Peter Sunde หนึ่งในสี่ผู้ก่อตั้ง The Pirate Bay ถูกจับกุมแล้วที่สวีเดน จากข้อหาละเมิดลิขสิทธิ์ โดยเขาถูกตำรวจสากล (Interpol) ติดตามตั้งแต่ปี 2012
Sunde และผู้ร่วมก่อตั้งอีก 3 คน เดิมถูกศาลตัดสินจำคุก 1 ปี และปรับ 4.8 ล้านเหรียญสหรัฐ แต่ศาลอุทธรณ์แก้คำตัดสินภายหลัง ให้จำคุก 8 เดือนและปรับเพิ่มขึ้นเป็น 6.9 ล้านเหรียญสหรัฐ
ที่มา - Reuters
ที่ต่างประเทศมีกรณีตัวอย่างการใช้เทคโนโลยีเพื่อคลี่คลายคดีปล้นจี้ เมื่อตำรวจ New York ไล่ตามจับคนร้ายที่ปล้นร้านยาโดยอาศัยข้อมูลตำแหน่งจากตัวส่งสัญญาณ GPS ที่อยู่ภายในขวดยาที่โดนปล้น
คนร้ายได้เข้าปล้นร้านยาชื่อ HealthSource Pharmacy และสั่งให้พนักงานร้านมอบเงินสดพร้อมยา OxyContin ให้กับเขา ซึ่งยาดังกล่าวมีราคาแพงมากถึงขนาดที่ว่าคนร้ายอาจขายต่อมันได้ในราคาสูงถึงเม็ดละ 80 ดอลลาร์
ทว่าขวดยา OxyContin ที่คนร้ายได้รับไปนั้นเป็นขวดปลอมที่ทำเลียนแบบ โดยนอกจากภายในจะไม่มียาของจริงแล้ว มันยังมีตัวส่งสัญญาณ GPS และนี่เองที่เป็นกุญแจให้ตำรวจสามารถตามล้อมจับคนร้ายได้ภายในเวลาไม่นานหลังเกิดการปล้น ก่อนเหตุการณ์จะจบลงด้วยการยิงปืนต่อสู้และเป็นฝ่ายคนร้ายที่โดนวิสามัญฆาตกรรม
เมื่อกลางปี 2013 รัฐบาลเนเธอร์แลนด์ แถลงการณ์จับกุมแฮกเกอร์ที่ขโมยรหัสบัตรเครดิตจากหน่วยงานและภาคเอกชนในสหรัฐอเมริกา โดยการจับกุมในครั้งนี้เป็นการให้ความร่วมมือจากรัฐบาลสหรัฐอเมริกาในการประสานเบาะแสที่เกี่ยวข้อง
ตำรวจเนเธอร์แลนด์จับกุมแฮกเกอร์ทั้ง 5 ราย (เป็นชาวรัสเซีย 4 ราย และยูเครน 1 ราย) และตั้งข้อหาคนละ 2 กระทงคือดักฟังข้อมูลโดยไม่ได้รับอนุญาต และการเข้าถึงข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์โดยไม่ได้รับอนุญาต โดยศาลรอตเตอร์ดามสั่งจำขังผู้ต้องหาเพื่อรอการไต่สวนพยานหลักฐานต่อไป
หลังจาก Silk Road ถูกทลายไป ก็มีคนพยายามเข้ามาแทนที่ในตลาดด้วยการเปิดตลาดแบบเดียวกัน แต่ตลาด Utopia ที่ได้รับความนิยมขึ้นมาหลัง Silk Road ปิดตัวลงก็ถูกทลายแล้ว
Utopia (ggvow6fj3sehlm45.onion) ทำงานรูปแบบเดียวกับ Silk Road แทบทุกประการ โดยรับจ่ายเงินผ่าน Bitcoin แม้จะเพียงเพื่อเป็นตัวกลางในการจ่ายเงิน เพราะราคาสินค้าถูกกำหนดโดยผู้ขายเป็นยูโร และซ่อนเว็บอยู่ในเครือข่าย Tor ทางตำรวจยังไม่เปิดเผยรายละเอียดการจับกุม แต่ระบุว่าจะให้ข้อมูลเพิ่มเติมในสัปดาห์นี้
หลัง Utopia เปิดทำการเพียงไม่กี่ชั่วโมงก็มีสินค้าเข้ามาวางกว่า 1200 รายการ และเพิ่มเป็น 13,000 รายการก่อนจะถูกทลายไป สินค้าที่วางขายมีทั้งยาเสพติด, อาวุธ, บัญชีธนาคาร, เอกสารปลอม
นาย Ikenna Uwakah วัย 22 ปีอาศัยอยู่ในซานฟรานซิสโก เขาประกาศขาย PS4 บนเว็บไซต์ Craiglist และได้รับการติดต่อจากนาย Ronnie Collins อายุ 21 ปีว่าสนใจซื้อ
ทั้งสองคนนัดเจอกันที่สวนสาธารณะแห่งหนึ่งในเขต Bayview ในช่วงเวลากลางวัน โดย Uwakah ขับรถไปกับแฟนสาวและจอดรถรออยู่ตามนัด จากนั้น Collins โผล่มาพร้อมเอาปืนจี้ที่หน้าต่างรถ ซึ่ง Uwakah ก็ผลักปืนออกไปและบอกว่าถ้าอยากได้เกมก็ยกให้เลย แต่ Collins ไม่สนใจ เขายิงปืน 4 นัดและหลบหนีไป ส่วน Uwakah ไปเสียชีวิตที่โรงพยาบาล
บ้านเราเพิ่งมีกรณีการดักทำสำเนาบัตรเอทีเอ็มกันเป็นจำนวนมากไปไม่กี่วันก่อน แต่ตอนนี้ที่สหรัฐฯ พบอาชญากรรมรูปแบบใหม่ ผสมกันระหว่างการแฮคธนาคารโดยตรงและการใช้บัตรเดบิต
รายงานของกระทรวงยุติธรรมสหรัฐฯ รายงานถึงการจับชาย 5 คนที่เป็นส่วนหนึ่งขององค์กรอาชญากรรมข้ามชาติ กลุ่มนี้ใช้บัตรเดบิตแบบเติมเงินที่ออกโดย National Bank of Ras Al-Khaimah PSC ในอาหรับเอมิเรตส์ และ Bank of Muscat ในโอมาน จากนั้นแฮคระบบของธนาคารให้ปลดจำนวนเงินที่ถอนได้สูงสุดของบัตรนี้ออก แล้วนำบัตรไปถอนเงินจากตู้เอทีเอ็มจำนวนมาก ได้เงินไปแต่ละครั้งนับล้านดอลลาร์ ครั้งล่าสุดคือการถอนเงินจากตู้เอทีเอ็มในนิวยอร์คไป 140 ตู้ รวมเงิน 2.8 ล้านดอลลาร์ รวมความเสียหายทุกครั้ง 45 ล้านดอลลาร์
การดักฟังของ NSA สร้างความไม่พอใจให้กับกลุ่มเรียกร้องสิทธิพลเมืองเป็นวงกว้าง ปัญหาสำคัญอย่างหนึ่งของการดักฟังแบบนี้คือจำเลยไม่ได้รับรู้ว่ามีการดักฟังโดยไม่ขอหมายศาลในคดีของตัวเองบ้างหรือไม่ ตอนนี้อัยการสหรัฐฯ ก็ออกมาแสดงท่าทีว่าจะแจ้งผู้ต้องหาในคดีที่ผ่านๆ มาว่ามีการใช้หลักฐานเหล่านี้ในคดีใดบ้าง
ก่อนหน้านี้คดีที่ใช้หลักฐานที่ผ่านกระบวนการศาล FISA ซึ่งเป็นศาลลับและไม่เปิดเผยรายการพิจารณาให้กับภายนอกให้รับรู้ รวมถึงตัวจำเลยที่่ถูกดำเนินคดีเองก็ไม่รับรู้ว่ามีหลักฐานในคดีได้มาด้วยกระบวนการนี้หรือไม่ แต่ทางอัยการ Eric H. Holder Jr. ระบุว่าทางอัยการกำลังอยู่ระหว่างการตรวจสอบคดีในชั้นต่างๆ และเตรียมเปิดเผยข้อมูลเหล่านี้ให้กับจำเลย "หากเหมาะสม" (where appropriate)
เมื่อช่วงเช้าที่ผ่านมาศาลอุทธรณ์ได้อ่านคำพิพากษาในคดีที่นางสาวจีรนุช เปรมชัยพรผู้อำนวยการเว็บไซต์ประชาไทถูกฟ้องร้องว่ายินยอมให้มีข้อความหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนยันตามศาลชั้นต้น ยกคำร้องเกี่ยวกับข้อความที่ปรากฎบนเว็บไซต์ 11 วันลงไปทั้งหมด ยกเว้นหนึ่งข้อความที่ถูกแสดงบนเว็บไซต์นาน 20 วัน โทษตามเดิมคือจำคุก 8 เดือนรอลงอาญา และปรับสองหมื่นบาท
คดีนี้ทั้งฝ่ายอัยการและจำเลยต่างอุทธรณ์ ในฝั่งนางสาวจีรนุชนั้นอุทธรณ์โดยยืนยันว่าไม่มีความผิดเนื่องจากได้ลบข้อความตามที่เจ้าหน้าที่แจ้งมาแล้ว
Blognone เคยรายงานข่าวเกี่ยวกับการสร้างปืนด้วยเครื่องพิมพ์ 3 มิติมาแล้ว (ข่าวเก่า 1) และ (ข่าวเก่า 2) ซึ่งเป็นประเด็นที่หลายฝ่ายกังวล และในที่สุดก็เป็นประเด็นอีกครั้งจากข่าวล่าสุด เมื่อตำรวจในเมืองแมนเชสเตอร์อ้างว่า ได้จับกุมผู้ต้องสงสัยที่ผลิตดินปืนและครอบครองชิ้นส่วนของปืน ซึ่งคาดว่าน่าจะเป็นปืนกระบอกแรกในสหราชอาณาจักรที่พิมพ์ด้วยเครื่องพิมพ์ 3 มิติ
ชมรมนักข่าวสายเทคโนโลยีสารสนเทศ, สมาคมนักข่าวหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย, สมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย, และสมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์ ยื่นหนังสือต่อกระทรวงไอซีที คัดค้านร่างพรบ.ว่าด้วยการกระทำความผิดที่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ฉบับใหม่ ที่กำลังรอเข้าสู่ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีพิจารณา แม้ว่าที่ผ่านมารัฐมนตรีไอซีทีจะระบุว่าร่างนี้ผ่านกระบวนการรับฟังความคิดเห็นไปแล้วก็ตาม
ประเด็นที่หน่วยงานเหล่านี้คัดค้าน ได้แก่
เมื่อวานนี้ตำรวจ สน.ประเวศ ได้แถลงข่าวจับกุมวัยรุ่นไทยสองคน อายุ 18 ปี และ 19 ปี ในข้อหาโจรกรรมเงินทาง E-Banking ของผู้เสียหายเป็นจำนวนมากถึง 1.8 ล้านบาท
จากการแถลงข่าวพอสรุปวิธีการโจรกรรมคือ ผู้ต้องหานำสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้เสียหาย (ดำมาก) ไปแจ้งผู้ให้บริการโทรศัพท์ว่าซิมการ์ดหายแล้วขอซิมการ์ดใหม่ (โดยผู้เสียหายใช้โทรศัพท์ 2 ซิม) ทำให้ซิมเก่าที่ผู้เสียหายใช้อยู่ถูกระงับทันที โดยไม่มีความผิดปกติเกิดขึ้น (เพราะอีกซิมใช้ได้)
หลังการจับ Ross Ulbricht ผู้ดำเนินการเว็บ Silk Road ตอนนี้ตำรวจก็เริ่มหันมาไล่จับพ่อค้าบนเว็บกันขนานใหญ่ โดยพ่อค้ากลุ่มแรก 8 รายถูกจับในสามประเทศ คือ อังกฤษ, สหรัฐฯ, และสวีเดน
ฝั่งอังกฤษระบุว่าสามารถจับยึด Bitcoin ได้มูลค่านับล้านปอนด์ ส่วนในสวีเดนก็มีการจับผู้ต้องสงสัยว่าเป็นผู้ขายกัญชาใน Silk Road และสหรัฐฯ ก็บุกจับผู้ค้าสามรายในวันที่ 2 ตุลาคมที่ผ่านมา
กระบวนการบุกจับทั้งหมดเกิดหลังจาก Ulbricht ถูกจับไม่กี่ชั่วโมงไปจนถึงหนึ่งวันเท่านั้น ทางตำรวจอังกฤษ (เป็นหน่วยงานตั้งใหม่ชื่อ Crime Agency) ระบุว่ากำลังจะจับเพิ่มเติมอีกมาก
Ross William Ulbricht ชื่อจริงของ Dread Pirate Roberts (DPR) ผู้ดูแลเว็บตลาดสินค้าผิดกฎหมาย Silk Road ถูกจับเพราะความผิดพลาดหลายอย่าง ความผิดพลาดสุดท้ายที่ออกมาคือการสั่งเอกสารปลอมข้ามพรมแดนแคนาดา แต่เอกสารส่งฟ้องของ FBI แสดงรายละเอียดทั้งหมดว่า DPR ทำอะไรบ้างและถูก FBI ติดตามมานานแค่ไหน
เพิ่งจะมีบทสัมภาษณ์ของผู้ดูแลเว็บไซต์ตลาดมืด Silk Road ออกมาไม่กี่วัน ในวันนี้เอฟบีไอก็ได้เข้าจับกุมตัวนาย Ross William Ulbricht หรือที่รู้จักกันในชื่อ Dread Pirate Roberts ในข้อหาให้การสนับสนุนการค้ายาเสพติด แฮคข้อมูลคอมพิวเตอร์และฟอกเงิน (narcotics trafficking conspiracy, computer hacking conspiracy and money laundering conspiracy) เป็นที่เรียบร้อยแล้ว
เว็บไซต์ตลาดมืด Silk Road ให้บริการตลาดออนไลน์เพื่อขายยาเสพติด ผู้ใช้จะต้องเข้าใช้เว็บไซต์ผ่านระบบ TOR และชำระเงินผ่านทาง BitCoin โดยมีการประมาณมูลค่าการซื้อขายของตลาดในปีนี้สูงถึง 30-45 ล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐ
ในปี 2551 มีคดีผู้ใช้เว็บประชาไทที่ใช้ชื่อ bento โพสข้อความหมิ่นตามมาตรา 112 นี้เช่นกัน ในคดีนี้ตำรวจใช้หลักฐาน log จากเว็บประชาไทเพื่อชี้หมายเลขไอพีไปยังคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งที่อยู่ในโรงงานโดยมีคอมพิวเตอร์หลายเครื่องเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้เช่นเดียวกันทำให้คดีนี้ศาลชั้นต้นยกฟ้อง แต่วันนี้ศาลอุทธรณ์กลับคำพิพากษาและลงโทษ 5 ปี
คดีนี้ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องเนื่องจากคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อด้วย username และ password ของจำเลยนั้นสามารถใช้งานได้หลายคน และในคอมพิวเตอร์เครื่องที่ตำรวจยึดมาได้นั้นก็ไม่ปรากฎข้อความที่โพสในเครื่อง ตำรวจบุกจับโดยจำเลยไม่รู้ตัวล่วงหน้าไม่น่าจะลบข้อมูลได้
เทคโนโลยีปิดบังผู้ใช้เช่น TOR และ BitCoin ก่อให้เกิดการสร้างตลาดมืดขนาดใหญ่อย่าง Silk Road และก่อนหน้านี้คือ Farmers' Market ที่ถูกบุกทลายไปก่อนแล้ว แต่ Silk Road ยังคงอยู่และมีมูลค่าการซื้อขายมากขึ้นเรื่อยๆ มูลค่าประมาณการในปี 2012 คือ เดือนละ 1.2 ล้านดอลลาร์ ในปีนี้มูลค่ารวมน่าจะอยู่ที่ 30-45 ล้านดอลลาร์ต่อปี ทางนิตยสาร Forbes ได้ติดต่อสัมภาษณ์ Dread Pirate Roberts นามแฝงของผู้ดูแล Silk Road ผ่านทางเว็บไซต์ Silk Road เอง (ซึ่งต้องเข้าผ่าน TOR เท่านั้น)
พลทหาร Bradley Manning ซึ่งเป็นผู้นำข้อมูลเคเบิลของกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐมาปล่อยผ่าน Wikileaks ถูกตัดสินโทษแล้ว
ข้อหาหลักที่ Manning โดนคือ "ช่วยเหลือศัตรู" (aiding the enemy) ซึ่งเขาหลุดข้อหานี้ แต่ไปโดนข้อหาจารกรรมหลายกระทงแทน ซึ่งศาลตัดสินลงโทษจำคุกรวม 35 ปี (อัยการสั่งฟ้อง 60 ปี โทษสูงสุดตามกฎหมาย 90 ปี)
Manning ถูกคุมขังมาก่อนแล้ว 1,294 วัน ซึ่งศาลได้หักลดโทษส่วนนี้ให้แล้ว
ที่มา - Mashable
พรรคเพื่อไทยแถลงข่าวการช่วยเหลือคนไทยในอียิปต์ว่าขณะนี้รัฐบาลกำลังส่งเครื่องบินไปรับคนไทยในอียิปต์กลับมายังประเทศไทย โดยไม่ตรงกับข่าวลือในเครือข่ายสังคมออนไลน์ที่มีการกล่าวหาว่ารัฐบาลไม่สนใจคนไทยเหล่านี้
แต่เนื้อหาสำคัญกลับเป็นการพิจารณาว่าทางพรรคจะเข้าแจ้งความผิดตามพ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ กับคนกลุ่มที่เผยแพร่ข่าวดังกล่าว เพราะทำให้ภาพลักษณ์ของประเทศไทยเสียหาย
ก่อนหน้านี้ ปอท. เคยเรียกผู้โพสข่าวลือรัฐประหารเข้าพบพนักงานสอบสวน แม้ยังไม่มีการแจ้งข้อหาโดยตรง (ข่าวล่าสุดระบุว่าทั้งสี่คนยังอยู่ในฐานะพยาน)
กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (ปอท.) ประกาศเรียกผู้ต้องสงสัยสี่คนที่เชื่อว่าเป็นผู้โพสต์ข้อความระบุว่าจะมีการปฎิวัติ
ทั้งสี่รายรวมถึง บรรณาธิการข่าวของสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส, พิธีกรรายการ, และแกนนำเสื้อแดงในจังหวัดชลบุรี ถูกหมายเรียกเพื่อเข้าพบพนักงานสอบสวนต่อไป โดยความผิดที่ถูกดำเนินคดีเป็นตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ มาตรา 14(2) มีโทษจำคุกสูงสุด 5 ปีและปรับ 1 แสนบาท
ผบก.ปอท. ยังเตือนผู้ที่กดไลค์และแชร์ข้อความดังกล่าวว่ามีความผิดเช่นเดียวกัน
ความคืบหน้าล่าสุดของนาย Edward Snowden อดีตพนักงานสัญญาจ้างของ NSA ผู้เปิดเผยโครงการ PRISM ของรัฐบาลสหรัฐที่เป็นข่าวครึกโครมไปทั่วโลก
เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาเขาโดนอัยการสหรัฐตั้งข้อหา "จารชน" เข้าถึงข้อมูลทางการทหารและนำไปเผยแพร่ต่อบุคคลอื่นโดยไม่ได้รับอนุญาต และขอให้ทางการฮ่องกงส่งตัวเขากับสหรัฐในฐานะอาชญากรข้ามแดน
ล่าสุดทางการฮ่องกงเปิดเผยว่า Snowden เดินทางออกจากฮ่องกงไปยังรัสเซียแล้ว โดยเขาน่าจะลี้ภัยทางการเมืองไปยังประเทศเอกวาดอร์ ซึ่งเป็นประเทศที่ Julian Assange แห่ง Wikileaks ลี้ภัยไปอาศัยอยู่ (WikiLeaks เองก็ประกาศว่าจะช่วยเหลือ Snowden อย่างเต็มที่)
Matthew Keys ผู้ช่วยบรรณาธิการโซเชียลมีเดียของสำนักข่าวรอยเตอร์สถูกตั้งข้อหาช่วยเหลือแฮ็กเกอร์ในกลุ่ม Anonymous เพื่อเข้าไปยัง CMS ของ Tribune Company ที่เป็นเจ้าของหลายสื่อ รวมถึง Los Angeles Times เพื่อโพสข่าวปลอมบนหน้าเว็บ
Matthew Keys เคยทำงานเป็นเว็บโปรดิวเซอร์ของสถานี KTXL FOX 40 ในเครือ Tribune Company ในคำฟ้องของสำนักงานอัยการ ระบุว่าเขาเป็นผู้ใช้ที่ชื่อว่า AESCracked ที่ระบุตัวว่าเคยใช้งาน CMS ของ Tribune Company มาก่อนและสร้างชื่อผู้ใช้เตรียมไว้ จากนั้นจึงนำรหัสผ่านไปส่งให้แฮ็กเกอร์ที่ใช้ชื่อ sharpie ซึ่งต่อมาถูกจับ และได้รับข้อเสนอจาก FBI แลกการลดโทษกับการช่วยจับแฮกเกอร์รายอื่นๆ ในกลุ่ม LulzSec และ AntiSec อีกหลายคน
พลทหาร Bradley Manning ยอมรับผิด 10 ข้อหาสำหรับการเปิดเอกสารเคเบิล ให้กับสื่อและเว็บ Wikileaks โทษขั้นต่ำของแต่ละข้อหาคือติดคุกสองปี ทำให้โทษรวมที่เขารับสารภาพทั้งหมดเป็น 20 ปีด้วยกัน แต่ขณะเดียวกันก็ปฎิเสธข้อกล่าวหาอีก 12 ข้อ รวมถึงข้อหาให้ความช่วยเหลือศัตรูที่มีโทษสูงสุดถึงการติดคุกตลอดชีวิต
ก่อนหน้านี้ คดีของ Manning อยู่ระหว่างการพิสูจน์ว่าเขาเป็นผู้ส่งเอกสารทั้งหมดจริงหรือไม่ แต่ในเมื่อเขารับสารภาพเองว่าเป็นผู้ส่งเอกสารทั้งหมด ในการขึ้นศาลเนื้อหาที่ต่อสู้กันคงเป็นเรื่องของความผิดและการตีความว่าการกระทำของเขาอยู่ในระดับการช่วยเหลือศัตรูตามข้อกล่าวหาหรือไม่
ต่อจากข่าว บ้านสตีฟ จ็อบส์ โดนขโมยขึ้น แต่ขโมยไม่รู้ว่าเป็นบ้านสตีฟ จ็อบส์ เมื่อเดือนสิงหาคมปีที่แล้ว สรุปแล้วจับตัวขโมยได้ชื่อ Kariem McFarlin วัย 35 ปี
McFarlin เข้าไปขโมยกุญแจบ้านที่เก็บไว้ในเรือนเก็บของ (ซ่อนกุญแจไว้เพื่อให้ช่างซ่อมบ้านเข้ามาซ่อมแซมบ้านได้สะดวก) สิ่งที่เขาขโมยไปมีคอมพิวเตอร์สองเครื่อง ไอแพดหนึ่งเครื่อง อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์จำนวนหนึ่ง อัญมณีและสิ่งของส่วนตัว รวมถึงกระเป๋าเงินและใบขับขี่ของสตีฟ จ็อบส์ด้วย
การตายของ Aaron Swartz แม้จะไม่แน่ชัดว่าเป็นเพราะสาเหตุอะไร (และเป็นไปได้มากว่าจริงๆ แล้วมีหลายสาเหตุประกอบกัน) แต่การที่ Swartz ถูกฟ้องในคดีอาญาจากการใช้งานเว็บ JSTOR ผิดข้อตกลงการใช้งาน นับว่าเป็นเรื่องที่เกินกว่าเหตุ เมื่อสองวันที่ผ่านมา สส. Zoe Lofgren จากพรรคเดโมแครต ท้องที่แคลิฟอร์เนีย ก็ออกมาประกาศร่างแก้ไข้กฎหมาย Computer Fraud and Abuse Act (CFAA)
กฎหมาย CFAA เดิม ระบุให้การใช้ "เกินกว่าที่ได้รับอนุญาต" (exceeding authorized access) เป็นความผิดอาญาที่มีทั้งโทษจำคุกและโทษปรับ โดยนิยามเดินนั้นรวมถึงการใช้งานอย่างหนัก เช่น การใช้แบนด์วิดท์อินเทอร์เน็ตอย่างมาก หรือการดาวน์โหลดเอกสารด้วยสคริปต์ในกรณีของ Swartz เอง
จากข่าวโบรกเกอร์ถูกตัดสินจำคุกสี่ปีในศาลชั้นต้น มีอีกประเด็นหนึ่งที่ผมเพิ่งเจอเมื่ออ่านคอมเมนต์การพูดคุยกันต่อเนื่อง มีอีกสองประเด็นคือการสอบสวนในคดีนี้ใช้ "การสอบสวนในทางลับ" เพื่อให้ได้มาซึ่งอีเมลคนโพสโดยไม่ระบุว่าได้ชื่ออีเมลนี้มาได้อย่างไร จากนั้นจึงพิสูจน์ว่าเจ้าของอีเมลนี้เป็นใครด้วยการส่งอีเมลล่อ เพื่อให้เจ้าของอีเมลกดลิงก์ แล้วจะสามารถบันทึกหมายเลขไอพีได้