ในงาน Google I/O 2014 ปีที่แล้ว กูเกิลโชว์ Google Cloud Monitoring บริการตรวจสอบอัพไทม์และประสิทธิภาพของแอพบนกลุ่มเมฆ (เป็นผลงานของบริษัท Stackdriver ที่กูเกิลซื้อมาอีกทอดหนึ่ง)
วันนี้ Cloud Monitoring เปิดให้ทดสอบแบบเบต้าแล้ว โดยลูกค้า Cloud Platform ทุกคนมีสิทธิใช้เครื่องมือตัวนี้ได้ฟรี ความสามารถของมันมีตั้งแต่การดูสถานะโดยรวมของระบบ อัพไทม์ อัตราการใช้งานตามโควต้า มีปัญหาอะไรเกิดขึ้นบ้าง และประสิทธิภาพของแอพที่รันอยู่
ใครที่เป็นลูกค้า App Engine หรือ Compute Engine ก็สามารถทดสอบกันได้เลยครับ
ในงาน Google I/O เมื่อกลางปีนี้ กูเกิลโชว์เทคโนโลยี Cloud Dataflow ซึ่งเป็นการประมวลผลข้อมูลจำนวนมากบนกลุ่มเมฆ โดยเป็นการพัฒนาจากแนวคิด MapReduce ที่กูเกิลเป็นคนสร้างขึ้นตั้งแต่ปี 2004 ให้เหมาะสมกับยุคสมัย
ที่ผ่านมา Cloud Dataflow ยังมีสถานะเป็นแค่ของโชว์เท่านั้น วันนี้กูเกิลเปิด Cloud Dataflow SDK ให้ลองใช้งานแล้ว โดยเริ่มต้นจากภาษา Java ก่อนเป็นอย่างแรก และจะมี Python 3 ตามมาเป็นลำดับต่อไป (สถานะของ Cloud Dataflow ในปัจจุบันคือเป็นรุ่น alpha)
Google Cloud Platform บริการกลุ่มเมฆของกูเกิล ประกาศรองรับซอฟต์แวร์เซิร์ฟเวอร์ของค่ายไมโครซอฟท์เพิ่มเติม ดังนี้
กูเกิลจัดงาน Google Cloud Platform Live เพิ่มฟีเจอร์ให้ระบบคลาวด์อีกหลายอย่าง
กูเกิลประกาศข่าวซื้อบริษัท Firebase ผู้ให้บริการโฮสต์สำหรับซิงก์ข้อมูลแบบเรียลไทม์
Firebase ขายบริการกลุ่มเมฆสำหรับนักพัฒนาแอพที่ต้องการซิงก์ข้อมูลจำนวนมากๆ แต่ไม่อยากทำระบบเซิร์ฟเวอร์เอง ก็สามารถเช่าเซิร์ฟเวอร์ของ Firebase สำหรับการซิงก์ข้อมูลแทนได้ (ราคาเริ่มต้นที่ 49 ดอลลาร์ต่อเดือน มีบริการฟรีให้ใช้งาน จำกัดที่ 50 การเชื่อมต่อ)
ปัจจุบัน Firebase มีลูกค้าเป็นนักพัฒนามากกว่า 1 แสนราย ตัวไลบรารีใช้งานได้กับแพลตฟอร์มดังๆ เช่น iOS, Android, JavaScript (ยังมี REST API ให้เลือกใช้)
สมรภูมิกลุ่มเมฆยังเปิดสงครามราคากันอย่างต่อเนื่อง ล่าสุดกูเกิลออกมาเขี่ยลูกเปิดเกมอีกรอบ โดยหั่นราคา Google Compute Engine ลงเฉลี่ย 10% โดยมีผลกับเครื่องทุกขนาดในทุกภูมิภาค
ผลของการหั่นราคารอบนี้ทำให้ instance บางประเภทถูกลงพอสมควร เช่น High Mem ในเขตสหรัฐอเมริกา ลดจาก 0.082 ดอลลาร์ มาอยู่ที่ 0.074 ดอลลาร์ (ดูตารางประกอบ)
กูเกิลบอกว่าราคาของพลังประมวลผลนั้นถูกลงเรื่อยๆ ตามหลัก Moore's Law และหวังว่าการลดราคาครั้งนี้จะจูงใจให้นักพัฒนามาใช้บริการกลุ่มเมฆมากขึ้น ช่วยลดภาระการดูแลระบบลง
ต้องรอดูว่าคู่แข่งทั้ง AWS และ Azure จะลดราคาตามกันเมื่อไรครับ
คนที่ติดตามงานประกวดสตาร์ตอัพในบ้านเรา คงเห็นรายชื่อของรางวัลเป็นเครดิตสำหรับบริการกลุ่มเมฆ Azure อยู่บ่อยๆ (ช่วงหลังเริ่มมี AWS เข้ามาบ้างแล้ว) ล่าสุดกูเกิลก็กระโดดเข้ามาในเกมนี้กับโครงการ Cloud Platform for Startups
โครงการนี้กูเกิลจะแจกเครดิตสำหรับใช้ Google Cloud Platform มูลค่าสูงถึง 100,000 ดอลลาร์ มีอายุ 1 ปี สามารถใช้ได้กับบริการทุกตัวใต้แบรนด์ Google Cloud Platform แถมยังได้บริการหลังขายแบบเต็มที่เหมือนกับซื้อใช้เอง (24 ชั่วโมง 7 วัน) โดยผู้มีสิทธิต้องเป็นสตาร์ตอัพที่ระดมทุนได้น้อยกว่า 5 ล้านดอลลาร์ และมีรายรับน้อยกว่าปีละ 500,000 ดอลลาร์
กูเกิลใกล้ปิดดีลเข้าซื้อ Zync บริษัทผู้ให้บริการแพลตฟอร์มสำหรับนักออกแบบมืออาชีพบนกลุ่มเมฆ แต่ไม่ระบุตัวเลขการเข้าซื้อออกมา
Zync เป็นบริษัทสัญชาติอเมริกาที่ก่อตั้งเมื่อปี 2011 โดยมีผลิตภัณฑ์ตัวเด่นคือ Zync Reader บริการเรนเดอร์กราฟิกทั้ง 2D และ 3D รวมถึงสามารถเก็บไว้บนกลุ่มเมฆได้ด้วย โดยมีผลงานคือทีมผลิตนำไปใช้กับการสร้างภาพยนตร์อย่าง Transformer, Looper, และ Star Trek: Into Darkness อีกด้วย
Belwadi Srikanth ผู้จัดการฝ่ายผลิตภัณฑ์ของ Google Cloud Platform ระบุว่าการมาของ Zync จะช่วยเติมเต็มในส่วนของบริการเรนเดอร์กราฟิก ซึ่งทีผ่านมากูเกิลไม่มีในส่วนนี้มาก่อน แน่นอนว่าหลังการเข้าซื้อเสร็จสิ้น ทีมของ Zync จะเข้าไปรวมกับ Google Cloud Platform ครับ
ผ่านไปแล้วกับฟุตบอลโลก 2014 ที่ในที่สุดเยอรมนีก็ได้แชมป์โลกไป หากพูดถึงฟุตบอลโลกและวงการไอทีก็คงหนีไม่พ้นที่จะพูดถึงการทำนายผลการแข่งขันตั้งแต่รอบ 16 ทีมสุดท้ายเป็นต้นมาโดย Cortana จากไมโครซอฟท์ (เบื้องหลังคือบริการ Bing Predicts) ที่ก่อนหน้ารอบชิงชนะเลิศและรอบชิงที่สามนั้นทายถูกมาตลอด แต่ท้ายที่สุด Cortana ทายผิดไป 1 ครั้ง คือรอบชิงที่สามนั้นทายว่าบราซิลจะชนะแต่สุดท้าย
กูเกิลเปิดตัว Google Cloud Platform รุ่นใหม่ อัพเดตทั้ง API เดิมและเปิดบริการใหม่เพิ่มเติมอีกสองบริการ ได้แก่ Cloud Dataflow และ Cloud Monitoring
โครงการ CoreOS เปิดตัวช่วงปลายปีที่แล้วโดยมีแนวคิดจากระบบปฏิบัติการสมัยใหม่ที่มี API ให้ใช้งานชัดเจน แม้โครงการจะเริ่มต้นขึ้นจากนักพัฒนาเพียงกลุ่มเล็กๆ แต่ก็ได้รับความสนใจเป็นวงกว้าง ตอนนี้กูเกิลก็รองรับ CoreOS บน Google Compute Engine (GCE) เป็นทางการแล้ว
ต่อจากข่าวกูเกิลสร้างศูนย์ข้อมูลที่ไต้หวันสำหรับการให้บริการ Cloud Platform วันนี้ศูนย์ข้อมูลแห่งดังกล่าวก็พร้อมให้ใช้งานแล้วครับ
หลังจากที่มีเพียงสองประเทศคือสหรัฐอเมริกา และยุโรปให้เลือกใช้งานสำหรับบริการ Cloud Platform มาตั้งแต่เปิดตัว ตอนนี้กูเกิลก็ได้เพิ่มเติมศูนย์ข้อมูลของ Cloud Platform สำหรับให้บริการประเทศในย่านเอเชียแปซิฟิก เพื่อเพิ่มความเร็วในการเข้าถึงข้อมูลจากประชากรเกือบครึ่งโลกในย่านนี้ โดยจะมี 2 โซนให้เลือกเช่นเดียวกับศูนย์ข้อมูลในภูมิภาคอื่นๆ และที่สำคัญคือ ศูนย์ข้อมูลใหม่นี้ใช้ซีพียูรุ่น Ivy Bridge ที่ใหม่กว่าศูนย์ข้อมูลเดิมที่ยังคงเป็น Sandy Bridge อยู่ครับ
Google Compute Engine เปิดให้ผู้ใช้วงจำกัดสามารถเลือกใช้ Red Hat Enterprise Linux มาระยะหนึ่ง ตอนนี้ก็เปิดให้เลือกใช้งานได้ทุกคนแล้ว โดยคิดราคาเพิ่มชั่วโมงละ 0.06 ดอลลาร์ต่อชั่วโมงสำหรับเครื่องที่มีซีพียูน้อยกว่า 8 คอร์ และ 0.13 ดอลลาร์สำหรับเครื่องที่มีซีพียู 8 คอร์หรือมากกว่า
ทางด้าน Red Hat ก็เปิดให้ลูกค้าที่ซื้อไลเซนส์ไว้แล้วสามารถย้ายไลเซนส์ของตัวเองไปรันบน Google Compute Engine ได้ต่อและยังรับซัพพอร์ตเหมือนรันในเครื่องของตัวเองต่อไป โดยสามารถจัดการผ่าน Red Hat Cloud Access ย้ายเครื่องเข้าออกจากศูนย์ข้อมูลตามความต้องการ โดยก่อนหน้านี้มีเพียง Amazon Web Service เท่านั้นที่รองรับบริการนี้
กูเกิลเพิ่งลดกระหน่ำพื้นที่ Google Drive ไปไม่นาน คราวนี้เป็นคิวของ Google Cloud Platform สำหรับนักพัฒนาบ้าง
กูเกิลยังประกาศส่วนลดพิเศษสำหรับการใช้งานที่มี workload ค่อนข้างคงที่ โดยถ้าใช้ workload เกิน 25% ต่อเดือนจะได้ส่วนลดในอัตราก้าวหน้าเพิ่มเติมด้วย
เว็บ Infoworld ออกรายงานวัดประสิทธิภาพของบริการประมวลผลจากเซิร์ฟเวอร์ในกลุ่มเมฆ เพื่อวัดประสิทธิภาพราคาของแต่ละราย โดยวัดจากสามเจ้าหลัก ได้แก่ อเมซอน, กูเกิล, และไมโครซอฟท์
เครื่องที่ใช้ของทั้งสามเจ้าแบ่งเป็น (รายการเครื่องเป็น Amazon EC2, Google Compute Engine, และ Windows Azure ตามลำดับ)
เครื่องประเภท 8 คอร์ ได้แก่ m3.2xlarge แรม 30GB, n1-standard-8 แรม 30GB, Extra Large VM แรม 14GB
ทั้งหมดทดสอบด้วย Dacapo Benchmark ชุดทดสอบจาวา ผลทดสอบคือ
Google Cloud SQL เปิดบริการเป็นส่วนเสริมสำหรับ Google App Engine เพื่อให้นักพัฒนาที่ต้องการเข้าถึง MySQL เต็มรูปแบบสามารถใช้บริการที่ขยายไปได้เรื่อยๆ แต่ก่อนหน้านี้บริการนี้อยู่ในสถานะการให้บริการอย่างจำกัด (limited preview) ตอนนี้ Cloud SQL ก็เข้าสู่สถานะมีให้บริการทั่วไป (generally available - GA) แล้ว
การให้บริการเป็นการทั่วไปครั้งนี้กูเกิลจะรับประกัน uptime ให้ 99.95% และขยายขนาดฐานข้อมูลใหญ่ที่สุดเป็น 500 กิกะไบต์
BigQuery เป็นบริการฐานข้อมูลขนาดใหญ่ของกูเกิล มันใช้หลักการ big data ที่สร้างตารางข้อมูลที่ไม่ซับซ้อนแต่มีขนาดใหญ่มากๆ (ระดับ 1 พันล้านแถว) ซึ่งต่างไปจากแนวทางของ relational database มาก
BigQuery คือการออกแบบคำสั่งคล้ายๆ SQL (แต่ฟีเจอร์ไม่ครบเท่า SQL) เพื่อให้ค้นหรือวิเคราะห์ข้อมูลในตารางได้ง่ายๆ และกูเกิลทำหน้าเว็บให้เราป้อนคำสั่ง BigQuery แล้วรับข้อมูลกลับได้จากหน้าเว็บเลย (อัพโหลด/ดาวน์โหลดข้อมูลผ่าน CSV)