เกือบหนึ่งปีหลัง กูเกิลจับมือเป็นพันธมิตรกับ Cisco ทำโซลูชันไฮบริดคลาวด์ ล่าสุดบริการตัวนี้เข้าสถานะ generally available (GA) เรียบร้อยแล้ว มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า Cisco Hybrid Cloud Platform for Google Cloud
ความร่วมมือนี้จะทำให้องค์กรสามารถรันงานตามความเหมาะสม ไม่ว่าจะเป็นบนคลาวด์ของกูเกิล หรือบนศูนย์ข้อมูลขององค์กรเอง (on premise) ที่ใช้โซลูชันของ Cisco จุดที่น่าสนใจคือการนำแอพพลิเคชันยุคเก่า (legacy) มารันบนคลาวด์ด้วยการครอบ container หรือ API เพื่อให้ scale ได้ง่ายขึ้น
Google BigQuery เป็นบริการ data warehouse ที่กำลังมาแรงอย่างมากในสายงาน analytics, big data และ machine learning ด้วยเหตุผลว่าเราสามารถวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ด้วยภาษา SQL ที่คุ้นเคย โดยไม่จำเป็นต้องบริหารฐานข้อมูลเอง และจ่ายเงินเท่าที่ใช้งาน
ปกติแล้ว ผู้ใช้ต้องเป็นคนอัพโหลดข้อมูลขึ้น BigQuery เอง (หรือดึงมาจากบริการอื่นๆ ของกูเกิล เช่น Google Analytics หรือ Google Ads) แต่กูเกิลก็เตรียมฐานข้อมูลสาธารณะ (public dataset) ไว้ให้อีกจำนวนหนึ่ง เช่น สำมะโนประชากรของสหรัฐ สถิติจากธนาคารโลก หรือข้อมูลจาก GitHub
ซอฟต์แวร์สายโครงสร้างพื้นฐานที่มาแรงที่สุดในยุคนี้ย่อมหนีไม่พ้น Kubernetes ที่เริ่มพัฒนาโดยกูเกิล และในปี 2015 กูเกิลก็ตั้งมูลนิธิ Cloud Native Computing Foundation (CNCF) มารับผิดชอบการพัฒนา Kubernetes ต่อ
เวลาผ่านมาเกือบ 3 ปี CNCF มีบริษัทยักษ์ใหญ่เข้าร่วมเป็นสมาชิกมากมาย (รวมถึงคู่แข่งอย่าง Microsoft และ AWS ด้วย) และต่อยอดไปพัฒนาซอฟต์แวร์ตัวอื่นๆ เพิ่มเติมด้วย (เช่น Prometheus)
Google Cloud Platform เปิดตัวบริการ Cloud HSM (Hosted- Security Module) บริการฝากคีย์เข้ารหัสเอาไว้ในการ์ดผ่านคลาวด์ บนมาตรฐานความปลอดภัย FIPS 140-2
ผู้ใช้สามารถเลือกใช้ HSM จากแดชบอร์ดบน Cloud KMS ได้ทันที โดยทาง Google จะดูแลเรื่องการจัดการคลัสเตอร์, การสเกลลิ่ง, อัพเกรดและแพตช์ต่างๆ ให้อัตโนมัติ รับประกันไม่มี downtime พร้อมทำงานร่วมกับ BigQuery, Google Compute Engine, Google Cloud Storage และ DataProc
การใช้ HSM นั้นเป็นเรื่องจำเป็นสำหรับธุรกิจบางประเภทที่ต้องการความปลอดภัยสูง และต้องการการรับประกันว่ากุญแจจะไม่หลุดออกมาจากฮาร์ดแวร์อย่างแน่นอน ทำให้มีข้อจำกัดเพิ่มเติมว่าเมื่อสร้างกุญแจแล้วจะไม่สามารถย้าย region ได้อีกต่อไป
ฟีเจอร์หนึ่งของ Chrome ที่คนไม่รู้จักกันมากนักคือ Headless หรือการรัน Chrome โดยไม่ต้องแสดงหน้าต่างของ Chrome มาให้เราเห็น ตัวอย่างการใช้งาน Headless Chrome มักเป็นงานฝั่งนักพัฒนา เช่น เปิด Chrome มาเพื่อบันทึกภาพหน้าจอหรือบันทึกเว็บเพจเป็น PDF รวมไปถึงงานพวก automate testing ทดสอบการเรนเดอร์เว็บ
การเรียกใช้งาน Headless Chrome สามารถทำได้โดยเรียกผ่านคอมมานด์ไลน์แล้วใส่พารามิเตอร์ chrome --headless ตามมา (รายละเอียด) แต่ล่าสุดกูเกิลเปิดให้เรารัน Headless Chrome บนคลาวด์ได้แล้ว ทำให้เราสามารถเรียกใช้ Chrome ทำงานจากฝั่งเซิร์ฟเวอร์ได้สะดวกมากขึ้น
Spring Framework เป็นเฟรมเวิร์คสำหรับพัฒนาแอพพลิเคชันด้วย Java ที่ได้รับความนิยมมากตัวหนึ่ง ล่าสุดกูเกิลประกาศออก Spring Cloud GCP เวอร์ชัน 1.0 ซอฟต์แวร์ที่ช่วยเชื่อมต่อแอพพลิเคชันที่เขียนด้วย Spring เข้ากับบริการ Google Cloud Platform
โครงการนี้เป็นโครงการย่อยของ Spring Cloud ที่มีเป้าหมายเพื่อผลักดันการใช้ Spring บนคลาวด์ ก่อนหน้านี้โครงการ Spring Cloud มีตัวเชื่อมกับ AWS อยู่แล้ว ฝั่งกูเกิลจึงออกเวอร์ชัน GCP ที่มีลักษณะเดียวกันออกมา
สายสัมพันธ์ของกูเกิลกับบริษัท JetBrains เจ้าของ IntelliJ แนบแน่นมาตั้งแต่เริ่มทำ Android Studio ที่พัฒนาจาก IntelliJ IDEA
ล่าสุดกูเกิลจึงออกปลั๊กอินให้ IntelliJ IDEA ให้สามารถเชื่อมต่อกับบริการบน Google Cloud ได้โดยตรง ปลั๊กอินตัวนี้ชื่อว่า Cloud Tools for IntelliJ สามารถเชื่อมกับ API ของ Google Cloud ได้หลากหลาย เช่น ใช้ Cloud Translation API เพื่อแปลภาษาได้ เป็นต้น
ในการพัฒนาซอฟต์แวร์ทั่วไป ยังสามารถเขียนโค้ดใน IntelliJ IDEA แล้วดีพลอยขึ้น App Engine ได้ทันที หรือจะฝากซอร์สโค้ดไว้ใน Google Cloud Source Repositories แล้วเรียกเข้าตัว IDEA ก็ได้เช่นกัน
หลังข่าว ไมโครซอฟท์ซื้อ GitHub เคยมีข่าวออกมาว่า กูเกิลร่วมแย่งซื้อ GitHub ด้วย แต่ไม่สำเร็จ
ในงาน Google Cloud Next '18 กูเกิลมีประกาศความร่วมมือ Cloud Build กับ GitHub ทำให้ Diane Green ซีอีโอของ Google Cloud มีโอกาสพูดถึงเรื่องนี้ด้วยนิดหน่อย ถึงแม้เธอไม่ได้พูดตรงๆ ว่ากูเกิลเคยแย่งซื้อ GitHub แต่เธอก็บอกว่ารู้สึก "เสียใจ" อยู่บ้างที่เห็น GitHub ไปอยู่กับไมโครซอฟท์ (I'm sort of sad they're at Microsoft) และเธอจะรอดูว่า GitHub จะเป็นอย่างไรต่อไป
Google และ GitHub ประกาศความร่วมมือกันครั้งใหม่ โดย Google ได้นำ Cloud Build เครื่องมือ CI/CD ใน Google Cloud Platform อินทิเกรตเข้ากับ developer workflow ของ GitHub โดยตรง สามารถทำ CI จาก repository ใน GitHub ได้เลย ไม่ต้องสลับเครื่องมือไปมาบ่อย ๆ
ฟีเจอร์แรกคือการแนะนำเครื่องมือ หาก GitHub พบ Dockerfile ที่ยังไม่มี CI/CD ที่สอดคล้องกัน ก็จะแสดงคำแนะนำให้นักพัฒนาเลือกใช้เครื่องมือ CI จาก GitHub Marketplace ได้เลย (ซึ่ง Cloud Build ก็มีใน Marketplace ด้วย)
กูเกิลเปิดตัวชิป Edge TPU สำหรับการพัฒนาปัญญาประดิษฐ์ในอุปกรณ์ IoT ขนาดเล็กเช่นกล้องวงจรปิด สำหรับการตรวจจับการจราจรโดยไม่ต้องส่งภาพกลับไปยังศูนย์กลาง
สำหรับฝั่งซอฟต์แวร์ Cloud IoT Edge เป็นชุดซอฟต์แวร์ที่สามารถรันได้บน Android Things หรือลินุกซ์อื่นๆ โดยมันมาพร้อมกับ Edge ML รันไทม์สำหรับรัน TensorFlow Lite มันสามารถรันบนซีพียู หรือเร่งความเร็วด้วยกราฟิกหรือ TPU ก็ได้
ตัวชิปจะมาพร้อมกับบอร์ดจาก NXP ให้สั่งได้ภายในเดือนตุลาคมนี้
ที่มา - Google Blog
Google ประกาศเพิ่มฟีเจอร์ใหม่ BigQuery ML โดยเป็นการนำฟีเจอร์ machine learning ใส่เข้าไปใน BigQuery ระบบฐานข้อมูลขนาดใหญ่ของ Google Cloud Platform และตอนนี้เริ่มเปิดให้ทดลองใช้งานแบบเบต้าแล้ว
การใส่ machine learning จะช่วยอำนวยความสะดวกให้ผู้ใช้งาน BigQuery สามารถสร้างโมเดล regression ทั้งแบบ linear และ logistic ได้จากในตัวฐานข้อมูลโดยตรง ไม่ต้องย้ายข้อมูลไปมา รวมถึงใช้โมเดลเพื่อทำนายได้เพียงแค่เขียน SQL เพิ่มอีกเล็กน้อยเท่านั้น
บริการ AutoML เปิดตัวตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา ทำให้คนทั่วไปสามารถสร้างโมเดล deep learning ได้โดยไม่ต้องมีความรู้เฉพาะทาง เพียงแต่จัดรูปข้อมูลให้ถูกต้องก็เพียงพอ ตอนนี้บริการเข้าสู่สถานะเบต้าทำให้คนทั่วไปสามารถเข้าใช้งานได้แล้ว โดยเปิดตัวพร้อมกัน 3 บริการได้แก่ AutoML Vision จัดหมวดหมู่ภาพ, AutoML Natural Language จัดหมวดหมู่ข้อความ, และ AutoML Translation สร้างโมเดลแปลภาษา
ค่าบริการ AutoML แตกต่างกันไป Vision ค่าเทรนโมเดลชั่วโมงละ 20 ดอลลาร์, Natural Language ค่าเทรนโมเดลชั่วโมงละ 3 ดอลลาร์, ส่วน Translation ค่าเทรนโมเดลชั่วโมงละ 76 ดอลลาร์ ส่วนค่า predict ก็คิดแยกมาอีกต่างหาก
กูเกิลเปิดตัว Cloud Services Platform รวมชุดของบริการสำหรับรันแอพพลิเคชันยุคใหม่ ที่ทำงานได้ทั้งบนคลาวด์ของกูเกิล และในเซิร์ฟเวอร์ขององค์กรแบบ on-premise เพื่อให้สามารถย้ายงานไปมาได้สะดวกสำหรับลูกค้าที่ต้องการทำ hybrid cloud
แกนหลักของ Cloud Services Platform คือ Kubernetes ซอฟต์แวร์จัดการคลัสเตอร์ และ Istio ซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สที่ช่วยจัดการไมโครเซอร์วิสบนคลาวด์ การรัน Kubernetes จะรันอยู่บน Google Kubernetes Engine (GKE) บนคลาวด์ หรือจะรันบนเซิร์ฟเวอร์ตัวเองก็ได้ โดยกูเกิลออก GKE On-Prem มาเพิ่มให้ สถานะยังเป็นรุ่นอัลฟ่า, ส่วน Istio ก็ประกาศเวอร์ชัน 1.0 และออก Managed Istio สำหรับรันบนคลาวด์ GKE มาให้เช่นกัน
กูเกิลใช้เวทีงาน Google Cloud Next '18 เปิดตัวบริการใหม่ Cloud Build สำหรับการทำ Continuous Integration/Continuous Delivery (CI/CD)
Cloud Build เป็นบริการในตระกูล Google Cloud Platform ที่ช่วยให้เราคอมไพล์ซอฟต์แวร์และดีพลอยอย่างอัตโนมัติ เชื่อมโยงจากซอร์สโค้ดของเราบน GitHub, Bitbucket หรือ Cloud Source Repositories ของกูเกิลเอง จัดการผ่านเครื่องมืออย่าง Maven/Gradle หรือจะรันในคอนเทนเนอร์ Docker ก็ได้
Cloud Build ยังช่วยอำนวยความสะดวกในการวิเคราะห์ข้อมูลหากเกิดปัญหาต่างๆ ระหว่าง build งาน มีระบบ analytics ช่วยให้เราวิเคราะห์สาเหตุได้เร็วขึ้น
แนวทางการบริหารระบบเซิร์ฟเวอร์ยุคใหม่มีคำว่า Serverless ที่ไม่ต้องเปิดเซิร์ฟเวอร์ค้างไว้ แต่ให้ระบบทำงานต่อเมื่อมีเหตุการณ์ที่ระบุเกิดขึ้น (event-driven) ซึ่งผู้ให้บริการคลาวด์รายใหญ่ทุกเจ้าก็มีบริการแบบนี้ เช่น Amazon Lambda ที่เปิดมาตั้งแต่ปี 2014 หรือ Azure Functions ในปี 2016
ฝั่งกูเกิลออก Cloud Functions ในปี 2016 เช่นกัน ก่อนเปิดให้ทดสอบทั่วไปในปี 2017 และมาถึงปี 2018 ก็ได้เวลาเปิดบริการเต็มรูปแบบ (generally available หรือ GA)
Google App Engine ประกาศรองรับภาษาโปรแกรมแบบ standard environment เพิ่มเติมอีก 2 เวอร์ชันคือ Python 3.7 และ PHP 7.2
ปกติแล้ว App Engine มีสภาพแวดล้อมการทำงาน 2 แบบคือ standard environment ที่ใช้รันไทม์จากกูเกิลโดยตรง ราคาถูกกว่า กับ flexible environment ที่ผู้ใช้ติดตั้งรันไทม์เอง ราคาแพงกว่า
Google ประกาศปรับปรุงระบบซัพพอร์ตของ Google Cloud Platform ใหม่ เพื่อให้จัดการกับเหตุการณ์น่าสงสัยได้เร็วขึ้น หลังจากที่มีลูกค้าที่ถูกระบบป้องกันการโกง (fraud detection) เข้าใจผิดระบุว่าเป็นกิจกรรมผิดปกติจนทำให้บัญชีใช้งานไม่ได้บ่นลงโพสต์บน Medium
ปัญหาหนึ่งของ GCP คือตัวแพลตฟอร์มนั้นพึ่งพาระบบอัตโนมัติมากจนทำให้ลูกค้าที่พบปัญหาฉุกเฉินอย่างเช่นบัญชีกำลังจะโดนระงับไม่สามารถติดต่อซัพพอร์ตที่เป็นมนุษย์ได้ Google จึงปรับปรุงระบบซัพพอร์ตเมื่อบัญชีของผู้ใช้ระบุกิจกรรมที่ผิดปกติให้ผู้ที่พบปัญหาเหล่านี้ติดต่อซัพพอร์ตที่เป็นมนุษย์ได้ง่ายขึ้น
Google Cloud Launcher สถานที่ซื้อขายแอพพลิเคชั่นบนคลาวด์ของ Google จากผู้พัฒนาภายนอก ได้ถูกรีแบรนด์ใหม่แล้วโดยเปลี่ยนเป็นชื่อ Google Cloud Platform Marketplace หรือ GCP Marketplace พร้อมกับเพิ่มแอพพลิเคชั่นแบบคอนเทนเนอร์ ทั้งโอเพ่นซอร์สและเชิงพาณิชย์เข้ามาด้วย
สำหรับแอพแบบคอนเทนเนอร์บน GCP Marketplace ผู้ใช้สามารถ click-to-deploy เพื่อทำการดีพลอยแอพไปยัง Google Kubernetes Engine หรือบริการ Kubernetes อื่น ๆ ได้เลย และคอนโซลของ Kubernetes Engine นั้นก็มีหน้าต่าง GCP Marketplace เพื่อเลือกแอพมาดีพลอยได้ในตัวด้วย
Google ประกาศโครงการวางสายเคเบิลใต้มหาสมุทรแอตแลนติกจากหาด Virginia ของสหรัฐไปยังชายฝั่งแอตแลนติกของประเทศฝรั่งเศส สำหรับการใช้งานและเชื่อมต่อ Google Cloud Platform ระหว่างสหรัฐและยุโรปที่ Google ลงทุนเองใช้เอง
โครงการนี้ Google ตั้งชื่อว่า Dunant ตาม Henri Dunant (อ็องรี ดูนังต์) ผู้ก่อตั้งคณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศและผู้ชนะรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพคนแรก หลังก่อนหน้านี้มีการใช้ชื่อ Curie ตามชื่อนักวิทยาศาสตร์ Marie Curie ในเคเบิลใต้น้ำที่เชื่อมระหว่างลอสแองเจลิสกับชิลี พร้อมระบุว่าจะตั้งชื่อเคเบิลใต้น้ำที่ใช้งานเองในลักษณะนี้ตามตัวอักษรต่อไปด้วย
ปัญหาสำคัญของที่ทำงานในยุค Bring Your Own Device (BYOD) คือแอดมินขององค์กรไม่มีข้อมูลมากนักว่ามีอุปกรณ์ใดอยู่ในองค์กรบ้าง และอาจเป็นปัญหากับระบบความปลอดภัยขององค์กรได้
กูเกิลแก้ปัญหานี้ด้วยการออกเครื่องมือชื่อว่า Endpoint Verification (มีทั้งในรูปของโปรแกรมแบบเนทีฟบน Windows, macOS และส่วนขยายสำหรับ Chrome) เพื่อให้แอดมินองค์กรสามารถดูข้อมูลของเครื่องที่ล็อกอินเข้ามาใช้งานได้มากขึ้น เช่น ชื่อเจ้าของเครื่อง, เวอร์ชันของระบบปฏิบัติการ, สถานะการอนุมัติให้เชื่อมต่อเข้าระบบ, เวอร์ชันของไฟล์ policy ที่ใช้เพื่อล็อกอิน
กูเกิลประกาศจับมือกับ Unity เป็นพันธมิตรเชิงยุทธศาสตร์ สร้างบริการและเครื่องมือต่างๆ เพื่ออำนวยความสะดวกให้ผู้สร้างเกมมากขึ้น
กูเกิลใช้คำว่า "Connected Games" บ่งชี้ถึงเกมยุคปัจจุบันที่เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตตลอดเวลา ครอบคลุมทั้งเกมแบบเล่นคนเดียวและเกมมัลติเพลยเยอร์
Google Cloud Platform (GCP) ประกาศเปิดบริการในเขตฟินแลนด์ (europe-north1) นับเป็นเขต (region) ที่ 16 ของ GCP และเขตที่ 5 ของยุโรปถัดจากเนเธอร์แลนด์ เบลเยียม ลอนดอน แฟรงค์เฟิร์ต ช่วยให้เข้าถึงผู้ใช้งานในเขตยุโรปเหนือและยุโรปตะวันออกได้เร็วขึ้น
สิ่งที่น่าสนใจคือ GCP ใช้ศูนย์ข้อมูลของกูเกิลในเมือง Hamina ซึ่งเป็นศูนย์ข้อมูลที่ตั้งมานานแล้ว แต่มีเทคโนโลยีระบายความร้อนที่ทันสมัย เพราะใช้การสูบน้ำทะเลที่เย็นอยู่แล้ว มาเป็นตัวระบายความร้อนของเซิร์ฟเวอร์ (ดูคลิปประกอบ) ช่วยลดพลังงานที่ต้องใช้ลง และสร้างความยั่งยืน
ลูกค้าของ GCP ในเขตฟินแลนด์มีหลากหลาย ทั้ง HMD Global และ Rolls-Royce เป็นต้น
Cisco ประกาศความร่วมมือ Google Cloud พัฒนาโซลูชันไฮบริดคลาวด์ร่วมกัน ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2017 แต่หลังจากนั้นข่าวของความร่วมมือนี้ก็เงียบหายไป
ในงาน Cisco Live! 2018 เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ทั้งสองบริษัทประกาศอัพเดตแผนการนี้ โดย Diane Greene ซีอีโอของ Google Cloud มาร่วมขึ้นเวทีด้วย
ประเด็นหลักของแผนการนี้คือการเชื่อมต่อระบบคลาวด์แบบ on-premise ที่ใช้โซลูชันของ Cisco เข้ากับบริการ Google Cloud โดยเชื่อมต่อ Cisco Container Platform (CCP) เข้ากับ Google Kubernetes Engine ในระดับของโครงสร้างพื้นฐานด้วย Istio ของกูเกิล เพื่อให้ย้ายแอพที่รันในคอนเทนเนอร์ข้ามไปมาระหว่างกันได้ง่าย
Google Cloud ประกาศลดราคาค่าใช้ชิปกราฟิกทุกรุ่น ตั้งแต่ K80, P100, และ V100 เมื่อเรียกใช้แบบชั่วคราว (preemptible) ทำให้ราคาตอนนี้เหลือเพียงประมาณ 70% ของราคาเต็มเท่านั้น
ราคาใหม่ทำให้ K80 เหลือชั่วโมงละ 0.135 ดอลลาร์ (4.3 บาท), P100 เหลือชั่วโมงละ 0.43 ดอลลาร์ (14 บาท), และ V100 เหลือชั่วโมงละ 0.74 ดอลลาร์ (24 บาท) เท่ากันหมดทุกโซน
เครื่องแบบ preemptible อาจถูกสั่งปิดเครื่องได้ทุกเวลา และการเปิดเครื่องทิ้งไว้จะเปิดได้ไม่เกิน 24 ชั่วโมง จึงเหมาะกับการใช้สำหรับงานชั่วคราว เช่นการฝึกโมเดล deep learning เท่านั้น โดยโมเดลการนำเครื่อง "เหลือใช้" มาหาเงินของ Google Cloud จะต่างจาก AWS ที่มีราคาล่วงหน้าแน่นอน ขณะที่ AWS Spot Instance นั้นต้องอาศัยการประมูลเครื่องที่เหลือเอา
Google App Engine รองรับภาษา Node.js มาตั้งแต่ปี 2016 แต่อยู่ในรูป flexible environment คือรันแอพใน Docker อีกทีหนึ่ง (นำรันไทม์มาเอง)
เวลาผ่านไปสองปี ในที่สุดกูเกิลก็ประกาศรองรับ Node.js แบบ standard environment แล้ว สามารถเรียกใช้รันไทม์จากกูเกิลได้โดยตรง ข้อดีคือราคาของ standard environment ถูกกว่า flexible environment มาก (แถมบางครั้งก็ฟรีด้วยซ้ำ) และไม่ต้องเสียเวลากับการ deploy/scale ด้วยตัวเอง เพราะระบบของ App Engine ช่วยจัดการให้เราเกือบหมด
กูเกิลยังบอกว่าปรับแต่งไลบรารี Node.js ให้เชื่อมต่อกับบริการอื่นๆ ของตัวเอง เช่น Cloud Datastore รวมถึงการทำ debugging/tracing ด้วย