เมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา Juha-Matti Tilli นักวิจัยความปลอดภัยรายงานถึงช่องโหว่แบบ DoS (denial-of-service) กระทบลินุกซ์ 4.8 และ 4.9 ขึ้นไป ทำให้การส่งแพ็กเก็ตไม่มากเข้าไปยังเซิร์ฟเวอร์ลินุกซ์สามารถบังคับให้เซิร์ฟเวอร์เรียกฟังก์ชั่นที่มีการคำนวณสูงจนกระทั่งทรัพยากรเครื่องหมดได้
แม้จะกระทบลินุกซ์ 4.8 ด้วยแต่การโจมตียากกว่าลินุกซ์ 4.9 ขึ้นไปสามารถโจมตีได้ยากระดับปานกลาง ทำให้คะแนนความร้ายแรงตาม CVSS อยู่ที่ 7.1 ระดับความร้ายแรงสูง โดยคะแนน CVSS สูงสุดของช่องโหว่แบบ DoS คือ 7.8 หากการโจมตีทำได้ง่าย
ไมโครซอฟท์ออก PowerShell เวอร์ชันแมคและลินุกซ์มาตั้งแต่ปี 2016 คราวนี้ไมโครซอฟท์ขยับขยายเพิ่มเติม โดยออกแพ็กเกจ PowerShell Core เวอร์ชัน Snap สำหรับใช้งานบน Ubuntu ด้วย
Snap เป็นระบบแพ็กเกจซอฟต์แวร์แบบใหม่ที่เริ่มใช้ใน Ubuntu 16.04 LTS เป็นต้นมา มันถูกออกแบบด้วยแนวคิดแบบเดียวกับแพ็กเกจซอฟต์แวร์บนสมาร์ทโฟน ติดตั้งง่าย ลบง่าย อัพเดตง่าย ไม่ต้องติดปัญหา dependency และภายหลัง Snap ก็นำไปใช้กับดิสโทรอื่นๆ ได้ด้วย
SUSE Linux เป็นลินุกซ์ที่ได้รับความนิยมในตลาดองค์กรเคียงคู่มากับ RHEL แต่ประวัติของตัวบริษัทก็เปลี่ยนเจ้าของมาหลายครั้ง นับจากการก่อตั้งในปี 1992 ก็ขายกิจการให้ Novell ในปี 2003 แต่สุดท้าย Novell ก็ไปไม่รอด ขายกิจการให้ Attachmate ในปี 2011
จากนั้น Attachmate เองก็ขายกิจการให้กับ Micro Focus ในปี 2014 ทำให้ SUSE ติดสอยห้อยตามมาด้วย แต่ยังรันธุรกิจที่ค่อนข้างเป็นอิสระในฐานะบริษัทลูก และเมื่อ Micro Focus ซื้อธุรกิจคลาวด์ของ HPE ในปี 2016 ส่งผลให้ SUSE ผนวกทีมงานสาย OpenStack กับ Cloud Foundry เข้ามาอีก
AWS มีบริการ virtual desktop (VDI) มาตั้งแต่ปี 2013 โดยใช้ชื่อว่า Amazon WorkSpaces แต่ยังจำกัดเฉพาะระบบปฏิบัติการ Windows 7 หรือ 10 เท่านั้น
สัปดาห์แล้ว Amazon เปิดตัวบริการ virtual desktop ที่เป็นระบบปฏิบัติการลินุกซ์ด้วย โดยใช้ Amazon Linux 2 ซึ่งเป็นดิสโทรที่พัฒนาขึ้นเองภายในบริษัท
ผู้ที่เคยเช่าเครื่องเซิร์ฟเวอร์บน AWS อาจคุ้นเคยกับ Amazon Linux อยู่บ้าง ในฐานะดิสโทรที่ให้ใช้งานฟรีไม่มีค่าไลเซนส์ ส่วนการใช้งานบนเดสก์ท็อปนั้น Amazon Linux เลือกใช้เดสก์ท็อป MATE เป็นฐาน ด้วยเหตุผลว่าใช้ทรัพยากรน้อย และมีแอพดังๆ มาให้ครบครันไม่ว่าจะเป็น Firefox, LibreOffice, Pidgin
Linux Mint ดิสโทรลินุกซ์ขวัญใจผู้ใช้อีกตัว ออกวอร์ชันใหม่ 19.0 "Tara" ซึ่งเป็นการออกเวอร์ชันใหญ่ครั้งแรกในรอบสองปี (เวอร์ชัน 18.0 ออกเดือนมิถุนายน 2016) และเวอร์ชันนี้เป็นรุ่น LTS ที่จะซัพพอร์ตไปจนถึงปี 2023
Linux Mint 19.0 ออกพร้อมกันทั้ง 3 เวอร์ชันย่อยที่ใช้ระบบเดสก์ท็อปแตกต่างกัน ได้แก่ Cinnamon (แยกจาก GNOME 3), MATE (แยกจาก GNOME 2) และ Xfce
โครงการลินุกซ์ดิสโทร Gentoo ประกาศว่าถูกแฮ็กบัญชี GitHub และแฮ็กเกอร์ได้เปลี่ยนแปลงข้อมูลใน GitHub ของ Gentoo ด้วย ผู้ที่สั่งดึงข้อมูลออกจาก GitHub ตั้งแต่เมื่อวานนี้จึงมีความเสี่ยงที่จะได้ไฟล์ประสงค์ร้ายติดไปด้วย
Gentoo ประกาศว่าโค้ดทั้งหมดของตัวเองบน GitHub ถือว่าไม่ปลอดภัยและไม่ควรเข้าไปยุ่งด้วย แต่โค้ดต้นฉบับของ Gentoo เก็บไว้บนเซิร์ฟเวอร์ของตัวเอง (GitHub เป็นแค่ mirror) และไม่ได้รับผลกระทบจากการแฮ็กครั้งนี้ ผู้ที่ต้องการใช้งานก็ยังสามารถดึงจาก gentoo.org ได้ตามปกติ
หลัง Red Hat ซื้อกิจการ CoreOS ในเดือนมกราคม 2018 ผลิตภัณฑ์หนึ่งที่ซ้อนทับกันคือดิสโทรลินุกซ์จากทั้งสองบริษัท ได้แก่ Container Linux ของ CoreOS และ Red Hat Atomic Host ที่ออกแบบมาสำหรับรันในคอนเทนเนอร์เหมือนกัน
เดือนที่แล้ว Red Hat ประกาศว่าจะยุบดิสโทรสองตัวนี้เข้าด้วยกัน โดยจะให้ Container Linux เป็นตัวหลัก และเปลี่ยนชื่อตัวดิสโทรมาเป็น CoreOS แทน
โครงการ Xenlism เป็นโครงการที่เกิดจากแนวคิดง่ายๆ คือ "อยากได้ต้องทำเอง" ซึ่งเป็นที่มาของโครงการ Xenlism : Wildfire
Xenlsim : Wildfire
โครงการพัฒนาไอคอนธีมสำหรับลินุกซ์เพื่อใช้งานเอง (พอใจจึงแจกจ่าย) ใช้เวลาในการพัฒนามากกว่า 1 ปี เปิดตัวเมื่อวันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2558 ได้ออกอัพเดตเวอร์ชันใหม่เป็นเวอร์ชันเบต้า เพื่อให้ผู้ใช้ได้ทดลองใช้งาน เพื่อแก้ไขปัญหาก่อนออกเวอร์ชันจริง
โครงการ Devuan (อ่านว่า เดฟ-วัน หรือเว็บ dev-1.org) ใกล้ออกรุ่น 2.0 ASCII โดยเข้าสถานะ RC1 ประมาณหนึ่งปีเต็มหลังจากรุ่น 1.0
Devuan 2.0 จะใช้แพ็กเกจจาก Debian Stretch ขณะที่ระบบ init ยังใช้ตัวหลักเป็น SysVinit และเลือกเป็น OpenRC ได้
อิมเมจตัวติดตั้งรองรับหลายแพลตฟอร์ม เช่น x86, x86-64, Raspberry Pi, BeagleBone, Orange Pi, Banana Pi, Cubieboard
รุ่นต่อไปของ Devuan คือรุ่น Beowulf จะใช้แพ็กเกจ Debian Buster
ที่มา - The Register
ตรงตามข่าวก่อนหน้านี้ วันนี้กูเกิลประกาศข่าวอย่างเป็นทางการว่า ระบบปฏิบัติการ Chrome OS จะรองรับการรันแอพจากลินุกซ์ด้วย
กูเกิลไม่ได้ให้รายละเอียดเรื่องนี้มากนัก บอกว่าแอพจากลินุกซ์จะทำงานบน Chrome OS ได้เป็นปกติ และเราจะสามารถรัน Android Studio เวอร์ชันลินุกซ์บน Chrome OS ได้ด้วย ช่วยให้ Chrome OS กลายเป็นระบบปฏิบัติการที่เหมาะกับนักพัฒนามากขึ้น
อุปกรณ์ Chrome OS ตัวแรกที่จะได้ใช้ฟีเจอร์นี้คือ Pixel Book ของกูเกิลเอง
Project Zero วิเคราะห์ระบบสร้างค่าสุ่มของเคอร์เนลลินุกซ์ และพบว่าอ่อนแอกว่าที่ออกแบบไว้อย่างมากเมื่อผู้ใช้เริ่มขอค่าสุ่มตั้งแต่ระบบเริ่มบูตใหม่ๆ
Fedora ออกเวอร์ชัน 28 ตามรอบการออกทุก 6 เดือน ของใหม่ได้แก่
แต่ฟีเจอร์สำคัญจริงๆ ไปอยู่ที่ Fedora 28 Server โดยเพิ่ม Modular Server ที่เลื่อนมาจาก Fedora 27
ใกล้งาน Google I/O ปีนี้ ฟีเจอร์ของซอฟต์แวร์และบริการของกูเกิลสำคัญๆ ก็มักจะถูกประกาศในงาน แต่ฟีเจอร์หนึ่งที่เริ่มปรากฎในโค้ดของ Chrome OS คือ Crostini ที่ยังไม่มีประกาศออกมาเป็นทางการ แต่เอกสารฟีเจอร์ก็ระบุว่ามันเป็นระบบ virtual machine สำหรับรันลินุกซ์ ที่เปิดทางให้ Chrome OS รันแอปสำหรับลินุกซ์ได้เต็มรูปแบบ เช่น Android Studio, VSCode, หรือแม้แต่ Steam ก็ยังได้
โค้ด Crostini เริ่มเข้ามาใน dev channel แล้ว แต่เปิดให้ใช้งานเฉพาะ Pixelbook เท่านั้น แม้ว่าอุปกรณ์ Chrome OS ส่วนมากจะสามารถเปิดใช้ developer mode เพื่อติดตั้งลินุกซ์ได้อยู่แล้ว แต่ Crostini จะทำงานในโหมดปกติได้เลย โดยความปลอดภัยจะแยกคอนเทนเนอร์ออกจากระบบปฎิบัติการหลัก คล้ายกับการรันแอปแอนดรอยด์ใน Chrome OS ทุกวันนี้
Ubuntu 18.04 LTS โค้ดเนม "Bionic Beaver" ออกแล้ว เวอร์ชันนี้ถือเป็น LTS ตัวแรกที่เปลี่ยนกลับมาใช้ GNOME หลังการเปลี่ยนแปลงใน Ubuntu 17.10 เมื่อปีที่แล้ว
ของใหม่ใน Ubuntu 18.04 LTS
ไมโครซอฟท์เปิดตัว Azure Sphere โซลูชันครบวงจรสำหรับ IoT ที่ต้องการความปลอดภัยสูง เพราะไมโครซอฟท์ทำเองหมดตั้งแต่ออกแบบชิปยันคลาวด์
Azure Sphere ประกอบด้วย 3 ส่วนดังนี้
Red Hat ประกาศออก Red Hat Enterprise Linux (RHEL) เวอร์ชัน 7.5 ที่มีของใหม่เป็นจำนวนมาก
การเปลี่ยนแปลงพื้นฐานคืออัพเดตเวอร์ชันของซอฟต์แวร์ที่ใช้งาน เช่น GNOME 3.26, LibreOffice 5.3, รองรับฮาร์ดแวร์รุ่นใหม่ๆ ตามเวอร์ชันของเคอร์เนล, ปรับปรุงการทำงานร่วมกับ Active Directory บน Windows Server 2016, รองรับ Distributed File System (DFS) บน SMB v2/v3, ผนวกเอาเครื่องมือจัดการอย่าง Cockpit และปรับปรุงการทำงานร่วมกับ Ansible
RHEL 7.5 ยังรองรับสถาปัตยกรรมอื่นนอกจาก x86-64 ได้แก่ ARM64, IBM POWER9 และ IBM z Systems
ต่อจากข่าว Steam เอาหน้า Steam Machine ออกจากหน้าแรกแล้ว ทาง Valve ออกมาชี้แจงในปรเด็นนี้แล้ว
Valve ยอมรับว่า Steam Machine ไม่ได้รับความนิยม และนำข้อมูลออกจากหน้าแรกของ Steam Store เพราะทราฟฟิกคนเข้าน้อย แต่หน้าเว็บก็ยังสามารถเข้าถึงได้อยู่
อย่างไรก็ตาม Valve ยืนยันว่ายังให้ความสำคัญกับลินุกซ์และ SteamOS ต่อไป ตามภารกิจขององค์กรที่ต้องการสร้างแพลตฟอร์มเปิดสำหรับการเล่นเกมที่ทุกคนสามารถเข้าถึงได้ (SteamOS เปิดให้ดาวน์โหลดทั่วไป) และจะนำบทเรียนจากการพัฒนาเกมบนลินุกซ์ไปใช้กับโครงการอื่นๆ อย่าง Vulkan ให้ทำงานบนลินุกซ์ได้ดีเทียบเท่าแพลตฟอร์มอื่นๆ
เราเห็นดิสโทรลินุกซ์ดังๆ อย่าง Ubuntu, Debian, Kali, SUSE ทยอยกันมาลง Microsoft Store ให้ใช้งานได้บน Windows 10 ผ่าน WSL (Windows Subsystem for Linux) ของไมโครซอฟท์
แต่ไมโครซอฟท์ยังไม่หยุดแค่นั้น เพราะล่าสุดประกาศโอเพนซอร์สตัวอย่างโค้ดของลินุกซ์ที่รันบน WSL เพื่อให้ดิสโทรลินุกซ์ใดๆ ก็ได้สามารถรันบน WSL ได้เช่นกัน
ในยุคของคลาวด์ที่ระบบปฏิบัติการต้องแข่งกันเล็กเพื่อความคล่องตัว ล่าสุดทีมงาน Ubuntu ระบุว่าไฟล์อิมเมจขนาดเล็กที่สุด (Ubuntu Base) ของ Ubuntu 18.04 LTS ที่กำลังจะออกในเดือนหน้า ถูกลดขนาดลงเหลือเพียง 28MB เท่านั้น
ขนาดอิมเมจของ Ubuntu Base LTS ลดลงเรื่อยๆ ตามกาลเวลา จาก 65MB ในเวอร์ชัน 14.04 มาเหลือ 37MB ในเวอร์ชัน 16.04 และล่าสุด 28MB ในเวอร์ชัน 18.04 (เป็นไฟล์ที่บีบอัดเรียบร้อยแล้ว)
Ubuntu Base ถูกนำไปใช้ปรับแต่งเป็นอิมเมจสำหรับดิสโทรเฉพาะงาน ความสามารถของมันมีแค่ rootfs และสามารถติดตั้งแพ็กเกจเพิ่มเติมจาก repository ได้ นักพัฒนาอาจนำ Ubuntu Base เพิ่มแพ็กเกจบางตัวเฉพาะที่ต้องใช้ แล้วสร้างเป็นอิมเมจใหม่สำหรับใช้ในงานด้าน embedded หรือ container
เราเพิ่งเห็น Kali Linux ลง Microsoft Store กันมาหมาดๆ ล่าสุดดิสโทรชื่อดังอย่าง Debian ก็ตามมาลง Microsoft Store เช่นกัน
ผู้ใช้งานจำเป็นต้องเปิดใช้ฟีเจอร์ Windows Subsystem for Linux (WSL) ก่อน (วิธีการ) จากนั้นจึงติดตั้งดิสโทรจาก Windows Store อีกทีหนึ่ง ส่วนเวอร์ชันของ Debian ที่ใช้คือ 9.3 (Stretch)
หลังไมโครซอฟท์ออก Windows Subsystem for Linux (WSL) ก็ทำให้ลินุกซ์ดิสโทรต่างๆ สามารถกลายเป็นแอปหนึ่งบน Windows App Store ล่าสุดดิสโทรสำหรับแฮกเกอร์และผู้ทดสอบความปลอดภัยอย่าง Kali Linux ก็ลง Windows App Store เป็นทางการแล้ว
Kali เวอร์ชั่น WSL นี้จะไม่สามารถใช้ฟีเจอร์ที่เกี่ยวข้องกับ raw socket และความสามารถระดับต่ำอื่นๆ ได้ และทางโครงการจะไม่ซัพพอร์ตเวอร์ชั่นนี้เต็มรูปแบบ แต่การทำงานโดยทั่วไปก็น่าจะใช้งานได้ดี ยกเว้นพฤติกรรมของ Kali หลายอย่างจะทำให้ซอฟต์แวร์ป้องกันไวรัสบล็อคการทำงาน
Red Hat เผยผลสำรวจการใช้งานลินุกซ์บน public cloud โดยสอบถามไปยังผู้รับผิดชอบด้านไอทีของบริษัทขนาดใหญ่ในอเมริกาเหนือและยุโรป 500 ราย การสำรวจเกิดขึ้นช่วงกลางปี 2017
ถึงแม้ผลออกมาเป็น Red Hat Enterprise Linux (RHEL) ได้รับความนิยมสูงสุด (ตามคาด) แต่ข้อมูลอื่นๆ ในรายงานก็ช่วยให้เราเข้าใจภาพรวมของลินุกซ์บนคลาวด์ได้มากขึ้น
เราเห็นข่าวการเจาะอุปกรณ์แก็ทเจ็ตต่างๆ แล้วนำอีกระบบปฏิบัติการไปติดตั้งอยู่เนืองๆ ล่าสุดเป็นคิวของ Nintendo Switch เกมคอนโซลที่ประสบความสำเร็จที่สุดตัวหนึ่งของนินเท็นโดแล้ว
Fail0verflow ได้โพสต์คลิปบนทวิตเตอร์โชว์ความสำเร็จดังกล่าว ด้วยการนำลินุกซ์ไปติดตั้งบน Nintendo Switch พร้อมอิมพลีเมนต์ทัชสกรีนและเว็บเบราว์เซอร์เข้าไปด้วย
ที่มา - @fail0verflow via CNET
ด้วยความที่แอนดรอยด์รันอยู่บนเคอร์เนลลินุกซ์ ทำให้ผู้ผลิตสมาร์ทโฟนที่นำแอนดรอยด์ไปใช้ต้องปฏิบัติตามข้อตกลง GNU General Public License v2 (GPLv2) ที่ข้อหนึ่งระบุให้ ผู้ผลิตสมาร์ทโฟนแอนดรอยด์ต้องเปิดเผยซอสโค้ดที่แบรนด์นั้นๆ นำไปปรับปรุง เพื่อรักษาความเสรีที่ทุกคนสามารถเข้าถึงซอฟต์แวร์นั้นๆ ได้
อย่างไรก็ตามทาง XDA ระบุว่า HMD Global ที่ได้รับสิทธิ์วางขายสมาร์ทโฟนแบรนด์ Nokia ยังไม่มีการเปิดเผยซอสโค้ดใดๆ ออกมาเลย โดย CTO ของ HMD Global เคยพูดถึงเรื่องนี้ครั้งสุดท้ายเมื่อเดือนกันยายนว่ากำลังอยู่ระหว่างการดำเนินการ แต่ก็เงียบหายมาจนปัจจุบัน
ปกติแล้วเรามักคุ้นเคยกับลินุกซ์ในฐานะของ "ระบบปฏิบัติการ" แต่ล่าสุด ลินุกซ์กำลังจะก้าวข้ามพรมแดนไปอยู่ในเฟิร์มแวร์ตอนบูตเครื่องก่อนเข้าสู่ระบบปฏิบัติการด้วย
มูลนิธิ Linux Foundation เพิ่งเปิดตัวโครงการ LinuxBoot เพื่อนำโค้ดของลินุกซ์ไปใช้ในเฟิร์มแวร์ของเซิร์ฟเวอร์ ปกติแล้ว เฟิร์มแวร์ของคอมพิวเตอร์ประกอบด้วยโค้ดหลายส่วน เช่น ส่วนที่บูตฮาร์ดแวร์ในช่วงแรก (hardware init - UEFI PEI) และส่วนที่เริ่มการทำงานของหน่วยความจำ (memory initialized) ซึ่ง LinuxBoot จะเข้ามาทำหน้าที่แทนโค้ดส่วนหลัง (UEFI DXE)