มีคนไปพบโค้ดบนเว็บ Google Play กล่าวถึงบริการใหม่ชื่อ Google Play News ซึ่งน่าจะเป็นบริการสมัครสมาชิกหนังสือพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์ของกูเกิล
Google Play ขายอีบุ๊กและนิตยสารอิเล็กทรอนิกส์อยู่ก่อนแล้ว คาดว่าบริการนี้จะตั้งเป้ามาแข่งขันกับ Newsstand ของฝั่งแอปเปิลที่เปิดตัวมานานพอสมควร และมีฐานสมาชิกเป็นจำนวนมาก
ตอนนี้เรายังไม่มีข้อมูลว่ากูเกิลจะเชื่อม Google Play News เข้ากับบริการใกล้เคียงกันอย่าง Google News และ Google Current หรือไม่
ที่มา - The Next Web
ข่าวดีสำหรับนักพัฒนาที่หารายได้จากโฆษณาในแอพมาแล้ว เมื่อกูเกิลเริ่มลบแอพสำหรับบล็อคโฆษณาในแอพ (Ad Blocker) โดยอ้างกฎข้อ 4.4 ว่าด้วยเรื่องการกระทำต้องห้ามบนบริการของกูเกิล
สรุปย่อๆ จากหัวข้อ 4.4 ที่กูเกิลอ้างถึงนั้นเป็นข้อตกลงที่ว่านักพัฒนาจะไม่มีส่วนร่วมต่อการทำให้บริการ ผลิตภัณฑ์ ฯลฯ เกิดความเสียหาย หรือเข้าถึงข้อมูลตัวเครื่อง เครือข่าย ฯลฯ ในส่วนที่ไม่ได้รับอนุญาต
โดยเจ้าทุกข์ที่รับเคราะห์ไปก่อนใครในตอนนี้คือแอพ Ad Blocker ★ Root ★ ของนาย Jared Rummler ที่ได้รับการเตือนจากกูเกิล และดูเหมือนว่านักพัฒนาแอพบล็อคโฆษณาก็ได้รับคำเตือนพร้อมกับเอาแอพออกจาก Play Store ไปพร้อมๆ กัน
Google Play ฉลองครบหนึ่งปีที่เปลี่ยนมาใช้ชื่อนี้ ([ข่าวเปลี่ยนชื่อจาก Android Market เป็น Google Play](http://www.blognone.com/news/30417/%E0%B8%81%E0%B8%B9%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%A5%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B8%95%E0%B8%B1%E0%B8%A7-google-play-%E0%B9%81%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B8%A3%E0%B8%A7%E0%B8%A1%E0%B8%94%E0%B8%B4%E0%B8%88%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%B1%E0%B8%A5%E0%B8%84%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B9%8C%E0%B8%97%E0%B8%B1%E0%B9%89%E0%B8%87%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%94%E0%B8%88%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%81%E0%B8%B9%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%A5)) โดยแจกส่วนลดและสินค้าดิจิทัลต่างๆ มากมาย
ข่าวนี้ต่อจากข่าวลือว่ากูเกิลเตรียมเปิดบริการเพลงแบบสตรีมมิ่ง โดยมีรายละเอียดเพิ่มเข้ามาว่ากูเกิลบรรลุข้อตกลงกับค่ายเพลงใหญ่ Warner Music Group เรียบร้อยแล้ว และกำลังเจรจากับค่ายเพลงอื่นๆ อย่าง Universal และ Sony อยู่
ที่น่าสนใจคือบริการเพลงออนไลน์ของกูเกิลไม่ได้มีเพียงตัวเดียว แต่แยกเป็น 2 ตัวใต้แบรนด์ YouTube และ Google Play
บริการเพลงแบรนด์ YouTube จะเก็บค่าสมาชิกและไม่มีโฆษณา คาดว่าบริการนี้จะรวมถึงมิวสิควิดีโอด้วย ส่วน Google Play จะมีทั้งการขายแยกเพลงแบบปกติ และการฝากไฟล์บนกลุ่มเมฆ (music locker) แบบที่ Amazon/iTunes ทำอยู่
หน่วยงาน Information Technology Promotion Agency (IPA) ของรัฐบาลญี่ปุ่นประกาศแจ้งเตือนให้ผู้ที่ใช้งานระบบปฏิบัติการ Android เปลี่ยนไปติดตั้งแอพพลิเคชันจาก Store ของโอเปอเรเตอร์ในญี่ปุ่นแทนที่จะเป็น Google Play
เนื่องจาก IPA พบว่ามีแอพพลิเคชั่นชื่อ "sexy porn model wallpaper" อยู่ใน Google Play Store ตั้งแต่วันศุกร์ที่ 1 มีนาคม และมีคนดาวน์โหลดไปติดตั้งกว่า 500,000 คนก่อนที่แอพพลิเคชั่นนี้จะถูกลบออกไปในเวลาต่อมา โดยแอพพลิเคชันดังกล่าวนี้จะแอบส่งข้อมูลส่วนตัวของผู้ใช้งาน เช่น หมายเลข IMEI ของโทรศัพท์มือถือ ตำแหน่งที่อยู่ หรืออีเมล ไปยังเซิร์ฟเวอร์ของผู้ไม่หวังดี
Dan Nolan นักพัฒนาแอพพลิเคชันชาวออสเตรเลียออกมาเผยว่า เขาได้รับข้อมูลส่วนบุคคลของลูกค้าผู้ซื้อแอพพลิเคชันของเขาผ่าน Google Play ซึ่งนั่นทำให้เกิดความคลางแคลงใจเรื่องความปลอดภัยด้านข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ใช้งาน
Nolan ระบุว่าข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ซื้อแอพพลิเคชันที่ถูกส่งมาถึงเขานั้น ระบุชื่อพร้อมนามสกุล รวมทั้งข้อมูลที่อยู่ทางไปรษณีย์ และที่อยู่อีเมล โดยเขาให้คำอธิบายง่ายๆ ว่า
ข้อมูลเหล่านั้นมันชัดเจนและเพียงพอที่เขาจะตามไปเอาเรื่องคนที่ให้ความเห็นเชิงลบต่อแอพพลิเคชันของเขาได้เลย
ประเด็นสำคัญของเรื่องนี้ คือ Google ไม่ได้ขออนุญาตจากผู้ซื้อแอพพลิเคชันเพื่อแบ่งปันข้อมูลเหล่านี้ให้แก่นักพัฒนา ซึ่งถือเป็นเรื่องละเอียดอ่อนเป็นอย่างมาก
บริษัทด้านวิเคราะห์เครือข่ายสังคม The Sociable ออกมาประเมินแนวโน้มของจำนวนแอพใน Google Play โดยอิงจากอัตราการเติบโตในอดีต คาดว่าเราจะได้เห็นแอพใน Google Play แตะหลัก 1 ล้านแอพในเดือนมิถุนายน 2013
ตัวเลขอย่างเป็นทางการที่กูเกิลประกาศล่าสุดคือ 700,000 แอพในเดือนตุลาคม 2012 ซึ่งทาง The Sociable คาดว่าตอนนี้แอพทะลุหลัก 800,000 ไปเรียบร้อยแล้ว (แต่กูเกิลยังไม่ประกาศ) และน่าจะแตะหลัก 900,000 แอพได้ก่อนเดือนเมษายน 2013
The Sociable ยังระบุว่าด้วยอัตราการเติบโตของ Google Play น่าจะขึ้นหลักล้านได้ก่อน App Store ของแอปเปิล เพราะปัจจุบันจำนวนแอพของทั้งสองค่ายอยู่ในระดับใกล้เคียงกันมาก
ผู้อ่านหลายท่านคงจะเคยได้ยินชื่อ BlueStacks กันมาบ้างแล้วนะครับ โดย BlueStacks นั้นเป็นโปรแกรมบนแมคและพีซีที่จะทำให้คอมพิวเตอร์เราใช้แอพของแอนดรอยด์ได้ ซึ่งเมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมานี้ มีแอพเพียง 17 แอพเท่านั้นที่รองรับ แต่วันนี้ทุกแอพบน Google Play นั้นสามารถใช้กับ BlueStacks ได้แล้วครับ
คุณสามารถดาวน์โหลด BlueStacks ได้ที่ http://bluestacks.com/
ที่มา: 9to5mac
หลังจากปล่อยให้แฟน Samsung ได้นำหน้าไปก่อนถึง สามเดือน
โปรแกรมซื้อขายหลักทรัพย์และอนุพันธ์ที่หลายคนรอคอยและแอบผิดหวัง รุ่น 1.0 สำหรับผู้ใช้เครื่อง Android 2.3 โดยสามารถดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ความสามารถในรุ่นนี้ เหมือนกับในรุ่น บน Samsung Apps ที่ปล่อยออกมาทุกประการ (ข่าวเก่า)
ที่มา Google Play
วันนี้กูเกิลประกาศว่า ได้อัพเดตบริการ Google Music ในอเมริกาให้รองรับฟีเจอร์การสแกนและจับคู่เพลง (เหมือน iTunes Match) ฟีเจอร์นี้จะเปิดให้ผู้ใช้สแกนเพลงในคลังของตนเองและจับคู่กับเพลงบน Google Music หากจับคู่กับเพลงบน Google Music ได้แล้ว ผู้ใช้สามารถสตรีมเพลงบิตเรต 320Kbps ได้ โดยจำกัดจำนวน 2 หมื่นเพลง ที่สำคัญคือบริการนี้ฟรี! ขณะที่ทั้งแอปเปิลและอเมซอนที่มีบริการเหมือนกันนี้เก็บ 24.99 ดอลลาร์ต่อปี
ที่มา - 9to5Google
ข่าวดีสำหรับนักพัฒนาที่ต้องทดสอบแอพภายในบริษัท ด้วยอัพเดตล่าสุดของ Play Store สำหรับผู้ใช้ Google Apps จะสามารถดาวน์โหลดแอพภายในจาก Play Store ได้โดยไม่ต้องลงเอง (sideloading) อีกต่อไปแล้ว
ฟีเจอร์ใหม่ที่ว่านี้คือ "Google Play Private Channel" ที่ให้นักพัฒนาสามารถอัพโหลดแอพขึ้นไปบน Play Store และให้ผู้ใช้คนอื่นล็อกอินเข้ามาด้วยบัญชีเดียวกันเพื่อดาวน์โหลดแอพโดยตรงจาก Play Store ในช่องทางที่กูเกิลกันไว้ให้ได้ โดยมีข้อแม้ว่าต้องเป็นบัญชี Google Apps นั่นเอง
ดูภาพได้ท้ายข่าวครับ
ที่มา - Google Enterprise Blog
Google อนุญาตให้ลูกค้ากลุ่มองค์กรธุรกิจสร้างร้านค้าเล็กๆ แบบส่วนตัวได้บน Google Play เพื่อให้ลูกค้าเหล่านั้นมีช่องส่วนตัวในการเผยแพร่แอพลิเคชันสำหรับ Android เพื่อใช้งานเป็นการภายในได้สะดวกยิ่งขึ้น
การเปลี่ยนแปลงของ Google Play ในครั้งนี้เป็นการให้โอกาสแก่ลูกค้าในกลุ่มองค์กรธุรกิจในการพัฒนาและเผยแพร่แอพลิเคชันที่ได้รับการพัฒนาด้วยตนเองเองมากยิ่งขึ้น ทำให้ผู้ใช้งานซึ่งอาจเป็นพนักงาน หรือลูกค้าขององค์กรธุรกิจต่างๆ ได้มีช่องทางในการเข้าถึงแอพลิเคชันแบบเฉพาะได้สะดวกและมีความเป็นสัดส่วนมากยิ่งขึ้น
ผลการสำรวจของ Canalys เผยว่านักพัฒนาแอพมือถือเพียงแค่ 25 รายบนแพลตฟอร์ม iOS และ Android ทำรายได้จำนวน 60 ล้านดอลลาร์สหรัฐภายในเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา โดยจำนวนนี้ถือว่าเป็นจำนวนมากกว่าครึ่งหนึ่งของรายได้จาก App Store และ Google Play ทั้งหมดในช่วงเวลาเดียวกันที่ทำการสำรวจ
ส่วนใหญ่แล้วกลุ่มนักพัฒนาที่ได้รับรายได้สูงจะเป็นกลุ่มผู้ผลิตเกมเสียส่วนใหญ่ เช่น Zynga, EA, Disney, Rovio, Glu และ Gameloft แต่ Pandora เองก็ติดโผได้รับรายได้สูงเช่นกัน
กูเกิลขยายช่องทางการแจกจ่ายแอพของ Play Store ไปยังลูกค้าองค์กรที่ใช้บัญชีในระบบของ Google Apps เพื่อให้องค์กรสามารถแจกจ่ายแอพบน Android ให้พนักงานของตัวเองได้ด้วย
กูเกิลเรียกฟีเจอร์นี้ว่า Google Play Private Channel ซึ่งองค์กรสามารถเพิ่มแอพภายในของบริษัทเอง (เช่น แอพจองห้องประชุม หรือแอพรายงานผลการทำงาน) และมันจะถูกแสดงบน Google Play Store บนมือถือของพนักงานที่ล็อกอินด้วยบัญชีของบริษัท (ดูภาพประกอบ)
ฟีเจอร์นี้สามารถใช้ได้กับ Google Apps ทุก edition ไม่ว่าจะเป็น Business, Enterprise และ Government ครับ
ที่มา - Google Enterprise
App Annie บริษัทจัดอันดับ และวิเคราะห์ตลาดแอพบนแพลตฟอร์มพกพา เผยข้อมูลเกี่ยวกับตลาดแอพประจำเดือนพฤศจิกายน หนึ่งในนั้นมีตัวเลขรายได้ของ Google Play Store ในญี่ปุ่นที่ล่าสุดแซงสหรัฐฯ ขึ้นเป็นเบอร์หนึ่งไปเรียบร้อยแล้่ว
จากตัวเลขของ App Annie ตลาดญี่ปุ่นนั้นเริ่มโตขึ้นมากตั้งแต่เดือนมกราคม และขึ้นเป็นเบอร์หนึ่งของโลกในช่วงเดือนกันยายน เดือนเดียวกับที่กูเกิลมาเปิดตัว Nexus 7 และขยายบริการ Google Play Book และ Movie ไปยังญี่ปุ่น โดยข้อมูลเมื่อเดือนตุลาคมระบุว่ารายได้จากญี่ปุ่นมีสัดส่วนอยู่ที่ 29% เหนือกว่าสหรัฐฯ ที่ 26% ส่วนอันดับสามคือเกาหลีใต้ที่ 18%
จากข่าวที่บริษัท App Annie ระบุว่าอัตราการเติบโตรายได้ของ App Store นั้นเริ่มชะลอตัวลงโดยเติบโตแค่ 12.9% นับจากต้นปี ขณะที่ Google Play เติบโต 311% ก็เป็นเรื่องไม่แปลกที่จะมีการออกมาโต้แย้ง โดย John Koetsier แห่ง VentureBeat อ้างว่าเขาได้รับการติดต่อจากตัวแทนแอปเปิล โดยแม้แอปเปิลไม่ได้ระบุตัวเลขเปอร์เซนต์ที่ชัดเจน แต่แอปเปิลบอกให้ลองย้อนดูตัวเลขที่แอปเปิลเคยประกาศผ่านสื่อดังนี้ครับ
บริษัทเก็บสถิติแอพ App Annie เผยข้อมูลของอุตสาหกรรมแอพมือถือที่น่าสนใจประจำเดือนตุลาคม 2012 ดังนี้
ทีมงาน Outlook.com เปิดเผยว่าตอนนี้จำนวนผู้ใช้งาน Outlook.com เป็นประจำนั้นมีจำนวนถึง 25 ล้านคนแล้ว (10 ล้านในสองสัปดาห์แรกที่เปิดตัว) และ Outlook.com ยังประกาศเพิ่มคุณสมบัติใหม่นั่นได้แก่ Archive เมลในปุ่มเดียว, เพิ่มทางลัดบนคีย์บอร์ด, ปรับแต่งสีกล่องข้อความได้เพิ่มอีกหลายสี และรายการสำคัญที่สุดคือแอพ Outlook.com สำหรับผู้ใช้ Android
ความพยายามจะระบุตัวตนของกูเกิลผ่าน Google+ ยังคงดำเนินต่อไปเรื่อยๆ หลังจากเคยเปิดให้ผู้ใช้เปลี่ยนชื่อบัญชี YouTube ไปใช้ของ Google+ มาก่อน ครั้งนี้ก็ถึงคิวของ Play Store แล้ว
จากเดิมที่ความเห็นรีวิวในแอพบน Play Store จะแสดงผลแค่วันที่ เวอร์ชันแอพ และเครื่องที่ใช้ ต่อจากนี้ไปกูเกิลจะแนะนำให้เราเชื่อมเข้ากับบัญชี Google+ ซึ่งหากกดตกลง ข้อมูลในส่วนรูปภาพ และชื่อก็จะแสดงผลในหน้ารีวิวแอพทันที ส่วนใครที่ยังไม่ได้กดตกลงจะขึ้นเป็น "A Google User" แทน
เท่าที่ลอง กูเกิลเปิดใช้ระบบนี้เรียบร้อยแล้วครับ ใครที่กดรีวิวแอพผ่านทั้งเว็บ และแอพมือถือจะมีหน้าต่างแจ้งเตือนขึ้นมาครับ
มือถือ Nexus 4 ตัวล่าสุดของกูเกิลที่ของขาดตลาดทันทีหลังวันเปิดขายบน Play Store หลังจากห่างหายไปสองสัปดาห์ กูเกิลก็อีเมลแจ้งผู้ที่สั่งซื้อไปแล้วว่าสินค้ากำลังเดินทางมา และเปิดให้ลูกค้าใหม่สั่งซื้อ Nexus 4 จากเว็บไซต์ Play Store อีกรอบ
อย่างไรก็ตาม การสั่งซื้อบน Play Store รอบนี้ กูเกิลจำกัดจำนวนการซื้อที่ไม่เกิน 2 เครื่องต่อคนเพื่อเฉลี่ยของให้ได้กันทุกคน ขณะที่เขียนข่าวนี้ยังไม่มีรายงานว่าปิดรับการสั่งซื้อรอบใหม่นี้ครับ
ที่มา - Phandroid (1), Phandroid (2)
Google เพิ่มเพลงเข้าสู่ Google Play สำหรับยุโรปอีก 5.5 ล้านเพลง
เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายนที่ผ่านมา Google บรรลุข้อตกลงในการเพิ่มเพลงเข้าสู่ตลาดยุโรปอีก 35 ประเทศ ซึ่งเกิดจากข้อตกลงร่วมกับ Armonia ซึ่งเป็นกลุ่มบริษัทที่ถือสิทธิจำหน่ายเพลงจากฝรั่งเศส, อิตาลี และสเปน โดยข้อตกลงครั้งนี้มีเพลงในแผนกลาตินของ Sony Music รวมทั้งคลังเพลงของ Universal Music ในส่วนของสหราชอาณาจักร และสหรัฐอเมริการวมอยู่ด้วย
การเพิ่มเนื้อหาสำหรับลูกค้าในยุโรปครั้งนี้ เพื่อเข้าใกล้คู่แข่งธุรกิจร้านค้าออนไลน์อย่าง Apple และ Amazon ในระดับโลกมากยิ่งขึ้น หลังจากช่วงที่ผ่านมา Google Play ยังมีคงมีเนื้อหาหลายส่วนที่จำกัดเฉพาะผู้ใช้งานในสหรัฐอเมริกา
วันนี้ 13 พ.ย. เป็นวันที่กูเกิลเริ่มวางขาย Nexus 4 และ Nexus 10 ผ่านเว็บไซต์ Play Store ของตัวเองเป็นวันแรก โดยประเทศที่ได้ก่อนใครคือออสเตรเลียและยุโรป (สหรัฐจะตามมาทีหลังด้วยเหตุผลเรื่องเขตเวลา)
ฝั่งออสเตรเลีย Nexus 4 เปิดให้สั่งซื้อบนหน้าเว็บ Play Store ช่วงกลางวันตามเวลาท้องถิ่น และสินค้าหมดอย่างรวดเร็วภายในเวลาไม่ถึงหนึ่งชั่วโมง
ส่วนฝั่งยุโรป ที่อังกฤษมีรายงานข่าวว่า Nexus 4 ทุกความจุขายหมดภายในครึ่งชั่วโมง และเว็บไซต์ Google Play ประสบปัญหารองรับโหลดผู้ใช้ไม่ไหว ส่วน Nexus 10 ทางเว็บไซต์ TechCrunch ระบุว่ารุ่น 32GB ขายหมดเกลี้ยงเช่นกัน แต่ยังเหลือรุ่น 16GB ให้สั่งซื้อได้บนหน้าเว็บ (สถานะล่าสุดต้องตรวจสอบอีกครั้ง)
เว็บไซต์ชื่อ Tech-Thougths รวบรวมสถิติเรื่องรายได้ของแอพมือถือระหว่าง Android กับ iOS จากแหล่งข้อมูลหลายแห่ง และพอจะสรุปได้ว่าสัดส่วนของรายได้ระหว่าง Android กับ iOS เริ่มเปลี่ยนไป โดยนักพัฒนามีรายได้มาจาก Android มากขึ้นอย่างมีนัยยะสำคัญ
ข้อมูลหลักของเว็บ Tech-Thougths มาจากบริษัทเก็บสถิติแอพชื่อ App Annie ที่ระบุว่าสัดส่วนรายได้ระหว่าง Android:iOS ของแอพเดียวกันคือ 29:71 ในช่วงสี่เดือนแรกของปีนี้ แต่พอมาถึงเดือนกันยายน ตัวเลขเปลี่ยนไปกลายเป็น 44:66 (เป็นเลขประเมินของ Tech-Thoughts)
เก็บตกจากหลังการเปิดตัว Nexus รุ่นปลายปี กูเกิลบอกกับ Bloomberg ว่าจำนวนแอพในปัจจุบันของแพลตฟอร์ม Android มีตัวเลขประมาณ 700,000 แอพแล้ว (ครั้งสุดท้ายที่กูเกิลเผยเลขดังกล่าวอยู่ที่ประมาณ 675,000 แอพ)
ด้วยจำนวนแอพ 700,000 แอพ ทำให้ขยับเข้าใกล้คู่แข่งอย่าง iOS มากเข้าไปเรื่อยๆ จากข้อมูลที่แอปเปิลระบุมา ตัวเลขแอพบน iOS อยู่ที่ประมาณ 750,000 แอพ และด้วยกระแสในปัจจุบันของตลาดอุปกรณ์พกพาเริ่มมีหลายบริษัทโฟกัสไปที่ Android มากกว่า iOS แล้ว ดังนั้นจำนวนแอพทางฝั่ง Android น่าจะแซงภายในไม่นาน
Google กล่าวว่าจำนวนแอพพลิเคชันสำหรับอุปกรณ์ Android ที่เปิดให้ดาวน์โหลดผ่านทาง Google Play มีจำนวนรวมถึง 700,000 รายการแล้ว เพิ่มจากตัวเลข 675,000 ในเดือนที่แล้ว
ตัวเลข 700,000 เท่ากับฝั่ง Apple ซึ่งเพิ่งประกาศจำนวนแอพพลิเคชันสำหรับ iOS ใน App Store ที่ระดับเดียวกันไปก่อนหน้านี้ไม่นาน และคาดว่ามีเพิ่มขึ้นอีกเล็กน้อยหลังการเปิดตัว iPad Mini เมื่อสัปดาห์ก่อน
สาเหตุหนึ่งที่น่าจะทำให้จำนวนแอพพลิเคชันของอุปกรณ์ระบบ Android เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องคาดว่าเป็นผลจากการออกแท็บเล็ต Nexus 7 และล่าสุดคือ Nexus 10 ซึ่งมีผลจูงใจให้นักพัฒนาสร้างแอพพลิเคชันสำหรับแท็บเล็ตเพิ่มมากขึ้น