ศาลทางด้านตะวันออกของรัฐเทกซัสได้สั่งให้แอปเปิลจ่ายเงินจำนวน 21.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐให้กับบริษัท OPTi Inc เนื่องจากได้ละเมิดสิทธิบัตรเกี่ยวกับเทคโนโลยี Predictive Snooping สำหรับการรับส่งข้อมูล โดยบริษัท OPTi เคยเป็นบริษัท semiconductor แต่ตอนนี้ได้ยกเลิกการผลิตค้นคว้าและวิจัยทั้งหมด และหันไปเอาดีทางด้านการฟ้องบริษัทต่าง ๆ ว่าได้ทำการละเมิดสิทธิบัตรแทน
ก่อนหน้านี้บริษัท OPTi ได้ชนะคดีอีกคดีหนึ่งจาก NVIDIA และได้รับค่าเสียหายไปกว่า 10 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และล่าสุดได้ทำการฟ้อง AMD ด้วยข้อหาละเมิดสิทธิบัตรใบเดียวกันจากคดี NVIDIA แล้วด้วย
โนเกียแถลงข่าวว่าบริษัทได้ยื่นฟ้องต่อแอปเปิลฐานละเมิดสิทธิบัตรของทางโนเกีย 10 ใบ ครอบคลุมตั้งแต่เทคโนโลยี GSM, WCDMA, WiFi, การเข้ารหัสข้อมูล, และการเข้ารหัสเสียง (ทุกอย่างที่คุณจะใช้ทำโทรศัพท์มือถือสักเครื่อง) ทำให้ iPhone ทุกรุ่นเข้าข่ายการละเมิดที่โนเกียอ้าง
โนเกียระบุว่าบริษัทผู้ผลิตโทรศัพท์กว่า 40 บริษัทได้มีข้อตกลงกับทางโนเกียเพื่อใช้งานสิทธิบัตรเหล่านี้ แต่แอปเปิลนั้นไม่ได้ทำข้อตกลงใดๆ
โนเกียเพิ่งประกาศผลประกอบการติดลบ ส่วนแอปเปิลนั้นกำไรยังคงเป็นดาวรุ่งในไตรมาสที่ผ่านมา
การประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวานนี้ (6 ต.ค.) มีความคืบหน้าของกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับเราๆ ท่านๆ ในโลกไอทีและอินเทอร์เน็ตสองฉบับครับ
อย่างแรกคือ คณะรัฐมนตรีเห็นชอบ ร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. ... ซึ่งเกี่ยวข้องกับความเป็นส่วนตัว (privacy) ของทุกคน ใจความหลักๆ ของกฎหมายฉบับนี้คือจะมีคณะกรรมการชุดใหม่ขึ้นมาดูแลเรื่องนี้ (คณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล) และกำหนดหลักเกณฑ์ว่าอะไรเป็นข้อมูลส่วนบุคคลบ้าง เปิดเผยข้อมูลอะไรได้บ้าง ถ้าละเมิดจะมีความผิดอย่างไร ฯลฯ (ผมอ่านดูแล้วโครงสร้างจะคล้ายๆ กับ พ.ร.บ. ว่าด้วยการกระทำความผิดทางคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550) หลังจากผ่าน ครม. แล้วต้องรอเข้าไปโหวตในสภาต่อไป
เป็นเรื่องราวใหญ่เมื่อ i4i ที่ถือสิทธิบัตรในการสร้างฟิลด์ตามความต้องการของผู้ใช้ (Custom XML) ได้ฟ้องร้องไมโครซอฟท์ที่ใส่ความสามารถนี้ลงใน Word 2003 และ Word 2007 จนศาลรัฐเท็กซัสออกคำสั่งคุ้มครองให้ไมโครซอฟท์หยุดขาย Word ทั้งสองรุ่นในรัฐเท็กซัสภายใน 60 วัน
เชื่อว่าน่าจะมีการสร้าง Word รุ่นพิเศษสำหรับรัฐเท็กซัสก่อนจะมีการหยุดขายจริง
สิทธิบัตรของ i4i นั้นมีประโยคหนึ่งที่ระบุว่าสิทธิบัตรนี้ครอบคลุมถึง "ทุกอย่างที่เกี่ยวข้องกับการทำฟอร์แมตให้กับ XML แบบเฉพาะ" (anything that touches custom XML formatting) ทำให้ Word 2003 และ Word 2007 ซึ่งสามารถแสดงผลข้อมูลที่เป็น XML แท็กพิเศษได้ติดบ่วงสิทธิบัตรนี้ไปด้วย
เมื่อปีที่แล้วเคยมีข่าวว่า TechCrunch แบนสำนักข่าว AP เนื่องจากสำนักข่าว AP ที่ไล่ฟ้องบล็อกเกอร์หลายรายในอินเทอร์เน็ตจากการลิงก์ข่าวไปยังเว็บในเครือของ AP และอ้างอิงเนื้อข่าวสั้นๆ
หนึ่งปีให้หลัง AP ประกาศว่าได้สร้างระบบ DRM สำหรับข่าวเสร็จเรียบร้อยแล้วครับ หลักการทำงานของมันดูได้ตามภาพประกอบด้านใน ข่าวของ AP จะถูกใส่ไว้ใน container ที่เรียกว่า hNews จากนั้นค่อยส่งออกไปยังเว็บข่าวต่างๆ เช่น Google News อีกทอดหนึ่ง โดย container อันนี้จะมีระบบส่งข้อมูลกลับไปยัง AP ว่ามีผู้อ่านกี่คน มีระบบป้องกันสิทธิ์ และระบบ indexing สำหรับการค้นหา
"พรรคโจรสลัด" หรือ Pirate Party ที่เริ่มโด่งดังจนได้เก้าอี้ในรัฐสภายุโรป กำลังเริ่มดำเนินการนโยบายหนึ่งที่เคยหาเสียงไว้ นั่นคือการปฏิรูประบบทรัพย์สินทางปัญญา และข้อเสนอจากพรรคโจรสลัดคือลดระยะเวลาคุ้มครองความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ของผู้สร้างลง จากเดิมที่ขั้นต่ำ 25-50 ปี (ขึ้นกับประเภทของงานและประเทศ) ลงมาเหลือ 5 ปี
ในมุมมองของผู้นิยมเสรีภาพของข้อมูลข่าวสาร ข้อเสนอของพรรคโจรสลัดก็น่าจะดี อย่างไรก็ตามพรรคโจรสลัดกลับโดนคัดค้านโดย Richard Stallman หรือ RMS แห่ง Free Software Foundation ผู้เสนอแนวคิดซอฟต์แวร์เสรีและ GPL
โครงการ Debian ในรุ่นต่อไปที่ชื่อว่า Squeeze นั้นกำลังจะรวม Tomboy ซึ่งเป็นซอฟต์แวร์สำหรับการจดโน้ตสั้นไว้เป็นซอฟต์แวร์มาตรฐานในการติดตั้ง ประเด็นสำคัญคือ Tomboy นั้นพัฒนาอยู่บนฐานของ Mono
แม้ว่าไมโครซอฟท์จะพยายามผลักดัน .NET ให้เป็นมาตรฐานเปิดทั้งตัว CLI (ไฟล์ตรงกลางระหว่างซอร์สโค้ดและตัว VM) และตัวภาษาเข้าเป็นมาตรฐานของทาง ECMA แต่อย่างไรก็ตามในแง่ของ API ต่างๆ เช่น WPF แล้วไมโครซอฟท์ยังคงถือสิทธิบัตรเอาไว้อย่างเต็มที่ และโครงการ Mono ก็เลียนแบบ API เหล่านั้นโดยไม่มีคำมั่นเป็นลายลักษณ์อักษรใดๆ จากไมโครซอฟท์ว่าจะไม่มีการฟ้องร้องเกิดขึ้น แต่ก็ไม่มีอะไรรับประกันได้เลย
Pirate Party นั้นอาจเป็นพรรคการเมืองที่ค่อนข้างแปลกประหลาดในสายตาของเราๆ เนื่องจากเป้าหมายของพรรคคือการปฎิรูประบบทรัพย์สินทางปัญญา, การปกป้องความเป็นส่วนตัว, และความโปร่งใสของรัฐบาลโดยไม่สนแนวทางการเมืองซ้ายขวา นี่สำคัญคือพรรคนี้กำลังจะได้ที่นั่งแรกในสภาของสหภาพยุโรป
Pirate Party นั้นมีฐานอยู่ในประเทศสวีเดน (บ้านเดียวกับ The Pirate Bay) โดยขณะนี้เองที่คะแนนอย่างไม่เป็นทางการนั้นอยู่ที่ร้อยละ 7.1 โดยคะแนนขั้นต่ำเพื่อจะได้ที่นั่งในสภานั้นเป็นร้อยละ 4
ขณะเดียวการพรรค Germany Pirate ซึ่งมีอุดมการณ์คล้ายๆ กันนั้นก็ได้รับเสียงร้อยละ 0.9 ซึ่งแม้จะไม่ได้ที่นั่งแต่ก็เกินข้อกำหนดร้อยละ 0.5 ในการได้รับเงินสนับสนุนจากรัฐบาล ทำให้รอบหน้าพรรค German Pirate น่าจะมีกำลังดีกว่านี้พอควร
เมื่อช่วงปลายปีที่แล้วทาง Thomson Reuters (เจ้าของเดียวกับบริษัทซอฟต์แวร์ขนาดใหญ่ในบ้านเรา) ได้ยื่นฟ้องต่อศูนย์ประวัติศาสตร์และสื่อสมัยใหม่แห่งมหาวิทยาลัยจอร์จ เมสัน ผู้ให้การสนับสนุนในการพัฒนาโปรแกรม Zotero ที่เป็นโปรแกรมจัดการการอ้างอิงที่ได้รับความนิยมสูงและเปิดให้ใช้งานฟรี แต่คดีก็ถูกศาลยกคำร้องไปแล้วในวันนี้
ในคดีนี้ทางบริษัท Thomson Reuters ได้เรียกร้องค่าเสียหายจำนวน 10 ล้านดอลลาร์ โดยกล่าวหาว่า Zotero นั้นพัฒนาโดยอาศัยการทำ reverse engineer และยังมีการใช้ชื่อทางการค้าในตัว Zotero
ประเด็นทรัพย์สินทางปัญญาแผ่กว้างไปทั่วยุโรปมาได้สักระยะหนึ่งแล้ว และโดยทั่วไปแล้วทางสหภาพยุโรปนั้นมีการทำข้อตกลงร่วมกันที่ค่อนข้างเหนียวแน่นทำให้กฏหมายและสิทธิหลายประการได้รับการคุ้มครองทั่วยุโรป จึงมีโครงการ eYouGuide เพื่ออธิบายถึงความเหมือนและต่างกันของสิทธิต่างๆ
ประเด็นหลายอย่างถูกอธิบายไว้เช่นสิทธิการทำสำเนาเพื่อการใช้ส่วนตัวนั้นไม่ได้รับความคุ้มครองในอังกฤษและไอร์แลน ส่วนประเด็นที่ว่าการทำสำเนาใช้งานในวงกว้างเพียงใดจึงจะส่วนตัวนั้นกฏหมายของประเทศส่วนใหญ่จะคุ้มครองแค่คนในครอบครัวเท่านั้น แค่ไม่คุ้มครองไปถึงเพื่อน, คนรู้จัก ฯลฯ แต่อย่างใด
ประเด็นอื่นๆ นั้นหลากหลายมาก โดยหลักการแล้วคงเป็นเรื่องของการอธิบายกฏหมายที่ซับซ้อนให้ประชาชนเข้าถึงได้โดยง่าย
การแบ่งแยกบริษัทของเอเอ็มดีทำให้อินเทลแถลงการบีบให้เอเอ็มดีเปิดเผยข้อตกลงที่ทำไว้กับบริษัท Advance Technology Investment Company (ATIC) เรื่อยมา แต่ทางเอเอ็มดีก็ปฎิเสธเรื่อยมาเช่นกัน ล่าสุดทางอินเทลยื่นคำขาดให้เวลาทางเอเอ็มดี 60 วันเพื่อแก้ปัญหานี้
อินเทลนั้นเชื่อว่าบริษัท Global Foundries ที่เปิดขึ้นมาใหม่นี้ไม่น่าจะเข้าข่ายบริษัทลูกของเอเอ็มดีตามสัญญาการให้สิทธิ์ในสิทธิบัตรระหว่างกันของทั้งสองบริษัท ดังนั้น Global Foundries จึงไม่มีสิทธิ์ที่จะผลิตชิป x86 ได้
คดี The Pirate Bay ที่เริ่มต้นเมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมาถึงช่วงที่ทั้งสองฝ่ายต้องแถลงปิดคดี โดยฝ่ายโจทก์ได้ขอให้ศาลตัดสินลงโทษผู้ดูแลเว็บด้วยการจำคุกหนึ่งปี โดยระบุว่าผู้ดูแลไม่สามารถปฏิเสธได้ว่าไม่มีส่วนรู้เห็นต่อการละเมิดลิขสิทธิ์ขนานใหญ่เช่นนี้
ฝ่ายโจทก์ย้ำในการกล่าวสรุปว่า The Pirate Bay นั้นสร้างขึ้นมาเพื่อการละเมิดลิขสิทธิ์ โดยตัวเว็บเองมีการควบคุมดูแลหลายประการไม่ว่าจะเป็นการลบภาพอนาจารเด็ก, การลบ torrent ที่ไม่มีการใช้งานแล้ว และการให้ข้อมูลผิดอื่นๆ แต่กลับไม่ควบคุมการละเมิดลิขสิทธิ์
หลังจากมีเริ่มต้นด้วยการส่งคำเตือนไปยังผู้ใช้คำว่า Netbook เช่นเว็บข่าวและเว็บค้าปลีก คำถามที่ว่า Psion จะได้อะไรจากการเรียกคืนชื่อ Netbook มาเป็นของตัวเองก็กระจ่างแล้วเมื่อ Psion ได้ยื่นฟ้องอินเทล 1.2 พันล้านดอลลาร์และสิทธิ์ในชื่อ netbook.com เป็นค่าเสียหายจากการใช้คำว่า Netbook
หลังจากที่บริษัท Psion ได้ออกมาบอกว่า คำว่า netbook นั้นเป็นเครื่องหมายการค้าของบริษัทเมื่อช่วงปลายปีที่แล้ว (ข่าวเก่า) ก็มีผู้ไม่เห็นด้วยเช่น เดลล์ (ข่าวเก่า) มีรายงานว่าอินเทลเองก็ออกมาขอชื่อนี้คืนครับ
เว็บไซต์ Courthouse News Service ได้รายงานว่าบริษัทอินเทล ได้ยื่นเรื่องดังกล่าวแก่ศาลของแคลิฟอร์เนีย โดยขอคำว่า netbook คืนจาก Psion เนื่องจากว่าผู้บริโภคส่วนใหญ่นั้นใช้คำว่า netbook เพื่อเป็นคำรวมๆ สำหรับเรียกโน้ตบุ๊คที่มีขนาดเล็ก, ราคาไม่แพง และใช้พลังงานน้อย โดยไม่ได้หมายถึงผลิตภัณฑ์จากบริษัทใดเป็นพิเศษ นอกจากนี้แล้วผลิตภัณฑ์ที่ Psion ได้จดทะเบียนไว้นั้นเลิกผลิตไปนานแล้วด้วย
ช่วงระหว่างการพิจารณาคดี The Pirate Bay ในตอนนี้ก็คงไม่น่าแปลกใจที่ค่ายเพลงต่างๆ จะพยายามให้เว็บหยุดทำงานได้เร็วที่สุดเท่าที่จะเร็วได้ ด้วยการกดดันทาง ISP
แต่ล่าสุดทาง Eircom ซึ่งเป็น ISP ที่ The Pirate Bay วางเซิร์ฟเวอร์ไว้ได้ออกมาให้ข่าวว่าทาง Eircom จะไม่ปิดกั้นการเข้าถึง The Pirate Bay จนกว่าจะได้รับคำสั่งศาล อย่างไรก็ตาม ทาง Eircom ได้มีข้อตกลงกับทางค่ายเพลงไว้ว่าหากมีคำสั่งศาลมาถึง Eircom แล้วบริษัทจะไม่ทักท้วงคำสั่งดังกล่าวแต่อย่างใด
การปรับปรุงกฏหมายลิขสิทธิ์ครั้งล่าสุดของนิวซีแลนด์ระบุให้ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตต้อง "สร้างและบังคับใช้นโยบายการตัดอินเทอร์เน็ตจากผู้ที่ละเมิดลิขสิทธิ์" นั้นกำลังเป็นหัวข้อที่ถูกวิจารณ์กันอย่างหนักในนิวซีแลนด์ ล่าสุดนายกรัฐมนตรี John Key ก็ออกมารับฟังเสียงวิจารณ์และเลื่อนการบังคับใช้กฏหมายนี้ออกเป็นอีกหนึ่งเดือนเป็นวันที่ 27 มีนาคมนี้แทน (จากเดิมเป็น 28 กุมพาพันธ์) พร้อมกับระบุว่าหากไม่สามารถทำความตกลงกับผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตได้ ก็จะมีการหยุดบังคับใช้กฏหมายนี้ไปก่อน
เมื่อสองเดือนก่อนที่ Psion ได้เริ่มส่งจดหมายเตือนให้ผู้ผลิตหลายรายรับรู้ว่า Netbook นั้นเป็นเครื่องหมายทางการค้าของทาง Psion และหยุดการใช้คำนี้เพื่อเรียกคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กทั่วไป แต่ด้วยเหตุผลที่ไม่ชัดเจนนัก ทางเดลล์ก็เลือกที่จะต่อสู้ในเรื่องนี้แทนที่จะหยุดใช้คำว่า Netbook ตามข้อเรียกร้อง
เดลล์ชี้สามประเด็นหลักที่จะทำให้เครื่องหมายการค้า Netbook หมดสภาพบังคับไป นั่นคือ
หลังจากเริ่มการไต่สวนไปเมื่อวันก่อนและได้รับการลดข้อกล่าวหาลงใน 48 ชั่วโมงหลังเริ่มการพิจารณาคดี ระหว่างการพิจารณาคดีนี้ เว็บของหน่วยงานคู่คดีของทาง The Pirate Bay เช่นสมาพันธ์อุตสาหกรรมแผ่นเสียงนานาชาติ (International Federation of the Phonographic Industry - IFPI) ก็ถูกโจมตีอย่างต่อเนื่องจนไม่สามารถให้บริการได้ในช่วงเวลาหนึ่ง
เมื่อสองเดือนก่อน Psion ได้ออกมาแสดงความเป็นเจ้าของชื่อ "Netbook" โดยได้แจ้งไปยังผู้ผลิตให้เลิกใช้คำนี้เป็นชื่อเรียกสินค้าของตน มาวันนี้กูเกิลก็เพิ่งตอบรับข้อเรียกร้องดังกล่าวด้วยการแจ้งผู้โฆษณากับกูเกิลว่าไม่สามารถแสดงคำนี้ในโฆษณาของตนได้อีกต่อไป
มีคำถามตามมาว่าจริงๆ แล้วคำว่า "Netbook" นั้นกลายเป็นคำสามัญไปแล้วหรือไม่ เพราะถูกใช้กันโดยทั่วไปโดยไม่มีใครนึกถึงคอมพิวเตอร์ของ Psion อยู่แล้ว อย่างไรก็ดีคงไม่มีใครอยากไปสู้คดีกับ Psion ในศาลเหมือนกัน
ที่มา - ArsTechnica
ถ้าใครติดตามข่าวของ Android จะพบว่ามีฟีเจอร์หนึ่งที่น่าสนใจมากคือ Sync ที่รายชื่อในสมุดโทรศัพท์ทั้งหมดจะถูกเก็บไว้ในเซิร์ฟเวอร์ของกูเกิล ทำให้เวลาที่โทรศัพท์หายหรือเปลี่ยนโทรศัพท์ รายชื่อและหมายเลขโทรศัพท์ที่เก็บไว้ในเครื่องจะไม่หายไปด้วย และล่าสุดบริการนี้ก็เปิดตัวอย่างเป็นทางการแล้วในชื่อ Google Sync
ที่น่าสนใจคือซอฟต์แวร์นี้รองรับแพลตฟอร์มที่หลากหลายมาก ไม่ว่าจะเป็น S40 (โนเกีย), Symbian S60, Blackberry, iPhone, Sony Ericsson, และ Windows Mobile
สำหรับตัว Windows Mobile นั้นกูเกิลต้องซื้อสิทธิ์ในการใช้เทคโนโลยี ActiveSync มาจากไมโครซอฟท์
กระแสการเปิดเนื้อหาให้ใช้งานต่อได้อย่างเสรีนั้นแม้จะได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีจากสื่อสมัยใหม่ แต่สำนักข่าวใหญ่ๆ นั้นกลับไม่ค่อยตอบรับ หรือกระทั่งฟ้องผู้นำเนื้อหาไปใช้งานต่ออย่างต่อเนื่อง แต่ล่าสุด อัล จาซีราก็สร้างปรากฏการณ์ใหม่ที่สวนกระแส ด้วยการเปิดคลังวีดีโอใน "สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบแสดงที่มา 3.0"
การเปิดคลังครั้งนี้หมายถึงทุกคนในโลกจะสามารถนำวีดีโอในคลังนี้ไปใช้งาน และดัดแปลงได้อย่างอิสระโดยไม่ต้องขออนุญาตจากทางอัล จาซีราล่วงหน้า หรือเสียค่าใช้จ่ายในการนำไปใช้งานแต่อย่างใด โดยทั้งหมดที่ผู้นำเนื้อหาไปใช้ต้องทำคือการระบุว่ามีการใช้เนื้อหาจากทางอัล จาซีราเท่านั้น
เอเอ็มดีนั้นประกาศชัดถึงแนวทางการแยกบริษัทมาตั้งแต่ปีที่แล้ว โดยเตรียมตั้งบริษัทที่ชื่อว่า The Foundry Co. โดยร่วมทุนกับ Abu Dhabi และ Metadata Development และเตรียมการจะปิดข้อตกลงในภายในเดือนหน้า
แต่เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา ทางอินเทลก็ตั้งโต๊ะแถลงข่าวอีกครั้งว่าบริษัทไม่ได้ต้องการขัดขวางการแยกตัวของเอเอ็มดีในครั้งนี้แต่อย่างใด แต่อย่างไรก็ตี ยังมีความกังวลกันอยู่ว่าสัญญาถึงสิทธิการใช้เทคโนโลยีของอินเทลที่เอเอ็มดีถือครองอยู่นั้นจะมีผลเพียงใดต่อ The Foundry Co.
เอเอ็มดีและอินเทลนั้นมีปัญหาในข้อกฏหมายกันมานานแล้ว โดยเอเอ็มดีระบุว่าอินเทลนั้นบีบทางไม่ให้เอเอ็มดีเข้าไปมีส่วนแบ่งในบางตลาดได้
จากคำให้สัมภาษณ์ของ Tim Cook ผู้บริหารของแอปเปิลที่ขู่คู่แข่งว่าจะดำเนินการทางกฎหมายหากถูกละเมิดลิขสิทธิ์ (จริงๆ ก็ไม่ได้ระบุชื่อแต่ฟังแล้วก็รู้แน่ว่าคือปาล์ม) ที่ผ่านมา (ข่าวเก่าโดยคุณ infernohellion: แอปเปิลขู่ Palm Pre จะไม่ยืนเฉย หากโดนละเมิดสิทธิ) วันนี้ปาล์มก็ออกมาให้สัมภาษณ์โต้กลับแล้วครับ
คุณ Lynn Fox ซึ่งเป็นผู้แทนจากบริษัทปาล์ม ได้ให้สัมภาษณ์กับ All Things Digital ว่า
ระหว่างการรายงานผลประกอบการไตรมาสแรกของปี นาย Tim Cook ตำแหน่ง COO ของแอปเปิลนั้นได้ออกมากล่าวเกี่ยวกับ Palm Pre อ้อม ๆ ว่า "เราจะไม่ยืนเฉยแน่ ในเมื่อมีคนมาละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาของเรา"
จากคำพูดที่ว่านี้ ค่อนข้างชัดเจนว่านาย Cook ได้กล่าวถึง Palm และนาย Jon Rubinstein ผู้ใหญ่ของ Palm ที่เคยทำงานกับแอปเปิลมาก่อน แม้ว่าเขาจะไม่ได้กล่าวถึง Palm ตรง ๆ ก็ตาม ... "ผมไม่ได้พูดเจาะจงถึงบริษัทไหน"
แม้ว่า Palm และผู้พัฒนากลุ่มใหญ่ที่เคยทำงานกับแอปเปิล ที่ถูกชักชวนโดย Jon Rubinstein ยังไม่ประกาศวันเปิดตัวของ Palm Pre แต่ดูเหมือนว่าแอปเปิลคงไม่นิ่งนอนใจอย่างแน่นอน
ในฐานะผู้สมัครรับเลือกตั้งตำแหน่งประธานาธิบดี บารัก โอบามา ได้รับการสนันสนุนอย่างอบอุ่นจากกลุ่มที่ต่อสู้เรื่องกฎหมายกับอุตสาหกรรมบันทึกเสียง ลอว์เรนซ์ เลสสิก อาจารย์กฎหมายที่ชูธงนำขบวนการ "วัฒนธรรมเสรี" สนับสนุนวุฒิสมาชิกจากรัฐอิลลินอยส์ผู้นี้อย่างเปิดเผย เช่นเดียวกับ เอริก ชมิดท์ ซีอีโอของกูเกิล และกระทั่งพรรคไพเรตปาร์ตี้อเมริกา ซึ่งเป็นพรรคการเมืองที่ต่อสู้เพื่อการปฏิรูประบบทรัพย์สินทางปัญญาและมีแนวร่วมในระดับนานาชาติ