AI นั้นบกพร่องและโน้มเอียงได้ และในช่วง 2-3 สัปดาห์ที่ผ่านมา บรรดาบริษัทผู้สร้าง AI ก็ออกประกาศสำคัญแก้ไขปัญหานี้ รวมถึงออกแนวปฏิบัติทางจริยธรรม AI เช่น
ปัญหาความลำเอียงของปัญญาประดิษฐ์ที่มักทำงานได้ดีกับคนบางเชื้อชาติหรือสีผิว เริ่มมาตั้งแต่ชุดข้อมูลที่อาจจะเน้นหนักไปยังกลุ่มคนบางเชื้อชาติเท่านั้น ตอนนี้ไอบีเอ็มก็ประกาศว่าจะเปิดชุดข้อมูลสองชุดออกสู่สาธารณะเพื่อแก้ปัญหาเรื่องนี้
ชุดข้อมูลสองชุดได้แก่
สัปดาห์ที่ผ่านมา SAP มีงานใหญ่ประจำปี SAPPHIRE 2018 ประกาศสำคัญในงานคือ SAP Cloud Platform จะเปิดให้บริการบนคลาวด์เจ้าใหญ่ครบทั้ง 4 รายคือ AWS, Azure, Google Cloud Platform, IBM แล้ว
SAP Cloud Platform เป็นบริการ PaaS ของ SAP ที่มีแกนหลักคือฐานข้อมูล HANA และบริการอื่นๆ ของ SAP ที่มาต่อเชื่อมกันเพื่อเป็นฐานสำหรับพัฒนาแอพพลิเคชันเชิงธุรกิจ ที่ผ่านมา SAP Cloud Platform เปิดให้บริการบน AWS อยู่ก่อนแล้ว ในปีนี้ขยายมายัง Azure และ Google Cloud Platform รวมถึงประกาศว่าจะรองรับ IBM Cloud ในอนาคตด้วย
การที่ SAP Cloud Platform ทำงานได้บนคลาวด์ทุกเจ้า แปลว่าลูกค้าของ SAP สามารถเลือกผสมบริการคลาวด์ข้ามค่ายได้ (เช่น พัฒนาบน Azure แล้วไปรันบน AWS)
IBM ประกาศให้พนักงานของบริษัททั่วโลก ห้ามถ่ายโอนข้อมูลขององค์กรไปยังอุปกรณ์ Removable ต่างๆ อาทิ USB, SD Card หรือแฟลชไดร์ฟ และหันไปใช้ Sync and Share ของ IBM ในการถ่ายโอนข้อมูลแทน
Shamla Naidoo ผู้บริหารฝ่ายความปลอดภัยสารสนเทศของ IBM (Chief Information Security Officer - CISO) ระบุว่าเพื่อลดความเสียหายด้านการเงินและชื่อเสียง ที่อาจเกิดจากการที่พนักงานทำอุปกรณ์ removable ที่มีข้อมูลของบริษัทเหล่านั้นสูญหาย
อย่างไรก็ตาม The Register ระบุว่าได้ข้อมูลมาว่าเกิดการต่อต้านนโยบายนี้ภายใน IBM เอง ทำให้บริษัทอาจยกเว้นในบางกรณี อาทิ การอัพเดตเฟิร์มแวร์และซอฟต์แวร์ผ่าน USB ที่ค่อนข้างเป็นวิธีปกติที่พนักงาน IBM ใช้อัพเดตแพตช์ให้ลูกค้า
ยากจะปฏิเสธว่าคลาวด์และ Virtual Machine เข้ามามีบทบาทในองค์กรมากขึ้นเรื่อยๆ ในช่วงระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมาและแน่นอนว่าผู้ให้บริการย่อมมีมากและการแข่งขันก็มากตามไปด้วย
ถึงกระนั้น VMware ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้ให้บริการ Private และ Hybrid Cloud ก็ยังคงสามารถรักษาการเติบโตและฐานะของผู้ให้บริการชั้นนำได้ ด้วยรูปแบบการเป็นพาร์ทเนอร์ (VMware Cloud Provider Program) และหนึ่งในพาร์ทเนอร์ในไทยของ VMware คือ IBM ที่ทุกคนคุ้นเคยกันในฐานะบริษัทด้านเทคโนโลยีรายใหญ่ของโลก และที่สำคัญคือมี IBM Cloud ให้บริการอยู่เองด้วย
คำถามสำคัญคือไฉน IBM จึงกลายมาเป็นพาร์ทเนอร์กับ VMware และทำงานร่วมกันได้ วันนี้คุณกิตติพงษ์ อัศวพิชยนต์ รองกรรมการผู้จัดการ ธุรกิจซอฟต์แวร์ ไอบีเอ็ม ประเทศไทย ได้พูดถึงรายละเอียดความร่วมมือดังกล่าว
ไอบีเอ็มรายงานผลประกอบการประจำไตรมาสที่ 1 ของปี 2018 รายได้รวม 19,072 ล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้น 5% จากช่วงเดียวกันในปีก่อน ทำให้เป็นอีกไตรมาสที่ไอบีเอ็มมีรายได้เพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่องจากไตรมาสก่อนหน้านี้ ส่วนกำไรสุทธิอยู่ที่ 1,679 ล้านดอลลาร์
Ginni Rometty ซีอีโอไอบีเอ็มกล่าวว่าบริษัทยังรักษาระดับการเติบโตได้ในทุกส่วนธุรกิจ ซึ่งมาจากการที่ลูกค้าสนใจลงทุนในเทคโนโลยีนวัตกรรมใหม่ๆ มากขึ้น และสะท้อนกลับมาทำให้บริษัทยังคงเป็นผู้นำในด้าน คลาวด์, AI และ Security ของลูกค้าองค์กร
แอปเปิลประกาศความร่วมมือกับ IBM โดยเปิดให้นักพัฒนาแอปบนแพลตฟอร์มแอปเปิล สามารถสร้างโมเดลจาก Machine Learning บน Watson และแปลงโมเดลที่เทรนด์เรียบร้อยแล้วออกมาให้รันได้บนแอปผ่าน Core ML ของแอปเปิล
ทาง IBM ได้พัฒนาคอนโซลบนคลาวด์ สำหรับแปลงโมเดลที่สร้างบน Watson ให้สามารถนำไปใส่และรันในแอปของแอปเปิลให้โดยเฉพาะด้วย ขณะเดียวกันนักพัฒนาก็สามารถส่งข้อมูลต่างๆ จากแอปบนสมาร์ทโฟนกลับขึ้นไปบน Watson เพื่อเทรนด์โมเดลอัลกอริทึม Machine Learning ที่สร้างขึ้นได้ด้วยเช่นกัน
ที่มา - TechCrunch
IBM เปิดตัวบริการใหม่ Deep Learning as a Service หรือ DLaaS ภายใต้บริการ Watson Studio ซึ่งเป็นโซลูชั่นช่วยในการจัดการ workflow ของ machine learning และเทรนโมเดล
ไอเดียของ DLaaS ของ IBM คือการเน้นช่วยภาคธุรกิจในการทำเครื่องมือ machine learning ได้ง่ายขึ้น โดยมีเครื่องมือให้นักพัฒนาสามารถสร้างโมเดลจากโอเพ่นซอร์สเฟรมเวิร์ค deep learning ที่เคยใช้ (เช่น TensorFlow, PyTorch) โดยเครื่องมือเหล่านี้เป็นเซอร์วิสแบบ cloud-native รวมถึงนักพัฒนาสามารถใช้ Rest API มาตรฐานสำหรับการเทรนโมเดลได้ด้วยทรัพยากรที่ต้องการ รวมถึงอินเตอร์เฟสก็มีหลากหลายรูปแบบให้เลือกใช้งานตามความถนัด ซึ่งคนที่ไม่ถนัดการโค้ดสามารถใช้ Neural Network Modeler ลากวางได้เลย ระบบหลังบ้านจะจัดการโค้ดให้เอง
IBM ประกาศร่วมมือกับ Cloudflare เพื่อทำเครื่องมือสำหรับคลาวด์ เพื่อนำบริการของ Cloudflare มาให้บริการกับลูกค้าของ IBM โดยตรง ซึ่งบริการ Cloud Internet Services ซึ่งเป็นผลจากความร่วมมือนี้จะเป็นการให้บริการโดย Cloudflare
Cloud Internet Service จะมีความสามารถตั้งแต่รักษาความปลอดภัย เช่นการป้องกันปัญหาอย่าง DDoS, บอท, การขโมยข้อมูล ไปจนถึงช่วยปรับปรุงประสิทธิภาพการให้บริการได้ด้วย โดยผู้ใช้ IBM Cloud สามารถเรียกใช้โซลูชั่นต่าง ๆ ผ่านแดชบอร์ดได้ในไม่กี่คลิก ส่วนบริการบางอย่างของ Cloudflare ที่มีเฉพาะ Enterprise Plan สามารถซื้อได้ผ่านทีมขายของ IBM โดยโซลูชั่นของ Cloudflare สามารถดีพลอยได้บนระบบคลาวด์ของ IBM ทุกประเภท ทั้ง on-premise, public cloud หรือ hybrid cloud
เมื่อคืนนี้ (ตามเวลาในประเทศไทย) IBM และ Unity ประกาศความร่วมมือกัน พร้อมปล่อย IBM Watson Unity SDK ออกมาให้กับนักพัฒนาผ่าน Unity Asset Store ซึ่งจะทำให้นักพัฒนาที่ใช้แพลตฟอร์มของ Unity สามารถผนวกรวม Watson เข้ากับแอพหรือเกมที่สร้างอยู่บนแพลตฟอร์มของ Unity ได้
แถลงการณ์ระบุว่าขั้นตอนการติดตั้งทำได้โดยง่าย และจะสามารถเปิดคุณสมบัติใหม่ๆ ให้กับเกมได้ ไม่ว่าจะเป็นการสั่งการด้วยเสียง การแปลภาษา และอื่นๆ ซึ่งทำให้แอพหรือเกมที่สร้างสามารถมีคุณสมบัติใหม่ๆ ได้มากขึ้นกว่าเดิม (ดูวิดีโอตัวอย่างเกม Star Trek Bridge Crew ที่สร้างจากความสามารถนี้ได้ท้ายข่าว)
เปิดให้ดาวน์โหลดแล้วตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
เมื่อช่วงต้นเดือนที่ผ่านมา IBM มีงานสัมมนาระดับภูมิภาคเกี่ยวกับ IBM Cloud ในประเทศไทยสำหรับคู่ค้าทางธุรกิจ งานดังกล่าวมีผู้บริหารจาก IBM ระดับสูงจำนวนหนึ่งเข้าร่วมด้วย
ผมได้รับคำชวนจากทาง IBM ประเทศไทยให้สัมภาษณ์ Jason McGee รองประธานและประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายเทคโนโลยีของ IBM Cloud เป็นระยะเวลาสั้นๆ เกี่ยวกับเทคโนโลยี โดยเฉพาะอย่างยิ่ง Kubernetes และเทคโนโลยีอื่นๆ ต้องขอบคุณทาง IBM ประเทศไทยสำหรับคำชวนดังกล่าวนี้ด้วย
เมื่อไม่กี่วันก่อน ไมโครซอฟท์ประกาศว่าจ้าง Lindsay-Rae McIntyre อดีตหัวหน้าฝ่ายความหลากหลายในองค์กร (CDO) และรองประธานฝ่ายทรัพยากรบุคคลของ IBM ให้มารับตำแหน่งหัวหน้าความหลากหลายในองค์กรของไมโครซอฟท์
วันนี้ IBM แถลงว่าบริษัทยื่นฟ้องไมโครซอฟท์แล้ว และกล่าวว่า McIntyre รู้ข้อมูลลับของบริษัททั้งด้านความหลากหลาย และกลยุทธ์ต่างๆ ที่ส่งผลต่อความสำเร็จของ IBM หากเธอย้ายไปร่วมงานกับไมโครซอฟท์ได้ในทันทีและนำข้อมูลเหล่านั้นไปใช้งาน อาจก่อให้เกิดอันตรายต่อความสามารถการแข่งขันของบริษัทได้
หลัง Einstein พบ Watson จากการจับมือพัฒนา AI ร่วมกันระหว่าง IBM และ Salesforce ล่าสุดทั้งสองบริษัทได้ขยายความร่วมมือ โดย Salesforce จะนำคลาวด์และ Watson ไปผนวกกับแพลตฟอร์ม Quip และบริการ Service Cloud Einstein
จากความร่วมมือนี้ IBM จะพัฒนา Watson Quip Live Apps เป็นแอปแบบฝังลงไปในเอกสารของ Quip ผ่าน Open API ส่วนบริการ Service Cloud Einstein ก็จะได้พลังการประมวลผลของ Watson มาช่วยเพิ่มเติมสำหรับงานหลังบ้านของลูกค้า
ที่มา - eWeek
ไอบีเอ็มรายงานผลประกอบการของไตรมาสที่ 4 ปี 2017 มีรายได้รวม 22,543 ล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้น 4% จากช่วงเดียวกันในปีก่อน และถือเป็นครั้งแรกในรอบ 23 ไตรมาส ที่ไอบีเอ็มมีรายได้เพิ่มขึ้น ส่วนสุทธิแล้วขาดทุน 1,053 ล้านดอลลาร์ เนื่องจากต้องลงบัญชีค่าใช้จ่ายพิเศษที่เป็นผลจากกฎหมายปฏิรูปภาษีในสหรัฐ 5,522 ล้านดอลลาร์ ซึ่งถ้าไม่รวมรายการดังกล่าว ก็จะมีกำไร 4,468 ล้านดอลลาร์
Ginni Rometty ซีอีโอไอบีเอ็มกล่าวว่า กลุ่มธุรกิจใหม่ตามกลยุทธ์ยังคงเติบโตสูง และตอนนี้คิดเป็น 46% ของรายได้รวมแล้ว
โดยการเติบโตในส่วนธุรกิจใหม่นั้น คลาวด์โต 30%, Analytics โต 9%, Mobile เติบโต 23% และกลุ่ม Security เติบโต 132%
IBM ประกาศความร่วมมือกับ Maersk บริษัทด้านขนส่งและเดินเรือรายใหญ่ของโลก ตั้งบริษัทร่วมทุน (joint venture) สำหรับนำ blockchain มาใช้กับเครือข่ายขนส่งทางเรือ
บริษัทใหม่จะมีหน้าที่สร้างแพลตฟอร์มดิจิทัลสำหรับการค้าและการขนส่ง เป็นมาตรฐานเปิดที่ให้ทุกบริษัทในวงการชิปปิ้งสามารถใช้งานได้ เป้าหมายคือการลดต้นทุนและความซับซ้อนในการขนส่งสินค้าทางเรือ
IBM ระบุว่า blockchain เป็นเทคโนโลยีที่เหมาะมากสำหรับโจทย์นี้ เพราะการขนส่งทางเรือมีผู้เกี่ยวข้องเป็นจำนวนมาก กระจายกันอยู่ทั่วโลก การนำ blockchain มาสร้างฐานข้อมูลกลางสำหรับธุรกรรมที่เกิดขึ้น โดยแชร์ข้อมูลระหว่างกันแต่ไม่มีใครสามารถแก้ไขข้อมูลได้โดยลำพัง ย่อมจะช่วยให้การแลกเปลี่ยนข้อมูลทำได้ง่ายขึ้น
มีข่าวไม่ยืนยันมาจาก IBM Global Technology Services (GTS) ฝ่ายบริการและที่ปรึกษาด้านไอทีของยักษ์ใหญ่ IBM ที่มีพนักงานทั่วโลกประมาณ 1 แสนคน ว่าพนักงาน 30% จะถูกสับเปลี่ยนตำแหน่ง (redeploy) และพนักงานประมาณ 10% หรือ 1 หมื่นคนอาจต้องตกงาน
เว็บไซต์ The Register ได้ข้อมูลมาจากแหล่งข่าวใน IBM พร้อมเอกสารนำเสนอเกี่ยวกับแผนการปลดพนักงานครั้งนี้ ในเอกสารระบุว่าจะมีพนักงานในสหรัฐ 1,700 คน และนอกสหรัฐ 8,400 คนที่โดนปลดออก ส่วนพนักงานคนอื่นๆ จะถูกย้ายไปยังแผนกใหม่ที่แตกต่างกันไป
มีคำกล่าวว่าข้อมูลในยุคนี้เป็นเหมือนน้ำมันที่สร้างมูลค่าทางธุรกิจได้มากมาย การจัดการข้อมูลอย่างเหมาะสม มีการจัดเก็บที่มั่นคงปลอดภัยเพียงพอ และสามารถนำข้อมูลขึ้นมาตอบสนองความต้องการทางธุรกิจได้ อาจช่วยสร้างโอกาสใหม่ๆ ที่เราไม่เคยเจอมาก่อนได้เสมอ
แต่โลกทุกวันนี้การจัดเก็บข้อมูลอาจจะกลายเป็นภาระขององค์กรธุรกิจที่ต้องเก็บข้อมูลตามกฎหมายและการกำกับดูแลต่างๆ กลายเป็นต้นทุนอย่างหนัก และเมื่อพยายามจัดการต้นทุนการจัดเก็บก็กลายเป็นว่าการนำข้อมูลกลับมาประมวลผลหาองค์ความรู้ที่องค์กรเก็บมาเป็นเวลานานกลับทำได้อย่างยากลำบาก
IBM เปิดตัวเซิร์ฟเวอร์ Power Systems AC922 เป็นเครื่องมือสำหรับใช้งานด้านการประมวลผลในศูนย์ข้อมูล โดยระบบนี้ออกแบบมาเพื่อรองรับเวิร์คโหลดด้าน AI โดยเฉพาะ ใช้หน่วยประมวลผล IBM Power9 ซึ่งพัฒนามาแล้วกว่า 4 ปี
IBM กล่าวว่า ระบบ Power9 สามารถปรับปรุงประสิทธิภาพในด้านการเทรนนิ่งของ deep learning neural networks ได้ถึง 4 เท่า เพื่อให้องค์กรสามารถสร้างแอพพลิเคชั่นที่ใช้งาน AI ที่ทำงานได้อย่างแม่นยำและรันได้ไวยิ่งขึ้น รวมถึงการนำ PCI-Express 4.0, NVIDIA NVLink และ OpenCAPI มาใช้งาน จะทำให้ระบบสามารถโยกย้ายข้อมูลได้อย่างรวดเร็วยิ่งขึ้น ซึ่ง IBM กล่าวว่า AC922 นี้เร็วกว่าระบบที่ใช้ PCI-Express 3.0 และชิพ x86 ของ Intel ของคู่แข่งมากถึง 9.5 เท่า
รู้หรือไม่ว่าบริษัทไอทีที่เรารู้จักกันในปัจจุบันอย่าง IBM เข้ามาทำธุรกิจในไทยครั้งแรก ตั้งแต่ พ.ศ. 2491 เพื่อให้บริการสำรวจสำมะโนการเกษตรและประชากรของประเทศไทย ซึ่งเป็นครั้งแรกที่ประเทศไทยเองก็เริ่มดำเนินการสำรวจข้อมูลเรื่องนี้ด้วย
เมื่อวานนี้เป็นงาน IBM 65 ปีในประเทศไทย ในงานมีสาธิตสินค้าและบริการของอินเทลใหม่ๆ หลายอย่าง แต่อย่างหนึ่งที่มีการนำมาสาธิตคือ PowerAI Vision ซอฟต์แวร์ที่มากับเซิร์ฟเวอร์ PowerAI ของไอบีเอ็มเอง โดยในแง่เทคโนโลยีแล้วภายในเป็นการใช้งานเฟรมเวิร์คที่เราเห็นกันมาก่อนแล้ว แต่ PowerAI Vision เลือกงานสองประเภทคือการค้นหาวัตถุในภาพ (object detection) และการจัดหมวดหมู่ภาพ (image labelling) มาสร้างเป็นเว็บที่รองรับกระบวนการทำงานตั้งแต่การสร้างชุดข้อมูลไปจนถึงการเปิด API โดยไม่ต้องโค้ดแม้แต่น้อย
IBM เปิดตัวฟอนต์ใหม่ที่จะใข้เป็นฟอนต์อย่างเป็นทางการของบริษัท แทนที่ฟอนต์ Helvetica Neue ที่ใช้มานานหลายสิบปี
Todd Simmons ผู้บริหารฝ่ายดีไซน์ของ IBM ระบุว่าต้องการสร้างการจดจำ ว่าถ้าหากปิดโลโก้ IBM แล้วดูแต่ฟอนต์ในเอกสาร เราจะยังแยกได้ไหมว่าเป็นเอกสารของ IBM ในเมื่อ Helvetica เป็นฟอนต์ที่ใช้กันทั่วไปในสารพัดแบรนด์
ฟอนต์ IBM Plex ถูกออกแบบโดยบริษัท Bold Monday จากเนเธอร์แลนด์ ภายใต้แนวคิดสะท้อนถึงรากเหง้าของบริษัท แต่ก็ต้องการแสดงให้เห็นการก้าวไปยังอนาคต ฟอนต์มีทั้งส่วนที่เป็นเส้นแข็ง แสดงถึงวิศวกรรม และเส้นโค้งที่สะท้อนความเป็นมนุษย์ (half man, half machine)
Quad9 โครงการบริการเซิร์ฟเวอร์ ที่ร่วมมือกันระหว่าง Global Cyber Alliance (GCA), IBM, และบริษัทป้องกันภัยเน็ตเวิร์ค Packet Clearing House เปิดให้บริการแล้ว ผ่านทางไอพี 9.9.9.9
จุดเด่นของ Quad9 คือทางโครงการจะได้รับชุดข้อมูลโดเมนมุ่งร้ายจาก 19 แหล่ง เพื่อบล็อคโดเมนที่เป็นแหล่งของภัยสำคัญๆ เช่น โดเมน phishing, โดเมนปล่อย exploit kit, หรือโดเมนควบคุมมัลแวร์ (C2) โดยแหล่งข้อมูลเหล่านี้จะได้รับข้อมูลการคิวรี DNS กลับไปเพื่อวิเคราะห์หาต้นตอของการโจมตี
เมื่อต้นปี IBM ประกาศโครงการ IBM Q มีเป้าหมายเพื่อสร้างคอมพิวเตอร์ควอนตัมขนาด 50 คิวบิต และเมื่อเดือนมิถุนายนก็สร้างเครื่องคอมพิวเตอร์ควอนตัมขนาด 16 คิวบิตเสร็จแล้ว
เมื่อวานนี้ IBM ประกาศว่า ทีมงานได้สร้างเครื่องคอมพิวเตอร์ควอนตัมต้นแบบ (prototype) ขนาด 50 คิวบิตเสร็จเรียบร้อยแล้ว อย่างไรก็ตาม ทีมวิจัยจะยังคงทดสอบและพัฒนาให้มีประสิทธิภาพในการประมวลผลมากขึ้นเสียก่อน
IBM ประกาศยกเลิกการใช้แบรนด์ Bluemix ทำตลาดคลาวด์ โดยจะเปลี่ยนชื่อมาเป็น "IBM Cloud" ที่ตรงไปตรงมากว่าแทน
ก่อนหน้านี้ IBM มีบริการด้านคลาวด์ 2 แบรนด์คือ Bluemix และ SoftLayer โดยแบรนด์ SoftLayer ถูกยุบรวมกับ Bluemix ในปี 2016 และแบรนด์ Bluemix ก็ถูกเปลี่ยนมาเป็น IBM Cloud ในปีนี้
ในแง่ของผลิตภัณฑ์และบริการต่างๆ จะไม่มีการเปลี่ยนแปลงใดๆ เพราะเป็นการเปลี่ยนแค่ชื่อเท่านั้น
ที่มา - IBM
อุปสรรคสำคัญของระบบไอทีในยุคคลาวด์ คือแอพพลิเคชันองค์กรยุคเก่า (legacy) ที่ยังต้องรันบนสถาปัตยกรรมเดิมต่อไปเรื่อยๆ และไม่คุ้มแก่การแก้ไข
IBM ในฐานะบริษัทไอทียักษ์ใหญ่ที่มีแอพพลิเคชันยุคเก่าๆ อยู่มาก จึงออกซอฟต์แวร์ IBM Cloud Private เพื่อให้นำแอพพลิเคชันเหล่านั้นมารันบนสถาปัตยกรรมยุคใหม่ได้ง่ายขึ้น (Application Modernization)
แนวคิดหลักของมันคือการนำแอพพลิเคชันเดิมๆ มารันใน container (รองรับทั้ง Docker และ Cloud Foundry Warden) แล้วบริหารจัดการด้วย Kubernetes อีกทีหนึ่ง เพื่อให้แอพพลิเคชันสามารถรันบนคลาวด์ได้ทั้ง public cloud และ private cloud ขององค์กรเอง