NTSB (National Transportation Safety Board) คณะกรรมการความปลอดภัยด้านการคมนาคมแห่งชาติของสหรัฐอเมริกา ได้ออกแถลงการณ์เพื่อผลักดันให้มีการออกกฎหมายบังคับผู้ผลิตรถยนต์ทำการติดตั้งระบบตรวจวัดปริมาณแอลกอฮอล์ของคนขับมาในตัวรถยตั้งแต่ขั้นตอนการผลิตจากโรงงาน
ทว่าทาง NTSB ไม่มีอำนาจในการออกกฎหมายดังกล่าวได้ด้วยตนเอง การผลักดันจึงเกิดขึ้นเพื่อเรียกร้องให้ NHTSA (National Highway Traffic Safety Administration) อันเป็นหน่วยงานรัฐที่มีอำนาจในการออกกฎหมายต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับรถยนต์และการจราจรให้เป็นผู้ทำหน้าที่ดำเนินการดังกล่าว
เมื่อวันที่ 23 กรกฎาคมที่ผ่านมา สหภาพยุโรปได้ออกกฎหมายใหม่กำหนดให้รถยนต์ที่จะผลิตใหม่และขายในยุโรปต้องติดตั้งระบบจำกัดความเร็วอัจฉริยะที่เรียกว่า ISA (Intelligent Speed Assistance) เพื่อช่วยในการแจ้งเตือนผู้ขับเมื่อใช้ความเร็วเกินกำหนดหรือช่วยจำกัดความเร็วอัตโนมัติ และล่าสุดทางการ New york เองก็เริ่มนำเอาระบบอุปกรณ์นี้มาทดลองใช้งานกับรถราชการแล้ว
ประธานาธิบดีโจ ไบเดน ของสหรัฐอเมริกา ประกาศว่าลงนามในกฎหมาย CHIPS and Science Act สนับสนุนการผลิตชิปในสหรัฐอเมริกาเรียบร้อยแล้ว
กฎหมาย CHIPS and Science Act เป็นแพ็กเกจมูลค่ารวม 52.7 พันล้านดอลลาร์ ที่ช่วยลงทุนด้านงานวิจัยและการผลิตชิปบนแผ่นดินอเมริกา ประกอบด้วย 39 พันล้านดอลลาร์เป็นการจูงใจให้บริษัทเอกชนมาตั้งโรงงาน, 2 พันล้านดอลลาร์สำหรับชิปที่ใช้ในรถยนต์และอุตสาหกรรมอาวุธ, 13.2 พันล้านดอลลาร์สำหรับการวิจัยและพัฒนา และ 500 ล้านดอลลาร์สำหรับกิจกรรมด้านซัพพลายเชน (รายละเอียดกฎหมาย)
กระทรวงมหาดไทยและกระทรวงยุติธรรมแห่งสหราชอาณาจักรกำลังพิจารณากฎหมายที่กำหนดให้ชาวต่างชาติผู้ต้องคดีอาญา ต้องรายงานตัวต่อเจ้าหน้าที่โดยการถ่ายภาพใบหน้าตนเองด้วยอุปกรณ์ติดตามตัวแบบสวมใส่ข้อมือที่มีระบบรู้จำใบหน้าวันละ 5 ครั้ง
ก่อนหน้านี้เมื่อเดือนพฤษภาคมรัฐบาลสหราชอาณาจักรได้ทำสัญญากับบริษัท Buddi Limited ซึ่งเป็นผู้ผลิตอุปกรณ์สวมใส่ข้อมืออัจฉริยะ โดยสัญญาดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของงานระบบติดตามตำแหน่งผ่านดาวเทียมซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบของกระทรวงมหาดไทย ซึ่งคาดว่าอุปกรณ์ของ Buddi Limited นี้เองที่จะถูกนำมาใช้งานกับการติดตามตำแหน่งผู้ต้องคดี
รัฐสภาสหรัฐอเมริกา ลงมติผ่านกฎหมาย CHIPS Act ที่ช่วยสนับสนุนด้านการเงินจูงใจให้เกิดการผลิตชิปบนแผ่นดินอเมริกา
กฎหมายผ่านโหวตของสภาผู้แทนราษฎร (สภาคองเกรส) ด้วยคะแนน 243-187 หลังจากผ่านการโหวตของวุฒิสภามาก่อนแล้วด้วยคะแนน 64-33 ขั้นถัดไปคือรอประธานาธิบดีโจ ไบเดน ลงนามเพื่อประกาศใช้เป็นกฎหมายต่อไป (ซึ่งเจ้าตัวก็ประกาศว่าลงนาม)
จากเหตุการณ์ชิปขาดตลาดที่ดำเนินมายาวนานและไม่มีท่าทีว่าจะกลับไปเป็นเหมือนยุคก่อนการแพร่ระบาดของโรค COVID-19 ส่งผลให้ราคาชิปถีบตัวสูงขึ้น รวมถึงสินค้าอิเล็กทรอนิกส์และธุรกิจอื่นที่ต้องพึ่งพาชิปก็ได้รับผลกระทบกันเป็นวงกว้าง รถยนต์หลายยี่ห้อส่งมอบได้ไม่ทันกำหนด บางยี่ห้อต้องลดสเปกฮาร์ดแวร์ลง
ด้านสหรัฐอเมริกาก็รู้สึกว่าต้องพึ่งพาชาติอื่นมากเกินไป เพราะโรงงานผลิตชิปแนวหน้าของโลกก็อยู่ที่จีนและชาติเอเชียอื่นๆ เป็นส่วนใหญ่ ทำให้รัฐบาลสหรัฐฯ พยายามออกกฎหมายดึงดูดการตั้งโรงงานและการผลิตชิปกลับเข้ามาในประเทศ โดยสถิติระบุว่าส่วนแบ่งของชิปที่ผลิตในสหรัฐฯ ลดจาก 37% ในปี 1990 เหลือเพียง 12% ของทั้งโลกในวันนี้ เพราะรัฐบาลหลายประเทศได้ลงทุนด้านนี้ ทำให้ส่วนแบ่งของสหรัฐฯ ลดลงเรื่อยๆ
กูเกิลรายงานถึงยอดการหมายขอข้อมูลผู้ใช้โดยระบุเป็นพื้นที่ (geofence warrant) ว่าสูงขึ้นมากในช่วงสามปีที่ผ่านมา และตอนนี้ยอดรวมมากกว่า 25% ของหมายที่กูเกิลได้รับแล้ว
หมายขอข้อมูลผู้ใช้ชนิดนี้จะขอให้กูเกิลเปิดเผยรายชื่อผู้ใช้ที่อยู่ในพื้นที่และเวลาที่ระบุ ช่วงต้นปี 2018 ยังไม่มีหมายชนิดนี้แต่สองปีที่ผ่านมาก็มีการขอหมายเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว
หมายส่วนใหญ่ออกโดยหน่วยงานระดับรัฐ (state jurisdiction) แคลิฟอร์เนียร์นำเป็นอันดับหนึ่งประมาณ 18% ของหมายทั้งหมด
สภาผู้แทนราษฎรของรัสเซียหรือ Duma กำลังอยู่ระหว่างการอภิปรายและพิจารณากฎหมาย Internet Sovereignty Act ในวาระแรก ซึ่งเบื้องต้นกฎหมายฉบับนี้กำหนดให้บริษัทอินเทอร์เน็ตของรัสเซียต้องเก็บข้อมูลไว้ภายในประเทศ ขณะที่ทราฟฟิคอินเทอร์เน็ตของทั้งประเทศก็จะถูกควบคุมดูแลโดยรัฐด้วย
ด้านนักฎหมายและนักสิทธิมนุษยชนออกมาโจมตีกฎหมายฉบับนี้ว่าปิดกั้นเสรีภาพในการแสดงออก (freedom of speech) รวมถึงอันตรายกับสังคมอินเทอร์เน็ตในภาพรวมของรัสเซีย เพราะรัฐบาลสามารถสั่งปิดอินเทอร์เน็ตเมื่อไหร่ก็ได้
ทางการ California ร่างกฎหมายที่จะบังคับผู้ให้บริการเครือข่ายสังคมออนไลน์อย่าง Facebook และ Twitter มีหน้าที่ต้องตรวจสอบและรายงานภาครัฐว่ามีบัญชีผู้ใช้ใดบ้างที่ทำงานด้วยระบบอัตโนมัติไม่ได้มีคนเป็นผู้ใช้งานจริงๆ
ที่มาที่ไปของเรื่องนี้ก็มาจากประเด็นข่าวปลอมปั่นกระแสจากทางรัสเซียที่แพร่ระบาดบน Facebook ซึ่งส่วนหนึ่งมาจากบัญชี Facebook ปลอมที่ไม่ได้มีผู้ใช้งานจริง หากแต่เป็นบอตที่ทำหน้าที่เพียงคอยกระพือโหมการแพร่ข้อมูลและข่าวต่างๆ ซึ่งทางการ California มองว่าเจ้าของแพลตฟอร์มมีหน้าที่ต้องดูแลเรื่องนี้
วันนี้สภาของสิงคโปร์มีมติผ่านกฎหมายที่จะอนุญาตให้เจ้าหน้าที่รัฐตัดการสื่อสารทุกช่องทางทุกรูปแบบได้ทั้งหมดในกรณีที่เกิดเหตุก่อการร้าย แน่นอนว่าเรื่องนี้เต็มไปด้วยเสียงคัดค้านจากหลายฝ่าย
ด้วยอำนาจที่กฎหมายใหม่ได้ให้ไว้ เจ้าหน้าที่รัฐจะสามารถกันคนออกจากบริเวณที่เกี่ยวพันกับเหตุก่อการร้าย และสั่งห้ามการบันทึกภาพหรือวิดีโอ ตลอดจนการสื่อสารที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลปฏิบัติการของเจ้าหน้าที่ ทั้งการติดต่อผ่านทางข้อความหรือโทรศัพท์ทุกรูปแบบ
หลังการออกมายอมรับของ Uber กรณีโดนแฮกข้อมูลในสหรัฐ หลังปิดข่าวมานับปี ซึ่งในสหรัฐ นอกจากอัยการรัฐนิวยอร์คที่เข้ามาสอบสวนเรื่องนี้ ยังมีอัยการจากรัฐอิลลินอยส์, รัฐคอนเนตทิคัตและรัฐแมสซาชูเซตส์ ไปจนถึง FTC ด้วย
ส่วนนอกประเทศ ตอนนี้มีสหราชอาณาจักร, ออสเตรเลียและฟิลิปปินส์ที่เริ่มสอบสวนเรื่องนี้ ด้วยว่า Uber อาจละเมิดกฎความเป็นส่วนตัวของข้อมูล (Data Privacy) ในแง่ที่ไม่ยอมแจ้งหน่วยงานรัฐและลูกค้า หลังรู้ว่ามีข้อมูลรั่วไหล โดยในฟิลิปปินส์ เจ้าหน้าที่ Uber ถูกภาครัฐเรียกตัวไปให้ข้อมูลเพิ่มเติม ขณะที่รองอธิบดีกรมการสื่อสารของอังกฤษออกมาบอกว่า Uber อาจถูกปรับจากเหตุการณ์ครั้งนี้