ข่าวสดๆร้อนๆ และ(น่า)จะร้อนไปถึงอินเทลและลุงสตีฟ จ็อบส์ด้วย เรื่องก็มีอยู่ว่า นายแมทธิว โรเบิร์ต ยัง ได้ยื่นฟ้องศาลสหรัฐฯ โดยนายยังอ้างว่า นายจ็อบส์ได้ขโมยผลงานของนายยังไปให้บริษัทอินเทลโดยไม่ได้รับอนุญาตจากตน ซึ่งนายยังอ้างว่า ผลงานชิ้นนั้นก็คือต้นแบบของ Intel Core-2 Duo และเทคโนโลยี virtualization ที่อินเทลกำลังขายในท้องตลาด และนายยังได้เรียกร้องค่าเสียหายจากอินเทลและจ็อบส์เป็นเงินถึง 5 พันล้านเหรียญ
ข่าวใหญ่สะเทือนวงการเกมออนไลน์ส่งท้ายปี 2551 ซึ่งอาจจะกลายเป็นคดีประวัติศาสตร์ที่ชี้อนาคตของวงการเลยทีเดียว
เมื่อวันคริสต์มาสอีฟที่ผ่านมา Worlds.com บริษัทด้านโลกเสมือน (virtual world) ยื่นคำฟ้องต่อศาลท้องถิ่นในรัฐเทกซัส ซึ่งเป็นที่ตั้งของออฟฟิศ NCsoft ในสหรัฐอเมริกา กล่าวหา NCsoft ว่าได้ละเมิดสิทธิบัตร "ระบบและกลวิธีที่ทำให้ผู้ใช้มีปฏิสัมพันธ์ต่อกันในโลกเสมือนได้" ("System and method for enabling users to interact in a virtual space") ของตน
ปี 2008 นี้เราคงต้องยอมรับกันว่าเน็ตบุ๊กนั้นมาแรงมากๆ จนตอนนี้อยู่ที่ 5 ของโพลใน Blognone เอง แต่ปีหน้าเราอาจจะไม่ได้เห็นชื่อนี้อีกต่อไป เมื่อทางบริษัท Psion ผู้ผลิตเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กได้ออกมาประกาศความเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้า Netbook
เครื่อง Netbook ของทาง Psion นั้นวางตลาดตั้งแต่ปี 1999 แม้หน้าตาจะคล้ายกับเน็ตบุ๊กทุกวันนี้อยู่มาก แต่มีราคาสูงถึง 1,299 ดอลลาร์
ข้อเรียกร้องของทาง Psion นั้นขอให้ผู้ผลิตและช่องทางจำหน่ายต่างๆ ยกเลิกการใช้เครื่องหมายการค้า Netbook ภายในเดือนมีนาคม 2009 โดยเครื่องหมายการค้า Netbook นี้ถูกจดทะเบียนในสหรัฐฯ, สหภาพยุโรป, แคนาดา, สิงคโปร์, และฮ่องกง
แล้วอย่างนี้ชื่อใหม่จะเป็นอะไรดีล่ะ?
ซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สได้รับการยอมรับในหมู่ผู้ผลิตจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ ในช่วงหลายปีมานี้ ที่ดังที่สุดคงเป็น Linksys WRT54G ที่ใช้ลินุกซ์และมีการปล่อยซอร์สโค้ดทั้งหมดออกมา ทำให้เกิดโครงการอย่าง OpenWRT ที่ดูแลลินุกซ์สำหรับอุปกรณ์เน็ตเวิร์คขึ้นมา
แม้การนำซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สไปใช้งานเพื่อการค้าจะเป็นเรื่องน่ายินดี แต่ดูเหมือนว่าซิสโก้จะไม่ได้ทำตามข้อกำหนดในสัญญาอนุญาตอย่างครบถ้วนนัก จนนำมาซึ่งการฟ้องซิสโก้จาก Free Software Foundation (FSF)
ขอยืมคำพูดของ Ford Antitrust มาใช้สักหน่อยครับ "ซอฟต์แวร์ลิขสิทธิ์ จั่วหัวพูดถึงทีไร เว็บไม่แตกก็ร้อนกันไปเป็นแถบ ๆ" แต่เนื่องจากตอนนี้เยอรมันเข้าหน้าหนาวละ หากเขียนเรื่องนี้แล้วร้อนก็คงดี จะได้ประหยัดค่าทำความร้อนไปได้หลายยูโร ซึ่งตอนนี้ประเด็นนี้กำลังร้อนมาก ๆ ใน blognone ผมไม่ได้เข้าไปอ่านแป้บเดียว กว่าสามร้อยความคิดเห็นไปแล้ว ตามอ่านแทบไม่ทัน วานฝากผู้เกี่ยวข้อง ให้ปักหมุดประเด็นนี้ไว้นาน ๆ หน่อยก็ดีครับ เผื่อจะมีความคิดเห็นที่สี่ร้อย ห้าร้อย ให้ได้อ่านกัน
คดี SCO ที่อ้างความเป็นเจ้าของลินุกซ์นั้นเป็นคดีประวัติศาสตร์ที่ไล่ล่ากันมานานหลายปี โดยคู่คดีสำคัญรายหนึ่งคือ Novell (อีกรายคือ IBM) ชนะคดีที่ SCO ไปอ้างสิทธิ์เหนือ Unix ไปตั้งแต่ปี 2007
แต่คดียังไม่จบ เพราะทาง Novell ยังคงไล่บี้เอาคืนจาก SCO ต่อเพื่อเอาค่าเสียหาย จนวันนี้ศาลชั้นต้นได้ประกาศคำพิพากษาให้ SCO ต้องจ่ายเงินให้กับ Novell เป็นเงิน 3,506,526 ดอลลาร์สหรัฐฯ รวมกับดอกเบี้ยอีกกว่าหกแสนดอลลาร์
ชัยชนะครั้งนี้คงเป็นเรื่องของศักดิ์ศรีมากกว่าเรื่องเงิน เพราะ SCO นั้นยื่นขอความคุ้มครองต่อศาลล้มละลายไปแล้วตั้งแต่ปีที่แล้ว
เล่าเหตุการณ์ให้ฟังกันก่อน
สัปดาห์ที่แล้วมี โอกาสได้ลงโปรแกรมให้กับเพื่อน ซึ่งเพิ่งโดนไวรัสไปสดๆ หมาดๆ เพิ่งจะฟอร์แมท ได้แผ่นสำหรับลงโปรแกรมมา 3 แผ่น คือ office 2007, Adobe CS3 suite และ ACDsee ซึ่งแผ่นทั้งหมดนี้มาจากแถวพันทิพย์นั่นเอง ถือว่าเป็นโอกาสดีมากสำหรับครั้งนี้ที่ได้เห็นว่า ซอฟต์แวร์เถื่อนนี่อันตรายจริงๆ มาดูกันค่ะว่าเกิดอะไรขึ้น นี่ขนาดมีแค่ 3 โปรแกรมเอง รอบนี้แจ๊กพ็อตจริงๆ เริ่มต้นด้วยการติดตั้ง Adobe CS3 Master Collection ยังไม่ทันไรก็เจอเลย พยายามจะเปิดโปรแกรม Key generator เพื่อสร้าง serial number ให้ เจ้า Trojan ก็ฝังตัวอยู่ในตัว Key generator นี่แหละ
ประเด็นสิทธิบัตรซอฟต์แวร์เป็นเรื่องที่ต่างประเทศให้ความสนใจกันมาก และมีการต่อต้านกันค่อนข้างมาก ในวันนี้เองสำนักงานทรัพย์สินทางปัญญาที่รองรับสิทธิบัตรซอฟต์แวร์นั้นคงมีเพียงสหรัฐฯ และสหภาพยุโรป แต่ทั้งสองสำนักงานก็นับว่ามีผลเป็นอย่างมากต่อโลก
ที่น่าสนใจคือสำนักงานทรัพย์สินทางปัญญาของอังกฤษนั้นปฏิเสธที่จะรับจดสิทธิบัตรซอฟต์แวร์ตลอดมา ทำให้บริษัทซอฟต์แวร์ต้องไปจดสิทธิบัตรกับสหภาพยุโรป อย่างไรก็ตามสิทธิบัตรที่ได้รับมานั้นอาจจะถูกฟ้องในอังกฤษทำให้ไม่มีสภาพบังคับได้โดยง่าย
หลังจากการประกาศแยกบริษัทเอเอ็มดีออกเป็นสองบริษัทแบ่งหน้าที่กันระหว่างการออกแบบและการผลิตได้ไม่กี่ชั่วโมง ทางอินเทลก็ออกมาตั้งโต๊ะแถลงข่าวว่าการแยกบริษัทครั้งนี้อาจจะเป็นการละเมิดข้อตกลงการใช้งานสิทธิบัตรที่อินเทลขายสิทธิให้กับเอเอ็มดีไว้ก่อนหน้านี้
เอเอ็มดีจ่ายเงินเพื่อซื้อสิทธิในการใช้งานชุดคำสั่ง x86 ไว้นานนับสิบปีแล้ว
ส่วนทางเอเอ็มดีก็ออกมาตั้งโต๊ะแถลงการสวนกลับทันทีเช่นกันว่าบริษัทเชื่อมั่นว่าการแยกบริษัทครั้งนี้ไม่มีการละเมิดสัญญากับทางอินเทลแน่นอน โดยให้คำมั่นว่าเอเอ็มดีเคารพทรัพย์สินทางปัญญาของทางอินเทลมาตลอด และหวังว่าทางอินเทลจะเคารพในเอเอ็มดีในแบบเดียวกัน
ศาลรัฐบาลกลางของสหรัฐฯ ได้พลิกคำวินิจฉัยของศาลรัฐแคลิฟอร์เนียที่ระบุว่าสัญญาอนุญาตแบบโอเพนซอร์สไม่สามารถใช้ฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายได้เนื่องจากตัวสัญญาอนุญาตมีความตั้งใจที่จะเผยแพร่ทรัพย์สินทางปัญญานั้นอยู่แล้ว
คดีตัวอย่างนี้เกิดจากนาย Jacobson ได้ยื่นฟ้องต่อนาย Mathew Katzer และ Kamind Associates ที่ได้ละเมิดสัญญาอนุญาตของซอฟต์แวร์ Decoder Pro ที่ใช้สัญญาอนุญาตแบบ Artistic License ที่บังคับให้มีการระบุความเปลี่ยนแปลงในเนื้องานเมื่อมีการแก้ไขและต้องให้เครดิตแก่ผู้พัฒนาคนแรก
งานนี้ผู้ฟ้องระบุว่าจำเลยนำซอฟต์แวร์ไปแปลงเป็นซอฟต์แวร์ชื่อว่า Decoder Commander Software โดยไม่ได้ให้ใครดิตหรือระบุความเปลี่ยนแปลงแก้ไขใดๆ
คนทั่วไปอาจจะรู้จักกับ Reuters ในฐานะของสำนักข่าว แต่คนไอทีบ้านเราคงรู้กันว่ารายได้จากซอฟต์แวร์นั้นก็เป็นสัดส่วนของสูงมากของบริษัทเช่นกัน หนึ่งในสินค้าของทาง Reuters คือซอฟต์แวร์ Instant Messaging แบบพิเศษที่มีการรักษาความปลอดภัยชั้นสูง
แต่ซอฟต์แวร์ตัวนี้นั้นผูกติดอยู่กับเทคโนโลยีของบริษัท FaceTime เพื่อการรักษาความปลอดภัยและการเก็บรักษาประวัติการพูดคุยกันของโบรกเกอร์บริษัทการเงินต่างๆ เพื่อให้เป็นไปตามกฏหมายของแต่ละประเทศ
นินเทนโดยื่นฟ้องบริษัทผู้ผลิตฮาร์ดแวร์ที่ใช้ในการแฮกเครื่อง Nintendo DS จำนวนห้าบริษัทรวมถึงบริษัทที่ผลิตการ์ด R4 Revolution ที่เข้าใจว่าบ้านเราใช้กันอยู่เยอะ
การยื่นฟ้องครั้งนี้มีโจทก์เป็นนินเทนโดและบริษัทซอฟต์แวร์อีก 54 บริษัท
บริษัทผู้ผลิตฮาร์ดแวร์เหล่านี้มักอ้างว่าฮาร์ดแวร์เหล่านี้สร้างขึ้นเพื่อเปิดโอกาสให้นักพัฒนาตามบ้านสามารถสร้างซอฟต์แวร์มาทำงานบนเครื่อง DS ได้ โดยการละเมิดลิขสิทธิ์ไม่ใช่วัตถุประสงค์หลักของฮาร์ดแวร์เหล่านี้
ที่มา - Engadget
มีข้อพิพาทจากสำนักข่าว AP ที่ไล่ฟ้องบล็อกเกอร์หลายต่อหลายรายในอินเทอร์เน็ตจากการลิงก์ข่าวไปยังเว็บในเครือของเอพีและอ้างอิงเนื้อข่าวสั้นๆ โดยระบุว่าแม้จะเป็นการใช้เนื้อความเพียงสั้นๆ จากข่าวด่วนนั้นก็ถือเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์และไม่อาจจะถือเป็นการใช้งานอย่างเป็นธรรม (Fair Use - ข้ออนุญาตให้ใช้งานที่มีสิขสิทธิ์โดยไม่ต้องขออนุญาต มีระบุไว้ในกฏหมายลิขสิทธิ์ของสหรัฐฯ)
กรณีที่เกิดขึ้นนี้ AP ได้ยื่นขอความคุ้มครองให้มีการถอนบทความจากเว็บจำนวนเจ็ดเว็บ โดยในจำนวนนี้หกเว็บมีการใช้งานเนื้อข่าวของ AP อยู่ที่ 33 ถึง 79 คำ
คดีล่าสุดของทาง MPAA (สมาคมอุตสาหกรรมภาพยนตร์ของอเมริกา) ได้ออกมากล่าวถึงคดีของนาย Jammie Thomas ที่ได้เปิดแชร์ไฟล์เพลงจำนวน 24 เพลงจนทางเจ้าหน้าที่ของทาง MPAA ได้มาดาวน์โหลดไปและใช้การดาวน์โหลดเป็นหลักฐานในการส่งฟ้อง
ปัญหาประการหนึ่งของคดีนี้คือทาง MPAA ไม่สามารถหาหลักฐานใดๆ มายืนยันได้ว่านาย Jamie ได้ส่งไฟล์ดังกล่าวใหักับคนอื่นๆ นอกจากเจ้าหน้าที่ของ MPAA เองหรือไม่ ในคำฟ้องของทาง MPAA เองจึงพยายามยืนยันว่าการเปิดให้ไฟล์เข้าถึงได้จากสาธารณะก็เพียงพอแล้วที่จะเป็นหลักฐานการกระทำความผิดในการละเมิดลิขสิทธิ์
หลังจากดำเนินการแปลร่างสัญญาอยุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์ (Creative Commons - CC) มาได้ระยะหนึ่งแล้ว ในตอนนี้สำนักงานธรรมนิติได้ส่งมอบร่างสุดท้ายของสัญญาอนุญาตเป็นที่เรียบร้อยแล้ว โดยจะเปิดให้แสดงความคิดเห็นกันได้อีกสามสิบวันก่อนประกาศรับรองในที่สุด โดยเอกสารที่ทางธรรมนิติส่งมอบให้ครีเอทีฟคอมมอนส์ประเทศไทยนั้นได้แก่
เมื่อสัปดาห์ที่แล้วทางซันได้ออกมาประกาศถึงแนวทางของบริษัทที่กำลังจะงดแจกความสามารถบางส่วนของ MySQL ในรุ่น Community ออกไปเช่นการสำรองข้อมูล และการเข้ารหัส สร้างแรงเสียดทานจากชุมชนโอเพนซอร์สอย่างรุนแรง จนในวันนี้ Kaj Arnö รองประธานฝ่ายชุมชนของ MySQL AB ก็ออกมาประกาศว่า MySQL รุ่น Community จะยังคงมีความสามารถครบถ้วนต่อไป
นอกจากเรื่องของความสามารถแล้วทาง MySQL AB ยังสัญญาว่าจะเปิดสามส่วนหลักของ MySQL คือ
หลังมีการเรียกร้องให้ Lawrence Lessig ผู้ให้กำเนิด Creative Commons ลงสมัครรับเลือกตั้งเข้าสู่สภาคองเกรสเพื่อเปลี่ยนแปลงระบบการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาของสหรัฐฯ ที่สร้างปัญหาในทุกวันนี้ ทางตัว Lessig เองก็ออกมาประกาศเป็นทางการแล้วว่าเขาตัดสินใจจะไม่ลงสมัครดังกล่าวอย่างแน่นอน โดยให้เหตุผลไว้ในวีดีโอความยาวห้านาทีของเขาว่าเขาต้องการการเปลี่ยนแปลง แต่เรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องที่จะเปลี่ยนได้อย่างรวดเร็วอย่างที่ทุกคนหวัง
Lawrence Lessig เป็นอาจารย์สอนกฎหมายที่มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด เขาโด่งดังจากกฎหมายด้านลิขสิทธิ์และทรัพย์สินทางปัญญาแนวใหม่ มีหนังสือด้านนี้ออกมาหลายเล่ม เช่น Code หรือ Free Culture ผลงานชิ้นสำคัญคือเป็นหนึ่งในทีมผู้ริเริ่มแนวคิด Creative Commons ซึ่งเป็นสัญญาอนุญาตลิขสิทธิ์ที่ Blognone ใช้อยู่ นอกจากนี้ก็เป็นกรรมการบริหารในองค์กรด้านส่งเสริมเสรีภาพออนไลน์หลายแห่ง เช่น Electronic Frontier Foundation และ the Software Freedom Law Center
หลังจากที่ฮอลลีวูดได้โทษการกระจายหนังละเมิดลิขสิทธิกับนักศึกษาในมหาวิทยาลัยต่าง ๆ มาตลอด Motion Picture Association of America ได้ออกมายอมรับผิดว่าตัวเลขที่ได้มาตอนแรกนั้นผิด
เมื่อปี 2005 MPAA นั้นได้เปิดเผยว่ากว่า 44 เปอร์เซ็นต์ของการสูญเสียรายได้ภายในประเทศจากการละเมิดลิขสิทธินั้น เกิดจากการดาวน์โหลดหนังโดยนักศึกษามหาวิทยาลัย ที่ได้ทำการดาวน์โหลดผ่านเน็ตเวิร์คของมหาวิทยาลัยที่มีความเร็วสูงอยู่แล้ว
ล่าสุด MPAA เปิดเผยว่าที่แท้จริงแล้ว นักศึกษาในมหาวิทยาลัยมีส่วนในการทำให้สูญเสียรายได้แค่ 15 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น โดยตัวเลขเก่าเกิดจากความผิดพลาดของมนุษย์ (Human Error) ในการเก็บและประมวลผลข้อมูล
หลังจากที่สำนักกฎหมายธรรมนิติและสถาบันไทยรูรัลเน็ต ได้ร่วมกันเผยแพร่ร่างสัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์สำหรับประเทศไทย ฉบับรับฟังความคิดเห็น ต่อสาธารณชนแล้ว คณะทำงานได้นำข้อคิดเห็นไปปรับปรุงร่างสัญญาและได้ส่งร่างข้างต้นถึงครีเอทีฟคอมมอนส์อินเตอร์เนชันแนล (CCi) เพื่อพิจารณาเห็นชอบ
ขณะที่เครื่อง Eee PC ของ Asus ได้รับความสนใจเป็นอย่างสูงในช่วงหลัง ตอนนี้ก็เริ่มมีข่าวถึงการละเมิดสัญญาอนุญาตแบบ GPL กันหนาหูขึ้นเรื่อยๆ โดยประเด็นหลักที่สร้างปัญหานั้นคือการที่ Asus ได้เข้าไปแก้ไขเคอร์เนลของลินุกซ์ โดยมีการเพิ่มเติมอินเทอร์เฟชที่ชื่อว่า asus_acpi เข้าไปในตัวเคอร์เนล
ทาง Asus มีการแจกไฟล์ขนาด 1.8 กิกะไบต์บนเว็บของตัวเองโดยอ้างว่านั่นคือซอร์สโค้ดของลินุกซ์ในเครื่อง Eee PC แต่ผู้ที่โหลดมาก็พบว่ามันเป็นเพียงไฟล์ deb ที่บีบอัดรวมกัน อีกทั้งเป็นคนละเวอร์ชั่นกับที่ใช้งานในเครื่อง Eee PC อีกด้วย
Eee PC ใช้งานลินุกซ์ Xandros รุ่นพิเศษโดยก่อนหน้านี้กรณีของ Xandros ก็มีข้อถกเถียงกันมาก่อนในประเด็นที่ไปเซ็นสัญญาสิทธิบัตรกับไมโครซอฟท์มาก่อนแล้ว
การเคลื่อนไหวครั้งล่าสุดของค่ายหนังในเพื่อต่อต้านการละเมิดลิขสิทธิ์ในช่วงหลังๆ มานี้คือการเริ่มลดราคาลงเพื่อเอาใจตลาดมากยิ่งขึ้น ค่าย Paramount ก็เป็นอีกค่ายที่ออกมาประกาศกลยุทธนี้ ด้วยการลดราคาแผ่นดีวีดีในจีนเหลือเพียง 3 ดอลลาร์หรือประมาณหนึ่งร้อยบาทเท่านั้น
ราคาแผ่นดีวีดีเถื่อนในจีนนั้นส่วนมากแล้วมักจะมีราคาไม่เกินประมาณ 50 บาท ทำให้ราคาของทาง Paramount ยังคงสูงกว่าแผ่นเถื่อนอยู่กว่าเท่าตัว แต่ทาง Paramount ก็เชื่อว่าคนจำนวนมากจะยินดีจ่ายเพิ่มขึ้นเพื่อจะซื้อของถูกกฏหมาย
แล้วเมื่อใหร่บ้านเราซีดีเพลงจะเหลือแผ่นละ 50????
Amazon นั้นมีสิทธิบัตรที่ได้รับการกล่าวถึงเป็นอย่างมากอยู่อันหนึ่งนั่นคือ 1-Click ที่ให้ผู้ใช้สามารถสั่งซื้อสินค้าได้ในการคลิกเพียงครั้งเดียว โดยสิทธิบัตรนี้เคยเป็นอาวุธให้กับ Amazon ในการต่อสู่กับคู่แข่งเช่น Barnes & Noble มาแล้ว และส่งผลให้ต้องมีการทำข้อตกลงกันนอกศาลไป
แต่ในวันนี้คณะกรรมการได้ตัดสินให้ยกเลิกการกล่าวอ้างของทาง Amazon ไปเกือบทั้งหมด และส่งสิทธิบัตรกลับไปยังขั้นตอนการพิจารณาใหม่อีกครั้ง โดยยังมีกระบวนการในขั้นต่อไปอีกมาก แต่ตอนนี้ก็นับได้ว่าสิทธิบัตรนี้ค่อนข้างสั่นคลอนสมควร
ในโอกาสที่ Creative Commons ภาษาไทยจะออกมาเร็วๆ นี้ เรื่องนี้จึงเป็นเรื่องที่น่าสนใจพอสมควรเลย
เรื่องนี้เริ่มจาก ครอบครัวชาวเท็กซัสครอบครัวหนึ่ง ไดทำการฟ้องร้อง Virgin Mobile ออสเตรเลียและ Creative Commons ในกรณีทำให้เกิดความอับอายและอดสู (grief and humiliation) ด้วยการนำรูปภาพของลูกสาวของครอบครัวนี้ ไปใช้ในป้ายโฆษณาของทาง Virgin โดยไม่ได้รับอนุญาต