จากที่มีข่าวแพลมออกมาล่วงหน้าระยะหนึ่ง ที่งาน CES 2012 บริษัท Canonical ก็เปิดตัว Ubuntu TV เป็นที่เรียบร้อย
หน้าตาของ Ubuntu TV ช่วยเฉลยให้เรารู้ว่าความตั้งใจของ Unity คืออะไรกันแน่ เพราะมันยกอินเทอร์เฟซ Dash และ Unity มาเลย ส่วนความสามารถก็เหมือนพวก media center ทั่วๆ ไปคือเล่นหนัง รายการทีวี และบันทึกรายการทีวี (DVR) ได้
ฟีเจอร์อื่นๆ ที่เพิ่มเข้ามาคือเชื่อมต่อกับแอพมือถือ (iOS, Android) และอุปกรณ์อื่นๆ ที่ติดตั้ง Ubuntu ได้, เรียกไฟล์จาก Ubuntu One และลงแอพจาก Ubuntu Software Center
โครงการลินุกซ์นั้นที่จริงแล้วเป็นผู้ดูแลตัวเคอร์เนลเป็นหลัก และเมื่อวานนี้เคอร์เนลรุ่น 3.2 ก็ออกมาแล้ว โดยมีฟีเจอร์สำคัญๆ หลายอย่าง
เว็บไซต์ ZDNet รายงานโดยอ้างแหล่งข่าวว่าไมโครซอฟท์เตรียมปล่อยเครื่องมือสนับสนุนการทำ persistence บน virtual machine (VM) บนแพลตฟอร์ม Azure ในช่วงฤดูใบไม้ผลิของปีนี้ ทำให้ผู้ใช้ที่ใช้ Azure ในลักษณะ Platform-as-a-Service (PaaS) สามารถโฮสต์ SQL Server, SharePoint Server ฯลฯ ได้โดยที่ข้อมูลจะไม่สูญหายไปไหนเมื่อมีการรีบู๊ต
แหล่งข่าวระบุว่าเริ่มต้นไมโครซอฟท์จะปล่อยเครื่องมือดังกล่าวสำหรับแพลตฟอร์ม Windows ก่อน จากนั้นจะค่อยเพิ่มการสนับสนุน persistence บน Linux ในภายหลัง โดยผู้ใช้สามารถเลือกที่จะอัพโหลดไฟล์อิมเมจของ Linux เองก็ได้ด้วย
Linux Mint เป็น Linux distro หนึ่งที่พัฒนาต่อยอดมาจาก Ubuntu โดยมีจุดมุ่งหมายเป็นระบบปฎิบัติการสำหรับผู้ใช้หน้าใหม่ในโลก Linux เนื่องจากเน้นความเรียบง่ายในการใช้งาน แถมยังไม่กั๊กความสามารถด้านมัลติมีเดียอีกด้วย
เรียกได้ว่าใครกำลังเบื่อๆ เซ็งๆ กับท่าทีของ Ubuntu อยู่ ถ้าได้ลองทำความรู้จักกับ Linux Mint ผ่านบทความนี้ดู อาจเปลี่ยนใจหันมาใช้แทน Unity เลยก็ได้ครับ
การเข้ามาของออราเคิลในโลกจาวาทำให้มีความเปลี่ยนแปลงต่อท่าทีของโลกโอเพนซอร์สไปมาก ท่าทีที่สำคัญอันหนึ่งคือการยกเลิก "Operating System Distributor License for Java" ซึ่งเป็นการให้สิทธิพิเศษกับลินุกซ์ที่จะสามารถรวมจาวาของซันไปกับลินุกซ์ได้ โดยในสมัยซันนั้นสัญญาอนุญาตตัวนี้ออกมาเพื่อยอมอะลุ่มอล่วยกับลินุกซ์ แต่การยกเลิกก็ทำให้ Canonical ผู้ดูแล Ubuntu ไม่สามารถแจกจาวาของออราเคิลรุ่นใหม่ๆ ได้อีกต่อไป ทำให้ทาง Canonical เตรียมถอนแพ็กเกจ sun-java6 ออกจากระบบผู้ใช้ในการอัพเดตในอนาคต เพราะไม่สามารถดูแลความปลอดภัยให้ได้
ทาง Canonical แนะนำให้ผู้ใช้หันไปใช้ openjdk-6-jdk และ openjdk-6-jre แทนเพื่อใช้งานจาวาบน Ubuntu ต่อไป หรืออาจจะต้องติดต่อทางออราเคิลเพื่อหาตัวติดตั้งมาลงเอง
Red Hat ออกระบบปฏิบัติการลินุกซ์สำหรับองค์กร Red Hat Enterprise Linux (RHEL) รุ่น 6.2 แล้ว
RHEL 6.2 ถือเป็นสาย 6.x ตัวที่สามต่อจาก RHEL 6.0 ที่ออกเมื่อหนึ่งปีก่อน และ RHEL 6.1 ที่ออกเมื่อเดือนพฤษภาคม ส่วนของใหม่ในรุ่น 6.2 ก็มีหลายอย่าง
Mark Shuttleworth ผู้นำโครงการ Ubuntu ตอบคำถามผ่าน IRC มีประเด็นหลายอย่าง
เว็บไซต์ Royal Pingdom รวบรวมสถิติจากเว็บไซต์ DistroWatch.com ซึ่งเป็นเว็บรวมข้อมูลของลินุกซ์ดิสโทรต่างๆ ผลปรากฎว่าดิสโทรอันดับหนึ่งในอดีต Ubuntu มีความนิยมลดลงเรื่อยๆ และโดน Linux Mint แซงในช่วงกลางปี 2010
ความน่าสนใจอยู่ที่ปี 2011 อัตราความนิยม (วัดจากการเข้าชมหน้าเว็บของแต่ละดิสโทรใน DistroWatch) ของ Mint เพิ่มขึ้นสูงมาก ในขณะที่ Ubuntu ก็ตกลงมากจนโดน Fedora และ openSUSE แซงหน้าไปแล้ว
ปี 2011 เป็นปีที่ Ubuntu ตัดสินใจเปลี่ยนระบบจัดการเดสก์ท็อปเป็น Unity ของตัวเอง หรือมันคือปัจจัยที่ทำให้ผู้ใช้ Ubuntu เดิมเปลี่ยนไปใช้ Linux Mint (และดิสโทรอื่นๆ) แทน?
openSUSE 12.1 ออกแล้วตามกำหนด (ลิงก์สำหรับดาวน์โหลด)
ของใหม่ในรุ่นนี้คือ
หลังจากประกาศแนวทางพัฒนาไปแล้ว ในที่สุดทีมงานก็ได้ปล่อย Linux Mint 12 RC โค้ดเนม "Lisa" ออกมา ให้ผู้ที่ติดตามได้ลองใช้ ก่อนที่จะปล่อยเวอร์ชันจริงประมาณวันที่ 20 เดือนนี้
โดยสิ่งที่เพิ่มมาใหม่คือ
Fedora 16 มีคุณสมบัติใหม่ๆ เช่น การใช้ GNOME 3.2 และ KDE 4.7, ใช้ Linux Kernel 3.1.0, เปลี่ยนมาใช้ GRUB 2 เป็นบูตโหลดเดอร์ที่สามารถรองรับได้หลายสถาปัตยกรรม, เพิ่มการรองรับ Cloud หลายแพลตฟอร์ม เป็นต้น สามารถดาวน์โหลดได้ที่นี่ โดยมีให้เลือกทั้งแบบ GNOME (มาตรฐาน), KDE, LXDE, และ Xfce
Fedora 16 ชื่อว่า Verne ที่มาจากการตั้งชื่อที่คล้องกันระหว่างเวอร์ชั่นที่ติดกัน คือ Jules Verne) เป็นนักอนาคตศาสตร์เหมือนกับ James Lovelock (ตอนที่ปรับรุ่นมาเป็นรุ่น 15, Lovelock เป็นชื่อเมืองในรัฐเนวาดา)
ปัญหาความเปลี่ยนแปลงในโลกลินุกซ์เดสก์ทอปช่วงนี้ค่อนข้างวุ่นวายมากเนื่องจากโครงการ Gnome นั้นกำลังเปลี่ยนรุ่นจาก Gnome 2.32 ไปสู่ Gnome 3 ปัญหาคือความไม่สมบูรณ์ของ Gnome 3 ทำให้คนจำนวนมากไม่ต้องการย้าย ส่วนทางฝั่ง Gnome 2 นั้นก็หยุดพัฒนาลงแล้วอย่างสิ้นเชิง แุถมไม่สามารถติดตั้งทั้งสองรุ่นพร้อมกันได้
ช่วงนี้ก็เป็นช่วงของ Ubuntu Developer Summit กำหนดแนวทางสำหรับ Ubuntu เวอร์ชั่นถัดไป 12.04 Precise Pangolin ก็เริ่มมีรายงานเกี่ยวกับข้อสรุปหรือประเด็นอภิปรายสำคัญๆ ออกมา และ OMG Ubuntu ก็มีรายงานไว้
หลักๆ อย่างแรกคือ ขนาดของ Ubuntu 12.04 LTS จะเพิ่มจาก 700MB เป็น 750MB ซึ่งเท่ากับว่า Ubuntu จะยอมทิ้งข้อจำกัดสำคัญอันเดิมคือขนาดของแผ่น CD-R ไป และผู้ใช้ก็จะต้องใช้ DVD หรือ USB Drive ขนาดมากกว่า 1GB แทน
เหตุผลหลักๆ ของการตัดสินใจนี้ก็คือ ทำให้มันมีเนื้อที่มากขึ้น ไม่ต้องมากังวลกับการพยายามยัดลงไปใน 700MB มากเกินไป แต่ก็ไม่กำหนดไว้สูงเกินไปจนทำให้นักพัฒนาใส่ไปมากเกินจำเป็น (ที่มา)
หลังจาก Jolicloud (ระบบปฏิบัติการลินุกซ์ที่เน้นการใช้เว็บแอพฯ แบบเดียวกับ Chrome OS) ได้รับการเปลี่ยนชื่อเป็น Joli OS และทีมพัฒนาปรับทัพลุยตลาดเว็บแอพฯ ไปเมื่อต้นปีที่ผ่าน ล่าสุดทีมพัฒนา Jolicloud ได้เผยแพลตฟอร์มใหม่ โดยเน้นความเป็น "personal cloud"
Canonical ประกาศจับมือ Dell วางขายคอมพิวเตอร์หลายรุ่นที่ลง Ubuntu มาให้ ในร้านพันธมิตรของ Dell กว่า 220 แห่งทั่วประเทศจีน
ตามข่าวไม่ได้บอกว่าคอมพิวเตอร์ที่ขายมีรุ่นใดบ้าง และติดตั้ง Ubuntu รุ่นใดมาให้ แต่บอกว่าเป็นความร่วมมือของ Dell China และทีมของ Canonical ในปักกิ่งและเซี่ยงไฮ้ (ภาพคอมพิวเตอร์ในร้านดูได้ตามลิงก์)
ผ่านไปไม่นานหลังจากที่เข็นเคอร์เนล 3.0 ออกมา ตอนนี้เคอร์เนล 3.1 ก็ได้ปรากฏโฉมแล้ว
ของใหม่ไม่มีอะไรมากไปกว่าซัพพอร์ต NFC และไดร์เวอร์ Wiimote นอกจากนี้ก็เป็นการปรับปรุงซัพพอร์ต Ivy Bridge กับ Cedar Trail ให้ดีขึ้น และเพิ่มประสิทธิภาพระบบจัดการพลังงาน
ดาวน์โหลดเลยได้ที่ Github หรือจะรออัพเดททางดิสโทรต่างๆ ก็ย่อมได้ครับ
นอกจากประเด็นว่า Ubuntu 12.04 LTS จะขยายระยะเวลาสนับสนุนเป็น 5 ปี ทางคุณ Mark Shuttleworth ก็ออกมาอธิบายทิศทางและฟีเจอร์ที่ Ubuntu 12.04 Precision Pangolin ต้องการจะมุ่งไป
ถ้า Ubuntu เป็นคน ตอนนี้ก็คงจะเป็นเพียงเด็กตัวเล็กๆ คนหนึ่งเท่านั้น แต่ถ้าใครได้เฝ้าดูการเติบโตของเขาแล้วก็คงจะแปลกใจในความเปลี่ยนแปลงไปไม่น้อย
มาวันนี้ผมอยากชวนทุกคนย้อนอดีตไปด้วยกันซักหน่อยครับ
Mark Shuttleworth คือบุคคลหนึ่งที่เป็นตัวแปรสำคัญในประวัติศาสตร์ Ubuntu โดยช่วงชีวิตก่อนหน้านี้ เขาได้มีส่วนร่วมในโครงการ Debian และต่อมาในปี 2004 เขาได้ก่อตั้ง Canonical ขึ้น โดยมีจุดประสงค์เพื่อสร้างลินุกซ์ทางเลือกใหม่ที่ต่อยอดมาจาก Debian
ถ้าใครไม่ชอบ Unity ของ Ubuntu (เช่นผมที่ใช้ไปด่าไป) อาจจะรอ Linux Mint 12 กันอย่างใจจดใจจ่อ โดยกำหนดการจะออกเดือนพฤศจิกายนนี้ และในรายงานทางการเงินรอบล่าสุดก็มีการเปิดเผยแผนการพัฒนาออกมาว่า Linux Mint 12 "Lisa" จะรองรับ Gnome 3 อย่างแน่นอน
ทีมงาน Linux Mint ระบุว่า Gnome 3.2 นั้นค่อนข้างนิ่งพอที่จะใช้งานได้แล้ว แต่การรวมเข้ามายัง Mint นั้นต้องเริ่มใหม่ โดยมีความเป็นไปได้สูงว่า Mint 12 นั้นจะแยกเป็นสองรุ่นระหว่าง Gnome 2 และ Gnome 3 แต่ทีมงานจะสำรวจความเป็นไปได้ว่าจะสามารถรวมกันได้ในรุ่นต่อๆ ไป หรือสามารถรวมได้ทันในรุ่นนี้เลยหรือไม่
สำหรับใครที่ทนทานต่อ Unity ไม่ไหว อาจจะหาโอกาสลอง Gnome 3 จะได้รู้ชะตากรรมของตัวเองว่าจะเปลี่ยนดิสโทรหรือจะทนใช้มันต่อไปดี
Ubuntu 11.10 "Oneiric Ocelot" ออกแล้ว รุ่นนี้ไม่มีการเปลี่ยนแปลงขนานใหญ่แบบรุ่นก่อน แต่เป็นการปรับปรุง Unity ให้สมบูรณ์มากขึ้น
การเปลี่ยนแปลงหลักๆ ได้แก่
รายละเอียดอ่านได้จาก OMG Ubuntu และรุ่นนี้พิเศษหน่อย Canonical มีหน้าจำลองเดสก์ท็อปของ Ubuntu 11.10 ให้เล่นกันด้วย
ที่มา - OMG Ubuntu
Ubuntu 11.10 ก็ใกล้จะถึงเวลาเปิดตัวอย่างเป็นทางการ ก็ถึงเวลาประกาศชื่อสำหรับ Ubuntu รุ่นต่อไป 12.04 ซึ่งเป็นรุ่น LTS ซึ่งชื่อที่ Mark Shuttleworth ประกาศออกมาคือ "Precise Pangolin"
Pangolin นั้นคือตัวนิ่ม ส่วน precise นั้นมีความหมายว่าแม่นยำ ซึ่ง Shuttleworth บอกว่าต้องการชื่อที่สื่อถึงความถึกบึกบึน วางใจได้ ให้สมกับเป็น LTS
ส่วนใครที่รอชื่อ Popular Panda อยู่ ก็คงผิดหวังตามๆ กันไป
ที่มา – OMG! Ubuntu!
หลังๆ ระบบคอมพิวเตอร์แบบกลุ่มเมฆได้รับความนิยมมากขึ้น เราเริ่มเห็นซอฟต์แวร์สำหรับกลุ่มเมฆหน้าใหม่ๆ อีกหลายตัว เช่น OpenStack, Eucalyptus หรือ OpenNebula
แน่นอนว่าการนำซอฟต์แวร์ขึ้นไปรันบนกลุ่มเมฆจะช่วยตอบโจทย์ด้านประสิทธิภาพ แต่สิ่งที่ตามมาคือการเซ็ตอัพระบบที่ยากขึ้นเป็นเงาตามตัว
ทางแก้แบบหนึ่งคือพัฒนาซอฟต์แวร์มาช่วยติดตั้งและปรับแต่งระบบกลุ่มเมฆ ซึ่งก็เป็นแนวคิดของ "Juju" ระบบช่วยจัดการซอฟต์แวร์บนกลุ่มเมฆ
Juju (หรือชื่อเดิม Ensemble) ใช้แนวคิดแบบเดียวกับตัวจัดการแพกเกจบนลินุกซ์อย่าง dpkg หรือ APT แต่แทนที่จะเป็นซอฟต์แวร์ฝั่งไคลเอนต์ ก็เป็นการจัดการ "charm" (ทาง Juju ต้องการให้แปลว่า "มนต์" แต่จริงๆ แล้วมันคือสูตรการคอนฟิก) ที่ใช้เซ็ตระบบแทน
ตัวอย่างเช่น
พบกันทุกหกเดือน หลังจาก GNOME 3.0 เมื่อเดือนเมษายน คราวนี้เป็นคิวของ GNOME 3.2
ใจความหลักของ GNOME 3.2 คือการปรับปรุง GNOME 3.0 ให้เข้ารูปเข้ารอย แก้บั๊กเล็กๆ น้อยๆ หลายจุด เช่น เพิ่มตัวนับการแจ้งเตือน, ปรับขนาดปุ่มควบคุมให้เล็กลง เหมาะสำหรับจอเน็ตบุ๊ก, ปรับปรุงเอฟเฟคต์ในการแสดงผล ฯลฯ
ส่วนฟีเจอร์ใหม่ที่เพิ่มเข้ามาได้แก่
สำนักข่าว DigiTimes อ้างแหล่งข่าวภายในอีกครั้งว่าผู้ผลิตที่เคยประกาศร่วมกับ MeeGo อย่าง Acer และ Asus นั้นได้ย้ายมาร่วมกับ Tizen ตามอินเทลเรียบร้อยแล้ว โดยทั้งสองบริษัทเคยมีแผนจะวางตลาดอุปกรณ์ MeeGo ในปีนี้ก็หยุดสินค้าเหล่านั้นและเตรียมออกสินค้าอีกครั้งหลัง Tizen ออกตัวจริง
หลังจาก Ubuntu 11.10 Beta 1 เปิดให้ดาวน์โหลดมาทดสอบยังไม่ถึงเดือน ตอนนี้ Ubuntu 11.10 Beta 2 เปิดให้ดาวน์โหลดแล้ว มีการปรับปรุงจาก Beta 1 ดังนี้