หลายคนอาจคุ้นเคยกับ valet parking หรือการนำรถมายังจุดที่กำหนด เพื่อให้พนักงานขับไปหาที่จอดให้ วันนี้ eBay ทดสอบแนวคิดแบบเดียวกันกับการขายของออนไลน์ (จะเรียกว่า valet selling ก็พอได้ครับ)
แอพตัวใหม่ของ eBay เรียกว่า eBay Valet (ยังมีเฉพาะบน iOS) เป้าหมายของมันเพื่อช่วยให้ลูกค้าของ eBay ขายของได้ง่ายขึ้นมาก จากเดิมที่เราต้องถ่ายภาพ แต่งประโยค คิดคำอธิบาย ตั้งราคา หากล่องใส่ ฯลฯ ก็เปลี่ยนมาเป็นถ่ายภาพ ส่งภาพไปยัง valet แล้วเราจะได้คำอธิบายพร้อมระดับราคาที่เหมาะสมกลับมาให้ สิ่งที่เราต้องทำก็คือยืนยัน จากนั้นสินค้าของเราจะถูกโพสต์ขึ้น eBay ทันที
เราทราบกันดีว่าระยะหลัง Amazon ขยายตัวไปไกลเกินกว่าธุรกิจการขายหนังสือ (ตัวอย่างเช่น การขายไวน์ออนไลน์) และในสหรัฐอเมริกาเองก็มีบริการ Amazon Fresh ซึ่งเป็นซูเปอร์มาร์เก็ตแบบเสมือนที่สั่งของสดจากทางออนไลน์ ซึ่งจะมาส่งในวันรุ่งขึ้นให้บริการอยู่แล้ว โดยเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว Amazon ได้เปิดตัวอุปกรณ์ชิ้นล่าสุดสำหรับบริการ Amazon Fresh ที่เรียกว่า Dash
วงการอินเทอร์เน็ตจีนช่วงนี้มีคู่แข่งกันหลายราย ค่ายสำคัญคือ Tencent เจ้าของ WeChat และ QQ ที่ยังไม่ประสบความสำเร็จในธุรกิจอีคอมเมิร์ซนัก ขณะที่ค่าย Alibaba มีที่มั่นหลักคืออีคอมเมิร์ซ ตอนนี้ Tencent ก็เลือกลงทุนในบริษัทคู่แข่งของ Alibaba คือเว็บ JD เป็นหุ้น 15% และสัญญาว่าจะซื้อเพิ่มอีก 5% เมื่อ JD เข้าตลาดหุ้น
สิ่งที่ JD ได้รับคือเงินลงทุน และ JD จะใช้บริการของ Tencent มาให้บริการลูกค้า เช่นการแชตระหว่างผู้ซื้อกับผู้ขายผ่าน QQ พร้อมกับรับช่วงกิจการด้านการค้าของ Tencent ได้แก่ QQ Wanggou และ PaiPai
เมื่อปลายปีที่แล้ว LINE ได้เริ่มเปิดร้านขายสินค้าในชื่อ LINE Flash Sales เน้นสินค้าลดราคามีจำนวนจำกัดสัปดาห์ละ 1 รายการ ซึ่งเริ่มต้นในประเทศไทยเป็นที่แรก โดยบริษัท aCommerce ที่เป็นผู้ดูแลระบบการขายให้กับ LINE ได้เผยสถิติที่น่าสนใจ ทำให้เราเห็นรูปแบบของ m-commerce (การขายสินค้าออนไลน์ แต่เน้นผ่านแพลตฟอร์มมือถือ) ที่อาจจะเหมาะสมกับประเทศไทยครับ
มีรายงานว่า Twitter กำลังจะเข้ามาร่วมวงกับตลาดอีคอมเมิร์ซแล้ว หลังจากเว็บไซต์ Re/code ไปพบกับเอกสาร และรูปภาพจากบริการของ Fancy ที่ระบุว่า Twitter กำลังจะเพิ่มปุ่ม Buy ให้ผู้ใช้สามารถสั่งซื้อสินค้าได้ผ่าน Twitter เลย
จากภาพ และเอกสารที่หลุดมาฟีเจอร์ที่จะเพิ่มเข้ามาคือการเพิ่มปุ่ม Buy เข้าไปในทวีต กดทวีตแล้วขยายออกเพื่อบอกรายละเอียด และปุ่มสำหรับพาไปยังหน้ารายละเอียดการซื้อ (หรือแอพ) ซึ่งภายหลังได้ข้อมูลเพิ่มเติมจากวงในเกี่ยวกับแผนการบุกตลาดอีคอมเมิร์ซของ Twitter ว่าข้อมูลนี้เป็นแผนที่ Fancy ทำมาเพื่อนำเสนอแก่ Twitter เท่านั้น ส่วน Twitter นั้นยังมีแผนไปติดต่อกับเจ้าอื่นๆ อยู่ด้วยในขณะนี้
John Donahoe ซีอีโอ eBay เปิดเผยในการรายงานผลประกอบการ eBay ไตรมาสล่าสุดว่า Carl Icahn นักลงทุนรายใหญ่ซึ่งตอนนี้ก็เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ใน eBay ได้ยื่นข้อเสนอให้ eBay แยก PayPal ออกไปเป็นอีกบริษัทเพื่อเพิ่มมูลค่ากับผู้ถือหุ้น
โดย Donahoe บอกว่าเขาไม่เห็นด้วยกับแนวคิดนี้เพราะอีคอมเมิร์ซกับระบบจ่ายเงินนั้นเป็นการพึ่งพิงร่วมกันจนเกิดประโยชน์สูงสุด และ PayPal ก็เป็นระบบจ่ายเงินที่เติบโตได้ดีกว่าคู่แข่งเพราะมี eBay หนุนหลัง นอกจากนี้ PayPal ยังได้ประโยชน์จากข้อมูลของ eBay ด้วย เขาจึงไม่เข้าใจว่าจะแยกบริษัทเพื่อให้ PayPal มีข้อมูลในมือที่ลดลงไปทำไม
eBay ซื้อกิจการ PayPal ไปเมื่อปี 2002 และตอนนี้ตัวธุรกิจ PayPal ก็สร้างรายได้ให้คิดเป็น 40% ของรายได้รวม eBay
Amazon จดสิทธิบัตรเทคโนโลยีชื่อ anticipatory shipping โดยบริษัทจะคาดเดาว่าลูกค้าในพื้นที่นั้นๆ สนใจซื้อสินค้าประเภทใด จากนั้นจะขนส่งสินค้าไปรอล่วงหน้าที่โกดังหรือจุดขนถ่ายสินค้าที่ใกล้พื้นที่เป้าหมาย เพื่อลดระยะเวลาในการส่งสินค้าลงให้มากที่สุด
ข้อมูลที่ Amazon ใช้ประเมินว่าลูกค้าสนใจซื้ออะไรก็มาจากประวัติการสั่งซื้อในอดีต ประวัติการค้นหาสินค้าในเว็บ และตำแหน่งการคลิกเมาส์หรือวางเมาส์ของลูกค้าบนหน้าเว็บ (อาจถือเป็นตัวอย่างการนำ Big Data มาใช้ในเชิงธุรกิจ)
ตอนนี้ยังไม่มีข้อมูลว่า Amazon จะนำเทคนิคนี้ไปใช้งานจริงในธุรกิจของตัวเองเมื่อใด และโฆษกของบริษัทก็ไม่ตอบคำถามเรื่องนี้
เว็บไซต์ Re/code และ TechCrunch รายงานข่าวจากแหล่งข่าวคนละแห่ง (แต่เรื่องเดียวกัน) ว่า Twitter เตรียมเปิดตัวบริการด้านอีคอมเมิร์ซในอนาคตอันใกล้
ข้อมูลเบื้องต้น คาดว่าบริการจะอยู่ในรูปการให้ร้านค้าหรือบริษัทต่างๆ มาเปิดหน้า store ของตัวเองในระบบของ Twitter (แต่ยังไม่ชัวร์ว่ารายการสินค้าจะถูกแสดงบน timeline ของผู้ใช้หรือไม่) โดยหน้า store จะเชื่อมโยงไปยังระบบอีคอมเมิร์ซของผู้ค้ารายนั้นอีกทอดหนึ่ง (Twitter จะไม่ทำระบบหลังบ้านให้)
ส่วนกระบวนการจ่ายเงินก็มีข่าวว่า Twitter กำลังคุยกับบริษัทด้านการจ่ายเงินออนไลน์หลายแห่ง ทั้ง Stripe และ PayPal แต่กลับไม่มี Square (อีกบริษัทของ Jack Dorsey หนึ่งในผู้ก่อตั้ง Twitter) อยู่ด้วย
หลังจากเปิดตัวไปเมื่อเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา วันนี้ทาง LINE ก็ได้เปิดทดสอบ LINE MALL แล้วในญี่ปุ่น และจะเปิดอย่างเป็นทางการในช่วงฤดูใบไม้ผลิปีหน้า โดยในตอนนี้จะยังมีเพียงรุ่นแอนดรอยด์ ส่วนรุ่น iPhone จะตามมาเร็วๆ นี้ครับ
LINE MALL เป็นแอพสำหรับซื้อขายของระหว่างผู้ใช้ LINE ด้วยกัน ฝั่งผู้ขายสามารถขายสินค้าได้ง่ายๆ ในไม่กี่ขั้นตอนโดยไม่มีค่าใช้จ่าย ฝั่งผู้ซื้อสามารถเลือกดูสินค้าตามหมวดหมู่ คุยกับผู้ขายได้ผ่านระบบแชทในแอพ และเมื่อซื้อสินค้าก็จะได้รับแต้มสำหรับเป็นส่วนลดในการซื้อครั้งถัดไป (1 แต้มเท่ากับ 1 เยน)
Lazada เว็บไซต์อีคอมเมิร์ซที่กำลังมาแรงในบ้านเรา (มีสาขา 5 ประเทศในอาเซียน บริษัทแม่คือ Rocket Internet ของเยอรมนี) ประกาศความสำเร็จในการระดมเงินทุนอีก 250 ล้านดอลลาร์ ทำให้ตอนนี้บริษัทสามารถระดมเงินทุนได้ทั้งหมดแล้ว 486 ล้านดอลลาร์
นักลงทุนที่ให้เงินกับ Lazada รอบนี้มีหลายราย แต่ที่น่าสนใจคือมี Tesco ห้างค้าปลีกรายใหญ่ของโลกด้วย ซึ่งถือเป็นครั้งแรกที่ Tesco ลงทุนในกิจการอีคอมเมิร์ซที่ไม่มีหน้าร้านในภูมิภาคนี้ ซึ่ง Tesco ก็ให้เหตุผลในการลงทุนว่า Lazada ขยายตัวอย่างรวดเร็วในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่มีตลาดขนาดใหญ่
ตอนนี้ Lazada มีพนักงานแล้ว 1,500 คนใน 5 ประเทศคือมาเลเซีย ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย เวียดนาม และไทย
กรมพัฒนาธุรกิจการค้าร่วมมือกับสมาคมผู้ประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ไทยจัดงาน Thailand online mega sale ประจำปี 2556 ขึ้นในระหว่างวันที่ 26 พฤศจิกายน - 3 ธันวาคม 2556 เพื่อส่งเสริมการค้าขายออนไลน์ โดยปีนี้ได้จัดเป็นปีแรกและจะจัดในสัปดาห์สุดท้ายของเดือนพฤศจิกายนของทุกปี พบกับสินค้าและบริการลดราคาตั้งแต่ 20 - 80% บนเว็บไซต์ MegaSale.in.th นอกจากนี้ยังได้จัดทำหน้าเพจของงานนี้บนเว็บไซต์ Facebook เพื่อโปรโมทสินค้าในงานอีกด้วย
ก่อนหน้านี้เคยมีข่าวว่ากูเกิลกำลังซุ่มทำโซลูชันสำหรับจ่ายเงินด้วยบัตรเดบิตจริงๆ แต่ใช้วงเงินจาก Google Wallet ซึ่งในครั้งนั้นมาพร้อมกับหน้าตาบัตรคร่าวๆ ด้วย และตอนนี้กูเกิลก็เปิดตัวบัตรเดบิตที่ว่าแล้วในชื่อ Google Wallet Card ครับ
Google Wallet Card เป็นบัตรเดบิตของ Google Wallet การใช้งานนั้นตรงไปตรงมา สามารถใช้จ่ายเงินซื้อของจากร้านค้าได้ เบิกเงินจากตู้เอทีเอ็มได้โดยไม่ต้องย้ายยอดเงินจาก Google Wallet จากบัญชีธนาคารมาก่อน ข้อดีกว่าคือซิงก์ยอดการรับ-จ่ายกับระบบของ Google Wallet สามารถรับการแจ้งเตือนการเงินได้ฟรีๆ และไม่มีค่าธรรมเนียมรายเดือนรายปีของบัตร
กูเกิลเริ่มให้บริการ Google Shopping Express พอดีกับช่วงสิ้นปี โดยยังทดลองให้บริการเฉพาะในเขตซานฟรานซิสโกเท่านั้น
บริการนี้กูเกิลไม่ได้ขายสินค้าเองทั้งหมด แต่ไปร่วมมือกับร้านค้าที่ทำกิจการอยู่ก่อนแล้ว ในช่วงเปิดตัวนี้ร้านแรก เช่น Costco, Target, Nob Hill Foods โดยช่วงเปิดตัวนี้กูเกิลจะให้บริการส่งถึงบ้านในวันเดียวกับที่สั่งฟรีหกเดือน
Tmall.com เว็บอีคอมเมิร์ซในเครือเว็บ Alibaba ประกาศยอดขายในเทศกาลลดราคาประจำปีวันที่ 11 เดือน 11 ว่าสามารถทำยอดขายได้เกินพันล้านหยวน หรือประมาณห้าพันล้านบาทภายในเวลาเพียง 6 นาที ทำลายสถิติปีที่แล้วที่ใช้เวลา 31 นาที
เทศกาลเดียวกันทำยอดขายได้ถึง 5 พันล้านหยวนภายใน 38 นาที โดยทั้งหมดจ่ายผ่านระบบ Alipay สำหรับสินค้าขายดีที่สุดคือโทรศัพท์มือถือ Xiaomi มียอดขายเกินกว่า 100 ล้านหยวนไปแล้ว
ตลาดอีคอมเมิร์ชกำลังเป็นตลาดที่ร้อนแรงอย่างมาก ทางรัฐบาลเองก็ประกาศชัดเจนที่จะให้อุตสาหกรรมนี้เป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจ โดยหวังว่าจะมีมูลค่ารวม 18 ล้านล้านหยวนภายในปี 2015
ในประเทศออสเตรเลียมีธุรกิจ Flirtey โชว์แนวคิดใหม่เรื่องบริการส่งสินค้าแก่ผู้ซื้อ โดยแหวกแนวทางเดิมๆ ไม่ต้องพึ่งระบบไปรษณีย์ หรือตู้ล็อกเกอร์ฝากของใดๆ เพราะสิ่งที่พวกเขาจะใช้ก็คือโดรน หรือที่เรียกกันโดยย่อว่า UAVs : Unmanned Aerial Vehicles ซึ่งหมายถึงอากาศยานไร้คนขับนั่นเอง
ขอเขียนข่าวสำหรับสาวๆ บ้างนะครับ True & Co คือบริษัทที่สร้างระบบการชอปปิ้งยกทรงออนไลน์แบบใหม่ โดยใช้วิธีการเก็บข้อมูลจากลูกค้าแล้วใช้อัลกอริทึมที่คิดขึ้นในการหายกทรงแบบที่ลูกค้าน่าจะต้องการ ซึ่งระบบนี้สามารถระดมเงินทุนจากบริษัทเงินทุน Crosslink, VegasTechFund, Great Oaks Venture Capital และ Pejman Nozad ได้เป็นจำนวนถึง 4 ล้านเหรียญสหรัฐ โดย Michelle Lam ซึ่งเป็นซีอีโอของบริษัทบอกว่าจะนำเงินดังกล่าวมาพัฒนาระบบและอัลกอริทึมให้ดียิ่งขึ้น
อเมซอนเปิดเซคชั่น Amazon Art ตลาดแลกเปลี่ยนภาพเขียนและงานศิลปะต่างๆ โดยเบื้องต้นช่วงเปิดตัวมีงานของศิลปินกว่า 4,500 คน งานกว่า 40,000 ชิ้นจากแกลเลอรี่และตัวแทนขายงานศิลปะ 150 ราย
อเมซอนให้ข้อมูลว่า Amazon Art เป็นร้านออนไลน์สำหรับขายงานศิลปะที่ใหญ่เป็นอันดับต้นๆ ของโลก โดยเป้าหมายคือช่วยเชื่อมโยงระหว่างลูกค้าผู้รักงานศิลปะ เข้ากับศิลปินและแกลเลอรี่ที่ขายงานเขียนโดยตรง
แกลเลอรี่ที่เข้าร่วมขายงานกับ Amazon Art มีทั้งในสหรัฐ สหราชอาณาจักร เนเธอร์แลนด์ และแคนาดา
ที่มา - Amazon
กูเกิลประกาศเตรียมปิดบริการ Google Catalogs บริการแสดงแคตาล็อก (ที่ให้บริการเฉพาะสหรัฐอเมริกา) ทั้งบน iOS และ Android ในวันที่ 15 สิงหาคมนี้ โดยผู้ใช้ที่ยังคงต้องการใช้งานอยู่ สามารถใช้งานในเวอร์ชั่นเว็บไซต์ต่อไปได้ ส่วนผู้ใช้ Android ก็สามารถใช้งานใน Google Play Magazine แทนได้เช่นกัน
ที่มา: Android Police และ Engadget
ปกติการสัมภาษณ์ทีมงานบริษัทสตาร์ตอัพใน Blognone มักจะสัมภาษณ์ทีมที่เป็นที่รู้จักในวงกว้าง หรือทีมที่ได้รับทุน แต่ Page365 เป็นทีมที่ผมให้ความสนใจเป็นพิเศษจากโมเดลธุรกิจที่ไม่เหมือนใคร นั่นคือเป็นบริการสำหรับผู้ค้าเป็นหลักดังนั้นคนทั่วไปคงไม่ได้ใช้บริการนี้โดยตรง นับเป็นโมเดลธุรกิจกิจสตาร์ตอัพที่เจาะกลุ่มเฉพาะสำหรับคนทำการค้า
Page365 เคยแนะนำบริการของตัวเองลง Blognone ไปแล้วแต่โดยรวมมันคือระบบจัดการร้านค้า ที่ทำให้การคอมเมนต์สั่งซื้อเป็นเหมือนการเปิดการซื้อขายในหน้าเว็บอีคอมเมิร์ซ รวมไปถึงการถามคำถามก็จัดเข้าหมวดหมู่ให้เหมือนลูกค้าเข้าไปโพสในหน้าซัพพอร์ต โดยลูกค้าไม่ต้องเปลี่ยนพฤติกรรมตัวเอง
ขออนุญาตมาเล่าข่าวเก่าที่น่าสนใจครับ
เมื่อเดือนที่แล้ว หนังสือพิมพ์ The Wall Street Journal (WSJ) รายงานว่า ไมโครซอฟท์เคยคิดที่จะทำเว็บอีคอมเมิร์ซเพื่อมาแข่งกับอเมซอนและอีเบย์ โดยบริษัทได้พูดคุยกับร้านค้าปลีกและบริษัทด้านเทคโนโลยีเกี่ยวกับตลาดสินค้า (marketplace) ร้านค้าที่ขายสินค้าหลากหลายประเภท ช้อปปิ้งการ์ดแบบรวมศูนย์ ตัวเลือกในการจัดส่งสินค้า และส่วนลดสินค้าโดยใช้เงินส่วนหนึ่งจากร้านค้าที่ลงโฆษณาบนบริการค้นหาข้อมูล Bing หรือที่อื่นมาเป็นอุดหนุน
แหล่งข่าวเปิดเผยว่า ไมโครซอฟท์หวังที่จะให้บริการนี้เป็นส่วนหนึ่งของ Windows บนคอมพิวเตอร์ และผลิตภัณฑ์อื่น อาทิ เกมคอนโซล Xbox สมาร์ทโฟนและแท็บเล็ตบนแพลตฟอร์ม Windows แต่ท้ายที่สุดบริษัทก็ล้มเลิกความคิดดังกล่าวไป
หลังจากเปิดตัวเครื่องคิดเงินในรูปแบบของแท่นวาง iPad ไปเมื่อเดือนพฤษภาคม ตอนนี้ Square ได้รุกเข้าไปในตลาดอีคอมเมิร์ซอีกขั้นด้วยการเปิดตัวร้านค้าออนไลน์ของตัวเองในชื่อ Square Market
ในแง่ของฟีเจอร์ Square Market นั้นไม่ได้แตกต่างจากเจ้าใหญ่ในตลาดอย่าง Amazon หรือ eBay โดยเป้าหมายของ Square Market คือการทำให้ร้านค้าในท้องถิ่นสามารถเข้าถึงผู้ใช้ Square ทั้งสหรัฐฯ ด้วยเครื่องมือที่ใช้งานได้ง่ายกว่าสำหรับผู้ขาย
จุดเด่นของ Square Market ในตอนนี้คือผลประโยชน์จากการจ่ายเงินด้วยระบบ Square ที่ชาร์จเพิ่ม 2.75% จากสินค้าที่ขายได้ ซึ่งถูกกว่าคู่แข่งรายใหญ่พอสมควรครับ
สำหรับหลายประเทศที่กำลังพัฒนาในภูมิภาคอาเซียน Facebook กลายเป็นแพลตฟอร์มขายของขนาดใหญ่ที่ใครๆ ก็สามารถเป็นเจ้าของร้านได้โดยไม่ต้องลงทุนสูง แถมยังหาลูกค้าได้ง่ายเพราะอาศัย social network ช่วยทำให้เกิดพฤติกรรมปากต่อปาก ซื้อตามๆ กัน แต่ข้อด้อยของ Facebook คือแม่ค้าต้องเข้ามาตอบคำถามและรับคำสั่งซื้อเองทั้งหมด ร้านใหญ่ๆ ใช้เวลาวันละหลายชม. ในการไล่เช็คคอมเมนต์และโต้ตอบกับลูกค้า
Page365 คือเว็บแอพพลิเคชั่นที่ตอบโจทย์ของแม่ค้าเหล่านี้ โดยเรียบเรียงคอมเมนต์ทั้งหมดใน fan page มาแสดงผลในที่เดียวกัน ช่วยให้แม่ค้าไม่พลาดการขาย แม่ค้าสามารถกดเข้าไปดูคอมเมนต์เก่า ประวัติการสั่งซื้อเก่า รวมถึงข้อมูลเชิงลึกของลูกค้าแต่ละคนได้จากในแอพฯ ซึ่งจะช่วยให้การขายและติดต่อลูกค้าสะดวกขึ้นมาก
Amazon ต่อยอดธุรกิจอีคอมเมิร์ซของตัวเองอย่างน่าสนใจ โดยจับเรื่อง "วันเกิดเพื่อน" บน Facebook มาเป็นจุดขาย
บริการใหม่ของ Amazon มีชื่อว่า Birthday Gift ต้องเชื่อมต่อกับบัญชี Facebook เพื่อดูว่าเพื่อนๆ ของเราเกิดวันไหนกันบ้าง และเราสามารถอวยพรวันเกิดเพื่อนล่วงหน้าพร้อมส่ง "บัตรของขวัญ" เครดิตซื้อของบน Amazon ให้เพื่อนได้
เมื่อถึงวันเกิดของเพื่อนคนนั้นๆ Amazon จะรวมเครดิตที่ทุกๆ คนส่งให้เป็นตัวเลขเดียว และขึ้นข้อความอวยพรวันเกิดพร้อมมูลค่าเครดิตเพื่อให้เจ้าของวันเกิดเลือกของขวัญของตัวเองได้จาก Amazon ครับ (ดูวิดีโอประกอบ)
แนวทางแลก "เหรียญ" บนแอพพลิเคชั่นต่างๆ ในบ้านเราที่ชัดเจนคงเป็น LINE ที่ต้องแลกเหรียญเพื่อซื้อสติ๊กเกอร์ ตอนนี้ทางฝั่งอเมซอนก็ใช้แนวทางแลกเหรียญเพื่อซื้อแอพพลิเคชั่นและเกมแล้วในชื่อ Amazon Coins
Amazon Coins ตอนนี้ยังจำกัดเฉพาะผู้ใช้ Kindle Fire เท่านั้น โดยสามารถซื้อแอพพลิเคชั่น, เกม, และสินค้าในเกม ความแตกต่างจากการใช้เงินแต่เดิมคือเมื่อซื้อเหรียญเก็บไว้มากๆ จะได้ส่วนลดมากขึ้นเรื่อยๆ สูงสุดไปถึง 10%
โปรโมชั่นช่วงเปิดตัวทางอเมซอนจะแจกเหรียญ 500 เหรียญ (มูลค่า 5 ดอลลาร์) ให้กับผู้ใช้ Kindle Fire ทุกคน
หลายคนแถวนี้คงจำได้เมื่อครั้งเว็บเครือข่ายสังคม Multiply ประกาศเปลี่ยนไปเน้นการทำอีคอมเมิร์ซ โดยทำตลาดเฉพาะในประเทศอินโดนีเซียและฟิลิปปินส์ และปิดให้บริการเขียนบล็อก ฝากรูปทั้งหมด ล่าสุด Multiply ยกธงขาวแล้วครับ
Multiply ประกาศว่าระบบทั้งหมดจะปิดให้บริการในวันที่ 6 พฤษภาคมนี้ และยุติการดำเนินธุรกรรมทั้งหมดในวันที่ 31 พฤษภาคม โดยช่วงเวลาดังกล่าวบริษัทจะจัดการรายการซื้อ-ขายคงค้างทั้งหมด เพื่อให้แน่ใจว่ามีการจ่ายเงินและรับสินค้าครบถ้วน