ศาลยุติธรรมแห่งยุโรป (The European Court of Justice) ทำการชี้ขาดคดีระหว่างสถานีโทรทัศน์ Channel 4, Channel 5 และ ITV กับ TV Catchup บริการถ่ายทอดสัญญาณโทรทัศน์แบบให้เปล่า (ฟรีทีวี) ผ่านอินเทอร์เน็ต หลังจากที่ศาลสูงแห่งสหราชอาณาจักรขอคำแนะนำในการตัดสิน โดยตัดสินว่าการถ่ายทอดสัญญาณฟรีทีวีซ้ำผ่านเว็บโดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของเนื้อหาถือเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ ภายใต้กฎหมายสหภาพยุโรปปี ค.ศ. 2001 ที่บัญญัติว่าเจ้าของเนื้อหามีสิทธิแต่ผู้เดียวในการอนุญาตหรือห้ามการส่งเนื้อหาของตนสู่สาธารณะ
ไมโครซอฟท์, EMC, และ NetApp แถลงในฐานะผู้เชี่ยวชาญที่ไม่มีส่วนได้ส่วนเสียกับคดี (amici curiae) ในคดีลิขสิทธิ์ API จาวาระหว่างออราเคิลกับกูเกิล แสดงการสนับสนุนให้ศาลอุทธรณ์กลับคำพิพากษาศาลชั้นต้น
ตัวเอกสารยื่นเข้าสู่ศาลแล้วแต่ยังไม่ได้เปิดเผยออกมาสู่สาธารณะ (คาดว่าทางศาลจะเปิดเผยออกมาเร็วๆ นี้) แต่ The Register ได้สำเนาออกมาระบุว่าเนื้อหาวิจารณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นว่าเป็นผลของการตีความกฎหมายลิขสิทธิ์ผิดพลาดอย่างมีนัยสำคัญหลายจุด และหากศาลอุทธรณ์ยังยืนยันคำตัดสินเช่นเดิม จะมีผลอันตรายต่อความคาดหวังที่รับรู้โดยทั่วไปในอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์
บริษัทผู้ถือโดเมน Python.co.uk กำลังยื่นขอจดเครื่องหมายการค้า Python สำหรับซอฟต์แวร์, บริการ, และเซิร์ฟเวอร์ ให้ครอบคลุมทั้งเครือสหภาพยุโรป ทำให้มูลนิธิ Python ต้องออกมาขอให้ทุกคนช่วยกันรวบรวมหลักฐานการใช้ชื่อ Python ที่เกิดขึ้นในยุโรป
ทางมูลนิธิ Python ระบุว่าได้ติดต่อเจ้าของโดเมน Python.co.uk มานาน แต่ล่าสุดทางบริษัทได้หันไปยื่นจดเครื่องหมายการค้าแทน ทำให้ทางมูลนิธิต้องยื่นคำขอจดเครื่องหมายการค้าเข้าไปแข่งเพราะใช้ชื่อนี้มาก่อน โดยภาษา Python เกิดมานานถึง 20 ปีแล้วขณะที่ตัวโดเมนจดทะเบียนมานาน 13 ปี
ออราเคิลยื่นเอกสารอุทธรณ์ฉบับเต็มที่ประกาศไว้ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา คัดค้านคำตัดสินของศาลชั้นต้นที่ระบุว่า API ไม่มีลิขสิทธิ์ ตรงกับแนวทางก่อนหน้านี้ที่การอุทธรณ์จะเน้นหนักไปที่ API เพราะสิทธิบัตรในส่วนของ JVM หลายตัวนั้นกำลังจะหมดอายุแล้ว
ส่วนที่เป็นข่าวที่สุด คงเป็นส่วนคำอุปมาอุปมัยระหว่าง API ของจาวากับนิยายเรื่องแฮร์รี พอตเตอร์ ว่า
สารคดี TPB-AFK: The Pirate Bay Away From Keyboard สารคดีความยาว 90 นาทีที่เคยระดมทุนใน KickStarter ได้เงินไป 51,424 ดอลลาร์ พร้อมกับขอทุนจากองค์กรด้านสื่ออีกหลายหน่วยงาน ตอนนี้ทีมงานระบุว่าตัวสารคดีได้เสร็จลงแล้ว และพร้อมจะเผยแพร่ไปด้วยโลกผ่าน BitTorrent โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
อย่างไรก็ดีการฉายเปิดตัวจริงๆ ทีมงานจะรอให้มีเทศกาลภาพยนตร์ตอบรับให้ไปฉายเปิดตัวเสียก่อน
สารคดีเรื่องนี้ใช้เวลาถ่ายทำถึงสี่ปี แต่เพิ่งเริ่มขอทุนจาก KickStarter ในปี 2010 ตัวสารคดีเล่าเรื่องราวนับแต่การเริ่มก่อตั้ง The Pirate Bay ในปี 2003 ไปจนถึงรายละเอียดการสอบสวนคดีเมื่อผู้ก่อตั้งถูกดำเนินคดี
ก่อนหน้านี้ลูกค้าที่ได้ซื้อแผ่นซีดีเพลงมาฟังที่บ้านในสหราชอาณาจักร ไม่สามารถที่จะทำก็อปปี้ในรูปแบบดิจิทัลเพื่อความสะดวกในการจัดเก็บได้อย่างถูกกฎหมาย แม้ว่าการกระทำลักษณะเดียวกันนี้ในสหรัฐอเมริกาถือว่าทำได้ตามกฎหมาย ด้วยกฎ Fair Use Permission แต่ล่าสุด สำนักงานทรัพย์สินทางปัญญาของอังกฤษ ได้เริ่มทำการปฏิรูประบบลิขสิทธิ์ใหม่แล้ว ที่เริ่ม "ยอมรับ" พัฒนาการในยุคดิจิทัลต่าง ๆ และปรับเนื้อหาทางกฎหมายหลาย ๆ อย่าง ให้กระชับมากขึ้น (และกระชับกว่าของสหรัฐฯ เสียอีก)
เว็บไซต์ FOSS Patents อ่านเอกสารยื่นอุทธรณ์ของออราเคิลในคดี Java กับกูเกิล (ซึ่งยื่นเมื่อเดือนธันวาคม) พบว่าออราเคิลตัดสินใจไม่อุทธรณ์คดีส่วนสิทธิบัตร และอุทธรณ์เฉพาะคดีเรื่องลิขสิทธิ์ของ Java API เท่านั้น
FOSSPatents ประเมินว่าออราเคิลคงต้องการโฟกัสไปที่ประเด็นเรื่อง Java API เป็นหลัก, สิทธิบัตรบางชิ้นกำลังจะหมดอายุ และสิทธิบัตรบางชิ้นอาจเรียกค่าเสียหายได้ไม่มากนัก เลยตัดสินใจทิ้งประเด็นเรื่องสิทธิบัตรไป
กระบวนการของคดีนี้ยังต้องใช้เวลาอีกนาน ถ้ากำหนดการเป็นไปตามที่วางแผนกันไว้ กว่าที่ทั้งสองฝ่ายจะแถลงตอบโต้กันครบ (ฝ่ายละ 2 รอบ) ก็ช่วงกลางเดือนกรกฎาคม 2013 ครับ
กระบวนการพิจารณาคดีแอปเปิล-ซัมซุงเดินทางมาถึงขั้นตอนเกือบสุดท้ายแล้ว หลังการเจรจารอบสุดท้ายล้มเหลว และศาลได้ออกแบบฟอร์มการพิจารณาคดีสำหรับคณะลูกขุน โดยในขั้นตอนสุดท้ายก่อนแถลงคำตัดสิน ศาลได้เปิดโอกาสให้คู่กรณีสองฝ่ายได้แถลงปิดคดี เพื่อสรุปข้อกล่าวหา ข้อโต้แย้ง พยาน ตลอดจนหลักฐานที่นำเสนอมาอีกครั้ง แล้วลูกขุนจะได้นำพิจารณาในขั้นตอนถัดไป
การเจรจาครั้งสุดท้ายตามคำสั่งศาลของคดีแอปเปิล-ซัมซุงล่มไปแล้ว ทั้งคู่ก็ต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาผ่านลูกขุน งานของผู้พิพากษาในตอนนี้ก็คือการออกแบบฟอร์มคำพิพากษาให้คณะลูกขุนไปกรอก แบบเดียวกับคดีกูเกิลและออราเคิลก่อนหน้านี้
โค้งสุดท้ายยังมีการโต้เถียงกันในเรื่องสำคัญ คือ ผู้พิพากษาจะเตือนลูกขุนว่าทั้งสองบริษัทลบอีเมลภายในแม้จะอยู่ในช่วงการเก็บหลักฐานไว้ก็ตาม โดยก่อนหน้านี้แอปเปิลได้ร้องให้ผู้พิพากษาเตือนคณะลูกขุนในเรื่องนี้ ซึ่งผู้พิพากษาก็ทำตาม แต่หลังจากนั้นก็เป็นคำเตือนในฝั่งแอปเปิลที่ถูกแจ้งพฤติกรรมแบบเดียวกันให้กับคณะลูกขุน
สิทธิบัตร Android นั้นเป็นแหล่งรายได้ของ Microsoft ไปแล้ว จากการที่อุปกรณ์ Android กว่าครึ่งตลาดเซ็นสัญญาใช้งานสิทธิบัตรจาก Microsoft
ล่าสุดบริษัทวิเคราะห์หุ้น Trefis ประเมินว่า Microsoft จะได้รับค่าสิทธิบัตรจาก Samsung เป็นเงิน 12-13 ดอลลาร์ต่อมือถือ Android หนึ่งเครื่อง ส่วนค่าสิทธิบัตรจาก HTC ถูกกว่าเล็กน้อยที่ 10 ดอลลาร์ต่ออุปกรณ์ Android หนึ่งเครื่อง
ปรากฎการณ์หนวดกุ้งไม่ได้มีเฉพาะบ้านเราแต่ในสหรัฐฯ ปรากฎว่าช่อง NBC ไปประมูลสิทธิ์การฉายทั่วประเทศมาด้วยเงิน 1,100 ล้านดอลลาร์หรือเกือบ 35,000 ล้านบาท สิ่งที่เกิดขึ้นคือ NBC ทำทุกอย่างเพื่อทำให้ได้เงินโฆษณาสูงสุด เช่น นำส่วนสำคัญๆ อย่างพิธีเปิดปิด หรือกีฬาบางประเภทไปฉายในเวลาที่คนดูเยอะๆ แทนที่จะถ่ายทอดสดตามปกติ
แต่ขณะเดียวกันชาวอังกฤษนั้นกลับสามารถดูรายการสดออนไลน์ได้ถึง 24 ช่อง โดยไม่ต้องเสียค่าบริการใดๆ ขอเพียงใช้หมายเลขไอพีในอังกฤษเท่านั้น
บริการ HideMyAss.com ที่ให้บริการ VPN เดือนละ 4.99 ดอลลาร์ระบุว่า มีลูกค้าเพิ่มขึ้นสิบเท่าตัวตั้งแต่วันศุกร์ที่ผ่านมา รวมถึงยอดต่อบริการก็เพิ่มขึ้นสองเท่าตัว
สหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (ITU) เปิดเผยว่า องค์กรจะจัดงานประชุม Patent Roundtable ในวันที่ 10 ต.ค. นี้ เพื่อให้ผู้ผลิตมือถือรายหลัก หน่วยงานของรัฐ และผู้ดูแลมาตรฐานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง มาพูดคุยและแก้ปัญหาคดีความเกี่ยวกับสิทธิบัตรและปัญหาการปฏิบัติตามนโยบายเกี่ยวกับสิทธิบัตรที่เกี่ยวข้องกับมาตรฐานในวงการอุตสาหกรรมที่มีอยู่
Hamadoun Touré เลขาธิการของ ITU เปิดเผยว่า ปัญหานี้จะต้องได้รับการพูดคุยเพื่อแก้ไขโดยด่วน เนื่องจากวัตถุประสงค์ของสิทธิบัตรก็เพื่อกระตุ้นให้เกิดนวัตกรรมใหม่ไม่ใช่เพื่อการทำลายล้าง หากมีการยอมรับในความต้องการของผู้ถือครองสิทธิบัตร ผู้ใช้งาน และตลาด จะทำให้เกิดกฎหมายที่สร้างความเท่าเทียมกันในอุตสาหกรรมได้
สำนักข่าวรอยเตอร์สได้สัมภาษณ์ผู้พิพากษา Richard Poster ผู้ตัดสินคดีการฟ้องร้องกันระหว่างแอปเปิลกับโมโตโรล่า โดย Poster ซึ่งตอนนี้อายุ 73 ปีแล้วเผยว่าเขาไม่แน่ใจด้วยซ้ำว่าอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์กับไอทีจำเป็นจะต้องมีสิทธิบัตร
Poster กล่าวว่า "มันยังไม่ชัดเจนว่าเราต้องการสิทธิบัตรในอุตสาหกรรมต่าง ๆ ที่เรามีอยู่ส่วนใหญ่ด้วยซ้ำ" และเขายังบอกถึงปัญหาเกี่ยวกับสิทธิบัตรทุกวันนี้ว่า "สุดท้ายแล้วเราก็มีแต่สิทธิบัตรที่แตกแขนงกันออกมาเรื่อย ๆ"
ไม่ว่าอย่างไรก็ตาม Poster เชื่อว่าอุตสาหกรรมยาและการแพทย์คืออุตสาหกรรมที่ต้องการสิทธิบัตรอยู่ เพราะว่า "ในการที่จะสร้างยาใหม่ออกมาได้ จะต้องมีการลงทุนอย่างมหาศาล"
ศาลยุติธรรมสหภาพยุโรปพิพากษาคดีระหว่างออราเคิลและ UsedSoft บริษัทขายไลเซนส์ซอฟต์แวร์มือสอง โดยระบุว่าสิทธิในการห้ามไม่ให้ส่งต่อสิทธิไปยังบุคคลอื่นนั้นหมดไปเมื่อขายผู้สร้างขายสิทธิไปแล้ว
สหภาพยุโรปเคยมีแนวทาง (EU directive) ออกมาก่อนแล้วว่าทรัพย์สินทางปัญญานั้นสามารถส่งต่อกันได้ โดยสิทธิของผู้สร้างที่ห้ามผู้อื่นส่งต่อจะหมดไปหลังจากได้ขายสิทธินั้นออกไปแล้ว แต่ออราเคิลก็ยังยืนยันว่าแนวทางนั้นจำกัดเฉพาะซอฟต์แวร์ที่ขายไปพร้อมสื่อ เช่น ดิสก์หรือซีดีรอม ไม่รวมซอฟต์แวร์ที่ดาวน์โหลดมา แต่ศาลไม่เห็นด้วย และระบุว่าสัญญาอนุญาตที่ให้กับผู้ซื้อนั้นส่งต่อได้ด้วยเช่นกัน
Open Innovation Network (OIN) เป็นหน่วยงานที่เกิดขึ้นจากสมัยการฟ้องร้องลิขสิทธิ์และสิทธิบัตรลินุกซ์ ทำให้บริษัทใหญ่ๆ ที่ใช้งานโอเพนซอร์สพากันเอาสิทธิบัตรมากองรวมกันเพื่อให้สมาชิกหยิบสิทธิบัตรไปฟ้องกลับได้หากถูกฟ้องจากหน่วยงานอื่น ล่าสุด Keith Bergelt ซีอีโอของ OIN ออกมาแสดงความยินดีกับคดีสิทธิบัตรจาวาระหว่างกูเกิลและออราเคิล โดยระบุว่าเป็นสัญญาณที่ดีที่ผู้พิพากษามีการตัดสินใจอย่างชัดเจนและมีการคิดวิเคราะห์อย่างมาก และการตัดสินเช่นนี้เป็นผลดีต่อชุมชน [โอเพนซอร์ส] โดยรวม
ทั้งกูเกิลและออราเคิลต่างก็เป็นสมาชิกของ OIN ทั้งคู่ แต่เนื่องจาก OIN ตั้งขึ้นมาเพื่อปกป้องการฟ้องสิทธิบัตรที่เกี่ยวข้องกับเคอร์เนลลินุกซ์ เทคโนโลยีจาวาจึงไม่ครอบคลุมถึงข้อตกลงในการเข้าเป็นสมาชิกหน่วยงานนี้
คดีระหว่างออราเคิลและกูเกิลในเรื่องของจาวา กำลังดำเนินเข้ามาสู่ช่วงแรก คือ คดีลิขสิทธิ์ ที่ออราเคิลกล่าวหาว่ากูเกิลใช้โค้ดบางส่วนของออราเคิลในแอนดรอยด์โดยตรง ในคำฟ้องคือฟังก์ชั่น rangeCheck
ที่กูเกิลอ้างว่าเป็นโค้ดเพียง 9 บรรทัดใน 15 ล้านบรรทัดเท่านั้น อย่างไรก็ดี แม้คณะลูกขุนจะระบุว่าการใช้งานโค้ดของกูเกิลนั้นเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ แต่กลับไม่สามารถตัดสินได้ว่ามันเป็น "การใช้งานอย่างเป็นธรรม" (fair use) ซึ่งกฏหมายทรัพย์สินทางปัญญาของสหรัฐฯ ให้การรับรองไว้หรือไม่
ในส่วนของ API ที่เป็นชื่อฟังก์ชั่นและอาร์กิวเมนต์ของจาวานั้น คณะลูกขุนตัดสินว่ากูเกิลไม่ได้ละเมิด API ทั้ง 37 ชุดของจาวาแต่อย่างใด รวมถึงไม่ได้ละเมิดลิขสิทธิ์ของคอมเมนต์โค้ดของจาวา
AOL เป็นบริษัทที่เคยยิ่งใหญ่ในยุคเริ่มต้นของอินเทอร์เน็ต เคยเข้าซื้อ Netscape และบริษัทดังๆ อื่นๆ อีกหลายบริษัท แต่หลังจากหมดยุคของบริษัทก็อาจจะได้เวลาของการทำเงินจากทรัพย์สินเดิมๆ เช่น สิทธิบัตร
สิทธิบัตรและใบขอสิทธิบัตรจำนวน 800 รายการมีทั้งสิทธิบัตร และใบอนุญาตใช้สิทธิบัตร โดยไม่เปิดเผยว่ามีสิทธิบัตรอะไรบ้างที่ถูกขายไปรูปแบบไหน บอกแต่เพียงว่า AOL ยังคงถือสิทธิบัตรและใบขอรับสิทธิบัตรอีกกว่า 300 รายการ
คาดว่ากระบวนการซื้อขายจะเสร็จสิ้นในสิ้นปีนี้
ที่มา - PC World
ข่าวนี้ยังไม่ยืนยันนะครับ เป็นรายงานจาก Bloomberg ที่อ้างข้อมูลวงในว่ายักษ์ออนไลน์ AOL ที่อาการย่ำแย่ขึ้นเรื่อยๆ ในช่วงหลัง จ้างบริษัทด้านการเงินลงทุน Evercore Partners Inc. ให้ช่วยขายสิทธิบัตรของตัวเองกว่า 800 รายการ
ตามแผนของ Evercore Partners ระบุว่าถ้าสามารถขายสิทธิการใช้งานสิทธิบัตรได้อย่างที่คิด ก็อาจทำรายได้ให้ AOL มากถึง 1 พันล้านดอลลาร์ สิทธิบัตรส่วนใหญ่ของ AOL เกี่ยวกับโฆษณาออนไลน์และการสื่อสาร ซึ่งดูแนวทางแล้ว ผู้ซื้อรายใหญ่คงหนีไม่พ้นกูเกิลหรือไมโครซอฟท์
รายได้หลักของ AOL มาจากสองทางคือโฆษณาออนไลน์ และบริการอินเทอร์เน็ตแบบ dial-up ซึ่งรายได้ทั้งสองกลุ่มก็ลดลงเรื่อยๆ
ในสหภาพยุโรปนั้นเมื่อมีการร่างมาตรฐานอุตสาหกรรมขึ้นมาแล้วมาตรฐานนั้นต้องใช้สิทธิบัตรบ้างชิ้น สิทธิบัตรนั้นจะถูกกำหนดให้อยู่ภายใต้ข้อกำหนด FRAND (fair, reasonable, and non-discriminatory) นั้นคือการให้สิทธิบัตรกับผู้ที่ขอซื้อสิทธิใช้งานในราคาที่เป็นธรรมและไม่เลือกที่รักมักที่ชัง เช่น การให้สิทธิบัตรกับผู้ผลิตรายหนึ่งราคาต่างจากอีกรายหนึ่ง ปัญหาคือในมาตรฐานทางด้านซอฟต์แวร์นั้น ซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สไม่สามารถจ่ายค่าสิทธิบัตรได้เลย และข้อกำหนดเช่นนี้ก็ทำให้ซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สทำตามมาตรฐานอุตสาหกรรมไม่ได้แม้เจ้าของสิทธิบัตรจะเต็มใจให้ใช้งานฟรีก็ตามที
หลังการพิจารณาคดีระหว่าง Eolas ที่ฟ้องสิทธิบัตรเว็บแบบโต้ตอบได้ คณะลูกขุนก็มีมติไม่ยอมรับสิทธิบัตร '906 ที่ทาง Eolas อ้างแล้ว โดย Tim Berners-Lee ได้ทวีตแจ้งข่าวนี้
บริษัท Eolas Technologies เป็นบริษัทผู้ถือสิทธิบัตรของ Michael Doyle นักชีววิทยาได้เขียนโปรแกรมเพื่อติดต่อระหว่างนักชีววิทยาในช่วงปี 1993 และจดสิทธิบัตรเอาไว้ ในตอนนี้เขากำลังใช้สิทธิบัตรเหล่านั้นเพื่อฟ้องบริษัทไอทีต่างๆ โดยอ้างว่าสิทธิบัตรครอบคลุมถึง เว็บแบบโต้ตอบได้ (interactive web) ทั้งหมด
Tim Berners-Lee ขึ้นให้การต่อศาลเมื่อวันอังคารที่ผ่านมา เล่าถึงการสร้างเบราเซอร์ที่ชื่อว่า Viola ของนักเรียนที่ชื่อว่า Pei Wei ในช่วงปี 1991
เรื่องที่น่าสนใจคือ Doyle ไม่ได้อ้างว่าครอบครองเทคโนโลยีเว็บทั้งหมด แต่ครอบครองเทคโนโลยีเว็บโต้ตอบ ซึ่งจะหมายถึงเมื่อเว็บสามารถคลิกเพื่อดูวิดีโอ หรือมีการโต้ตอบแบบ AJAX ได้ก็จะกลายเป็นละเมิดไปทั้งหมด
คดีของ The Pirate Bay เป็นคดีที่ยืดเยื้อยาวนานมาตั้งแต่ปี 2009 (อ่านรายละเอียดในแท็ก The Pirate Bay กันเองนะครับ) โดย คดีในศาลชั้นต้นเริ่มตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2009 และยุติใน
ประเด็นกฏหมาย SOPA กลายเป็นประเด็นร้อนทางการเมืองของสหรัฐฯ หลังจากที่มีข่าวว่าสส. Eric Canter จะแขวนร่างกฏหมายนี้ วันนี้สส. Lamar Smith จากเท็กซัสก็ออกจดหมายข่าวระบุว่ากฏหมายนี้กำลังเดินหน้าต่อไป โดยจะเข้าสภาอีกครั้งในเดือนหน้า
สส. ทั้งสองคนมีตำแหน่งค่อนข้างสำคัญในการผ่านร่างกฏหมายนี้ โดย Eric Canter นั้นเป็นผู้นำวิปเสียงข้างมากของสภาผู้แทน ส่วน Lamar Smith นั้นเป็นประธานคณะกรรมมาธิการยกร่างกฏหมาย
หนึ่งในเป้าหมายสำคัญของกฏหมายป้องกันการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาอย่าง SOPA หรือ PIPA นั้นคือบรรดาเว็บ Torrent ทั้งหลาย (ผู้สนับสนุนกฏหมายนี้ก็เป็นกลุ่มผู้ถือลิขสิทธิ์อย่าง MPAA) แต่ทางแหล่งข่าวภายใน The Pirate Bay ก็ออกมาให้สัมภาษณ์กับ TorrentFreak ว่ากฏหมายเหล่านี้ไม่สามารถหยุดบริการได้แต่อย่างใด
The Pirate Bay เตรียมการเว็บตัวเองสำหรับการถูกบล็อคด้วยการถอดการให้บริการดาวน์โหลดไฟล์ torrent ออกจากเว็บ ทำให้เว็บมีขนาดเล็กลงมาก และหลังจากนั้นจึงพัฒนา CGIPROXY รุ่นพิเศษ ที่ทำให้ใครๆ สามารถเปิดบริการ proxy ไปยัง The Pirate Bay ได้โดยง่าย
หลังจากถูกต่อต้านอย่างหนักทั่วอินเทอร์เน็ต สส. Eric Cantor ก็ประกาศหยุดกระบวนการเสนอร่างกฏหมาย SOPA อย่างเป็นทางการ ถ้าไม่มีการดำเนินการต่อ กฏหมายฉบับนี้ก็จะค้างอยู่เป็นร่างต่อไป อย่างไรก็ดีกลุ่มผู้แทนอีกกลุ่มหนึ่งกำลังเสนอร่างกฏหมายคล้ายๆ กันในชื่อ PIPA
ร่าง PIPA ถูกเสนอเข้าไปยังรัฐสภาสหรัฐฯ โดยกลุ่มสว. โดยยังคงมีประเด็นสำคัญคือการบล็อค DNS เมื่อได้รับคำสั่งจากเจ้าหน้าที่
PIPA ยังคงเป็นประเด็นทางเทคนิคกันต่อไป เมื่อวิศวกรอินเทอร์เน็ตจำนวนหนึ่งออกมาแสดงความไม่เห็นด้วย โดยการเปลี่ยนแปลงค่าใน DNS เช่นนี้ทำไม่ได้ในระบบ DNSSEC ที่ทั้งโลกกำลังเปลี่ยนไปใช้งาน