ชุมชนชาวไอทีใน Kansas City เตรียมจัดงาน CMW หรือชื่อเต็มคือ Compute Midwest ซึ่งเป็นงานสัมมนาเกี่ยวกับวงการไอที โดยหนึ่งในกิจกรรมเด่นของงาน CMW นี้ คือกิจกรรม hackathon ที่ผู้เข้าแข่งขันจะได้ลองความแรงของ Google Fiber กันแบบเต็มๆ
กำหนดการงาน CMW นั้นจะจัดขึ้นในวันที่ 9-11 พฤศจิกายนนี้ โดยส่วนของกิจกรรม hackathon จะเริ่มในวันที่ 2 ของงาน ซึ่งจะให้เวลาผู้เข้าแข่งขัน 24 ชั่วโมงเพื่อพัฒนาแอพพลิเคชันใหม่ๆ และเจ้าภาพสถานที่ก็ไม่ใช่ใครที่ไหน เป็น Google Fiber Space สำนักงานหลักของ Google Fiber ใน Kansas City นั่นเอง
ทางผู้จัดงานเตรียมเงินรางวัลไว้หลายพันดอลลาร์ และคาดว่าจะมีนักพัฒนาซอฟต์แวร์มากกว่า 100 รายที่อยากจะมาร่วมสัมผัสประสบการณ์สตรีมมิ่งความเร็วสูงในครั้งนี้
ถ้ายังจำกันได้ ปีที่แล้ว RIM ประกาศจัดงาน BlackBerry DevCon ที่กรุงเทพ แต่สุดท้าย
กลุ่ม Google Developer Group Thailand (GDG Thailand) ร่วมกับกูเกิลได้จัดงาน GDG DevFest Bangkok 2012 ซึ่งเป็นงานสัมมนาของนักพัฒนาที่สนใจเทคโนโลยีของกูเกิลที่ครอบคลุมเนื้อหาหลากหลายไม่ว่าจะเป็น Android, Chrome หรือเทคโนโลยีอื่นๆ มากกว่า 10 หัวข้อด้วย
นอกจากนี้แล้วกูเกิลยังได้ได้จัดงาน gThailand ขึ้นโดยเป็นงานสัมมนาเชิงเทคโนโลยีควบคู่ไปกับธุรกิจและการศึกษา ซึ่งเนื้อหาทั้งหมดนั้นเกี่ยวข้องกับการพัฒนาเว็บไซต์ การตลาด รวมไปถึงทางธุรกิจและการนำไปต่อยอด โดยผู้เข้าร่วมจะได้เลือกเกือบ 30 หัวข้อสัมมนาตลอดระยะเวลา 2 วัน
ข่าวนี้เป็นข่าวน่ารัก ๆ ของทาง RIM ที่เพิ่งเปิดเผยรายละเอียดของ BlackBerry OS 10 ไปสด ๆ หมาด ๆ และหลังจากนั้นไม่นาน RIM ก็โพส music video ลง YouTube ของตน เพื่อเรียกนักพัฒนามาร่วมทำแอพลง BlackBerry OS 10 กัน
ส่วนตัวเพลงเป็นอย่างไรกันนั้นก็ติดตามได้ท้ายเบรกครับ แต่ดูจากภาพปะหน้าวีดีโอแล้ว สีหน้าคนร้องนี่ตั้งใจร้องมากเลยนะ
ที่มา : Engadget
ข่าวมาช้าไปนิด (ผมก็เพิ่งทราบเหมือนกัน) แต่สำหรับคนที่สนใจแพลตฟอร์ม BB10 ก็ถือเป็นโอกาสอันดีที่จะเข้าไปสัมผัสและเรียนรู้ก่อนใคร
RIM จัดงานสัมมนาสำหรับนักพัฒนา BlackBerry Jam ในประเทศไทย โดยงานแบ่งเป็น 2 วันคือ 18 ก.ย. ที่เชียงใหม่ (โรงแรมเซ็นทารา ดวงตะวัน) และ 19 ก.ย. ที่กรุงเทพ (โรงแรมดุสิตธานี) หัวข้อเหมือนกันทั้งสองแห่งคือเกี่ยวกับ BB10 ทั้งในแง่สถาปัตยกรรมและการพัฒนาด้วย web/native
รายละเอียดดูที่ BlackBerry Jam Thailand 2012
ที่มา - Blognone Press Release
ข่าวนี้เป็นภาคต่อของ ไมโครซอฟท์-โนเกีย ทุ่มเงิน 24 ล้านดอลลาร์ ปั้นนักพัฒนา Windows Phone ในชื่อโครงการ AppCampus โดยมีมหาวิทยาลัย Aalto ในฟินแลนด์เป็นผู้ดำเนินการให้
รูปแบบของโครงการนี้คือให้นักพัฒนาแอพส่งไอเดียเข้าไปยังเว็บไซต์ จากนั้นคณะกรรมการจะรีวิว ถ้าไอเดียน่าสนใจจะได้รับเงินอุดหนุนพร้อมอุปกรณ์-เครื่องมือ-คำแนะนำจากโครงการ ช่วยให้พัฒนาแอพออกมาอย่างมีคุณภาพ
ไมโครซอฟท์ประกาศเปิดรับแอพสำหรับ Windows Store แบบเสียเงินใน 120 ประเทศทั่วโลก (ผมไม่แน่ใจว่าประเทศไทยเข้าตั้งแต่รอบที่แล้วหรือว่ารอบนี้ แต่เอาเป็นว่าใช้ได้เต็มรูปแบบแล้ว)
สำหรับนักพัฒนาสายไมโครซอฟท์ยังมีข่าวดีอีกอย่างคือ สมาชิก MSDN ทุกคนจะไม่ต้องจ่ายค่าธรรมเนียมนักพัฒนา Windows Store ฟรี 1 ปี (จ่ายเอง 1,490 บาท) ซึ่งสิทธินี้ครอบคลุมบัญชีแบบ DreamSpark สำหรับภาคการศึกษา และ BizSpark สำหรับภาคธุรกิจด้วย
RIM เปิดโครงการจูงใจให้นักพัฒนามาทำแอพ BB10 ลง App World อีก 2 โครงการ
Built for BlackBerry ตราสัญลักษณ์รับรองแอพคุณภาพ แสดงไว้บน App World และเว็บไซต์ของผู้พัฒนาแอพ เบื้องต้นเปิดให้นักพัฒนาส่งแอพเข้าไปขอรับรองได้ฟรี โควต้าต่อบัญชีนักพัฒนาคือแอพที่สร้างด้วย WebWorks 10 ตัว และแอพแบบเนทีฟ 10 ตัว
$10K Developer Commitment สำหรับแอพ BB10 ที่ส่งขึ้น App World ก่อน BB10 วางจำหน่าย จะได้รับการการันตีรายได้จาก RIM ด้วย โดยมีเงื่อนไขคือแอพของเราต้องทำรายได้ด้วยตัวเอง 1,000 ดอลลาร์ แต่ถ้าเงินได้ทั้งปีไม่ถึง 10,000 ดอลลาร์ RIM ก็จะจ่ายสมทบให้เราจนครบ 10,000 ดอลลาร์
เป็นข่าวต่อเนื่องจากกรณี Microsoft จะเปลี่ยนการเรียกแอพแบบ Metro เนื่องมาจากอาจละเมิดเครื่องหมายการค้านะครับ (1,2)
ในขณะที่ยังไม่เป็นที่ชัดเจนว่า Microsoft จะดำเนินการอย่างไร แต่ดูเหมือนเรื่องนี้จะเริ่มส่งผลกระทบต่อนักพัฒนาภายนอกแล้ว โดยเฉพาะนักพัฒนาที่ตั้งชื่อแอพที่มีคำว่า "metro" อยู่ด้วย
เนื่องจากกฏที่เขียนไว้ในเอกสารแนะนำการตั้งชื่อแอพบน Windows 8 Dev Center ห้ามไม่ให้ใช้คำว่า "metro" ในการตั้งชื่อแอพ โดยแอพที่ไม่ทำตามกฏดังกล่าวจะไม่ผ่านการรับรองและจะไม่ได้ขึ้น Windows Store
จากการที่ไมโครซอฟท์เปิดตัว Windows Phone Dev Center พร้อมกับเข้ารหัสแอพให้อัตโนมัติเพื่อป้องกันการละเมิดลิขสิทธิ์ ตอนนี้ก็ต้องเจอกับปัญหาเข้าแล้วเมื่อแอพบางตัวที่ผ่านการทำ digital signature นั้นไม่สามารถที่จะติดตั้งบนโทรศัพท์ Windows Phone บางรุ่นได้ตามปกติ ซึ่งแอพชื่อดังที่ต้องเจอกับปัญหานี้ก็อย่างเช่น WhatsApp และแอพ Translator ของทางไมโครซอฟท์เอง
ถึงแม้ว่าตอนนี้ทางไมโครซอฟท์กำลังเร่งแก้ไขปัญหานี้อยู่ แต่ก็ได้หยุดปล่อยแอพใหม่เป็นการชั่วคราวเพื่อจำกัดความเสียหายที่จะเกิดขึ้นจากปัญหานี้ครับ
การละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์เป็นปัญหาที่ไม่ว่านักพัฒนาคนไหนก็คงไม่อยากเจอ สำหรับคนที่พัฒนาแอพบน Windows Phone คงจะได้ใจชื้นขึ้นมาบ้าง เมื่อ Microsoft พยายามแก้ปัญหานี้ด้วยการเข้ารหัสแอพทั้งหมดบน Windows Phone Dev Center
เรื่องนี้ถูกเปิดเผยจากโพสต์ใน Windows Phone Developer Blog โดย Todd Brix กล่าวว่าแอพทั้งหมด (รวมไปถึงแอพที่ถูกส่งขึ้นไปแล้ว) จะได้รับการเข้ารหัสโดยอัตโนมัติ นักพัฒนาไม่จำเป็นต้องทำอะไรเพิ่มเติม
วันนี้ Facebook ประกาศงานแฮกของตัวเองในชื่อ Facebook Developer World HACK 2012 สำหรับให้นักพัฒนามาแข่งกันสร้าง Facebook app ให้เสร็จภายในวันเดียว (hackathon)
ที่น่าสนใจคืองานครั้งนี้จะตะเวนไปจัดตามหัวเมืองต่างๆ ทั้งสิ้น 12 เมือง โดยเริ่มต้นที่เมืองออสติน ในรัฐเทกซัสวันที่ 23 สิงหาคม และไปจบที่กรุงมอสโคว ประเทศรัสเซียในวันที่ 1 ตุลาคม
รูปแบบของงานจะครอบคลุมการสร้าง Facebook app ด้วยเครื่องมืออย่าง Facebook APIs,Mobile SDKs, Open Graph โดยทีมงานจะเดโมให้ดูพร้อมกับข้อมูลอื่นๆ ก่อนเริ่มทำจริง
ใครที่สนใจลองเข้าไปดูรายละเอียด และลงทะเบียนได้จากเว็บไซต์ของ WOLRD HACK 2012 ครับ
ไมโครซอฟท์ได้เปิดตัว Windows Phone Dev Center มาแทน App Hub เดิม โดยบริษัทกล่าวว่าเว็บท่าสำหรับนักพัฒนาตัวใหม่นี้จะอยู่บน backend ที่ได้รับการปรับปรุงตั้งแต่เดือนเมษายนที่ผ่านมา และเป้าหมายของการพัฒนาเว็บท่านี้คือเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานเป็นหลัก สำหรับการปรับปรุงอื่นที่สำคัญ มีดังนี้
ไมโครซอฟท์ประกาศจัดงานสัมมนาสำหรับนักพัฒนา BUILD 2012 ในวันที่ 30 ต.ค. ถึง 2 พ.ย. นี้
ถ้าเป็นงานสัมมนาธรรมดาคงไม่กลายเป็นข่าวแน่ๆ ครับ เพราะงานนี้มีความหมายพิเศษหลายประการมากสำหรับไมโครซอฟท์ เช่น
ประเด็นเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์แอพบนแอนดรอยด์กลับมาเป็นที่ถกเถียงอีกครั้ง หลังจากนักพัฒนาแอพบน iOS ชื่อว่า Matt Gemmell ออกมาเขียนลงในบล็อกส่วนตัวหลังจากอ่านข่าวเกมแนวยิงซอมบี้ Dead Trigger ที่ปรับจากราคาจากเดิม 99 เซนต์ เป็นแจกฟรี และเน้นขายของในเกมแทน
Gemmell บอกว่าแอพที่วางขายบนแอนดรอยด์นั้นสุ่มเสี่ยงต่อการถูกละเมิดลิขสิทธิ์ เพราะว่าตัวแอนดรอยด์เองถูกออกแบบมาให้เอื้อต่อการละเมิดลิขสิทธิ์ตั้งแต่แรก เช่นการปล่อยให้สามารถลงแอพจากภายนอกได้ (sideloading) ทำให้สามารถลงแอพเถื่อนได้ โดยที่ไม่ต้องรูทเครื่องเลย (แต่ในอนาคต Play Store จะเข้ารหัสแอพเสียเงิน ตามที่ประกาศไว้ในงาน Google I/O - Blltz)
เคราะห์ซ้ำกรรมซัดของ RIM ในช่วงเวลาอันยากลำบากของบริษัท เพราะผลสำรวจความคิดเห็นของนักพัฒนาแอพมือถือจำนวน 200 คนที่รวบรวมโดยบริษัท Baird Equity Research ระบุว่านักพัฒนากลุ่มนี้สนใจแพลตฟอร์ม BlackBerry และ BlackBerry 10 น้อยลง
วิธีการสำรวจความเห็นของ Baird คือให้นักพัฒนาลงคะแนนว่าแพลตฟอร์มแต่ละรายมี "อนาคต" มากน้อยแค่ไหน โดยคิดคะแนนเต็ม 10 คะแนน ผลคือ BlackBerry ได้คะแนนเฉลี่ยน้อยเพียง 2.8 คะแนน และ BB10 ได้ 3.8 คะแนน ซึ่งลดลงกว่าผลสำรวจเมื่อปีที่แล้วอย่างชัดเจน (ดูกราฟประกอบ)
Gartner ได้เผยบทวิเคราะห์เกี่ยวกับการพัฒนาโปรแกรมบนแพลตฟอร์มของไมโครซอฟท์ว่า Windows 8 จะเป็นจุดเริ่มต้นของยุคการโปรแกรมบนแพลตฟอร์ม WinRT (Windows Runtime) และเป็นจุดเริ่มต้นของการสิ้นสุดของยุคการโปรแกรมบนแพลตฟอร์ม WinNT (Windows NT) โดย WinRT ได้รับการออกแบบมาให้ไมโครซอฟท์มุ่งไปสู่อนาคตที่ได้รับอิทธิพลจากอุปกรณ์แบบพกพาได้ แต่บริษัทก็จะสนับสนุน WinNT ต่อไป เพื่อให้แอพแบบเดสก์ท็อปเดิมที่ได้รับการพัฒนาบนชุด Win32 API สามารถรันต่อไปได้ (เพื่อความสะดวก ต่อไปขอเรียกมันว่าแอพแบบ Win32 ครับ)
ในงาน Uplinq 2012 developers conference บริษัท Qualcomm ได้เปิดตัว Snapdragon SDK สำหรับแอนดรอยด์ ที่ตอนนี้ยังเป็นแค่รุ่นทดสอบ (preview release) เท่านั้น ส่วนรุ่นเต็มจะตามมาในเร็วๆ นี้
ด้วย Snapdragon SDK นี้จะทำให้ผู้พัฒนาแอพฯ บนแอนดรอยด์สามารถเข้าถึงสถาปัตยกรรมต่างๆ ของชิปได้ ซึ่ง Qualcomm เรียกว่าเป็น "next-generation technology and features"
รายการคร่าวๆ ของความสามารถที่น่าสนใจมีดังนี้ครับ
หลังจาก Chrome Web Store เพิ่มระบบแจ้งบั๊กไปยังนักพัฒนาแอพ เพียงหนึ่งวัน ทางฝั่ง Android ก็ประกาศฟีเจอร์คล้ายๆ กัน (แต่ไม่เหมือนกันเสียทีเดียว) นั่นคือเปิดให้นักพัฒนาแอพสามารถตอบคอมเมนต์ของผู้ใช้ใน Play Store ได้โดยตรง
นักพัฒนาสามารถชี้แจงหรือขอข้อมูลเพิ่มเติมจากผู้ใช้ที่เขียนรีวิวเข้ามาได้ ซึ่งผู้ใช้คนนั้นจะได้รับอีเมลแจ้งเตือนว่านักพัฒนาเข้ามาตอบแล้ว เพื่อให้ติดต่อกันเองโดยตรงซึ่งอาจส่งผลให้แก้บั๊กได้เร็วขึ้น
เบื้องต้นกูเกิลจะเปิดให้นักพัฒนากลุ่ม Top Developer (ที่มีตราสีฟ้าๆ ต่อท้าย) ใช้งานก่อน และถ้าผลออกมาดีก็จะเปิดให้นักพัฒนาทั้งหมดบน Play Store ใช้งานต่อไป
ระบบจัดจำหน่ายแอพทั้งหลายคงพบกับปัญหาว่า ผู้ใช้งานแอพใช้พื้นที่ของการรีวิวมาแจ้งปัญหาและบั๊ก ทำให้ข้อมูลสับสนปนเประหว่างรีวิวกับแจ้งบั๊ก เรตติ้งลด และบางครั้งการแจ้งบั๊กก็ไปยังไม่ถึงตัวนักพัฒนา
กูเกิลพยายามแก้ปัญหานี้สำหรับ Chrome Web Store โดยแยกส่วนของการรายงานบั๊กออกมาเป็นพิเศษ เพื่อให้ผู้ใช้งาน extension ต่างๆ สามารถแจ้งบั๊กไปยังนักพัฒนาได้ง่ายขึ้น ข้อมูลพวกนี้จะเป็นข้อมูลสาธารณะที่ทุกคนดูได้ด้วย เพื่อลดการแจ้งปัญหาซ้ำซ้อนนั่นเอง
นักพัฒนาสามารถเปิดใช้ฟีเจอร์นี้ได้จาก Developer Dashboard และควรแจ้ง URL สำหรับรายงานบั๊กให้ผู้ใช้รู้ด้วย (รูปแบบ URL จะเป็น https://chrome.google.com/webstore/support/yourappid)
อัพเดตเล็กๆ แต่อาจสำคัญสำหรับชาว Android ตอนนี้ Google ได้เปิดให้นักพัฒนาสามารถโต้ตอบกับผู้ใช้ที่มารีวิวในหน้าแอพของตัวเองได้แล้วไม่ว่าจะเป็นรีวิวในด้านบวกหรือลบ โดยในตอนนี้ยังเปิดให้นักพัฒนาที่ได้รับ Top Developer Badge เท่านั้นและจะเปิดให้ใช้อย่างทั่วถึงในอนาคต
ที่มา - AndroidSPIN
คนที่ติดตามวงการ Windows Phone ในบ้านเราคงคุ้นกับชื่อ EGCO Dev Team ที่มีผลงานแอพให้โหลด-ขายใน Windows Phone Marketplace อยู่หลายตัว แถมบางตัวยังเป็นแอพที่ทำร่วมกับองค์กรใหญ่ๆ อย่าง ททท. หรือว่า ช่อง 3 อีกด้วย
ผมตามดูข้อมูลในเว็บแล้วพบว่าเป็นกลุ่มนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยมหิดลที่มารวมตัวกัน ตั้งทีมพัฒนาแอพขึ้นด้วยตัวเองเกือบทั้งหมด (ประวัติของทีมงาน) จึงติดต่อขอสัมภาษณ์ เผื่อว่าจะเป็นประโยชน์และแรงบันดาลใจให้กับนักศึกษากลุ่มอื่นๆ นะครับ
เป็นที่ทราบกันอยู่แล้วว่าแอพแบบ Metro เท่านั้นที่จะสามารถวางขายบน Windows Store ได้ (ดูรายละเอียดการส่งแอพแบบ Metro ขึ้นสโตร์ได้จากข่าวเก่า) ส่วนแอพแบบเดสก์ท็อปนั้น Windows Store จะทำหน้าที่แสดงข้อมูลเท่านั้น ลูกค้าที่สนใจจะต้องกดลิงก์ Go to developer's website เพื่อไปยังหน้าเว็บแล้วซื้อ-ดาวน์โหลดเอง (ข่าวอ้างอิง) ซึ่งล่าสุดไมโครซอฟท์ก็ได้เผยรายละเอียดการนำข้อมูลแอพแบบเดสก์ท็อปขึ้นไปแสดงบน Windows Store แล้ว โดยนักพัฒนาจะต้องดำเนินการ ดังนี้
ความยากลำบากในการพัฒนาแอพลงบนแอนดรอยด์เป็นเรื่องที่ทุกคนทราบกันดี เนื่องด้วยปัญหา fragmentation จากทั้งฮาร์ดแวร์ และซอฟต์แวร์ และมีข่าวจากนักพัฒนา บริษัทวิจัย ฯลฯ ออกมายืนยันเรื่องนี้อยู่เป็นระยะๆ
คราวนี้ลองมาฟังความเห็นจาก Max Weiner หัวหน้าฝ่ายทำแอพแอนดรอยด์ของ Pocket (ก่อนหน้านี้ชื่อ Read It Later) ที่เขียนบล็อกเบื้องหลังการทำแอพบนแอนดรอยด์ว่าไม่ได้ลำบากมากนัก และจริงๆ มันค่อนข้างจะน่าสนุกด้วยซ้ำ
นี่อาจเป็นสัญลักษณ์ว่ายุคสมัยอันเรืองรองของโนเกียผ่านพ้นไปแล้ว เพราะงานสัมมนาใหญ่ประจำปี Nokia World ถูกลดขนาดลงเป็นที่เรียบร้อย และเปลี่ยนเป็นงานเล็กๆ แต่จัดหลายครั้งแทน
งานแรกในซีรีส์ Nokia World 2012 จะจัดที่เมืองเฮลซิงกิระหว่างวันที่ 5-6 กันยายน โดยเป็นงานปิดเฉพาะผู้ได้รับเชิญเท่านั้น และจะประกาศข่าวของงานครั้งต่อๆ ไปในภายหลัง
โนเกียไม่ได้ให้เหตุผลสำหรับการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ บอกในเชิงเปรียบเปรยแค่ว่า Nokia World จะคล้ายกับงาน SXSW มากขึ้น จากเดิมที่เป็นงานใหญ่เหมือนกับ CES