื่อว่าเกือบทุกคนรู้จักภาพยนตร์เรื่อง Jurassic Park ภาคแรกกันดี กับเรื่องราวการคืนชีพให้ไดโนเสาร์โดยอาศัยเทคนิคการตัดต่อพันธุกรรมเข้าช่วย ในตอนนั้นแนวคิดนี้ดูล้ำยุคไปมากจนหลายคนคงยากจะจินตนาการว่าจะมีใครพยายามทำสิ่งที่ใกล้เคียงกันให้เกิดขึ้นได้จริง

แต่ตอนนี้มีคนกลุ่มหนึ่งประกาศตัวด้วยเป้าหมายยิ่งใหญ่ที่จะคืนชีพให้สิ่งมีชีวิตที่สูญพันธุ์ไปแล้วด้วยเทคโนโลยีด้านพันธุกรรมศาสตร์คล้ายคลึงกับสิ่งที่เห็นจากภาพยนตร์ พวกเขาคือ Colossal บริษัทด้านเทคโนโลยีชีวภาพจากสหรัฐอเมริกา และโครงการแรกคือการคืนชีพให้เสือแทสมาเนียที่สูญพันธุ์ไปแล้ว

Tags:
Node Thumbnail

นักวิจัยจากญี่ปุ่นค้นพบว่าหมูสามารถรับเอาออกซิเจนเข้าทางรูทวารหนักได้แทนการหายใจตามปกติทางจมูกและปาก ซึ่งนี่อาจนำไปสู่แนวทางใหม่สำหรับการรักษาผู้ป่วยที่มีปัญหาระบบทางเดินหายใจ

ทีมนักวิจัยพบจาก Tokyo Medical and Dental University ได้ทำการทดลองอัดของเหลวที่มีส่วนผสมของออกซิเจนเข้าทางรูทวารหนักผ่านไปยังลำไส้ของหมู ทำให้มันสามารถมีชีวิตรอดอยู่ได้แม้ไม่มีการหายใจด้วยปอด กล่าวคือร่างกายของหมูสามารถรับออกซิเจนเข้าสู่ร่างกายได้ผ่านลำไส้

ซึ่งการวิจัยทดลองนี้มาจากการสังเกตธรรมชาติของปลาชนิดหนึ่ง ก่อนจะเริ่มทดลองกับสัตว์ขนาดเล็กอย่างหนู และมาสู่การทดลองกับหมูในงานวิจัยล่าสุด ซึ่งอนาคตก็เตรียมจะทำการทดลองกับร่างกายคนเป็นลำดับถัดไป

Tags:
Node Thumbnail

หนึ่งในโรคที่ทาสแมวรู้จักกันดีคือโรคไข้ขี้แมว หรือชื่ออย่างเป็นทางการคือโรค Toxoplasmosis เกิดจากการติดเชื้อโปรโตซัวที่มีชื่อว่า Toxoplasma gondii (T.gondii) ซึ่งนักวิจัยทำการทดลองและตั้งข้อสังเกตว่าเชื้อดังกล่าวอาจมีผลทำให้ร่างกายของผู้ติดเชื้อมีเสน่ห์ทางเพศเพิ่มมากขึ้น

โรค Toxoplasmosis นั้นพบได้มากในแมวก็จริง แต่ความจริงแล้วสัตว์ฟันแทะและมนุษย์ก็สามารถเป็นโรคนี้เมื่อติดเชื้อ T.gondii ได้เช่นกัน สำหรับคนที่ติดเชื้อนี้นอกเหนือจากอาการเจ็บป่วยอย่างต่อมน้ำเหลืองอักเสบ, ตัวร้อน, ปวดกล้ามเนื้อแล้ว แต่นอกเหนือไปจากนั้นนักวิจัยพบว่ามันยังมีผลทำให้ระดับฮอร์โมนเทสโทสเทอโรนในผู้ติดเชื้อที่เป็นเพศชายเพิ่มสูงขึ้นด้วย อีกทั้งยังพบว่าผู้ติดเชื้อไข้ขี้แมวยังมีลักษณะโครงหน้าที่มีความสมมาตรมากกว่าผู้ไม่ติดเชื้อ

Tags:
Node Thumbnail

Stanley Qi ผู้ช่วยศาสตรจารย์ด้านวิศวกรรมพันธุกรรมมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ดและทีมงาน นำเสนองานวิจัย CasMINI ระบบการตัดต่อพันธุกรรมที่ใช้โปรตีนสั้นกว่า CRISPR ลงครึ่งหนึ่ง เปิดทางให้ใช้เทคนิคนี้สร้างกระบวนการพันธุกรรมบำบัด (gene therapy) แบบใหม่ๆ

CRISPR เดิมนั้นใช้ยีน Cas9 หรือ Cas12 เป็นตัวตัดต่อพันธุกรรม โดยทั้งสองแบบมีความยาวโปรตีนประมาณ 1000-1500 กรดอมิโน แต่ CasMINI นั้นมีความยาว 529 กรดอมิโน

กระบวนการสร้าง CasMINI ตั้งต้นจากยีน Cas12f ที่พบในสัตว์เซลล์เดียว โดยมันมีความยาวเพียง 400-700 กรดอมิโนเท่านั้น แต่ไม่สามารถตัดต่อพันธุกรรมมนุษย์ได้ ทีมวิจัยปรับแต่งโปรตีนประมาณ 40 จุดเพื่อพยายามให้ใช้กับมนุษย์ได้ในที่สุด

Tags:
Node Thumbnail

เหตุโรคระบาด COVID-19 ทำให้คนจำนวนมากรู้จักเทคโนโลยีการผลิตวัคซีนอย่างไม่เคยมีมาก่อน เช่นเทคโนโลยีเชื้อตายที่เป็นเทคโนโลยีผลิตวัคซีนที่มีมายาวนาน และเหตุโรคระบาดครั้งนี้ก็มีวัคซีนเชื้อตายถึง 3 ตัว อีกเทคโนโลยีคือ mRNA ที่เพิ่งมีถูกใช้พัฒนาวัคซีนเพื่อใช้งานเป็นวงกว้างครั้งแรก

ในงาน TEDxBeaconStreet เมื่อปี 2013 Stéphane Bancel ผู้ก่อตั้งบริษัท Moderna ได้บรรยายถึงไว้ว่าทำไมเทคโนโลยี mRNA จึงเป็นเทคโนโลยีสำคัญที่ไม่หยุดแค่การสร้างวัคซีนต่อต้านไวรัสใหม่ๆ เท่านั้น แต่ยังมีโอกาสสร้างยาใหม่ๆ สู้โรคที่เราไม่เคยรักษาได้มาก่อน

Tags:
Node Thumbnail

Darren Pollock นักวิจัยด้านแมลง (กีฏวิทยา)​ จากมหาวิทยาลัย Eastern New Mexico University ในสหรัฐอเมริกา ค้นพบแมลงปีกแข็ง 3 สายพันธุ์ใหม่ในทวีปออสเตรเลีย เขาจึงตั้งชื่อแมลงทั้ง 3 สายพันธุ์นี้ว่า Articuno, Moltres, Zapdos (ชื่อวิทยาศาสตร์อย่างเป็นทางการคือ Binburrum articuno, Binburrum moltres, Binburrum zapdos)

หากใครเป็นแฟนเกมหรือการ์ตูนซีรีส์​โปเกมอนคงรู้จักชื่อทั้งสามกันดี เพราะเป็นชื่อโปเกมอนนกในตำนาน (legendary birds)​ ของโปเกมอนภาคแรกสุด (Red, Blue, Yellow) โดยเป็นตัวแทนของนกธาตุน้ำแข็ง สายฟ้า และไฟ ตามลำดับ

Tags:
Node Thumbnail

DeepMind เปิดตัวปัญญาประดิษฐ์ AlphaFold2 สำหรับการทำนายโครงสร้างการ "พับ" ของโปรตีน ทำให้นักวิทยาศาสตร์สามารถทำนายกระบวนการทำงานของโปรตีนแต่ละตัวได้รวดเร็วขึ้นในราคาถูกลง เปิดทางการพัฒนายาให้รวดเร็วยิ่งขึ้น

Tags:
Node Thumbnail

ห้องวิจัยแห่งชาติ Oak Ridge National Laboratory (ORNL) ของกระทรวงพลังงานสหรัฐ เป็นเจ้าของ ซูเปอร์คอมพิวเตอร์อันดับหนึ่งของโลก Summit มาตั้งแต่ปี 2018 ล่าสุด ORNL ประกาศว่านำ Summit มาใช้วิเคราะห์สารประกอบของตัวยา (drug compound) เพื่อพัฒนาวัคซีนต่อต้านไวรัส SARS-CoV-2 ที่เป็นต้นเหตุของโรค COVID-19

นักวิจัยนำ Summit มารันซิมูเลเตอร์เพื่อทดสอบสารประกอบกว่า 8,000 ตัว คัดหาสารประกอบที่มีโอกาสไปเกาะกับหนาม (spike) ของไวรัสโคโรนา เพื่อไม่ให้ไวรัสไปติดเซลล์ ผลคือสามารถคัดหาสารประกอบ 77 ชนิด ที่จะนำไปคัดเลือกต่อในขั้นถัดไป

Tags:
Node Thumbnail

ทีมนักวิจัยจากมหาวิทยาลัย The University of Texas at Austin และ National Institutes of Health ประกาศความสำเร็จในการสร้าง "แผนผัง 3 มิติ" ที่ครอบคลุมบางส่วนของไวรัสโคโรนา COVID-19 ซึ่งเป็นก้าวสำคัญของการสร้างวัคซีนเพื่อต่อสู้กับไวรัส

Jason McLellan หัวหน้าคณะนักวิจัย (คนซ้ายในภาพ) เคยศึกษาไวรัสโคโรนาตัวอื่นๆ (เช่น SARS-CoV และ MERS-CoV) อยู่ก่อนแล้ว และพัฒนาวิธีการล็อค "หนาม" (spike) ของไวรัสที่ยื่นออกมารอบตัว เพื่อให้วิเคราะห์ไวรัสได้ง่ายขึ้น เมื่อไวรัส COVID-19 ระบาด ทีมงานก็เริ่มลงมือทำงานทันที เพราะมั่นใจว่าความเชี่ยวชาญที่ผ่านมาจะช่วยให้สร้างผังไวรัสได้เร็ว

Tags:
Node Thumbnail

กูเกิลร่วมกับห้องวิจัย Janelia Research Campus ภายใต้สถาบัน Howard Hughes Medical Institute (HHMI) และนักวิจัยพันธมิตร ปล่อยข้อมูล "hemibrain" แผนที่การเชื่อมต่อนิวรอนในสมองแมลงวันแบบรายละเอียดสูง

ชุดข้อมูลนี้ได้จากภาพสามมิติครึ่งหนึ่งของสมองแมลงวัน ตรวจสอบแล้วว่าเป็นการเชื่อมต่อระหว่างนิวรอนประมาณ 25,000 นิวรอน รวมจุดเชื่อมต่อกว่า 25 ล้านชุด

Tags:
Node Thumbnail

หนึ่งในแนวคิดเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนของยุคนิคมอวกาศในอนาคตคือเรื่องการรักษาอาการบาดเจ็บโดยอาศัยชิ้นส่วนอวัยวะที่พิมพ์จากเครื่องพิมพ์ 3 มิติ และตอนนี้บริษัทผู้ผลิตเครื่องพิมพ์ 3 มิติ 2 ราย ได้ร่วมมือกันพัฒนาเครื่องพิมพ์ดังกล่าวและเตรียมจะส่งไปให้นักบินอวกาศได้ใช้งานกันบนสถานีอวกาศนานาชาติ (ISS)

บริษัทที่ว่านี้คือ Allevi ซึ่งเป็นผู้ผลิตเครื่องพิมพ์เนื้อเยื่อและชิ้นส่วนอวัยวะ และ Made in Space ซึ่งเป็นบริษัทผู้ผลิตเครื่องพิมพ์ 3 มิติที่มีการใช้งานอยู่บนสถานีอวกาศนานาชาติมาก่อนแล้ว

Tags:
Node Thumbnail

อินเดียประกาศให้ประชาชนระวังการแพร่ระบาดของไวรัสนิปาห์ (Nipah) หลังมีรายงานว่าเมืองโคษิโฆษ (Kozhikode) เมืองทางใต้ของอินเดียมีผู้ติดเชื้อ และเสียชีวิตแล้ว 10 ราย

ไวรัสนิปาห์ (Nipah henipavirus, Nipah virus, NiV) ถูกค้นพบครั้งแรกในปี ค.ศ. 1998 ในประเทศมาเลเซีย แต่มีการรายงานว่าระบาดสู่มนุษย์ที่ประเทศบังกลาเทศในปี ค.ศ. 2004 และพบว่าระบาดจากคนสู่คนครั้งแรกในประเทศอินเดียเมื่อวันอังคารที่ผ่านมา (22 พ.ค. 2018)

Tags:
Topics: 
Node Thumbnail

โรคหัวใจ หนึ่งในโรคที่พรากชีวิตมนุษย์ทั่วโลกรวมถึงประเทศสหรัฐอเมริกา และประเทศไทย โดย น.พ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ อดีตปลัดกระทรวงสาธารณสุขได้แถลงในปีพ.ศ. 2556 ไว้ว่า คนไทยเสียชีวิตจากโรคหัวใจโดยเฉลี่ย 6 คน ในทุก 1 ชั่วโมง

องค์การอนามัยโลกได้ทำนายว่าภายในปีพ.ศ. 2573 จะมีผู้เสียชีวิตด้วยโรคหัวใจเพิ่มขึ้นสูงถึง 23 ล้านคน ซึ่งสาเหตุการป่วยโรคหัวใจในขณะนี้ เกือบ 100% เป็นผลมาจากโรคที่เกิดจากวิถีชีวิตและพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่ถูกต้อง และมีโรคเป็นตัวเร่งสำคัญ ได้แก่ เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง และความอ้วน ซึ่งล้วนเป็นโรคที่มีผลต่อหลอดเลือดทั้งสิ้น

Tags:
Node Thumbnail

ศ.นพ.สุรเดช หงส์อิง หัวหน้าโครงการโรคมะเร็งในเด็ก และคณาจารย์แพทย์สาขาวิชาโลหิตวิทยาและมะเร็งวิทยา ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมมือกับ ศ.ฟิลลิป เลอโบช (Philippe Leboulch) นักวิจัยจาก University of Paris และทีมแพทย์จากสหรัฐอเมริกา Harvard Medical School ได้ค้นพบวิธีการรักษาธาลัสซีเมียหรือโรคโลหิตจางโดยเปลี่ยนจากวิธีการถ่ายเลือดของผู้ป่วยเป็นการเข้าไปบำบัดที่ยีน โดยใช้เซลล์ต้นกำเนิดจากพ่อแม่ของผู้ป่วยนำมาทดลองรักษา ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องใหม่ของวงการการรักษาโรคธาลัสซีเมียแล้วประสบความสำเร็จได้

Tags:
Node Thumbnail

เช้ามืดของวันศุกร์ที่ 18 มิถุนายน 1976 ณ มุมหนึ่งใน Rancho Cordova เมืองทางตะวันออกของ Sacramento รัฐ California ประเทศสหรัฐอเมริกา ในยามที่ผู้คนส่วนใหญ่กำลังหลับใหลและเตรียมที่จะตื่นออกไปทำงานอีกวันเฉกเช่นวันปกติที่ผ่านมา แต่สำหรับหญิงสาวคนหนึ่งแล้ว นั่นคือช่วงเวลาฝันร้ายของชีวิต เธอถูกชายแปลกหน้าบุกเข้ามาทำร้ายและข่มขืนถึงในบ้าน และนั่นคือจุดเริ่มต้นของตำนานอาชญากรที่สุดแสนน่าสะพรึง

Tags:
Node Thumbnail

ดร.แอนดริว ลี (Andrew Lee) และทีมศัลยแพทย์จากมหาวิทยาลัยจอห์น ฮอปกินส์ (Johns Hopkins University) รัฐแมรีแลนด์ สหรัฐอเมริกา ได้ทำการผ่าตัดองคชาติและถุงอัณฑะแก่ทหารผู้ที่ได้รับบาดเจ็บจากการก่อการร้ายในประเทศอัฟกานิสถาน โดยทีมศัลยแพทย์ได้นำองคชาติ ถุงอัณฑะ และผนังช่องท้องบางส่วนของผู้บริจาคที่ได้แสดงความจำนงในการบริจาคอวัยวะหลังจากตนได้เสียชีวิตไปแล้ว โดยมีเป้าหมายเพื่อให้ผู้ป่วยได้ฟื้นสมรรถภาพทางเพศกลับมาดังเดิม ซึ่งเป็นไปไม่ได้ในการสร้างองคชาติขึ้นมาใหม่

Tags:
Node Thumbnail

เรียกได้ว่าแทบจะเป็นการพลิกตำราวงการวิทยาศาสตร์เมื่อแดเนียล ไครสต์ (Daniel Christ) และทีมนักวิจัยจากสถาบันวิจัยทางการแพทย์การ์วาน (Garvan Institute of Medical Research) ประเทศออสเตรเลียค้นพบว่าดีเอ็นเอ (DNA: Deoxyribose Nucleic Acid) ไม่ได้เป็นเพียงแค่เกลียวคู่ตลอดสาย แต่ว่าบางส่วนของมันมีรูปร่างที่ซับซ้อนมากกว่านั้น

Pages