พบกันทุก 6 เดือน (ถ้าไม่ขี้เกียจจนเกินไป)
ตอนนี้ Ubuntu เดินทางมาถึงเวอร์ชัน 10.10 รหัส "Maverick Meerkat" ได้เวลารีวิวกันเช่นเดิม
ผมถือว่าผู้อ่าน Blognone ทุกคนเคยลองใช้ Ubuntu กันหมดแล้ว (ถ้าไม่เคยก็ลองซะนะครับ) ดังนั้นคงไม่ต้องปูพื้นฐานอะไรกันมากมาย อัดศัพท์เทคนิคในวงการกันเน้นๆ เลยดีกว่า
ถ้าให้สรุปสั้นๆ Ubuntu 10.10 เป็น "ภาคต่อ" ของ Ubuntu 10.04 LTS มันคือพัฒนาการต่อจากรากฐานที่วางไว้ใน 10.04 ซึ่งจะต่างไปจาก 10.04 ที่เปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างในหลายเรื่องๆ ดังนั้นรีวิวชิ้นนี้จะเขียนต่อจากรีวิวของ Ubuntu 10.04 ว่ามีอะไรเปลี่ยนไปจากเดิมบ้าง ในรอบ 6 เดือนที่ผ่านมานี้
จากสัปดาห์ที่แล้วที่ทีมงาน Greenposi0n ปล่อยโปรแกรม jailbreak iOS 4.1 ตามข่าวลือ มาสัปดาห์นี้ทั้งทีม Limera1n และ Greenpois0n ก็ได้ปล่อยโปรแกรม jailbreak ดังกล่าวสำหรับติดตั้งลงบนระบบปฏิบัติการ Mac OS X และ Linux แล้ว เข้าไปดาวน์โหลดได้จากที่มาของข่าวครับ
ที่มา: Limera1n และ Greenpois0n ผ่าน Engadget
เว็บไซต์ OMG Ubuntu ซึ่งเป็นเว็บข่าวเกี่ยวกับ Ubuntu ที่น่าจะดีที่สุดในขณะนี้ ได้สัมภาษณ์ Mark Shuttleworth ผู้นำโครงการ Ubuntu ผ่านทาง IRC
Shuttleworth เล่าให้ฟังว่าช่วง 2-3 ปีก่อนในสมัยเน็ตบุ๊กบูม ผู้ผลิตฮาร์ดแวร์หลายเจ้าติดต่อมายัง Canonical ให้ปรับแต่ง Ubuntu เวอร์ชันพิเศษของตัวเอง ตอนแรก Canonical ช่วยทำแต่พบว่ามันเสียทรัพยากรไปในเรื่องที่ไม่เป็นประโยชน์ จึงเปลี่ยนใจมาทำ Ubuntu Netbook Remix เพียงอย่างเดียว
หลายคนแถวนี้คงลง Maverick Meerkat ไปเยอะแล้ว แต่บริษัท System76 ซึ่งผลิตเน็ตบุ๊กที่พรีโหลด Ubuntu กลับมองว่าอินเทอร์เฟซ Unity ซึ่งเป็นฟีเจอร์ใหม่ใน Ubuntu 10.10 Netbook ยังไม่สมบูรณ์พอ
Carl Richell ประธานของ System76 บอกว่า Unity ทำงานได้ช้า และทำให้ผู้ใช้สับสน การเรียกโปรแกรมทำได้ช้า และโปรแกรมจัดการหน้าต่าง Mutter แครชบ่อยครั้ง
ตอนนี้ System76 ยังขายเน็ตบุ๊กที่ใช้ Ubuntu 10.04 อยู่เช่นเดิม และให้เวลา Ubuntu อีก 1 รุ่นเพื่อดูว่า Unity จะพัฒนาไปได้แค่ไหน
GNOME 2.32 ออกรุ่นจริงแล้ว ของใหม่มีไม่เยอะนักเพราะเป็นรุ่นแก้บั๊ก หลังจากที่ต้องเลื่อนการออก GNOME 3.0 มาถึงสองครั้ง รายการของใหม่ได้แก่
รอใช้กันได้ใน Ubuntu 10.10 และ Fedora 14 ส่วน GNOME 3.0 เจอกันเดือนเมษายน 2011
อนาคตของ Mandriva มาถึงทางแยก หลังจากที่ประสบปัญหาทางการเงินจนเกือบล้มละลายรอบสอง Mandriva ได้ปลดพนักงานออกเป็นจำนวนมาก เมื่อกลับมาได้ก็ตั้งเป้าเจาะตลาดเดสก์ท็อปในประเทศกำลังพัฒนา และตลาดเซิร์ฟเวอร์ในยุโรป แทนการเน้นตลาดเดสก์ท็อปในยุโรปที่ทำมาตั้งแต่ต้น
ทิศทางใหม่ทำให้พนักงาน อดีตพนักงาน และชุมชนนักพัฒนาไม่พอใจ จึงได้รวมตัวกันประกาศแยกโครงการ (fork) ออกมาเป็นดิสโทรใหม่ Mageia แล้ว
วันพฤหัสที่ผ่านมา Broadcom ได้ประกาศว่าจะเปิดเปิดเผยซอร์สโค้ดสำหรับไดรเวอร์ชิปไร้สายของตนทั้งหมด เพื่อให้ทำงานร่วมกับระบบปฏิบัติการอื่น ๆ อย่างเช่น Linux ได้ หลังจากที่ก่อนหน้านี้ Atheros และ Intel ได้ทำไปแล้ว
ชิปไร้สายของ Broadcom เคยสร้างปัญหาให้กับผู้ใช้ Linux มาก่อน โดยมีเพียงบางรุ่นเท่านั้นที่มีไดรเวอร์ให้ใช้ จนทำให้มีหลายคนเตือนให้ระวังในการซื้ออุปกรณ์ที่ชิปของ Broadcom หากคิดจะใช้ Linux เป็นระบบปฏิบัติการหลัก
ไดรเวอร์ของ Broadcom จะถูกรวมเข้ากับ Linux Kernel เวอร์ชัน 2.6.37 ที่จะถูกปล่อยในปลายปีนี้ หรือเร็วกกว่านั้น ซึ่งจะทำให้ Linux Distro ต่าง ๆ สนับสนุนชิปไร้สายส่วนใหญ่ของ Braodcom ได้ทันที
Canonical ประกาศในบล็อกเมื่อวานนี้ว่า Ubuntu 10.10 Maverick จะรองรับ Magic Trackpad ซึ่งตอนนี้ Jiri Kosina นักพัฒนาเคอร์เนล ได้เพิ่ม HID ไปในโค้ดส่วนของเขาแล้ว ตอนนี้ก็รอเอาไปรวมกับโค้ดของ Linus อีกที คาดว่าจะรองรับในเคอร์เนลเวอร์ชั่น 2.6.37
อย่างไรก็ตาม ตอนนี้ไดรเวอร์ยังมีปัญหาอยู่บ้าง ซึ่งสาเหตุหลักมาจากตัวโปรโตคอลของ Magic Trackpad เองที่ออกแบบมาเฉพาะเพื่อใช้กับ Mac OS X ในส่วนของ Ubuntu เองก็กำลังเตรียมการสำหรับปัญหานี้อยู่ ในขณะที่ Michael Poole ก็มีแพตช์ที่น่าจะแก้ปัญหานี้ได้ ซึ่งทาง Chase Douglas (เจ้าของบล็อกที่โพสต์) บอกว่าจะเอามาทดสอบ และหวังว่ามันจะใช้งานได้
สำนักสถิติ Net Applications ซึ่งรวมส่วนแบ่งตลาดจากข้อมูลการเข้าชมเว็บ รายงานว่า iOS (ซึ่งรวม iPod, iPhone, iPad) มีส่วนแบ่งตลาด 1.13% แซงหน้าลินุกซ์ที่ 0.85% แล้ว
การแซงครั้งนี้เกิดขึ้นเมื่อเดือนกรกฎาคม แต่ Net Applications เพิ่งประกาศเป็นข่าว ส่วน Android มีส่วนแบ่งตลาดที่ 0.20% อันดับหนึ่งยังเป็นของ XP ที่ 60.89% ตามด้วย Windows 7 15.87%
เป็นธรรมเนียมที่ลีนุกซ์หลายๆ ตัวปฏิบัติกันมา นั่นก็คือการออกรุ่น prerelease นั่นเอง
Dennis Gilmore ทีมงานของ Fedora ได้เปิดตัว Fedora 14 Alpha เป็นการเรียกน้ำย่อยของผู้ใช้ลีนุกซ์ โดยการเปลี่ยนแปลงจาก Fedora 13 มีดังนี้
Linux Kernel 2.6.35
ปรับปรุงการบีบอัดไฟล์ JPEG ให้เร็วกว่าเดิม
Eclipse 3.6 "Helios"
KDE 4.5.0
MeeGo ที่มาแทน Moblin ของ Fedora 13
Perl 6
Fedora 14 มีรหัสว่า "Laughlin" เพื่อเป็นเกิยรติแก่ Robert B. Laughlin นักวิทยาศาสตร์จาก MIT
หน้าต่าง chat ใน Gmail สามารถสนทนาด้วยเสียงและภาพมานานแล้ว (ต้องติดตั้งปลั๊กอินเสริม) แต่มันใช้ได้กับวินโดวส์และแมคเท่านั้น ชาวลินุกซ์เป็นลูกเมียน้อยสำหรับเรื่องนี้มานานพอสมควร
แต่สถานการณ์เปลี่ยนไปแล้ว เพราะกูเกิลได้ออกปลั๊กอินสำหรับลินุกซ์มาให้ (ดาวน์โหลดได้จาก Google voice and video chat ตอนนี้ยังใช้ได้กับ Ubuntu และลินุกซ์สาย Debian เท่านั้น ส่วนลินุกซ์สาย RPM จะตามมาในอีกไม่ช้า
Mark Shuttleworth ได้ขึ้นเวทีในงาน DebConf 10 ที่นิวยอร์ก โดยมีส่วนที่สำคัญๆ ดังนี้
นำอินเตอร์เฟส Unity มาแนะนำกับนักพัฒนา
แนะนำ Appmenu และ Ayatana ซึ่งเป็นระบบที่ทำให้ Indicator Area สามารถควบคุมแอพลิเคชั่นได้มากขึ้น
การปรับปรุงข้อด้อยของ Ubuntu Netbook Edition ให้ทันใน Ubuntu 10.10
ชมวีดีโอนี้ได้จากท้ายข่าว
ที่มา - OMG! Ubuntu!
ใกล้ถึงเวลาที่ Ubuntu 10.10 จะออกตัวจริง Mark Shuttleworth ก็ประกาศชื่อ Ubuntu 11.04 ต่อทันทีในชื่อว่า "Natty Narwhal"
Narwhal เป็นวาฬขนาดเล็กที่มีเขาแหลมคล้ายยูนิคอร์นบริเวณจมูก มันเป็นสัตว์ที่อาศัยอยู่แถบอาร์กติก การเลือกชื่อนี้เป็นการแสดงความตั้งใจว่า Ubuntu จะพยายามเข้าถึงคนจำนวนมากที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ ส่วน Natty คือความปราณีต Mark ระบุถึงเรื่องนี้ว่าความประทับใจแรกไปจนถึงความประทับใจสุดท้าย
ว่าแต่ 10.10 ออกมานี่ผมคงไม่กล้า dist-upgrade อยู่ดี
ที่มา - Mark Shuttleworth
OMG! Ubuntu! ได้นำเสนอ iX ซึ่งเป็น Linux ที่สามารถใช้บน iOS ของ iPhone และ iPod Touch ได้ ทีมพัฒนาได้พัฒนาดิสโทรนี้โดยมีพื้นฐานมาจาก Ubuntu 9.10 โดยใช้ XFCE เป็นระบบจัดการเดสก์ท็อป ซึ่งยังไม่สามารถใช้ LXDE ได้ ถึงแม้ว่า LXDE นั้นน่าจะใช้งานได้ดีกว่า
ส่วนการลง iX บน iPhone นั้นจะต้องลง Open iBoot บน iOS ก่อน ซึ่ง Open iBoot นั้นเป็น iBoot เวอร์ชั่นโอเพนซอร์สของ Apple สำหรับการใช้งานทั่วไปนั้นยังไม่ดีนักซึ่งมีรายละเอียดดังนี้ครับ
เมื่อวันที่ 16 สิงหาคม ค.ศ. 1993 Ian Murdock ได้ก่อตั้งโครงการเดเบียนขึ้น โดยมีเป้าหมายให้เป็น "ดิสทริบิวชั่นที่ถูกพัฒนาอย่างอิสระและเปิดเผยเช่นเดียวกับ Linux และ GNU" ซึ่งในช่วงเวลานั้น คอนเซ็ปต์ของ "distribution" ยังเป็นเรื่องใหม่มากสำหรับวงการ Linux (และตอนนั้น Windows 3.1 กำลังดังเลยล่ะ)
ถึงวันนี้ ผ่านไป 17 ปีกับ 5 รุ่นหลัก เดเบียนกลายเป็นดิสทริบิวชั่นขนาดใหญ่ที่สุดตัวหนึ่งในวงการ มีจำนวนแพ็คเกจมหาศาล และยังเป็นพื้นฐานในการพัฒนาดิสทริบิวชั่นใหม่ๆ ที่ได้รับความนิยมอย่างอูบุนตูเป็นต้น เท่าที่ผมสังเกตดู เดเบียนจะได้รับความนิยมในการนำมาเป็นเซิฟเวอร์มากกว่าเดสก์ทอปเยอะ น่าจะเป็นเพราะความนิ่ง (และเก่า) ของ stable release นี่ล่ะ
Mark Shuttleworth ผู้นำโครงการ Ubuntu ประกาศผ่านบล็อกว่า Ubuntu 10.10 "Maverick Meerket" จะรองรับมัลติทัชและการสั่งงานแบบสัมผัส ผ่านเฟรมเวิร์คชื่อ UTouch ซึ่งทาง Canonical เป็นผู้พัฒนาขึ้นมา
UTouch มีสัญญาอนุญาตแบบ GPLv3 และ LGPLv3 ผสมกัน (โค้ดอยู่บน Launchpad แล้ว) ในเบื้องต้น โน้ตบุ๊กผู้โชคดีคือ Dell Latitude XT2 ที่ Canonical ใช้เป็นฮาร์ดแวร์หลักสำหรับพัฒนา ซึ่งรับประกันได้ว่ามันทำงานร่วมกับ UTouch ได้มากที่สุด แต่ Shuttleworth ก็สัญญาว่าในอนาคตจะรองรับอุปกรณ์มากขึ้น รวมถึง Magic Trackpad ด้วย
มาเป็นชุดเลยนะครับ
ข่าวแรก - ผู้ใช้ Maverick Daily Build คงจะได้อัพเกรด Update Manager โฉมใหม่สวย ดูดีกว่าเดิม เข้ากับธีมและฟอนต์รูปแบบใหม่ได้ดี แล้วพบกันใน 10.10 นะครับ (ดูภาพได้ท้ายข่าว) - OMG! Ubuntu!
ข่าวต่อไป - ใครอยากนำรูปถ่ายของคุณไปลงใน Ubuntu 10.10 ละก็ รีบส่งมาที่ Flickr นี้ ก่อนวันพรุ่งนี้ (20 ส.ค. นี้) ชมตัวอย่างได้จากที่มา - OMG! Ubuntu!
หลังจากออก KDE Software Compilation 4.4 ไปเมื่อต้นปี โครงการ KDE ก็ได้ออกเวอร์ชัน 4.5 ตามมา การเปลี่ยนแปลงที่สำคัญได้แก่
ข่าวสั้นๆ
นี่คือ screenshot จาก OMG! Ubuntu! ที่แสดงให้เห็นว่า ใน Software Center มีส่วนที่เขียนว่า "For Purchase" อยู่ด้วย หรือว่า Ubuntu จะขายซอฟต์แวร์จริงๆ
ความจริงแล้ว Software Center ถูกออกแบบสำหรับซอฟต์แวร์สำหรับขายด้วย อย่างเช่นส่วน License และ Price ในรายการของซอฟต์แวร์
ใครใช้ 10.10 Daily Build ลองอัพเดตดู
ภาพท้ายเบรก
ที่มา - OMG! Ubuntu!
กระแส Android และโทรศัพท์ที่มีพื้นฐานจากลินุกซ์อื่นๆ เช่น MeeGo ทำให้ค่ายชิปเริ่มสร้างความได้เปรียบให้กับชิปของตนเองด้วยการทำฮาร์ดแวร์ให้เข้ากับลินุกซ์ได้ดีกว่าเดิม และ Qualcomm ก็เป็นรายล่าสุดที่แสดงความตั้งใจนี้
แผนกที่รับหน้าเชื่อมต่อระหว่าง Qualcomm และลินุกซ์คือ Qualcomm Innovation Center (QuIC) ที่เข้าร่วม Linux Foundation ในระดับ platinum member ร่วมกับอีก 6 บริษัทก่อนหน้านี้คือฟูจิตสึ, ฮิตาชิ, ไอบีเอ็ม, อินเทล, เอ็นอีซี, และออราเคิล
ภาพรวมที่อินเทลพยายามผลักดัน Atom ไปให้อยู่ในทุกที่เริ่มชัดขึ้นในวันนี้เมื่อโครงการ MeeGo เปิดตัว MeeGo IVI Day1 ที่เป็นรุ่นสำหรับติดตั้งในรถยนต์โดยเฉพาะ โดยหลักๆ แล้วมันคือ MeeGo รุ่นที่ออกแบบหน้าจอตามหลักการใช้งานในรถ (Automotive Center Console HMI) และโปรแกรมตัวอย่างนั้นก็จะเป็นโปรแกรมที่เกี่ยวกับรถยนต์เช่น ระบบนำทาง และการสั่งโทรออกผ่าน Bluetooth
MeeGo IVI Day1 ใช้ระบบ UI จาก Qt4.6 หน้าจอทั้งหมดออกแบบให้สามารถควบคุมจาก Contour ShuttleXpress ได้ ทำให้ออกแบบคอมพิวเตอร์สำหรับรถยนต์ง่ายขึ้น
เริ่มคันไม้คันมืออยากไปซื้อ Atom มาโมใส่กล่อง 2 din
ข่าวนี้สั้นๆ ครับ David Siegel นักพัฒนาของ Canonical ได้โพสต์ "ภาพล่าสุด" ของ Ubuntu Unity อินเทอร์เฟซสำหรับเน็ตบุ๊ก (วิดีโอเดโมที่ออกมาก่อนหน้านี้)
หน้าตาก็สวยงามดี ส่วนที่เพิ่มมาจากภาพและวิดีโอคราวก่อนคือการค้นหาโปรแกรม และแถบสำหรับเลือกหมวดของโปรแกรมที่ด้านบนของภาพ
ที่มา - OMG Ubuntu
SliTaz เป็นระบบปฏิบัติการ Linux ที่มีขนาดเล็กมากๆ เพียง 30 MB เท่านั้น และทำให้เครื่องคอมฯ ที่เก่ามากๆ คืนชีพได้สบายๆ เลย
ความต้องการของมันก็แค่ CPU 400 MHz ขึ้นไป RAM 48 MB ขึ้นไป เนี้อที่ในดิสก์ 600 MB ขึ้นไป
และที่สำคัญ มันบูตในเวลาอันรวดเร็ว เพียงไม่กี่วินาทีเท่านั้น (หากคอมฯ คุณแรงพอ)
คุณ trendyteddy แห่ง Ubuntuclub.com จึงจับ Linux ตัวนี้มาดัดแปลง ในนามว่า SliTaz-X (อ่านว่า สลิแทซ-เอ็กซ์)
และที่สำคัญ คุณศิริพงษ์ วิทยวิโรจน์ แห่งคอลัมน์ แลไปข้างหน้า มติชนสุดสัปดาห์ ยังแนะนำดิสโทรตัวนี้ด้วย Slitaz X-Edition ลินุกซ์สำหรับคอมพ์เก่า (มากๆ)