คดีของแอนดรอยด์ที่ใหญ่ที่สุดในตอนนี้ คงเป็นคดีสิทธิบัตรจาวาที่ออราเคิลฟ้องกูเกิล แต่ก่อนที่จะมีการพิจารณาคดี ผู้พิพากษา William Alsup ก็สั่งเลื่อนการพิจารณาคดีออกไป จนกว่าออราเคิลจะหากระบวนการคิดค่าเสียหายที่ยอมรับได้มาเสนอต่อศาลเสียก่อน
ออราเคิลเคยอ้างว่าบริษัทเสียหายจากการใช้จาวาของกูเกิลไปถึง 6,100 ล้านดอลลาร์ แต่ผู้พิพากษาก็ปฎิเสธคำอ้างนั้นก่อนจะมีการประเมินรอบล่าสุดเหลือเพียง 1,160 ล้านดอลลาร์ แต่ผู้พิพากษาก็ยังไม่พอใจเพราะออราเคิลไม่ได้เสนอกระบวนการคำนวณที่ดีพอ
มีข่าวอย่างไม่เป็นทางการจาก DigiTimes ว่าบริษัทผู้ผลิตฮาร์ดแวร์จากจีนจำนวนหนึ่ง ที่ระบุชื่อได้คือ Lenovo, ZTE, TCL, Coolpad, Konka จับมือเป็นพันธมิตรกันเพื่อปกป้องตัวเองจากสงครามสิทธิบัตรจากนอกประเทศ
ตลาดมือถือจีนเติบโตอย่างรวดเร็วและกลายเป็นตลาดใหญ่ที่สุดของโลก ทำให้ผู้ผลิตสัญชาติจีนมีความเสี่ยงจะโดนแอปเปิล ไมโครซอฟท์ และโนเกียฟ้องสิทธิบัตร
ตอนนี้ยังไม่มีรายละเอียดว่าบริษัทเหล่านี้จะจับมือร่วมกันอย่างไร แต่เบื้องต้นคาดว่าแลกเปลี่ยนสิทธิในการใช้สิทธิบัตร (patent pool) ระหว่างกัน เพื่อเพิ่มจำนวนอาวุธที่แต่ละรายสามารถนำไปใช้ป้องกันตัวหรือฟ้องกลับได้
ที่มา - DigiTimes
ความคืบหน้าของคดีสิทธิบัตรระหว่างออราเคิล-กูเกิลครับ ต้องย้อนความสักนิดก่อนว่าหลังจากที่สองบริษัทเจรจากันเองไม่สำเร็จ คดีก็เดินหน้าต่อไป
กลยุทธของกูเกิลคือใช้ "เทคนิค" ยื่นคำร้องให้สำนักงานสิทธิบัตรของสหรัฐ (USPTO) ตีความสิทธิบัตรที่ออราเคิลใช้ฟ้องว่าเป็นสิทธิบัตรที่สมเหตุสมผลหรือไม่ (เรียกว่า re-examination) ซึ่งเป็นเทคนิคมาตรฐานที่ใช้กันในคดีสิทธิบัตรของสหรัฐ
กฎหมาย Stop Online Piracy Act (SOPA) เป็นกฏหมายที่ให้อำนาจรัฐในการปิดกั้นเว็บไซต์ด้วยเหตุผลจากการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา กฏหมายฉบับนี้ให้อำนาจรัฐไว้กว้างมากถึงขนาดที่สามารถห้ามการ "ลิงก์" ไปยังเว็บไซต์ที่มีเนื้อหาละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา
ภายใต้กฏหมายนี้ ให้อำนาจไว้กับรัฐและเอกชนไว้สามส่วนใหญ่ๆ
หลังจากไมโครซอฟท์เซ็นสัญญาสิทธิบัตรกับ Compal ไปไม่นาน คราวนี้ก็ถึงคราวของ Huawei ผู้ผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ยักษ์ใหญ่สัญชาติจีนที่ มีผลิตภัณฑ์หลักอยู่ในแพลตฟอร์มแอนดรอยด์
Victor Xu ตำแหน่ง chief marketing officer ของ Huawei กล่าวว่า "ไมโครซอฟท์มาเยือนเราแล้ว" และยังกล่าวเสริมอีกว่า "เราเคารพในทรัพย์สินทางปัญญาอยู่เสมอ แต่ด้วยสิทธิบัตร 65,000 รายการทั่วโลกทำให้มั่นใจได้ว่านั่นจะเพียงพอสำหรับปกป้องผลประโยชน์ของเรา"
อย่างไรก็ตามเขายืนยันว่าขั้นตอนทั้งหมดยังอยู่ในช่วงของการเจรจา
ที่มา - Guardian
ข่าวต่อเนื่องจากการลงนามข้อตกลงระหว่างไมโครซอฟท์และ Compal วันนี้ไมโครซอฟท์ก็เขียนบล็อกต่อเนื่องออกมาอีกบทความ ระบุว่าอุปกรณ์แอนดรอยด์กว่าครึ่งตลาดในตอนนี้ได้รับความคุ้มครองสิทธิบัตรจากไมโครซอฟท์แล้ว
ตัวเลขจำนวนอุปกรณ์ที่ได้รับความคุ้มครองนี้สูงขึ้นอย่างก้าวกระโดดเพราะ Compal เองเป็นผู้ผลิตอุปกรณ์แอนดรอยด์ถึงร้อยละ 16 ของตลาดโลก เมื่อรวมกับ Wistron และ Quanta ที่ลงนามกันไปก่อนหน้านี้ก็จะเป็นจำนวนถึงร้อยละ 55 ของตลาดโลก
กลยุทธ์การหารายได้จากการเก็บค่าสิทธิบัตร ยังคงเป็นกลยุทธ์สำคัญของไมโครซอฟท์ในตลาดโทรศัพท์มือถือต่อไป แต่การเซ็นสัญญาครั้งล่าสุดกับบริษัท Compal Electronics ก็น่าแปลกใจที่สัญญาสิทธิบัตรนี้รวมไปถึง Chrome ด้วย
Compal นั้นเป็นโรงงานผลิตเน็ตบุ๊กรายใหญ่ในจีน ถ้าเราซื้อเน็ตบุ๊กจีนก็จะเจอแบรนด์นี้อยู่บ้าง จึงมีความเป็นไปได้ที่ Compal จะผลิตเน็ตบุ๊กที่ใช้ Chrome OS ออกมาในอนาคต การเซ็นสัญญานี้จึงเป็นการเซ็นสัญญาเผื่อไว้สำหรับ Compal
แต่น่าสนใจว่าไมโครซอฟท์นำสิทธิบัตรใดไปเรียกร้องให้ Compal จ่ายเงินค่าสิทธิบัตรสำหรับ Chrome OS
สัญญาครั้งนี้เปิดเผยเพียงว่าไมโครซอฟท์จะได้รับค่าสิทธิบัตรจาก Compal แต่ไม่ระบุสิทธิบัตรที่เกี่ยวข้อง และตัวเลขเงินที่จ่ายกัน
คดีสิทธิบัตรโทรศัพท์มือถือเริ่มยุ่งเหยิงขึ้นเรื่องๆ โดยล่าสุดบริษัทที่เข้าร่วมวงคือ Intellectual Ventures ซึ่งเป็นบริษัทที่อยู่ด้วยการทำธุรกิจกับสิทธิบัตรอย่างเดียว ได้ฟ้อง Motorola Mobility ว่าละเมิดสิทธิบัตรของบริษัท
สิทธิบัตรของ Intellectual Ventures นั้นมีมากกว่า 35,000 ใบ โดยบริษัทใช้เงินไปกว่า 400 ล้านดอลลาร์ในการกว้านซื้อสิทธิบัตรเหล่านี้มาและทำรายได้มาแล้วกว่า 2,000 ล้านดอลลาร์
ระหว่างที่คดีความสิทธิบัตรสมาร์ตโฟนดำเนินไปอย่างเข้มข้น ค่ายต่างๆ ที่ยังพอคุยกันได้ก็ค่อยๆ แลกเปลี่ยนสิทธิบัตรกันไปคู่ล่าสุดคือซัมซุงและไมโครซอฟท์
ภายใต้ความคุ้มครองระหว่างกันนี้ ข้อแลกเปลี่ยนคือซัมซุงจะจ่ายค่าสิทธิบัตรให้กับไมโครซอฟท์เมื่อผลิตโทรศัพท์แอนดรอยด์ พร้อมกันนั้นทั้งสองบริษัทจะช่วยกันทำตลาด Windows Phone ไปด้่วย
ไม่มีตัวเลขว่าซัมซุงต้องจ่ายไมโครซอฟท์ต่อเครื่องในราคาเท่าใหร่ แต่ก่อนหน้านี้ HTC ก็ทำสัญญาคล้ายๆ กัน และจ่ายค่าสิทธิบัตรให้กับไมโครซอฟท์ 5 ดอลลาร์ต่อเครื่องซึ่งปรากฏว่าทำเงินให้กับไมโครซอฟท์มากกว่าเงินจากค่าลิขสิทธิ์ Windows Phone 7 ทั้งหมดรวมกันเสียอีก
กรณีของกูเกิลซื้อโมโตโรลานั้น เป้าหมายสำคัญของกูเกิลคือสิทธิบัตรของโมโตโรลาจำนวน 17,000 รายการ และอยู่ระหว่างรออนุมัติอีก 7,500 รายการ
แต่ David Mixon นักกฎหมายผู้เชี่ยวชาญด้านสิทธิบัตรได้ประเมินแล้วว่า สิทธิบัตรที่กูเกิลจะได้ใช้งานจริงๆ ในคดีที่เกี่ยวข้องกับ Android มีเพียง 18 รายการเท่านั้น ซึ่งเป็นสิทธิบัตรเกี่ยวกับเทคโนโลยีพื้นฐานสำคัญของอุตสาหกรรมมือถือ เช่น การออกแบบเสาอากาศ, การส่งอีเมล, 3G ฯลฯ โดยโมโตโรลาได้ใช้สิทธิบัตรชุดนี้ต่อสู้คดีกับแอปเปิลอยู่แล้ว
Mixon ให้ความเห็นว่าในการต่อสู้คดีทางสิทธิบัตร จะต้องคัดเฉพาะสิทธิบัตรที่มีผลกระทบต่อฝ่ายตรงข้ามเยอะที่สุด และใช้สิทธิบัตรเหล่านั้นฟ้องคดีไปโดยตรง
ความพยายามในการปกป้องเครื่องหมายการค้า "App Store" ของแอปเปิลดูจะไม่ประสบความสำเร็จนักในสหรัฐฯ แต่ดูเหมือนในเยอรมันจะเริ่มมีข่าวดีให้กับแอปเปิลและข่าวร้ายกับอเมซอนเมื่ออเมซอนประกาศหยุดรับแอพพลิเคชั่นใหม่จากนักพัฒนาในเยอรมันแล้ว โดยระบุว่าเป็นผลมาจากการดำเนินคดีของแอปเปิล
อย่างไรก็ดี Amazon Appstore ยังคงดำเนินการต่อไป เพียงแต่นักพัฒนาจะไม่สามารถเพิ่มแอพพลิเคชั่นใหม่ได้เท่านั้น และยังไม่มีความชัดเจนว่าการตัดสินใจนี้เป็นผลมาจากการดำเนินการใดของแอปเปิล
ที่มา - PC Magazine
ช่วงนี้กูเกิลเปิดแนวรบหลายด้านในเรื่องสิทธิบัตรซอฟต์แวร์
เมื่อครั้งที่กูเกิลออกฟอร์แมตวิดีโอ WebM ทางค่ายคู่แข่งคือ MPEG LA ก็หมายมั่นปั้นมือว่าจะฟ้องกูเกิลให้จงได้ โดยเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา MPEG LA เปิดพิจารณาสิทธิบัตรที่เกี่ยวข้อง
ความเคลื่อนไหวล่าสุดคือตัวแทนของ MPEG LA เปิดเผยว่าได้รวบรวมบริษัท 12 รายที่มีสิทธิบัตรทับซ้อนกับตัวเข้ารหัสวิดีโอ VP8 ที่ใช้ใน WebM โดยทาง MPEG LA ไม่บอกว่าบริษัทเหล่านี้ชื่ออะไรบ้าง
ขยายความจากข่าว กูเกิล: "สิทธิบัตรซอฟต์แวร์เป็นตัวขัดขวางนวัตกรรมใหม่" ที่ระบุว่ากูเกิลกำลังไล่ซื้อสิทธิบัตรมากกว่า 1,000 รายการ ตอนนี้มีข้อมูลออกมาแล้วว่าผู้ขายคือ IBM
สิทธิบัตรที่กูเกิลซื้อจาก IBM มีหลากหลาย ทั้งไมโครโพรเซสเซอร์ ฐานข้อมูล การผลิตหน่วยความจำ ฯลฯ โฆษกของกูเกิลพูดถึงเรื่องนี้สั้นๆ ว่ากูเกิลเป็นเหมือนบริษัทอื่นๆ ที่ต้องซื้อสิทธิบัตรที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจของตัวเอง ส่วนโฆษกของ IBM ไม่ตอบคำถามเรื่องนี้
ปัญหาสิทธิบัตรมือถือที่กำลังฟ้องกันมากมายในขณะนี้ เริ่มส่งผลต่อนักพัฒนาแอพบนมือถือแล้ว โดยนักพัฒนาจำนวนหนึ่งเริ่มถอนแอพของตัวเองออกจาก iPhone App Store และ Android Market สำหรับตลาดสหรัฐ เพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้โดนฟ้องละเมิดสิทธิบัตร
Simon Maddox นักพัฒนาจากอังกฤษ บอกว่าเขานำแอพบน iOS/Android ออกจากตลาดสหรัฐ เพราะกลัวการฟ้องร้องจาก Lodsys เขายังบอกว่าจะกันเงินรายได้ส่วนหนึ่งเอาไว้เผื่อต่อสู้คดีในอนาคตด้วย
ส่วน Shaun Austin นักพัฒนาอีกรายบอกว่าตลาดสหรัฐเลยจุดสูงสุดมาแล้ว และ Fraser Speirs นักพัฒนาซอฟต์แวร์บนแมค/iOS จากสก็อตแลนด์ ให้สัมภาษณ์ว่าเขาเริ่มทบทวนว่าจะประกอบอาชีพนี้ต่อไปดีหรือไม่ เพราะกลัวปัญหาจากสิทธิบัตร
ข่าวดีสำหรับผู้ใช้ Mono ครับ
จากความเดิมว่า Attachmate ซื้อ Novell และปลดพนักงานจำนวนมาก รวมถึงทีม Mono ทำให้ทีม Mono หันไปตั้งบริษัทใหม่ Xamarin หันมาทำเครื่องมือสำหรับนักพัฒนาแอพบนมือถือด้วยเทคโนโลยี Mono
อย่างไรก็ตาม ผลิตภัณฑ์สายตระกูล Mono หลายตัว (โดยเฉพาะกลุ่มที่ไม่ใช่โอเพนซอร์สอย่าง MonoTouch/MonoDroid) ยังเป็นกรรมสิทธิ์ของ Attachmate อยู่ และเกิดเป็นคำถามว่าเรื่องนี้จะลงเอยอย่างไร
ข่าวต่อเนื่องจาก ITC ตัดสินเบื้องต้นระบุ HTC ละเมิดสิทธิบัตรแอปเปิลจริง มีคนไปค้นข้อมูลของสิทธิบัตร 2 ใบที่เป็นปัญหา พบว่าถูกยื่นจดทะเบียนมาตั้งแต่ปี 1994 และ 1996 หรือ 17 ปีก่อน
สิทธิบัตรใบแรกหมายเลข 6,343,263 ชื่อว่า "Real-time signal processing system for serially transmitted data" เกี่ยวข้องกับการประมวลผลข้อมูลระหว่างเครือข่าย โดยไม่ได้เกี่ยวข้องกับเครือข่ายไร้สายโดยตรง (แปลว่าอุปกรณ์ทุกชนิดที่รับ-ส่งข้อมูล ก็มีโอกาสละเมิดสิทธิบัตรชิ้นนี้ ถ้ายึดตามคำตัดสินของ ITC)
แอปเปิลเปลี่ยนหัวหน้าทีมทนายสิทธิบัตรจาก Richard Chip Lutton เป็น BJ Wastrous ซึ่งเคยอยู่ฝ่ายทรัพย์สินทางปัญญาของเอชพี
นักวิเคราะห์ด้านสิทธิบัตร Florian Mueller เชื่อว่าการเปลี่ยนตัวกระทันหันเช่นนี้เป็นเพราะความล้มเหลวในการสกัด Android โดยแม้แอปเปิลจะมีคดีความกับผู้ผลิตโทรศัพท์ Android จำนวนมากแต่กลับไม่สามารถหยุดการขายที่กำลังกินส่วนแบ่งตลาดอย่างต่อเนื่องได้
หัวหน้าทีมกฏหมายใหม่ พร้อมกับอาวุธใหม่จาก Nortel ที่แอปเปิลร่วมประมูลมาได้ อาจจะทำให้คดีระหว่าง Android ที่ต้องสู้กับไมโครซอฟท์และแอปเปิลพร้อมๆ กันกลายเป็นคดีจำนวนมากในเร็วๆ นี้
ที่มา - PC Magazine
ต่อจากกรณี 6 พันธมิตรชนะประมูลซื้อสิทธิบัตร Nortel วันนี้ศาลทั้งฝั่งสหรัฐและแคนาดาได้อนุมัติการซื้อสิทธิบัตรรอบนี้เรียบร้อยแล้ว
เหตุผลที่ศาลทั้งสองประเทศเข้ามาเกี่ยวข้อง ก็เพราะ Nortel ได้ยื่นขอล้มละลายต่อศาลทั้งสองประเทศมาก่อนหน้านี้นั่นเอง
การอนุมัติของศาลไม่เกี่ยวกับข่าวก่อนหน้านี้ว่า หน่วยงานด้านต่อต้านการผูกขาดของสหรัฐหลายแห่งจะเข้ามาสอบสวนเรื่องนี้
นอกจากกูเกิลที่เป็นเป้าหมายถูกฟ้องสิทธิบัตรโดยตรงแล้ว บริษัทอื่นๆ ที่ไม่ได้อยู่ในกลุ่ม 6 พันธมิตรอย่าง Verizon และ HP ก็คัดค้านการซื้อสิทธิบัตรครั้งนี้เช่นกัน
W3C ซึ่งเป็นหน่วยงานดูแลมาตรฐานเว็บ (รวมถึง HTML5 ที่ก่อนหน้านี้ WHATWG เป็นผู้พัฒนามาตรฐาน) ได้ออกประกาศขอข้อมูลการใช้ประดิษฐ์ที่มีการก่อน (prior art) ของสิทธิบัตรและใบขอสิทธิบัตรของแอปเปิล เพื่อให้มาตรฐานการขอสิทธิในการเข้าถึงข้อมูลของ Widget สามารถประกาศใช้ได้
แอปเปิลมีสิทธิบัตรหมายเลข 7,743,336 และคำขอสิทธิบัตรหมายเลข 11/432,295 โดยระหว่างการพัฒนามาตรฐาน
ข่าวต่อเนื่องจากผลการประมูลซื้อสิทธิบัตร Nortel ที่พันธมิตร "ไมโครซอฟท์, แอปเปิล, RIM, EMC, Ericsson, และโซนี่" ชนะประมูลด้วยวงเงิน 4.5 พันล้านดอลลาร์ ปล่อยให้กูเกิลพ่ายแพ้และเสี่ยงต่อการถูกฟ้องละเมิดสิทธิบัตรมากขึ้นไปอีก
แต่เส้นทางของพันธมิตรทั้ง 6 รายก็เริ่มไม่สดใสเหมือนกัน เพราะหนังสือพิมพ์ Washington Post รายงานข่าววงในของรัฐบาลสหรัฐว่า หน่วยงานต่อต้านการผูกขาดธุรกิจหลายแห่งของสหรัฐ กำลังจะสอบสวนข้อหาร่วมมือกันสร้างการแข่งขันที่ไม่เป็นธรรม จากกรณีซื้อสิทธิบัตรของ Nortel
HDMI.org ออกมายอมรับว่ามีคำสั่งให้ผู้ผลิตต้องถอนสายเคเบิลที่ปลายสองข้างเป็น Mini DisplayPort และ HDMI ออกจากตลาดทั้งหมด เนืองจากผิดสัญญาอนุญาตของทาง HDMI.org ที่กำหนดให้สายเคเบิลต้องมีหัวเป็น HDMI ทั้งสองข้าง
สัญญาอนุญาตของ HDMI.org นั้นต้องทำตามเอกสารที่ชื่อว่า Compliance Testing Specification (CTS) แต่เนื่องจากเอกสารฉบับนี้ไม่มีระบุการทดสอบสายเคเบิลที่มีหัวข้างใดข้างหนึ่งเป็นแบบอื่นนอกจาก HDMI เอาไว้ ทำให้ไม่สามารถให้อนุญาตกับสายเหล่านั้นได้
ทางออกในเรื่องนี้คือผู้ผลิตต้องทำ "ตัวแปลง" แทน "สายแปลง" กันต่อไป ส่วนตอนนี้ถ้าใครชอบพกสายมากกว่าตัวแปลงอาจจะต้องรีบไปซื้อมาเก็บไว้
การประมูลสิทธิบัตรของบริ๋ษัท Nortel จำนวนถึง 6,000 ใบสิ้นสุดลงแล้วเมื่อวานนี้ โดยจบลงด้วยราคา 4,500 ล้านดอลลาร์เป็นเงินสดทั้งหมด ผู้ชนะคือกลุ่มบริษัท ไมโครซอฟท์, แอปเปิล, RIM, EMC, Ericsson, และโซนี่
พูดง่ายๆ คือคู่แข่งกูเกิลหลักๆ เป็นผู้ชนะ โดยอาศัยการร่วมทุนร่วมกัน ทำให้บริษัท 6 บริษัทสามารถจ่ายเงินในหลักร้อยล้านดอลลาร์เพื่อให้ราคารวมสูงถึง 4,500 ล้าน ขณะที่กูเกิลเตรียมเงินไว้ประมาณ 900 ล้านดอลลาร์เท่านั้น
ไมโครซอฟท์ได้ลูกค้าที่ขอใช้สิทธิบัตร Android เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จากที่มีเพียง HTC รายเดียวในช่วงแรก และได้ General Dynamics เป็นรายที่สองเมื่อวันก่อน
วันนี้ไมโครซอฟท์ได้ลูกค้ารายที่สามแล้ว นั่นคือ Onkyo Corporation บริษัทญี่ปุ่นที่ขายอุปกรณ์ด้านเสียงและความบันเทิงในบ้าน ซึ่งภายหลังขยายมาทำแท็บเล็ต Android ด้วย ข้อตกลงครั้งนี้จึงคุ้มครองผลิตภัณฑ์กลุ่มหลังนั่นเอง
สถานการณ์ล่าสุดของคดีออราเคิลฟ้องกูเกิลเรื่องสิทธิบัตร Java ไม่เป็นผลดีต่อฝ่ายออราเคิลเท่าไรนัก
ต่อจากข่าวเมื่อเดือนที่แล้ว ศาลสั่งลดจำนวนสิทธิบัตรที่ออราเคิลฟ้องกูเกิล จาก 132 ประเด็นเหลือ 3 ประเด็น ทางออราเคิลได้ขอต่อรองจำนวนสิทธิบัตรเป็น 21 ประเด็น ซึ่งผู้พิพากษา William Alsup ก็ยอมตกลงให้ตามนั้น
แต่ Alsup ก็เปิดทางเลือกไว้ว่า ศาลอาจขอให้สำนักงานทรัพย์สินทางปัญญาของสหรัฐ (USPTO) เข้าตรวจสอบ (reexamine) ประเด็นของออราเคิลก่อนว่ามีเหตุผลเพียงพอที่จะฟ้องกูเกิลหรือไม่ ซึ่งการตรวจสอบทั้งหมดจะต้องใช้เวลาอีกเป็นปี
หลังจากข่าว Google ทุ่ม 900 ล้านดอลลาร์ซื้อสิทธิบัตร Nortel ขณะนี้ใกล้ถึงเวลาเปิดประมูลเข้ามาทุกที แต่ก็ยังไม่มีคู่แข่งที่ดูจะสมน้ำสมเนื้อกับ Google ออกมาประกาศตัวในสงครามช่วงชิงสิทธิบัตรจำนวนกว่า 6,000 รายการ ที่ Nortel ได้ถือครองไว้ก่อนที่จะล้มละลาย
กระทรวงยุติธรรมสหรัฐฯ (DoJ) แสดงความมั่นใจว่า หาก Google ได้สิทธิบัตรจำนวนดังกล่าวไป ก็จะไม่เกิดคดีความฟ้องร้องเพิ่มขึ้นมากนัก โดยพิจารณาจากท่าทีของ Google ก่อนหน้านี้ในเรื่องของการปกป้องทรัพย์สินทางปัญญา แต่ถ้าหากเป็น Apple ที่ได้ไปแทนล่ะ?