Ben Skeggs อดีตหัวหน้าทีมพัฒนาไดรเวอร์โอเพนซอร์ส Nouveau เพิ่งย้ายงานจาก Red Hat ไปอยู่กับ NVIDIA เมื่อเดือนเมษายน 2024 หลังจากเขาเงียบหายมาสักพักใหญ่ๆ ก็ออกมาประกาศว่า NVIDIA จะหาวิธีสนับสนุนไดรเวอร์จีพียูบนลินุกซ์ให้ดีขึ้นกว่าเดิม
ชิ้นส่วนสำคัญของการแก้ปัญหาไดรเวอร์บนลินุกซ์คือ โครงการไดรเวอร์โอเพนซอร์สตัวใหม่ Nova ที่พัฒนาโดยทีมฝั่ง Red Hat เขียนด้วยภาษา Rust แนวคิดของโครงการพัฒนาให้รองรับสถาปัตยกรรม NVIDIA GPU System Processor (GSP) ที่ใช้ในจีพียูรุ่นใหม่ๆ คือ GeForce RTX ซีรีส์ 20 (Turing) เป็นต้นมา
The Open Group และ IEEE ออกมาตรฐาน IEEE Std 1003.1-2024 และ Open Group Standard Base Specifications, Issue 8 เป็นชุดมาตรฐานอินเทอร์เฟซสำหรับการพัฒนาระบบปฎิบัติการที่รับประกันว่าโปรแกรมจะทำงานร่วมกันได้
POSIX เป็นมาตรฐาน API สำหรับโปรแกรมต่างๆ ทั้งโปรแกรมที่เขียนด้วยภาษา C และ shell script ว่าโปรแกรมเหล่านั้นจะทำงานได้ทุกที่
แม้ว่าจะเป็นมาตรฐานใหม่ แต่ในความเป็นจริงคำสั่งและ API ต่างๆ ที่เพิ่มเข้ามามักมีอยู่ในระบบปฎิบัติการจำนวนมากอยู่แล้ว เช่น คำสั่ง gettext, realpath, xgetext คำสั่งบางส่วนถูกถอดไปแล้วหลังไม่ได้รับความนิยม เช่น fort77 หรือคำสั่งควบคุม batch job เช่น qalter, qdel, qhold
บริษัท DeepComputing จากฮ่องกง เปิดตัวโน้ตบุ๊กพลังซีพียู RISC-V โดยใช้ชื่อรุ่นว่า DC-Roma RISC-V Laptop II ที่ติดตั้ง Ubuntu 23.10 เวอร์ชันคัสตอมมาให้ตั้งแต่โรงงาน
DC-Roma RISC-V Laptop II ใช้ซีพียู RISC-V แบบแปดคอร์ SoC K1 จากบริษัทจีน SpacemiT, มีชิป NPU AI Fusion Computing Engine สมรรถนะ 2TOPS, แรม 8/16GB, สตอเรจสูงสุด 1TB, หน้าจอ 14" FHD, น้ำหนัก 1.36 กิโลกรัม ที่พิเศษกว่าโน้ตบุ๊กทั่วไปคือมีพอร์ต Development Interface แบบ 8-Pin สำหรับเชื่อมต่อเครื่องมือคอมไพเลอร์ภายนอก
หลังจากไมโครซอฟท์เปิดตัว Copilot+ PC โดยอาศัยชิป Snapdragon X Elite สถาปัตยกรรม Arm ทั้งหมดก็มีคำถามอยู่บ้างว่าชิปตัวนี้จะรองรับระบบปฎิบัติการอื่นๆ หรือไม่ และหากรองรับจะมีผู้ผลิตผลิตเครื่องของมาขายหรือเปล่า ที่งาน Computex ทาง Tuxedo ผู้ผลิตพีซีลินุกซ์จากเยอรมนีก็ออกมาประกาศว่ากำลังพัฒนาโน้ตบุ๊กอยู่
แนวทางนี้ไม่น่าแปลกใจนักเพราะทุกวันนี้ลินุกซ์จำนวนมากก็คอมไพล์รองรับสถาปัตยกรรม Arm กันอยู่แล้ว และทาง Qualcomm เองก็ออกมระบุว่ากำลังพัฒนาไดร์เวอร์ชิป Snapdragon X Elite ให้กับลินุกซ์อยู่
บริษัทความปลอดภัย Kaspersky ออกเครื่องมือจัดการไวรัสและมัลแวร์บนลินุกซ์ Kaspersky Virus Removal Tool (KVRT) for Linux ซึ่งเคยมีเวอร์ชันบนวินโดวส์มาก่อนแล้ว
KVRT ไม่ได้เป็นแอนตี้ไวรัสเต็มรูปแบบที่คอยมอนิเตอร์เครื่องของเราอยู่ตลอดเวลา แต่ใช้สแกนดูได้ว่าเครื่องลินุกซ์ของเรามีไวรัสหรือมัลแวร์แอบแฝงอยู่หรือไม่ โปรแกรมตัวนี้เปิดให้ดาวน์โหลดฟรีบนเว็บไซต์ Kaspersky สิ่งที่ต้องแลกมาคือมันไม่อัพเดตฐานข้อมูลไวรัสให้อัตโนมัติ หากต้องการให้ข้อมูลอัพเดตก็ต้องขยันดาวน์โหลดไฟล์ใหม่มาเรื่อยๆ (Kaspersky บอกว่าเวอร์ชันไฟล์เปลี่ยนบ่อยๆ วันละหลายครั้ง)
Alpine Linux ดิสโทรขนาดเล็กยอดนิยมสำหรับ Docker ออกเวอร์ชั่น 3.20 อัพเดตซอฟต์แวร์สำคัญ แต่จุดเปลี่ยนใหญ่คือการรองรับ RISC-V 64 บิตเป็นทางการครั้งแรก
ผู้ใช้ชิป RISC-V นั้นใช้งาน Alpine ได้อยู่ก่อนแล้วเพราะมีหลายโครงการนำซอร์สโค้ดไป build กันเอง แต่การรองรับจากโครงการต้นน้ำก็ทำให้อุ่นใจได้ว่าต่อจากนี้จะได้รับอัพเดตต่อเนื่อง
นอกจากการรองรับแพลตฟอร์มใหม่แล้ว Alpine 3.20 ยังอัพเดตรันไทม์และคอมไพล์เลอร์ภาษาต่างๆ เป็นรุ่นใหม่ เช่น Node.js 20.10, LLVM 18, Python 3.12, Go 1.22 เป็นต้น
ที่มา - Alpine Linux
Qualcomm ออกประกาศบนบล็อก Developer ของตนว่ากำลังทำงานให้ชิป Snapdragon X Elite รองรับลินุกซ์
บริษัทเริ่มส่งแพตช์เข้าเคอร์เนลลินุกซ์ให้สนับสนุน Snapdragon X Elite ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2023 ซึ่งแพตช์เริ่มถูกรวมเข้ามาในเคอร์เนล 6.9 รองรับการทำงานพื้นฐาน และยังมีอีกหลายแพตช์ที่น่าจะถูกรวมเข้าเคอร์เนลในอนาคต
นอกจากนี้ Snapdragon X Elite ยังรองรับการบูต UEFI-based แบบมาตรฐาน ทำให้ Grub และ system-d รองรับการบูตบนชิป Snapdragon X Elite และทาง Qualcomm ยังได้ปล่อย Debian รุ่นทดสอบที่รองรับชิป Snapdragon X Elite อีกด้วย
Canonical ประกาศออก Ubuntu 24.04 LTS โค้ดเนม Noble Numbat ซึ่งถือเป็นรุ่นซัพพอร์ตระยะยาว LTS รุ่นที่ 10 ของ Ubuntu ด้วย (รุ่นแรกคือ 6.04 LTS)
ของใหม่ใน Ubuntu 24.04 LTS มีจำนวนมาก ได้แก่
Fedora Linux ออกเวอร์ชัน 40 มีของใหม่ดังนี้
ที่มา - Fedora
สงครามศาสนาที่คงอยู่มายาวนานของวงการโปรแกรมเมอร์คือ การย่อหน้าด้วย space vs tab ซึ่งก็คงยังไม่มีข้อยุติในเร็ววัน
เรื่องนี้เป็นประเด็นขึ้นมาอีกครั้ง เมื่อเว็บไซต์ The Register ไปค้นพบว่า Linus Torvalds ไปแก้โค้ดในเคอร์เนลลินุกซ์ ซึ่งในแพตช์นี้มีการแก้ไขเพียงอย่างเดียวคือเปลี่ยนอักขระ space มาเป็น tab
อย่างไรก็ตาม Linus ไม่ได้เลือกข้างในสงครามศาสนานี้แต่อย่างใด เพราะเหตุผลของเขาคือไฟล์ที่เขาแก้ไขคือ Kconfig ซึ่งเป็นไฟล์คอนฟิกค่าต่างๆ ของเคอร์เนล (ลักษณะเดียวกับ YAML ในปัจจุบัน) และมี parser รุ่นเก่าๆ บางตัวที่ยังเขียนมาได้ไม่ดีพอ ทำให้อ่านค่า space/tab ผิดพลาด
Canonical ประกาศนโยบายรีวิวทุกแพ็กเกจที่ส่งเข้าระบบ Snap Store หรือรู้จักกันในชื่อ Snapcraft (สำหรับใช้ใน Ubuntu) ด้วยมนุษย์ หลังจากถูกโจมตีด้วยการส่งแพ็กเกจแอพ crypto wallet ปลอมเข้ามาในระบบ และมีผู้ใช้ถูกขโมยเหรียญคริปโตไปบ้างแล้ว
การลงทะเบียนแพ็กเกจ snap ใหม่จำเป็นต้องกรอกฟอร์ม อธิบายรูปแบบการทำงานของแพ็กเกจ และรอการรีวิวจากวิศวกรของ Canonical ก่อน (ใช้เวลา 2 วันทำการ) เมื่อผ่านแล้วจึงสามารถส่งแพ็กเกจเข้าระบบได้
การโจมตีคลังซอฟต์แวร์ยอดนิยมเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นเรื่อยๆ ในช่วงหลัง โดยเคสล่าสุดคือ PyPI ถึงขั้นต้องปิดรับแพ็กเกจใหม่ชั่วคราว และคลังอื่นๆ อย่าง GitHub, RubyGems, npm ก็เจอปัญหาแบบนี้กันถ้วนหน้า
เมื่อ 29 มีนาคม 2567 (2024) ที่ผ่านมา พบว่าไลบรารี xz (รู้จักกันในชื่อเดิม LZMA Utils) ที่ถูกใช้งานเพื่อการบีบอัดไฟล์ XZ, LZMA Tarball และเป็นฟอร์แมตที่ถูกใช้งานอย่างแพร่หลายในระบบจัดการแพ็กเกจของลินุกซ์ ถูกฝังโค้ดมุ่งร้ายเพื่อเปิดทางให้สามารถทำการเข้ายึดระบบจากระยะไกลได้ โดยพบว่าช่องโหว่นี้กระทบกับเวอร์ชัน 5.6.0 และ 5.6.1
ตัวโค้ดมุ่งร้ายถูกทำให้ยุ่งเหยิงจนตรวจจับได้ยาก (Obfuscated) และทำให้ช่องโหว่ถูกมองข้ามไป การโจมตีจะทำการแยกไฟล์รหัสโปรแกรมที่ถูกฝังใน Test File ที่ได้ Commit ไปพร้อมกับ Commit ทดสอบปลอม จากนั้นโปรแกรมจะรันไฟล์รหัสโปรแกรมนั้นเพื่อแก้ไขพฤติกรรมของไลบรารีและเปิดช่องโหว่นี้ โดยช่องโหว่นี้ได้รับคะแนนความร้ายแรงที่ 10.0 จาก Red Hat
บริษัท Canonical ประกาศขยายเวลาการซัพพอร์ต Ubuntu รุ่นซัพพอร์ตระยะยาว LTS เพิ่มขึ้นจากเดิมสูงสุด 10 ปีเป็น 12 ปี
การซัพพอร์ต Ubuntu LTS มีโครงสร้างดังนี้
ช่วงหลายปีที่ผ่านมา เราเห็น Rust ถูกนำไปใช้เขียนซอฟต์แวร์พื้นฐานสำคัญๆ หลายตัวที่เดิมสร้างด้วย C/C++ ด้วยเหตุผลด้านความปลอดภัยที่ระดับตัวภาษา Rust เอง ตัวอย่างโครงการลักษณะนี้คือ su/sudo ตัวใหม่ที่เขียนด้วย Rust, Rustls โครงการทดแทน OpenSSL, mod_tls ของ Apache เป็นต้น
ในโลกของลินุกซ์ยังมีซอฟต์แวร์พื้นฐานที่เรียกรวมๆ ว่า coreutils (ย่อมาจาก Core Utilities) ตัวอย่างที่ใช้บ่อยๆ คือคำสั่งอย่าง ls, ln, more, chmod, chown, cat, printenv, wc เป็นต้น ซอฟต์แวร์เหล่านี้ถูกสร้างโดยโครงการ GNU มายาวนานตั้งแต่ยุค 90s และพัฒนาด้วยภาษา C
สถิติจาก StatCounter ระบุว่าลินุกซ์มีส่วนแบ่งตลาดระบบปฏิบัติการเดสก์ท็อป 4.03% เมื่อสิ้นเดือนกุมภาพันธ์ 2024 ถือเป็นครั้งแรกที่ทำได้เกิน 4% และใช้เวลาเพียง 8 เดือน นับจากส่วนแบ่งตลาดเกิน 3% ในเดือนมิถุนายน 2023 (กว่าจะทำได้ถึง 3% แรกใช้เวลา 30 ปี)
ตอนนี้ยังไม่ชัดเจนนักว่าทำไมส่วนแบ่งตลาดของลินุกซ์บนเดสก์ท็อปถึงเติบโตเร็วในรอบปีที่ผ่านมา เว็บไซต์ ZDNet คาดว่ามาจากหลายปัจจัยประกอบกัน เช่น การเล่นเกมบนลินุกซ์ได้รับความนิยมมากขึ้นจาก Steam ช่วยดัน, ตัวเลขผู้ใช้งานลินุกซ์ในอินเดีย (ซึ่งมีประชากรเยอะ) เพิ่มขึ้นมากในช่วงหลัง ตอนนี้ส่วนแบ่งตลาดลินุกซ์ในอินเดียเกิน 15.23% แล้ว ในขณะที่ macOS มีเพียง 3.11%
Alex Deucher วิศวกรของ AMD ที่อยู่ในทีมพัฒนาไดรเวอร์ HDMI 2.1 เปิดเผยในฐานข้อมูลบั๊กของไดรเวอร์ AMD บน Freedesktop.org ว่ากลุ่ม HDMI Forum ผู้กำหนดมาตรฐาน HDMI ไม่อนุญาตให้ AMD เปิดซอร์สโค้ดของไดรเวอร์ตัวนี้สู่สาธารณะ ส่งผลให้โลกลินุกซ์จะไม่มีไดรเวอร์ HDMI 2.1 แบบโอเพนซอร์ส แจกจ่ายได้เฉพาะไบนารีเท่านั้น
Vlad Tomoiagă นักเรียนวิศวกรรมไฟฟ้าจากโรมาเนีย พอร์ตเคอร์เนลลินุกซ์ลงไปยังชิป CH32V003 ไมโครคอนโทรลเลอร์สถาปัตยกรรม RISC-V ที่มีจุดเด่นคือราคาถูกมากๆ ราคาต่อชิปอยู่ที่ประมาณ 4 บาทเท่านั้น หรือหากซื้อบอร์ดพัฒนาสำเร็จรูปก็ยังมีราคาไม่ถึงร้อยบาท
แม้จะพอร์ตลินุกซ์สำเร็จ แต่ชิป CH32V003 นั้นมีแรมเพียง 2KB ไม่สามารถบูตลินุกซ์ขึ้นได้ ต้องใช้ชิป PSRAM ที่เป็นแรมผ่านพอร์ต SPI ขนาด 8MB เพื่อให้มีแรมเพียงพอ และยังต้องจำลอง memory management unit (MMU) ขึ้นมาด้วยโครงการ mini-rv32ima ที่พอร์ตลินุกซ์ลงชิป RISC-V ตัวอืนๆ ที่ใช้สถาปัตยกรรม RV32 เหมือนกันมาหลายตัว
Fedora ประกาศแบรนด์ Fedora Atomic Desktops ดิสโทรย่อยที่ใช้ระบบแพ็กเกจแบบแก้ไขภายหลังไม่ได้ (immutable) โดยใช้ระบบจัดการแพ็กเกจ rpm-ostree ที่มองแพ็กเกจทั้งหมดในอิมเมจเป็นแผนภูมิต้นไม้
Project Atomic ของ Fedora เริ่มขึ้นตั้งแต่ปี 2014 (Blognone รายงานครั้งแรกในปี 2016) โดยเริ่มจากการเป็นอิมเมจเพื่อใช้บนคลาวด์อย่างเดียว (ตอนหลังกลายเป็น Fedora CoreOS) แล้วขยายมายังตลาดเวิร์คสเตชันในชื่อ Fedora Silverblue
Mozilla ออกแพ็กเกจ .deb ของ Firefox Stable เพื่อใช้กับดิสโทรลินุกซ์ตระกูล Debian, Ubuntu หลังจากเริ่มทดสอบรุ่น Nightly มาตั้งแต่เดือนตุลาคม 2023
ข้อดีคือผู้ใช้ Debian, Ubuntu และดิสโทรอื่นๆ ที่อิงจาก Debian จะได้ใช้แพ็กเกจ Firefox รุ่นใหม่ล่าสุดจาก Mozilla โดยตรง ไม่ต้องรอเวอร์ชันของดิสโทรทำเอง ซึ่ง Mozilla บอกว่าจะได้ประสิทธิภาพที่ดีกว่า เพราะปรับแต่งคอมไพเลอร์ให้ทำงานตรงกับที่ตั้งใจไว้
Linus Torvalds ประกาศขอเลื่อนกรอบเวลาในการรวมโค้ดเคอร์เนลลินุกซ์เวอร์ชันหน้า 6.8 ออกไปอย่างไม่มีกำหนด ด้วยเหตุผลว่าพายุหิมะเข้า จนทำให้ไฟฟ้าและอินเทอร์เน็ตของเขาถูกตัด
ปัจจุบัน Linus อาศัยอยู่ที่เมือง Portland รัฐ Oregon ซึ่งตอนนี้มีคนประมาณ 1 แสนคนไม่มีไฟฟ้าใช้งาน เขาเล่าว่าเมื่อหลายปีก่อนเคยเกิดเหตุการณ์แบบเดียวกันนี้แล้ว และต้องใช้เวลานานกว่า 1 สัปดาห์ กว่าที่ทางเมืองจะสามารถปรับให้การจ่ายไฟกลับมาเป็นปกติ ช่วงนี้เขาจึงขอเลื่อนเวลาการทำงานไปก่อน
ที่มา - LKML via The Register
ลินุกซ์เดสท็อปครองส่วนแบ่งทางการตลาดของระบบปฏิบัติการเดสท็อปในประเทศไทยเกิน 4% ได้เป็นครั้งแรก ตามข้อมูลสถิติจากเว็บ StatCounter ที่เป็นเว็บเก็บข้อมูลสถิติต่าง ๆ
จากหัวข้อ "Desktop Operating System Market Share Thailand" ได้แสดงส่วนแบ่งทางการตลาดของระบบปฏิบัติการเดสท็อปในประเทศไทย พบว่า ลินุกซ์เดสท็อปสามารถครองส่วนแบ่งทางการตลาดได้มากถึง 4.42% เมื่อเดือนธันวาคม 2023 ที่ผ่านมา ถือเป็นครั้งแรกที่ลินุกซ์เดสท็อปครองส่วนแบ่งในประเทศไทยเกิน 4% ตั้งแต่เว็บ StatCounter ได้บันทึกสถิตินี้มาเมื่อมกราคม 2009 จนถึงปัจจุบัน
Fedora โพสต์เสนอชุมชนถึงการเปลี่ยนแปลงใน Fedora Linux ให้มีผลตั้งแต่เวอร์ชัน 40 โดยรวมตำแหน่งของ /usr/bin และ /usr/sbin ไว้ที่เดียวกัน
รายละเอียดที่เสนอเปลี่ยนคือแก้ไข /usr/sbin เป็น symlink ไปที่ bin ทำให้ path ทั้งหมดในกลุ่มนี้ชี้ไปที่ตำแหน่งเดียวกัน และ /usr/sbin จะถูกลบออกจาก $PATH ค่าเริ่มต้นด้วย
ดิสโทร Fedora ออกเวอร์ชันที่รองรับซีพียู Apple Silicon โดยใช้ชื่อว่า Fedora Asahi Remix 39
โครงการนี้เป็นความร่วมมือระหว่าง Fedora กับ Asahi Linux ที่ทำงานพอร์ตลินุกซ์ไปรันบนซีพียู Apple Silicon อยู่ก่อนแล้ว (ชื่อโครงการ Asahi มาจากชื่อเรียกพันธุ์แอปเปิล McIntosh ในญี่ปุ่น) ส่วนตัวเนื้อของดิสโทรคือการพอร์ต Fedora 39 ไปรันบน Apple Silicon นั่นเอง
ตอนนี้ Fedora Asahi Remix 39 รองรับเครื่องแมคทุกรุ่นที่ใช้ชิป M1, M2 โดยฟีเจอร์ด้านฮาร์ดแวร์ส่วนใหญ่ใช้ได้หมด (อาจมียกเว้นบางอย่าง เช่น Touch ID หรือ Thunderbolt/USB 4) ส่วนเดสก์ท็อปเลือกใช้ KDE Plasma รันบน Wayland และรองรับ OpenGL 3.3 กับ OpenGL ES 3.1 บนจีพียูของ Apple Silicon
Mozilla ออก Firefox 121 ซึ่งเป็นเวอร์ชันสุดท้ายของปีนี้
การเปลี่ยนแปลงสำคัญอยู่ที่เวอร์ชันลินุกซ์ โดย Firefox บนลินุกซ์เปลี่ยนมาใช้ระบบจัดการแสดงผล Wayland เป็นดีฟอลต์โดยตรงแล้ว จากที่ก่อนหน้านี้ Firefox เรียกใช้ Wayland ผ่าน XWayland ที่จำลองสภาพแวดล้อม X Window มาอีกที เพื่อความเข้ากันได้ย้อนหลัง
โครงการเคอร์เนลลินุกซ์ออกเวอร์ชั่น 6.6.6 หลังการออกเวอร์ชั่น 6.6.5 เพียงไม่กี่วันเพื่อแก้ปัญหาบั๊กไดร์เวอร์ Wi-Fi
ตัวเลข 6.6.6 เป็นตัวเลขที่หลายชาติตะวันตกมองว่าเป็นสัญลักษณ์ของซาตานจากการอ้างอิงในไบเบิล อย่างไรก็ดีเคอร์เนลลินุกซ์ที่ผ่านมามักมีการแก้บั๊กเล็กๆ น้อยๆ นับสิบเวอร์ชั่นย่อย เช่นเคอร์เนล 6.1 รุ่น LTS ก่อนหน้านี้นั้นมีรุ่นย่อยแก้บั๊กไปจนถึง 6.1.67 การที่เลขเวอร์ชั่นมาถึง 6.6.6 ก็ไม่ใช่เรื่องแปลกแต่อย่างใด
ที่มา - Phoronix