เป็นที่รู้กันว่านักพัฒนา Android ทำเงินจากการขายโปรแกรมได้ไม่เท่ากับ iOS (ด้วยปัจจัยหลายๆ อย่าง เช่น ระบบการจ่ายเงินหรือการละเมิดลิขสิทธิ์) จนทำให้นักพัฒนาบางกลุ่มเลี่ยง Android ด้วยเหตุนี้
แต่มีนักพัฒนาคนหนึ่งเปิดเผยว่า เขาได้เขียนโปรแกรมแจกฟรีบน Android ทั้งหมด 6 ตัว และหารายได้จากการโฆษณาทั้งหมด (นับตามคลิก) โปรแกรมของเขาไม่ใช่โปรแกรมยอดนิยมบน Android Market แต่เขาพบว่ารายได้ของเขาเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จาก 4.92 ดอลลาร์ในเดือนพฤษภาคมปีนี้ มาเป็น 1,059.31 ดอลลาร์ในเดือนตุลาคม (สูงสุดอยู่ที่ 1,545.45 ดอลลาร์ในเดือนกันยายน)
เขาบอกว่ารายได้ยังไม่เยอะขนาดเลี้ยงตัวเองได้จากการเขียนแอพอย่างเดียว แต่ก็เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ในอัตราที่น่าสนใจ ตัวเลขอย่างละเอียดดูกันตามลิงก์นะครับ
บริษัทโฆษณาบนมือถือ Millennial Media ได้สำรวจความคิดเห็นของนักพัฒนาโปรแกรมบนมือถือ ว่าสนใจแพลตฟอร์มใดบ้างทั้งในปีนี้และปีหน้า
แพลตฟอร์มสำหรับปี 2010: iPhone (30%), Android (23%), iPad (21%), RIM (12%) และ Windows Mobile (6%)
แพลตฟอร์มสำหรับปี 2011: Android (29%), Windows Phone 7 (20%), iPad (20%), RIM (12%) และ iPhone (8%)
ที่มา - ReadWriteWeb
แอปเปิลแจก iOS 4.2 ตัวจริง (Gold Master) ให้นักพัฒนาทดสอบแล้ว ถ้าไม่มีอะไรผิดพลาดก็จะนำรุ่นนี้ส่งเป็นอัพเดตแก่ผู้ใช้ทั่วไป ซึ่งตามปกติเป็นหนึ่งสัปดาห์หลังจากนี้
ของใหม่ในรุ่น Gold Master ได้แก่
ที่มา - App Advice
หนังสือพิมพ์ The New York Times มีสกู๊ปเกี่ยวกับนักพัฒนาโปรแกรมบนมือถือ โดยรวมคือนักพัฒนาสนใจ Android กันมากขึ้นมาก ปัจจุบันมีโปรแกรมเกือบ 1 แสนตัว นักพัฒนา 270,000 คน แต่ก็ยังมีปัญหาที่สำคัญ 2 ประการ
หนังสือพิมพ์ Wall Street Journal มีสกู๊ปเรื่องความยากลำบากของ RIM ในการดึงดูดนักพัฒนาให้มาสร้างแอพฯ ขายบน BlackBerry ส่วนหนึ่งก็เพราะระบบของ RIM เอง
นักพัฒนาหลายเจ้าบอกว่า RIM ให้การสนับสนุนการสร้างแอพฯ ก็จริง แต่การหาเงินจากโปรแกรมทำได้ยากมาก ตัวอย่างของบริษัท Widality บอกว่าถ้าลูกค้าจะซื้อโปรแกรม ต้องลบโปรแกรมเวอร์ชันฟรีก่อน แล้วเข้าเว็บเพื่อซื้อโปรแกรมตัวเต็ม โหลดข้อมูลเข้าไปใหม่ ส่วนการจ่ายเงินก็ต้องใช้ PayPal เท่านั้น
อย่างไรก็ตาม Widality บอกว่าระบบการจ่ายเงินแบบใหม่ของ BlackBerry AppWorld จะช่วยให้บริษัททำเงินจากการขายโปรแกรมได้มากขึ้น
โนเกียเร่งจูงใจนักพัฒนาซอฟต์แวร์ให้สร้างโปรแกรมมาขายใน Ovi Store โดยหั่นค่าลงทะเบียนนักพัฒนาจากเดิม 50 ยูโร ลงมาเหลือแค่ 1 ยูโร จ่ายเพียงครั้งเดียวได้ตลอดชีพ ไม่ต้องจ่ายซ้ำทุกปี การหั่นราคาครั้งนี้ทำให้ Ovi Store ถือว่ามีค่าลงทะเบียนถูกที่สุดในหมู่ร้านขายโปรแกรมบนมือถือ (ดูตารางประกอบ)
โนเกียยังเผยสถิติการดาวน์โหลดโปรแกรมบน Ovi Store เพื่อชักจูงนักพัฒนามากขึ้น เช่น ยอดดาวน์โหลด 2.5 ล้านครั้งต่อวัน, ประเทศที่ใช้งาน Ovi Store ได้ทั้งหมด 190 ประเทศ, ประเทศที่ซื้อโปรแกรมได้ 170 ประเทศ (รวมประเทศไทย)
ที่มา - The Handheld Blog
ค่าย Qualcomm คงอยากให้มือถือที่ใช้ซีพียู Snapdragon ของตัวเองมีแอพพลิเคชันใช้เยอะๆ โดยเฉพาะวงการ augmented reality (AR) ที่เพิ่งอยู่ในช่วงเริ่มพัฒนา
Qualcomm เริ่มจากแจก AR SDK for Android เพื่อให้พัฒนาโปรแกรม AR ได้ง่ายขึ้น ตัว AR SDK ทำงานได้บนสามระบบปฏิบัติการหลัก (ต้องมี Android SDK และ Android NDK อยู่ก่อน)
ลำดับถัดมา Qualcomm ยังจัด 2010 Augmented Reality Developer Challenge เพื่อประกวดโปรแกรมที่สร้างจาก AR SDK ผู้ชนะอันดับหนึ่งรับเงินรางวัล 125,000 ดอลลาร์ (ประมาณ 3.8 ล้านบาท)
STEM (ย่อมาจาก science, technology, engineering and math) เป็นโครงการส่งเสริมด้านการศึกษาของสหรัฐ ซึ่งมีพาร์ทเนอร์ร่วมมือหลายราย มองว่าเกม (ทั้งเกมคอมพิวเตอร์และเกมที่ไม่ใช่คอมพิวเตอร์) เป็นเครื่องมือสำคัญต่อการเรียนรู้ของเยาวชนอเมริกัน จึงได้จัดการประกวดออกแบบเกม National STEM Video Game Challenge ขึ้น
การประกวดแบ่งเป็น 2 ระดับคือ ระดับเยาวชน (เกรด 5-8) ซึ่งรับทั้งเกมกระดาษและเกมคอมพิวเตอร์ที่สร้างด้วยเครื่องมือออกแบบเกมฟรีบนอินเทอร์เน็ต และระดับนักพัฒนาซึ่งมีโจทย์ให้ออกแบบเกมบนมือถือสำหรับเด็กเล็ก
เมื่อแผนการขาย Nexus One ผ่านหน้าเว็บของกูเกิลล้มเหลว บริษัทก็หันมาขาย Nexus One กลับมาในฐานะ Developer Phone แต่สถานการณ์รอบนี้กลับต่างออกไป เพราะผ่านไปเพียงไม่กี่สัปดาห์ Nexus One ล็อตแรกก็ขายหมดเกลี้ยง
ตอนนี้กูเกิลกำลังสั่งให้ HTC ผลิตเครื่องล็อตใหม่ให้อยู่ ซึ่งกูเกิลบอกเพียงแค่ว่า HTC บริหารชิ้นส่วนได้ดี แม้ว่าจอ AMOLED จะขาดตลาดก็ตาม (ไม่ได้พูดว่าล็อตใหม่ใช้จอ Super LCD หรือไม่)
ที่มา - Android Developer Blog, CNET
คำถามที่ผมได้รับเรื่อยๆ หลังจากเขียนบทความเกี่ยวกับ AppUp Center เรื่อยมาคือสามารถพัฒนาในภาษาใดได้บ้าง ในประเด็นนี้แม้ตัว AppUp จะไม่ได้กำหนดเอาไว้ว่าจะต้องพัฒนาด้วยภาษาใด แต่ตัว SDK นั้นก็รองรับเพียงภาษา C/C++ เท่านั้น ส่วนถ้าใครจะพัฒนาด้วยภาษาอื่นก็ต้องไปเขียน binding ของแต่ละภาษากันเอาเอง แต่วันนี้ทาง BaKno Games ผู้ผลิตเกมบน AppUp รายหนึ่งก็ได้ประกาศเปิดแพลตฟอร์ม AppAble ให้ใช้งานได้ฟรี
AppAble 2.0 เป็นการพอร์ต AppUp SDK ไปยังภาษาอื่นๆ ได้แก่ UnityPro, Run Revolutions, C# (.NET), Python, Ruby, Java, และ Flash
ทุกวันนี้เราเห็นโปรแกรมและแพลตฟอร์มต่างๆ แข่งกันสร้าง ecosystem ของตัวเองจนเป็นเรื่องปกติ (รายแรกๆ คือ Firefox นะครับ อย่าเข้าใจผิดว่าเป็น iPhone) ล่าสุดเป็นคิวของ µTorrent โปรแกรม BitTorrent ชื่อดัง
µTorrent ได้เปิด API สำหรับโปรแกรมเสริมจากภายนอก โดยโครงการนี้มีชื่อว่า Project Griffin อนุญาตให้สร้าง app ที่เขียนด้วย HTML/JavaScript สำหรับเพิ่มความสามารถให้กับ µTorrent
วันนี้ข่าวไมโครซอฟท์จะเยอะหน่อยเพราะไมโครซอฟท์จัดงาน และมีการออกซอฟต์แวร์หลายตัว
อันนี้เป็นคิวของ Windows Phone 7 ที่ใกล้ถึงเวลาออกรุ่นจริงเต็มที โดยหลังจากเปิดรุ่น CTP ออกมาก่อนหน้านี้ วันนี้ไมโครซอฟท์ก็ออกรุ่นเบต้าของ Windows Phone Developer Tools แล้ว (มันคือ SDK ที่เรียกชื่อให้พิสดารขึ้นไปอีกนั่นเอง)
การเปลี่ยนแปลงสำคัญในรุ่นเบต้า
สงครามมือถือที่ร้อนแรง โดยเฉพาะคู่ iPhone vs Android ซึ่งเห็นได้บ่อยๆ ว่าทั้งสองค่ายต่างขุดตัวเลขมาบลัฟกัน ไม่ว่าจะเป็นจำนวนโปรแกรมหรือจำนวนนักพัฒนา
แต่การสำรวจล่าสุดของเว็บไซต์ AppStoreHQ ซึ่งมีฐานข้อมูลของโปรแกรมบนมือถือจำนวนมาก ได้ตัวเลขออกมาดังนี้
แม้ว่าตัวเลข 1,412 จะดูน้อยเมื่อเทียบกับยอดรวม แต่ทาง AppStoreHQ ได้วิเคราะห์เชิงคุณภาพด้วย และพบว่านักพัฒนากลุ่มนี้คือรายใหญ่อย่าง Gameloft, Facebook, AOL, Amazon, Warner Brothers, Yelp, Intuit, PayPal และ The New York Times
Eclipse IDE ชื่อดังออกเวอร์ชันใหม่แล้ว ภายใต้ชื่อ Helios (เป็นชื่อเรียกพระอาทิตย์ในภาษากรีกโบราณ) โดยในเวอร์ชันนี้รวมโปรเจ็คย่อยกว่า 39 โปรเจ็คและกว่า 12 แพ็คเกจย่อย โดยส่วนที่ปรับปรุงมากที่สุดคือการเพิ่ม Eclipse Marketplace สำหรับการค้นหา plugin และ component ต่างๆ ได้ง่ายขึ้น รวมถึงเพิ่มการพัฒนา C++ บน Linux, JavaScript debugging framework และ Git plugin เป็นต้น
โดยปกติ Eclipse จะออกเวอร์ชันใหม่ทุกๆ ปีในช่วงเดือนมิถุนายน
ที่มา - Eclipse Helios
แอปเปิลเปิดให้นักพัฒนาโปรแกรมเข้าไปโหลดวิดีโอและสไลด์ต่างๆ ในงาน WWDC ที่เพิ่งผ่านไปได้ฟรี ซึ่งนอกจาก Keynote ของสตีฟ จ๊อบส์แล้วก็ยังมีหัวข้อที่น่าสนใจสำหรับนักพัฒนาในสายของแอปเปิล ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาโปรแกรมบน OSX, ไอโฟน หรือแม้แต่ iPad โดยวิดีโอมีทั้งแบบธรรมดาและ HD ซึ่งทั้งหมดจะอยู่ใน iTunes U (ต้องใช้ account Apple Developer)
"การลงทุนกับแพลตฟอร์มมือถือของโนเกียเป็นเรื่องยากสำหรับนักพัฒนารายย่อย เพราะไม่มีใครรู้ว่าอนาคตของมันจะเป็นอย่างไร?"
ประโยคข้างต้นอาจฟังดูธรรมดา ถ้าคนพูดเป็นนักวิเคราะห์ทั่วไป (ซึ่งส่วนมากมักจะพูดแบบนี้) แต่ถ้าคนพูดคือ Jan Ole Suh ผู้พัฒนา Gravity โปรแกรมทวิตเตอร์ยอดนิยมบน Symbian ล่ะ?
Jan Ole Suhr ให้ความเห็นไว้ว่า สิ่งใหม่ๆ ที่น่าตื่นเต้นไม่มีบนมือถือโนเกีย สิ่งที่มีอยู่ก็เก่าและเป็นอุปสรรคต่อการสร้างโปรแกรมให้ดูดี นักวิเคราะห์ (ตัวจริง) จาก Gartner บอกว่าเราอาจต้องรอกันถึง Symbian^4 ถ้าต้องการเห็นมือถือที่แข่งขันได้จากโนเกีย และกว่าสภาพแวดล้อมจะลงตัวคงต้องรอถึงปี 2011
ทางสถาบันวิจัยและพัฒนาอุตสาหกรรมโทรคมนาคม (บางคนอาจรู้จักในชื่อ TRIDI เป็นองค์กรลูกของ กทช.) ฝากมาช่วยประชาสัมพันธ์แบบสอบถามด้าน mobile application ในไทย แถวนี้น่าจะมีอยู่เยอะ ถ้าใครอยากให้ภาครัฐรับรู้ปัญหา หรือมีไอเดียนำเสนอ นี่คือโอกาสทองครับ
แบบสอบถามปัญหาของนักพัฒนา mobile application ไทย
แบบสอบถามนี้จัดทำโดย สถาบันวิจัยและพัฒนาอุตสาหกรรมโทรคมนาคม (TRIDI) มีวัตถุประสงค์เพื่อรวบรวมปัญหาต่างๆ ที่นักพัฒนา application ไทยประสบอยู่ เพื่อจะได้กำหนดมาตรการส่งเสริมการพัฒนา mobile application โดยคนไทยให้เติบโตมากยิ่งขึ้น
ผมได้ไปงานนี้มาจากโควต้าของคุณ mk นะครับ กลับมารายงานครับ
เริ่มงานตอน 10.00 แต่ผมไปช้านิดหน่อย ทางทีมงานก็แนะนำตัว bada คร่าวๆ ว่าคืออะไร เป็นมายังไง โดยรวมแล้ว bada คือ Platform ไม่ใช่ OS มีตัว bada server เพื่อใช้ในการติดต่อแลกเปลี่ยนข้อมูล bada เป็นภาษาเกาหลี แปลว่า ท้องทะเล อนุมานว่า มีมากมายหลากสิ่งที่สวยงามที่สามารถค้นพบได้ในท้องทะเล
เราเป็นประเทศที่ 4 ที่เปิดตัว bada ทางทีมงานเปรียบเทียบว่า Samsung มีมือถืออยู่ 200 ล้านเครื่องทั่วโลก เพียงแค่เราขายได้แอพพลิเคชั่นละ 1 บาทต่อเครื่องทั่วโลก รวยไหม?
งานวันพรุ่งนี้ (30 มี.ค.) เผอิญว่าทางซัมซุงเชิญมาแล้วผมติดงานไปไม่ได้ เลยมาถามคนแถวนี้ว่ามีใครอยากไป+สะดวกไปหรือเปล่าครับ สามารถใช้โควต้าของ Blognone ได้ ถ้าอยากไปกรุณาแจ้งด่วน ผมจะได้ส่งชื่อให้ทาง PR ของซัมซุงโดยด่วน รับสองที่นั่งนะครับ
ซัมซุงขอเรียนเชิญท่านร่วมกิจกรรม Samsung bada Developer Day
ครั้งแรก!!! ของการแนะนำพร้อมทดสอบการใช้งานแพลตฟอร์มสมาร์ทโฟนใหม่ล่าสุดที่ซัมซุงเป็นผู้คิดค้นพัฒนาขึ้น เพื่อเพิ่มอิสระการใช้งานแอพพลิเคชันบนสมาร์ทโฟนให้ง่าย และสะดวกสบายไร้ขีดจำกัดทั้งการ ใช้งานคอนเทนต์ และแอพพลิเคชันต่างๆ ที่เหมาะกับทุกไลฟ์สไตล์
ในงาน MIX10 นี้ไมโครซอฟท์ได้เปิดตัว Visual Studio 2010 Express for Windows Phone ที่ได้ออกแบบสำหรับสร้างแอพพลิเคชันบน Windows Phone โดยเฉพาะ และยังมีอีมูเลเตอร์ของ Windows Phone 7 Series มาพร้อมกันด้วย สามารถดาวน์โหลดมาใช้ได้ฟรีที่ www.developer.windowsphone.com
หมายเหตุ ผมพบว่าลิงก์ดังกล่าวยังไม่สามารถเข้าได้นะครับ
แก้ไข เจอลิงก์ที่ใช้ได้แล้วครับ กรุณาใช้ลิงก์ developer.windowsphone.com แทนครับ แต่ผมก็ยังหา Visual Studio 2010 Express for Windows Phone ไม่เจออยู่ดี
หลังจากกูเกิลทำโครงการ Android Developer Challenge (ADC) รอบแรกประสบผลสำเร็จไปในปีที่แล้ว ก็ได้เริ่มโครงการ ADC 2 เมื่อช่วงกลางปีนี้ (ข่าวเก่า: Android Developer Challenge กลับมาอีกแล้ว) ตอนนี้ก็หมดเขตส่งโปรแกรมและประกาศผลเรียบร้อย
รางวัลแบ่งเป็นหลายหมวด ผมคัดมาเฉพาะ Overall Winner สามรางวัล
ช่วงนี้เรากำลังเริ่มเข้าสู่ยุค ศึกมือถือครองพิภพ ข่าวมือถือออกใหม่แทบทุกสัปดาห์ ข่าวโปรแกรมบนมือถือออกใหม่แทบทุกวัน ข่าวคนร่ำรวยจากการเขียนโปรแกรมบนมือถือขายก็มาก คงไม่มีข้อถกเถียงแล้วว่า มือถือคืออนาคตของโลกคอมพิวเตอร์ (หลังจากเดสก์ท็อปอยู่นิ่งไม่พัฒนามานาน)
Ask Blognone ตอนนี้ขอถามว่า ในเมื่อการพัฒนาโปรแกรมบนมือถือมาแรงขนาดนี้ ตามเทร็นด์กันทันหรือเปล่า? ตัวอย่างประเด็นที่น่าสนใจก็อย่างเช่น