ข่าวการปลดพนักงานของ Mozilla ในเดือนสิงหาคม 2020 ส่งผลกระทบต่อโครงการภายในหลายโครงการ ที่เจอหนักๆ คือ MDN Web Docs เว็บไซต์รวมเอกสารเกี่ยวกับเทคโนโลยีเว็บ ที่โดนปลดทีมงานไปหลายคน และต้องปรับลดกิจกรรมหลายอย่างลง
ชะตากรรมของ MDN Web Docs ก่อให้เกิดคำถามว่า วงการนักพัฒนาเว็บจะสูญเสียแหล่งข้อมูลสำคัญไปหรือไม่ หากองค์กรต้นสังกัดไม่มีเงินมาสนับสนุน
ล่าสุดเพื่อนร่วมวงการเว็บได้แก่ กูเกิล, ไมโครซอฟท์, ซัมซุง, W3C, บริษัทด้านหารายได้บนเว็บ Coil, บริษัทที่ปรึกษา Igalia ประกาศตั้งกลุ่ม Open Web Docs เพื่อสนับสนุน MDN Web Docs ทั้งในด้านกำลังเงินและกำลังคน
กูเกิล, ไมโครซอฟท์, มอซิลล่า, และแอปเปิล ร่วมกันแบนใบรับรอง root CA ของรัฐบาลคาซัคสถานไม่ให้ติดตั้งลงเบราว์เซอร์ได้ หลังรัฐบาลพยายามแจ้งให้ประชาชนติดตั้งใบรับรองเพื่อดักฟังการเชื่อมต่อเข้ารหัส โดยรัฐบาลอ้างว่าเป็นการฝึกหน่วยงานรัฐให้รับมือการโจมตีทางไซเบอร์
Mozilla ออก Firefox 84 มีการเปลี่ยนแปลงดังนี้
ที่มา - Mozilla
Mozilla ประกาศยกโครงการ Servo เอนจินแสดงผลเว็บตัวใหม่ของ Firefox ที่เขียนด้วยภาษา Rust มาตั้งแต่ปี 2012 (ภายหลังพัฒนาเป็น Firefox Quantum) ให้ Linux Foundation ดูแลต่อแทน
จุดเด่นของ Servo คือทำงานเร็ว, รองรับมัลติคอร์เต็มรูปแบบ และเขียนด้วยภาษา Rust ที่ปลอดจากปัญหาหน่วยความจำ นอกจาก Firefox แล้ว ปัจจุบันยังมีซัมซุง, Let's Encrypt, Three.js ที่นำไปใช้งาน โดย Servo ถือเป็นซอฟต์แวร์โครงการใหญ่ที่สุดที่สร้างด้วย Rust นอกเหนือจากตัวคอมไพเลอร์ของ Rust เอง
Firefox ออกเวอร์ชัน 83 โดยถือเป็นรุ่นที่มีของใหม่หลายอย่าง ฟีเจอร์สำคัญคือการอัพเกรดเอนจินจาวาสคริปต์ SpiderMonkey ครั้งใหญ่ อัพเดตตัวนี้มีชื่อว่า Warp (หรือ WarpBuilder) เป็นการปรับปรุงกระบวนการทำงานของคอมไพเลอร์ just-in-time (JIT) ใหม่ ผลที่ได้คือประสิทธิภาพดีขึ้น 20% ในการโหลดหน้าเว็บ Google Docs, เฉลี่ยแล้ว 15%, ตอบสนองดีขึ้น 12% และใช้หน่วยความจำน้อยลง 8% โดยเฉลี่ย (รายละเอียดเรื่อง Warp สำหรับผู้สนใจ)
Mozilla ออก Firefox 82 เวอร์ชันเดสก์ท็อป มีของใหม่ดังนี้
ประเด็นเรื่องความปลอดภัยจากส่วนขยายของเบราว์เซอร์ เป็นปัญหามายาวนาน และเราก็เห็นข่าวเบราว์เซอร์รายใหญ่ๆ อย่าง Chrome หรือ Firefox ออกมาตรการคุมเข้มส่วนขยายในแพลตฟอร์มตัวเองมาเรื่อยๆ
ล่าสุด Firefox เพิ่มมาตรการใหม่คือแปะป้ายหรือ badge เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือให้กับส่วนขยายบน Firefox Add-ons ทั้งบนหน้าเว็บและหน้าจัดการส่วนขยายของเบราว์เซอร์ ป้ายรับรองที่เพิ่มเข้ามามี 2 แบบคือ
Firefox ออกเวอร์ชัน 81 มีของใหม่อยู่หลายรายการ ซึ่งเน้นไปที่ส่วนติดต่อกับผู้ใช้งาน
ที่มา: Mozilla
อัพเดตต่อจากข่าว Mozilla ระงับบริการส่งไฟล์ Firefox Send ชั่วคราว หลังถูกใช้เป็นแหล่งกระจายมัลแวร์
ล่าสุด Mozilla ประกาศปิดบริการ Firefox Send (ร่วมกับบริการอีกตัวคือ Firefox Note) อย่างถาวร ด้วยเหตุผลเดิมคือถูกใช้เป็นแหล่งปล่อยมัลแวร์ และปัจจัยเรื่อง Mozilla ต้องปรับโครงสร้างองค์กร ปลดคน คุมค่าใช้จ่าย ทำให้ต้องตัดสินใจปิดบริการที่ไม่สำคัญออกไป
Mozilla ยืนยันว่าจะยังคงบริการกลุ่ม VPN และ Firefox Monitor ตัวเฝ้าระวังรหัสผ่านหลุด-ข้อมูลรั่วไหล ต่อไป
Firefox for Android เวอร์ชันใหม่ที่เพิ่งเปิดให้ใช้งาน ได้รับเสียงวิจารณ์ไม่ดีนักจากผู้ใช้ Firefox ตัวเดิม เพราะขาดแคลนฟีเจอร์หลายอย่างที่เคยมีในตัวเดิม
ฟีเจอร์สำคัญที่ขาดหายไปคือ Extension ที่เดิมทีเคยรองรับส่วนขยายของ Firefox เวอร์ชันเดสก์ท็อปด้วย แต่ Firefox for Android ตัวใหม่ยังรองรับส่วนขยายที่ถูก whitelist เพียงไม่กี่ตัวเท่านั้น ด้วยเหตุผลว่าทีมพัฒนาต้องการให้รองรับส่วนขยายแบบค่อยเป็นค่อยไป
Firefox ออกเวอร์ชัน 80 ซึ่งบางคนอาจรู้สึกว่าออกเร็วขึ้นกว่าเดิม (ตามหลังเวอร์ชัน 79 ไม่ถึงเดือน) เป็นผลมาจากนโยบายปรับรอบการออกเป็นทุก 4 สัปดาห์ ที่เริ่มใช้มาตั้งแต่ต้นปีนี้
รอบการออกที่เร็วขึ้น แลกมากกับการที่บางเวอร์ชันมีฟีเจอร์ใหม่ไม่เยอะนัก ซึ่งรวมถึงเวอร์ชัน 80 นี้ด้วย
Mozilla เริ่มทยอยปล่อย Firefox for Android ตัวใหม่ (โค้ดเนม Fenix) มาแทน Firefox ตัวปัจจุบัน (โค้ดเนม Fennec) ที่หยุดพัฒนามาสักระยะแล้ว
Firefox ตัวใหม่หรือ Fenix มีการเปลี่ยนแปลงหลายอย่างจากเดิมหลายอย่าง ที่สำคัญได้แก่
วงการนักพัฒนาเว็บคงคุ้นเคยกับ MDN Web Docs หรือชื่อเดิม Mozilla Developer Network เว็บไซต์รวมเอกสารเกี่ยวกับเทคโนโลยีเว็บ ตัวอย่างการเขียนโค้ด และเครื่องมืออื่นๆ อีกมาก ซึ่งได้รับการยกย่องว่าเป็นแหล่งข้อมูลที่ดีเป็นอันดับต้นๆ ของคนเขียนเว็บ (ใช้ได้กับเบราว์เซอร์ทุกตัว ไม่ใช่แค่ Firefox)
แต่ MDN เป็นหนึ่งในโครงการที่ถูกปลดคนออก ตามข่าว Mozilla ปรับโครงสร้างองค์กรรอบล่าสุด ปลดพนักงานออกถึง 250 คน ทำให้เกิดความสงสัยในหมู่นักพัฒนาเว็บว่า MDN จะถูกยุบโครงการไปอีกรายหรือไม่
ทีมพัฒนาภาษาโปรแกรม Rust ออกมาประกาศแผนในอนาคต หลัง Mozilla ปลดพนักงาน 250 คน และทีมงาน Rust ถูกปลดด้วย ว่าจะตั้งมูลนิธิ Rust Foundation เป็นองค์กรแยกต่างหาก เพื่อมารับผิดชอบการพัฒนา Rust โดยไม่ต้องขึ้นกับ Mozilla
Rust Foundation จะกลายเป็นองค์กรไม่หวังผลกำไรที่เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้า Rust และรับผิดชอบการลงทุนเพื่อพัฒนา Rust ต่อไป คาดว่ามูลนิธิจะจดทะเบียนเสร็จและเริ่มทำงานภายในปี 2020 นี้
เมื่อไม่กี่วันมานี้ Mozilla เพิ่งประกาศปลดพนักงานมากถึง 250 คน พร้อมปรับโครงสร้างองค์กรครั้งใหญ่ แต่ล่าสุดเว็บไซต์ The Register ได้ข้อมูลมาว่า Mozilla เพิ่งเซ็นสัญญาส่วนแบ่งรายได้กับกูเกิลฉบับใหม่ ได้เงินมาราว 400-450 ล้านดอลลาร์ตลอดอายุสัญญา 3 ปี (จนถึงปี 2023)
โฆษกของ Mozilla ยืนยันข่าวว่าเซ็นสัญญาต่อกับกูเกิลจริง แต่ไม่ให้ข้อมูลตัวเลขว่า Mozilla มีรายได้เท่าไร
ที่ผ่านมา Mozilla เปิดเผยรายได้ขององค์กรเป็นระยะ ตัวเลขของปี 2018 มีรายได้ทั้งหมด 451 ล้านดอลลาร์ (เกือบทั้งหมดคือ 430 ล้านดอลลาร์มาจากสัญญากับ search engine) ส่วนรายจ่ายในปี 2018 เฉพาะเงินเดือนพนักงานอยู่ที่ 286 ล้านดอลลาร์ สำหรับพนักงานประมาณ 1,000 คน
Mozilla Corporation องค์กรผู้รับผิดชอบการพัฒนา Firefox ประกาศปรับโครงสร้าง ปลดพนักงานออก 250 คน (ประมาณ 25% ของพนักงานทั้งหมด) ปิดสำนักงานในไต้หวัน และเปลี่ยนยุทธศาสตร์ขององค์กรใหม่
Mozilla บอกว่าได้รับผลกระทบจาก COVID-19 ทำให้ต้องเปลี่ยนแผนของปี 2020 ใหม่ทั้งหมด
ในที่สุด Firefox for Android รุ่นใหม่ (โค้ดเนม Fenix) ที่พัฒนามาแรมปีก็ถูกปล่อยออกสู่สาธารณชนแล้วผ่าน Play store โดยทีมงานวางแผนปล่อยออกมาตามประเทศ ประเทศไทยสามารถอัพเดตได้ตั้งแต่วันที่ 6 สิงหาคม
การปรับรุ่นครั้งนี้เป็นการปรับรุ่นครั้งใหญ่โดยเปลี่ยนมาใช้เอนจิน GeckoView และปรับหน้าตาใหม่หลายจุด เช่น ย้าย navigation bar มาอยู่ด้านล่าง เพื่อไม่ต้องเลื่อนนิ้วไปกดที่ด้านบนของจอ, เข้าสู่ Private browsing ได้ในการกดครั้งเดียว เป็นต้น
Mozilla ออก Firefox 79.0 ที่เวอร์ชันมีของใหม่ไม่มากนัก
ที่มา - Firefox
Mozilla ประกาศหยุดให้บริการส่งไฟล์ขนาดใหญ่ Firefox Send ชั่วคราว หลังพบว่าถูกใช้แพร่กระจายมัลแวร์
Firefox Send เป็นบริการที่เปิดตัวในปี 2019 ใช้ส่งไฟล์ขนาดใหญ่ไม่เกิน 2.5GB และมีจุดเด่นเรื่องความปลอดภัย (เข้ารหัสไฟล์) และความเป็นส่วนตัว (มีระบบรหัสผ่าน, ใครก็ใช้ได้โดยไม่ต้องล็อกอิน)
อย่างไรก็ตาม จุดขายเหล่านี้กลายเป็นช่องโหว่ให้กลุ่มผู้ปล่อยมัลแวร์ นำมัลแวร์ขึ้นไปฝากไว้บน Firefox Send (เข้ารหัสไฟล์ทำให้ตรวจสอบได้ยาก) และอาศัยปัจจัยว่าโดเมนเนม firefox.com เป็นโดเมนที่น่าเชื่อถือ ฝ่าระบบตรวจจับมัลแวร์ต่างๆ เข้าไปหลอกให้ผู้ใช้ติดตั้งมัลแวร์เหล่านี้ได้
Mozilla ออก Firefox 78 มีของใหม่ดังนี้
Firefox 78 เป็นรุ่นซัพพอร์ตระยะยาว Extended Support Release (ESR) และเป็นรุ่นสุดท้ายที่ซัพพอร์ต macOS 10.9, 10.10, 10.11
มอซิลล่ารับเซิร์ฟเวอร์ DNS ของ Comcast เข้าโครงการ Trusted Recursive Resolver (TRR) ซึ่งทำให้ลูกค้าของ Comcast ที่ใช้เบราว์เซอร์ไฟร์ฟอกซ์จะใช้งานเซิร์ฟเวอร์ DNS ของ Comcast ต่อไป จากเดิมที่การเปิด DNS-over-HTTPS (DoH) จะทำให้เบราว์เซอร์ใช้เซิร์ฟเวอร์ภายนอก เช่น Cloudflare หรือ NextDNS ทันที
TRR เปิดให้ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตแสดงความโปร่งใส โดยสามารถเก็บข้อมูลผู้ใช้ได้ไม่เกิน 24 ชั่วโมง และห้ามนำข้อมูลไปขายหรือมอบให้บุคคลภายนอก รวมถึงการบล็อคโดเมนนั้นหากผู้ใช้ไม่ได้เป็นผู้ร้องขอเอง ผู้ดำเนินการเซิร์ฟเวอร์ DNS จะต้องเปิดเผยข้อมูลว่าบล็อคโดเมนอะไรไปบ้าง
Mozilla ประกาศหยุดซัพพอร์ต Firefox เวอร์ชันหลักบน macOS 10.9 (Mavericks), 10.10 (Yosemite), 10.11 (El Capitan)
Mozilla ระบุว่าแอปเปิลไม่มีนโยบายการซัพพอร์ตแพตช์ให้ OS เวอร์ชันเก่าออกมาชัดๆ แต่ปกติแล้วจะออกแพตช์ให้กับ OS 3 รุ่นล่าสุด (N, N-1, N-2) ซึ่งกรณีของ macOS 10.11 ออกแพตช์ครั้งสุดท้ายเมื่อ 2 ปีก่อน (เดือนกรกฎาคม 2018) จึงถือว่าไม่มีการแพตช์อีกแล้ว
Mozilla แนะนำให้อัพเกรดเป็น macOS 10.12 ขึ้นไป แต่ผู้ใช้ OS เหล่านี้ยังสามารถใช้ Firefox Extended Support Release (ESR) ที่เป็นเวอร์ชันเก่าและสนับสนุนยาวนานได้ต่อไป (เวอร์ชัน ESR ล่าสุดในตอนนี้คือ Firefox ESR 68.9.0 เทียบกับรุ่นปกติที่เป็นเวอร์ชัน 77 แล้ว)
Mozilla เป็นอีกองค์กรที่ออกมาประกาศนโยบายเรื่องสีผิวและการเหยียดเชื้อชาติ โดยมีแผนการดังนี้
Mozilla เปิดบริการ VPN ของตัวเองมาได้สักพักใหญ่ๆ (ยังจำกัดเฉพาะในสหรัฐ) โดยใช้ชื่อว่า Firefox VPN หรือ Firefox Private Network ล่าสุดมันถูกรีแบรนด์ใหม่เป็นผลิตภัณฑ์แยกต่างหากคือ Mozilla VPN เพื่อจับกลุ่มผู้ใช้ที่กว้างขึ้น
Mozilla บอกว่าต้องการสร้างบริการ VPN ที่รักษาความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้จริงๆ โดยไม่ตามรอยผู้ใช้เลย และจะการันตีไม่ทำธุรกิจจากการวิเคราะห์ข้อมูลการใช้งานด้วย
Firefox VPN จะปลดสถานะเบต้าในเร็วๆ นี้ แล้วเปลี่ยนชื่อเป็น Mozilla VPN โดยยังคงค่าบริการเดือนละ 4.99 ดอลลาร์ ใช้งานได้ 5 อุปกรณ์พร้อมกัน รองรับ Windows, Android, iOS, Chromebook และในอนาคตจะรองรับ Mac กับ Linux ด้วย
ข่าวเก่าครับ: Mozilla ประกาศว่าตั้งแต่ 31 มกราคม 2562 เป็นต้นไป Firefox Focus จะถูกถอดออกจาก Google Play Store ของ 4 ประเทศ ได้แก่ อินเดีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และประเทศไทย
ในประกาศดังกล่าวไม่ได้กล่าวถึงเหตุผลแต่อย่างใด เพียงแต่แจ้งว่าให้ไปใช้ Firefox Lite (ชื่อเดิม Rocket) แทน ตัวผมเองพยายามค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมจาก GitHub, Mozilla wiki, และ mailing list (ร้าง) แต่ก็ไม่พบเหตุผลเช่นเดียวกัน