ข่าวสำคัญในวงการไอทีรอบเดือนนี้คือ IBM ประกาศแยกเป็น 2 บริษัท ที่หลายคนอาจยังงงๆ อยู่ว่าจะทำไปเพื่ออะไร และข่าวการแยกบริษัทอาจไม่น่าสนใจนักเมื่อเทียบกับข่าวการซื้อบริษัท อย่างการทุ่มเงินซื้อ Red Hat ในปี 2018
แต่จริงๆ แล้ว การแยกบริษัทครั้งนี้ถือเป็นแผนย่อยในแผนปรับตัวครั้งใหญ่ของ IBM ต่อจากการซื้อ Red Hat และมีความเกี่ยวโยงกันอย่างแนบแน่น
IBM เป็นบริษัทที่มีอายุยาวนานกว่า 100 ปี ผ่านการปรับตัวให้อยู่รอดตามยุคสมัยอยู่หลายครั้ง มีทั้งการซื้อกิจการดาวรุ่งและการขายกิจการที่เติบโตช้าออกไปอยู่ตลอดเวลา การปรับตัวของ IBM รอบนี้จึงประกอบด้วยยุทธศาสตร์ทั้งสองด้าน นั่นคือการซื้อกิจการ Red Hat เข้ามา และการแยกธุรกิจออกไปตามข่าวนี้นั่นเอง
ในงานแถลงผลประกอบการของ IBM ไตรมาส 3/2020 ซีเอฟโอ James Kavanaugh ตอบคำถามของนักวิเคราะห์ไว้ชัดเจนว่า ยุทธศาสตร์ของ IBM ในตอนนี้คือการสร้างตัวขึ้นมาใหม่จากสินทรัพย์ที่ได้มาจากการซื้อ Red Hat
ทิศทางนี้ยิ่งเด่นชัดจากประกาศของ IBM ที่ต้องการแยกบริษัทเป็น 2 ส่วน โดยจะแยกธุรกิจด้านบริการ (Managed Infrastructure Services) ออกมาเป็นบริษัทใหม่อีกแห่งที่ยังไม่ได้ตั้งชื่อ บริษัทใหม่จะสืบทอดธุรกิจด้านบริการหรือดูแลเครื่องของ IBM เดิม ซึ่งเป็นธุรกิจที่อยู่มานานและเติบโตช้า ในขณะที่ IBM เดิมจะโฟกัสไปที่ซอฟต์แวร์คลาวด์ ซึ่งแกนกลางอยู่ที่ Red Hat นั่นเอง
ไอบีเอ็มรายงานผลประกอบการของไตรมาสที่ 3 ปี 2020 รายได้รวม 17,560 ล้านดอลลาร์ ลดลง 2.6% เทียบกับไตรมาสเดียวกันในปีก่อน มีกำไรสุทธิ 1,698 ล้านดอลลาร์
กลุ่มธุรกิจใหม่ตามกลยุทธ์ของไอบีเอ็มยังคงมีการเติบโตสูง กลุ่ม Cloud & Cognitive Software รายได้เพิ่มขึ้น 7% ถ้าดูเฉพาะรายได้กลุ่มคลาวด์โต 19% ขณะที่ Red Hat รายได้เพิ่มขึ้น 17%
Arvind Krishna ซีอีโอไอบีเอ็ม กล่าวว่าผลการดำเนินงานเติบโตแข็งแกร่งจากธุรกิจคลาวด์ นำโดย Red Hat เป็นผลจากการที่ลูกค้าหันมาเลือกใช้แพลตฟอร์มไฮบริดคลาวด์แบบเปิด (Open Hybrid Cloud) ที่บริษัทเป็นผู้นำในตลาดอยู่ ซึ่งไอบีเอ็มเห็นโอกาสที่ตลาดจะมีขนาดใหญ่ระดับ 1 ล้านล้านดอลลาร์
IBM ประกาศแผนการแยกธุรกิจ Managed Infrastructure Services ออกจากส่วนงาน Global Technology Services โดยจะตั้งเป็นบริษัทใหม่เพื่อโฟกัสกับเทคโนโลยียุคใหม่โดยตรง
บริษัทแห่งใหม่ของ IBM (ซึ่งตอนนี้ยังไม่มีชื่อ) จะโฟกัสที่งานจัดการและพัฒนาให้โครงสร้างพื้นฐานทางไอทีของบริษัทต่าง ๆ ให้ทันกับยุคสมัยผ่านระบบ AI และระบบอัตโนมัติต่าง ๆ ที่จะช่วยให้โครงสร้างพื้นฐานทางไอทีและศูนย์ข้อมูลของลูกค้ามีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
IBM ประกาศข่าวในงานสัมมนาด้านการเงิน Sibos ว่าธนาคารแห่งประเทศไทย เริ่มใช้งานระบบขายพันธบัตรออมทรัพย์ (government savings bonds issuing) ด้วยเทคโนโลยีบล็อกเชนของ IBM แล้ว โดยออกขายพันธบัตรผ่านระบบนี้เป็นวงเงิน 5 หมื่นล้านบาท (1.6 พันล้านดอลลาร์) ในระยะเวลา 2 สัปดาห์
การนำบล็อกเชนมาใช้งานช่วยให้นักลงทุนได้รับพันธบัตรเร็วขึ้น จากระยะเวลาปกติ 15 วันลดเหลือ 2 วัน เพราะกระบวนการเดิมมีความซับซ้อนสูง มีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหลายฝ่าย ตั้งแต่ผู้ออกพันธบัตร (issuer), ผู้จัดจำหน่าย (underwriter), นายทะเบียน (registrar) นักลงทุน (investor) และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องอื่นๆ การย้ายมาใช้ระบบบล็อกเชนที่เป็นระบบเดียวสำหรับทุกคน จึงช่วยลดกระบวนการตรวจสอบที่ซ้ำซ้อนลง ช่วยลดระยะเวลาและต้นทุนลงโดยปริยาย
Ransomware ฝันร้ายที่อาจเกิดขึ้นสำหรับผู้ดูแลระบบไอทีที่ไม่ได้เตรียมตัวไว้
ไม่ว่าจะป้องกันอย่างไรก็มีความเสี่ยงที่แฮกเกอร์สามารถโจมตีตามช่องโหว่ต่างๆ ได้ ดังนั้นคุณต้องมีการสำรองข้อมูลไว้ในที่ปลอดภัยหรือ private zone ซึ่งยูสเซอร์ แอปพลิเคชั่นและระบบปฏิบัติการไม่สามารถเข้าถึงได้โดยตรง และมีแผนการกู้คืนที่มีประสิทธิภาพ รวดเร็ว เพื่อนำข้อมูลซึ่งปราศจาก ransomware มาใช้งาน
ไอบีเอ็มเปิดตัวบริการ RoboRXN ห้องแล็บเคมีอัตโนมัติ ช่วยให้นักวิทยาศาสตร์สามารถเข้าถึงห้องแล็บเพื่อสร้างสารเคมีที่ต้องการได้จากที่บ้าน
RoboRXN เปิดให้นักวิทยาศาสตร์วาดโครงสร้างโมเลกุลที่ต้องการ จากนั้นปัญญาประดิษฐ์จะแนะนำว่ากระบวนการสังเคราะห์โมเลกุลต้องทำอะไรบ้าง เมื่อนักวิทยาศาสตร์ตรวจสอบขั้นตอนที่ปัญญาประดิษฐ์เสนอให้แล้ว สามารถสั่งให้หุ่นยนต์สังเคราะห์โมเลกุลจากห้องแล็บได้ทันที ทางไอบีเอ็มระบุว่าทดสอบความแม่นยำจากผู้ใช้ที่ทดสอบระบบ 15,000 คน รวมออกแบบสูตรสังเคราะห์เคมี 760,000 สูตร
ไอบีเอ็มเปิดตัวซีพียู POWER10 ที่ใช้เวลาพัฒนานานกว่า 5 ปี มีประสิทธิภาพต่อพลังงานดีกว่า POWER9 สูงสุด 3 เท่าตัว และจุดน่าสนใจคือรอบนี้ไอบีเอ็มร่วมมือกับซัมซุงใช้ให้ผลิตชิปด้วยเทคโนโลยี 7nm ให้หลังจากวิจัยร่วมกันตั้งแต่ปี 2015 จุดเด่นสำคัญของ POWER10 ได้แก่
เว็บไซต์ The Register อ้างถึงจดหมายเวียนจาก Diane Gherson รองประธานอาวุโสฝ่ายบุคคลของไอบีเอ็มประกาศหยุดการปรับเงินเดือนไปจนถึงครึ่งปีหน้า โดยระบุว่า COVID-19 ทำเศรษฐกิจอยู่ในสภาวะไม่แน่นอน
มาตรการนี้ยกเว้นในบางประเทศที่มีกฎหมายบังคับปรับเงินเดือน และการปรับเงินเดือนจากการเลื่อนขั้นและการย้ายตำแหน่งงานยังมีต่อไป
Gherson ระบุว่าการขึ้นเงินเดือนตามรอบปกติ หรือ Employee Salary Program นั้นดูจากปัจจัยหลายอย่าง ทั้งสภาพเศรษฐกิจ, มูลค่าของความสามารถแต่ละประเภทในตลาด, และการแข่งขันของค่าแรง โดยปัจจัยเหล่านี้อยู่ในสภาพไม่แน่นอน และผู้บริหารเองก็จะไม่ได้ปรับเงินเดือนในปีนี้เช่นกัน
IBM และ Red Hat ประกาศความร่วมมือเชิงยุทธศาสตร์กับ Adobe โดยแบ่งออกเป็น 3 เรื่องดังนี้
ไอบีเอ็มรายงานผลประกอบการประจำไตรมาสที่ 2 ปี 2020 รายได้รวม 18,123 ล้านดอลลาร์ ลดลง 5.4% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันในปีก่อน หรือลดลง 1.9% หากปรับปรุงรายการจากอัตราแลกเปลี่ยนเงิน ส่วนกำไรสุทธิอยู่ที่ 1,361 ล้านดอลลาร์
กลุ่มธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับคลาวด์ยังมีทิศทางเติบโตสูง รายได้เฉพาะกลุ่มนี้เพิ่มขึ้นถึง 30% เป็น 6,300 ล้านดอลลาร์ ขณะที่รายได้จาก Red Hat เพิ่มขึ้น 17%
Arvind Krishna ซีอีโอไอบีเอ็มกล่าวว่า ลูกค้าของเราเห็นคุณค่าของแพลตฟอร์มไฮบริดคลาวด์จากไอบีเอ็ม ซึ่งเป็นเทคโนโลยีแบบเปิด และเข้ามามีบทบาทสูงในช่วงเวลาที่ธุรกิจมีการเปลี่ยนแปลงสูงตอนนี้
ที่มา: ไอบีเอ็ม
IBM GST (Global Technology Services) ฝ่ายบริการให้คำปรึกษาของไอบีเอ็มประกาศรับสมัครวิศวกรดูแลโครงสร้างคลาวด์เพื่อทำงานในอินเดีย โดยระบบที่ดูแลเป็นโครงสร้างของระบบงานด้านการวิเคราะห์ภาษาเพื่อการวิเคราะห์ log จากระบบ แต่จุดที่น่าสนใจคือประสบการณ์ที่ต้องการนั้นสูงมาก โดยต้องการประสบการณ์ในการใช้งาน Kubernetes ถึง 12 ปีขึ้นไป แม้ว่าตัวโครงการ Kubernetes เพิ่งประกาศสู่โลกภายนอกกูเกิลเพียง 6 ปีก็ตาม
IBM เป็นบริษัทไอทีสายองค์กรที่มีความเคลื่อนไหวน่าสนใจที่สุดในรอบปีนี้ เพราะมีการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่หลายอย่าง ตั้งแต่การควบกิจการ Red Hat ที่ถือเป็นจุดเปลี่ยนของ IBM ในตลาดคลาวด์ มาสู่การแต่งตั้งซีอีโอคนใหม่ Arvind Krishna
ต้องยอมรับว่า IBM ยังไม่ประสบความสำเร็จมากนักในตลาด public cloud ที่มีผู้เล่น 3 รายใหญ่ AWS, Azure, Google Cloud แต่บริษัทก็ยังไม่ถอดใจ และเดินหน้าลุยในตลาดคลาวด์ต่อไป โดยซีอีโอ Arvind Krishna ก็ประกาศไว้ว่าจะใช้ hybrid cloud และ AI เป็นผลิตภัณฑ์หัวหอกของ IBM ในอนาคตหลังจากนี้
หลังจากเมื่อวานนี้บริการ IBM Cloud ล่มทั่วโลกเป็นเวลาสองชั่วโมง ทางไอบีเอ็มก็ชี้แจงเบื้องต้นในเว็บ status ระบุว่ากำลังสอบสวนสาเหตุ แต่ก็พบว่าผู้ให้บริการเครือข่ายภายนอกหาเส้นทางผิดพลาดจนส่งทราฟิกเข้าเครือข่ายของไอบีเอ็มจำนวนมาก และตอนนี้ยังไม่พบว่ามีข้อมูลลูกค้าเสียหายหรือมีเหตุความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แต่อย่างใด
ช่วงเช้าวันนี้ (10 มิ.ย.) ผู้ใช้ IBM Cloud พบปัญหาบริการล่มทั่วโลก และถึงขั้นหน้าเพจ IBM Cloud Status ก็ล่มตามด้วยอยู่พักหนึ่ง (ตอนนี้หน้า Status กลับมาใช้ได้แล้ว)
อัพเดตช่วง 10:30 จากหน้า Status ของ IBM Cloud ระบบส่วนใหญ่กลับคืนมาเกือบทั้งหมดแล้ว
Arvind Krishna ซีอีโอของ IBM ส่งจดหมายเปิดผนึกหาสภาคองเกรส ในประเด็นว่าด้วยความเท่าเทียมของชาติพันธุ์และการปฏิรูปการเลือกปฏิบัติในกระบวนการยุติธรรม โดยเฉพาะในแง่การนำเทคโนโลยีมาใช้งาน
หนึ่งในใจความสำคัญของจดหมายคือ IBM จะเลิกพัฒนา ขายและข้องเกี่ยวกับเทคโนโลยี Facial Recognition และซอฟต์แวร์วิเคราะห์ และจะไม่ให้อภัยบริษัทหรือเวนเดอร์เจ้าใด ที่นำเทคโนโลยีนี้ไปใช้กับการสอดส่องประชาชน, ก่อให้เกิดการเหมารวมพฤติกรรม (racial profiling) หรืออะไรก็ตามที่ละเมิดสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพ
นอกจากนี้ IBM ยังกระตุ้นให้ประเด็นเรื่องวิธีการใช้ Facial Recognition และคำถามวา่หน่วยงานที่บังคับใช้กฎหมายของภาครัฐควรใช้ Facial Recognition หรือไม่ ควรกลายเป็นวาระแห่งชาติได้แล้ว
IBM ยืนยันข่าวการปลดพนักงานจำนวนหนึ่ง ซึ่งไม่ระบุจำนวนแน่ชัด แต่สื่อบางราย เช่น Wall Street Journal และ Bloomberg รายงานว่าเป็นหลัก "หลายพันคน" โดยส่วนใหญ่เป็นพนักงานในสหรัฐอเมริกา
ปัจจุบัน IBM มีพนักงานรวมทั้งโลกประมาณ 3.5 แสนคน โฆษกของ IBM ระบุว่าเป็นการปรับตำแหน่งให้เหมาะสมกับเนื้องาน ที่ทำเป็นปกติอยู่แล้ว เพื่อให้บริษัทมีความยืดหยุ่นเพียงพอต่อสถานการณ์ปัจจุบัน และนอกจากเงินชดเชยตามปกติ บริษัทยังจะให้สิทธิประกันสุขภาพกับพนักงานที่ถูกปลดไปอีก 12 เดือน
การปลดพนักงานรอบนี้ถือเป็นครั้งแรกของซีอีโอคนใหม่ Arvind Krishna ที่เพิ่งมารับตำแหน่งในวันที่ 6 เมษายน
IBM เปิดตัว Watson AIOps แอดมินยุคใหม่ไม่ต้องใช้คน เพราะใช้ AI ช่วยอ่านไฟล์ log ของระบบไอทีองค์กร แล้ววิเคราะห์ต้นเหตุของปัญหาให้อัตโนมัติ
Watson AIOps เป็นผลงานวิจัยของ IBM Research โดยใช้เทคโนโลยี natural language processing (NLP) อ่านข้อความใน ticket ที่แจ้งปัญหาเข้ามา วิเคราะห์หาสาเหตุและวิธีแก้ไข จากนั้นจะคอยเฝ้ามอนิเตอร์ปัญหาจากช่องทาง log/alert ต่างๆ แล้วตรวจสอบว่าตรงกับแพทเทิร์นของปัญหาในอดีตหรือไม่ เพื่อนำเสนอวิธีการแก้ไขที่เหมาะสม
IBM ยังร่วมมือกับ Slack (ที่เพิ่งได้ IBM เป็นลูกค้ารายใหญ่ที่สุด) ทำระบบ ChatOps สำหรับแจ้งเตือนข้อมูลจาก AIOps ผ่านทาง Slack ด้วย
IBM ร่วมกับ Red Hat เปิดตัวโซลูชันสำหรับ Edge Computing ที่จะได้รับความนิยมมากขึ้นในยุค 5G จากปัจจัยเรื่อง latency ของเครือข่ายที่ลดลง
โซลูชันของ IBM ใช้เทคโนโลยีจากฝั่ง Red Hat คือ OpenStack และ OpenShift (Kubernetes) เป็นแกนกลาง แล้วปรับแต่งให้เหมาะกับการใช้งานในแต่ละอุตสาหกรรม ซึ่งเป็นความถนัดของ IBM (และเป็นตัวอย่างที่ดีว่า IBM ซื้อ Red Hat ไปทำไม)
Paul Cormier ซีอีโอคนใหม่ของ Red Hat ให้สัมภาษณ์กับ The Register ในโอกาสรับตำแหน่งใหม่ (แต่ตัวเขาอยู่กับ Red Hat มาตั้งแต่ปี 2001) มีประเด็นที่น่าสนใจคือวัฒนธรรมองค์กร Red Hat ที่มาจากโลกโอเพนซอร์ส เคลื่อนตัวเร็ว จะโดนวัฒนธรรมองค์กรใหญ่ของ IBM กลืนกินหรือไม่
Cormier ยืนยันว่าจะไม่มีปัญหานี้ เพราะ Red Hat จะแยกขาดจาก IBM ไม่ไปยุ่งกันเลย เขามีฝ่ายทรัพยากรบุคคล ฝ่ายกฎหมาย การเงิน ระบบไอทีภายในของตัวเองโดยไม่ต้องใช้ของ IBM และไม่มีแผนจะรวมแผนกหลังบ้านเหล่านี้เข้าด้วยกันด้วย
ไอบีเอ็มรายงานผลประกอบการของไตรมาสที่ 1 ปี 2020 รายได้รวม 17,571 ล้านดอลลาร์ ลดลง 3.4% จากช่วงเดียวกันในปีก่อน กำไรสุทธิ 1,175 ล้านดอลลาร์ โดยหากดูเฉพาะธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับคลาวด์ ไอบีเอ็มบอกว่ารายได้ส่วนนี้เพิ่มขึ้น 19%
สำหรับรายได้แบบแยกตามกลุ่มธุรกิจ กลุ่ม Cloud & Cognitive Software (รวม Red Hat) เป็นกลุ่มที่เติบโต รายได้เพิ่มขึ้น 5% เป็น 5,238 ล้านดอลลาร์ กลุ่ม Systems รายได้เพิ่มขึ้น 3% กลุ่ม Global Business Services รายได้คงที่ และกลุ่ม Global Technology Services ซึ่งเป็นรายได้ส่วนใหญ่ รายได้ลดลง 6%
IBM ในฐานะผู้ผลิตซูเปอร์คอมพิวเตอร์รายใหญ่ ร่วมมือกับห้องวิจัยแห่งชาติของสหรัฐอเมริกา, NASA, สถาบันการศึกษา และบริษัทคลาวด์ 3 ยักษ์ใหญ่ (AWS, Microsoft, Google) ตั้งกลุ่ม COVID-19 High Performance Computing Consortium เปิดซูเปอร์คอมพิวเตอร์พลังสูงๆ ให้นักวิจัยเข้ามาขอใช้งานเกี่ยวกับ COVID-19 ได้ฟรี
ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ที่นำมาเปิดให้ใช้งานมีทั้งหมด 16 ระบบ ซีพียูรวมกัน 750,000 ตัว, จีพียูรวมกัน 34,000 ตัว, สมรรถนะรวมกัน 330 petaflops ซึ่งรวมถึง Summit ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ที่แรงที่สุดในโลก ที่เพิ่งใช้คำนวณหาสารที่ใช้ทำยารักษา COVID-19 ด้วย
ลูกค้าองค์กรแต่ละที่มีการเก็บข้อมูลที่แตกต่างกัน ใช้แอปพลิเคชั่นที่แตกต่างกัน ทำให้ต้องการสตอเรจที่แตกต่างกันในเรื่องความเร็ว ขนาดข้อมูล การเชื่อมต่อกับเทคโนโลยีใหม่ๆ ฟีชเจอร์ฟังก์ชั่นและความทนทาน
Slack ประกาศเซ็นสัญญาลูกค้ารายใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ของบริษัท คือ IBM ที่จะย้ายพนักงาน 350,000 คนทั่วโลกมาใช้ Slack กันทั้งบริษัท (ตอนนี้ย้ายมาแล้ว 300,000 คน เหลืออีก 50,000 คน)
ก่อนหน้านี้ IBM ใช้ Slack กันอยู่บ้างแล้วแต่เป็นแค่บางทีมหรือบางฝ่ายเท่านั้น แต่เมื่อปีที่แล้ว IBM ตัดสินใจย้ายระบบแชทภายในมาอยู่บน Slack ทั้งหมดเพื่อปรับปรุงเครื่องมือสื่อสารภายในให้ทันสมัย
Ginni Rometty ซีอีโอของ IBM ประกาศลงจากตำแหน่งแล้ว หลังจากเป็นซีอีโอมาตั้งแต่ปี 2012 โดยเธอจะยังเป็นประธานบอร์ดของ IBM ไปจนถึงสิ้นปี 2020 และหลังจากนั้นจะเกษียณอายุ
ซีอีโอคนใหม่ของ IBM คือ Arvind Krishna ซึ่งปัจจุบันมีตำแหน่งเป็น Senior Vice President for Cloud and Cognitive Software ปัจจุบันเขาอายุ 57 ปี และทำงานกับ IBM มาตั้งแต่ปี 1990