Google เตรียมจัดงานที่ซานฟรานซิสโก ในวันที่ 24 กรกฎาคมนี้ โดยเนื้อหาในบัตรเชิญไม่ได้บอกว่าจุดประสงค์ของงานนี้คืออะไรกันแน่
นอกจากเชิญชวนให้มารับประทานอาหารเช้าร่วมกับ Sundar Pichai ผู้ซึ่งดูแล Android และ Chrome โดยงานดังกล่าวจะถ่ายทอดสดผ่าน YouTube ด้วย
ในงานนี้อาจมีการเปิดตัว Android 4.3, Nexus 7 รุ่นใหม่ หรือการอัพเดตของ Chrome OS ก็เป็นได้
ที่มา - Engadget
กูเกิลอัพเดต Chrome Beta for Android เป็นเวอร์ชัน 29.0.1547.23 ซึ่งมีฟีเจอร์ใหม่ที่สำคัญคือรองรับโพรโทคอล WebRTC เรียบร้อยแล้ว ทำให้มีโอกาสสูงที่เราจะเห็นบริการ VoIP หรือ video call ผ่านหน้าเว็บที่ใช้กับ Android ในเร็ววันนี้
ความพยายามผลักดัน WebRTC คงต้องใช้เวลาอีกสักระยะกว่าเบราว์เซอร์รายใหญ่จะรองรับทั้งหมด ตอนนี้ยังมีเพียงแค่ Chrome, Opera ยุค Chromium และ Firefox ส่วนไมโครซอฟท์ยังสงวนท่าที แถมเสนอมาตรฐานอื่นมาแข่งกับ WebRTC ด้วย
ที่มา - Chrome Releases
TwitMute เป็นส่วนขยายสำหรับเว็บเบราว์เซอร์ Google Chrome ครับ
หน้าที่ของ TwitMute คือ กรองทวีตของผู้ใช้ที่ไม่พึงประสงค์โดยที่เราไม่ต้อง unfollow ผู้ใช้คนนั้น
TwitMute จะกรองทวีตที่ติดแท็ก ทวีตที่มีข้อความหรือคำที่ไม่พึงประสงค์ออกไปจากหน้าเว็บเพจ Twitter Timeline ของเรา หลังจากติดตั้ง TwitMute แล้วต้อง refresh หน้าเว็บ Twitter ใหม่อีกครั้งเพื่อเริ่มการทำงานของ TwitMute ในครั้งแรก
หลังจากกูเกิลออก Chrome 28 บนลินุกซ์ ไปเมื่อเดือนที่แล้ว คราวนี้ก็ถึงคิวของแพลตฟอร์มที่เหลือคือวินโดวส์ แมค และ Chrome Frame ที่จะได้อัพเป็นเวอร์ชัน 28 ด้วย
ฟีเจอร์ใหม่ที่สำคัญคือ Rich Notification ระบบแจ้งเตือนบนเดสก์ท็อป (รายละเอียดในข่าวเก่า) ซึ่งตอนนี้ยังใช้ได้เฉพาะเวอร์ชันวินโดวส์เท่านั้น อีกสักพักเราคงเริ่มเห็นเว็บแอพบางตัวเริ่มรองรับระบบแจ้งเตือนแบบใหม่นี้กันครับ
Chrome เริ่มรองรับแอพที่เรียกว่า Packaged Apps (แอพที่ทำงานแบบออฟไลน์แต่เขียนด้วย HTML/JavaScript และรันอยู่บน Chrome) มาได้สักระยะแล้ว (ข่าวเก่า)
วันนี้กูเกิลก็ประกาศเพิ่มความสามารถใน Chrome Dev ให้แอพกลุ่มนี้สามารถเข้าถึง API ของเครื่อง และ API ของกูเกิลเองมากขึ้น
กูเกิลออก Chrome 28 Stable มีของใหม่ ดังนี้
ตอนนี้ยังมีแค่เวอร์ชันบน Linux รองรับตั้งแต่ Ubuntu 12.04, Debian 7, OpenSuSE 12.2, Fedora Linux 17 หรือในเวอร์ชันที่สูงกว่าขึ้นไป
Google พัฒนาโค้ด VP9 สำเร็จแล้ว และเตรียมพร้อมจับใส่เป็นเครื่องมือมาตรฐานของเว็บเบราว์เซอร์ของตนเองอย่าง Chrome และเว็บสำหรับดูวิดีโออย่าง YouTube
VP9 คือ เครื่องมือเข้ารหัสและถอดรหัสไฟล์วิดีโอที่ Google พัฒนาขึ้นมาเองต่อจาก VP8 ซึ่งทั้งหมดเป็นส่วนหนึ่งของโครงการ WebM ที่เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่งาน Google I/O เมื่อ 3 ปีก่อน ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นความพยายามของ Google ที่จะพัฒนาเครื่องมือเข้ารหัสและถอดรหัสไฟล์วิดีโอ โดยหวังจะลดการพึ่งพาซอร์สโค้ดที่มีค่าใช้จ่ายทางด้านลิขสิทธิ์อย่าง H.264 ซึ่งเป็นเครื่องมือเข้ารหัสและถอดรหัสไฟล์วิดีโอที่ได้รับความนิยมมากที่สุดอยู่ในขณะนี้
Chrome Frame เป็นซอฟต์แวร์ของกูเกิลที่ออกเมื่อปี 2009 เพื่อฝังเอนจินแสดงผลของ Chrome ลงใน IE (ข่าวเก่า) เพื่อให้ผู้ใช้ที่จำเป็นต้องใช้ IE เวอร์ชันเก่าๆ (ด้วยเหตุผลด้านแอพหรือนโยบายองค์กร) สามารถเข้าถึงเทคโนโลยีเว็บใหม่ๆ ได้ด้วย
มีข่าวเล็ดรอดว่า Google กำลังพัฒนาฮาร์ดแวร์ของตนเองที่ชื่อ Chromekey ซึ่งมันคืออุปกรณ์สำหรับเสียบจอทีวีหรือจอคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ เพื่อแสดงภาพจากสมาร์ทโฟน, แท็บเล็ต หรือคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นที่มีหน้าจอขนาดเล็ก
Chromekey จะสามารถแสดงหน้าต่างเว็บเบราว์เซอร์ Chrome หรือฉายเนื้อหาต่างๆ เช่น คลิปวิดีโอจาก YouTube, Google Play, Netflix รวมทั้งการใช้เว็บแอพต่างๆ บนหน้าจอทีวี หรือหน้าจอคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ ซึ่งจะทำให้ผู้ใช้สามารถรับชมเนื้อหาและข้อมูลต่างๆ ได้สะดวกสบายตายิ่งขึ้น แทนที่จะต้องเพ่งดูจากหน้าจอขนาดเล็กของสมาร์ทโฟน, แท็บเล็ต หรือคอมพิวเตอร์หน้าจอเล็ก
เว็บไซต์ Google Developers แปะคลิปวิดีโอ 2 อันที่มีตัวเลขนับถอยหลังสู่งาน "Chrome Mobile Special Event" ซึ่งถอดตัวเลขออกมาแล้วเป็นวันที่ 7 และ 11 มิถุนายนนี้
ตอนนี้ยังไม่มีใครรู้ว่างานนี้คืองานอะไร และทำไมกูเกิลถึงแยกจัดงานของ Chrome Mobile ออกจาก Google I/O ที่เพิ่งผ่านพ้นไปครับ (ระหว่างนี้ก็คงต้องเดากันเล่นๆ ไปก่อน)
ที่มา - Android Police
สถิติจาก Net Applications ครั้งใหม่นี้ หลังจากที่ IE10 เปิดตัวบน Windows 7 ตามด้วย Firefox 21 และ Chrome 27 โดยสถิติในช่วงเดือนเมษายน-พฤษภาคม เป็นดังนี้
Chrome มีฟีเจอร์ "แจ้งเตือนนอกเบราว์เซอร์" มาสักระยะหนึ่งแล้ว แต่กูเกิลก็มีแผนปรับปรุงระบบแจ้งเตือนให้หรูหรามากขึ้น (rich notification)
วันนี้ระบบแจ้งเตือนตัวใหม่เข้ามาใน Chrome 28 Beta แล้ว หน้าตาของมันจะคล้ายกับ notification ของ Android ที่มีภาพประกอบและปุ่มสั่งการ (เช่น ตอบข้อความ ลบข้อความ) จากหน้าจอแจ้งเตือนได้เลย
กูเกิลยังเปิด API ให้แอพและส่วนขยายของ Chrome เรียกใช้ระบบแจ้งเตือนแบบใหม่ได้ด้วย รายละเอียดดูที่ Chromium Blog
หลังจากกูเกิลปรับรุ่นของ Chrome for Android ให้เท่ากับรุ่นเดสก์ท็อป ก็ดูว่าจังหวะการพัฒนาของ Chrome จะเร็วขึ้นมาก
ล่าสุดกูเกิลออก Chrome 27 for Android หลัง Chrome 27 รุ่นปกติ เพียงวันเดียว ของใหม่ที่สำคัญคือเพิ่มโหมดท่องเว็บแบบเต็มหน้าจอ (fullscreen), ปรับวิธีการค้นหาในกล่อง Omnibox นิดหน่อย ให้คงคำค้นเดิมไว้ในกล่องเผื่อแก้ไขได้สะดวก, กดปุ่ม Back ค้างจะแสดงประวัติการท่องเว็บ และแก้ไขบั๊กอื่นๆ
ที่มา - Google Chrome Release
ฟีเจอร์ที่กูเกิลโชว์ในงาน Google I/O ตอนนี้สามารถใช้งานบน Chrome 27 ได้แล้ว
วิธีการใช้งานคืออัพเกรดเป็น Chrome 27 ก่อน แล้วเข้าไปที่หน้าแรกของกูเกิล (google.co.th ก็ใช้งานได้ครับ) คลิกที่รูปไมโครโฟนในกล่องข้อความ หน้าจอจะเปลี่ยนเป็นไมโครโฟนสีแดงขนาดใหญ่ พร้อมกับคำค้นที่เราพูดออกไป
จากนั้นกูเกิลจะแสดงหน้าผลการค้นหา พร้อมเสียงพูดเป็นภาษาอังกฤษครับ (กรณีของคำค้นที่เกี่ยวกับ population ก็แสดงกราฟข้อมูลย้อนหลังแบบใน I/O แล้วด้วย)
ที่มา - Search Engine Land
Chrome สำหรับ Windows, Mac และ Linux อัพเดตเป็นเวอร์ชัน 27 แล้ว โหลดหน้าเว็บได้เร็วขึ้นอีก 5% พร้อมเพิ่มของใหม่ คือ Sync FileSystem API สำหรับจัดเก็บไฟล์และซิงก์ข้อมูลกับ Google Drive นอกจากนี้ Chrome รุ่นล่าสุดยังได้รับการปรับปรุงประสิทธิภาพในการใช้งานด้านอื่นๆ ดังนี้
โครงการ NaCl นับเป็นอาวุธสำคัญของ Chrome ที่จะบุกโลกเดสก์ทอป เพราะมันสามารถนำโค้ดที่เขียนสำหรับเดสก์ทอปขึ้นไปรันบนเบราว์เซอร์ได้ แต่ปัญหาที่ผ่านมาคือมันรองรับ x86 เป็นหลัก และต้องคอมไพล์ใหม่หากต้องการรองรับ ARM ที่ได้รับความนิยมขึ้นเรื่อยๆ ก่อนหน้านี้กูเกิลประกาศว่าจะรองรับ Portable NaCl (PNaCl - อ่านว่า พินนาเคิล) และที่งาน Google I/O โครงการนี้ก็เปิดตัวเป็นทางการแล้ว
PNaCl ทำให้คอมไพล์เลอร์ไม่ปล่อยโค้ดที่เป็นโค้ดสำหรับซีพียูตัวใดตัวหนึ่งโดยเฉพาะ แต่เป็นโค้ดกลางของ LLVM เพื่อให้คอมไพล์เลอร์ในตัวเบราว์เซอร์ไปคอมไพล์ซ้ำอีกครั้ง กระบวนการนี้ทำให้นักพัฒนาไม่ต้องสนใจว่าสถาปัตยกรรมปลายทางจะเป็นอะไร
ข่าวนี้ต่อจาก ไมโครซอฟท์ส่งแพตซ์เข้า WebKit ทำให้ Chrome รองรับจอสัมผัส ย้อนกลับไปอ่านรายละเอียดในข่าวเก่ากันเองนะครับ
หลังจากกูเกิลแยกโครงการ Blink ออกจาก WebKit ไม่นาน ล่าสุดนักพัฒนาของไมโครซอฟท์ก็ประกาศพัฒนาแพตช์สำหรับร่างมาตรฐาน Pointer Events (ของ W3C ที่ผลักดันโดยไมโครซอฟท์) เข้าไปยังโครงการ Blink ด้วย
Pointer Events ไม่ได้รองรับเฉพาะการสัมผัสด้วยนิ้ว แต่ยังรวมถึงเมาส์และปากกาด้วย สถานะตอนนี้เป็นร่างฉบับก่อนออกมาตรฐานหรือ Candidate Recommendation (CR) ของ W3C ซึ่งไมโครซอฟท์ระบุว่าได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีจาก Opera, Mozilla, Adobe, Nokia, jQuery รวมไปถึงกูเกิลด้วย
เอนจินเรนเดอร์เว็บ Blink ที่กูเกิลแยกออกมาจาก WebKit เริ่มเดินหน้าปรับโค้ดให้ลดสิ่งที่ต้องซัพพอร์ตลงอย่างรวดเร็ว โดยช่วงแรกโครงการ Blink ถอดการรองรับระบบคอมไพล์ไป 7 ระบบ และลบไฟล์ไป 7,000 ไฟล์
ฟีเจอร์ใหม่ๆ ที่เริ่มถูกทดลองใน Blink แล้วได้แก่ Oilpan ที่เก็บ DOM ใน heap ที่มีการจัดการหน่วยความจำที่ไม่ได้ใช้งานแล้ว หรือ Lazy block layout ระบบเรนเดอร์ใหม่ที่เรนเดอร์เฉพาะส่วนที่มองเห็น ทำให้เรนเดอร์หน้าเว็บได้เร็วขึ้นนับร้อยเท่าตัวในบางกรณี
แม้จะมีฟีเจอร์ใหม่ๆ เข้ามามาก แต่ทีม Chrome ก็ระบุตั้งแต่แรกว่าฟีเจอร์เหล่านี้จะมีเพียงบางส่วนเท่านั้นที่เข้าเป็นฟีเจอร์ของ Chrome จริงๆ แต่ระหว่างนี้เราคงเห็นฟีเจอร์แปลกๆ ที่ต้องเปิด มาทดลองใช้งานเองมากขึ้นเรื่อยๆ
ทางทีม Google TV ได้ประกาศผ่านทาง Google+ ว่า Google TV เวอร์ชั่นใหม่ที่กำลังจะมาถึงเร็ว ๆ นี้นั้นถูกสร้างขึ้นบนพื้นฐานของระบบปฎิบัติการณ์ Android เวอร์ชั่นล่าสุดคือ 4.2.2 ซึ่งถือว่าเป็นการไล่ทันเสียทีหลังจากที่ก่อนหน้านี้ Google TV นั้นอยู่บนพื้นฐานของ Honeycomb มาเป็นเวลานาน พร้อมกันนี้ยังได้ประกาศอีกว่า Chrome บน Google TV จะเป็นเวอร์ชั่นล่าสุด และจะได้รับการอัพเดตทุก ๆ 6 สัปดาห์เช่นเดียวกับ Chrome บนแพลตฟอร์มอื่น ๆ
ทางทีมยังได้กล่าวอีกว่า Google TV นั้นถูก refactor ให้ผู้ผลิตฮาร์ดแวร์สามารถที่จะปรับปรุงซอฟท์แวร์ของตัวเองเป็นเวอร์ชั่นล่าสุดได้ในระยะเวลาไม่กี่สัปดาห์ แทนที่จะเป็นเดือน ๆ เหมือนเมื่อก่อน
นับแต่ Chrome รองรับ Packaged Apps ก็เริ่มมีแอพพลิเคชั่นรองรับกันมาเรื่อยๆ ตัวก่อนหน้านี้คงเป็น Google Keep และตอนนี้แอพพลิเคชั่นจากภายนอกคือ Gliffy ก็ทดลองใช้งาน Packaged Apps แล้ว
ในรุ่นนี้ Gliffy จะสามารถทำงานออฟไลน์ได้สมบูรณ์โดยไม่ต้องล็อกอินใดๆ (แต่ต้องลงทะเบียนก่อนใช้งาน) เท่าที่ผมลองใช้งานพบว่าภาษาไทยใช้งานได้ดีแต่ยังคงมีบั๊กตัดคำเฉพาะเวลาที่เซฟเป็นภาพ PNG
ที่มา - Chrome Web Store
กูเกิลเผยสถิติการใช้งานผลิตภัณฑ์ของตัวเองในงาน Google I/O 2013 ดังนี้
Sundar Pichai หัวหน้าคนใหม่ของทีม Android (ที่มีตำแหน่งหัวหน้าทีม Chrome อยู่ก่อนแล้ว) เปิดปากให้สัมภาษณ์เป็นครั้งแรกหลังรับตำแหน่ง ก่อนเริ่มงาน Google I/O 2013 เพียงไม่กี่วัน
ประเด็นที่ Pichai พูดถึงงาน Google I/O ครั้งนี้คือรูปแบบของงานจะแตกต่างออกไป กูเกิลจะไม่เน้นการเปิดตัวผลิตภัณฑ์หรือระบบปฏิบัติการรุ่นใหม่ แต่จะเน้นงานที่เกี่ยวกับนักพัฒนาแอพบน Android และ Chrome แทน กูเกิลจะโชว์ว่าบริการของตัวเองทำงานได้ดีแค่ไหนบนทั้งสองแพลตฟอร์มนี้
ประเด็นอื่นๆ ที่ Pichai พูดถึงมีดังนี้
กูเกิลพยายามอย่างมากกับโครงการ WebM ในการสร้างตัวเข้ารหัสวิดีโอที่ไม่ต้องจ่ายค่าใช้งานสิทธิบัตรแบบ MPEG-4
แต่ที่ผ่านมาโครงการ WebM ยังไม่ประสบความสำเร็จมากนัก เหตุผลหนึ่งก็เพราะตัวเข้ารหัสภาพเคลื่อนไหว (ไม่รวมเสียง) อย่าง VP8 มีคุณภาพไม่สูงมากพอเมื่อเทียบกับคู่แข่ง
ทางออกของกูเกิลคือพัฒนาตัวเข้ารหัสรุ่นถัดไป VP9 ซึ่งตอนนี้สเปกใกล้เสร็จสมบูรณ์ และจะออกสเปกรุ่นสมบูรณ์ในวันที่ 17 มิถุนายนนี้
ลูกค้ารายแรกๆ ของ VP9 ย่อมเป็นผลิตภัณฑ์ของกูเกิลเอง ได้แก่ Chrome, Chrome OS และที่สำคัญคือ YouTube ซึ่งจะเริ่มใช้งานหลัง Chrome พร้อมแล้ว
กูเกิลโชว์ฟีเจอร์ push notification สำหรับ Chrome รุ่นพรีวิวมาสักระยะแล้ว แต่วันนี้ก็เปิดตัว Google Cloud Messaging for Chrome อย่างเป็นทางการ
หลักการทำงานของมันเหมือน push notification ของ Android (ที่ใช้ชื่อว่า Google Cloud Messaging for Android) นั่นคือนักพัฒนาแอพต้องส่งข้อมูลจากเซิร์ฟเวอร์ของตัวเองมายังเซิร์ฟเวอร์ GCM ของกูเกิลผ่าน API เพื่อให้กูเกิลส่ง notification ไปยังปลายทางอีกทีหนึ่ง
ฝั่งของผู้ใช้งานก็จำเป็นต้องล็อกอินเข้ากับ Chrome ด้วย ไม่อย่างนั้นจะไม่สามารถใช้งาน push notification ได้
แอพจดโน้ต Google Keep เปิดตัวด้วยแอพบน Android และแอพผ่านหน้าเว็บ ล่าสุดกูเกิลประกาศ Google Keep เวอร์ชันแอพบน Chrome แล้ว
Google Keep for Chrome ติดตั้งผ่าน Chrome Web Store และทำงานในหน้าต่างแยกของตัวเอง และรองรับการทำงานแบบออฟไลน์กรณีไม่มีอินเทอร์เน็ตได้ด้วย