Mark Shuttleworth ประกาศผ่านบล็อกว่า Ubuntu กำลังจะรวมไลบรารี Qt เข้ามาใน Ubuntu 11.10 และจะพิจารณาว่าควรรวมโปรแกรมที่สร้างด้วย Qt เข้ามาในซีดีหรือไม่
Shuttleworth บอกว่าโปรแกรมที่สร้างด้วย Qt ไม่มีปัญหาเรื่องคุณภาพ แต่มีปัญหาในเรื่องการทำงานร่วมกับเดสก์ท็อปของ GNOME (เช่น การตั้งค่าที่ใช้คนละแบบ ไม่ใช่ระบบตั้งค่ากลางของ GNOME) ทางแก้ของ Canonical ก็คือเชื่อมระบบตั้งค่า dconf เข้ากับ Qt เพื่อให้โปรแกรมที่สร้างด้วย Qt สามารถใช้ระบบตั้งค่าของ GNOME ได้ (ถ้านักพัฒนาสนใจจะทำ)
Xfce ระบบเดสก์ท็อปที่ได้รับความนิยมแบบเงียบๆ (หลายคนอาจรู้จักมันจาก Xubuntu) ออกรุ่น 4.8 แล้ว ซึ่งทิ้งห่างจากรุ่นก่อน 4.6 ถึงสองปี
การเปลี่ยนแปลงสำคัญได้แก่ ปรับปรุง panel โดยเขียนใหม่หมด, เพิ่มฟีเจอร์ให้กับตัวจัดการไฟล์ Thunar, และปรับปรุงเรื่องการตั้งค่าของระบบ ดูรายละเอียดพร้อมภาพประกอบจาก Xfce Tour
ที่มา - Xfce, OMG Ubuntu
Ubuntu 11.04 มีแผนจะเปลี่ยนอินเทอร์เฟซมาใช้ Unity ซึ่งเรียกใช้กราฟิก 3 มิติผ่าน OpenGL ปัญหาก็คือคอมพิวเตอร์จำนวนไม่น้อยยังไม่รองรับ OpenGL (เช่น ARM) แปลว่าไม่สามารถใช้ Unity ได้
ทางแก้ของ Canonical คือสร้างโปรแกรมที่หน้าตาเหมือน Unity ขึ้นมาอีกตัวหนึ่ง เพียงแต่ไม่ต้องรันบน OpenGL ชื่อของมันคือ "Unity 2D"
Unity 2D เขียนด้วย Qt (ต่างจาก Unity ที่เขียนบน GTK+) สามารถติดตั้งพร้อมกับ Unity ได้ และจะมาพร้อมกับ Ubuntu 11.04 เช่นกัน เว็บไซต์ Web Upd8 ทดสอบแล้วบอกว่า "มันเร็วมาก"
ที่มา - Web Upd8
ฟีเจอร์สำคัญอันหนึ่งของ Firefox 4 คือ hardware acceleration หรือการใช้การ์ดจอช่วยประมวลผลทั้ง 2 มิติและ 3 มิติ
แต่ข่าวร้ายก็คือผู้ใช้ลินุกซ์จะไม่ได้ฟีเจอร์เร่งความเร็ว 3 มิติ เพราะไดรเวอร์การ์ดจอ 3 มิติบนลินุกซ์เกือบทุกตัวอุดมไปด้วยบั๊ก ทาง Mozilla ทำฟีเจอร์นี้เสร็จหมดแล้ว แต่ต้องปิดการใช้งานเอาไว้ ตอนนี้วิธีเดียวที่จะได้ใช้คือการ์ดจอ NVIDIA พร้อมไดรเวอร์ NVIDIA แบบปิดซอร์ส
อย่างไรก็ตาม ชาวลินุกซ์จะยังได้ใช้ฟีเจอร์เร่งความเร็ว 2 มิติบางส่วน เช่น การวาด canvas ซึ่งในบางกรณีมีประสิทธิภาพดีกว่าบนแมคเสียอีก
ที่มา - OSNews
ปัญหาอมตะอย่างหนึ่งของลินุกซ์คือการ์ดจอ เหตุเพราะไดรเวอร์การ์ดจอ (ทั้งของ ATI และ NVIDIA) ถูกแยกเป็นสองรุ่น คือ รุ่นไม่โอเพนซอร์สซึ่งมีประสิทธิภาพดีกว่าแต่รวมมากับดิสโทรลำบาก กับรุ่นโอเพนซอร์สที่รวมมากับเคอร์เนลแต่ประสิทธิภาพด้าน 3 มิติย่ำแย่
กรณีของค่าย AMD/ATI จะแบ่งเป็นรุ่นไม่โอเพนซอร์สใต้แบรนด์ Catalyst และรุ่นโอเพนซอร์สที่รวมมากับเคอร์เนล ที่ผ่านมารุ่นโอเพนซอร์สตามหลัง Catalyst ไกลมากในเรื่องประสิทธิภาพ แต่พัฒนาการในเคอร์เนล 2.6.38 ก็ดีขึ้นกว่าเดิมมาก แม้จะยังตามหลัง Catalyst อยู่บ้างแต่ก็ใกล้เคียงขึ้นเยอะ
เว็บไซต์ Phoronix มีผลเบนช์มาร์คทดสอบครับ กราฟจะดูงงๆ หน่อย Catalyst คือรุ่นไม่โอเพนซอร์ส, Ubuntu 10.10 คือโอเพนซอร์สรุ่นก่อน, Gallium3D คือโอเพนซอร์สรุ่นล่าสุด
ข่าวนี้ แม้ผมจะไม่ได้ใช้ Linux TLE เพราะติด Lubuntu เสียแล้ว แต่หลายๆคนที่ลุ้นเรื่อง OS ประจำชาติ คงดีใจไปไม่น้อยกว่าผม ครับ.
Linux TLE เป็นโอเอสที่ถูกปั้นขึ้นมา ด้วยหวังจะเป็น OS ประจำชาติไทย.
แต่ดูเหมือนว่าจะไม่สำเร็จ เพราะอะไรที่ขึ้นชื่อว่าแห่งชาติๆ ในยุคประชาธิปไตยฟีเวอร์อย่างนี้ มักจะต้องล้มเหลว เพราะไม่ผ่านความเห็นชอบจากประชากรส่วนใหญ่ (?) ของสมาชิกประเทศ เช่น OS ประจำชาติ, พระพุทธศาสนาประจำชาติ เป็นต้น.
อย่างไรก็ตาม ด้วยความที่มีแฟนคลับเก่าเป็นฐานให้ ทำให้ทีมพัฒนา Linux TLE ไม่ท้อแท้. ในที่สุด Linux TLE v. 10 ก็ได้ออก ออก release candidate มาให้เราได้ยลโฉมกัน.
ลินุกส์มินต์เป็นชื่อ โอเอสดิสโทรหนึ่ง ทางฝั่งลินุกส์.
หลังจากฟูมฟักตัวเองอยู่นาน จากที่เดิมใช้ อูบุนตู เป็นแกนหลัก ซึ่งมีอุปกรณ์เสริมอยู่มากมาย ง่ายดายในการผลิต, พัฒนามาจนนำเอา เดเบียน ที่เป็นพื้นฐานของ อูบุนตู อีกทีหนึ่ง มาใช้เป็นแกนในการผลิต เพื่อให้จัดการระบบได้ละเอียด ถึงแก่นแท้ของ โอเอส คุณภาพเข้าไปอีก...
วันนี้ มิ้นต์ ก็แข็งแกร่งขึ้นมามาก มีผู้ใช้จำนวนมากขึ้น และมีผู้ให้ความสนใจเพิ่มขึ้น, เราจึงเริ่มได้เห็นภาพ ลินุกส์มินต์ ขึ้นมาแซง ฟีโดร่า บ้างแล้ว.
ในโลกของ X Window นั้น โปรแกรมสำหรับล็อกอินมีชื่อเรียกว่า display manager โดยกรณีของ Ubuntu (และลินุกซ์สาย GNOME ส่วนมาก) เลือกใช้โปรแกรม GDM ทำหน้าที่นี้
แต่ในแผนการของ Ubuntu 11.04 มีข้อเสนอให้เปลี่ยนจาก GDM มาเป็นโปรแกรมอีกตัวคือ LightDM โดยให้เหตุผลว่า LightDM มีขนาดเล็กกว่า ทำงานเร็วกว่า และมีจำนวนโค้ดสั้นกว่า GDM
เว็บไซต์ OMG Ubuntu ได้คุยกับทีมงานของ RockMelt เบราว์เซอร์สำหรับ Social Network ว่ามีโอกาสที่ RockMelt จะลงลินุกซ์ด้วยหรือไม่
คำตอบที่ได้คือ "อยากจะทำลงลินุกซ์ในอนาคตอันใกล้" เพียงแต่ยังไม่กำหนดเวลาว่าจะเป็นเมื่อไร
ปัจจุบัน RockMelt ยังเป็นรุ่นทดสอบ มีเฉพาะบนวินโดวส์และแมค
ที่มา - OMG Ubuntu
ผู้ผลิตฮาร์ดแวร์จำนวนมากเข้ามาเป็นสมาชิกของ Linux Foundation เพื่อดูแลให้ฮาร์ดแวร์ของตัวเองทำงานร่วมกับลินุกซ์ได้สมบูรณ์กันเป็นเรื่องปรกติ และวันนี้ชุมชนลินุกซ์ก็ได้ต้อนรับผู้ผลิตรายใหม่คือหัวเหว่ย (Huawei)
หัวเหว่ยระบุว่าบริษัทเองมีนักพัฒนาเคอร์เนลทำงานอยู่ในบริษัทมาระยะเวลาหนึ่งก่อนหน้านี้แล้ว และทีมงานนี้มีขนาดใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ โดยที่หัวเหว่ยใช้ลินุกซ์เพื่อการพัฒนาอุปกรณ์เครือข่ายของตัวเองหลายต่อหลายชิ้น
ทางฝั่ง Linux Foundation เองก็กล่าวต้อนรับหัวเหว่ยกันเป็นธรรมเนียมพร้อมกับแสดงความเชื่อมั่นว่าหัวเหว่ยจะนำลินุกซ์ให้บุกไปในตลาดเครือข่ายพื้นฐาน และอุปกรณ์เคลื่อนที่ได้มากกว่านี้
พื้นที่ให้บริการ 3G ในบ้านเราแม้จะยังจำกัดค่อนข้างมาก แต่ก็ยังมีประโยชน์กับคนพื้นที่ให้บริการค่อนข้างมาก เช่นคอนโดหรือหอพักที่ไม่อาจติดตั้งสายโทรศัพท์ด้วยตัวเองได้ โดยทั่วไปแล้วทางเลือกที่ง่ายที่สุดก็คือการซื้อ USB dongle มาใช้งานกับคอมพิวเตอร์ในบ้าน แต่ก็จะจำกัดอยูกับการใช้งานกับคอมพิวเตอร์เครื่องเดียวเท่านั้น
เมื่อไม่กี่วันก่อน บริษัท Jolicloud ประกาศเตรียมวางขาย Jolibook เน็ตบุ๊กที่ติดตั้งระบบปฏิบัติการ Jolicloud 1.1 ของตน ซึ่งพัฒนาต่อยอดมาจาก Ubuntu แต่ใช้ส่วนติดต่อผู้ใช้เป็น HTML5 และเน้นการใช้งานเว็บแอพพลิเคชันเป็นหลัก (ดูข่าวเก่า) มาวันนี้ Jolicloud ได้เผยภาพจริงของเน็ตบุ๊กดังกล่าวแล้ว ลองดูได้ที่ท้ายข่าวครับ
หลังจาก Ubuntu Unity จะเลิกใช้ X Window เปลี่ยนมาใช้ Wayland ทางค่าย Fedora ก็มีการถกเถียงกันว่าควรเปลี่ยนไปใช้ Wayland เหมือนกันหรือไม่
ข้อสรุปก็คือ Fedora จะเปลี่ยนไปใช้ Wayland เช่นกัน เพียงแต่ยังไม่ใช่เร็วๆ นี้ โดย Fedora 15 จะเป็นรุ่นแรกที่มีแพกเกจของ Wayland ให้ลองใช้กันก่อน เมื่อสมบูรณ์แล้วจึงค่อยเปลี่ยนมาเป็น default
ความกังวลของ Fedora จะต่างไปจาก Ubuntu อยู่บ้าง เพราะ Fedora มีฐานผู้ใช้เป็นกลุ่มแอดมินเยอะ ทำให้ฟีเจอร์ด้าน network ของ X Window ยังมีความสำคัญ (Wayland ไม่มีความสามารถนี้) ซึ่งทางนักพัฒนาของ Fedora กำลังคุยกันอยู่ว่าจะแก้ปัญหานี้อย่างไร
Jolicloud เป็นลินุกซ์ที่ดัดแปลงมาจาก Ubuntu แต่ใช้ส่วนติดต่อผู้ใช้เป็น HTML5 และเน้นการใช้งานเว็บแอพพลิเคชันเป็นหลัก (แต่ก็ยังมีโปรแกรมพวก VLC หรือ OpenOffice.org ให้ใช้ด้วย)
วันนี้บริษัท Jolicloud ได้ประกาศเตรียมวางขาย Jolibook ซึ่งเป็น "เน็ตบุ๊กพรีเมียม" ที่ติดตั้งระบบปฏิบัติการ Jolicloud มาให้แล้วเสร็จ ตอนนี้ข้อมูลที่มีคือ Atom N550 1.5GHz, ฮาร์ดดิสก์ 250GB, เล่นหนัง 720p ได้, ระบบปฏิบัติการ Jolicloud 1.1 ที่ยังไม่ออกในตอนนี้ และใช้เบราว์เซอร์ Chromium ที่เล่น Flash ได้ในตัว
Jolicloud บอกว่าจะวางจำหน่ายภายในเดือนนี้ และยังไม่ระบุราคา ตอนนี้ดูวิดีโอสาธิต Jolicloud บน MacBook Air รุ่นใหม่ และกล่องของ Jolibook ไปก่อน
หลังจากที่ Ubuntu เปลี่ยนมาใช้ Banshee เป็นโปรแกรมฟังเพลงหลัก ในรุ่นหน้า ทางโครงการ Banshee ก็ตอบรับนโยบายนี้เป็นอย่างดี
Mark Shuttleworth ประกาศลงบล็อกว่า Ubuntu Unity ในอนาคตจะเลิกใช้ระบบ X Window System ที่สืบทอดกันมาเนิ่นนานในโลกของยูนิกซ์ แต่จะเปลี่ยนไปใช้ Wayland ตัวจัดการแสดงผล (display management system) แบบใหม่แทน
เหตุผลที่เปลี่ยนก็เพราะว่า X Window นั้นซับซ้อนเกินไป และไม่สามารถสร้างประสบการณ์ที่ดีแก่ผู้ใช้ได้อย่างที่ Ubuntu ต้องการ (ตัวอย่างที่เห็นชัดคงเป็น Unity ที่ยังมีปัญหาเรื่องประสิทธิภาพและความเข้ากันได้ของฮาร์ดแวร์อยู่มาก)
หลังจากล่าช้ากว่ากำหนดไป 1 สัปดาห์ Fedora 14 ก็ได้ออกเวอร์ชันสมบูรณ์ เวอร์ชันนี้มีคุณสมบัติใหม่ๆ เช่น KDE 4.5 ที่เร็วและใช้งานง่ายขึ้น มีระบบ Plasma Desktop ที่สวยสะอาดและสามารถสร้าง widget ได้ง่ายด้วย Javascript, มี MeeGo เป็นอินเทอร์เฟสให้เลือกใช้, OpenSCAP เฟรมเวิร์คสำหรับสร้างระบบรักษาความปลอดภัย, Varnish ระบบการจัดเก็บ log แบบใหม่, libjpeg-turbo ทำให้อ่านเขียนรูปภาพได้เร็วขึ้น, แนะนำภาษา D สำหรับการพัฒนา เป็นต้น
เสร็จสิ้นกันไปเรียบร้อยแล้วสำหรับงานประชุม Ubuntu Developer Summit - Natty Narwhal (UDS-N) ซึ่งก็ได้มีการประกาศความเปลี่ยนแปลงโปรแกรมพื้นฐานในรุ่น 11.04 ดังนี้
โครงการ Ubuntu ตัดสินใจเลือก Banshee เป็นโปรแกรมฟังเพลงของ Ubuntu 11.04 แทน Rhythmbox ที่ใช้มาตั้งแต่รุ่นแรก
เหตุผลมาจากเรื่องฟีเจอร์ที่ Banshee เริ่มเก่งกว่าในช่วงหลัง และการทำงานร่วมกับ Unity ซึ่งเริ่มทำมาก่อนแล้วในรุ่นเน็ตบุ๊ก ด้วยข้อจำกัดเรื่องพื้นที่ในซีดีหนึ่งแผ่น ทำให้ทีมงานเลือกได้เพียงตัวเดียว
การตัดสินใจครั้งนี้ทำให้เกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์ตามมา เพราะคนนิยม Banshee กับ Rhythmbox มีจำนวนใกล้เคียงกัน (ดูโพลของ OMG Ubuntu)
ข่าวสั้นๆ ครับ วันนี้ Ubuntu หนึ่งในระบบปฏิบัตการ Linux ได้เผยคลิปโฆษณาใหม่ ซึ่งภายในวีดีโอกล่าวถึงคุณสมบัติโดยรวมของระบบปฏิบัตการ Ubuntu ลองดูวีดีโอท้ายข่าวครับ
โดยคอนเซปของคลิปนี้คือ "ทำไมจึงควรเลือก Ubuntu"
ที่มา - OMG! Ubuntu!
ในงานประชุม Ubuntu Developer Summit นอกจากจะประกาศเรื่อง Unity สำหรับเดสก์ท็อป ยังพูดถึงฟีเจอร์ของ Ubuntu Software Center ใน 11.04 ว่าผู้ใช้สามารถ "สนับสนุน" (sponsor) นักพัฒนาได้จากตัวโปรแกรมเลย
Ubuntu Software Center ไม่จำกัดจำนวนเงินที่สนับสนุน ส่วนระบบการจ่ายเงินจะผ่าน Ubuntu One - OMG Ubuntu
ต่อจากข่าวก่อนหน้านี้ Ubuntu 11.04 อาจใช้อินเทอร์เฟซ Unity สำหรับเดสก์ท็อป เมื่อวานนี้ที่งาน Ubuntu Developer Summit ในฟลอริดา Mark Shuttleworth แถลงการณ์เรื่องนี้อย่างเป็นทางการแล้ว
Shuttleworth ยอมรับว่าการตัดสินใจครั้งนี้ "เสี่ยง" และยังมีงานที่ต้องทำอีกมาก เขายังยืนยันว่า Ubuntu จะสนับสนุน GNOME ต่อไป แม้ว่าทิศทางของ Ubuntu ในช่วงหลังจะแยกทางจาก GNOME สายมาตรฐานมากขึ้นเรื่อยๆ
Ubuntu 10.10 เป็นรุ่นแรกที่รองรับหน้าจอสัมผัสผ่านเฟรมเวิร์ค uTouch เชื่อว่าหลายคนคงอยากลองเล่น แต่ปัญหาสำคัญก็คือไม่มีโน้ตบุ๊กที่มีจอสัมผัส
ทางทีมงาน Ubuntu เลยปล่อยวิดีโอการใช้งาน Ubuntu Unity บนโน้ตบุ๊กจอสัมผัส Dell Latitude XT ที่ทีมงานใช้เป็นอุปกรณ์หลักในการพัฒนา uTouch มาให้ดูกันจนเห็นภาพ (แต่ไม่มีฉากกดคีย์บอร์ดบนหน้าจอให้เห็นนะครับ)
ที่มา - Engadget
ในการประชุมระดมสมองสำหรับ Ubuntu 11.04 Natty Narwhal มีข้อเสนอจากทีมงานว่าควรใช้ Ubuntu Unity อินเทอร์เฟซสำหรับเน็ตบุ๊กกับ Ubuntu เวอร์ชันเดสก์ท็อปด้วย
เหตุผลสนับสนุนคือ GNOME Shell ซึ่งเป็นอินเทอร์เฟซใหม่ของ GNOME 3.0 ไม่น่าจะเสร็จทันตามกำหนด (อีกแล้ว) และการใช้ Unity จะทำให้หน้าตาของ Ubuntu รุ่นเดสก์ท็อปเทียบเคียงหรือเหนือกว่า Mac OS X ได้ด้วย
Mark Shuttleworth ได้อนุมัติเป็นการเบื้องต้นให้แผนนี้อยู่ในวาระการประชุม ส่วนจะได้เข้าใน Ubuntu 11.04 หรือไม่ ต้องรอดูกันต่อไป
ขณะที่รอบการออกลินุกซ์รุ่นใหม่ๆ มักจะมีรอบที่ชัดเจนเป็นรายหกเดือน แต่กับตัวเคอร์เนลแล้วรอบการออกเคอร์เนลใหม่ไม่แน่นอนเท่า โดยรอบนี้อยู่ที่ประมาณ 3 เดือนจากรอบที่แล้ว 2.6.35 โดยฟีเจอร์ใหม่ๆ หลายอย่าง เช่น