กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (ปอท.) ประกาศเรียกผู้ต้องสงสัยสี่คนที่เชื่อว่าเป็นผู้โพสต์ข้อความระบุว่าจะมีการปฎิวัติ
ทั้งสี่รายรวมถึง บรรณาธิการข่าวของสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส, พิธีกรรายการ, และแกนนำเสื้อแดงในจังหวัดชลบุรี ถูกหมายเรียกเพื่อเข้าพบพนักงานสอบสวนต่อไป โดยความผิดที่ถูกดำเนินคดีเป็นตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ มาตรา 14(2) มีโทษจำคุกสูงสุด 5 ปีและปรับ 1 แสนบาท
ผบก.ปอท. ยังเตือนผู้ที่กดไลค์และแชร์ข้อความดังกล่าวว่ามีความผิดเช่นเดียวกัน
ความคืบหน้าล่าสุดของนาย Edward Snowden อดีตพนักงานสัญญาจ้างของ NSA ผู้เปิดเผยโครงการ PRISM ของรัฐบาลสหรัฐที่เป็นข่าวครึกโครมไปทั่วโลก
เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาเขาโดนอัยการสหรัฐตั้งข้อหา "จารชน" เข้าถึงข้อมูลทางการทหารและนำไปเผยแพร่ต่อบุคคลอื่นโดยไม่ได้รับอนุญาต และขอให้ทางการฮ่องกงส่งตัวเขากับสหรัฐในฐานะอาชญากรข้ามแดน
ล่าสุดทางการฮ่องกงเปิดเผยว่า Snowden เดินทางออกจากฮ่องกงไปยังรัสเซียแล้ว โดยเขาน่าจะลี้ภัยทางการเมืองไปยังประเทศเอกวาดอร์ ซึ่งเป็นประเทศที่ Julian Assange แห่ง Wikileaks ลี้ภัยไปอาศัยอยู่ (WikiLeaks เองก็ประกาศว่าจะช่วยเหลือ Snowden อย่างเต็มที่)
Matthew Keys ผู้ช่วยบรรณาธิการโซเชียลมีเดียของสำนักข่าวรอยเตอร์สถูกตั้งข้อหาช่วยเหลือแฮ็กเกอร์ในกลุ่ม Anonymous เพื่อเข้าไปยัง CMS ของ Tribune Company ที่เป็นเจ้าของหลายสื่อ รวมถึง Los Angeles Times เพื่อโพสข่าวปลอมบนหน้าเว็บ
Matthew Keys เคยทำงานเป็นเว็บโปรดิวเซอร์ของสถานี KTXL FOX 40 ในเครือ Tribune Company ในคำฟ้องของสำนักงานอัยการ ระบุว่าเขาเป็นผู้ใช้ที่ชื่อว่า AESCracked ที่ระบุตัวว่าเคยใช้งาน CMS ของ Tribune Company มาก่อนและสร้างชื่อผู้ใช้เตรียมไว้ จากนั้นจึงนำรหัสผ่านไปส่งให้แฮ็กเกอร์ที่ใช้ชื่อ sharpie ซึ่งต่อมาถูกจับ และได้รับข้อเสนอจาก FBI แลกการลดโทษกับการช่วยจับแฮกเกอร์รายอื่นๆ ในกลุ่ม LulzSec และ AntiSec อีกหลายคน
พลทหาร Bradley Manning ยอมรับผิด 10 ข้อหาสำหรับการเปิดเอกสารเคเบิล ให้กับสื่อและเว็บ Wikileaks โทษขั้นต่ำของแต่ละข้อหาคือติดคุกสองปี ทำให้โทษรวมที่เขารับสารภาพทั้งหมดเป็น 20 ปีด้วยกัน แต่ขณะเดียวกันก็ปฎิเสธข้อกล่าวหาอีก 12 ข้อ รวมถึงข้อหาให้ความช่วยเหลือศัตรูที่มีโทษสูงสุดถึงการติดคุกตลอดชีวิต
ก่อนหน้านี้ คดีของ Manning อยู่ระหว่างการพิสูจน์ว่าเขาเป็นผู้ส่งเอกสารทั้งหมดจริงหรือไม่ แต่ในเมื่อเขารับสารภาพเองว่าเป็นผู้ส่งเอกสารทั้งหมด ในการขึ้นศาลเนื้อหาที่ต่อสู้กันคงเป็นเรื่องของความผิดและการตีความว่าการกระทำของเขาอยู่ในระดับการช่วยเหลือศัตรูตามข้อกล่าวหาหรือไม่
ต่อจากข่าว บ้านสตีฟ จ็อบส์ โดนขโมยขึ้น แต่ขโมยไม่รู้ว่าเป็นบ้านสตีฟ จ็อบส์ เมื่อเดือนสิงหาคมปีที่แล้ว สรุปแล้วจับตัวขโมยได้ชื่อ Kariem McFarlin วัย 35 ปี
McFarlin เข้าไปขโมยกุญแจบ้านที่เก็บไว้ในเรือนเก็บของ (ซ่อนกุญแจไว้เพื่อให้ช่างซ่อมบ้านเข้ามาซ่อมแซมบ้านได้สะดวก) สิ่งที่เขาขโมยไปมีคอมพิวเตอร์สองเครื่อง ไอแพดหนึ่งเครื่อง อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์จำนวนหนึ่ง อัญมณีและสิ่งของส่วนตัว รวมถึงกระเป๋าเงินและใบขับขี่ของสตีฟ จ็อบส์ด้วย
การตายของ Aaron Swartz แม้จะไม่แน่ชัดว่าเป็นเพราะสาเหตุอะไร (และเป็นไปได้มากว่าจริงๆ แล้วมีหลายสาเหตุประกอบกัน) แต่การที่ Swartz ถูกฟ้องในคดีอาญาจากการใช้งานเว็บ JSTOR ผิดข้อตกลงการใช้งาน นับว่าเป็นเรื่องที่เกินกว่าเหตุ เมื่อสองวันที่ผ่านมา สส. Zoe Lofgren จากพรรคเดโมแครต ท้องที่แคลิฟอร์เนีย ก็ออกมาประกาศร่างแก้ไข้กฎหมาย Computer Fraud and Abuse Act (CFAA)
กฎหมาย CFAA เดิม ระบุให้การใช้ "เกินกว่าที่ได้รับอนุญาต" (exceeding authorized access) เป็นความผิดอาญาที่มีทั้งโทษจำคุกและโทษปรับ โดยนิยามเดินนั้นรวมถึงการใช้งานอย่างหนัก เช่น การใช้แบนด์วิดท์อินเทอร์เน็ตอย่างมาก หรือการดาวน์โหลดเอกสารด้วยสคริปต์ในกรณีของ Swartz เอง
จากข่าวโบรกเกอร์ถูกตัดสินจำคุกสี่ปีในศาลชั้นต้น มีอีกประเด็นหนึ่งที่ผมเพิ่งเจอเมื่ออ่านคอมเมนต์การพูดคุยกันต่อเนื่อง มีอีกสองประเด็นคือการสอบสวนในคดีนี้ใช้ "การสอบสวนในทางลับ" เพื่อให้ได้มาซึ่งอีเมลคนโพสโดยไม่ระบุว่าได้ชื่ออีเมลนี้มาได้อย่างไร จากนั้นจึงพิสูจน์ว่าเจ้าของอีเมลนี้เป็นใครด้วยการส่งอีเมลล่อ เพื่อให้เจ้าของอีเมลกดลิงก์ แล้วจะสามารถบันทึกหมายเลขไอพีได้
คดีระหว่างสหภาพนักเรียนชาวยิวในฝรั่งเศส (French Union of Jewish Students - UEJF) กับทวิตเตอร์ถูกยื่นฟ้องในฝรั่งเศสเพื่อขอให้มีคำสั่งให้เปิดตัวผู้ใช้ที่สร้างแฮชแท็กเหยียดชาวยิวจนกระทั่งขึ้น Trending ภายในประเทศ ทนายของทวิตเตอร์ได้ให้การต่อศาลฝรั่งเศสว่าทวิตเตอร์จะยอมเปิดเผยตัวตนของผู้ใช้ต่อเมื่อได้รับคำสั่งศาลสหรัฐฯ เท่านั้น
ทนายของทวิตเตอร์ระบุว่าเซิร์ฟเวอร์ทั้งหมดตั้งอยู่ในซานฟรานซิสโก ทำให้ทวิตเตอร์ต้องทำตามกฎหมายสหรัฐฯ ทวิตเตอร์ระบุกับ The Register ว่าแนวทางคำตอบเช่นนี้เป็นแนวทางเดียวกันกับรัฐบาลทั่วโลก และทวิตเตอร์ไม่ได้กรองเนื้อหาก่อนนำขึ้นเว็บ โดยเว็บจะเข้าไปตรวจสอบต่อเมื่อได้รับแจ้งเท่านั้น
เมื่อวันที่ 25 ธันวาคมที่ผ่านมา ศาลอาญาได้พิพากษาคดีของนายคธา พนักงานการตลาดของบริษัทหลักทรัพย์ให้จำคุก 4 ปี จากการแปลข่าวจากสำนักข่าว Bloomberg ที่ทำให้เกิดความตื่นตระหนกจนกระทั่งหุ้นตกอย่างมากในวันที่ 14 ตุลาคม 2552
คุณสฤณี อาชวานันทกุล แสดงความเห็นเรื่องนี้ลงหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ ว่ามาตรฐานของคดีนี้จะเป็น "บรรทัดฐานแย่ๆ" ของการใช้ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ เพราะข้อความที่โพสระบุว่ามีข่าวลือ ไม่ใช่การอ้างว่าเป็นเรื่องจริง ซึ่งไม่ตรงกับกฎหมายที่ระบุว่าต้องเป็น "ข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ" อีกทั้งเวลาโพสก็เป็นตอนบ่ายหลังจากหุ้นตกตั้งแต่เช้า
เรื่องนี้เกิดขึ้นที่นครนิวยอร์กในวันสิ้นปี เมื่อหนุ่มนักดนตรี Nadav Nirenberg ทำ iPhone 4 หายบนรถแท็กซี่ และในวันรุ่งขึ้นเขาก็ได้รับอีเมลแจ้งจาก OkCupid บริการ online dating ว่ามีคนส่งข้อความจีบสาวผ่านโทรศัพท์ที่เขาเพิ่งทำหาย เขากับเพื่อนจึงไม่รอช้า เริ่มปฎิบัติการซ้อนแผนเพื่อชิงไอโฟนคืนทันที
Jacob Cox-Brown วัยรุ่นชาวอเมริกัน อายุ 18 ปี ได้โพสต์ข้อความลงบน Facebook ของเขาว่า
Drivin drunk... classsic ;) but to whoever's vehicle i hit i am sorry. :P.
หรือแปลได้ประมาณว่า "ตอนนี้กำลังเมาขับรถอยู่ คลาสสิคจริงๆ แต่สำหรับรถใครที่ผมขับชนไป ผมขอโทษนะ" ซึ่งเพื่อนของนาย Jacob ก็ได้รายงานเรื่องนี้ให้กับตำรวจอัสตอเรียผ่านทาง Facebook เรียบร้อย โดยตอนนั้นมีคดีชนแล้วหนีอยู่ 2 คดีที่ไม่รู้ว่าใครเป็นคนขับชนอยู่พอดิบพอดี ซึ่งตอนหลังตำรวจก็สรุปว่าเป็นฝีมือของนาย Jacob คนนี้จริงๆ จึงได้จับกุมนาย Jacob ในข้อหาที่ไม่ปฏิบัติหน้าที่ของคนขับรถที่ดีครับ
เมาไม่ขับนะครับทุกคน
หนังสือพิมพ์ Le Monde ของฝรั่งเศสรายงานข่าวว่าร้าน Apple Store ในกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ถูกชายใส่หน้ากาก 4 คนพร้อมอาวุธ บุกปล้นร้านในช่วงเวลาประมาณ 3 ทุ่มของคืนวันสิ้นปี 2012
โจรกลุ่มนี้ทำร้ายภารโรงของร้านหนึ่งราย และได้ทรัพย์สินของแอปเปิลมูลค่ารวม 1 ล้านยูโรกลับไป เท่าที่ข่าวระบุคือสินค้าของแอปเปิลที่แสดงอยู่หน้าร้านไม่ถูกแตะต้อง แต่โจรขโมยสินค้าในสต๊อกหลังร้านไปแทน โดยนำรถบรรทุกมาขนของเสียด้วย
ตำรวจฝรั่งเศสให้สัมภาษณ์ว่าคืนวันสิ้นปี กำลังตำรวจส่วนใหญ่ถูกย้ายไปตรวจตราบริเวณถนนสายหลักของปารีส ทำให้เป็นโอกาสอันดีของโจรในการบุกปล้นร้าน
คดีจำคุกผู้บริหารกูเกิลในอิตาลีเนื่องจากวิดีโอที่โพสโดยผู้ใช้ แล้วถูกตัดสินว่ามีความผิดมาเกือบสามปี ตอนนี้ศาลอุทธรณ์ก็กลับคำพิพากษา ยกฟ้องผู้บริหารกูเกิลทั้งหมด
ก่อนหน้านี้ผู้บริหารสามคนของกูเกิลในอิตาลีถูกพิพากษาจำคุกหกเดือนโดยให้รอลงอาญา ขณะที่บริษัทออกมาแสดงท่าทีว่าผู้ให้บริการกระจายเนื้อหาบนอินเทอร์เน็ตไม่ควรมีภาระในการรีวิวเนื้อหาทั้งหมดที่จะนำขึ้นเว็บไซต์
วิดีโอต้นคดีโพสในปี 2006 เป็นวิดีโอกลุ่มเด็กกำลังกลั่นแกล้งเด็กอีกคนที่มีอาการออทิสติก
คาดว่าคำพิพากษาฉบับเต็มยังต้องรออีกหลายสัปดาห์จากกระบวนการตามปกติของอิตาลี
ถือเป็นจุดจบของมหากาพย์การหลบหนีของ John McAfee ผู้ก่อตั้งบริษัทแอนติไวรัสชื่อดังและผู้ต้องสงสัยในคดีฆาตกรรมเมื่อกลางเดือนที่แล้ว โดยเขาถูกจับในประเทศกัวเตมาลาเนื่องจากแอบเข้าประเทศอย่างผิดกฏหมาย ตอนนี้ทางการของประเทศกัวเตมาลากำลังหาทางส่งตัว McAfee ออกจากประเทศอยู่ครับ
ข่าวนี้ต่อจากข่าวตำรวจออกประกาศจับผู้ก่อตั้ง McAfee ข้อหาฆาตกรรม ทีมงานของ Wired ได้มีโอกาสสัมภาษณ์ John McAfee ที่ตอนนี้กำลังหลบหนีการจับกุมของตำรวจเบลีซอยู่ (จริงๆ แล้วคือ John McAfee เป็นฝ่ายติดต่อมา) โดยนอกจากที่เขาบอกว่าเขาเป็นผู้บริสุทธิ์แล้ว ก็มีประเด็นที่น่าสนใจ (และน่าสนุก) อยู่บ้างครับ
John McAfee ผู้ก่อตั้งบริษัทแอนติไวรัสชื่อดัง McAfee ได้ถูกตำรวจประเทศเบลีซออกประกาศจับในข้อหาฆาตกรรมโดยมีผู้เคราะห์ร้ายคือ Gregory Faull ซึ่งถูกยิงเสียชีวิตในบ้านเมื่อคืนวันเสาร์ที่ผ่านมา ก่อนหน้านี้นั้น Faull เคยไปแจ้งความกับตำรวจเรื่องที่ McAfee เคยใช้อาวุธปืนและแสดงท่าทางก้าวร้าวมาก่อนและดูเหมือนว่าจะเคยทะเลาะกันเกี่ยวกับเรื่องสุนัข ขณะนี้ตำรวจกำลังตามสืบจากเบาะแสต่างๆ และยังไม่ทราบเหตุจูงใจในการฆาตกรรมครั้งนี้
เมื่อวันที่ 31 ที่ผ่านมา ศาลชั้นต้นพิพากษาคดีของนายสุรภักดิ์ โปรแกรมเมอร์ที่ถูกกล่าวหาว่าเป็นผู้โพสหน้าแฟนเพจบนเฟซบุ๊กที่มีข้อความหมิ่น
เจ้าหน้าที่ตำรวจบุกจับนายสุรภักดิ์ เมื่อวันที่ 2 กันยายน 2554 จากการชี้เบาะแสของนายมานะชัย ที่แจ้งชื่อและที่อยู่ของนายสุรภักดิ์ว่าเป็นเจ้าของเพจเฟซบุ๊กที่มีข้อความหมิ่น ให้กับกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี แต่ภายหลังเจ้าหน้าที่ไม่สามารถตามตัวนายมานะชัยนี้มาเบิกความได้
หลังจากนั้นจึงมีผู้ร้องทุกข์อีกรายหนึ่งได้ตามหาเจ้าของอีเมล dorkao@hotmail.com
และคาดว่าเจ้าของเฟซบุ๊กนั้นเป็นผู้ใช้อีเมลนี้ โดยไม่ทราบว่าเจ้าของอีเมลนี้จริงๆ แล้วเป็นใคร
ศาลฎีกาของฟิลิปปินส์ได้มีคำสั่งระงับการเริ่มใช้งานกฎหมายป้องกันการอาชญากรรมออนไลน์ หรือ Anti-Cybercrime Law แล้ว เนื่องจากรายละเอียดของกฎหมายดังกล่าวถือว่าเป็นการละเมิดสิทธิและเสรีภาพของประชาชน โดยคำสั่งของศาลในวันอังคารนี้เป็นคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวไม่ให้รัฐบาลนำกฎหมายดังกล่าวมาใช้ได้
ก่อนหน้านี้กลุ่มสื่อและองค์กรสิทธิมนุษยชนได้อกมาต่อต้านกฎหมายนี้ เพราะมันทำให้การดูหมิ่นบนโลกออนไลน์ผิดกฎหมายและมีโทษมากกว่าคดีหมิ่นประมาทปรกติสองเท่า และนอกจากนี้กฎหมายยังทำให้เกิดการปิดกั้นหรือบล็อคเว็บได้อีกด้วย โดยองค์กรและกลุ่มสื่อเหล่านี้กลัวว่านักการเมืองจะใช้กฎหมายนี้เพื่อปิดปากประชาชน ทำให้ระบบตรวจสอบไม่โปร่งใส
ระหว่างที่ผู้คนในหลายประเทศทั่วโลกกำลังต่อแถวรอหน้า Apple Store เพื่อเป็นเจ้าของไอโฟน 5 เป็นคนแรกๆ ในโลก ที่ญี่ปุ่นได้เกิดเหตุการณ์วุ่นวายขึ้น เมื่อพบว่ามีมือดีย่องมาขโมยไอโฟน 5 ไปเป็นจำนวนเกือบ 200 เครื่อง คิดเป็นมูลค่ารวมกว่าสามล้านบาท
ตำรวจเมืองโอซะกะรายงานว่าพบไอโฟนจำนวน 191 เครื่องถูกขโมยไปจากร้านต่างๆ ในตัวเมืองในช่วงกลางดึกวันนี้
Cybercrime Prevention Act of 2012 เป็นกฎหมายแบบเดียวกับพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ของไทยที่เพิ่งผ่านสภาไปเมื่อเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา มีเนื้อหาหลายอย่างน่าสนใจ มันกำหนดโทษให้กับอาชญากรรมคอมพิวเตอร์หลายแบบ เช่น การดักฟัง, การเข้าถึงโดยไม่ได้รับอนุญาต, การรบกวนการทำงานของคอมพิวเตอร์, ตลอดจนการใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการหลอกลวง เช่น การทำ phishing
ในช่วงนี้ค่อนข้างจะมีการผุดขึ้นมาของกลุ่มแฮ็กเกอร์ใหม่ๆ เป็นจำนวนมาก ดังนั้นผมจึงจะขอแจ้งให้ทราบก่อนว่าผมจะเขียนเฉพาะข่าวที่ผู้อ่านส่วนมากได้รับผลกระทบนะครับ นอกนั้นจะขอยกเว้นครับ
สำหรับข่าวนี้เป็นผลงานของกลุ่มแฮ็กเกอร์ที่เรียกตัวเองว่า NullCrew เหยื่อของการโจมตีนี้ได้แก่เว็บไซต์หลักของ Sony Mobile ซึ่งได้ถูกเจาะเข้าไปและขโมยฐานข้อมูลของลูกค้าบางส่วนออกมาเผยแพร่สู่สาธารณะ โดยผู้โจมตีนั้นยังได้อ้างว่านี่เป็นเพียงหนึ่งจากแปดเซิร์ฟเวอร์ของ Sony ที่ถูกแฮ็ก และได้แอบใบ้ด้วยว่าอาจจะอยู่ในช่วงหมายเลขไอพีใกล้ๆ กันก็เป็นได้
Gottfrid Svartholm Warg หนึ่งในผู้ก่อตั้งเว็บบิตทอร์เรนต์ The Pirate Bay ถูกจับกุมตามหมายจับสวีเดนแล้วในกัมพูชา หลังจากแพ้คดีไปตั้งแต่ปี 2009 แต่ยื่นอุทธรณ์ จนเหลือ 10 เดือนในปี 2010 แต่ตัว Warg นั้นไม่ไปรับฟังคำตัดสินอุทธรณ์ ขณะที่คนอื่นๆ รับโทษตามที่พิพากษาไปแล้ว
ปฏิบัติการแฮ็กแหลกของกลุ่ม LulzSec ช่วงกลางปี 2011 เป็นข่าวใหญ่ไปทั่วโลก แต่เมื่อหัวหน้ากลุ่ม LulzSec ถูก FBI จับกุม ก็ยอมปล่อยข้อมูลของพวกพ้องและส่งผลให้สมาชิกในกลุ่มโดนจับกันอีกหลายคน จากนั้นเรื่องก็ดูเงียบ
นับตั้งแต่รายงานรายละเอียดเกี่ยวกับคดีของนายอำพล (อากง SMS) มาตั้งแต่ต้น ประเด็นหนึ่งที่หลายคนใน Blognone ตั้งคำถามกันคือสุดท้ายแล้วไฟล์ล็อกที่ใช้เป็นหลักฐานนั้นหน้าตาเป็นอย่างไร ผมเองเคยเห็นไฟล์ล็อกนี้หลังจากเขียนบทความครั้งแรกๆ และสามารถติดต่อทีมทนายของนายอำพลได้ แต่เนื่องจากคดีในตอนนั้นยังไม่สิ้นสุด โดยยังคงอยู่ระหว่างการเตรียมการยื่นอุทธรณ์ผมเองจึงยังไม่ได้ขอให้ทีมทนายเปิดเผยสู่สาธารณะ (เช่นเดียวกับเอกสารความเห็นจาก SR Labs ที่ผมเองก็เคยเห็นก่อนหน้านี้)
มาถึงตอนนี้หลังจากทีมทนายเปิดเผยเอกสารจาก SR Labs ผมจึงอีเมลไปขอเอกสารไฟล์ล็อกที่ใช้เป็นหลักฐานในคดีนี้มาลงในเว็บ เพื่อให้ผู้ที่ติดตามได้เห็นว่าหลักฐานที่ใช้ฟ้องร้องในคดีนี้ จริงๆ มีหน้าตาเป็นอย่างไร
วันนี้คุณพูนสุข พูนสุขเจริญ หนึ่งในทีมทนายของคุณอำพล (อากง SMS) ได้โพสเอกสารความเห็นในคดีของคุณอำพล มันเป็นเอกสารที่เตรียมไว้สำหรับการยื่นอุทธรณ์ พร้อมกับเตรียมให้ผู้เชี่ยวชาญจาก Security Research Labs (SR Labs) มาขึ้นศาลเป็นพยานแต่สุดท้ายคุณอำพลตัดสินใจไม่ยื่นอุทธรณ์เพื่อขออภัยโทษแทน
เอกสารฉบับนี้ออกโดยดร. Karsten Nohl หัวหน้านักวิทยาศาสตร์ของบริษัท สำหรับ SR Labs นี้เป็นบริษัทที่นำเสนองานวิจัยเรื่องการปลอมแปลงหมายเลขโทรศัพท์เพื่อส่ง SMS ในยุโรป ที่งาน 29C3 เมื่อปลายปีที่แล้ว