มีภาพถ่ายเครื่อง BlackBerry Z10 โดยบนหน้าจอแสดงให้เห็นว่ากำลังเปิดใช้งาน Google Play อยู่
จากภาพที่หลุดมาทำให้คาดได้ว่าผู้ที่ใช้เครื่อง BlackBerry ด้วยระบบปฏิบัติการเวอร์ชันล่าสุด BlackBerry 10.2.1 จะสามารถติดตั้งแอพ Google Play เพื่อใช้งานในเครื่องได้เร็วๆ นี้ ซึ่งจะทำให้การซื้อและติดตั้งแอพสำหรับ Android ทำได้สะดวกยิ่งขึ้น
อย่างไรก็ตามมีผู้คนบางส่วนตั้งข้อสังเกตว่าภาพดังกล่าวอาจเป็นภาพที่ผ่านการตัดต่อ โดยให้เหตุผลว่าตัวเครื่อง Z10 ในภาพที่หลุดมาไม่มีพินอยู่ด้านข้าง
ที่มา - SlashGear
คุณสุทธิชัย สังขมณี อธิบดีกรมสรรพากร เปิดเผยต่อสื่อมวลชนว่า กรมสรรพากรกำลังพิจารณาแนวทางที่จะจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากการดาวน์โหลดแอพพลิเคชันบน Apple App Store และ Google Play ทั้งสมาร์ทโฟนและแท็บเล็ตที่ปัจจุบันนั้นอัตราการเติบโตของตลาดนั้นเพิ่มขึ้นอย่างมาก ซึ่งในเบื้องต้นกรมสรรพากรอ้างว่า จะสามารถทำรายได้ได้สูงถึง 1.4 พันล้านบาทครับ
นอกจาก Android 4.4 KitKat กูเกิลก็ออก "ฝาแฝดเงา" Google Play Services รุ่นใหม่ด้วยเช่นกัน นับเวอร์ชันเป็น 4.0 แล้ว
เรื่องมีอยู่ว่าบล็อกเกอร์นาม Terence Eden ได้ตั้งข้อสังเกตถึงแอพ BBM ของ Android ว่าได้คะแนนรีวิวบน Google Play ในระดับที่ดีมากผิดปกติ โดยพบว่ามีผู้ให้คะแนนรีวิวระดับ 5 ดาวนับแสนคน และแทบทั้งหมดใช้ประโยคในการรีวิวที่คล้ายคลึงกันด้วย
กระแสความนิยมของแท็บเล็ต Android (ตัวเลขของกูเกิลคือ 70 ล้านเครื่อง) และแอพบนแท็บเล็ตที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ทำให้ Play Store จะเริ่มแสดงเฉพาะแอพเวอร์ชันแท็บเล็ตในกรณีที่เปิดด้วยแท็บเล็ตแล้ว (จากเดิมที่แสดงปนๆ กันทั้งเวอร์ชันมือถือและแท็บเล็ต)
การเปลี่ยนแปลงนี้จะมีผลในวันที่ 21 พฤศจิกายนเป็นต้นไป ส่วนผู้ใช้แท็บเล็ตที่ยังอยากเห็นแอพเวอร์ชันมือถือด้วยก็สามารถสลับระหว่างโหมด designed for tablets กับ designed for phones ได้ตลอดเวลา
สำหรับนักพัฒนาแอพบน Android ที่อยากพัฒนาแอพเวอร์ชันแท็บเล็ต กูเกิลก็มีตัวช่วยแนะนำให้ใน Developer Console ที่จะอ่านไฟล์ APK รุ่นสำหรับมือถือ แล้วบอกว่าต้องปรับปรุงตรงไหนบ้าง
Adrian Ludwig หัวหน้าฝ่ายความปลอดภัยของ Android ไปพูดที่งาน Virus Bulletin ที่เยอรมนี และเผยสถิติด้านความปลอดภัยที่น่าสนใจของ Android หลายอย่าง
Ludwig บอกว่าสภาพแวดล้อมแบบเปิดของ Android ไม่สามารถใช้วิธีป้องกันมัลแวร์แบบก่อกำแพงกั้น (walled garden) แบบเดียวกับคู่แข่งได้ แต่วิธีที่กูเกิลใช้จะเหมือนกับการป้องกันโรคระบาดของวงการสาธารณสุขมากกว่า โดยแนวคิดของการป้องกันโรคระบาดคือไม่สามารถปิดกั้นโรคทั้งหมดได้ 100% แต่จะใช้วิธีเฝ้าระวังจากข้อมูล เมื่อพบโรคเริ่มระบาดก็จะสกัดกั้นไม่ให้เกิดการระบาดในวงกว้างแทน
ข่าวดีสำหรับนักพัฒนาแอพ Android ที่ส่งแอพขึ้น Google Play (ก็น่าจะเกือบทุกคนนะ) เพราะกูเกิลเริ่มเชื่อมระบบสถิติของ Google Play Developer Console เข้ากับ Google Analytics แล้ว
นักพัฒนาที่ต้องการใช้ฟีเจอร์นี้จะต้องเรียกใช้ Google Analytics SDK จากตัวแอพก่อน จากนั้นทั้งสองฝั่งจะได้ข้อมูลเชิงสถิติที่ละเอียดขึ้น
ในประเทศที่นิยม "ตู้หยอดเหรียญ" (vending machine) อย่างญี่ปุ่น อะไรๆ ก็สามารถมาขายผ่านตู้ได้ ไม่เว้นแม้แต่แอพบน Google Play!
กูเกิลประเทศญี่ปุ่นเริ่มติดตั้ง "ตู้ขายแอพ" โดยบนหน้าจอตู้จะมีแอพจำนวนหนึ่งให้เลือกซื้อ (มีทั้งแบบฟรีและเสียเงิน) การใช้งานจำเป็นต้องมีมือถือ Android 4.0 ขึ้นไปที่รองรับ NFC เมื่อต้องการซื้อแอพก็เอามือถือไปวางไว้ในช่องใต้หน้าจอ ตู้จะเชื่อมต่อกับมือถือผ่าน NFC เมื่อเลือกแอพได้แล้วบนหน้าจอจะแสดงแอนิเมชั่น "แอพร่วงลงจากจอ" เหมือนกับเวลาหยอดเหรียญซื้อน้ำขวด-กระป๋องด้วย
Google เซอร์ไพรส์ผู้ใช้ด้วยการเปิดให้บริการ Play Books ใน 9 ประเทศประกอบด้วย อินโดนีเซีย, ฮ่องกง, มาเลเซีย, ฟิลิปปินส์, สิงคโปร์, ไต้หวัน, เวียดนาม, นิวซีแลนด์ และประเทศไทยของเรานั่นเองครับ
โดยผู้ที่ใช้ระบบปฏิบัติการ Android สามารถเข้าใช้บริการ Play Books ได้ผ่าน Play Store หรือจะดาวน์โหลด แอพพลิเคชั่น Play Books เพื่อเข้าอ่านและซื้อได้ที่ Play Store
ที่มา - Android Police
เตือนภัยจากศูนย์ประสานการรักษาความมั่นคงปลอดภัยระบบคอมพิวเตอร์ประเทศไทย (ThaiCERT) เนื่องจากมีผู้รายงานว่ามีแอพพลิเคชันชื่อ iMessage Chat ปรากฏอยู่ใน Play Store ซึ่งอ้างว่าสามารถส่งข้อความผ่านระบบ iMessage ของ Apple ได้ ทาง ThaiCERT ได้ตรวจสอบแอพพลิเคชันดังกล่าวแล้วพบว่าสามารถส่งได้จริง
แต่สิ่งที่น่าสงสัยในแอพพลิเคชันนี้คือ มีการส่งข้อมูลไปยังเซิร์ฟเวอร์ที่อยู่ในประเทศจีน (น่าจะใช้เป็นตัวกลางในการรับส่งข้อมูล) ซึ่งอาจมีความเสี่ยงว่าผู้ใช้จะถูกขโมยข้อมูลสำคัญ เช่น Apple ID หรือข้อมูลอื่นๆ ได้
Android Device Manager บริการช่วยเหลือผู้ใช้ให้ตามหาเครื่องยามลืมหรือถูกขโมยที่เปิดตัวมาเมื่อเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา ตอนนี้กูเกิลเพิ่มฟีเจอร์ใหม่เข้ามาแบบเงียบๆ อีกสองฟีเจอร์แล้ว
ฟีเจอร์แรกเป็นการต่อยอดจากเดิมที่เครื่องสามารถสั่งลบข้อมูลระยะไกลได้ ของใหม่สามารถสั่งล็อกเครื่องจากระยะไกลได้ด้วย และยังสามารถเปลี่ยนรหัสผ่าน โดยรหัสใหม่จะไปทับทั้งรหัสผ่านเดิมและการปลดล็อกแบบการวาดนิ้วของตัวเครื่องไปเลย
เมื่อสั่งล็อกไปแล้ว ตัวเครื่องจะถามหารหัสผ่านใหม่ทันที ถ้าหากมีความพยายามจะปรับไปเป็นโหมด Airplane ตัวเครื่องจะล็อกอัตโนมัติ และกลับมาถามรหัสผ่านอีกครั้งเมื่อเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ต
ถ้ายังจำกันได้ เมื่อเดือน พ.ค. ที่ผ่านมาในงาน Google I/O 2013 เราไม่เห็น Android เวอร์ชันใหม่ แต่เห็นข่าวใหญ่ของ Google Play Services ที่ผนวกเอา API สำคัญๆ จำนวนมากมาไว้ในตัวมันแทน
เวลาผ่านไปหลายเดือน Android 4.3 ที่เปิดตัวหลังจากนั้นไม่นานก็ยังไม่ได้รับความนิยม (ปัญหาเดิมๆ) แต่เว็บไซต์ Ars Technica ก็ไปขุดข้อมูลมาและพบว่าแท้จริงแล้ว การไม่ได้อัพเดต Android อาจไม่ใช่ปัญหาใหญ่อีกต่อไปแล้ว เนื่องจากว่า Google Play Services เป็นวิธีการแก้ปัญหาระบบไม่ได้อัพเดตของกูเกิลนั่นเอง
หลังกูเกิลลดราคา Nexus 4 ที่ขายผ่าน Play Store ลง 100 ดอลลาร์ ตอนนี้ Nexus 4 รุ่นถูกสุด 8GB ราคา 199 ดอลลาร์ของหมดสต๊อกเรียบร้อยแล้ว ยังเหลือเฉพาะ Nexus 4 รุ่น 16GB ราคา 249 ดอลลาร์ที่เปิดรับคำสั่งซื้อเท่านั้น
ตอนนี้ยังไม่มีข้อมูลชัดเจนว่ากูเกิลจะเติมสต๊อกของ Nexus 4 รุ่น 8GB หรือไม่ หรือว่าจะปล่อยให้หมดแล้วหมดเลย และเตรียมตัวขาย Nexus 4 รุ่นใหม่ (หรือ Nexus 5 หรือทั้งสองรุ่น) ตามข่าวลือต่างๆ ที่หลุดออกมาในเร็วๆ นี้ (Nexus 4 เปิดตัวเดือน ต.ค. 2012 ถ้าใช้รอบ 1 ปีเหมือนกันก็อีกไม่นานนัก)
ที่มา - Android Community
ปัญหาอีกอย่างหนึ่งของ Android คือแอพบางตัวพยายามหารายได้จากเครือข่ายโฆษณา โดยผนวกโฆษณาเข้ามากับแอพด้วย เมื่อติดตั้งแอพตัวนั้นๆ แล้วจะมีไอคอนของโฆษณาหรือที่ร้ายกว่านั้นคือขึ้นโฆษณาใน notification (ตัวอย่างที่ชัดเจนคือ Airpush)
ล่าสุดกูเกิลออกมาแก้ปัญหานี้แล้ว โดยปรับนโยบายของ Google Play Store ใหม่ว่าห้ามแอพใดๆ ติดตั้งไอคอน บุ๊กมาร์ก ช็อตคัต ของผู้ให้บริการรายอื่น (third party) โดยมีจุดประสงค์เพื่อการโฆษณา นอกจากนี้ยังระบุว่าแอพห้ามแสดงโฆษณาผ่าน notification ของระบบ ยกเว้นกรณีว่าเป็นส่วนหนึ่งของฟีเจอร์ของแอพนั้น (เช่น โฆษณาส่วนลดในแอพสายการบิน)
ที่มา - Google Operating System
ถ้ายังจำกันได้ ข่าวใหญ่ของ Google I/O 2013 ที่ผ่านมาคือการแยก Google Play Services ออกมาเป็นบริการอีกชุดนอกจากตัวระบบปฏิบัติการ Android ทำให้ฟีเจอร์ใหม่ๆ บางตัวไม่จำเป็นต้องอยู่บน Android (ที่อัพเดตช้าเพราะติดผู้ผลิต) แต่ย้ายไปอยู่บน Google Play Services ที่เป็น API ของกูเกิลโดยตรงแทน
ล่าสุดกูเกิลประกาศออก Google Play Services 3.2 ที่มีฟีเจอร์ใหม่คือ
แม้ว่าปริมาณการใช้งานแอนดรอยด์จะสูงแซงหน้าแอปเปิลไปนานแล้ว แต่สำหรับนักพัฒนาแอพพลิเคชั่น ตลาดของแอพพลิเคชั่นแบบ "ได้เงินจากตัวแอพพลิเคชั่น" ยังเป็นของแอปเปิลด้วยรายได้รวมที่ App Store ห่างจาก Play Store อยู่มาก แต่รายงานจาก Distimo ล่าสุดระบุว่าตัวเลขนี้กำลังใกลกันขึ้นเรื่อยๆ จากแรงส่งในญี่ปุ่นและเกาหลี
จนตอนนี้สภาพตลอดก็ยังเป็นเช่นเดิม เงินหมุนเวียนในตลาดแอพพลิเคชั่นของแอปเปิลยังสูงถึงสองเท่าของแอนดรอยด์ อย่างไรก็ดี ตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมาตลาดรวมของแอปเปิลเติบโตขึ้น 15% ขณะที่ตลาดแอนดรอยด์นั้นเติบโตขึ้นมาถึง 67%
หลังจากกูเกิลเปิดตัว Android Device Manager บริการสั่งค้นหา ส่งเสียงเรียก และลบข้อมูลในมือถือจากระยะไกล และอัพเดต Google Play Service เพื่อให้รองรับบริการดังกล่าว ล่าสุดเว็บไซต์ The Verge รายงานว่า กูเกิลได้เปิดหน้าเว็บ Android Device Manager แล้ว (ชื่อบริการเป็นภาษาไทยคือ โปรแกรมจัดการอุปกรณ์ Android) ใครอยากใช้งานให้เข้าไปที่นี่
หลังจากที่กูเกิลเซอร์ไพรส์ผู้พัฒนาแอพพลิเคชันสายความปลอดภัยด้วยการประกาศเปิดตัว Android Device Manager ไปเมื่อวานนี้ ในวันนี้กูเกิลก็เริ่มส่งแอพพลิเคชันให้ผู้ใช้งานแล้วครับ
โดยแอพพลิเคชันนี้จะฝังมากับ Google Play Service ตัวใหม่ที่อัพเดตตัวเองตลอดเวลา ผู้ใช้ที่ได้อัพเดตนี้แล้ว ในหน้าเมนูการตั้งค่า จะมีเมนูที่ชื่อว่า Device Manager ขึ้นมาเพิ่มเติม ซึ่งเมื่อเลือกไปแล้ว ครั้งแรกตัว Android จะสั่งให้เราทำการเพิ่ม Android Device Manager เข้าเป็น Device Administrator ถึงจะเริ่มใช้งานได้ครับ
ใครที่ไม่มั่นใจว่ากูเกิลส่งอัพเดตมาให้หรือยังนั้น ก็เข้าไปดูกันเองได้ในส่วนของการตั้งค่านะครับ
กูเกิลเปิดตัว Android Device Manager บริการให้ผู้ใช้ค้นหาอุปกรณ์ที่ลืมหรือถูกขโมยไป และแสดงตำแหน่งที่ตั้งของอุปกรณ์บนแผนที่ รวมถึงสั่งให้อุปกรณ์ส่งเสียงเรียกร้องความสนใจจากคนโดยรอบ และสั่งลบข้อมูลจากระยะไกลได้
กูเกิลจะเปิดให้บริการ Android Device Manager (ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของบริการ Google Play) ในเดือนนี้ เครื่องต้องรัน Android 2.2 เป็นต้นไปจึงจะสามารถใช้บริการนี้ได้ และในอนาคตจะมีแอพบนอุปกรณ์พกพาเพื่อให้ผู้ใช้สามารถค้นหาและจัดการอุปกรณ์ต่างๆ ได้สะดวกอีกด้วย
ข่าวนี้ต่อจากข่าว ยอดดาวน์โหลด Google Play ไล่จี้ App Store แต่รายได้ยังน้อยกว่า 2.6 เท่าตัว ซึ่งเป็นข้อมูลของสำนักเดียวกันในช่วงเดือนเมษายน 2013
บริษัท App Annie ที่ไล่เก็บสถิติแอพมือถือ เผยว่ายอดดาวน์โหลดแอพในไตรมาสที่สองของปี 2013 ฝั่งของ Google Play สามารถแซงหน้า App Store ได้แล้ว (ูสงกว่าประมาณ 10%) อย่างไรก็ตามรายได้จาก App Store ยังสูงกว่า 2.3 เท่าตัว
อันดับลูกค้า 5 ประเทศยอดนิยมในแต่ละร้าน สหรัฐอเมริกายังเป็นเบอร์หนึ่งของทั้งสองฝั่ง แต่อันดับที่เหลือกลับต่างกันไป App Store นิยมในจีน ญี่ปุ่น สหราชอาณาจักร รัสเซีย ส่วน Play Store ไปได้ดีในเกาหลีใต้ อินเดีย รัสเซีย บราซิล
มีรายงานว่าแอปเปิลได้ส่งอีเมลตรงถึงกูเกิล เพื่อร้องขอให้กูเกิลทำการถอดแอพพลิเคชัน Control Center ที่พัฒนาโดย Hi Tools Studio ลงจาก Google Play เนื่องจากว่าแอพพลิเคชันนี้ลอกเลียนแบบการทำงานของ Control Center ที่เป็นฟังก์ชันหลักของ iOS 7 ซึ่งเป็นลิขสิทธิ์ที่แอปเปิลได้จดเอาไว้
กูเกิลเคยบอกใบ้เรื่องตัวแสกนมัลแวร์ที่ผนวกมากับ Google Play มาแล้วรอบนึง แต่เรายังไม่เห็นว่ามันทำงานจริงหรือไม่ นอกจากบน Android 4.2
ล่าสุดกูเกิลปรับแผนการทำงานใหม่ โดยโยกเอาฟีเจอร์นี้ออกมาจาก Android 4.2 แล้วใส่ไปใน Google Play Service แทน ซึ่งจะมีผลให้ Android 2.3/4.0 และ 4.1 ได้ใช้งานฟังก์ชันนี้ด้วยนั่นเองครับ
เก็บตกจากงานของกูเกิลเมื่อวานก่อน ในงานได้เปิดตัว Play Textbooks สำหรับให้บริการขาย/เช่าหนังสือเรียนบน Google Play
สำหรับ Play Textbooks ตอนนี้มีพันธมิตรร่วมด้วยแล้วห้ารายได้แก่ Pearson, Wiley, Macmillian Higher Education, McGraw-Hill และ Cengage Learning. แต่ยังไม่ประกาศตัวเลขหนังสือว่ามีเท่าไหร่
ราคาของหนังสือใน Play Textbooks ก็ไม่ได้ประกาศมาเช่นกัน บอกเพียงแค่ว่ามีบริการทั้งซื้อขาด และเช่า โดยแบบเช่านั้นจะลดราคาถึง 80% เมื่อเทียบกับราคาเต็ม หากเช่าเป็นเวลามากกว่า 6 เดือน
ฟีเจอร์ทางฝั่งแอพคือรองรับการอ่านเวลากลางคืน และซิงก์หนังสือไปยังอุปกรณ์เครื่องอื่นด้วย ส่วนวันเปิดบริการจริงเป็นช่วงเดือนสิงหาคมนี้ครับ
ในงานแถลงข่าวของกูเกิลเมื่อคืนนี้ มีสถิติของ Android และ Google Play หลายอย่าง
กูเกิลยังประกาศขายตำราเรียนแบบ e-book บน Google Play ในสหรัฐแล้ว โดยมีสำนักพิมพ์ใหญ่ทั้ง 5 รายเข้าร่วม ลูกค้าสามารถซื้อหรือเช่าตำราก็ได้
ร้านขายแอพ Google Play Store ปรับหน้าตาของร้านเวอร์ชันเว็บ (play.google.com) ใหม่
อินเทอร์เฟซแบบใหม่ยึดตามแนวทางการดีไซน์ของกูเกิลในช่วงหลัง นั่นคือมี sidebar ด้านซ้าย และแสดงข้อมูลในรูป card เป็นหลัก ส่วนเพจของแอพก็เพิ่มพื้นที่แสดงรูปให้เยอะขึ้น และเริ่มใช้ฟอร์แมตของไฟล์ภาพเป็น WebP แล้ว
Play Store ในไทยยังรองรับเฉพาะส่วนของแอพ การแสดงผลอาจจะขาดๆ จากเวอร์ชันสหรัฐไปบ้าง ดูภาพ Play Store ของสหรัฐที่มีเมนูครบถ้วนได้ท้ายข่าว