คนส่วนใหญ่ทราบว่าพนักงานของกูเกิลส่วนใหญ่ใช้แมค แต่ก็มีพนักงานบางส่วนที่ใช้ลินุกซ์ด้วย โดยพนักงานของกูเกิลใช้ดิสโทรของบริษัทเองชื่อ Goobuntu ที่พัฒนาอยู่บนฐานของ Ubuntu
อย่างไรก็ตาม ในเดือนสิงหาคม 2017 กูเกิลก็เปิดเผยว่าเปลี่ยนจาก Goobuntu มาเป็นดิสโทรตัวใหม่ชื่อ gLinux ที่พัฒนาเองเช่นกัน และเปลี่ยนฐานจาก Ubuntu มาเป็น Debian (ใช้ Debian testing หรือ "buster" ที่จะนับเป็น Debian 10)
กูเกิลไม่ได้อธิบายเหตุผลที่เปลี่ยนจาก Ubuntu มาเป็น Debian แต่ระบุแค่ว่ามีระบบย้ายจาก Ubuntu 14.04 LTS มาเป็น Debian buster แล้ว
Slack เริ่มพัฒนาแอพใหม่เป็นแบบแพคเกจ Snap (ไม่ใช่บริษัทเจ้าของ Snapchat) ที่สามารถใช้งานได้บนลินุกซ์หลายดิสโทร เพื่อช่วยให้เข้าถึงผู้ใช้จำนวนมากขึ้นและขยายฐานผู้ใช้งานของ Slack ได้ รวมถึงลดเวลาที่ใช้ในการพัฒนาแอพด้วย
ผู้ที่เคยใช้งาน VirtualBox คงทราบดีว่า ต้องติดตั้งแพ็กเกจ VirtualBox Guest Additions เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพกราฟิกและเพิ่มฟีเจอร์บางอย่าง (ผ่านการติดตั้งไดรเวอร์เสมือน) ด้วยวิธีการเมาท์ไฟล์ ISO อีกครั้งหลังบูตระบบปฏิบัติการขึ้นมาใน VM แล้ว สร้างความยุ่งยากให้การใช้งาน VirtualBox ไม่น้อย
ล่าสุดมีข่าวดีว่า VirtualBox Guest Additions กำลังจะถูกผนวกรวมเข้าไปอยู่ในเคอร์เนลของลินุกซ์เลย โดยเริ่มจากเคอร์เนลเวอร์ชัน 4.16 เป็นต้นไป และฟีเจอร์จะทยอยเข้ามาทีละส่วน ผลงานนี้เป็นฝีมือของ Red Hat แต่ก็ใช้กับดิสโทรอื่นได้ด้วย
จากปัญหา Ubuntu 17.10 ทำให้ BIOS ของโน้ตบุ๊ก Lenovo, Acer และ Toshiba บางรุ่นเสียหาย ล่าสุดทาง Ubuntu กำลังจะออกอิมเมจ ISO ของ Ubuntu 17.10 ใหม่ทั้งหมด ที่แก้บั๊กนี้แล้ว
เป้าหมายของทีมงานคือออกในวันพฤหัสนี้ (11 มกราคม) แต่อาจเลื่อนออกไปได้ถ้าทดสอบแล้วยังเจอปัญหา
อย่างไรก็ตาม อิมเมจตัวใหม่นี้ถูกพัฒนาขึ้นก่อนข่าว Spectre/Meltdown ทำให้มันไม่รวมแพตช์ป้องกันมาด้วย ผู้ที่ดาวน์โหลดอิมเมจไปใช้งานต้องอัพเดตแพตช์กันเองหลังติดตั้งเสร็จแล้ว
ช่วงเดือนธันวาคมที่ผ่านมานักพัฒนาเคอร์เนลลินุกซ์กำลังเร่งพัฒนาแพตช์ชุดใหญ่ kernel page-table isolation (KPTI) ที่แก้ปัญหาช่องโหว่ของซีพียูอินเทล ที่เปิดให้แฮกเกอร์ที่รันโค้ดในระดับ user สามารถรู้ตำแหน่งของฟังก์ชั่นต่างๆ ในเคอร์เนลได้ จากเดิมที่ควรปกป้องไว้ด้วยระบบสุ่มตำแหน่งหน่วยความจำเคอร์เนล (KASLR)
แพตช์ KPTI แยก page global directory (PGD) ตารางแสดงตำแหน่งหน่วยความจำชั้นบนสุดที่เคยใช้งานร่วมกันระหว่างเคอร์เนลและโปรเซสอื่นๆ ในระดับ user เพื่อป้องกันโปรเซสระดับ user ไม่ให้รับรู้ว่าเคอร์เนลที่ map ไว้ที่ตำแหน่งใด กระบวนการนี้ปกติตัวซีพียูจะจัดการให้อยู่แล้ว แต่ด้วยบั๊กของซีพียูที่ยังไม่เปิดเผย ทำให้กระบวนการไม่สมบูรณ์
มีผู้ใช้โน้ตบุ๊ก Lenovo บางส่วนรายงานว่า เมื่อติดตั้ง Ubuntu 17.10 ลงในโน้ตบุ๊ก จะทำให้ BIOS ของตัวเครื่องได้รับความเสียหาย โดยมีอาการแตกต่างกันออกไปตั้งแต่ไม่สามารถบันทึกการตั้งค่าใน BIOS ได้ ไม่สามารถออกจากหน้าการตั้งค่า BIOS ได้ หรือไม่สามารถบูตจาก USB drive ได้
Amazon มีลินุกซ์ดิสโทรของตัวเองชื่อ Amazon Linux เป็นอิมเมจสำหรับ EC2 มานานตั้งแต่ปี 2011 โดยมันถูกออกแบบมาสำหรับรันบน AWS เพียงอย่างเดียว จึงมีฟีเจอร์ด้านการเชื่อมต่อกับ API ของ AWS มาให้ตั้งแต่แรก (ตอนแรกพัฒนาจาก RHEL แต่ภายหลังก็มีความแตกต่างกันพอสมควร)
ล่าสุด Amazon ประกาศออก Amazon Linux 2 ถือเป็นการอัพเกรดเวอร์ชันใหญ่ครั้งแรก ปรับเวอร์ชันเคอร์เนลเป็น 4.9 ที่ปรับจูนให้ทำงานบน AWS อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด มาพร้อมแพกเกจหลักรุ่นใหม่ๆ (gcc 7.2.1, glibc 2.25, binutils 2.27) รวมถึงซอฟต์แวร์ยอดนิยมอย่าง Python, MariaDB, Node.js ที่ใหม่กว่าของเดิม ดาวน์โหลดเพิ่มได้จาก Amazon Linux Extras repository
ก่อนหน้านี้ Fedora ประกาศแผนว่าจะออก Fedora 27 Server แนวใหม่ที่เรียกว่า Modular Server แยกส่วนการทำงานเป็นโมดูลมากขึ้น
ล่าสุดแผน Fedora 27 Modular Server ถูกพับไว้ชั่วคราว โดยทีมงานเปลี่ยนมาออก Fedora 27 Server แบบดั้งเดิม (เหมือน Fedora 26 Server) แทน การเปลี่ยนแปลงจึงเป็นแค่การอัพเดตแพ็กเกจซอฟต์แวร์ให้ทันสมัยขึ้นเท่านั้น
เหตุผลที่แผน Modular Server ถูกชะลอ เป็นเพราะการทดสอบกับรุ่นเบต้ายังให้ผลลัพธ์ไม่ดีพอ ปัจจัยมาจากตัวซอฟต์แวร์ต้นน้ำเอง ที่บางตัวไม่ได้ออกแบบมาสำหรับการแยกโมดูล ทางทีมงานจึงตัดสินใจกลับไปทำการบ้านมาใหม่ และลองออกแบบแนวทาง Modular ในทางอื่นที่ใช้ได้จริงมากขึ้น
CrossOver โปรแกรมอีมูเลเตอร์ชื่อดังจากบริษัท CodeWeavers (พัฒนาต่อมาจาก Wine) ออกเวอร์ชันใหม่ 17.0.0 โดยมีีเจอร์สำคัญคือรองรับการรัน Microsoft Office 2016 บนลินุกซ์และแมค ช่วยให้คนที่อยากใช้ Office ตัวเต็มทำงานง่ายขึ้น
นอกจาก Office 2016 แล้ว CrossOver 17 ยังรองรับโปรแกรมการเงิน Quicken 2017 และเกม League of
Legends บนลินุกซ์ด้วย
ที่มา - CodeWeavers, Phoronix
หลังเหตุการณ์ไลนัสปล่อยระเบิดกลางวงนักพัฒนาเคอร์เนล เหตุการณ์หลังจากนั้นก็คลี่คลายลงเมื่อ Matthew Garret จากกูเกิลซักว่าปัญหาของแพตช์ชุดที่ Kees Cook ส่งเข้ามามีปัญหาอย่างไร ไลนัสกลับตอบว่าแพตช์ที่ส่งมาก็ดูดีอยู่แล้ว เพราะตั้งค่าเริ่มต้นให้เตือนอย่างเดียว
เขาขอโทษที่ใช้คำรุนแรงเกินไป โดยให้เหตุผลว่าอารมณ์เสียจากการ merge โค้ดในลินุกซ์ 4.15 นานกว่าที่คาดไว้ เนื่องจากเป็นเวอร์ชั่นปกติ ไม่ใช่ LTS เหมือน 4.14 แต่กระบวนการรวมโค้ดก็นานอยู่ดี
ไลนัสขึันชื่อว่าเมื่อถึงเวลาที่ไม่พอใจแล้วก็มักจะโต้เถึยงแรงๆ รอบล่าสุดเขาก็โต้กับ Kees Cook วิศวกรจากทีมงาน Google Pixel อย่างรุนแรงหลังถูกขอให้รับแพตช์ usercopy whitelisting ที่จำกัดการเข้าถึงหน่วยความจำของโมดูลต่างๆ ในเคอร์เนล
Kees ขอให้ไลนัสรวมแพตช์ชุดนี้ไว้ใน Linux 4.15-rc1 โดยเขากลัวว่าแพตช์นี้จะเข้าไม่ทันลินุกซ์เวอร์ชั่นต่อไป แต่ไลนัสแสดงความไม่พอใจที่มีการส่งแพตช์ขนาดใหญ่ในช่วงท้ายก่อนจะออกเวอร์ชั่น release candidate และแพตช์ที่ช่วยเพิ่มความปลอดภัยในระดับคอร์เช่นนี้มักสร้างบั๊กอยู่เสมอ หลังจากนั้น Kees ถกเถียงกับไลนัส พร้อมกับพูดถึงโมดูลอื่นที่เข้ามาในช่วงท้าย เช่น sctp และ kvm ทำให้การทดสอบการทำงานร่วมกับแพตช์ของเขาไม่มากพอ
หลังจาก Ubuntu เปลี่ยนกลับมาใช้ GNOME ในเวอร์ชัน 17.10 แล้ว ในเวอร์ชันหน้า 18.04 ก็จะมีชุดไอคอนแบบใหม่ด้วย
ไอคอนใหม่ของ Ubuntu 18.04 คือชุดไอคอน Suru ที่สร้างโดย Sam Hewitt เจ้าของผลงานชุดไอคอน Paper และ Moka มาก่อน เขาระบุว่าได้รับการติดต่อจากทีม Ubuntu Desktop ให้นำ Suru มาเป็นไอคอนดีฟอลต์ตัวใหม่ของ Ubuntu นั่นเอง
ตอนนี้ไอคอน Suru ยังไม่สมบูรณ์ 100% โดย Hewitt ระบุว่าจะรีบเร่งวาดให้ทันกำหนดออกในเดือนเมษายน
เทศบาลเมืองมิวนิค ประเทศเยอรมนี เคยสร้างชื่อจากการย้ายระบบมาใช้ลินุกซ์เมื่อหลายปีก่อน และเป็นต้นแบบของการใช้งานโอเพนซอร์สในภาครัฐ
อย่างไรก็ตาม มิวนิคกำลังจะย้ายกลับมาใช้ Windows 10 โดยมีเป้าหมายว่าจะต้องย้ายเสร็จในปี 2020
เหตุผลสำคัญมาจากผู้ใช้งานต้องการซอฟต์แวร์บางตัวที่มีเฉพาะบนวินโดวส์เท่านั้น ถึงแม้ทางทีมงานจะหาวิธีแก้ไข (workaround) แต่ก็ไม่สามารถใช้งานได้ทุกกรณี และไม่คุ้มค่ากับเงินที่จ่ายไป ทางสภาเทศบาลจึงเตรียมโหวตอนุมัติแผนการย้ายกลับมาใช้ Windows 10 ในวันที่ 23 พฤศจิกายนนี้
ปัจจุบัน 40% ของเจ้าหน้าที่ 30,000 คนใช้เครื่องที่เป็นวินโดวส์อยู่แล้ว และแผนการย้ายครั้งนี้จะย้ายเครื่องที่เหลือทั้งหมดมาเป็นวินโดวส์
Fedora ออกเวอร์ชัน 27 ในส่วนของรุ่นย่อย Workstation และ Atomic
ส่วน Fedora Server ยังไม่ออกพร้อมกันในรุ่นนี้ เพราะกำลังอยู่ระหว่างการปรับให้ทำงานแยกโมดูลมากขึ้น ตอนนี้ Fedora 27 Modular Server มีสถานะเป็น Beta และจะออกรุ่นจริงในอีกประมาณหนึ่งเดือนข้างหน้า
ที่มา - Fedora
การจัดอันดับซุปเปอร์คอมพิวเตอร์ Top500 รอบล่าสุดเดือนพฤศจิกายน 2017 เพิ่งออกมาวันนี้ ความเปลี่ยนแปลงสำคัญคือระบบปฎิบัติการตระกูลยูนิกซ์สองเครื่องสุดท้าย หลุดออกจากอันดับเรียบร้อยแล้ว หลังจากอยู่ในอันดับอยู่สองเครื่องมานานหนึ่งปี (ปี 2016 ยังมี 3 เครื่อง) ทำให้รอบนี้ลินุกซ์ครองรายการทั้งหมด 500 เครื่อง รวม 69 ล้านคอร์ เทียบกับปลายปีที่แล้วที่ Top500 มีจำนวนคอร์รวมประมาณ 44 ล้านคอร์เท่านั้น
ลินุกซ์ที่ได้รับความนิยมอันดับหนึ่ง (ไม่รวมที่ปรับแต่งเองเฉพาะกิจ) คือ CentOS ที่มีการใช้งานถึง 109 เครื่อง รวม 26.7 ล้านคอร์ รวมพลังประมวลผล Rmax 128 เพตาฟลอบ Rpeak 231 เพตาฟลอบ รองลงไปได้แก่ Cray Linux Environment และ SUSE Linux Enterprise Server 11
Red Hat Enterprise Linux ประกาศรองรับสถาปัตยกรรม ARM อย่างเป็นทางการ ทำให้ตลาดเซิร์ฟเวอร์ ARM มีอนาคตสดใสขึ้น เพราะดิสโทรชื่อดังอย่าง RHEL พร้อมแล้วกับการใช้งานในเชิงพาณิชย์ (เริ่มที่ RHEL 7.4 for ARM)
Red Hat เตรียมพร้อมเรื่อง ARM มาหลายปี และก่อนหน้านี้ Red Hat Enterprise Linux Server for ARM ก็เปิดให้ทดสอบแบบพรีวิวมานานตั้งแต่ปี 2014 โดยมีพาร์ทเนอร์เป็นผู้ผลิตชิปอย่าง Cavium และ Qualcomm
เซิร์ฟเวอร์ ARM รุ่นแรกที่รองรับ RHEL คือ HPE Apollo 70 ซึ่งเปิดตัวในวันนี้เช่นกัน
ยุทธศาสตร์ของ Red Hat คือการขยาย RHEL ให้รองรับสถาปัตยกรรมที่หลากหลาย นอกจาก x86 ที่เป็นมาตรฐานแล้ว ยังจะรองรับสถาปัตยกรรม Power และ z ของ IBM รวมถึง ARM ตามข่าวนี้ด้วย
จากข่าว Samsung DeX จะรองรับการรันลินุกซ์เดสก์ท็อปจากมือถือ ล่าสุดซัมซุงโพสต์วิดีโอบนช่อง YouTube ของตัวเอง โชว์คอนเซปต์การรัน Ubuntu บน DeX ให้เห็น
วิดีโอนี้ยังระบุว่าเป็นแค่ Concept Demo อาจไม่ใช่เดโมที่ใช้งานได้จริง ในวิดีโอแสดงการรัน Ubuntu 16 จากไอคอนในเดสก์ท็อปของ DeX แล้วรัน Eclipse ใน Ubuntu อีกต่อหนึ่ง สามารถทำงานเขียนโค้ด C/C++ ที่คอมไพล์เป็นเนทีฟสำหรับสถาปัตยกรรม ARM ได้ทันที
ซัมซุงเรียกฟีเจอร์นี้ว่า Linux on Galaxy และประกาศว่าจะใช้กับดิสโทรใดๆ ก็ได้
Mark Shuttleworth ประกาศโค้ดเนมของ Ubuntu เวอร์ชันหน้า 18.04 ที่จะเป็นเวอร์ชันซัพพอร์ตระยะยาว (LTS) ว่า Bionic Beaver หุ่นยนต์บีเวอร์จอมพลัง
ภาพรวมของ Ubuntu 18.04 LTS จะยังเดินหน้าไปในแนวทางเดิม นั่นคือ
Mark Shuttleworth ซีอีโอของบริษัท Canonical ผู้พัฒนา Ubuntu ให้สัมภาษณ์กับ eWeek ว่ามีแผนจะนำบริษัทขายหุ้น IPO เข้าตลาดหลักทรัพย์ และเป็นเหตุผลหนึ่งที่เขาตัดสินใจยกเลิกระบบเดสก์ท็อป Unity
Shuttleworth บอกว่าการเป็นบริษัทมหาชนในตลาดหลักทรัพย์ จำเป็นต้องคำนึงว่าผลิตภัณฑ์ใดทำเงินบ้าง ซึ่ง Ubuntu ทำเงินในตลาดเซิร์ฟเวอร์และคลาวด์ มีรายได้เลี้ยงตัวเองอย่างยั่งยืน แต่ฝั่งเดสก์ท็อปโดยเฉพาะ Unity กลับไม่ทำเงิน ทางทีมบริหารจึงตัดสินใจหยุดกระบวนการพัฒนา
AMD เอาใจนักขุดเหมือง ด้วยการออกไดรเวอร์ AMDGPU-Pro Beta Mining Driver for Linux เป็นการเฉพาะ
ไดรเวอร์ตัวนี้ออกแบบมาสำหรับงานประมวลผล blockchain และไม่แนะนำสำหรับงานกราฟิกหรือเกมมิ่ง สิ่งที่เพิ่มเข้ามาคือรองรับ "เพจ" ของหน่วยความจำ ที่มีขนาดใหญ่ขึ้น จากค่าดีฟอลต์ 64KB สามารถปรับเป็น 2MB ได้
จีพียูที่รองรับมีตั้งแต่ Radeon R5/R7/R9/RX 500 Series/RX Vega Series และจีพียูฝั่งเวิร์คสเตชัน FirePro ส่วนระบบปฏิบัติการที่รองรับคือ RHEL 7, CentOS 7, Ubuntu 16.04 LTS
Ubuntu 17.10 Artful Aardvark ได้ฤกษ์ออกตัวจริง เวอร์ชันนี้ถือเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญของ Ubuntu ในรอบหลายปี เพราะเลิกใช้เดสก์ท็อป Unity หันมาใช้ GNOME แทน
Ubuntu 17.10 ใช้ GNOME 3.26.1 ที่รันบนระบบแสดงผล Wayland (แทน Mir), ย้ายปุ่มควบคุมหน้าต่างกลับมาไว้ด้านขวา (ครั้งแรกนับจากปี 2010), เปลี่ยนซอฟต์แวร์หน้าจอล็อกอินจาก LightDM มาเป็น GDM
ที่มา - Ubuntu, Release Notes
ซัมซุงประกาศในงาน Samsung Developers Conference 2017 ว่า Samsung DeX ระบบเดสก์ท็อปที่เปิดตัวพร้อม Galaxy S8 จะรองรับการรันลินุกซ์ภายใต้ชื่อ Linux on Galaxy
ที่ผ่านมา DeX ยังเป็นการรัน Android ด้วย GUI แบบเดสก์ท็อป แต่ในอนาคต DeX จะสามารถรันลินุกซ์ดิสโทรได้อีกทางหนึ่ง (ดิสโทรใดๆ ก็ได้ที่ซัพพอร์ต) วิธีการใช้งานคือ DeX จะมองดิสโทรเป็นแอพอีกตัวหนึ่ง นั่นแปลว่าสามารถติดตั้งและใช้งานได้หลายดิสโทรพร้อมกัน
ซัมซูงยังไม่เปิดเผยว่าทำงานร่วมกับดิสโทรรายใดบ้าง บอกแค่ว่าตอนนี้ Linux on Galaxy ยังอยู่ในช่วงพัฒนา
แวดวงลินุกซ์ดิสโทรค่ายใหญ่ๆ ต่างอัพเดตแพตช์ความปลอดภัย แก้ปัญหาช่องโหว่ KRACK ของ WPA2 กันแล้ว ใครเป็นแอดมินระบบก็อย่าลืมอัพเดตแพตช์กันครับ แพ็กเกจสาย Debian จะใช้ชื่อ "wpa" ส่วนสาย Red Hat จะเป็น "wpa_supplicant"
ปกติแล้ว เคอร์เนลลินุกซ์รุ่นใหม่จะออกทุก 70 วันหรือประมาณ 2 เดือน โดยมีเคอร์เนลบางรุ่นที่เป็น Long Term Support (LTS) ที่มีระยะเวลาซัพพอร์ตนาน 2 ปี
ตัวเลขนี้อาจไม่มีปัญหาในโลกของพีซี แต่โลกของอุปกรณ์พกพาที่การอัพเกรดทำได้ยากกว่า ระยะเวลา 2 ปีอาจน้อยเกินไป กรณีตัวอย่างคือ Android ที่นำเคอร์เนลต้นฉบับ (รุ่น LTS) มาดัดแปลงเป็นเคอร์เนลเวอร์ชันของตัวเอง (Android Common) แล้วค่อยส่งต่อให้ผู้ผลิตชิป SoC (เช่น Qualcomm, MediaTek) เพื่อส่งต่อไปยังผู้ผลิตสมาร์ทโฟนต่อไป
กระบวนการเหล่านี้ใช้เวลานานพอสมควร อาจนานถึง 1 ปีกว่าเราจะได้เห็น Android รุ่นใหม่ปล่อยอัพเกรดไปยังสมาร์ทโฟน นั่นแปลว่าระยะเวลาซัพพอร์ตของเคอร์เนลรุ่นนั้นอาจเหลือไม่ถึงปีด้วยซ้ำ เมื่อนับจากวันที่เคอร์เนลออก
จากที่เคยมีข่าว Ataribox เครื่องเกมคอนโซลตัวใหม่ของ Atari ครั้งแรกในรอบ 24 ปี เริ่มมีรายละเอียดของเครื่องเกมตัวนี้ออกมาอีกหน่อย ว่ามันจะใช้ซีพียูรุ่นปรับแต่งพิเศษจาก AMD, จีพียู Radeon และใช้ระบบปฏิบัติการลินุกซ์ที่ปรับอินเทอร์เฟซให้เหมาะกับทีวี
Ataribox ยังจะสามารถรันเกมพีซีได้ด้วย แต่ยังไม่มีข้อมูลว่ามันจะสามารถใช้งาน Steam (ที่มีคลังเกมบนลินุกซ์อยู่จำนวนเยอะพอสมควร) ได้ด้วยหรือไม่ ทางผู้สร้างบอกว่าจะให้อิสระในการปรับแต่งระบบปฏิบัติการ ผู้ใช้สามารถนำไปรันอะไรก็ได้เท่าที่ต้องการ