ก่อนหน้านี้สำนักกฎหมายธรรมนิติ และสถาบันไทยรูรัลเน็ต ได้เซ็นสัญญา MOU ในการแปล Creative Commons เป็นภาษาไทยและให้สอดคล้องกับกฤหมายลิขสิทธิ์ในประเทศไทย (ข่าวเก่า)
ขณะนี้ร่าง CC Licences ภาษาไทย ฉบับรับฟังความคิดเห็น ได้ออกแผยแพร่ต่อสาธารณชนเรียบร้อยแล้ว ขั้นตอนต่อไปคือการรับฟังความคิดเห็นจากสาธารณชนไทย ว่ามีข้อเสนอแนะอะไรเพิ่มเติมหรือไม่ โดยจะปิดรับความคิดเห็นในวันที่ 17 ตุลาคม ที่จะถึงนี้
ดาวน์โหลดเอกสารทั้ง 6 ฉบับได้ที่เว็บไซต์ต้นทางได้เลยครับ
ที่มา : youfest.in.th/CC_Thailand
ถ้าใครตามข่าวในหมวดสิทธิบัตรมาบ้าง คงพอรู้ว่าระบบกฎหมายสิทธิบัตรในสหรัฐมันออกจะมั่วๆ แถมยังไม่ทันสมัยเพราะออกเมื่อปี 1952 โน่น พอเอาปัญหานี้มารวมกับการที่สหรัฐมีสิทธิบัตรซอฟต์แวร์ (ซึ่งประเทศไทยและอีกหลายประเทศไม่มี แต่ในความเป็นจริงซอฟต์แวร์ที่เราใช้ก็มาจากสหรัฐซะมาก) จึงเกิดผลกระทบต่ออุตสาหกรรมไฮเทคอย่างเลี่ยงไม่ได้
นับเป็นเวลากว่าสองปีแล้วที่ทาง Google News ต้องมีปัญหากับเหล่าสำนักข่าวที่เริ่มต้นจาก AFP โดยสำนักข่าวเหล่านี้กล่าวหาว่าทางกูเกิลได้ขโมยเอาข่าวของพวกเขาไปแสดงบนเว็บของตนเอง และทางกกูเกิลก็แย้งว่าการนำไปแสดงข่าวบนเว็บนั้นเพือนำให้ผู้อ่านได้เข้าไปอ่านข่าวเต็มๆ ได้ง่ายยิ่งขึ้นเท่านั้น
ขอแสดงความยินดีในโอกาสครบรอบสามปีของ Blognone และในโอกาสงาน BTD3 ด้วยข่าวสั้นนี้ก็แล้วกันครับ
บจ.สำนักกฎหมายธรรมนิติิ และ สถาบัน TRN ลงนามในบันทึกข้อตกลงร่วมกับ Creative Commons International (Berlin) เพื่อที่จะแปลสัญญาเสรี Creative Commons (cc) เป็นภาษาไทย และให้ใช้ได้จริงในกฏหมายไทย
ผู้ดำเนินงานคาดว่าภายในสามเดือนนี้น่าจะเรียบร้อย
ข่าวนี้แบบสั้นๆ เล่าให้จบในบรรทัดเดียวเหมือนหัวข่าวว่าศาลได้ตัดสินให้ Novell ชนะ SCO ในการอ้างสิทธิ์ความเป็นเจ้าของ UNIX ที่ยืดเยื้อยาวนานมาหลายปี
ส่วนแบบยาวๆ ต้องเท้าความชุดคดี SCO อ้างว่าลินุกซ์เอาโค้ดจาก UNIX มาใช้ โดยคดีชุดนี้ประกอบด้วยคดี SCO ไล่ฟ้องบริษัทหลายแห่ง (หลักๆ คือ IBM ส่วนบริษัทอื่นมี DaimlerChrysler เป็นต้น) และคดี SCO อ้างว่าตัวเองเป็นเจ้าของ UNIX ซึ่ง Novell เป็นฝ่ายฟ้องว่าเจ้าของนั้นคือฉันต่างหาก
คดีชุดแรกจบไปเมื่อปี 2006 โดยศาลตัดสินว่า SCO ไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่านำโค้ดมาใช้จริง อันนี้จบเรื่องไป
ตามกฏหมายลิขสิทธิ์ (ซึ่งมีผลมาจาก Berne Convention) เมื่อเราสร้างสรรค์ผลงานขึ้นมาแล้ว ลิขสิทธิ์ในผลงานนั้นๆ จะเป็นของผู้สร้างอัตโนมัติในช่วงระยะเวลาหนึ่ง (แปรตามกฎหมายแต่ละประเทศ และชนิดของผลงาน แต่ส่วนมากก็ 50 ปีขึ้นไป) จากนั้นลิขสิทธิ์จะขาด กลายเป็นของสาธารณชน (public domain)
เรื่องนี้ถูกวิจารณ์มาเยอะว่าเป็นระยะเวลาที่นานไป คนอื่นต้องรอกันนานมากกว่าจะนำผลงานเหล่านี้ไปใช้ได้ ปัญหามีอยู่ว่าระยะเวลาที่เหมาะสมเป็นเท่าไรกันแน่ ที่จะดุลระหว่างการคุ้มครองสิทธิ์เจ้าของ และการให้คนอื่นนำไปใช้ต่อ
IBM ประกาศว่าคนทั่วไปสามารถใช้งานสิทธิบัตรกว่า 200 รายการได้โดยไม่ต้องขออนุญาต และไม่เสียค่าใช้จ่าย ตราบเท่าที่การใช้งานนั้นเป็นไปในทางส่งเสริมมาตรฐานเปิด และการทำงานข้ามกันได้ระหว่างระบบ (interoperable)
IBM สนับสนุนมาตรฐานเปิดมานานแล้ว และสิทธิบัตรเหล่านี้ได้แจกให้ใช้ฟรีอยู่ก่อนแล้วเช่นกัน เพียงแต่ผู้ใช้ต้องร้องขอไปยัง IBM ก่อนซึ่งมีกระบวนการเอกสารพอสมควร ทาง IBM จึงตัดสินใจเปลี่ยนวิธีการเป็นเปิดให้ใช้ได้อย่างเสรี
เป็นเรื่องปรกติที่เว็บวีดีโออย่าง YouTube จะมีการโพสต์วีดีโอที่ละเมิดลิขสิทธิ์กันเนืองๆ แต่โดยปรกติแล้วทาง YouTube ก็จะลบวีดีโอนั้นแล้วเรื่องก็จบกันไป แต่คดีล่าสุดนี้ทาง FOX เคเบิลทีวีรายใหญ่ของอเมริกาได้ยื่นร้องต่อศาลเพื่อให้ออกหมายศาลขอข้อมูลผู้ใช้ของ YouTube ที่ชื่อว่า ECOtotal เนื่องจากผู้ใช้รายนี้ได้โพสต์ซีรี่ย์สุดฮิตของทาง FOX เรื่อง 24 ในวันที่ 8 มกราคมที่ผ่านมา