กระทรวงพาณิชย์และกระทรวงความมั่นคงภายในของสหรัฐฯ กำลังขอข้อมูลจากภาคเอกชนเพื่อหาความเป็นไปได้ที่จะให้มีแนวทางปฎิบัติสำหรับผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตที่จะช่วยเตือนผู้ใช้บริการที่เสี่ยงต่อการติด Botnet ให้อัพเดตระบบให้ปลอดภัย, แจ้งเดือนผู้ใช้ด้วยวิธีการต่างๆ เมื่อติด Botnet แล้ว, และหาทางบรรเทาปัญหาเมื่อพบคอมพิวเตอร์ที่ติด Botnet
การเก็บข้อมูลครั้งนี้ทั้งสองกระทรวงหวังให้มีการสร้างหลักจรรยาบรรณในการดำเนินกิจการให้กับผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตโดยไม่บังคับ
บ้านเราอาจจะถกเถียงกันมากในเรื่องของการใช้แท็บเล็ตเพื่อการศึกษา แต่ในสหราชอาณาจักรก็เริ่มมีข้อเสนอให้ราชการใช้งาน iPad หรือแท็บเล็ตอื่นๆ แทนกระดาษทั้งระบบแล้ว เพื่อลดค่าใช้จ่ายในการพิมพ์นอกจากนี้ยังใช้แทนพีซีเพื่อลดการใช้พลังงานได้พร้อมๆ กัน
Mark O'Neill หัวหน้าฝ่ายนวัตกรรมของ Government Digital Service ระบุว่าเขาเชื่อว่าการเปลี่ยนจากกระดาษไปใช้แท็บเล็ตทั้งหมดจะคืนทุนให้รัฐบาลภายใน 18 เดือนเท่านั้น โดยแท็บเล็ตนั้นใช้พลังงานเพียงหนึ่งในร้อยของพีซีเท่านั้น และหากใช้แทนกระดาษ มันจะเป็นการตัดค่าใช้จ่ายในการพิมพ์ที่รัฐบาลกลางต้องจ่ายอยู่ปีละ 104 ล้านปอนด์ลงไปได้
ถ้าใครจำได้ใบรับรอง FISMA ที่เป็นใบรับรองสำหรับหน่วยงานของรัฐที่ต้องการซื้อบริการโครงสร้างพื้นฐานจากเอกชนนั้นเคยเป็นเรื่องเป็นราวระหว่างกูเกิลและไมโครซอฟท์มาก่อน แต่วันนี้ค่ายอเมซอนก็ประกาศว่าตัวเองได้รับใบรับรอง FISMA Moderate เรียบร้อยแล้ว
ตัว Google Apps นั้นได้รับ FISMA Moderate มานานแล้ว ส่วนบริการของอเมซอนหลายตัวเช่น EC2, S3, และ VPC นั้นก่อนหน้านี้เคยได้รับใบรับรอง FISMA Low มาแล้ว และก็มีลูกค้าเป็นหน่วยงานรัฐอยู่แล้วกว่า 100 รายการเช่น Recovery.gov, Treasury.gov, หรือ Federal Register 2.0
บ้านเรายังไงก็ต้องเดินไปทางเดียวกัน หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรเตรียมการออกมาตรฐานเช่นนี้ไว้บ้าง
วันนี้เป็นวันที่สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีได้แจกเอกสาร "คำแถลงนโยบายของคณะรัฐมนตรี" ที่นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตรกำลังจะแถลงต่อรัฐสภา ซึ่งเป็นการแปลงคำหาเสียงต่างๆ มาเป็นนโยบายอย่างให้สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญมาตราต่างๆ ผมยกประเด็นไอทีที่เราถกกันใน Blognone ก่อนหน้านี้หลายครั้งมานะครับ
ประเด็นแท็บเล็ตอยุ๋ในข้อ 1.15 เรื่อง "จัดหาคอมพิวเตอร์แท็บเล็ตให้แก่โรงเรียน" ระบุว่าในปี 2555 ที่จะถึงนี้จะทดลองในโรงเรียนนำร่องชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ควบคู่ไปกับการพัฒนาเนื้อหาตามหลักสูตรเพื่อบรรจุลงในคอมพิวเตอร์แท็บเล็ต
ปัญหาที่สำคัญอย่างหนึ่งของการประมวลผลผ่านกลุ่มเมฆ คือความเสี่ยงที่ข้อมูลขององค์กร (ซึ่งไปอยู่บนเซิร์ฟเวอร์ของผู้ให้บริการ) จะรั่วไหล ทำให้องค์กรที่มีข้อมูลสำคัญๆ โดยเฉพาะหน่วยงานภาครัฐ ยังลังเลที่จะใช้บริการประมวลผลผ่านกลุ่มเมฆอยู่
Amazon ในฐานะหัวหอกเรื่องกลุ่มเมฆ จึงแก้ปัญหานี้โดยออกผลิตภัณฑ์ตัวใหม่ AWS GovCloud ที่มีความปลอดภัยมากขึ้นสำหรับหน่วยงานภาครัฐบาลของสหรัฐ
หลักการของ AWS GovGloud ก็คือบริการของ AWS ตามปกติ แต่กำหนดเขตพื้นที่ (region ของ AWS) ให้เซิร์ฟเวอร์อยู่ในสหรัฐ และเข้าถึงได้เฉพาะทราฟฟิกจากสหรัฐเท่านั้น ทำให้ AWS GovCloud ผ่านมาตรฐานความปลอดภัยข้อมูลของรัฐบาลสหรัฐ และเอื้อให้หน่วยงานภาครัฐสามารถใช้ AWS GovCloud ได้มากขึ้น
วันนี้เป็นวันแรกที่รัฐบาลใหม่รับตำแหน่งเต็มตัว เรื่องหงุดหงิดใจอย่างหนึ่งที่ผมเห็นสำนักข่าวจำนวนมากชอบทำคือการนำเสนอผล "โพล" ให้คะแนนรัฐบาลในด้านต่างๆ ว่าจะให้กี่คะแนน แล้วสำนักข่าวก็เสนอตัวเลข "เฉลี่ย" ว่าด้านไหนผ่านไม่ผ่านโดยไม่สามารถบอกได้ว่าผ่านหรือไม่อย่างไร
วันนี้ผมชวนผู้อ่าน Blognone ช่วยกันตั้ง เกณฑ์สำหรับการสอบผ่านในด้านไอซีทีของรัฐบาลใหม่ โดยหลังจากสิ้นสุดรัฐบาลชุดนี้เราจะได้กลับมาดูกันอีกครั้งว่า "ผ่าน" หรือไม่
กติกาการตั้งเกณฑ์
นานๆ ที มีข่าวดีของค่าย RIM มาให้ชื่นใจกันหน่อยนะครับ
ถึงแม้แท็บเล็ต PlayBook จะได้เสียงวิจารณ์ไม่ดีมากนัก แต่ในตลาดองค์กรซึ่งเป็นตลาดที่ RIM เชี่ยวชาญ มันก็เป็นแท็บเล็ตตัวแรกที่ผ่านมาตรฐานความปลอดภัยของข้อมูล Federal Information Processing Standard (FIPS) ของรัฐบาลสหรัฐ
การผ่านมาตรฐานนี้แปลว่าข้าราชการและพนักงานของรัฐสามารถใช้ PlayBook ในการทำงานได้อย่างเป็นทางการ ซึ่งก็แปลต่อว่า RIM จะมีตลาดใหม่ที่ไร้คู่แข่งไปอีกพักใหญ่
ที่มา - Inside BlackBerry, Informationweek
หนึ่งในนโยบายสุดเจ๋งที่เรียกได้ว่าสร้างความตกตะลึงให้กับวงการ IT ของว่าที่รัฐบาลใหม่โดยพรรคเพื่อไทยนั้น ก็คือ Tablet เพื่อการศึกษา เรียกได้ว่าเป็นเรื่องที่หลายฝ่ายต้องเอามานั่งคิดกันหัวแทบแตกเลยทีเดียว แต่เรื่องที่สำคัญกว่านั้นก็คือ "ใคร?" จะเป็นผู้ดำเนินการเรื่องนี้ให้กับรัฐบาล และความคืบหน้าก็อยู่ที่นี่ครับ
หลังการเลือกตั้งผ่านพ้นไปก็ถึงเวลาของการจัดตั้งรัฐบาลและคณะรัฐมนตรีชุดใหม่เพื่อเข้ามาบริหารประเทศ สำหรับคนแถวนี้ก็คงอยากรู้บ้างว่าใครจะมาเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หรือกระทรวงไอซีที ตอนนี้ก็มีหลายกระแสที่ออกมาตามสื่อดังนี้ครับ
นายคณวัฒน์ วศินสังวร
กลุ่มแฮ็กเกอร์ LulzSec ซึ่งช่วงหลังมาแรงแซงกลุ่ม Anonymous ได้ปฏิบัติการถล่มเว็บไซต์ของหน่วยข่าวกรองกลางสหรัฐ cia.gov ด้วยเทคนิค DDoS จน cia.gov ไม่สามารถทำงานได้
หลังการโจมตี LulzSec ได้โพสต์ข้อความบนทวิตเตอร์ว่าเว็บไซต์ของ CIA ร่วงไปแล้ว และนี่เป็นผลงานของเรา
Tango down - http://t.co/2QGXy6f - for the lulz.
ก่อนหน้านี้กลุ่ม LulzSec เพิ่งแฮ็กเว็บของ Sony Pictures ส่งผลให้ข้อมูลส่วนตัวผู้ใช้หลุดกว่า 1 ล้านบัญชี นอกจากนี้ยังเคยเจาะระบบส่วนหนึ่งของ FBI และเซิร์ฟเวอร์ของวุฒิสภาสหรัฐด้วย
ในประเทศคาซัคสถาน กูเกิลใช้โดเมนเนมว่า google.kz และมีหน้าเว็บเวอร์ชันคาซัคสถาน เช่นเดียวกับหน้าเว็บของประเทศอื่นๆ
แต่กระทรวงไอซีทีของคาซัคสถานเพิ่งเปลี่ยนกฎใหม่ว่า โดเมนที่ลงด้วย .kz จะต้องวางเซิร์ฟเวอร์ไว้ในประเทศเท่านั้น ทำให้กูเกิลมีปัญหาทั้งเรื่องระบบเครือข่าย (network efficiency) การรักษาความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้ (privacy) และเสรีภาพในการแสดงออก (freedom of expression) กูเกิลจึงตัดสินใจปิดเว็บ google.kz โดยจะ redirect ไปยัง google.com แทน เพื่อจะได้ไม่ต้องอยู่ใต้กฎของรัฐบาลคาซัคสถาน
พักหลังนี้เราจะเห็นความพยายามแบบใหม่ๆ ของรัฐบาลหลายประเทศในการปิดกั้นอินเทอร์เน็ต (อย่างของบ้านเราก็คือการสร้างหน้า 404 ปลอม) กรณีล่าสุดคือประเทศซีเรียซึ่งกำลังมีเหตุวุ่นวายทางการเมืองกับ Facebook
องค์กร EFF รายงานว่าถ้าเข้า Facebook ผ่าน HTTPS ในประเทศซีเรีย เราจะเจอกับ "Facebook ปลอม" ที่หน้าตาเหมือนกับ Facebook จริงทุกประการแทน ซึ่งเป็นเทคนิคแบบ Man-in-the-middle attack หรือการสร้าง "ตัวกลาง" ปลอมๆ ระหว่างเหยื่อและเว็บไซต์เป้าหมายที่เหยื่อต้องการจะเข้า โดยเหยื่อจะเข้าใจว่าเป็นเว็บไซต์จริงๆ และเผลอส่งข้อมูลสำคัญ (ในที่นี้คือรหัสผ่าน) ผ่านตัวกลาง
คราวก่อนเรามีข่าว ส.ส. สหรัฐ เขียนจดหมายถึงสตีฟ จ็อบส์ ขอให้อธิบายเรื่อง iOS เก็บข้อมูลพิกัด คราวนี้เป็นคิวของอัยการประจำรัฐอิลินอยส์ Lisa Madigan ได้เรียกตัวแทนของแอปเปิลและกูเกิลเข้าพบเพื่ออธิบายเรื่องนี้แล้ว
Lisa Madigan ระบุในเอกสารแถลงข่าวว่า ต้องการรับรู้ว่าบริษัทมือถือได้แจ้งผู้ใช้รับทราบก่อนหรือไม่ว่าจะเก็บข้อมูลพิกัด และผู้ใช้สามารถปิดการเก็บพิกัดได้หรือไม่
Lisa Madigan เป็นอัยการที่สนใจด้านข้อมูลส่วนตัวของผู้บริโภค และในอดีตเคยมีบทบาทในการสอบสวน Google Street View มาแล้ว
คณะกรรมาธิการด้านกฎระเบียบของสภาผู้แทนราษฎรอังกฤษ ได้ออกระเบียบฉบับใหม่ด้านการใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ในที่ประชุมสภา ซึ่งอนุญาตให้ ส.ส. ใช้มือถือ แท็บเล็ต และ Twitter ขณะประชุมสภาได้
สภาผู้แทนราษฎรอังกฤษหรือ House of Commons เคยออกระเบียบด้านการใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์มาแล้วครั้งหนึ่งเมื่อปี 2007 ซึ่งอนุญาตให้ใช้มือถืออ่านอีเมลได้ ตราบที่ไม่รบกวนการประชุมสภา แต่เมื่อเวลาผ่านไป เริ่มมีอุปกรณ์และเทคโนโลยีใหม่ๆ มากขึ้น และเกิดกรณี ส.ส. ทวีตจากที่ประชุมสภาจนเป็นเหตุขัดแย้ง ทำให้สภาต้องออกระเบียบใหม่
ระเบียบฉบับปี 2011 กำหนดเรื่องการใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ดังนี้
ติมอร์ตะวันออก หรือชื่ออย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐประชาธิปไตยติมอร์-เลสเต ประเทศน้องใหม่ล่าสุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่เพิ่งได้รับเอกราชและประกาศแยกตัวออกจากอินโดนีเซียเมื่อปี พ.ศ.2545
ได้เปิดเว็บไซต์ Timor-Leste Transparency Portal เพื่อแสดงข้อมูลการบริหารงบประมาณของรัฐบาล
ส.ว.ชัค ชูเมอร์ (Chuck Schumer) ได้ออกมาเขียนจดหมายเปิดผนึกถึงเว็บยอดนิยมจำนวนมากเพื่อให้รองรับโปรโตคอล HTTPS เพื่อป้องกันผู้ใช้งานจากการถูกแฮกบัญชีในเว็บต่างๆ
ชัคระบุว่าผู้ใช้จำนวนมากกำลังใช้อินเทอร์เน็ตผ่านแลนไร้สายที่ไม่ได้เข้ารหัส และซอฟต์แวร์แฮกสมัยใหม่นั้นใช้งานได้ง่ายทำให้ผู้ใช้ต้องตกอยู่ในอันตราย โดยช่องโหว่ของ HTTP นั้นเป็นที่รู้กันมาตั้งแต่ปี 2007 และเว็บไซต์จำนวนมากยังไม่ได้แก้ไขเพื่อให้เว็บมีความปลอดภัยเพียงพอ
ไม่มีการแถลงว่าจดหมายเปิดผนึกนี้ถูกส่งไปยังเว็บใดบ้าง แต่มีการยกตัวอย่างเช่น อเมซอน, ทวิตเตอร์, และยาฮู
ฝ่ายบริหารประเทศของประธานาธิบดีบารัค โอบามา กำหนดแผนการประหยัดงบประมาณสำหรับเทคโนโลยีสารสนเทศ และตั้งเป้าไว้ว่าจะสามารถลดค่าใช้จ่ายบางส่วนได้ไม่ต่ำกว่า 3 พันล้านเหรียญ โดยกลยุทธ์ที่ใช้คือ การรวมระบบสารสนเทศจากหลายหน่วยงาน และนำระบบไปติดตั้งรวมกันที่กลุ่มเมฆ นอกจากนี้ รัฐบาลกลางยังมีแผนในการปิดศูนย์ข้อมูลของหน่วยงานรัฐบาลกว่า 800 แห่งจากทั้งหมดที่มีอยู่ 2,100 แห่งให้แล้วเสร็จในปี 2015
เรื่องนี้ต้องย้อนไปถึงข่าว Facebook อนุญาตให้แอพขอดูที่อยู่บ้านเราได้ ซึ่งก่อให้เกิดข้อถกเถียงมากมาย แม้ Facebook จะขอหยุดฟีเจอร์ไว้ชั่วคราว แต่รัฐสภาสหรัฐก็เริ่มเข้ามาดูแลเรื่องนี้แล้ว
คณะกรรมาธิการด้านความเป็นส่วนตัวของรัฐสภา (Congressional Privacy Caucus) นำโดยประธานร่วม ส.ส. Edward Markey และ ส.ส. Joe Barton ได้ส่งจดหมายถึง Mark Zuckerberg พร้อมคำถาม 11 ข้อ ขอให้ Facebook ชี้แจงว่าถ้าเปิดฟีเจอร์นี้อีกครั้ง จะมีลักษณะอย่างไร และผู้ใช้จะเปิดเผยข้อมูลส่วนใดบ้าง
แผนการกู้เศรษฐกิจอเมริกาของโอบามาคือ "การสร้างงาน" ซึ่งอุตสาหกรรมดาวรุ่งในอเมริกาที่ยังสร้างงานได้อีกมากคืออุตสาหกรรมพลังงานทดแทน และอุตสาหกรรมไฮเทค
ล่าสุดทำเนียบขาวได้ประกาศโครงการ Startup America Partnership เพื่อลงทุนให้เกิดบริษัทหน้าใหม่ (ที่เราเรียกกันว่า startup) มากขึ้น ประธานโครงการนี้คือ Steve Case อดีตผู้ก่อตั้งและซีอีโอของ AOL ในยุครุ่งเรือง
งานนี้มีบริษัทไอทีใหญ่ๆ เข้าร่วมด้วยมากมาย เช่น อินเทลประกาศลงทุน 200 ล้านเหรียญ, ไอบีเอ็มลง 150 ล้านเหรียญ, เอชพีเปิดโครงการสอนการตั้งบริษัท และเฟซบุ๊กจะจัดงาน Startup Days ทั่วสหรัฐ นอกจากนี้ยังมีบริษัทอื่นๆ นอกวงการไอทีและมูลนิธิอีกหลายแห่งเข้าร่วมด้วย
นายกรัฐมนตรีวลาดิเมียร์ ปูตินได้ลงนามในแผนการถ่ายโอนหน่วยงานของรัฐบาลกลางและงบประมาณ ให้ไปใช้งานซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สภายในปี 2015 โดยเมื่อสิ้นสุดแผนการนี้ คอมพิวเตอร์ทั้งหมดของรัฐบาลกลางจะถูกเปลี่ยนไปใช้ซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สทั้งหมด
แผนการนี้ถูกแบ่งออกเป็นขั้นตอนไว้หลายลำดับ โดยภายในไตรมาสที่สามของปี 2011 จะต้องมีการประกาศฟอร์แมตเอกสารที่ใช้งานกับซอฟต์แวร์เสรีและกระบวนการแปลงฟอร์แมตเอกสารเดิม ปี 2012 จะเริ่มจัดตั้งแหล่งซอฟต์แวร์กลางของชาติ พร้อมกับเริ่มเปลี่ยนซอฟต์แวร์ในหน่วยงานนำร่องบางหน่วยงานจนน่าจะเสร็จสิ้นในปี 2014
การประมูลงานอีเมลของ U.S. General Services Administration (GSA) ที่กำลังเตรียมย้ายระบบอีเมลจากเดิมที่ดูแลเองทั้งหมดไปใช้บริการจากภายนอก จบลงด้วยชัยชนะของ Google Apps ที่ประมูลผ่านบริษัท Unisys ด้วยมูลค่า 6.7 ล้านดอลลาร์เป็นระยะเวลาห้าปี จากการประมูลที่มีผู้เข้าร่วมทั้งไมโครซอฟท์และไอบีเอ็ม
GSA จะย้ายข้อมูลทั้งหมดไปยัง Google Apps ในปี 2011 โดย Unisys จะให้บริการย้ายข้อมูลจากศูนย์ข้อมูล 17 แห่งทั่วโลกของ GSA ไปยัง Google Apps ไม่มีข้อมูลว่าส่วนแบ่งระหว่างค่าบริการของกูเกิลกับ Unisys นั้นแบ่งกันอย่างไร แต่ค่าบริการปรกติของ Google Apps นั้นอยู่ที่ 50 ดอลลาร์ต่อคนต่อปี ขณะที่เงิน 6.7 ล้านดอลลาร์นั้นคิดเป็น 78 ดอลลาร์ต่อคนต่อปี
รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีเปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเห็นชอบตามที่กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) เสนอให้หน่วยงานภาครัฐทุกหน่วยดำเนินการติดตั้งตัวอักษร หรือฟอนต์สารบรรณและฟอนต์อื่นๆ ทั้งหมด 13 ฟอนต์ ของสำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ (SIPA) และกรมทรัพย์สินทางปัญญาเพิ่มเข้าไปในระบบปฏิบัติการ ไทยโอเอส ให้แล้วเสร็จก่อนวันที่ 5 ธันวาคมนี้
โครงการดังกล่าวเป็นการพัฒนาและส่งเสริมให้ส่วนราชการของไทยใช้ฟอนต์ที่เป็นมาตรฐานในเอกสารทางราชการที่ไม่ขึ้นกับระบบปฏิบัติการระบบใดระบบหนึ่ง อีกทั้งยังเป็นการป้องกันการเกิดปัญหาด้านละเมิดลิขสิทธิ์กับบริษัทเอกชนด้วย
รัฐบาลอังกฤษประกาศว่า จะยังคงใช้ Internet Explorer 6 ในเครือข่ายของภาครัฐต่อไป เนื่องจากไม่เห็นประโยชน์ด้านความปลอดภัยจากการอัพเกรดจาก Internet Explorer ที่ได้รับการอัพเดทล่าสุดไปไปยังเบราว์เซอร์อื่นที่ใหม่กว่าเลย แต่รัฐบาลจะเร่งแผนเสริมความปลอดภัยด้วยไฟร์วอลล์และแอนตี้มัลแวร์แทน
เนื่องจากการโจมตีบริษัทกูเกิลและบริษัทอื่นร่วม 33 รายเมื่อต้นปีโดยใช้ช่องโหว่ใน Internet Explorer 6 ทำให้รัฐบาลเยอรมนีและฝรั่งเศสออกคำแนะนำให้อัพเกรดจากเบราว์เซอร์ที่มีอายุกว่า 12 ปีเป็นเบราว์เซอร์ที่ทันสมัยกว่าแทน
ข่าวเก่าไปนิดแต่ยังน่าสนใจครับ รัฐบาลสหราชอาณาจักรเปิดตัวเว็บไซต์ data.gov.uk ซึ่งเป็นเว็บลักษณะเดียวกับ data.gov ของรัฐบาลสหรัฐ นั่นคือมีไว้เผยแพร่ชุดข้อมูล (dataset) ของหน่วยงานรัฐบาล