เมื่อปลายเดือนที่ผ่านมา ไมโครซอฟท์ได้ออกอัพเดตให้กับ Skype บนทุกแพลตฟอร์มโดยได้เพิ่มฟีเจอร์อำนวยความสะดวกให้กับการแชทเข้ามาหลายอย่าง พอสรุปได้ดังนี้
CentOS ประกาศอัพเดตย่อย CentOS 7.7 หลังจาก RHEL 7.7 เพียงเดือนกว่าๆ โดยมีอัพเดตสำคัญที่สุดคือเพิ่ม Python 3 เป็นแพ็กเกจมาตรฐาน จากเดิมทีเพียง Python 2 เท่านั้น
Python 3 ที่ใส่มาด้วยเป็นเวอร์ชั่น 3.6 ก็อาจจะขาดฟีเจอร์ของ Python รุ่นล่าสุดไปหลายอย่างแต่ก็เพียงพอสำหรับการเตรียมความพร้อมในการพอร์ตแอปพลิเคชั่น โดยก่อนหน้านี้การติดตั้ง Python 3 บน CentOS 7 นั้นต้องอาศัยกระบวนการอื่นที่ไม่ใช่การติดตั้งแพ็กเกจมาตรฐาน
แพ็กเกจอื่น เช่น bind สำหรับทำเซิร์ฟเวอร์ DNS เปลี่ยนไปใช้เวอร์ชั่น 9.11 หรือ chrony ไปเป็นเวอร์ชั่น 3.4
ออราเคิลประกาศอัพเดตบริการเซิร์ฟเวอร์บนคลาวด์เมื่อใช้ระบบปฎิบัติการเป็น Oracle Linux จะมีบริการเสริม Oracle Autonomous Linux ที่อัพเดตระบบปฎิบัติการให้เอง จากเดิมที่ผู้ใช้ต้องเข้าไปสั่งการอัพเดตเป็นระยะ
Oracle Autonomous Linux จะอัพเดตแพตช์รายวันให้ลูกค้าอัตโนมัติ โดยไม่มี downtime แม้จะอัพเดตเคอร์เนล ด้วยการใช้เทคโนโลยี ksplice มาอัพเดต
นอกจากตัวลินุกซ์ ออราเคิลยังเปิดตัว Oracle OS Management Service หน้าจอบนคอนโซล Oracle Cloud ที่แสดงสถานะของเซิร์ฟเวอร์ว่าแพตช์ครบถ้วนดีหรือไม่ และสั่งอัพเดตได้จากคอนโซลคลาวด์ พร้อม API สำหรับการพัฒนาเพิ่มเติม เช่น การทำ auto-scaling
Red Hat ปล่อย RHEL8 มาตั้งแต่เดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา จนกระทั่งออราเคิลนำโค้ดไปทำเป็น Oracle Linux 8 เมื่อเดือนกรกฎาคม จนตอนนี้โครงการ CentOS ก็เพิ่งประกาศว่าเตรียมจะออก CentOS 8 ในวันอังคารที่ 24 กันยายนนี้
Johnny Hughes ผู้จัดการ release ของ CentOS ระบุว่าที่ล่าช้า เป็นเพราะโครงการกำลังเร่งออก CentOS 7.7 ที่เร่งด่วนกว่าเนื่องจากมีผู้ใช้รอจำนวนมาก ขณะที่เวอร์ชั่นนี้ลำบากกว่าปกติ เพราะ RHEL เลิกรองรับ AArch64 และ POWER9 ขณะที่ CentOS ยืนยันจะซัพพอร์ตต่อไป
ประเด็นปัญหา Huawei โดนแบนจากรัฐบาลสหรัฐ ไม่ได้ส่งผลกระทบแค่สมาร์ทโฟนที่ใช้ Android แต่ยังกระทบคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊กที่ใช้ระบบปฏิบัติการ Windows ด้วยเช่นกัน
ล่าสุด Huawei เริ่มแก้ปัญหานี้โดยการออกโน้ตบุ๊กเวอร์ชันที่ใช้ระบบปฏิบัติการลินุกซ์ในประเทศจีนแล้ว โดยหน้าเว็บ Vmall.com ของ Huawei ได้แสดงข้อมูลของโน้ตบุ๊ก 3 รุ่นคือ MateBook 13, MateBook 14, MateBook X Pro เวอร์ชันที่ใช้ลินุกซ์แล้ว โดยรุ่นลินุกซ์จะราคาถูกกว่ารุ่นปกติที่เป็น Windows ประมาณ 300 หยวน (1,300 บาท)
ข้อมูลจาก Vmall ไม่ระบุชัดว่าใช้ลินุกซ์จากดิสโทรใด บอกเพียงแค่ว่าเป็นลินุกซ์จาก third party (第三方Linux版) และยังไม่เปิดรับคำสั่งซื้อในตอนนี้ มีเพียงแค่ข้อมูลผลิตภัณฑ์เท่านั้น
โครงการ Linux Vendor Firmware Service (LVFS) เป็นโครงการที่ผู้ผลิตพีซียี่ห้อต่างๆ เข้ามาเผยแพร่ไฟล์เฟิร์มแวร์อัพเดตล่าสุด เพื่อให้ลินุกซ์ดิสโทรนำไปใช้งาน ผลคือผู้ใช้จะได้ประสบการณ์ที่ดีมากขึ้น เพราะได้ใช้เฟิร์มแวร์ที่ถูกต้องตั้งแต่ตอนติดตั้งดิสโทรเลย
ที่ผ่านมามีผู้ผลิตฮาร์ดแวร์แบรนด์ดังๆ อย่าง Dell, HP และ Lenovo (มาในฐานะแบรนด์ ThinkPad) เข้าร่วมโครงการ LVFS อยู่ก่อนแล้ว แต่ก็ยังขาดผู้ผลิตฝั่งเอเชียอยู่บ้าง
อะไรก็เกิดขึ้นได้กับไมโครซอฟท์ยุคนี้ ล่าสุดเราจะได้เห็นงานสัมมนาด้านลินุกซ์ WSLconf ไปจัดขึ้นที่สำนักงานใหญ่ของไมโครซอฟท์ที่เมือง Redmond ช่วงเดือนมีนาคม 2020
งานสัมมนา WSLconf เป็นงานที่จัดขึ้นโดยชุมชน (ไม่ใช่งานของไมโครซอฟท์เอง) แต่ก็มีพนักงานของไมโครซอฟท์เข้าร่วมด้วย โดยเนื้อหาหลักเกี่ยวกับ Windows Subsystem for Linux (WSL) ของไมโครซอฟท์
จากกำหนดการเบื้องต้นของงานมีการนำเสนอจากทีม WSL, ดิสโทร Pengwin ซึ่งเป็นการนำ Debian มารันบน WSL และการนำเสนอจากทีม Ubuntu ด้วย
งานเข้าฟังได้ฟรี ใครสนใจไปร่วมงานสามารถดูรายละเอียดได้จาก เว็บเพจ
อะไรก็เกิดขึ้นได้กับไมโครซอฟท์ยุคนี้ ล่าสุดไมโครซอฟท์ประกาศเปิดเอกสารสเปกของ exFAT ระบบไฟล์ที่ไมโครซอฟท์พัฒนาขึ้นเพื่อใช้กับสตอเรจแบบเสียบได้ เช่น SD card หรือ USB drive เพื่อให้เคอร์เนลลินุกซ์สามารถทำงานกับระบบไฟล์นี้ได้ราบรื่นกว่าเดิม
ระบบไฟล์ exFAT เป็นสิทธิบัตรของไมโครซอฟท์มาตั้งแต่เริ่มใช้งานในปี 2006 และไมโครซอฟท์ก็ประกาศให้สิทธิการคุ้มครองสิทธิบัตรตัวนี้กับองค์กร Open Invention Network (OIN) ที่ทำหน้าที่คอยคุ้มครองโลกโอเพนซอร์สจากการถูกฟ้องสิทธิบัตรด้วย
ตัวเอกสารสามารถอ่านได้จาก Microsoft
Red Hat ออก Red Hat Enterprise Linux (RHEL) 8 ตัวจริงเมื่อเดือน พ.ค. ทำให้ RHEL เวอร์ชัน 7.x ที่เริ่มใช้มาตั้งแต่ปี 2014 ลดความสำคัญลง
ล่าสุด Red Hat จึงออก RHEL 7.7 ซึ่งถือเป็นเวอร์ชันสุดท้ายของ RHEL 7 ที่จะมีฟีเจอร์ใหม่เพิ่ม (หลังจากนี้ RHEL 7 จะเข้าสถานะ Maintenance Phase ที่ออกเฉพาะแก้บั๊กหรือแพตช์ช่องโหว่เท่านั้น) ส่วนระยะการซัพพอร์ตของ RHEL 7 ทั้งหมดจะนาน 10 ปี (สิ้นสุด 2024) ตามที่บริษัทเคยสัญญาไว้
Windows Subsystem for Linux หรือ WSL เวอร์ชัน 2 ถือเป็นฟีเจอร์ใหญ่ของ Windows 10 รุ่นล่าสุด (จะมาในเวอร์ชัน 20H1) การเปลี่ยนแปลงสำคัญคือมันเป็นลินุกซ์ที่ใช้เคอร์เนลตัวเต็ม ทำให้ได้ฟีเจอร์ต่างๆ เทียบเท่ากับดิสโทรลินุกซ์จริงๆ ที่รันอยู่ใน Windows 10 อีกทีผ่าน VM
ล่าสุดไมโครซอฟท์เพิ่มฟีเจอร์ให้ WSL 2 ใน Build 18945 ให้ฝั่ง Windows สามารถเข้าถึง WSL 2 ภายในเครื่องเดียวกัน ด้วยการเรียก localhost แทนการระบุ IP แบบเดิม นั่นแปลว่าเราสามารถโฮสต์เซิร์ฟเวอร์ใน WSL 2 แล้วใช้เบราว์เซอร์พิมพ์ localhost เพื่อเข้าใช้งานได้ทันที โดยที่ไม่ต้องตั้งค่าอะไรเพิ่มเลย
หลัง Red Hat ซื้อกิจการ CoreOS ในปี 2018 ก็ประกาศยุบรวมดิสโทร CoreOS Container Linux เข้าเป็นส่วนหนึ่งของโครงการ Fedora โดยจะใช้แทน Fedora Atomic Host ที่เลิกทำไปเพราะทับซ้อนกัน
เวลาผ่านมาประมาณปีครึ่ง Fedora CoreOS ทำเสร็จเรียบร้อย เข้าสถานะพรีวิวให้คนทั่วไปทดสอบได้แล้ว
Fedora CoreOS เป็นดิสโทรลินุกซ์ขนาดเบาที่ออกแบบมาเพื่อรันในคอนเทนเนอร์ และมีฟีเจอร์ด้านบริหารจัดการ คอนฟิก อัพเดต เพื่อให้ง่ายต่อการดูแล VM จำนวนมากๆ ตัวอย่างฟีเจอร์เหล่านี้คือการอัพเดตตัว OS เวอร์ชันใหม่อัตโนมัติ ติดตั้งและรีบูตเองให้เสร็จสรรพ ลดภาระการดูแลของแอดมินลง
ถ้ายังจำกันได้ เดิมทีนั้น Microsoft Azure เคยมีชื่อเรียกว่า Windows Azure และเป็นบริการคลาวด์ที่เน้นระบบปฏิบัติการ Windows Server เป็นหลัก แล้วค่อยๆ เปิดกว้างมากขึ้น รองรับ VM ลินุกซ์ครั้งแรกในปี 2012 และเลิกใช้คำว่า Windows Azure ในปี 2014
หลายคนอาจลืมกันไปแล้วว่า Oracle ก็ทำดิสโทรลินุกซ์ด้วย โดยใช้ชื่อว่า Oracle Linux ซึ่งแท้จริงแล้วมันคือการนำเอาซอร์สโค้ดของ Red Hat Enterprise Linux (RHEL) มาดัดแปลงเป็นเวอร์ชันของตัวเอง (ลักษณะเดียวกับ CentOS) โดยรักษาความเข้ากันได้ของไบนารี แต่เกทับด้วยการออกอัพเดตให้ฟรี (RHEL ต้องเสียค่า subscription)
หลังจาก RHEL 8 ออกตัวจริงในเดือนพฤษภาคม ฝั่งของ Oracle Linux ก็ออกเวอร์ชัน 8 ตามมาด้วย ฟีเจอร์ใหม่ส่วนใหญ่คล้ายกัน เช่น Application Streams หรือการอนุญาตให้ติดตั้งแพ็กเกจซอฟต์แวร์หลายเวอร์ชันได้พร้อมกัน (แยกจากแพ็กเกจหลักของระบบ), Yum และ RPM เวอร์ชันใหม่, เปิดใช้ TLS 1.3 เป็นดีฟอลต์
ปัจจุบัน Debian ออกเวอร์ชันใหญ่ทุก 2 ปี โดยออกในช่วงกลางปีของปีที่เป็นเลขคี่ รุ่นที่แล้วคือ Debian 9.0 Stretch ล่าสุดคือ Debian 10.0 "Buster" (ชื่อหมาของพระเอก Toy Story ที่เป็นหมาจริงๆ ไม่ใช่ตุ๊กตา)
ของใหม่ใน Debian 10
ไมโครซอฟท์ส่งใบสมัครเข้าวงเมลลิ่งลิสต์ oss-security ในฐานะผู้ผลิตลิุนกซ์ดิสโทร โดยเมลนี้จะทำให้ไมโครซอฟท์เข้าถึงรายงานช่องโหว่ความปลอดภัยได้ล่วงหน้าก่อนที่จะมีการเปิดเผยช่องโหว่ต่อสาธารณะ
โดยปกติแล้ว สมาชิกของ oss-security จะเป็นผู้ผลิตลินุกซ์ดิสโทรที่มีผู้ใช้มากเพียงพอ, เป็นผู้สร้างดิสโทรหลักของตัวเอง, มีประวัติการรับและแก้ไขปัญหาช่องโหว่ความปลอดภัยที่สม่ำเสมอ
ไมโครซอฟท์ระบุว่าตัวเองมีลินุกซ์ในความดูแลถึง 3 กลุ่ม ได้แก่ Azure Sphere ที่เป็นลินุกซ์สำหรับ IoT, WSL2 ลินุกซ์ที่รันเคียงอยู่กับวินโดวส์, และกลุ่มคลาวด์คือ Azure HDInsight / Azure Kubernetes Service
หลังจาก Ubuntu ยอมถอยเรื่องการซัพพอร์ตไลบรารี 32 บิต ล่าสุด Valve ก็ออกมาตอบรับแล้วว่าจะซัพพอร์ต Ubuntu ต่อไป
Valve อธิบายว่าต้องใช้ไลบรารี 32 บิตกับทั้งตัว Steam client และเกมอีกจำนวนมากที่รองรับเฉพาะ 32 บิตเท่านั้น สำหรับคนที่สงสัยว่าทำไม Valve ไม่ทำ Steam client แบบ 64 บิตล้วนๆ คำตอบคือทำได้ในทางเทคนิค แต่จะทำให้เกมจำนวนมากใช้งานไม่ได้ ซึ่งขัดแย้งกับหลักการของ Valve ที่พยายามทำให้คนที่ซื้อเกมไปแล้ว สามารถเล่นเกมของตัวเองให้เยอะที่สุดเท่าที่จะทำได้
ต่อเนื่องจากประเด็น Ubuntu 19.10 หยุดซัพพอร์ตสถาปัตยกรรม x86 แบบ 32 บิต (i386) จนเป็นเหตุให้ Steam เตรียมเปลี่ยนดิสโทรที่ซัพพอร์ตเวอร์ชันลินุกซ์
ล่าสุด Canonical ยอมถอยแล้ว โดย Ubuntu อีก 2 เวอร์ชันถัดไปคือ 19.10 และ 20.04 LTS จะยังซัพพอร์ต 32 บิต โดยออกแพ็กเกจซอฟต์แวร์ 32 บิต "บางส่วน" เพื่อรองรับซอฟต์แวร์เก่าที่ยังใช้งานอยู่ ส่วนกระบวนการคัดเลือกว่าจะมีแพ็กเกจอะไรบ้างนั้น เป็นกระบวนการของชุมชนในการหารือกันต่อไป และสามารถปรับเปลี่ยนได้ตามความเหมาะสม
จากประเด็น Ubuntu 19.10 หยุดซัพพอร์ตสถาปัตยกรรม x86 แบบ 32 บิต (i386)
Pierre-Loup Griffais นักพัฒนาของ Valve ประกาศผ่านทวิตเตอร์ว่า Steam จะไม่ซัพพอร์ต Ubuntu 19.10 เป็นต้นไป รวมถึง Valve จะไม่แนะนำให้ลูกค้า Steam ใช้งานด้วย โดยทางออกของ Valve จะหันไปโฟกัสที่การทำงานบนลินุกซ์ดิสโทรอื่นแทน
สาเหตุของปัญหาเกิดจากเกมจำนวนมากคอมไพล์มาเป็น 32 บิต (โดยเฉพาะเกมที่เก่าหน่อย) และจะไม่ได้รับการอัพเดตใดๆ อีกแล้ว เกมเหล่านี้จำเป็นต้องเรียกใช้ไลบรารี 32 บิตด้วย การที่ Ubuntu จะหยุดซัพพอร์ตไลบรารี 32 บิต (บนระบบปฏิบัติการ 64 บิต) จึงทำให้เกมเหล่านี้ใช้งานไม่ได้ตามไปด้วย จึงเป็นเหตุผลว่าทำไม Valve จึงต้องหยุดซัพพอร์ต Ubuntu เช่นกัน
Ubuntu ประกาศหยุดซัพพอร์ตสถาปัตยกรรมซีพียู x86 แบบ 32 บิต (i386) โดยจะมีผลตั้งแต่เวอร์ชันหน้า 19.10 “Eoan Ermine” ที่จะออกในเดือนตุลาคมนี้
ทีมงาน Ubuntu บอกว่าเตรียมตัวเรื่องหยุดซัพพอร์ต i386 มาตั้งแต่ปี 2018 และตอนนี้ถึงเวลาที่เหมาะสมแล้ว จากนี้ไป Ubuntu จะไม่ออกแพ็กเกจซอฟต์แวร์ที่เป็น 32 บิตอีก ส่วนผู้ที่ใช้ Ubuntu เวอร์ชันเก่า เช่น 18.04 LTS แบบ 32 บิต ก็จะไม่สามารถอัพเกรดเป็น Ubuntu เวอร์ชันใหม่ได้อีกเช่นกัน (แต่ 18.04 LTS ยังสามารถใช้ได้จนถึงหมดระยะซัพพอร์ตปี 2023)
Ubuntu ให้สถิติว่าตอนนี้มีผู้ใช้แบบ 32 บิตอยู่ไม่ถึง 1% ของผู้ใช้ทั้งหมด
เมื่องาน BUILD 2019 ที่ผ่านมาไมโครซอฟท์เปิดตัว WSL 2 ที่เป็นเคอร์เนลลินุกซ์เต็มรันเคียงข้างเคอร์เนลวินโดวส์ ทำให้ประสิทธิภาพโดยรวมดีขึ้นและยังสามารถรัน Docker ได้ ตอนนี้ทางฝั่ง Docker เองก็ตอบรับความพยายามนี้โดยประกาศจะออก Docker Desktop ที่ใช้ WSL 2 จากเดิมที่ใช้ VM รันบน Hyper-V
Docker Desktop รุ่นใหม่นี้ จะรัน dockerd และ Kubernetes อยู่บน WSL 2 แต่มี dockerd, docker proxy รันอยู่ฝั่งวินโดวส์ด้วย
ทีมวิจัยความปลอดภัยไซเบอร์ของ Netflix เปิดเผยช่องโหว่เคอร์เนลลินุกซ์และ FreeBSD 4 รายการที่เกี่ยวข้องกับฟีเจอร์ minimum segmentation size (MSS) และ TCP Selective Acknowledgement (SACK) ในโปรโตคอล TCP
ช่องโหว่ที่ร้ายแรงที่สุดคือ CVE-2019-11477 หรือ SACK Panic ที่คนร้ายสามารถเปิดการเชื่อมต่อด้วยค่า MSS ระดับต่ำสุด และยิง SACK ด้วยลำดับที่ออกแบบมาเฉพาะทำให้เคอร์เนลลินุกซ์ panic ไปได้ทันที ช่องโหว่นี้กระทบเคอร์เนลลินุกซ์ตั้งแต่เวอร์ชั่น 2.6.29 ที่ออกตั้งแต่ปี 2009 เป็นต้นมา
ทางแก้คือการแพตช์เคอร์เนล หรือปิดฟีเจอร์ SACK ผ่านทาง /proc/sys/net/ipv4/tcp_sack
มีคนตาดีไปเห็นว่า ในบรรดา ThinkPad P Series ที่เพิ่งเปิดตัวปีนี้ สามารถเลือกใส่ระบบปฏิบัติการลินุกซ์มาได้ตั้งแต่โรงงาน โดยเลือกได้ว่าจะเป็น Ubuntu 18.04 LTS (พรีโหลดมาให้จากโรงงาน) หรือถ้าต้องการ Red Hat Linux ก็รองรับอย่างเป็นทางการ (certified)
ThinkPad ที่เข้าข่ายคือ P1 Gen 2, P53, P73, P53s, P43s แต่เนื่องจากตอนนี้บนหน้าเว็บของ Lenovo US ยังไม่เปิดให้สั่งซื้อ จึงไม่สามารถดูราคาได้ว่าถ้าเลือกระบบปฏิบัติการเป็นลินุกซ์ ราคาจะแตกต่างจากวินโดวส์หรือไม่
ไมโครซอฟท์ออก Windows 10 Insider Preview Build 18917 ซึ่งเป็นรุ่นทดสอบของ Windows 10 20H1 ที่จะออกในปีหน้า
ของใหม่ที่สำคัญคือ Windows Subsystem for Linux 2 ที่ประกาศตอนงาน Build 2019 ถูกผนวกเข้ามาใน Insider แล้ว
จุดเด่นของ WSL2 เหนือ WSL1 คือมันใช้เคอร์เนลลินุกซ์ตัวเต็ม แล้วรันอยู่ใน VM ขนาดเบา (lightweight) ที่ทำงานได้เร็วและกินทรัพยากรน้อย ผลคือมันเข้ากันได้กับลินุกซ์เต็มรูปแบบ (รัน Docker ได้, ใช้ระบบไฟล์เสมือนได้) และมีประสิทธิภาพดีขึ้นกว่ารุ่นแรกถึง 20 เท่า
ปัญหาสำคัญอันหนึ่งของโลกลินุกซ์คือไดรเวอร์จีพียู โดยเฉพาะฝั่ง NVIDIA เป็นไดรเวอร์ที่ไม่โอเพนซอร์ส ทำให้ดิสโทรลินุกซ์หลายค่ายตัดสินใจไม่รวมไดรเวอร์มากับไฟล์ ISO ด้วย ถึงแม้ผู้ใช้สามารถดาวน์โหลดไดรเวอร์มาติดตั้งเองในภายหลัง แต่ประสบการณ์ใช้งานตั้งแต่แรกก็ไม่ดีนัก (ปกติแล้วดิสโทรส่วนใหญ่จะติดตั้งไดรเวอร์ Nouveau เวอร์ชันโอเพนซอร์สมาให้แทน แต่ประสิทธิภาพและฟีเจอร์เทียบกับเวอร์ชันของ NVIDIA ไม่ได้)
ล่าสุดโครงการ Ubuntu ปรับนโยบายเรื่องนี้ใหม่ ตั้งแต่ Ubuntu 19.10 เวอร์ชันหน้าเป็นต้นไป จะรวมไดรเวอร์ NVIDIA มาให้ในไฟล์ ISO เลย โดยมีเหตุผลว่าต้องการให้ผู้ใช้ติดตั้งไดรเวอร์ได้แม้ไม่เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต และทาง NVIDIA ก็อนุญาตให้ Ubuntu แจกจ่ายไฟล์ไดรเวอร์แล้ว
ตอนนี้รัฐบาลเกาหลีใต้โดยกระทรวงมหาดไทยและความปลอดภัยได้เริ่มร่างแผนการเปลี่ยนคอมพิวเตอร์ของรัฐบาลจาก Windows ไปใช้ Linux ซึ่งทางหน่วยงานจะทดสอบการใช้งาน Linux บนเครื่องพีซี หากไม่มีปัญหาสำคัญด้านความปลอดภัยหรือความเข้ากันได้ ก็จะทยอยให้หน่วยงานภาครัฐต่าง ๆ ใช้งานต่อไป
การที่รัฐบาลเกาหลีใต้เริ่มแผนการใช้งาน Linux ก็ไม่ใช่เรื่องแปลกนัก เนื่องจาก Windows 7 กำลังจะหมดซัพพอร์ตทางเทคนิคแบบฟรีในเดือนมกราคมปีหน้า ซึ่งหากจะจ่ายเงินเพื่อต่ออายุซัพพอร์ตให้เครื่องจำนวนมากจะมีค่าใช้จ่ายสูง