ไอบีเอ็มประกาศซื้อกิจการ Databand.ai สตาร์ทอัพผู้พัฒนาเครื่องมือด้าน Observability ที่ใช้ตรวจสอบจับปัญหาของข้อมูล เช่น การทำงานผิดพลาด หรือปัญหาใน pipeline ก่อนจะเกิดผลลัพธ์ ดีลดังกล่าวไม่มีการเปิดเผยมูลค่า แต่บริษัทได้รับเงินเพิ่มทุนมาแล้วรวม 14.5 ล้านดอลลาร์
ไอบีเอ็มบอกว่าทีมงานทั้งหมดของ Databand.ai จะเข้ามาร่วมทีม Data และ AI ของไอบีเอ็ม ซึ่งไอบีเอ็มจะนำเครื่องมือนี้มาเสริมกับผลิตภัณฑ์ด้าน AI และ Automation
Daniel Hernandez ผู้จัดการทั่วไปฝ่าย Data และ AI ของไอบีเอ็ม กล่าวว่าลูกค้าองค์กรที่ใช้งานแบบ Data-driven ย่อมต้องการ Data ในเวลาที่ต้องการ และหากมีข้อผิดพลาดใด ๆ ก็อาจกระทบต่อธุรกิจมาก เครื่องมือย่าง Databand.ai จึงเข้ามาเติมเต็มส่วนนี้
สำหรับองค์กรที่มีแอปพลิเคชันสำคัญ ระบบฐานข้อมูล หรือระบบหลักที่เรียกว่า Mission Critical Systems เรื่องของเสถียรภาพและประสิทธิภาพ เป็นสิ่งสำคัญอันดับแรก ๆ ที่ลูกค้าองค์กรต้องพิจารณาเพื่อให้ระบบต่าง ๆ และแอปพลิเคชันเหล่านั้น ทำงานได้ตลอดเวลา และมีปัญหาและ Downtime น้อยที่สุด รวมไปถึงความปลอดภัยของระบบงานนั้น ๆ ด้วย และยิ่งปัจจุบันหลายองค์กรเริ่มปรับตัวและพัฒนาปรับปรุงแอปพลิเคชันขององค์กรให้ทันสมัยมากขึ้นที่เรียกว่า Modernization โดยการพัฒนาแอปพลิเคชันในรูปแบบ Cloud Native Application หรือ Microservices ที่ออกแบบเพื่อรองรับการประมวลผลในรูปแบบคลาวด์ ลูกค้าต้องพิจารณาตั้งแต่ระบบโครงสร้างพื้นฐาน ไปจนถึงการใช้บริการคลาวด์จากผู้ให้บริการต่าง ๆ ทั้งในและนอกประเทศ ในลักษณะของไฮบริดคลาวด์อีกด้วย โค
Arvind Krishna ซีอีโอ IBM แจ้งพนักงานในรัสเซีย ว่าหลังจากบริษัทตัดสินใจได้หยุดดำเนินการในรัสเซียทั้งหมดตั้งแต่ 7 มีนาคม ที่ผ่านมา เนื่องจากสถานการณ์การสู้รบในยูเครน เพื่อความปลอดภัยของพนักงาน และบริษัทยังจ่ายเงินเดือนให้ตามปกติ
โดย IBM บอกว่าผลกระทบจากการสู้รบยังมีความไม่แน่นอนหลายอย่าง และกระทบต่อแผนงานในระยะยาว บริษัทจึงตัดสินใจทยอยปิดส่วนธุรกิจในรัสเซีย โดยเริ่มต้นตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป และปลดพนักงานในส่วนธุรกิจต่าง ๆ ตามลำดับ
IBM มีลูกค้าในรัสเซียระดับองค์กรรายใหญ่หลายราย ในไตรมาสที่ผ่านมาบริษัทแจ้งกับนักลงทุนว่าการหยุดธุรกิจในรัสเซีย กระทบกับรายได้บริษัทประมาณ 0.5%
IBM ประกาศซื้อกิจการ Randori สตาร์ทอัพด้านระบบความปลอดภัย โดยไม่มีการเปิดเผยมูลค่าของดีล ซึ่ง IBM บอกว่าจะนำมาเสริมโซลูชันความปลอดภัยให้กับลูกค้า รองรับยุทธศาสตร์ไฮบริดคลาวด์
Randori ก่อตั้งในปี 2018 มี Brian Hazzard เป็นผู้ร่วมก่อตั้งและปัจจุบันเป็นซีอีโอ บริษัทระบุว่าเป็นผู้นำในด้าน Attack Surface Management โดยเป็นเครื่องมือจัดการและตรวจสอบภัยคุกคามที่สามารถไว้วางใจได้ บริษัทได้รับเงินลงทุนไปแล้วกว่า 30 ล้านดอลลาร์
Hazzard กล่าวว่าเขาก่อตั้ง Randori มีเป้าหมายให้ทุกองค์กร สามารถสร้างมุมมองแบบเดียวกับที่ผู้โจมตีมอง จึงทำให้สามารถมองไปข้างหน้าได้ไกลกว่าภัยคุกคามในปัจจุบัน การได้เข้าร่วมกับ IBM ทำให้บริษัทสามารถบรรลุวิสัยทัศน์และยุทธศาสตร์ที่วางไว้ ได้เร็วยิ่งขึ้น
เปิดใช้งานระบบการป้องกันข้อมูลจาก Ransomware และ Cyber attack ด้วย IBM FlashSystem Safeguarded Copy ได้ฟรี!!! และสร้างความปลอดภัยขั้นสุดด้วยการผนึกกำลังกับ IBM QRadar
เมื่อปีที่แล้วจนกระทั่งเริ่มต้นปีใหม่ปีนี้ก็ยังคงร้อนแรงอย่างต่อเนื่องสำหรับสถานการณ์ภัยคุกคามของโรคระบาด และที่ไม่แพ้กันเลยก็คือภัยคุกคามทางโลก IT ที่นับวันจะยิ่งทวีความซับซ้อนและรุนแรงมากขึ้น ถือว่าเป็นภัยใกล้ตัวที่มีความเสี่ยงสูงมากสำหรับทุกหน่วยงาน ถ้าหากยังไม่มีการเตรียมความพร้อมในการรับมือกับสิ่งเหล่านี้ ก็อาจจะสร้างความเสียหายอย่างมหาศาลให้กับหน่วยงานของคุณได้
ไอบีเอ็มรายงานผลประกอบการของไตรมาสที่ 1 ปี 2022 มีรายได้รวม 14,197 ล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้น 8% จากช่วงเดียวกันในปีก่อน และมีกำไรสุทธิ 733 ล้านดอลลาร์
Arvind Krishna ซีอีโอไอบีเอ็มกล่าวว่า ผลประกอบการที่เติบโตมาจากความต้องการด้านไฮบริดคลาวด์ และ AI ซึ่งเสริมทั้งธุรกิจซอฟต์แวร์และงานให้คำปรึกษา ซึ่งทิศทางนี้จะเสริมการเติบโตไปตลอดปี 2022
ตัวเลขแยกตามกลุ่มธุรกิจแบ่งเป็น ซอฟต์แวร์รายได้เพิ่มขึ้น 12% งานให้คำปรึกษาเพิ่มขึ้น 3% Infrastructure เพิ่มขึ้น 2% และกลุ่มไฮบริดคลาวด์เพิ่มขึ้น 14%
ซีเอฟโอ Jim Kavanaugh ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่ารัสเซีย ซึ่งไอบีเอ็มประกาศหยุดทำธุรกิจในประเทศ มีผลต่อรายได้รวม 0.5% และยังไม่เห็นผลกระทบสืบเนื่องจากประเทศอื่นของยุโรป
IBM เปิดตัวเครื่องคอมพิวเตอร์เมนเฟรมรุ่นใหม่ (ที่น่าจะเหลือทำอยู่บริษัทเดียวแล้ว) คือ IBM z16 ที่ต่อยอดมาจาก z15 ในปี 2019
จุดเด่นของ IBM z16 คือซีพียูใหม่ Telum ที่เปิดตัวมาก่อนเมื่อปีที่แล้ว มีจุดเด่นด้านการประมวลผล AI รองรับได้ 3 แสนล้าน inference ต่อวัน ซึ่ง IBM ยกตัวอย่างว่าสามารถนำไปใช้ในภาคการเงิน เพื่อป้องกันธุรกรรมที่ผิดปกติ (fraud) ได้ในขนาดที่เยอะกว่าเดิมมาก
ปัจจุบันนี้หลายๆ องค์กรได้นำเอาข้อมูลมาใช้ในการขับเคลื่อนธุรกิจ (Data Driven Organization) เพื่อให้การบริหารและการตัดสินใจต่างๆ เกิดประสิทธิภาพสูงสุด อย่างไรก็ตาม ปัญหาที่เกิดขึ้นในเกือบทุกองค์กรก็คือการที่ไม่สามารถนำข้อมูลที่มีอยู่ทั้งหมดมาใช้ประโยชน์ได้อย่างเต็มที่ เนื่องจากมีปัญหาในการเข้าถึงแหล่งข้อมูลที่แยกกันอยู่คนละระบบ, ชนิดของข้อมูลที่มีหลากหลายประเภทและความซับซ้อนในการรวบรวมข้อมูลเพื่อใช้ในการวิเคราะห์ ซึ่งจากการวิจัยพบว่ามีข้อมูลถึง 68%¹ ไม่ได้ถูกนำมาวิเคราะห์หรือใช้งานให้เกิดประโยชน์ และ 82%² ขององค์กรส่วนใหญ่มีการบริหารจัดการและเก็บข้อมูลแยกออกจากกัน แบ่งเป็นระบบใครระบบมัน หากมีความต้องการที่จะดึงข้อมูลจากระบบอื่นมาใช้งานก็จะเกิดปัญหาในการเข้าถึงข้อมูล ยกตัวอย่างเช่น ในระบบขอ
IBM ประเทศไทย แต่งตั้งคุณสวัสดิ์ อัศดารณ เป็นกรรมการผู้จัดการใหญ่คนใหม่ เมื่อวันที่ 17 มกราคม 2022 ที่ผ่านมา
คุณสวัสดิ์ ถือเป็นพนักงานลูกหม้อของ IBM ประเทศไทย ทำงานมาตั้งแต่ปี 1990 โดยก่อนหน้านี้เป็นผู้จัดการทั่วไปของ IBM Consulting (Thailand) ฝั่งธุรกิจคอนซัลต์ ก่อนมารับตำแหน่งกรรมการผู้จัดการใหญ่ของ IBM Thailand อีกตำแหน่ง
Blognone มีโอกาสสัมภาษณ์คุณสวัสดิ์ในโอกาสที่รับตำแหน่งใหม่ และสอบถามมุมมองการเปลี่ยนแปลงของ IBM ตลอดการทำงาน 30 กว่าปีที่ผ่านมา
คอมพิวเตอร์เมนเฟรมกับคลาวด์อาจเป็นเทคโนโลยีคนละยุค ที่ฟังชื่อแล้วดูห่างไกลกันมาก แต่ถ้ามีหน่วยงานที่ต้องการเช่าเครื่องเมนเฟรมผ่านคลาวด์ ตอนนี้ IBM เปิดให้ทำได้แล้ว
IBM ถือเป็นผู้ขายเมนเฟรมรายใหญ่ของโลก เป็นเจ้าของระบบปฏิบัติการ z/OS ของตัวเอง ประกาศทำ Wazi as a Service (Wazi aaS) เปิดให้เช่าเครื่อง z/OS แบบออนดีมานด์ผ่านคลาวด์ IBM Cloud VPC โดยจะเริ่มให้บริการในช่วงครึ่งหลังของปี 2022
กลุ่มเป้าหมายของบริการ IBM Wazi aaS คือลูกค้าองค์กรที่มีเครื่องเมนเฟรม Z ของ IBM อยู่แล้ว แต่ต้องการหาเครื่องมาทดสอบการพัฒนาแอพเพิ่มเติม โดยไม่ต้องซื้อเครื่องใหม่ให้เปลืองงบประมาณ
ไอบีเอ็มรายงานผลประกอบการไตรมาสที่ 4 ของปี 2021 รายได้รวมเพิ่มขึ้น 6.5% จากช่วงเดียวกันในปีก่อนเป็น 16,695 ล้านดอลลาร์ กำไรสุทธิ 2,332 ล้านดอลลาร์
รายได้แยกตามกลุ่มธุรกิจ ซึ่งไตรมาสนี้ปรับรูปแบบการรายงานหลังจากแยกธุรกิจบริการด้านไอทีออกไปเป็น Kyndryl โดย กลุ่มซอฟต์แวร์เพิ่มขึ้น 8%, งานให้คำปรึกษาเพิ่มขึ้น 13%, Infrastructure เพิ่มขึ้น 2% กลุ่มไฮบริดคลาวด์เพิ่มขึ้น 16%
Arvind Krishna ประธานและซีอีโอไอบีเอ็มกล่าวว่า รายได้ในไตรมาสที่ 4 เพิ่มขึ้นจากความต้องการไฮบริดที่เพิ่มสูง ซึ่งส่งผลต่อรายได้ธุรกิจซอฟต์แวร์และให้คำปรึกษาด้วย
ไอบีเอ็มประกาศลงนามข้อตกลง เพื่อขายสินทรัพย์ของธุรกิจจัดการข้อมูลสุขภาพ และ Analytics ซึ่งปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มธุรกิจ Watson Health ให้กับบริษัทด้านการลงทุน Francisco Partners
มีรายงานมาตั้งแต่ปีที่แล้วว่าไอบีเอ็มพยายามหาผู้มาซื้อธุรกิจ Watson Health เนื่องจากไม่ทำกำไรอย่างที่ต้องการ และก็มีข่าวอีกครั้งเมื่อสัปดาห์ก่อน
ผลิตภัณฑ์ที่อยู่ในรายการสินทรัพย์ที่ขายนี้รวมทั้ง Health Insights, MarketScan, Clinical Development, Social Program Management และ Micromedex
เมื่อต้นปี 2021 เคยมีข่าวลือมารอบหนึ่งแล้วว่า IBM อยากขายธุรกิจ Watson Health ออกไป เพราะเป็นธุรกิจที่ยังไม่สามารถทำกำไรได้อย่างที่คิด
ต้นปีนี้มีข่าวลืออีกรอบจากเว็บไซต์ Axios ว่า IBM กำลังอยู่ระหว่างกระบวนการหาผู้ซื้อ โดยปิดรับข้อเสนอจากบริษัทต่างๆ ในสัปดาห์นี้ และคาดว่าจะได้ข้อสรุปช่วงสิ้นเดือนมกราคม ตามข่าวบอกว่ามีบริษัทอื่นเสนอซื้อในเชิงยุทธศาสตร์ 1 ราย ที่เหลือเป็นบริษัทลงทุน (private equity) ที่อยากซื้อกิจการไปปั้นขายหรือขายหุ้น IPO ในอนาคต
เมื่อ Cybersecurity กลายเป็นสิ่งจำเป็นต่อการสร้างความมั่นคงให้กับทุกธุรกิจองค์กร ผู้ให้บริการด้าน IT หลายแห่งก็เริ่มปรับตัวหันมาให้บริการด้านนี้กันมากขึ้น ตอบโจทย์ต่อความต้องการของตลาดที่นับวันจะยิ่งเติบโต
PPlus Visions ในฐานะของผู้เชี่ยวชาญด้านการให้บริการระบบเครือข่ายสำหรับธุรกิจโทรคมนาคมโดยเฉพาะ ก็เป็นอีกธุรกิจที่ปรับตัวหันมาสู่ตลาดนี้ ด้วยจุดเด่นที่น่าสนใจทั้งในแง่การทำงานที่รวดเร็วว่องไวในมาตรฐานระดับโทรคมนาคม, ประสบการณ์การดูแลอุปกรณ์จำนวนมหาศาลให้กับสาขาของธุรกิจองค์กรหลายพันแห่ง ไปจนถึงวิสัยทัศน์ที่มองเห็นถึงโอกาสสำหรับธุรกิจองค์กรที่จะได้นำข้อมูลด้าน Cybersecurity ที่มีอยู่ในองค์กรมาต่อยอดได้อย่างหลากหลายในอนาคต
Leverage modernization technology to drive the business growth
โลกดิจิทัลกำลังพลิกโฉมรูปแบบธุรกิจ ทางองค์กรจึงต้องคิดใหม่ ทำใหม่ เกี่ยวกับการบริการลูกค้าและประสบการณ์ (Customer Experience) โดยใช้ข้อมูลเป็นตัวเร่งให้เกิดนวัตกรรมและการเปลี่ยนแปลง โดยสถาปัตยกรรมข้อมูลเดิม (Legacy architecture) อาจจะไม่สามารถตอบสนองความต้องการด้านความเร็ว ความยืดหยุ่น และนวัตกรรมใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้นในปัจจุบันและในอนาคตได้
Kyndryl บริษัทดูแลโครงสร้างพื้นฐานไอทีที่แยกตัวมาจาก IBM เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา เป็นเสือปืนไว เซ็นสัญญาเป็นพันธมิตรกับไมโครซอฟท์แทบทันที ทั้งสองบริษัทจะร่วมกันให้บริการต่างๆ ภายใต้ร่ม Microsoft Cloud กับฐานลูกค้าของ Kyndryl
เหตุผลที่ Kyndryl แยกตัวมาจาก IBM มีทั้งเรื่องโครงสร้างการเงิน และความคล่องตัวที่ Kyndryl สามารถให้บริการเทคโนโลยีของบริษัทอื่นได้ง่ายขึ้น การเซ็นสัญญากับไมโครซอฟท์ถือเป็นสัญญาณชัดเจนว่า Kyndryl สามารถขายโซลูชันของบริษัทอื่นๆ ได้ทันที
ที่มา - Kyndryl
IBM เสนอวิธีการวัดความเร็ว (ในที่นี้ speed) ของคอมพิวเตอร์ควอนตัมด้วยหน่วยใหม่ที่เรียกว่า CLOPS (Circuit Layer Operations Per Second)
IBM บอกว่าการวัดสมรรถนะของคอมพิวเตอร์ควอนตัมแบ่งออกเป็น 3 มิติหลักๆ ได้แก่
IBM เปิดตัวชิปประมวลผลควอนตัม (Quantum Processor) ตัวใหม่โค้ดเนม Eagle สามารถประมวลผลได้ 127 คิวบิต (qubit) ถือเป็นสถิติใหม่ของวงการควอนตัมที่ทำได้เกิน 100 คิวบิต และเอาชนะชิปรุ่นเดิมโค้ดเนม Hummingbird ที่ทำได้ 65 คิวบิต
IBM ระบุว่า Eagle ถือเป็นก้าวสำคัญที่คอมพิวเตอร์ควอนตัมจะแซงหน้าคอมพิวเตอร์แบบคลาสสิคอย่างเห็นได้ชัดเจน สิ่งที่ Eagle พัฒนาขึ้นคือวิธีการวางเรียงคิวบิตแบบ 6 เหลี่ยม (hexagon) ที่ต่อยอดมาจากชิป Falcon รวมถึงการวางแพ็กเกจของชิปแบบ 3D ซ้อนกันเป็นชั้นๆ ด้วย (ตามภาพ)
แผนการของ IBM คือจะออกชิปควอนตัมรุ่นหน้าโค้ดเนม Osprey ในปี 2022 (433 คิวบิต) และ Condor ในปี 2023 (1,121 คิวบิต)
วันนี้ (4 พฤศจิกายน ตามเวลาสหรัฐ) IBM ประกาศแยกธุรกิจบริการไอทีออกเป็นบริษัทใหม่ชื่อ Kyndryl (อ่านว่า คินดริล) ตามที่เคยประกาศไว้ก่อนหน้านี้
Kyndryl คือธุรกิจรับดูแลเครื่องและระบบ (managed infrastructure services) เดิมของ IBM โดยจะเข้าขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์นิวยอร์ก (NYSE) วันนี้เป็นวันแรก (ใช้ชื่อย่อว่า KD) โครงสร้างผู้ถือหุ้นคือ IBM ยังถือหุ้น 19.9% ในบริษัทใหม่ และผู้ถือหุ้นเดิมของ IBM จะได้รับหุ้นของ Kyndryl ในอัตรา 5 หุ้น IBM ต่อหนึ่งหุ้น Kyndryl
IBM ประกาศซื้อกิจการ McD Tech Labs บริษัทเทคโนโลยีของ McDonald’s ที่พัฒนาระบบรับออเดอร์อัตโนมัติ (Automated Order Taking - AOT) ที่ใช้ AI รับฟังคำสั่งเสียงจากลูกค้าในระบบไดรฟ์ทรู แทนการใช้คนแบบที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน
McD Tech Labs เกิดจากการที่ McDonald's ซื้อกิจการบริษัท Apprente ในปี 2019 เพื่อพัฒนา AI ฟังคำสั่งซื้อของลูกค้า โดย McDonald's ระบุว่าการขายกิจการครั้งนี้ไม่ได้เป็นการเลิกทำ AOT แต่เป็นการโอนทีมด้าน AI ไปให้กับ IBM ที่เชี่ยวชาญเรื่องนี้มากกว่า มีสเกลในการขยายร้านอาหารที่รองรับสูงกว่า (McD Tech Labs จะเข้าไปอยู่ใต้ IBM Watson) และทั้งสองบริษัทจะยังพัฒนา AOT ร่วมกันต่อไป
ไอบีเอ็มรายงานผลประกอบการของไตรมาสที่ 3 ปี 2021 มีรายได้รวม 17,618 ล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้น 0.3% เทียบกับไตรมาสเดียวกันในปีก่อน และมีกำไรสุทธิ 1,130 ล้านดอลลาร์ เนื่องจากไอบีเอ็มเตรียมแยกธุรกิจให้บริการ Infrastructure ออกไปในชื่อ Kyndryl ช่วงเดือนพฤศจิกายนนี้ จึงให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า ถ้าปรับตัวเลขโดยแยกส่วน Kyndryl ออกไป รายได้รวมไอบีเอ็มจะเพิ่มขึ้น 2.5%
Arvind Krishna ซีอีโอไอบีเอ็ม กล่าวว่าหลังการแยกธุรกิจ Kyndryl ออกไปในต้นเดือนหน้า ไอบีเอ็มจะเข้าสู่ยุคใหม่ที่มีแพลตฟอร์มด้านไฮบริดคลาวด์ และ AI เป็นศูนย์กลาง และยังดำเนินงานต่อเนื่องในธุรกิจซอฟต์แวร์และให้คำปรึกษา ซึ่งยังมีการเติบโตสูง
ทาง IBM มีการเปิดตัวเครื่องเซิร์ฟเวอร์รุ่นใหม่อย่างเป็นทางการ ในวันที่ 9 เดือน 9 ที่ผ่านมา ซึ่งทาง IBM ยังคงนำเสนอเครื่องในตระกูล Power Systems อันทรงพลังเช่นเดิม แต่ออกแบบและพัฒนาต่อยอดไปอีกขั้นโดยเปิดตัวซีพียูประมวลผลรุ่นล่าสุด Power10 ที่ผลิตบนมาตรฐานการผลิตชิปเซ็ตสถาปัตยกรรมสมัยใหม่แบบ 7 nm ทำให้ประสิทธิภาพและความสามารถในการประมวลผลเพิ่มขึ้นเป็นอย่างมาก ช่วยให้เครื่องเซิร์ฟเวอร์รุ่นใหม่นี้ทำงานได้ดีขึ้นแต่ใช้พลังงานต่ำลง แน่นอนว่าผู้ใช้ระดับองค์กรได้ประโยชน์จากการเปลี่ยนระบบไปใช้เครื่อง Power10 เต็ม ๆ นั่นคือ การทำงานของแอปพลิเคชันหรือระบบงานเดิมทำงานได้เร็วขึ้น หรือรองรับจำนวนลูกค้าที่เพิ่มขึ้น หรือระบบโดยรวมมีเสถียรภาพสูงขึ้น ลดปัญหา Downtime ที่ไม่ได้วางแผนล่วงหน้าของระบบได้เป็นอย่
IBM ประกาศพนักงานทุกคนในสหรัฐฯ ต้องฉีดวัคซีน COVID-19 ครบโดสภายในวันที่ 8 ธ.ค.นี้ ไม่เช่นนั้นจะระงับการจ่ายค่าจ้าง ทางบริษัทบอกพนักงานด้วยว่า ในฐานะบริษัทคู่สัญญากับรัฐบาล ต้องทำตามคำสั่งเรื่องการฉีดวัคซีนของประธานาธิบดี โจ ไบเดน
กลุ่มผู้ให้บริการคลาวด์ 3 รายใหญ่คือ Amazon, Google, Microsoft พ่วงด้วยบริษัทไอทีองค์กรยักษ์ใหญ่ Cisco, IBM, SAP, Atlassian, Salesforce/Slack ประกาศตั้งกลุ่ม Trusted Cloud Principles กำหนดหลักการพื้นฐาน (principles) ที่ผู้ให้บริการคลาวด์พึงกระทำกรณีภาครัฐมาขอข้อมูลจากลูกค้าที่มาเช่าคลาวด์
หลักการมีทั้งหมด 5 ข้อดังนี้
IBM เปิดตัวเซิร์ฟเวอร์ Power E1080 เซิร์ฟเวอร์ตัวแรกที่ใช้ซีพียูสถาปัตยกรรม Power10 ที่เปิดตัวครั้งแรกในช่วงกลางปี 2020 และเป็นรุ่นอัพเกรดโดยตรงของ Power E980 ของซีรีส์ Power9 เดิม
ซีพียู IBM Power10 ใช้กระบวนการผลิตที่ 7nm EUV ของซัมซุง, เพิ่มจำนวนคอร์เป็น 15 คอร์ (เดิม 12 คอร์) โดยผลิตที่ 16 คอร์และปิด 1 คอร์เพื่อเพิ่มอัตรา yield, มาพร้อมฟีเจอร์ symmetric multiprocessing (SMT) ที่สามารถสเกลทั้งระบบได้ถึง 240 คอร์