ความวุ่นวายในประเด็นสิทธิบัตรที่เกี่ยวข้องกับ Java ยังไม่จบลงง่ายๆ โดยระหว่างการดำเนินคดีในชั้นศาลนี้ทางออราเคิลก็ขอให้ศาลมีคำสั่งให้ Apache Foundation เปิดเผยการสื่อสารกับกูเกิลและ Open Handset Alliance ตลอดจนพนักงานอื่นๆ ของกูเกิล โดยเฉพาะในประเด็นสัญญาอนุญาตของ Java SE และ Apache Harmony
เนื่องจาก Android นั้นใช้ไลบรารีจำนวนมากจาก Apache Harmony ซึ่งไม่เคยได้รับการรับรองว่าผ่าน Java TCK เนื่องจากติดข้อสัญญาอนุญาตของตัว TCK เอง การที่ออราเคิลดึง Apache เข้ามาเกี่ยวข้องในกรณีนี้เป็นไปได้ว่าออราเคิลกำลังพยายามชี้ให้ศาลเห็นว่า Apache Harmony เองก็ละเมิดสิทธิบัตรของออราเคิล ซึ่งทำให้ Android ละเมิดไปด้วย (ดูข่าวเก่า)
เครือข่าย Open Invention Network (OIN) เป็นความร่วมมือระหว่างบริษัทที่ได้รับผลกระทบจากการฟ้องร้องสิทธิบัตรลินุกซ์ของ SCO เมื่อหลายปีก่อน โดยการเอาสิทธิบัตรที่เกี่ยวข้องกับลินุกซ์จากทุกบริษัทมาเทกองรวมกัน แล้วให้สิทธิทุกบริษัทสมาชิกว่าหากถูกฟ้องเมื่อใด ให้สามารถหยิบสิทธิบัตรใดๆ ในเครือข่ายไปฟ้องกลับได้ เมื่อวานนี้ทางเครือข่ายก็ได้ประกาศสมาชิกเพิ่มเติมอีกจำนวนมาก โดยบริษัทที่เรารู้จักกันดีก็เช่น Facebook, HP, Symantec โดยรวมไตรมาสแรกของปี 2011 OIN มีสมาชิกเพิ่มขึ้น 74 หน่วยงาน
หลังจาก Nortel ล้มละลายไปในปี 2009 สิทธิบัตรจำนวนมหาศาลก็เป็นทรัพยสินที่คาดกันว่าหลายบริษัทจะเข้ามาแย่งชิงกันอย่างหนัก และวันนี้กูเกิลก็ประกาศตัวเข้าร่วมประมูลสิทธิบัตรอย่างเป็นทางการแล้ว โดยเสนอราคาแรกที่ 900 ล้านดอลลาร์
ผลิตภัณฑ์อีกตัวหนึ่งของกูเกิลที่สร้างความขัดแย้งอย่างมากคือ Google Books (เดิมชื่อ Google Book Search และ Google Print) แม้จะได้รับแรงสนับสนุนอย่างดีจากมหาวิทยาลัยทั่วโลก แต่กลับมีปัญหากับเจ้าของลิขสิทธิ์และสำนักพิมพ์จนเกิดคดีฟ้องร้องโดยสมาคมนักเขียนของสหรัฐ แนวทางแก้ไขของกูเกิลคือ จ่ายเงินให้สำนักพิมพ์เพื่อยุติคดีในสหรัฐ
แต่ความเคลื่อนไหวล่าสุดของคดีนี้คือศาลเขตนิวยอร์กได้สั่งระงับข้อตกลงยอมความของกูเกิลกับสมาคมนักเขียน โดยศาลให้เหตุผลว่าเงื่อนไขในข้อตกลงเอื้อประโยชน์แก่กูเกิลมากเกินไป เพราะเมื่อกระบวนการยอมความเสร็จสิ้น กูเกิลจะกลายเป็นผู้ผูกขาดตลาดอีบุ๊กทันที กีดขวางไม่ให้คู่แข่งสแกนหนังสือแบบเดียวกันได้
บริการของกูเกิลตัวหนึ่งที่สร้างเรื่องอื้อฉาวให้มากที่สุดคือบริการ AdSense ที่ขายโฆษณาบนหน้าค้นหาของกูเกิลเอง ปัญหาสำคัญของเรื่องนีคือเมื่อมีการขายโฆษณาบนหน้าค้นหาที่เป็นคำที่เป็นเครื่องหมายการค้า คู่แข่งโดยตรงอาจจะมาไล่ซื้อโฆษณาบนหน้านั้นๆ เพื่อเรียกลูกค้าเข้าไปยังหน้าเว็บของตัวเอง โดยที่ผ่านมาคำตัดสินของศาลดูจะอยู่ข้างกูเกิลตลอดมา แต่ข้อเรียกร้องใหม่จากเจ้าของแบรนด์ก็อาจจะทำให้มีการเพิ่มข้อกำหนดให้กูเกิลได้
ข้อเรียกร้องก่อนหน้านี้ของเจ้าของแบรนด์เหล่านี้ คือการห้ามไม่ให้กูเกิล (และผู้บริการโฆษณารายอื่นๆ ที่เล็กกว่ามาก) ขายโฆษณาบนคำที่เป็นเครื่องหมายการค้าเหล่านี้ แต่คำร้องเหล่านี้ก็ตกไปทั้งในสหรัฐฯ และในสหภาพยุโรป
แนวทางการไล่ฟ้องพันธมิตรฝั่งแอนดรอยด์แทนที่จะฟ้องกูเกิลโดยตรงของไมโครซอฟท์ ทำให้กูเกิลเริ่มอยู่เฉยๆ ไม่ได้จนต้องออกมาวิจารณ์การกระทำของไมโครซอฟท์ แม้จะไม่ใช่คู่กรณีโดยตรงก็ตาม แต่ในฐานะผู้ดูแลโครงการกูเกิลก็ออกมาวิจารณ์เรื่องนี้ว่าไมโครซอฟท์ทำเช่นนี้เท่ากับข่มขู่ไม่ให้ผู้อื่นสามารถสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ๆ ได้
แนวทางการฟ้องร้องพันธมิตรที่อ่อนแอกว่าเป็นแนวทางเดียวกับที่ SCO เคยใช้ในการไล่ฟ้องบริษัทผู้ใช้ลินุกซ์ให้ยอมจ่ายค่าลิขสิทธิ์ในการใช้งาน แต่ตอนนั้น SCO ฟ้องไอบีเอ็มไปพร้อมกัน ผลคือโดนไอบีเอ็มไล่บี้จนน่วม สุดท้ายต้องขอรับความคุ้มครองจากศาลล้มละลาย และต้องขายบริษัทให้กับ UnXis
ไมโครซอฟท์มักพูดเสมอๆ ว่าโลกโอเพนซอร์สนั้นละเมิดสิทธิบัตรของไมโครซอฟท์แต่ก็ไม่ยอมฟ้องอย่างเป็นทางการนักนอกจากการสนับสนุนทางอ้อมให้กับบริษัทอื่นๆ แต่วันนี้เป้าหมายแรกของไมโครซอฟท์กลับอยู่ที่ Android เมื่อไมโครซอฟท์ได้ยื่นคำร้องต่อคณะกรรมการการค้าระหว่างประเทศ (International Trade Commission - ITC) และศาลเขตตะวันตกของเมืองวอชิงตัน ว่าเครื่อง Nook และ Nook Color ของ Barnes & Noble นั้นละเมิดสิทธิบัตรของไมโครซอฟท์
หลังจากที่กูเกิลเข้าซื้อบริษัท On2 เพื่อเปิดมาตรฐาน VP8 ให้ทุกคนใช้งานได้ฟรีแม้บริษัทต่างๆ จะมีท่าทีต่างกันไป แต่บริษัทที่เสียผลประโยชน์อย่างชัดเจนคือ MPEG LA ที่ทำหน้าที่เป็นนายหน้าให้กับเจ้าของสิทธิบัตร โดยตอนนี้ MPEG LA เป็นผู้เรียกเก็บค่าใช้งานสิทธิบัตรจากมาตรฐาน H.264 อยู่ ล่าสุด MPEG LA ก็เรียกให้บริษัทผู้ถือสิทธิบัตรออกมาเสนอสิทธิบัตรที่เกี่ยวข้องกับ VP8 เพื่อรวมเข้ากองกลาง
แม้คดี SAP ละเมิดลิขสิทธิ์ออราเคิลจะจบคดีไปแล้วโดยศาลได้สั่งให้ SAP จ่ายเงินให้ออราเคิล 1,300 ล้านดอลลาร์ แต่ทางออราเคิลก็ได้ยื่นคำร้องต่อศาลของพิจารณาให้ SAP จ่ายดอกเบี้ยค่าปรับ 1,300 ดอลลาร์นั้นเพิ่มเติมเป็นเงิน 211.7 ล้านดอลลาร์
ออราเคิลนั้นฟ้อง SAP มาตั้งแต่ปี 2007 ไม่ชัดเจนว่าตัวเลข 211.7 ล้านดอลลาร์คำนวณมาอย่างไร แต่น่าจะเป็นดอกเบี้ยทบต้นโดยนับจากปีที่เริ่มฟ้องร้อง
งานนี้ SAP ออกมาให้ข่าวทันทีว่าออราเคิลไม่ควรได้รับเงินเพิ่มเติมจากที่ได้ค่าปรับไปอีกแล้ว
ที่มา - PhysOrg
Greg Stein อดีตประธาน Apache Foundation คู่กรณีของออราเคิลในประเด็นข้อตกลงการใช้งานชุดทดสอบความเข้ากันได้ของจาวา ได้ออกมาเขียนบล็อกแสดงท่าทีต่อเรื่องนี้ว่าจาวาไม่จำเป็นต้องเป็นภาษาเปิดเพื่อจะประสบความสำเร็จ ไม่ว่าความขัดแย้งระหว่างออราเคิลและโครงการ Apache Harmony จะออกมารูปแบบใดก็ตาม
บล็อกของ Greg ยกตัวอย่างภาษา Visual Basic (VB) ที่วางตลาดมากว่าสิบปีภายใต้การควบคุมของไมโครซอฟท์อย่างเบ็ดเสร็จ ไม่มีโครงการโอเพนซอร์สที่มาแทนที่ได้อย่างสมบูรณ์ อย่างไรก็ตามไมโครซอฟท์ยังสามารถสร้างชุมชนล้อมรอบภาษา VB ได้อย่างเข้มแข็ง และโครงการซอฟต์แวร์ที่พัฒนาด้วยภาษา VB จำนวนมากก็ยังคงได้รับการซัพพอร์ตเป็นอย่างดี
คดี The Pirate Bay นั้นศาลชั้นต้นตัดสินไปตั้งแต่เมษายนปี 2009 จนตอนนี้ก็ถึงช่วงเวลาของการอุทธรณ์ที่เพิ่งสิ้นสุดลง โดยศาลอุทธรณ์สวีเดนตัดสินให้จำ้คุกผู้ดูแลเว็บทั้งสี่คนเป็นเวลาไม่เกิน 4 ถึง 10 เดือนและปรับเป็น 6.5 ล้านดอลลาร์หรือประมาณ 200 ล้านบาท
ทีมงานทั้งสี่คนของ The Pirate Bay ประกาศเตรียมสู้คดีในชั้นศาลฏีกาต่อทันที ส่วนทางฝั่งผู้ฟ้องนั้นยินดีกับคำพิพากษา และยังแสดงความเชื่อมั่นว่าภายในสองปีข้างหน้า การละเมิดลิขสิทธิ์ในรูปแบบนี้จะหมดไป
ผู้ผลิตซอฟต์แวร์ระดับองค์กรรายใหญ่อย่าง CA ได้ยื่นฟ้องบริษัทซอฟต์แวร์ที่ชื่อว่า ISI Software ด้วยข้อหาละเมิดลิขสิทธิ์ของ CA-Datacom ซึ่งเป็นระบบฐานข้อมูลของ CA
ซอฟต์แวร์ต้นเรื่องนี้มีชื่อว่า 2BDB2 เป็นซอฟต์แวร์สำหรับย้ายข้อมูลออกจาก CA-Datacom และ IBM VSAM ไปยัง IBM DB2 โดยไม่ต้องเขียนแอพพลิเคชั่นด้านบนใหม่ โดยทาง CA ระบุว่า ISI Software ใช้งานทั้งซอร์สโค้ดและไฟล์ออปเจกต์บางส่วนจาก CA-Datacom อย่างผิดข้อตกลง ทำให้เกิดความเสียหายกับทาง CA พร้อมกับระบุว่าทาง ISI Software ไปบอกกับลูกค้าว่าระบบฐานข้อมูลของ CA นั้นกำลังจะตาย
ปัญหาระหองระแหงระหว่างซันและ Apache นั้นมีมานานแล้ว แต่เมื่อมาถึงยุคของออราเคิลปัญหานี้ก็ดูจะหนักหนาขึ้นไปอีกขั้นเมื่อทาง Apache ได้ออกมาประกาศโหวตคว่ำมาตรฐาน Java 7 เนื่องจากไลเซนส์การเข้าใช้ชุดทดสอบความเข้ากันได้นั้นไม่อยู่ในรูปแบบที่ยอมรับได้สำหรับโครงการโอเพนซอร์ส
หลาย ๆ คน คงจำ Meizu M8 มือถือที่เหมือน iPhone มาก ๆ ล่าสุด Apple สั่งให้ระงับการขายแล้ว
มีรายงานจาก Meizu BBS และเว็บ MeizuMe ว่า Apple ได้ติดต่อสำนักงานทรัพย์สินทางปัญญาของจีนให้ระงับการจำหน่าย Meizu M8 รุ่นนี้เพราะไปลอกดีไซน์มาจาก iPhone นั่นเอง
Jack Wong ผู้บริหารของ Meizu กล่าวว่า ในเมื่อไม่มี M8 ในตลาดจีนแล้ว นั่นทำให้ Meizu M9 ซึ่งใช้ Android ที่เปิดตัวออกมาเมื่อไม่นานมานี้ถูกเลื่อนการจำหน่ายออกไปเป็นเดือนธันวาคมนี้
แต่ว่า ... ที่ตลาดแห่งหนึ่งย่าน ๆ ในเมือง เห็นมี iPhone ปลอมอยู่หลายเครื่อง ทำไมคุณจ็อบส์ไม่จัดการล่ะ
สงครามสิทธิบัตรระหว่างกูเกิลและ MPEG LA ผู้ถือสิทธิ์ในสิทธิบัตรที่เกี่ยวข้องกับการเข้ารหัสวีดีโอจำนวนมากกำลังทำให้สมรภูมิวีดีโอบนอินเทอร์เน็ตอาจจะเป็นตัวตัดสินอนาคตของอัลกอลิทึมการเข้ารหัสภาพเคลื่อนไหว เพื่อหยุดกระแสการย้ายค่ายของเว็บวีดีโอต่างๆ ไว้ล่วงหน้า ทาง MPEG LA ก็ประกาศว่าวีดีโอที่เปิดให้เข้าชมฟรีผ่านอินเทอร์เน็ต จะไม่ต้องเสียค่าสิทธิบัตรให้กับ MPEG LA อีกต่อไป โดยไม่มีกำหนดหมดอายุ
ก่อนหน้านี้ MPEG LA ประกาศให้ใช้งาน H.264 ฟรีเช่นกันแต่กำหนดเวลาไว้ที่ปี 2015 เท่านั้น
ประกาศนี้ไม่มีผลต่อผู้ผลิตเครื่องเล่นทั้งหลายที่ต้องจ่ายค่าสิทธิบัตรอยู่แล้ว และยังไม่รวมถึงบริการเสียเงินเช่น iTunes และ Hulu เป็นต้น
เมื่อครั้งที่กูเกิลออก Android ใหม่ๆ นั้นคำถามสำคัญคือ Dalvik VM นั้นจะไปทับกับสิทธิบัตรของซันมากน้อยแค่ไหน เพราะซันเองก็ทำเงินจากสิทธิบัตรเหล่านี้ผ่านทาง J2ME อยู่ บทวิเคราะห์หลายบทความก็แสดงถึงความกังวลและทางรอดที่เป็นไปได้ของกูเกิล แต่แล้ววันนี้ออราเคิลที่ได้รับสิทธิบัตรต่อมาจากซันก็เดินหน้าฟ้องกูเกิลทั้งประเด็นสิทธิบัตรและลิขสิทธิ์
สิทธิบัตรที่ถูกฟ้องนั้นมี 7 ฉบับดังนี้
ศาลสูงของสหราชอาณาจักร ตัดสินแล้วว่า อุปกรณ์ประเภท "game copier" (ตลับแฟลช) เป็นสิ่งผิดกฎหมาย ไม่สามารถนำเข้า โฆษณา และจำหน่ายในสหราชอาณาจักรได้
อุปกรณ์ดังกล่าว ออกแบบไว้ให้ใส่ในช่องใส่ตลับเกมของเครื่องเกมพกพาอย่าง Nintendo DS โดยจะหลบผ่านระบบป้องกันของผู้ผลิต ให้สามารถเล่นเกมที่บันทึกในหน่วยความจำในอุปกรณ์ดังกล่าวได้ ทำให้ผู้เล่นสามารถเล่นเกมละเมิดลิขสิทธิ์ที่ดาวน์โหลดมาฟรี
ฝ่ายจำเลยพยายามต่อสู้ว่า ตลับแฟลชทำให้สามารถเล่นเกม homebrew ได้ แต่ศาลเห็นว่า ลำพังการที่อุปกรณ์สามารถใช้เพื่อจุดประสงค์ที่ไม่ละเมิดไม่ใช่ข้อแก้ต่าง
คำตัดสินดังกล่าว เป็นไปในทางเดียวกับที่เกิดขึ้นในเนเธอร์แลนด์ก่อนหน้านี้
งานนี้เป็นข่าวใหญ่มากที่จะกระทบทั้งวงการไปในวงกว้างเมื่อรัฐบาลของประเทศสหรัฐอเมริกาได้แถลงว่า
ประเด็นเรื่อง "สิทธิบัตรซอฟต์แวร์" (ไม่ใช่ "ลิขสิทธิ์" นะครับ คนละเรื่องกัน) เป็นประเด็นร้อนอันหนึ่งของโลกทรัพย์สินทางปัญญาทั่วโลก สหรัฐอเมริกาอนุญาตให้จดสิทธิบัตรของซอฟต์แวร์ได้ ทำให้เกิดปัญหาซอฟต์แวร์ละเมิดสิทธิบัตรกันอยู่บ่อยครั้ง (ที่เห็นชัดๆ คือ GIF/PNG และ MP3) ส่วนประเทศอื่นๆ รวมถึงไทย ส่วนมากไม่ได้ระบุว่าสามารถจดสิทธิบัตรซอฟต์แวร์ได้หรือไม่
ล่าสุดรัฐบาลนิวซีแลนด์เตรียมยื่นกฎหมายสิทธิบัตรฉบับใหม่เข้ากระบวนการของสภา โดยกฎหมายฉบับนี้ระบุชัดว่าซอฟต์แวร์จดสิทธิบัตรในนิวซีแลนด์ไม่ได้ ถ้ากฎหมายผ่านโหวตก็แปลว่านิวซีแลนด์จะไม่มีสิทธิบัตรซอฟต์แวร์อย่างชัดเจน
ตำนานของ The Pirate Bay เว็บไซต์ BitTorrent tracker ยอดนิยมระดับโลก ยังไม่จบลงง่ายๆ
หลังจากถูกปิดไปแล้วหลายครั้ง (อ่านรายละเอียดในข่าวเก่าๆ กันเองนะครับ) ล่าสุดทางพรรคโจรสลัด (Pirate Party) ซึ่งมีที่นั่งในรัฐสภายุโรป ได้ประกาศว่าจะเป็น ISP รายใหม่ให้กับเว็บไซต์ The Pirate Bay (เว็บไซต์กับพรรคไม่เกี่ยวข้องกันโดยตรง แต่สนับสนุนอุดมการณ์เดียวกัน)
หลังการเปิดตัวสินค้าไปเมื่อวานนี้มีสองประเด็นคือ การเปิดตัวโปรโตคอล FaceTime และการเปลี่ยนชื่อ iPhone OS 4 เป็น iOS4 ซึ่งถ้าเราตามข่าวไอทีมานานเราจะพบว่าทั้งสองชื่อนั้นดูจะคุ้นๆ
ปรากฏว่า FaceTime นั้นเป็นเครื่องหมายการค้าของบริษัทในชื่อเดียวกันที่เคยมีเรื่องกับบริษัท Thomson Reuters เมื่อปี 2008 โดยแอปเปิลได้เข้าไปซื้อสิทธิ์การใช้เครื่องหมายการค้าแบบขาด และบริษัท FaceTime กำลังจะประกาศชื่อใหม่ในเร็ววันนี้
ส่วน iOS นั้นมีชื่อเหมือนกับ Cisco IOS ทางซิสโก้เองก็ประกาศว่าได้มีการให้สิทธิ์กับทางแอปเปิลเพื่อใช้ชื่อ IOS แล้วแต่ในส่วนของซิสโก้นั้นคงเป็นการใช้เครื่องหมายการค้าร่วมกันเพราะ IOS เองเป็นสินค้าหลักของซิสโก้มากว่า 20 ปีแล้ว
เมื่อ Android Market เริ่มเติบโตขึ้นเรื่อยๆ บรรดาเจ้าของลิขสิทธิ์เกมและซอฟต์แวร์ต่างๆ ก็เริ่มเข้ามาป้องกันพื้นที่ของตนเองมากขึ้นเรื่อยๆ ล่าสุด The Tetris Company ผู้ถือสิทธิ์เกม Tetris ในตำนานก็ได้ยื่นใบเตือนไปยังกูเกิลเพื่อให้ถอนเกมที่มีลักษณะคล้ายกับ Tetris ออกจาก Market ทั้งหมด
ตัว Tetris นั้นไม่ได้รับการคุ้มครองด้วยสิทธิบัตร แต่เป็นการคุ้มครองด้วยลิขสิทธิ์ทำให้การพัฒนาขึ้นใหม่โดยไม่ได้ทำสำเนาจากของเดิมนั้นควรจะทำได้อย่างถูกต้อง แต่ The Tetris Company ก็อ้างว่าได้รับการคุ้มครองจากกฏหมายที่ชื่อว่า Lanham Act ที่ตราขึ้นเพื่อคุ้มครองเครื่องหมายการค้า และอ้างว่าเกมเหล่านั้นทำให้ผู้ใช้สับสนกับสินค้าของ The Tetris Company
ในช่วงหลังเราเริ่มได้ยินข่าวเกี่ยวกับ MPEG-LA มากขึ้นเรื่อยๆ จากความพยายามใส่วีดีโอลงไปในเว็บ จนหลายๆ คนน่าจะตั้งคำถามว่ามันไม่มีทางทำวีดีโอโดยไม่หนีไปจาก MPEG-LA ได้เลยหรืออย่างไร และในวันนี้บริษัท Nero AG ผู้ผลิตซอฟต์แวร์เขียนแผ่นซีดี/ดีวีดีชื่อดัง ก็ยื่นฟ้องต่อ MPEG-LA ในข้อหาผูกขาดแล้ว
Jonathan Schwartz อดีตซีอีโอของซัน ที่เคยประกาศลาออกผ่าน Twitter หลังการควบกิจการของซันกับออราเคิลเสร็จสมบูรณ์ ได้เปิดบล็อก What I Couldn't Say… เล่าเรื่องที่เขาเคยเล่าไม่ได้ในตำแหน่งซีอีโอของบริษัท
เมื่อสัปดาห์ก่อนหลายคนคงได้เห็นข่าวที่กลุ่มนักพัฒนาชาวจีนสร้าง Ubuntu distribution ชื่อ Ylmf OS โดยเลียนแบบส่วนติดต่อผู้ใช้ของวินโดวส์เอ็กซ์พี (ดูรูปได้จากที่มา) หลายคนคิดว่าไมโครซอฟท์คงจะรีบฟ้องกลับอย่างรวดเร็ว แต่ไมโครซอฟท์กลับแจ้งว่ากฏหมายต่อต้านการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ที่มีอยู่ไม่สามารถใช้ได้กับกรณีนี้ ดังนั้นจะขอศึกษากฎหมายปกป้องทรัพย์สินทางปัญญาที่มีอยู่ก่อน แต่ไมโครซอฟท์ยังกล่าวอีกว่าเป็นยากที่จะพูดถึงทางเลือกของกฎหมาย เนื่องด้วยมันขึ้นอยู่กับกฎหมายในแต่ละประเทศ (ในที่นี่คือประเทศจีน) และการ implement ของ Ylmf OS เองด้วย
ที่มา: Ars Technica