Tags:
Node Thumbnail

กูเกิลเกิดตัวบริการ Cloud Services Platform (CSP) เข้าสู่สถานะเบต้า ทำให้องค์กรที่ต้องการติดตั้ง Kubernetes แต่ไม่ต้องการดูแลเองทั้งการคอนฟิกและการอัพเกรด สามารถใช้บริการของกูเกิลมาดูแลให้ได้

ชิ้นส่วนสำคัญของ CSP คือ Google Kubernetes Engine (GKE) On-Prem ร่วมกับโมดูลอื่นเช่น CSP Config Management ที่ทำให้กำหนดนโยบายจากศูนย์กลางทีเดียว การติดตั้งแอปเพิ่มสามารถใช้บริการ GCP Marketplace เพื่อดึงแอปมารันบนเซิร์ฟเวอร์ในองค์กรได้เลย ขณะที่การจัดการซอฟต์แวร์โครงสร้างพื้นฐานนั้นจัดการโดยกูเกิล

กลุ่มเป้าหมายของ CSP เป็นลูกค้าที่ไม่ต้องการให้ข้อมูลออกจากศูนย์ข้อมูลของตนเอง เช่น ธุรกิจการเงินธนาคาร ลูกค้าที่เริ่มใช้ไปแล้วเช่น KeyBank

Tags:
Node Thumbnail

Google Cloud ภายใต้ยุคซีอีโอคนใหม่ Thomas Kurian เริ่มเดินหน้าซื้อกิจการมาเสริมทัพแล้ว

บริษัทแรกที่ซื้อมาในยุคของ Kurian คือ Alooma ผู้เชี่ยวชาญด้านการย้ายข้อมูล (data migration) ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญให้ลูกค้าองค์กรย้ายฐานข้อมูลจากเซิร์ฟเวอร์เดิมมาสู่คลาวด์ ซอฟต์แวร์ของ Alooma ช่วยอำนวยความสะดวกให้องค์กรที่มีฐานข้อมูลจำนวนมากๆ กระจัดกระจายอยู่ตามฝ่ายต่างๆ สามารถย้ายขึ้นคลาวด์ได้ง่ายขึ้น

กูเกิลอธิบายว่าซื้อ Alooma เข้ามาเพื่อต่อพ่วงกับบริการฐานข้อมูลบนคลาวด์ของตัวเอง เช่น Cloud Spanner และ Cloud Bigtable รวมถึงประกาศว่าจะเดินหน้าซื้อกิจการต่อไปอีก

Tags:
Node Thumbnail

Google ประกาศเพิ่มฟีเจอร์ใหม่ให้ Google Compute Engine คือระบบ scheduled snapshot หรือระบบสั่งการ snapshot ตัว persistent disk ของ GCE แบบตั้งเวลาล่วงหน้าให้ทำงานได้อัตโนมัติ เพื่อลดความผิดพลาดและประหยัดเวลาในการแบคอัพระบบ

ระบบ snapshot แบบตั้งเวลาของ GCE สามารถตั้งได้ตั้งแต่ระดับชั่วโมง, วัน และสัปดาห์ เช่น สร้าง snapshot ทุก 6 ชั่วโมง, สร้าง snapshot ทุกวันจันทร์, พุธ และศุกร์ รวมถึงสามารถตั้ง retention policy เพื่อให้ระบบลบ snapshot อัตโนมัติตามที่ตั้งไว้ได้ด้วย ซึ่งระบบ snapshot นี้สามารถใช้งานกับ single disk หรือ multiple disk ใน region เดียวกันได้

Tags:
Node Thumbnail

Google Cloud ประกาศเปิดตัวฟีเจอร์ BigQuery sandbox ระบบสำหรับทดสอบ BigQuery โดยไม่มีค่าใช้จ่าย และไม่ต้องใส่บัตรเครดิตด้วย เพื่อให้ผู้ใช้เรียนรู้ BigQuery ได้ง่ายขึ้นโดยไม่มีข้อจำกัดเรื่องค่าใช้จ่ายเข้ามา

แม้จะเปิดให้ใช้งานฟรี แต่ BigQuery sandbox ก็มีฟีเจอร์ทั่วไปเหมือนผู้ใช้จ่ายเงิน ไม่ว่าจะเป็นพลังในการประมวลผล, รันคำสั่ง query ด้วยภาษา SQL บน dataset ทั้งขนาดใหญ่และเล็ก, มี Data Studio ระบบ visualization ข้อมูลให้ใช้งาน และรองรับความสามารถใหม่ ๆ อย่างเช่น Machine Learning หรือ Geospatial Information Systems ด้วย

Tags:
Node Thumbnail

Google ประกาศว่าตอนนี้ Cloud Firestore บริการฐานข้อมูล serverless เก็บเอกสารแบบ NoSQL ได้เข้าสู่สถานะ GA หรือพร้อมให้บริการโดยทั่วไปแล้ว พร้อมประกาศขยายการให้บริการเพิ่มเติม, ลดราคาสำหรับ regional instance รวมถึงอินทิเกรตกับ Stackdriver สำหรับการมอนิเตอร์ได้ด้วย

Cloud Firestore เป็นระบบฐานข้อมูลแบบ cloud-native ที่ Google จัดการระบบให้ โดยออกแบบมาใช้สำหรับงานเก็บ, ซิงค์ และ query ข้อมูลสำหรับเว็บ, มือถือ และแอพ IoT โดยการออกแบบ Cloud Firestore โฟกัสไปที่การช่วยทำให้การพัฒนาแอพง่ายขึ้น ตัวฐานข้อมูลรองรับการซิงค์, ทำงานแบบออฟไลน์ และ ACID transactions

Tags:
Node Thumbnail

Google Cloud เปิดตัวรันไทม์สำหรับภาษา Go สำหรับการใช้งานบน Cloud Functions บริการคลาวด์แบบ serverless ของ Google เพิ่มเติมจากรันไทม์ Node.js และ Python ในปัจจุบัน

Google ระบุว่า Cloud Functions รองรับภาษา Go เวอร์ชันล่าสุด 1.11 รวมถึงแพคเกจอื่น ๆ ของ Go ผ่าน Go modules ด้วย โดยผู้ใช้เพียงสร้างไฟล์ go.mod ไว้ ซึ่งเมื่อดีพลอยลง Cloud Functions ระบบก็จะติดตั้งแพคเกจที่ระบุไว้ในไฟล์ให้

ตอนนี้ Cloud Functions ได้เริ่มเปิดให้ผู้ใช้ทดสอบรันไทม์ Go 1.11 เวอร์ชันเบต้าแล้ว รายละเอียดเพิ่มเติมอ่านได้จาก Google Cloud Docs

Tags:
Node Thumbnail

Google Cloud เปิดตัว Feast เครื่องมือเก็บฟีเจอร์แบบโอเพ่นซอร์สเพื่อการจัดการ, เก็บ และค้นพบฟีเจอร์สำหรับการใช้ในโปรเจค machine learning โดย Google ระบุว่าเป็นผลงานการพัฒนาร่วมกันระหว่างทีมจาก Go-Jek แอพเรียกรถจากอินโดนีเซียและ Google Cloud

การพัฒนา Feast เพื่อเป็นเครื่องมือเก็บฟีเจอร์นี้ เนื่องจากเป็นงานที่ท้าทายสำหรับทีมวิศวกรด้าน machine learning ที่จะต้องพัฒนาแพลตฟอร์มเพื่อการเก็บฟีเจอร์เป็นแพลตฟอร์มเดียวที่จะต้องยืดหยุ่นเพียงพอ คือทีมสามารถนำฟีเจอร์ลงไปเก็บ และนำไปใช้กับโปรเจค machine learning อื่น ๆ ได้ด้วย

Tags:
Node Thumbnail

Google Cloud Platform ประกาศให้บริการชิปกราฟิกรุ่นล่าสุด NVIDIA Tesla T4 โดยมีจุดแข็งที่แรมเยอะกว่าในราคาที่ถูกว่า โดยราคาในสหรัฐฯ 0.95 ดอลลาร์ต่อชั่วโมงที่มาพร้อมกับแรม GDDR6 16GB

ชิปกราฟิกที่มาพร้อมกับแรม 16GB ก่อนหน้านี้มี Tesla V100 ที่ราคา 2.48 ดอลลาร์ต่อชั่วโมง และ Tesla P100 ที่ราคา 1.46 ดอลลาร์ต่อชั่วโมง

ในแง่พลังประมวลผล Tesla T4 มีพลังประมวลผลต่ำกว่า Tesla V100 เกือบครึ่งๆ แต่รองรับตัวเลขความละเอียดต่ำทั้ง FP16, INT8, และ INT4 ทำให้หากออปติไมซ์โมเดลดีๆ ก็อาจจะได้ประสิทธิภาพไม่แย่ไปนัก

Tags:
Node Thumbnail

Google ได้ทดสอบ Python 3.7 พร้อมกับ PHP 7.2 เป็น standard environment บน App Engine มาตั้งแต่เดือนกรกฎาคม ซึ่งตอนนี้ Google ก็ได้ประกาศว่า Python 3.7 บน Google App Engine เข้าสู่สถานะ GA พร้อมให้บริการลูกค้าโดยทั่วไปแล้ว

Google ระบุว่า Python 3.7 นี้จะเป็นรันไทม์ในยุคที่สองของ App Engine เหมือนกับ Node.js 8 และ PHP 7.2 โดยรันไทม์เหล่านี้จะทำงานบน gVisor เทคนิคการแยกคอนเทนเนอร์ให้ขาดจากกันเหมือน VM ที่ทำให้ใช้เวลาในการดีพลอยน้อยลง

Tags:
Node Thumbnail

Google ประกาศความก้าวหน้าของ GCP region ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก โดยเปิดตัว region ใหม่ที่ฮ่องกงวันนี้ และเตรียมสร้างอีกแห่งในจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย โดยมีแผนให้บริการภายในปี 2020

สำหรับศูนย์ข้อมูลที่ฮ่องกงหรือ asia-east2 เป็นศูนย์ข้อมูลแห่งที่ 18 ของ GCP ซึ่งมีทั้งหมด 3 availability zone เพื่อให้บริการธุรกิจในพื้นที่ ซึ่งการโฮสต์แอพพลิเคชั่นไว้บนศูนย์ข้อมูลนี้จะเข้าถึงผู้ใช้ในฮ่องกงได้โดยใช้เวลาเพียง 14 มิลลิวินาทีเท่านั้น ส่วนผู้ใช้ในเวียดนามและฟิลิปปินส์ก็จะได้รับผลพลอยได้คือ latency จะลดลงราว 25-30%

Tags:
Node Thumbnail

Istio เป็นซอฟต์แวร์สำหรับจัดการคลัสเตอร์คอนเทนเนอร์ หรือที่เรียกกันว่า service mesh ที่รันอยู่เหนือ Kubernetes อีกชั้นหนึ่ง ทำหน้าที่มอนิเตอร์, เก็บล็อก, จัดการความปลอดภัย ฯลฯ เพื่อให้ระบบทำงานสมบูรณ์มากขึ้น

Istio เป็นโครงการโอเพนซอร์สที่พัฒนาโดยกูเกิล ร่วมกับ IBM และ Red Hat มาตั้งแต่ปี 2017 และเริ่มใช้งานแพร่หลายในวงการ Kubernetes มาได้สักระยะหนึ่ง (Istio แปลว่า แล่นเรือ ในภาษากรีก)

ล่าสุดกูเกิลประกาศว่า Google Kubernetes Engine (GKE) บริการคลัสเตอร์บน Google Cloud Platform เตรียมรองรับ Istio แล้ว โดยจะเปิดบริการรุ่นเบต้าในเดือนหน้า

Tags:
Node Thumbnail

Bloomberg วิเคราะห์การเปลี่ยนตัวซีอีโอ Google Cloud แบบเซอร์ไพร์สวงการ ว่าเป็นเพราะ Diane Green ซีอีโอคนปัจจุบันทำผลงานได้ไม่ค่อยดีนัก

กูเกิลพยายามบุกโลก enterprise มานานแต่ไม่ค่อยประสบความสำเร็จเท่าที่ควร เหตุผลสำคัญมาจากวิธีคิดของกูเกิลที่จับกลุ่มลูกค้าคอนซูเมอร์มาโดยตลอด จึงไม่ค่อยเข้าใจความต้องการของลูกค้าองค์กรมากนัก ตัวชี้วัดที่ชัดเจนคือ Google Cloud Platform เป็นผู้ให้บริการคลาวด์อันดับสาม ที่ตามหลัง AWS แบบถูกทิ้งห่าง (ข่าวส่วนแบ่งตลาดคลาวด์ไตรมาส 2/2018) ส่วน G Suite ก็ยังเป็นอันดับสองตามหลัง Office 365 เช่นกัน

Tags:
Node Thumbnail

Diane Green ซีอีโอของ Google Cloud ประกาศลงจากตำแหน่งในช่วงต้นปีหน้า 2019

Green เป็นหนึ่งในผู้ร่วมก่อตั้งและอดีตซีอีโอของ VMware มาก่อน เธอเข้ามาทำงานเป็นซีอีโอของ Google Cloud ในเดือนธันวาคม 2015 และตั้งใจว่าจะทำงานเพียง 2 ปี ตอนนี้เธอบอกว่าได้เวลาลงจากตำแหน่งเพื่อไปทำงานด้านอื่นๆ ที่เธอสนใจ โดยเฉพาะงานด้านการศึกษา และการปั้นซีอีโอหญิงที่มีพื้นฐานจากงานสายวิศวกรรมแบบเดียวกับเธอ

ส่วนคนที่จะมาดำรงตำแหน่งแทนคือ Thomas Kurian อดีตผู้บริหารระดับสูงของ Oracle เจ้าของตำแหน่ง President, Product Development ที่เพิ่งลาออกในเดือนตุลาคมที่ผ่านมา ท่ามกลางข่าวลือว่าเขาขัดแย้งกับผู้ก่อตั้ง Larry Ellison เรื่องทิศทางของคลาวด์

Tags:
Node Thumbnail

หลังจาก NVIDIA เปิดตัว Tesla T4 จีพียูสำหรับศูนย์ข้อมูลตั้งแต่เมื่อเดือนกันยายนที่ผ่านมา ล่าสุด Google Cloud Platform ประกาศรองรับจีพียูรุ่นนี้ในศูนย์ข้อมูลอย่างเป็นทางการแล้ว โดยเริ่มเปิดให้ผู้ใช้ทั่วไปทดสอบแบบอัลฟ่า หลังจากที่ทดสอบในวงจำกัดมาระยะหนึ่ง

Google ระบุว่า NVIDIA Tesla T4 นั้นเด่นในเรื่องการประมวลผล AI และ machine learning (ประสิทธิภาพของ Tesla T4 อ่านได้จากข่าวเปิดตัว) จึงเหมาะกับการนำมาใช้ในงานประเภท distributed training หรือ reinforcement learning ไปจนถึงงานด้าน machine learning อื่น ๆ

Tags:
Node Thumbnail

Google Kubernetes Engine (GKE) บริการ Kubernetes ของ Google Cloud Platform ประกาศรองรับ Containerd แล้ว

Containerd คือเดมอน/รันไทม์สำหรับรันคอนเทนเนอร์ เดิมทีมันเป็นส่วนหนึ่งของ Docker Engine แต่ภายหลัง Docker บริจาคโครงการให้กับมูลนิธิ Cloud Native Computing Foundation (CNCF) เพื่อเป็นมาตรฐานกลางของวงการ

Tags:
Node Thumbnail

Google Cloud Platform ประกาศเปิดตัวฟีเจอร์ใหม่ Cloud Scheduler บริการ cron แบบ serverless ที่ GCP จัดการโครงสร้างพื้นฐานให้

Google ระบุว่า ปกติแล้ว ระบบตั้งเวลารันงานเป็นสิ่งสำคัญของนักพัฒนา เพราะช่วยให้รันงานต่าง ๆ ตามเวลา โดยไม่ต้องกดรันเอง แต่ปัญหาสำคัญของระบบรันงานอัตโนมัติทุกวันนี้คือยังต้องจัดการโครงสร้างพื้นฐานเอง ซึ่งเป็นงานที่ค่อนข้างวุ่นวาย และ Cloud Scheduler จะเข้ามาช่วยจัดการจุดนี้

Tags:
Node Thumbnail

Google ประกาศเพิ่มฟีเจอร์ใหม่ให้ BigQuery ระบบ data warehouse บน Google Cloud Platform โดยมีฟีเจอร์ใหม่ที่สำคัญคือ รองรับข้อมูลสารสนเทศเชิงพื้นที่ (geospatial), โมเดลและฟังก์ชันใหม่บน BigQuery ML, การตั้งกำหนดเวลาการ query และอื่น ๆ

ฟีเจอร์แรกคือ BigQuery GIS เป็นการรองรับข้อมูลอิงตามลักษณะพื้นที่ (geospatial) โดยผู้ใช้สามารถวิเคราะห์ big data โดยใช้คำสั่ง SQL ปกติ โดยตัว BigQuery จะใช้ไลบรารีการคำนวณแบบเดียวกับที่ใช้ใน Earth Engine, Google Maps และ Google Earth จึงเหมาะกับการใช้งานกับข้อมูลปริมาณมาก

ตอนนี้ BigQuery GIS เปิดให้ใช้งานในแบบเบต้าแล้ว อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ BigQuery GIS Documentation

Tags:
Node Thumbnail

Google ประกาศฟีเจอร์ใหม่สำหรับ Cloud Storage ระบบเก็บข้อมูลแบบ object บน GCP โดยเพิ่มตัวเลือกสตอเรจแบบสำเนาข้อมูลสอง region, เพิ่มตัวเลือก multi-regional หรือสำเนาข้อมูลหลาย region ให้ Nearline และ Coldline พร้อมกับเปิดตัวไลบรารีไคลเอนท์สำหรับภาษา C++

ฟีเจอร์ที่สำคัญของ Google Cloud Storage รอบนี้คือ dual-regional คือผู้ใช้สามารถสั่งสำเนาข้อมูลแบบสอง region ได้ ซึ่งตัวเลือกนี้จะอยู่ตรงกลางระหว่าง regional ที่สำเนาข้อมูลภายใน availability zone ใน region เดียว และ multi-regional ที่ข้อมูลจะกระจายไปทั่วสหรัฐฯ, สหภาพยุโรป หรือเอเชียตามที่เลือก

Tags:
Node Thumbnail

Google เปิดตัวฟีเจอร์ด้านระบบเครือข่ายเพิ่มเติมหลายอย่างบน Google Cloud Platform โดยมีทั้งหมด 4 อย่างหลัก ๆ คือ Cloud NAT, Firewall Rules Logging, Managed TLS Certificates for HTTPS Load Balancers และ Container-Native Load Balancing

ฟีเจอร์แรกคือ Cloud NAT เป็นระบบ NAT ที่ Google จะดูแลให้ เพื่อให้ผู้ใช้ระบบคลาวด์รักษาความปลอดภัยของ instance โดยไม่ต้องเปิดไอพีแอดเดรสออกเป็นสาธารณะในขณะที่ระบบยังคงออกอินเทอร์เน็ตได้ โดยตัว Cloud NAT มีฟีเจอร์หลายอย่าง เช่น

Tags:
Node Thumbnail

กูเกิลประกาศเปิดศูนย์ข้อมูลสำหรับ Google Cloud Platform เพิ่มในอินโดนีเซีย, โอซาก้า, และฮ่องกง สำหรับฮ่องกงนั้นจะพร้อมในปีหน้า นับเป็นโซนที่สองในภูมิภาคอาเซียน และเป็นประเทศที่แปดเมื่อคิดจากภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก

สำหรับสิงคโปร์ กูเกิลกำลังสร้างศูนย์ข้อมูลแห่งใหม่ มูลค่าลงทุนรวม 850 ล้านดอลลาร์ คาดว่าจะสร้างเสร็จในปี 2020

ที่มา - Jakata Globe, Channel News Asia

Tags:
Node Thumbnail

Google Cloud ประกาศให้บริการสามอย่างคือ Data Studio, Cloud Dataprep และ Cloud Memorystore for Redis เข้าสู่สถานะ GA หรือพร้อมให้บริการทั่วไปแล้ว

สำหรับบริการแรกคือ Data Studio นั้น Google เปิดตัวมาตั้งแต่ปี 2016 เป็นแพลตฟอร์ม business intelligence ที่มีจุดประสงค์ให้การทำ visual analytics เข้าถึงคนทั่วไปได้ง่ายขึ้น โดยผู้ใช้สามารถนำข้อมูลจาก Google Cloud และ Google Marketing Platform รวมถึงข้อมูลแหล่งอื่น ๆ จากพาร์ทเนอร์มาวิเคราะห์บนแพลตฟอร์ม Data Studio ได้

Tags:
Node Thumbnail

Google Cloud เปิดตัวเครื่องมือสแกนช่องโหว่ใน Container Registry ที่ช่วยในการตรวจสอบช่องโหว่ด้านความปลอดภัยในกระบวนการ CI/CD เพื่อป้องกันการดีพลอยอิมเมจที่มีช่องโหว่ โดยฟีเจอร์นี้เปิดให้ทดลองใช้งานในรูปแบบเบต้าแล้ว

ฟีเจอร์การตรวจสอบช่องโหว่ใน pipeline ของ CI/CD จะช่วยให้ผู้ใช้ระบุช่องโหว่ที่รู้จักโดยทั่วไปได้ทันที ซึ่งระบบจะคอยอัพเดตช่องโหว่ใหม่ ๆ ให้ทันสมัยอยู่ตลอดเวลาและจะทำงานอัตโนมัติ ซึ่งหมายความว่าคอนเทนเนอร์ที่สร้างจาก Cloud Build จะถูกสแกนเมื่ออิมเมจถูกพุชขึ้นไปที่ Container Registry ผ่านการใช้งาน Container Analysis API จากนั้นระบบจะให้คำแนะนำเกี่ยวกับความปลอดภัยกลับมา

Tags:
Node Thumbnail

Google เปิดตัว Cloud Source Repositories บริการฝากซอร์สโค้ดบน Git ของ Google Cloud โฉมใหม่ โดย Google ออกแบบหน้าตาใหม่ทั้งหมด และมีฟีเจอร์สำคัญคือการค้นหาโค้ดแบบใหม่ที่รวดเร็วและมีประสิทธิภาพ

Google บอกว่าบริการ Cloud Source Repositories ในส่วนของการค้นหาโค้ดนั้น ใช้โครงสร้างพื้นฐานเดียวกับระบบที่วิศวกร Google ใช้ค้นหาโค้ดทุกวัน ซึ่งทำงานได้ดีแม้จะเป็นโค้ดที่ผู้ใช้ mirror มาจาก GitHub หรือ BitBucket เองโดยไม่ได้โฮสต์ไว้บน Cloud Source Repositories ของ Google

Tags:
Node Thumbnail

กูเกิลอธิบายกระบวนการลบข้อมูลบน Google Cloud Platform ว่าเมื่อลูกค้าสั่งลบข้อมูลของตัวเอง ข้อมูลนั้นจะอยู่บนเครื่องของกูเกิลไปอีกนานเท่าไร

คำตอบคืออาจนานถึง 6 เดือน

กระบวนการเก็บข้อมูลของ Google Cloud ค่อนข้างซับซ้อน เพราะมีทั้งระบบที่ใช้งานจริง (active) และระบบแบ็คอัพ ที่เก็บข้อมูลไว้นานไม่เท่ากัน

เมื่อผู้ใช้สั่งขอลบข้อมูล (deletion request) ระบบจะเปลี่ยนสถานะของข้อมูลก้อนนั้นว่าถูกลบ (marked as deleted) แต่ยังไม่ลบข้อมูลออกไปจริงๆ เพราะอยู่ในช่วงเผื่อกู้คืน (recovery period) หลังจากหมดระยะเผื่อกู้คืนแล้ว ข้อมูลจะถูกลบออกจากระบบหลัก แต่ยังเก็บไว้ในระบบแบ็คอัพที่จะเขียนข้อมูลทับของเก่าไปเรื่อยๆ

Pages