กูเกิลประกาศเข้าซื้อกิจการ AppSheet แพลตฟอร์มสำหรับสร้างแอปที่ไม่ต้องเขียนโค้ด เน้นเจาะกลุ่มลูกค้าองค์กร ทั้งนี้ดีลดังกล่าวไม่มีการเปิดเผยมูลค่า แต่หากดูข้อมูลอดีต AppSheet เคยรับเงินเพิ่มทุนไปแล้วรวม 19.3 ล้านดอลลาร์
ทั้งนี้กูเกิลบอกว่า AppSheet จะเข้ามาเติมเต็มส่วนธุรกิจ Google Cloud ช่วยให้การพัฒนาแอปขึ้นมาใช้เฉพาะสำหรับองค์กรสะดวกง่ายมากขึ้น เชื่อมต่อบริการต่าง ๆ ของกูเกิลได้อย่างไม่มีข้อจำกัด รวมไปถึงแหล่งข้อมูลคลาวด์จากรายอื่นด้วย
Praveen Sheshadri ซีอีโอ AppSheet กล่าวว่าบริการของ AppSheet จะยังให้บริการต่อไปตามปกติ โดยทีมงานทั้งหมดจะย้ายไปอยู่กับทีม Google Cloud รวมทั้งรองรับการทำงานข้ามแพลตฟอร์มอื่นเหมือนเดิม
วันนี้คุณสุรินทร์ อัศวชัยสิทธิกุล หัวหน้าฝ่าย Open API ของกรุงศรี คอนซูมเมอร์ เขียนบล็อกลง Google Cloud เล่าถึงประสบการณ์การใช้ Apigee สำหรับการจัดการ API เพื่อให้บริการพันธมิตรภายนอก พร้อมกับระบุถึงแผนการต่อไปของการให้บริการ API
ในบล็อกคุณสุรินทร์ระบุว่าจะเปิด API ให้กับพันธมิตรที่เป็นบริการอีคอมเมิร์ชเพื่อตัดเงินจากบัตรเครดิตของกรุงศรี ไม่ว่าจะเป็นการจ่ายเต็มหรือการผ่อนจ่าย นอกจากนั้นยังมีแผนจะสร้างธุรกิจใหม่ด้วยการเปิดให้พันธมิตรเข้าไปตรวจสอบข้อมูลเครดิตของลูกค้าได้ทาง API ของธนาคาร
กูเกิลประกาศความร่วมมือกับ IBM นำเครื่องสถาปัตยกรรม Power มาให้บริการบน Google Cloud
ความร่วมมือนี้ทำให้องค์กรที่ใช้ IBM Power Systems อยู่แล้ว เช่น รันระบบปฏิบัติการ AIX, IBM i (OS/400 เดิม) หรือ Linux on Power สามารถย้ายงาน (เช่น SAP หรือ Oracle) มารันต่อบนคลาวด์ได้ทันทีโดยไม่ต้องเปลี่ยนแปลงซอฟต์แวร์ทั้งระบบ นอกจากนี้ยังใช้ระบบบิล-ซัพพอร์ตของ Google Cloud ทำให้องค์กรที่เป็นลูกค้ากูเกิลอยู่แล้ว แค่ขยายการใช้งานเพิ่มเท่านั้น ไม่ต้องเข้ากระบวนการจัดซื้อใหม่
ก่อนหน้านี้ IBM Cloud เป็นผู้ให้บริการคลาวด์รายเดียวที่มีเครื่องสถาปัตยกรรม Power ให้ใช้งาน การขยายมายัง Google Cloud ถือเป็นพัฒนาการที่น่าสนใจของทั้งสองค่าย ที่ยังตามหลัง AWS และ Azure ในตลาดคลาวด์
Google Cloud ประกาศเปิดขายเซิร์ฟเวอร์ในบริการ Google Compute Engine เป็นเครื่องแบบ E2 ที่ใส่เซิร์ฟเวอร์ลูกค้าเข้าไปในเซิร์ฟเวอร์จริงเกินกว่าทรัพยากรที่มีในเครื่อง
แนวทางพัฒนาเครื่องนี้อาศัยรูปแบบการใช้งานปกติที่มักไม่มีใครรันงานเต็มเวลาอยู่แล้ว แม้เซิร์ฟเวอร์จะมีลูกค้าซื้อซีพียูจนเต็มแต่ก็มีช่วงเวลาที่ซีพียูว่างอยู่มาก ทาง Google Cloud เตรียมนำช่วงเวลาซีพียูว่างเหล่านี้มาขายด้วยการอัดเครื่องลูกค้าเข้าไปเพิ่ม
เมื่องาน Google Cloud Next รอบเดือนเมษายน Google เปิดตัว Cloud Code ปลั๊กอินบน VS Code และ IntelliJ เพื่อการทำงานกับคลาวด์ที่ง่ายขึ้น เวลาผ่านมาประมาณครึ่งปี ปลั๊กอินตัวนี้เข้าสถานะตัวจริง (general availability หรือ GA)
Google Cloud Code คือส่วนขยายของ IDE ยอดนิยม 2 ตัวคือ VS Code และ IntelliJ ให้สามารถแก้ไขไฟล์กำหนดค่าทรัพยากรของ Kubernetes ได้ง่ายขึ้นจากตัว IDE โดยตรง ลดจำนวนเครื่องมือที่ต้องใช้งาน และสามารถใช้ประโยชน์จากฟีเจอร์ของ IDE (เช่น code completion หรือ snippet) ในการแก้ไขไฟล์คอนฟิกเหล่านี้ได้ด้วย
ในยุคที่งานฝั่งเซิร์ฟเวอร์ถูกย้ายขึ้นคลาวด์มากขึ้นเรื่อยๆ เพื่อความสะดวกในการบริหารจัดการ ยังมีงานบางประเภท โดยเฉพาะซอฟต์แวร์รุ่นเก่าๆ (legacy) บางตัวที่ไม่ได้ออกแบบมาสู่ยุคคลาวด์ ทำให้ย้ายขึ้นคลาวด์ได้ยาก เพราะตัวซอฟต์แวร์ค่อนข้างผูกกับฮาร์ดแวร์อยู่มาก อาจจำเป็นต้องรันบนเครื่องจริงๆ (Bare Metal) เนื่องจากรันใน VM ไม่ได้ด้วยซ้ำ
กูเกิลประกาศซื้อกิจการบริษัท CloudSimple ผู้เชี่ยวชาญด้านการย้ายระบบที่เป็น VMware ขึ้นคลาวด์ โดยก่อนหน้านี้ CloudSimple เป็นผู้พัฒนาระบบ VMware Cloud Foundation ไปรันบน Google Cloud Platform (ทำระบบให้เสร็จก็ซื้อซะเลย)
กูเกิลอธิบายว่าองค์กรจำนวนมากรันงานบน VMware อยู่แล้ว และต้องการย้ายงานเหล่านี้ขึ้นคลาวด์ การซื้อ CloudSimple ที่เชี่ยวชาญเรื่องนี้จึงตอบโจทย์ และทาง VMware ก็ออกมาแสดงความยินดีกับกูเกิลในการซื้อกิจการครั้งนี้ ว่าจะช่วยให้ความร่วมมือระหว่าง Google Cloud กับ VMware แนบแน่นขึ้นไปอีก
Google Cloud เปิดตัว Network Intelligence Center ระบบมอนิเตอร์, ตรวจสอบ และปรับปรุงระบบเครือข่ายบนแพลตฟอร์มทั้งคลาวด์และ on-premise โดยมาพร้อมโมดูลเริ่มต้นจำนวนหนึ่ง
Google ระบุว่า ปัจจุบันองค์กรเริ่มการใช้งาน multi-cloud มากยิ่งขึ้น ซึ่งทำให้ระบบเครือข่ายที่ต้องรองรับนั้นมีความซับซ้อนสูงขึ้นอย่างเลี่ยงไม่ได้ ส่งผลให้ความกดดันต้องตกอยู่กับทีมที่ต้องดูแลเครือข่าย และเครื่องมือระบบเครือข่ายที่ทำงานแยกกันก็ไม่ช่วยให้เห็นภาพปัญหาได้อย่างชัดเจน ส่งผลให้การแก้ปัญหาช้า และถ้าคอนฟิกผิดพลาดก็ค้นพบช้ามาก จนตอนนี้ยังไม่มีเครื่องมือกลางที่ช่วยงานด้านนี้ได้อย่างจริงจัง
Google เคยเปิดตัว Contact Center AI สำหรับเป็นเครื่องมือให้บริการคอลเซ็นเตอร์สำหรับองค์กรมาตั้งแต่กลางปีที่แล้ว และยกสถานะเป็นสถานะเบต้าตั้งแต่เดือนเมษายนที่ผ่านมา วันนี้ Google ได้ประกาศว่าทั้งสองฟีเจอร์ย่อยคือ Virtual Agent และ Agent Assist ใน Contact Center AI ได้เข้าสู่สถานะ GA พร้อมใช้งานจริงแล้ว
Google Cloud เปิดตัวฟีเจอร์ Batch on Google Kubernetes Engine โซลูชั่นสำหรับการรันเวิร์คโหลดแบบ batch และสเกลอย่างเหมาะสมตามเวิร์คโหลดที่รัน
ฟังก์ชันของ Batch on GKE จะคล้ายกับ batch job scheduler บน HPC ซึ่งการย้ายมาอยู่ในโลกของคลาวด์ โดยตัวแอพพลิเคชั่นจะไม่ต้องพบกับข้อจำกัดของคลัสเตอร์ สามารถขอ resource เพิ่มเติมได้ตราบเท่าที่ต้องการ
Google ระบุว่ามีลูกค้าจำนวนมากต้องการนำ GKE มารันเวิร์คโหลดแบบ batch เช่น การเรนเดอร์ภาพและวิดีโอ, การประเมินความเสี่ยงพอร์ตการลงทุน, ตรวจสอบการออกแบบซิลิคอน หรืองานด้านพันธุศาสตร์อย่าง genomics sequencing เป็นต้น จึงทำให้ Google สร้าง Batch on GKE ขึ้นมา
สำหรับฟีเจอร์ของ Batch on GKE ที่น่าสนใจ เช่น
Google Cloud Run บริการ serverless แบบ fully-managed บน Google Cloud เปิดตัวมาเป็นเบต้าตั้งแต่เดือนเมษายนที่ผ่านมา และวันนี้ Google Cloud Run ก็เข้าสู่สถานะ GA แล้ว
Google Cloud Run เป็นบริการที่นำทั้งแนวคิด serverless และ container เข้ามาใช้งานร่วมกัน สามารถเขียนโค้ดในภาษาอะไรก็ได้ ใช้ไบนารีภาษาอะไรก็ได้ ไม่ต้องกังวลเรื่องโครงสร้างพื้นฐานที่ต้องจัดการ เพียงสร้าง Docker image สำหรับการนำไปสร้างคอนเทนเนอร์ที่รับ request จาก URL เท่านั้น
Google เปิดตัวโครงการ Skaffold เมื่อสองปีที่แล้ว โดยตัวโครงการนั้นเกิดขึ้นมาเพื่อตอบโจทย์ปัญหาการช่วยดีพลอยระบบบน Kubernetes และวันนี้ Google ได้ประกาศให้โครงการ Skaffold เข้าสู่สถานะ GA อย่างเป็นทางการแล้ว
Skaffold นั้นเกิดขึ้นมาเพื่อแก้ปัญหาที่นักพัฒนาต้องใช้เวลาในการจัดการคอนเทนเนอร์, อัพเดต Kubernetes manifest และ redeploy แอปอยู่ตลอดเวลาแม้ว่าจะแก้ไขโค้ดเพียงเล็กน้อย เพื่อให้นักพัฒนาโฟกัสกับการแก้โค้ดมากขึ้น
Skaffold ทำงานได้จบบนฝั่งไคลเอนท์ ไม่ต้องติดตั้งอะไรเพิ่มเติมบนคลัสเตอร์ มีคอมมานด์ skaffold dev
เป็นคอมมานด์หลักที่จะคอยตรวจสอบการแก้ไขโค้ด จากนั้นจะ rebuild และ redeploy แอปขึ้นคลัสเตอร์ให้แบบเรียลไทม์
กูเกิลเพิ่งประกาศ App Engine รองรับรันไทม์ Java 11 LTS ไปหมาด ๆ ล่าสุด App Engine ประกาศรองรับภาษาโปรแกรมเวอร์ชันใหม่ๆ อีกชุดใหญ่ดังนี้
Google App Engine รองรับรันไทม์ Java 11 อย่างเป็นทางการ หลังเปิดทดสอบรุ่นเบต้ามาตั้งแต่เดือน มิ.ย.
Java 11 ถือเป็นรุ่นซัพพอร์ตระยะยาว (LTS) ที่มีระยะเวลาซัพพอร์ตนาน 8 ปี (นานจนลืมไปถึงปี 2026) และเป็นรุ่นที่ Oracle แนะนำให้ย้ายจาก Java 8 ซึ่งถือเป็นรุ่น LTS ก่อนหน้า
กูเกิลเปิดตัว TensorFlow Enterprise ไบนารีรุ่นพิเศษของ TensorFlow ที่ปรับแต่งมาเพื่อการทำงานร่วมกับ Google Cloud Platform โดยเฉพาะ พร้อมกับรับประกันแพตช์ความปลอดภัยยาว 3 ปีสำหรับลูกค้าองค์กรที่ไม่ต้องการเปลี่ยนเวอร์ชั่นบ่อยๆ
ความสามารถเฉพาะของ TensorFlow Enterprise คือการอ่านข้อมูลจาก Cloud Storage ได้เร็วกว่า TensorFlow ปกติมาก ผลทดสอบของกูเกิลแสดงว่าอ่านได้เร็วกว่าเกือบเท่าตัว ขณะเดียวกันก็เพิ่มความสามารถดึงข้อมูลจาก BigQuery ได้โดยตรง (ฟีเจอร์ปล่อยเป็นโอเพนซอร์สแล้ว)
Google Cloud Platform เปิดตัวบริการจดจำใบหน้าคนดัง Celebrity Recognition เทียบเคียงกับ AWS Rekognition อย่างไรก็ตาม บริการของกูเกิลนี้ชูแนวทางเคารพสิทธิมนุษยชนอย่างเข้มข้นกว่า
กูเกิลระบุว่าได้ขอให้ Business for Social Responsibility หรือ BSR เข้ามาตรวจสอบความเสี่ยงต่อการกระทบสิทธิมนุษยชน หลังจากทาง BSR เข้ามาตรวจสอบก็ให้คำแนะนำจำนวนหนึ่ง ทำให้กูเกิลเพิ่มเงื่อนไขการใช้งานบริการนี้ ได้แก่
Google App Engine ประกาศรองรับภาษา Ruby ในสภาพแวดล้อมแบบ Standard Environment แล้ว หลังเปิดใช้งานแบบ Flexible Environment มาตั้งแต่ปี 2016 นับเป็นภาษาที่ 7 ของ Standard Environment
Standard Environment เป็นการรันแอพพลิเคชันใน sandbox ของกูเกิลเอง โดยใช้ได้เฉพาะภาษาและเวอร์ชันที่กูเกิลกำหนดให้เท่านั้น ข้อดีคือราคาถูกกว่า ขยายเครื่องได้เร็วกว่า ส่วน Flexible Environment เป็นการรันใน Docker/VM ที่ยืดหยุ่นกว่าในเรื่องภาษา แต่ราคาก็แพงกว่า (เปรียบเทียบความแตกต่าง)
เมื่อเดือนเมษายนปีนี้ กูเกิลเปิดตัว Cloud Run บริการ serverless สำหรับรันงานใน container ที่เป็นคำสั่ง HTTP แบบ stateless ซึ่งรวมข้อดีของแนวคิด serverless กับ container เข้าไว้ด้วยกัน
วันนี้กูเกิลต่อยอดด้วยการออกปุ่ม Cloud Run Button ที่ใช้ประโยชน์จากพลังของ Cloud Run โดยเราสามารถนำปุ่มนี้ไปแปะไว้บนเว็บไซต์ใดก็ได้ ให้ใครก็ได้กดได้ เมื่อมีคนกดปุ่มนี้ ระบบของ Cloud Run จะไปดึงซอร์สโค้ดของเราจาก Git มาดีพลอยบนโฮสต์ Google Cloud Platform (เบื้องหลังคือ Cloud Run) ให้อัตโนมัติ
VMware ประกาศความร่วมมือกับ Google Cloud โดยองค์กรที่รันงานใน VMware vSphere ภายในระบบ on-premise ของตัวเองอยู่แล้ว สามารถย้ายงานไปรันบน Google Cloud Platform (GCP) ได้ทันที
ความร่วมมือนี้ไม่ใช่เรื่องน่าแปลกใจนัก เพราะ VMware มีความร่วมมือแบบเดียวกันกับ AWS ตั้งแต่ปี 2016 และเมื่อต้นปีนี้ก็ประกาศทำ Azure VMware Solutions กับฝั่งไมโครซอฟท์
แต่สิ่งที่น่าสนใจคือ โซลูชันของ VMware บน GCP รอบนี้ VMware ไม่ได้ทำเอง แต่ใช้พาร์ทเนอร์คือบริษัท CloudSimple เป็นผู้พัฒนาโซลูชันให้ โดยฝั่งกูเกิลเป็นผู้ให้บริการซัพพอร์ตขั้นต้น
Spinnaker เป็นแพลตฟอร์ม CI/CD สำหรับการดีพลอยซอฟต์แวร์ที่กูเกิลร่วมกันพัฒนากับเน็ตฟลิกซ์ ตอนนี้ Google Cloud Platform ก็รองรับ Spinnaker เต็มตัว ทำให้กระบวนการติดตั้งง่าย
กระบวนการติดตั้ง Spinnaker for GCP จะติดตั้งลงบน Google Kubernetes Engine และใช้ Cloud Memorystore for Redis กับ Cloud Load Balancing โดยกูเกิลระบุว่ากระบวนการติดตั้งจะลดลงเหลือไม่กี่คลิก แต่ได้ฟีเจอร์ระดับโปรดักชั่น เช่น ควบคุมการเข้าถึงผ่าน Cloud IAP, สำรองข้อมูลอัตโนมัติเป็นค่าเริ่มต้น, คอนฟิก Stackdriver ไว้แล้ว
Spinnaker for GCP ไม่มีค่าใช้งานโดยตัวมันเอง แต่มีค่าใช้ทรัพยากรต่างๆ ในการติดตั้ง เริ่มใช้งานได้แล้ววันนี้
Kubernetes เป็นเทคโนโลยีที่ได้รับความนิยมในองค์กรมากขึ้นเรื่อยๆ ล่าสุดกูเกิลจึงเปิดคอร์สออนไลน์ Architecting with Google Kubernetes Engine Specialization ให้เรียนกันฟรีๆ
คอร์สนี้แยกเป็น 4 คอร์สย่อย ที่สอนเรื่อง Kubernetes ในแง่มุมต่างๆ โดยอ้างอิงกับ Google Kubernetes Engine (GKE) เวอร์ชันของกูเกิลเองเป็นหลัก เนื้อหาทั้ง 4 คอร์สประกอบด้วย
กูเกิลประกาศเข้าซื้อกิจการ Elastifile ผู้ให้บริการสตอเรจแบบสเกลเอาท์ โดยไม่มีการเปิดเผยมูลค่าดีล แต่จากข้อมูลนั้น Elastifile เคยรับเงินเพิ่มทุนไปแล้วรวม 65 ล้านดอลลาร์
Elastifile เป็นสตาร์ทอัพจากเทลอาวีฟ ประเทศอิสราเอล ให้บริการสตอเรจเกรดลูกค้าองค์กรบนคลาวด์ และรองรับการทำงานบน Google Cloud Platform (GCP) เต็มรูปแบบ
กูเกิลบอกว่าบริการของ Elastifile เมื่อรวมกับบริการของ Google Cloud จะรองรับการนำเวิร์กโหลดแบบเก่ามาทำงานบน GCP ได้เร็วขึ้น รวมทั้งบริหารจัดการตลอดจนสเกลได้ง่ายขึ้น โดยเฉพาะกับลูกค้าองค์กรที่มีความต้องการใช้งานข้อมูลแบบเฉพาะตัวระดับเพตะไบต์
คุณพ่อบ้าน Jenkins เป็นเครื่องมือโอเพนซอร์สเพื่อทำ automation สำหรับโครงการพัฒนาซอฟต์แวร์ที่ได้รับความนิยมสูง และเป็นองค์ประกอบสำคัญของการทำ CI/CD หรือ DevOps ในยุคปัจจุบัน
เราสามารถนำ Jenkins มาใช้กับ infrastructure ยุคใหม่อย่าง Kubernetes ได้อยู่แล้ว แต่การเซ็ต Jenkins เองอาจมีความยุ่งยากอยู่บ้าง ผู้ให้บริการคลาวด์บางรายจึงเริ่มผนวก Jenkins เข้ามากับบริการ Kubernetes กันบ้างแล้ว
ข่าวนี้เป็นฝั่งกูเกิล ที่เปิดตัว Jenkins Plugin สำหรับการประสานระบบของ Jenkins เข้ากับ Google Kubernetes Engine (GKE) จุดเด่นของมันคือเราสามารถสั่ง deploy ซอฟต์แวร์ที่เขียนไปยังเครื่องบน GKE ได้ทันที
กูเกิลประกาศลงทุนในโครงการเคเบิลใต้น้ำเรียกชื่อว่า Equiano ซึ่งเชื่อมต่อทวีปแอฟริกากับยุโรปเข้าด้วยกัน โดยเส้นทางจะเริ่มต้นที่ยุโรปตะวันตกจากโปรตุเกส มาตามแนวฝั่งตะวันตกของแอฟริกา เชื่อมต่อส่วนแรกที่ไนจีเรีย และสิ้นสุดที่แอฟริกาใต้
โครงการนี้มี Alcatel Submarine Networks เป็นผู้วางเคเบิลใต้น้ำ และนับเป็นโครงการเคเบิลใต้น้ำลำดับที่ 3 ของกูเกิลที่ลงทุนเองทั้งหมด ต่อจาก Curie และ Dunant แต่ถ้านับโครงการที่ร่วมลงทุนด้วย ก็จะเป็นโครงการลำดับที่ 14
โครงการ Equiano เฟสแรกเชื่อมต่อโปรตุเกสกับไนจีเรีย คาดว่าจะแล้วเสร็จในปี 2021
Alphabet ประกาศยุบบริษัทลูก Chronicle บริษัทด้านระบบความปลอดภัยไซเบอร์ที่แยกตัวมาตอนต้นปี 2018 กลับเข้าไปอยู่ใต้ Google โดยจะเป็นส่วนหนึ่งของธุรกิจ Google Cloud
Chronicle เคยเป็นส่วนหนึ่งของ X (หรือชื่อเดิมคือ Google X) ก่อนที่จะแยกตัวออกมาเป็นบริษัทลูกของ Alphabet (มีศักดิ์เท่ากับ Google และ X) เมื่อเดือนมกราคม 2018 โดยดึงเอา VirusTotal แอนตี้ไวรัสที่กูเกิลซื้อมาในปี 2018 เข้ามาอยู่ใต้สังกัดด้วย และภายหลังก็เปิดตัวบริการ BackStory ที่ช่วยวิเคราะห์ล็อกไฟล์ขนาดใหญ่