มีกรณีศึกษาของนิวยอร์กซิตีกับ Airbnb หลังจากนิวยอร์กซิตีได้ออกกฎหมาย LL18 เมื่อปีที่แล้ว เพื่อควบคุมการนำห้องพักมาปล่อยเช่าระยะสั้นบนแพลตฟอร์ม ซึ่ง Airbnb แสดงความเห็นคัดค้านกฎหมายนี้มาตั้งแต่ตอนนั้น
กฎหมายนี้กำหนดว่าเจ้าของอสังหาริมทรัพย์เพื่อการเช่าพักอาศัยระยะสั้นที่น้อยกว่า 30 วัน จะต้องมาขึ้นทะเบียนกับหน่วยงานของนิวยอร์กซิตีก่อนเท่านั้น จึงจะสามารถนำไปให้เช่าพักในแพลตฟอร์มเช่น Airbnb ได้ กฎหมายนี้ออกมาเพื่อหวังลดราคาค่าเช่าอสังหาริมทรัพย์ในนิวยอร์กซิตี สำหรับการเช่าอยู่ในระยะยาว โดยมองว่าแพลตฟอร์มเหล่านี้ทำให้เจ้าของห้องมีแรงจูงใจปล่อยห้องในระยะสั้นที่ได้ราคาสูงมากกว่า จนกระทบการเช่าในระยะยาวด้วย
Kathy Hochul ผู้ว่าการรัฐนิวยอร์ก ลงนามรับรองกฎหมายด้านโซเชียลมีเดียกับเยาวชน 2 ฉบับ หลังจากสภาของรัฐนิวยอร์กโหวตผ่านกฎหมาย เมื่อต้นเดือนนี้
สภาของรัฐนิวยอร์กผ่านกฎหมายฉบับใหม่ Stop Addictive Feeds Exploitation (SAFE) for Kids Act กำหนดให้บริษัทโซเชียลมีเดียต้องจำกัดอัลกอริทึมแนะนำเนื้อหาของ feed ที่ทำให้ผู้ใช้ "เสพติด" สำหรับผู้ใช้ที่อายุต่ำกว่า 18 ปี และห้ามส่งการแจ้งเตือนไปยังผู้ใช้เหล่านี้ระหว่าง 0.00-6.00 น. โดยไม่ได้รับอนุญาตจากผู้ปกครอง
กฎหมายฉบับนี้ยังให้อำนาจกับสำนักงานอัยการของรัฐนิวยอร์ก เอาผิดกับบริษัทได้ด้วยโทษปรับสูงสุด 5,000 ดอลลาร์ต่อการทำผิดหนึ่งครั้ง
ขั้นถัดไปคือผู้ว่าการรัฐนิวยอร์ก Kathy Hochul ต้องลงนามเพื่อให้กฎหมายมีผลบังคับใช้ ซึ่งเธอออกมาประกาศชัดเจนว่า นิวยอร์กจะเป็นรัฐต้นแบบในการปกป้องเด็กๆ จากโซเชียลที่ทำให้เสพติด จนเกิดเป็นปัญหาสุขภาพจิตตามมา
Letitia James อัยการรัฐนิวยอร์ก ยื่นฟ้องบริษัทผู้อยู่เบื้องหลังแพลตฟอร์มคริปโต KuCoin ด้วยข้อหาผิดกฎหมายหลักทรัพย์ เพราะการซื้อขายเหรียญบน KuCoin มีพฤติกรรมเป็นหลักทรัพย์ ที่ต้องจดทะเบียนตามกฎหมายหลักทรัพย์ของรัฐนิวยอร์ก
คำฟ้องของอัยการนิวยอร์กยังมีประเด็นน่าสนใจตรงที่ชี้ว่าเหรียญ Ethereum (ETH) ซึ่งซื้อขายบน KuCoin มีพฤติกรรมเป็นหลักทรัพย์ (security) เช่นเดียวกับเหรียญ LUNA หรือ UST เพราะมีการเก็งกำไรในลักษณะเดียวกัน ดังนั้น KuCoin จึงต้องจดทะเบียนกับหน่วยงานกำกับดูแลของรัฐนิวยอร์ก จึงจะสามารถซื้อขาย ETH, LUNA, UST ได้อย่างถูกกฎหมาย
หลังจากที่สภานิติบัญญัติแห่งรัฐนิวยอร์กผ่านร่างกฎหมาย Digital Fair Repair Act (หรือที่มักจะเรียกกันว่า Right to Repair) มานานกว่า 6 เดือน เมื่อวันพฤหัสที่ผ่านมา นาง Kathy Hochul ผู้ว่าการรัฐนิวยอร์กก็ลงนามให้กฎหมายมีผลบังคับใช้แล้ว
สำหรับใครที่ไม่คุ้นเคย กฎหมายฉบับนี้มีสาระสำคัญให้ผู้ผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต้องจำหน่ายอะไหล่ รวมทั้งเปิดเผยคู่มือการซ่อมอุปกรณ์และซอพต์แวร์ที่เกี่ยวข้องให้กับผู้บริโภคและร้านซ่อมอิสระ ในระดับเดียวกับศูนย์บริการของผู้ผลิต ทำให้ผู้บริโภคมีอิสระในการเลือกร้านซ่อม ช่วยให้การซ่อมอุปกรณ์มีราคาจับต้องได้มากขึ้น ลดปริมาณขยะอิเล็กทรอนิกส์ และเป็นส่วนหนึ่งในการต่อสู้กับภาวะโลกร้อน
Metropolitan Transportation Authority หรือ MTA ผู้ดูแลรถไฟใต้ดินนิวยอร์กเผยผ่านทวิตเตอร์ว่าทางหน่วยงานจะยกเลิก MetroCard Machine เร็ว ๆ นี้ และแทนที่ด้วยเครื่องแบบใหม่ที่เรียกว่า OMNY
MetroCard คือบัตรแถบแม่เหล็กที่ใช้รูดเข้ารถไฟใต้ดินนิวยอร์ก สามารถซื้อหรือเติมเงินได้ผ่านเครื่อง MetroCard Machine โดยทางรถไฟนิวยอร์กให้บริการเครื่องนี้มาตั้งแต่ปี 1999
สภานิติบัญญัติแห่งรัฐนิวยอร์ก ได้ผ่านกฎ Right-to-Repair ซึ่งถือเป็นครั้งแรกในอเมริกา โดยมีชื่อเรียกว่า Digital Fair Repair Act ซึ่งลำดับถัดไปผู้ว่าการรัฐนิวยอร์กจะลงนาม และมีผลบังคับใช้ใน 1 ปีข้างหน้า
ในกฎนี้กำหนดว่าผู้ผลิตสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ดิจิทัล ที่จำหน่ายสินค้าในรัฐนิวยอร์ก จะต้องมีเครื่องมือ ชิ้นส่วน เอกสารขั้นตอน และซอฟต์แวร์ที่เกี่ยวข้อง สำหรับการซ่อมแซมอุปกรณ์ ให้กับทั้งลูกค้า และร้านซ่อมอิสระ
iFixit ผู้ผลิตอุปกรณ์สำหรับการซ่อมสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ และสนับสนุนแนวทาง Right-to-Repair บอกว่านี่ถือเป็นก้าวสำคัญ เพราะแม้กฎจะมีผลบังคับใช้เฉพาะรัฐนิวยอร์ก แต่การที่ผู้ผลิตสินค้าต้องเผยแพร่คู่มือการซ่อม ก็ย่อมทำให้คนในพื้นที่อื่นเข้าถึงข้อมูลนี้ได้เช่นกัน
รัฐนิวยอร์ก กำลังอยู่ระหว่างการเสนอกฎหมายห้ามการขุดเหมืองคริปโตประเภท proof-of-work ด้วยเหตุผลเรื่องพลังงานและสิ่งแวดล้อม
เนื้อหาในกฎหมายนี้จะห้ามการขยายเหมืองคริปโตเพิ่มเป็นเวลานาน 2 ปี ยกเว้นว่าบริษัทที่ขุดเหมืองแบบ proof-of-work สามารถใช้พลังงานหมุนเวียน 100% เท่านั้น
สถานะของร่างกฎหมายฉบับนี้ผ่านโหวตของสภาล่าง (assembly) แล้ว เหลือการโหวตในวุฒิสภา (senate) หากผ่านโหวตแล้วรอผู้ว่าการรัฐเซ็นลงนาม ก็จะมีผลทางกฎหมายต่อไป
Uber บรรลุข้อตกลงร่วมกับแท็กซี่นิวยอร์กซิตี้ โดยทาง Uber จะเปิดให้เรียกแท็กซี่ของนิวยอร์กผ่านแอปในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า
ภายใต้ความร่วมมือนี้ Uber จะนำข้อมูลจากผู้ให้บริการซอฟต์แวร์แท็กซี่ที่ได้ใบอนุญาตจาก Taxi and Limousine Commission (TLC) ของนิวยอร์กซิตี้ ได้แก่ Creative Mobile Technologies และ Curb Mobility ที่มีแท็กซี่นิวยอร์กซิตี้บนแพลตฟอร์มกว่า 14,000 คันมาแสดงบนแอป Uber
กูเกิลประกาศเตรียมเปิดร้านค้าแบบมีหน้าร้านแห่งแรกในนิวยอร์ก โดยใช้ชื่อว่า Google Store ซึ่งร้านจะตั้งอยู่ในย่าน Chelsea ซึ่งสำนักงานสาขาของกูเกิลในนิวยอร์กก็ตั้งอยู่ที่นั่น
กูเกิลยังไม่เปิดเผยรายละเอียดของร้านค้ามากนัก บอกเพียงจะมีการนำเสนอและจำหน่ายสินค้าของกูเกิล ตั้งแต่สมาร์ทโฟน Pixel, อุปกรณ์ตระกูล Nest, Fitbit ไปจนถึง Pixelbook ลูกค้าสามารถจองสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์และรับสินค้าได้ที่ร้าน รวมทั้งมีเจ้าหน้าที่ให้คำแนะนำ และแก้ไขปัญหาการใช้งาน นอกจากนี้ยังมีการจัดเวิร์กชอปตลอดทั้งปี
Andrew Cuomo ผู้ว่าการรัฐนิวยอร์ก ลงนามคำสั่งกำหนดให้ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต (ISP) ทั้งหมด เสนอเครือข่ายเน็ตในราคาที่ประชาชนรายได้น้อยเข้าถึงได้ กำหนดราคาที่ 15 ดอลลาร์ต่อเดือน และ 20 ดอลลาร์ต่อเดือนสำหรับอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง ถือเป็นราคาเน็ตที่ถูกลงมามากจากราคาปกติคือเดือนละประมาณ 50 ดอลลาร์
ทางการนิวยอร์ก เปิดตัวแอปพลิเคชั่น NYS Excelsior Pass Wallet เป็นแอปแสดง QR ที่ยืนยันว่าผู้ใช้งานได้รับการฉีดวัคซีน COVID-19 แล้ว พัฒนาโดยหน่วยงานสุขภาพ NYS Office of Information Technology ServicesHealth & Fitness และ IBM ผู้ใช้งานแอปสามารถแสดง QR บนแอปเพื่อเข้าอาคารสถานที่ต่างๆ ได้ เช่น Madison Square Garden, Times Union Center รวมถึงการจัดกิจกรรมต่างๆ อย่างคอนเสิร์ต งานแต่งงาน ดูภาพยนตร์ในโรงภาพยนตร์ เป็นต้น
กลุ่มพ่อแม่ของนักเรียนไร้บ้านในนิวยอร์ก และ Coalition of the Homeless แนวร่วมคนไร้บ้าน ยื่นฟ้องร้องแบบกลุ่มต่อศาล เพื่อให้ทางการนิวยอร์ก จัดหา Wi-Fiให้นักเรียนในช่วงเวลาที่ต้องเรียนออนไลน์อยู่ที่ศูนย์พักพิงราว 114,000 ราย โดยขณะนี้มีการเร่งเพื่อเข้าสู่กระบวนการพิจารณาคดีแล้ว
MTA ผู้ดูแลระบบขนส่งมวลชนนิวยอร์กได้เปิดตัวระบบจ่ายเงินแบบไร้สัมผัส (Contactless) สำหรับใช้งานกับรถไฟใต้ดินมาสักระยะแล้วในชื่อ One Metro New York หรือ OMNY โดยแผนตอนแรกคาดว่าจะเสร็จสิ้นในเดือนตุลาคม แต่ล่าช้าเนื่องจากสถานการณ์ COVID-19
ล่าสุด MTA เปิดแถลงข่าวเปิดตัวระบบ OMNY อย่างเป็นทางการ โดยระบบใหม่นี้พร้อมใช้งานแล้วในระบบรถไฟใต้ดินนิวยอร์ก ผู้เดินทางด้วยรถไฟใต้ดินสามารถใช้บัตรเครดิต, บัตรเดบิต, สมาร์ทโฟน หรือสมาร์ทวอชที่รองรับการจ่ายเงินแบบไร้สัมผัสแตะเข้าเพื่อใช้งานระบบรถไฟได้ทันที
นิวยอร์ก ประกาศแบนการใช้เทคโนโลยีจดจำใบหน้า และไบโอเมตริกซ์ในรูปแบบอื่นๆ ในโรงเรียนไปจนถึงปี 2022 โดยตอนนี้รอผู้ว่าการรัฐ Andrew Cuomo ลงนาม
เดือนมกราคมที่ผ่านมา เขตการศึกษา Lockport City School District ในนิวยอร์กได้ประกาศใช้การจดจำใบหน้าในโรงเรียนอย่างชัดเจน โดยมีจุดประสงค์เพื่อความปลอดภัยของเด็กนักเรียน ตรวจจับคนไม่หวังดีรวมถึงผู้กระทำความผิดทางเพศหรือผู้ที่ถูกสั่งห้ามตามคำสั่งของศาล แต่กลุ่มสิทธิมองว่าเป็นการละเมิดสิทธิและความเป็นส่วนตัวเด็ก รวมถึงมีความกังวลว่าจะเก็บมีการเก็บข้อมูลเซนซิทีฟของเด็กหรือไม่
Wall Street Journal รายงานว่า รถไฟใต้ดินนิวยอร์ก มีแผนจะวางระบบแตะจ่ายหรือ contactless ให้เสร็จสิ้นภายในเดือนตุลาคมนี้ แต่ COVID-19 ทำให้การวางระบบโครงสร้างต่างๆ ต้องล่าช้าออกไป ซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จภายในสิ้นปีนี้
โดยทางการรถไฟ MTA ต้องระงับแผนการวางระบบ One Metro New York (OMNY) เพราะไม่อยากให้คนทำงานวางระบบเสี่ยงติดเชื้อ และนิวยอร์กเองก็ยังมีตัวเลขผู้ติดเชื้อสูงอยู่
นิวยอร์ก หนึ่งในเมืองที่ได้รับผลกระทบจากโรค COVID-19 ระบาดหนักที่สุดแห่งหนึ่งของโลก จนกิจกรรมและสถานที่ต่างๆ ต้องหยุดชะงัก ล่าสุด ผู้ว่าการรัฐนิวยอร์ก Andrew Cuomo เผยว่านิวยอร์กได้ออกกฎใหม่ให้สามารถยื่นขอใบอนุญาตแต่งงานและจัดพิธีแต่งงานผ่านแอปประชุมได้
การจัดงานแต่งงานผ่าน Zoom หรือ #ZoomWeddings เชิญญาติและเพื่อนๆ เข้ามาเป็นสักขีพยาน กำลังเป็นที่นิยมในช่วงโรคระบาดนี้ ซึ่งนิวยอร์กได้ออกกฎให้เป็นรูปธรรมมากขึ้น โดยไม่ได้ระบุว่าต้องใช้แอปประชุมแอปใดแอปหนึ่งในการยื่นขอและส่งเอกสารแต่งงานที่ถูกต้องตามกฎหมาย
Zoom แอปประชุมวิดีโอคอลที่กำลังมาแรงขณะนี้ ประสบปัญหาข้อกังวลเรื่องความเป็นส่วนตัว และมีบางบริษัทเริ่มแบนไม่ใช้ Zoom ในการทำงานล่าสุด นิวยอร์กออกมาประกาศแนะนำโรงเรียนเลิกใช้ Zoom ในการเรียนการสอน
Danielle Filson โฆษกของหน่วยงานการศึกษาของนิวยอร์ก NYC Department of Education เผยว่า การให้ประสบการณ์การศึกษาระยะไกลที่ปลอดภัยเป็นสิ่งสำคัญที่สุด แนะนำโรงเรียนควรเลิกใช้ Zoom โดยเร็วที่สุด แนะนำด้วยว่าให้ใช้ Microsoft Teams แทน
สำหรับมาตรการใหม่นี้จะครอบคลุมนักเรียน 1.1 ล้านคน โรงเรียน 1,800 แห่ง ทั่วทั้ง 5 เขตของนิวยอร์ก
ช่วงเดือนสิงหาคม-กันยายน Uber และ Lyft มีประเด็นกับคณะกรรมการแท็กซี่และลิมูซีน (Taxi and Limousine Commission - TLC) ของนครนิวยอร์ก ที่ออกกฎจำกัดปริมาณรถยนต์สูงสุดและระยะเวลาที่สามารถวิ่งหาผู้โดยสารและจอดรอผู้โดยสารในพื้นที่ของนครนิวยอร์ก ก่อนที่ Uber ยื่นฟ้องศาลให้ยกเลิกกฎดังกล่าว เช่นเดียวกับ Lyft ที่ยื่นฟ้องเองต่างหาก
Netflix เซ็นสัญญาเช่า Paris Theater โรงหนังแบบ single screen ในนิวยอร์กที่มีประวัติความเป็นมายาวนาน โดยเป็นการเซ็นสัญญาระยะยาว สร้างโอกาสในการร่วมงานกับคนทำหนังมืออาชีพที่ต้องการให้หนังของตัวเองฉายในโรงหนังรวมทั้งโอกาสที่หนังจะได้รางวัลออสการ์
Paris Theater สร้างขึ้นในปี 1978 โดยกำลังจะได้ฉายหนัง Netflix เรื่อง Marriage Story หนังโรแมนติกนำแสดงโดย Scarlett Johansson, Adam Drive กำกับโดย Noah Baumbach
นิวยอร์กซิตี้ โดยนายกเทศมนตรี Bill de Blasio ประกาศจัดตั้งตำแหน่งงานด้าน “การจัดการและนโยบายอัลกอริทึม” ซึ่งเป็นตำแหน่งระดับบริหาร โดยผู้รับตำแหน่งงานนี้จะต้องรับผิดชอบด้านการควบคุมอัลกอริทึมในนิวยอร์กซิตี้ โดยมีอยู่สองงานหลัก ๆ คือ สร้างแนวทางด้านสถาปัตยกรรมสำหรับอัลกอริทึม และให้การสนับสนุนทรัพยากรสำหรับนโยบายด้านอัลกอริทึม
ปัจจุบัน ประเด็นด้านความลำเอียงของอัลกอริทึมเป็นเรื่องที่หลายฝ่ายเริ่มตื่นตัว เนื่องจากมนุษย์เข้าใจการทำงานของอัลกอริทึมได้ยากหรือบางครั้งก็ไม่เข้าใจเลย และอาจสร้างการแบ่งแยกระหว่างเชื้อชาติกันได้ง่าย ซึ่งหลายครั้งผู้สร้างอัลกอริทึมอาจละเลยประเด็นนี้ไปโดยไม่ได้ตั้งใจ
สัญลักษณ์อย่างหนึ่งของนครนิวยอร์กคือ "แท็กซี่สีเหลือง" ที่เราคงเห็นกันบ่อยๆ ในภาพยนตร์ หรือในรูปถ่ายท้องถนนของเมืองนิวยอร์กก็มักจะมีแท็กซี่สีเหลืองอยู่ด้วยเสมอ และขณะนี้ Tesla Model 3 ก็ได้ผ่านการอนุมัติให้นำมาใช้เป็นรถแท็กซี่ได้แล้ว
คณะกรรมการรถแท็กซี่และลิมูซีนแห่งนครนิวยอร์ก (New York City Taxi and Limousine Commission - TLC) ได้รับรองให้บริษัทแท็กซี่สามารถนำ Tesla Model 3 มาให้บริการได้แล้ว โดยบรรจุเข้าเป็นหนึ่งในรถยนต์ราว 40 รุ่นที่ผ่านการรับรอง และเป็นรถยนต์ไฟฟ้าเพียงรุ่นเดียว โดยปัจจุบันมีเพียงรถยนต์ปกติและรถยนต์ไฮบริดที่มีการใช้งาน
ในยุคที่อีคอมเมิร์ซเฟื่องฟูสุดๆ เรากดซื้อของออนไลน์ได้ภายใน 5 นาที แถม Amazon ก็มีบริการ Prime ที่ส่งด่วนภายใน 2 วัน และล่าสุดก็เริ่มปรับมาเป็นภายในวันเดียวกันหรือภายในไม่กี่ชั่วโมง สิ่งที่ตามมาคือบริการส่งของอย่าง FedEx, UPS และอื่นๆ ก็ต้องทำงานกันหนักขึ้น รวมทั้งจำนวนรถส่งของก็เพิ่มขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
เมืองนิวยอร์กมีพัสดุถูกจัดส่งมากกว่า 1.5 ล้านชิ้นต่อวัน (มีประชากรราว 20 ล้านคน) ก่อให้เกิดปัญหาการจราจรอย่างหนัก ลามไปถึงเรื่องความปลอดภัยบนท้องถนนและมลพิษ
ตามรายงานระบุว่ารถส่งของเฉพาะ FedEx และ UPS ต้องจอดซ้อนคันเป็นประจำ ทำให้ขวางเลนรถเมล์และเลนจักรยาน ซึ่งในปี 2018 ได้จอดรถผิดกฎจราจรไปมากกว่า 471,000 ครั้ง สูงขึ้นถึง 34% จากสถิติในปี 2013
การปรับเงื่อนไขบางอย่างเพื่อให้สอดคล้องกับกฏหมายเป็นเรื่องจำเป็น เช่นเดียวกับ Uber และ Lyft ที่ต้องปิดไม่ให้คนขับรับงานในพื้นที่ที่มีผู้ใช้บริการน้อยและในบางช่วงเวลา เพื่อให้สอดคล้องกับกฏระเบียบใหม่ที่ทาง Taxi and Limousine Commission (TLC) ของนครนิวยอร์กร่างขึ้นมา
กฏหมายใหม่กำหนดเพดานปริมาณรถยนต์สูงสุดที่ให้บริการ Ride-Sharing, กำหนดอัตราจ่ายค่าตอบแทนขั้นต่ำให้กับคนขับ โดยอ้างอิงจากเวลาที่ผู้ขับให้บริการกับผู้โดยสาร รวมถึงต้องจำกัดเวลาการวนขับรถหาผู้โดยสารไปเรื่อย ๆ (Cruising) และการจอดรอผู้โดยสารด้วย
หน่วยงานขนส่งมวลชนนิวยอร์กเปิดเผยว่า กำลังพิจารณาว่าจะออกประกาศอย่างเป็นทางการหรือไม่ เพื่อเตือนผู้โดยสารรถไฟใต้ดิน ไม่ให้สวมหรือถอดหูฟัง AirPods ในระหว่างขึ้นหรือลงรถไฟ เนื่องจากช่วงที่ผ่านมา รถไฟใต้ดินพบปัญหาผู้โดยสารทำหูฟัง AirPods หล่นในช่องว่างระหว่างชานชาลากับรถไฟหลายกรณีเพิ่มมากขึ้น
อีกปัจจัยที่ขนส่งมวลชนนิวยอร์กเชื่อว่าทำให้จำนวนหูฟัง AirPods ร่วงหล่นเยอะ คืออากาศร้อน ทำให้เกิดเหงื่อและหูฟังอาจหลุดออกได้ง่าย