หลาย ๆ คนคงจำภาษา Xtend กันไม่ได้ ภาษา Xtend เป็นหนึ่งในโครงการของมูลนิธิ Eclipse โดยมีเป้าหมายให้ Java ดูน่าใช้งานมากขึ้น โดยมีลักษณะเด่นอยู่ที่ตัวโค๊ดจะถูกแปลให้อยู่ในรูปของโค๊ดภาษา Java ก่อนที่จะถูกแปลให้เป็น Java bytecode อีกทีหนึ่ง ซึ่งต่า
โมโตโรลาประกาศเปิดซอร์สเครื่องมือพัฒนาสำหรับ Android ของตัวเองชื่อ Motodev Studio for Android เป็นบางส่วน แล้วนำโค้ดส่วนนี้ส่งเข้าโครงการ Android Open Source Project (AOSP) แล้ว
MOTODEV Studio เป็นเครื่องมือพัฒนาที่ใช้คู่กับ Android SDK ช่วยเสริมการทำงานเรื่องการแปลภาษา การทำงานกับ SQLite และการนำ code snippet ไปใช้ซ้ำ ตัวมันเองพัฒนาต่อยอดจาก Eclipse อีกทีหนึ่ง
เมื่อพูดถึงแพลตฟอร์มการสร้างแอพพลิเคชันบนกลุ่มเมฆ (PaaS) คนส่วนใหญ่คงคิดถึง Google App Engine หรือ Microsoft Azure แต่ในความเป็นจริงแล้วก็ยังมีรายอื่นๆ อีกหลายราย ที่น่าสนใจหน่อยคงเป็น Cloud Foundry ของ VMware ที่มีกำลังพอต่อกรกับสองยักษ
ไมโครซอฟท์ออก Windows Azure รุ่นอัพเดตเพิ่มเติม ซึ่งมีของใหม่เพิ่มมาอีกหลายอย่าง โดยเฉพาะการรองรับซอฟต์แวร์ฝั่งโอเพนซอร์สจำนวนมาก
โครงการ Eclipse เปิดตัวภาษา Xtend ที่เป็นภาษาที่มีความสามารถเทียบเท่ากับภาษาจาวา โดยฟีเจอร์ที่สำคัญคือมันสามารถคอมไพล์ภาษาออกมาเป็นไฟล์จาวาที่ "อ่านออก" รายการฟีเจอร์ที่สำคัญเช่น
ภาษา Xtend สร้างขึ้นโดยใช้โครงสร้างพื้นฐานของโครงการ Xtext ที่มีระบบอำนวยความสะดวกในการสร้างภาษาเฉพาะงาน (Domain Specific Language - DSL) ได้ง่ายขึ้น
บริษัทวิจัย VisionMobile ได้รับทุนจากโครงการ Webinos ของ EU ให้ศึกษารูปแบบการจัดองค์กรของโครงการโอเพนซอร์สชื่อดังจำนวน 8 โครงการ
ทาง Vision Mobile ได้พิจารณาปัจจัยต่างๆ หลายอย่าง เช่น สิทธิการเข้าถึงซอร์สโค้ด การกำหนดแนวทางโครงการ ชุมชนนักพัฒนา ฯลฯ แล้วจัดทำดัชนีความเปิดกว้างในการบริหารโครงการ (Open Governance Index) มีคะแนนเต็ม 100
ผลก็คือ Eclipse เป็นโครงการที่มีความ "เปิด" ตามดัชนี OGI มากที่สุดคือ 84% ส่วนโครงการที่ได้คะแนนต่ำสุดคือ Android 23%
คะแนนของทั้ง 8 โครงการ
กูเกิลเพิ่งออกเครื่องมือพัฒนา ADT (Android Developer Tools) รุ่น 11 ไปเมื่อเดือนพฤษภาคม วันนี้ออกรุ่น 12 ตามมาแล้ว
ของใหม่ใน ADT 12.0.0 คือการปรับปรุง Visual Layout Editor ที่เพิ่มเข้ามาในรุ่นที่แล้ว และเพิ่มตัวเลือกในการสั่ง build ให้ไม่ต้องทำแพกเกจ .apk ใหม่ทุกครั้ง (ในบางกรณีที่ต้องการทดสอบ) ช่วยให้ระยะเวลา build ลดลงมากในโครงการใหญ่ๆ - รายการเปลี่ยนแปลง
ที่ออกมาคู่กับ ADT ก็คือ Android SDK Tools r12 ซึ่งปรับปรุงให้ emulator สามารถใช้ system image ของสถาปัตยกรรม ARM v7 และ x86 ได้ ทั้งสองตัวติดตั้งได้ผ่าน Android SDK Manager ครับ
ถึงรอบการอัพเดตก็ได้เวลาที่ Eclipse จะออกรุ่นใหม่คือ Eclipse Indigo ซึ่งเป็นรุ่น 3.7 โดยมีฟีเจอร์สำคัญคือ
กูเกิลออกเครื่องมือพัฒนาของแอนดรอยด์บน Eclipse ซึ่งรู้จักกันในชื่อ ADT (Android Development Tools) รุ่น 11 ซึ่งมาพร้อมกับฟีเจอร์สำหรับคือตัวช่วยสร้าง UI ของแอพที่ดีกว่าเดิมมาก
กูเกิลโชว์ ADT 11 ตั้งแต่งาน Google I/O รอบล่าสุด และตอนนี้เปิดให้นักพัฒนาทั่วไปดาวน์โหลด ADT แล้ว ของใหม่ในรุ่นนี้ได้แก่
หลังจากกูเกิลได้เข้าซื้อกิจการของบริษัท Instantiations เมื่อเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา (บริษัท Instantiations มีชื่อเสียงในด้านพัฒนาปลั๊กอินบน Eclipse สำหรับ Java) จนกระทั่งตอนนี้ทีมงานก็ได้แจกจ่ายเครื่องมือซึ่งเป็นปลั๊กอินสำหรับ Eclipse ชุดเครื่องมือนี้สามารถนำไปใช้โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น ได้แก่
Eclipse IDE ชื่อดังออกเวอร์ชันใหม่แล้ว ภายใต้ชื่อ Helios (เป็นชื่อเรียกพระอาทิตย์ในภาษากรีกโบราณ) โดยในเวอร์ชันนี้รวมโปรเจ็คย่อยกว่า 39 โปรเจ็คและกว่า 12 แพ็คเกจย่อย โดยส่วนที่ปรับปรุงมากที่สุดคือการเพิ่ม Eclipse Marketplace สำหรับการค้นหา plugin และ component ต่างๆ ได้ง่ายขึ้น รวมถึงเพิ่มการพัฒนา C++ บน Linux, JavaScript debugging framework และ Git plugin เป็นต้น
โดยปกติ Eclipse จะออกเวอร์ชันใหม่ทุกๆ ปีในช่วงเดือนมิถุนายน
ที่มา - Eclipse Helios
ไมโครซอฟท์ได้เข้าซื้อ Teamprise หนึ่งใน SourceGear LLC ซึ่งเป็นซอฟท์แวร์ประเภท Team Collabolation ที่ให้นักพัฒนาโดยใช้ภาษาจาวาบน Eclipse IDE รันบนยูนิกส์ ลีนุกส์ และ Mac OS X พัฒนาแอพพลิเคชันร่วมกับ Visual Studio Team Foundation Server (TFS) ได้ โดยไมโครซอฟท์มีแผนที่จะพัฒนา Teamprise ให้เชื่อมต่อกับ Visual Studio 2010 และเปิดตัวในช่วงวันเปิดตัว Visual Studio 2010 คือราว 22 มีนาคมของปีหน้า
ฟังชื่อไมโครซอฟท์กับ Eclipse อาจไม่ค่อยเชื่อมโยงด้วยกันนัก แต่ล่าสุดไมโครซอฟท์จับมือบริษัทพัฒนาซอฟต์แวร์ขนาดย่อม สร้างปลั๊กอินของ Eclipse ที่ทำงานกับเทคโนโลยีของไมโครซอฟท์ได้ดีขึ้น
อย่างแรกคือไมโครซอฟท์จ่ายเงินสนับสนุนบริษัท Soyatec จากฝรั่งเศส (และมีออฟฟิศอยู่ในประเทศจีนด้วย) สร้างปลั๊กอินของ Eclipse สำหรับ Windows Azure และ Silverlight ในชื่อ windowsazure4e และ eclipse4sl ตามลำดับ ทั้งสองโครงการเป็นซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สที่ใช้สัญญาอนุญาตแบบ Apache และเริ่มออกรุ่นจริงในช่วงเดือนตุลาคม-พฤศจิกายนนี้
หลังจากโครงการ Eclipse ออกรุ่น 3.5 ไปเรียบร้อย ตอนนี้ก็ได้เวลามุ่งสู่การเปลี่ยนรุ่นครั้งใหญ่สู่รุ่น 4.0 ที่ตั้งเป้าว่าจะออกในปี 2010 แล้ว
ของใหม่ใน Eclipse 4 (หรือ e4) ที่สำคัญได้แก่
Eclipse นั้นเป็น IDE ที่ได้รับความนิยมอย่างสูงจากบรรดาบริษัทซอฟต์แวร์รายใหญ่ ด้วยสถาปัตยกรรมที่ยืดหยุ่นและสัญญาอนุญาตที่ไม่เรื่องมาก ทำให้บริษัทหลายแห่งออกชุดพัฒนาซอฟต์แวร์ (SDK) สำหรับผลิตภัณฑ์ของตัวเอง โดยใช้ Eclipse เป็นฐาน และเพิ่มส่วนขยายของตัวเองเข้ามา
วงการหนึ่งที่ Eclipse ได้รับความนิยมมากคือซอฟต์แวร์สำหรับมือถือ แต่ว่าเนื่องจากต่างคนต่างทำ ทำให้การพัฒนาซอฟต์แวร์บนมือถือต่างรุ่นด้วย Eclipse นั้นยุ่งยากและซับซ้อน ค่ายมือถือจำนวนหนึ่งได้แก่ Motorola, Nokia, RIM, Sony Ericsson, IBM, Genuitech มองเห็นปัญหานี้ และทางแก้ปัญหาก็คือโครงการ Pulsar ซึ่งจะรวมเอาชุดพัฒนาสำหรับมือถือบน Eclipse ให้เป็นหนึ่งเดียว
หลังจากประกาศให้นักพัฒนาเตรียมตัวกันมาซักระยะหนึ่ง วันนี้ไมโครซอฟท์ก็เปิดให้ผู้ใช้ทั่วไปดาวน์โหลด Silverlight 2.0 และชุดสำหรับนักพัฒนาได้แล้วที่เว็บไซต์ Silverlight.net
สำหรับผู้ใช้ทั่วไปที่เคยติดตั้ง Silverlight 2.0 Beta 2 ไว้แล้วนั้น ในช่วงระยะนี้ไปจนถึงสิ้นเดือนผู้ใช้จะพบข้อความเพื่อบอกให้ปรับรุ่นขึ้นไปเป็น Silverlight 2.0 หลังจากนั้นตัวรันไทม์จะเริ่มทำการปรับรุ่นให้เอง
สิ่งที่ออกมาพร้อมกับ Silverlight 2.0 ในครั้งนี้ยังมีเครื่องมือพัฒนาใหม่ที่ไม่ธรรมดา เพราะมันคือปลั๊กอินสำหรับ Eclipse นั่นเอง
เร่งเครื่องสู้เต็มกำลังเลยนะเนี่ย
ที่มา: ScottGu's Blog
Eclipse เวอร์ชันล่าสุด 3.4 แล้ว ภายใต้ชื่อ Ganymede (อ่านว่า แกนีมีด) ซึ่งเป็นการรวมโปรเจคย่อยต่างๆที่มีอยู่มากมายใน Eclipse เพื่อความเข้ากันได้ของโปรเจคต่างๆ
โดยฟีเจอร์ใหม่ๆที่สำคัญก็มีดังนี้
(หัวข้อข่าวมีแต่ตัวย่อแฮะ) ในงาน EclipseCon เมื่อวานนี้ Sam Ramji ผู้อำนวยการแล็บโอเพนซอร์สของไมโครซอฟท์ได้ประกาศความร่วมมือกับ Eclipse Foundation โดยไมโครซอฟท์จะให้ความช่วยเหลือทีม SWT (Standard Widget Toolkit - คู่แข่งของ Swing) พัฒนา SWT ที่ใช้เทคโนโลยี Windows Presentation Foundation ของไมโครซอฟท์
เมื่อโครงการนี้สำเร็จ นักพัฒนาจาวาที่ใช้ SWT จะได้มีแอพพลิเคชันที่หน้าตาเข้ากับ Windows Vista มากขึ้น ในระยะหลังเราจะเห็นท่าทีของไมโครซอฟท์ต่อโอเพนซอร์สที่เปลี่ยนไปค่อนข้างมาก จากที่เคยมองว่าเป็นศัตรู ก็หันมาเป็นพันธมิตรกันในบางจุดแล้ว
คนทำงานจาวาคงได้ยินชื่อ Eclipse RCP กันเยอะอยู่แล้วในช่วงหลังมานี้ แต่เพื่อลดแรงต้านจากกระแส Web Application ที่เชี่ยวกราก ทาง Eclipse Foundation จึงมีโครงการ Rich Ajax Platform (RAP) ที่ใช้ API ชุดเดียวกับใน RCP โดยตัดความสามารถบางส่วนออกไป ทำให้นักพัฒนาไม่จำเป็นต้องเรียนรู้ใหม่ทั้งหมด
เท่าที่ลองดูเดโมพบว่าความเร็วค่อนข้างน่าประทับใจอยู่มาก งานนี้ทางฝั่ง Google Web Toolkit คงมีคู่แข่งเข้าแล้วจริงๆ
ที่มา - Artima Developer, Eclipse
หลังการประกาศความร่วมมือกับทางซันเข้าพัฒนาโอเพนออฟฟิศอย่างเต็มตัว ไอบีเอ็มก็ประกาศเปิดตัวออฟฟิศตัวใหม่ในชื่อว่า Lotus Symphony ที่ใช้แกนกลางจากโอเพนออฟฟิศแล้วใช้ชุด UI จาก Eclipse RCP ที่น่าสนใจที่สุดสำหรับชุดออฟฟิศนี้คือมันแจกฟรีเช่นเดียวกับโอเพนออฟฟิศ ส่วนตัวที่ขายนั้นจะรวมอยู่ใน Lotus Notes อย่างไรก็ตามยังไม่แน่ว่า Lotus Symphony นี้จะเป็นโอเพนซอร์สหรือไม่
เท่าที่ลองดูหน้าจอจะค่อนข้างแปลกๆ ไปสักหน่อยเมื่อชินกับการใช้งานโอเพนออฟฟิศแล้ว แต่ยังไงมีตัวเลือกเพิ่มขึ้นก็น่าจะเป็นเรื่องที่ดี
มีใครสนใจจะรีวิวบ้างมั๊ยครับ...
ที่มา - Lotus Symphony
Eclipse เวอร์ชั่นล่าสุด 3.3 ก็ได้ฤกษ์ออกมาตามกำหนดการ พร้อมๆกันกับโปรเจคอื่นๆ ในชื่อรวมว่า Europa (ปีที่แล้ว Callisto เป็นครั้งแรกที่ทำแบบนี้) เป้าหมายของการกำหนดการออกแบบนี้ก็เพื่อความเข้ากันได้ของโปรเจคต่างๆของ Eclipse (ที่ยิ่งวันก็ยิ่งเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ)
สำหรับตัว Eclipse 3.3 ในส่วนของ IDE และ Java ก็มีฟีเจอร์ใหม่ๆ เพิ่มขึ้นมาอีกพอสมควร เท่าที่ได้ดูคร่าวๆ ฟีเจอร์ที่น่าสนใจก็มี
ปลั๊กอินสำหรับโปรแกรมเมอร์ที่ทำงานด้วย Eclipse + Spring Framework 2.0 คลอดแล้วครับ เวอร์ชันนี้สนับสนุนทั้ง Spring Bean และ Spring Web Flow ฟีเจอร์ที่ผมทดสอบแล้วมีดังต่อไปนี้
ที่ลองแล้วก็มีแค่นี้ ใครถูกใจฟีเจอร์ไหนก็ลองมาแลกเปลี่ยนกันได้ครับ
ประเด็นมันเริ่มจากข่าวเก่า กรณี JBoss จับมือกับ Exadel แล้วโอเพนซอร์สเครื่องมือพร้อมกับชุด JSF ทั้งหมดของ Exadel ในรูปแบบไลเซนส์ GPL
การเปิด GPL ครั้งนี้เป็นไปอย่างตั้งใจ ส่วนหนึ่งเป็นเพราะ JBoss ต้องการจะเอาคืนสิ่งที่ MyEclipse ได้ทำไว้กับ Hibernate Tool ปลั๊กอินโอเพนซอร์สของ JBoss ที่ MyEclipse เอาไปแก้ไขแล้วรวมเข้ากับชุดเครื่องมือเพื่อการค้าของตัวเอง
ข่าวดีจากงาน EclipseCon อีกแล้ว คราวนี้ออราเคิลประกาศโอเพนซอร์ส TopLink ORM ให้ Eclipse เป็นผู้ดูแลแบบยกกระบิแล้วเปลี่ยนชื่อใหม่เป็น EclipseLink ส่วน TopLink จะเหลือเพียงบางส่วนเท่านั้นที่ออราเคิลไว้อินทริเกรตใช้ร่วมกับผลิตภัณฑ์ในเครือของตัวเอง
JBoss และ Exadel ประกาศพันธมิตรต่อกันในงาน EclipseCon โดยเครื่องมือ Exadel Studio Pro จะรวมเข้ากับ JBossIDE และประกาศชื่อใหม่อย่างเป็นทางการว่า RedHat Developer Studio
ข่าวนี้ทำผมแทบช็อก! Exadel Studio Pro เป็นหนึ่งใน Eclipse ปลั๊กอินเพื่อการค้าที่ได้รับความนิยมอย่างมาก มีเครื่องมือพัฒนาครบวงจรสำหรับ (Spring, Struts, Hibernate, JSF, Facelet, Shale, AJAX) ส่วน JBossIDE ก็เป็นโอเพนซอร์สปลั๊กอินพัฒนา Hibernate, jBPM , AOP tools ต่างๆ โดยเครื่องมือทั้งสองจะรวมกันและใช้ชื่อใหม่ว่า RedHat Developer Studio โดยมีไลเซนส์เป็น GPL