ไมโครซอฟท์ประกาศจัดงานสัมมนาสำหรับนักพัฒนา BUILD 2012 ในวันที่ 30 ต.ค. ถึง 2 พ.ย. นี้
ถ้าเป็นงานสัมมนาธรรมดาคงไม่กลายเป็นข่าวแน่ๆ ครับ เพราะงานนี้มีความหมายพิเศษหลายประการมากสำหรับไมโครซอฟท์ เช่น
ประเด็นเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์แอพบนแอนดรอยด์กลับมาเป็นที่ถกเถียงอีกครั้ง หลังจากนักพัฒนาแอพบน iOS ชื่อว่า Matt Gemmell ออกมาเขียนลงในบล็อกส่วนตัวหลังจากอ่านข่าวเกมแนวยิงซอมบี้ Dead Trigger ที่ปรับจากราคาจากเดิม 99 เซนต์ เป็นแจกฟรี และเน้นขายของในเกมแทน
Gemmell บอกว่าแอพที่วางขายบนแอนดรอยด์นั้นสุ่มเสี่ยงต่อการถูกละเมิดลิขสิทธิ์ เพราะว่าตัวแอนดรอยด์เองถูกออกแบบมาให้เอื้อต่อการละเมิดลิขสิทธิ์ตั้งแต่แรก เช่นการปล่อยให้สามารถลงแอพจากภายนอกได้ (sideloading) ทำให้สามารถลงแอพเถื่อนได้ โดยที่ไม่ต้องรูทเครื่องเลย (แต่ในอนาคต Play Store จะเข้ารหัสแอพเสียเงิน ตามที่ประกาศไว้ในงาน Google I/O - Blltz)
เคราะห์ซ้ำกรรมซัดของ RIM ในช่วงเวลาอันยากลำบากของบริษัท เพราะผลสำรวจความคิดเห็นของนักพัฒนาแอพมือถือจำนวน 200 คนที่รวบรวมโดยบริษัท Baird Equity Research ระบุว่านักพัฒนากลุ่มนี้สนใจแพลตฟอร์ม BlackBerry และ BlackBerry 10 น้อยลง
วิธีการสำรวจความเห็นของ Baird คือให้นักพัฒนาลงคะแนนว่าแพลตฟอร์มแต่ละรายมี "อนาคต" มากน้อยแค่ไหน โดยคิดคะแนนเต็ม 10 คะแนน ผลคือ BlackBerry ได้คะแนนเฉลี่ยน้อยเพียง 2.8 คะแนน และ BB10 ได้ 3.8 คะแนน ซึ่งลดลงกว่าผลสำรวจเมื่อปีที่แล้วอย่างชัดเจน (ดูกราฟประกอบ)
Gartner ได้เผยบทวิเคราะห์เกี่ยวกับการพัฒนาโปรแกรมบนแพลตฟอร์มของไมโครซอฟท์ว่า Windows 8 จะเป็นจุดเริ่มต้นของยุคการโปรแกรมบนแพลตฟอร์ม WinRT (Windows Runtime) และเป็นจุดเริ่มต้นของการสิ้นสุดของยุคการโปรแกรมบนแพลตฟอร์ม WinNT (Windows NT) โดย WinRT ได้รับการออกแบบมาให้ไมโครซอฟท์มุ่งไปสู่อนาคตที่ได้รับอิทธิพลจากอุปกรณ์แบบพกพาได้ แต่บริษัทก็จะสนับสนุน WinNT ต่อไป เพื่อให้แอพแบบเดสก์ท็อปเดิมที่ได้รับการพัฒนาบนชุด Win32 API สามารถรันต่อไปได้ (เพื่อความสะดวก ต่อไปขอเรียกมันว่าแอพแบบ Win32 ครับ)
ในงาน Uplinq 2012 developers conference บริษัท Qualcomm ได้เปิดตัว Snapdragon SDK สำหรับแอนดรอยด์ ที่ตอนนี้ยังเป็นแค่รุ่นทดสอบ (preview release) เท่านั้น ส่วนรุ่นเต็มจะตามมาในเร็วๆ นี้
ด้วย Snapdragon SDK นี้จะทำให้ผู้พัฒนาแอพฯ บนแอนดรอยด์สามารถเข้าถึงสถาปัตยกรรมต่างๆ ของชิปได้ ซึ่ง Qualcomm เรียกว่าเป็น "next-generation technology and features"
รายการคร่าวๆ ของความสามารถที่น่าสนใจมีดังนี้ครับ
หลังจาก Chrome Web Store เพิ่มระบบแจ้งบั๊กไปยังนักพัฒนาแอพ เพียงหนึ่งวัน ทางฝั่ง Android ก็ประกาศฟีเจอร์คล้ายๆ กัน (แต่ไม่เหมือนกันเสียทีเดียว) นั่นคือเปิดให้นักพัฒนาแอพสามารถตอบคอมเมนต์ของผู้ใช้ใน Play Store ได้โดยตรง
นักพัฒนาสามารถชี้แจงหรือขอข้อมูลเพิ่มเติมจากผู้ใช้ที่เขียนรีวิวเข้ามาได้ ซึ่งผู้ใช้คนนั้นจะได้รับอีเมลแจ้งเตือนว่านักพัฒนาเข้ามาตอบแล้ว เพื่อให้ติดต่อกันเองโดยตรงซึ่งอาจส่งผลให้แก้บั๊กได้เร็วขึ้น
เบื้องต้นกูเกิลจะเปิดให้นักพัฒนากลุ่ม Top Developer (ที่มีตราสีฟ้าๆ ต่อท้าย) ใช้งานก่อน และถ้าผลออกมาดีก็จะเปิดให้นักพัฒนาทั้งหมดบน Play Store ใช้งานต่อไป
ระบบจัดจำหน่ายแอพทั้งหลายคงพบกับปัญหาว่า ผู้ใช้งานแอพใช้พื้นที่ของการรีวิวมาแจ้งปัญหาและบั๊ก ทำให้ข้อมูลสับสนปนเประหว่างรีวิวกับแจ้งบั๊ก เรตติ้งลด และบางครั้งการแจ้งบั๊กก็ไปยังไม่ถึงตัวนักพัฒนา
กูเกิลพยายามแก้ปัญหานี้สำหรับ Chrome Web Store โดยแยกส่วนของการรายงานบั๊กออกมาเป็นพิเศษ เพื่อให้ผู้ใช้งาน extension ต่างๆ สามารถแจ้งบั๊กไปยังนักพัฒนาได้ง่ายขึ้น ข้อมูลพวกนี้จะเป็นข้อมูลสาธารณะที่ทุกคนดูได้ด้วย เพื่อลดการแจ้งปัญหาซ้ำซ้อนนั่นเอง
นักพัฒนาสามารถเปิดใช้ฟีเจอร์นี้ได้จาก Developer Dashboard และควรแจ้ง URL สำหรับรายงานบั๊กให้ผู้ใช้รู้ด้วย (รูปแบบ URL จะเป็น https://chrome.google.com/webstore/support/yourappid)
อัพเดตเล็กๆ แต่อาจสำคัญสำหรับชาว Android ตอนนี้ Google ได้เปิดให้นักพัฒนาสามารถโต้ตอบกับผู้ใช้ที่มารีวิวในหน้าแอพของตัวเองได้แล้วไม่ว่าจะเป็นรีวิวในด้านบวกหรือลบ โดยในตอนนี้ยังเปิดให้นักพัฒนาที่ได้รับ Top Developer Badge เท่านั้นและจะเปิดให้ใช้อย่างทั่วถึงในอนาคต
ที่มา - AndroidSPIN
คนที่ติดตามวงการ Windows Phone ในบ้านเราคงคุ้นกับชื่อ EGCO Dev Team ที่มีผลงานแอพให้โหลด-ขายใน Windows Phone Marketplace อยู่หลายตัว แถมบางตัวยังเป็นแอพที่ทำร่วมกับองค์กรใหญ่ๆ อย่าง ททท. หรือว่า ช่อง 3 อีกด้วย
ผมตามดูข้อมูลในเว็บแล้วพบว่าเป็นกลุ่มนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยมหิดลที่มารวมตัวกัน ตั้งทีมพัฒนาแอพขึ้นด้วยตัวเองเกือบทั้งหมด (ประวัติของทีมงาน) จึงติดต่อขอสัมภาษณ์ เผื่อว่าจะเป็นประโยชน์และแรงบันดาลใจให้กับนักศึกษากลุ่มอื่นๆ นะครับ
เป็นที่ทราบกันอยู่แล้วว่าแอพแบบ Metro เท่านั้นที่จะสามารถวางขายบน Windows Store ได้ (ดูรายละเอียดการส่งแอพแบบ Metro ขึ้นสโตร์ได้จากข่าวเก่า) ส่วนแอพแบบเดสก์ท็อปนั้น Windows Store จะทำหน้าที่แสดงข้อมูลเท่านั้น ลูกค้าที่สนใจจะต้องกดลิงก์ Go to developer's website เพื่อไปยังหน้าเว็บแล้วซื้อ-ดาวน์โหลดเอง (ข่าวอ้างอิง) ซึ่งล่าสุดไมโครซอฟท์ก็ได้เผยรายละเอียดการนำข้อมูลแอพแบบเดสก์ท็อปขึ้นไปแสดงบน Windows Store แล้ว โดยนักพัฒนาจะต้องดำเนินการ ดังนี้
ความยากลำบากในการพัฒนาแอพลงบนแอนดรอยด์เป็นเรื่องที่ทุกคนทราบกันดี เนื่องด้วยปัญหา fragmentation จากทั้งฮาร์ดแวร์ และซอฟต์แวร์ และมีข่าวจากนักพัฒนา บริษัทวิจัย ฯลฯ ออกมายืนยันเรื่องนี้อยู่เป็นระยะๆ
คราวนี้ลองมาฟังความเห็นจาก Max Weiner หัวหน้าฝ่ายทำแอพแอนดรอยด์ของ Pocket (ก่อนหน้านี้ชื่อ Read It Later) ที่เขียนบล็อกเบื้องหลังการทำแอพบนแอนดรอยด์ว่าไม่ได้ลำบากมากนัก และจริงๆ มันค่อนข้างจะน่าสนุกด้วยซ้ำ
นี่อาจเป็นสัญลักษณ์ว่ายุคสมัยอันเรืองรองของโนเกียผ่านพ้นไปแล้ว เพราะงานสัมมนาใหญ่ประจำปี Nokia World ถูกลดขนาดลงเป็นที่เรียบร้อย และเปลี่ยนเป็นงานเล็กๆ แต่จัดหลายครั้งแทน
งานแรกในซีรีส์ Nokia World 2012 จะจัดที่เมืองเฮลซิงกิระหว่างวันที่ 5-6 กันยายน โดยเป็นงานปิดเฉพาะผู้ได้รับเชิญเท่านั้น และจะประกาศข่าวของงานครั้งต่อๆ ไปในภายหลัง
โนเกียไม่ได้ให้เหตุผลสำหรับการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ บอกในเชิงเปรียบเปรยแค่ว่า Nokia World จะคล้ายกับงาน SXSW มากขึ้น จากเดิมที่เป็นงานใหญ่เหมือนกับ CES
ไมโครซอฟท์ได้เปิดเผย Visual Studio 11 รุ่น Release Candidate (RC) โดยได้ปรับเปลี่ยนส่วนติดต่อผู้ใช้ (UI) ตาม feedback กับรุ่น Beta อาทิ
Nokia ประกาศตามหานักพัฒนามือทองในการแข่งขันทำแอพฯ สำหรับ Windows Phone รายการ Ready.Set(){Code} เพื่อชิง Nokia Lumia 900 และเงินรางวัลสูงสุด 500 ดอลลาร์สหรัฐ หรือ 15,000 บาท โดยรายการนี้จะจัด 13 เมืองทั่วสหรัฐอเมริกาและแคนาดา ซึ่งโครงการนี้จัดทำเพื่อส่งเสริมนักพัฒนาสาย Windows Phone ให้แสดงฝีมือออกมา (คาดว่างานนี้คนไทยหมดสิทธิ์)
ใครสะดวกไปแข่งก็ตามสบายนะครับ โดยวันเวลาการจัดกิจกรรมดูได้ที่นี่ครับ
ที่มา : The Nokia Blog
หลังจากเพิ่งปล่อย Tizen 1.0 รหัส Larkspur ออกมา ตอนนี้มีภาพของมือถือรัน Tizen ที่คาดว่านักพัฒนาจะได้รับภายในงาน Tizen Developer Conference ซึ่งจัดในวันที่ 7-9 พฤษภาคมนี้ ออกมาแล้ว
ภาพของเครื่องสำหรับนักพัฒนามีหน้าจอสัมผัสขนาด 4.3 ความละเอียดหน้าจอ 1280x720 พิกเซล และใช้ซีพียูความถี่ 1.2GHz ดูอัลคอร์ และมีปุ่ม home อยู่ด้วย
ในส่วนของอินเทอร์เฟซนั้นตามคาดว่าเป็น TouchWiz UI ที่ซัมซุงใช้กับมือถือของตัวเองทุกรุ่น มีแอพพื้นฐานมาให้ครบ ทำงานได้ลื่นไหลพอตัว
สามารถดูภาพตัวเครื่อง และวิดีโอได้ท้ายข่าวครับ
ไมโครซอฟท์ออกบัตรเชิญงานสัมมนาสำหรับนักพัฒนาแอพบน Windows Phone วันที่ 20-21 มิถุนายนนี้ที่ซานฟรานซิสโก โดยยังไม่บอกรายละเอียดของงานมากนัก
โฆษกของไมโครซอฟท์บอกว่าจะเปิดเผยรายละเอียดเพิ่มเติมในอีกไม่ช้า และจะเปิดหน้าเว็บให้เริ่มลงทะเบียนด้วย
ใครที่รอข่าวคราวของ Windows Phone 8 "Apollo" ก็คงต้องลุ้นกัน งานนี้น่าจะมีโอกาสเปิดตัว Apollo เยอะที่สุดในช่วงนี้แล้วครับ
ที่มา - ZDNet
เมื่อวันอังคาร (24 เมษายน) ซอฟต์แวร์พาร์คได้จัดงานแถลงผลสำเร็จของโครงการ MT2 (Mobile Technology for Thailand) โครงการเพื่อผลักดันนักพัฒนาบนมือถือของไทยที่ได้ร่วมมือกับพันธมิตรทั้ง 9 ราย (อ่านรายละเอียดได้จากข่าวเก่า)
ภายในงานได้มีการแถลงแผนการณ์ในอนาคตของโครงการ MT2 ในปีต่อๆ ไป อย่างแรกคือจะมีพันธมิตรเพิ่มขึ้น ล่าสุดเพิ่มเป็น 20 รายแล้ว ซึ่งแต่ละรายจะมีโครงการสำหรับสนับสนุนนักพัฒนาสายมือถือตามความถนัดของตัวเอง ประกอบด้วย
บริษัท Startapp ซึ่งทำธุรกิจด้านการเก็บสถิติและโฆษณาบนมือถือ เผยผลสำรวจข้อมูลจากนักพัฒนา Android จำนวนหนึ่ง (Startapp ไม่ได้ระบุจำนวนกลุ่มสำรวจ) มีประเด็นน่าสนใจดังนี้
วันนี้ Twitter ได้ออกมาประกาศว่าพวกเขารับประกันว่าจะไม่รังแกใครเกี่ยวกับคุณสมบัติ "Pull-to-refresh" ที่พบครั้งแรกในแอพของ Twitter เองซึ่งตอนนี้พวกเขาถือสิทธิบัตรของเทคนิคดังกล่าวแล้ว แม้ว่าหลาย ๆ แอพทั้งบน iOS และ Android ได้นำ Pull-to-refresh ไปใช้กันอย่างเต็มที่เรียบร้อย
แคมเปญกระตุ้นตลาด Windows Phone ในประเทศไทยของไมโครซอฟท์และโนเกียครับ
อย่างแรกคือ ไมโครซอฟท์เปิดรับไอเดียสำหรับแอพที่อยากเห็นบน Windows Phone Marketplace ผ่านทาง Facebook ซึ่งผู้ร่วมสนุกมีสิทธิรับรางวัลเป็น Nokia Lumia และของรางวัลอื่นๆ อีกเล็กน้อย
แต่อันที่สำคัญคืออย่างที่สอง นักศึกษาคนไทยที่นำไอเดียจากข้อแรกไปทำแอพ Windows Phone แล้วส่งขึ้น Marketplace ก่อนวันที่ 15 พฤษภาคมนี้ จะได้รับประกาศนียบัตร Windows Phone Student Developer Certificate จากไมโครซอฟท์ และ "ลุ้นรับ" Nokia Lumia 800/710 เป็นของรางวัลด้วย (ไม่ได้ของกันทุกคน)
กฎของที่ไมโครซอฟท์แจ้งมาทางผม ยังไม่ค่อยละเอียดเท่าไร เท่าที่มีข้อมูล
Todd Brix ผู้อำนวยการอาวุโสของ Windows Phone Marketplace ออกมายอมรับว่านักพัฒนาจำนวนหนึ่งบ่นว่า App Hub ทำงานช้าลง และกระบวนการรับรองแอพฯ (app certification) ก็ช้าลงด้วย อันเนื่องมาจากการเติบโตของ Marketplace สูงขึ้นมากกว่าร้อยละ 60 ในตลอดสามเดือนที่ผ่านมา
ฟีเจอร์ใหม่ที่สำคัญของ Visual Studio 11 คือการปรับหน้าตาของโปรแกรมใหม่หมด เน้นความเรียบง่าย และเปลี่ยนไอคอนมาเป็นสีเทาเข้มเพียงสีเดียว (ข่าวเก่า) เหตุผลของไมโครซอฟท์ต่อการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้คือต้องการให้ส่วนติดต่อผู้ใช้ไม่แย่งความสนใจเกินหน้าเนื้อหา
หลังจากที่กูเกิลเปิดหน้าสำหรับลงทะเบียนเข้างาน Google I/O ไปเมื่อสามทุ่มของวันที่ 27 มีนาคม (หรือราวเจ็ดโมงเช้าตามเวลา Pacific Time) (ข่าวเก่า) ก็มีข่าวให้ชาวไอทีตะลึงนั่นคือตั๋วเข้างาน Google I/O นั้นถูกขายหมดเกลี้ยงภายในเวลาเพียง 28 นาทีเท่านั้น
ปีนี้กูเกิลได้เพิ่มค่าลงทะเบียนเข้างานจาก 450 ดอลล่าร์ เป็น 900 ดอลล่าร์ เพื่อให้แน่ใจว่าผู้ที่ลงทะเบียนจะเป็นคนที่อยากไปงานจริงๆ (หรือมูลค่าของแจกเพิ่มขึ้นกันแน่) คีย์โน้ตทั้งหมดจะถูกอัพโหลดไปยัง YouTube โดยทีมงานของกูเกิลเอง
หนึ่งในงานที่หลายคนกำลังตั้งตารอในปีนี้อย่าง Google I/O ใกล้เริ่มต้นไปทุกขณะแล้ว หลังจากกูเกิลเพิ่งประกาศวันลงทะเบียนงาน Google I/O ในวันนี้เวลา 21:00 น. ตามเวลาบ้านเรา โดยต้องลงทะเบียนผ่านบัญชี Google+ และจ่ายเงินผ่าน Google Wallet สำหรับราคาตั๋วในปีนี้อยู่ที่ 900 ดอลลาร์สหรัฐฯ สำหรับบุคคลทั่วไป และ 300 ดอลลาร์สหรัฐฯ สำหรับนักศึกษา
วันจัดงาน Google I/O ประจำปีนี้จะจัดขึ้นในวันที่ 27-29 มิถุนายน ที่ Moscone Center เมืองซานฟรานซิสโก ภายในงานจะมีการแสดงเทคโนโลยีล่าสุดของเว็บไซต์ มือถือ และผลิตภัณฑ์ของกูเกิลอย่างแอนดรอยด์ โครม เป็นต้น
พันธมิตรโนเกีย-ไมโครซอฟท์ยังเดินหน้าผลักดัน Windows Phone อย่างต่อเนื่อง โดยล่าสุดทุ่มเงินอีก 24 ล้านดอลลาร์ให้กับมหาวิทยาลัย Aalto ในฟินแลนด์ เพื่อให้มหาวิทยาลัยดำเนินโครงการชื่อ AppCampus ผลักดันนักพัฒนาแอพบน Windows Phone เป็นระยะเวลา 3 ปี
งานนี้ทั้งสองบริษัทจ่ายเงินกันคนละครึ่ง โดยจะประกาศรับสมัครนักศึกษาและผู้ประกอบการซอฟต์แวร์ทั่วโลกที่ต้องการสร้างแอพบน Windows Phone บริษัทที่ได้รับการคัดเลือกจะได้เงินทุนสนับสนุนจำนวนหนึ่ง (โดยไม่ต้องให้หุ้นเหมือนกับการขอเงินจากนักลงทุนทั่วไป) และได้ทีมที่ปรึกษาด้านเทคนิค-การตลาดช่วยแนะนำการพัฒนาแอพด้วย