Mozilla ได้เก็บข้อมูลการแนะนำวิดีโอของ YouTube จากกลุ่มผู้ใช้จำนวน 20,000 ราย เพื่อศึกษาประสิทธิภาพการคัดกรองเนื้อหาเมื่อผู้ใช้กดปุ่ม “dislike” “not interested” “stop recommending channel” และ “remove from watch history” โดยการใช้ RegretsReporter ซึ่งเป็นบราวเซอร์ของบริษัทที่เมื่อผู้ใช้กดปุ่มดังกล่าวบน YouTube จะแสดงผลมาที่ Mozilla ด้วย รวมถึงใช้การจับคู่วิดีโอที่ผู้ใช้กดให้หยุดแนะนำและวิดีโอที่มีเนื้อหาคล้ายกันที่ YouTube ยังคงแนะนำอยู่ ซึ่ง Mozilla ศึกษาวิดีโอที่ YouTube แนะนำกว่า 500 ล้านวิดีโอ
Common Voice เป็นโครงการที่ Mozilla ซึ่งเป็นองค์กรไม่แสวงหาผลกำไร ได้สร้างขึ้นเพื่อแก้ปัญหาการขาดแคลนชุดข้อมูลเสียงที่เป็นสาธารณสมบัติ (ไม่มีลิขสิทธิ์) ที่ทุกคน ทุกหน่วยงาน สามารถมีส่วนร่วมและใช้เพื่อสอนระบบ AI ต่าง ๆ เช่นระบบพิมพ์ด้วยเสียงได้
ปัจจุบันในภาษาไทยมีจำนวนเสียงที่บันทึกแล้ว 393 ชั่วโมง แต่ตรวจสอบไปเพียง 154 ชั่วโมง (ไม่ถึงครึ่งของจำนวนเสียงที่บันทึกไว้ทั้งหมด) ในขณะที่ชุดข้อมูลรอบถัดไปจะตัดรอบในวันที่ 7 กันยายน 2565 นี้ เราจึงต้องการให้ทุกคนเข้ามาร่วมตรวจสอบเสียงง่าย ๆ โดยไม่ต้องโหลดแอปใด ๆ ตามขั้นตอนด้านล่างนี้
Firefox ออกอัพเดตเวอร์ชัน 104 มีรายการของใหม่ดังนี้
ที่มา: Mozilla
Mozilla ได้ตรวจสอบความเป็นส่วนตัวของข้อมูลในแอปพลิเคชันบันทึกรอบเดือนและแอปพลิเคชันติดตามการตั้งครรภ์ พบว่าส่วนใหญ่ไม่ผ่านมาตรฐานความเป็นส่วนตัวข้อมูล
Mozilla ตรวจสอบรวม 20 แอปและอุปกรณ์สวมใส่ที่สามารถติดตามรอบเดือนและการตั้งครรภ์ได้อีก 5 อุปกรณ์ ผลการสำรวจพบว่ามีเพียงอุปกรณ์สวมใส่ทั้ง 5 ได้แก่ Garmin, Fitbit, Apple Watch, Oura Ring และ Whoop Strap ร่วมกับแอปพลิเคชัน 2 แอปเท่านั้นที่ผ่านมาตรฐานของ Mozilla ได้แก่ Euki และ Natural Cycles และมีเพียงแอปพลิเคชัน Euki เท่านั้นที่ได้สถานะ Best Of (มีความเป็นส่วนตัวสูงที่สุด) ส่วนอีก 18 แอปขึ้นสถานะ Privacy Not Included (ไม่มีความเป็นส่วนตัว)
ท่านผู้อ่านที่ติดตาม Blognone มานานแล้ว น่าจะพอจำกันได้ถึงธรรมเนียมปฎิบัติระหว่างทีม Firefox และ Microsoft Edge/Internet Explorer ที่จะส่งเค้กให้กัน เมื่ออีกทีมได้ผ่านหลักไมล์สำคัญของการพัฒนาเบราว์เซอร์ (ดูตัวอย่างเค้กจากข่าวเก่า 1, 2)
ล่าสุดเนื่องในโอกาสที่ไมโครซอฟท์ได้ประกาศปลดเกษียณ Internet Explorer ทีม Firefox ก็ไม่พลาดที่จะร่วมแสดงความยินดีให้ทีม MS Edge/IE ด้วยการส่งเค้กตามธรรมเนียม
Mozilla Thunderbird ออกเวอร์ชันใหม่ 102 ตามรอบการออกปีละครั้ง (นับเวอร์ชันตาม Firefox แต่เวอร์ชันที่ออกก่อนหน้านี้คือ Thunderbird 91 แล้วข้ามมา 102 เลย) มีของใหม่หลายอย่าง
Firefox ประกาศใช้งาน Total Cookie Protection แยกการเก็บ cookie ของแต่ละเว็บไซต์ออกจากกัน เป็นค่าดีฟอลต์ หลังเริ่มทดสอบมาตั้งแต่ต้นปี 2021 และเปิดใช้เป็นดีฟอลต์กับ Firefox Focus บน Android ในช่วงต้นปี 2022
แนวทางของ Total Cookie Protection คือแยกถังเก็บคุกกี้ของแต่ละเว็บไซต์ออกจากกัน ไม่ให้เว็บไซต์มองเห็นว่าในเบราว์เซอร์มีคุกกี้ของเว็บอื่นหรือไม่ ช่วยป้องกันเรื่องการตามรอยข้ามเว็บได้ (เช่น Facebook จะไม่เห็นว่าเราไปเข้าเว็บอื่นอันไหนอีกบ้าง ก็จะไม่สามารถยิงโฆษณาที่ตรงกับความสนใจของเราได้)
Mozilla ออกปลั๊กอิน Firefox Translations สำหรับใช้งานบนเบราว์เซอร์ Firefox เพื่อแปลภาษา มีจุดเด่นคือรองรับการแปลแบบออฟไลน์ ไม่ต้องส่งข้อมูลไปที่เซิร์ฟเวอร์เวลาแปล แต่ผู้ใช้งานต้องดาวน์โหลดชุดภาษาที่จะแปลก่อนในครั้งแรก
โครงการ Firefox Translations ได้รับการสนับสนุนผ่านเงินทุนจาก Project Bergamot ของอียู ร่วมกับ University of Edinburgh, Charles University, University of Sheffield และ University of Tartu เพื่อสร้างเอ็นจินแปลภาษาที่ทำงานได้จบในอุปกรณ์
อย่างไรก็ตาม การทำงานของปลั๊กอินยังค่อนข้างจำกัด โดยรองรับการแปลระหว่างภาษาอังกฤษกับอีก 12 ภาษา เช่น สเปน เยอรมัน อิตาลี โปรตุเกส รัสเซีย ฯลฯ ยังไม่รองรับภาษาไทย
หลายคนอาจลืมโปรแกรมอีเมล Thunderbird กันไปแล้ว เพราะเงียบไปมากในช่วงหลัง แต่ล่าสุด Ryan Lee Sipes ผู้จัดการผลิตภัณฑ์ของ Thunderbird เปิดเผยว่ากำลังพัฒนาแอพบนมือถืออยู่ ซึ่งจะเริ่มจาก Android ก่อน ส่วน iOS อาจจะตามมาใน 1-2 ปีหลังจากนี้
ตอนนี้ยังไม่มีหน้าตาของ Thunderbird for Android ออกมาให้เห็น โดย Sipes ใช้คำว่า "Mobile app is coming soon." และขยายความว่าแอพมือถือมีความสำคัญเป็นอันดับสอง รองจากการปรับ UI ของ Thunderbird บนเดสก์ท็อปให้ใช้ง่ายขึ้น
ปัจจุบัน Thunderbird อยู่ภายใต้การดูแลของ MZLA Technology อีกหน่วยงานของ Mozilla Foundation แต่เป็นคนละหน่วยกับ Mozilla Corporation ที่ดูแล Firefox
Firefox ออกเวอร์ชัน 100 ตามหลัง Chrome ไม่นาน ของใหม่ในเวอร์ชันนี้ได้แก่
หลังจากที่ผมเขียนมาร่วมกันบริจาคเสียงพูดภาษาไทยด้วย Mozilla Common Voice ลง Blognone ครบ 1 ปี บทความนี้ผมจะมาเขียนบทความว่าเกิดอะไรขึ้นบ้าง เมื่อได้รับเสียงภาษาไทยบริจาคจำนวนมากถึง 300 กว่าชั่วโมง แต่ก็ยังคงต้องการรับบริจาคเสียงกับตรวจเสียงเพิ่มเติม
หลังจากที่ทาง Mozilla ปล่อยชุดข้อมูล Common Voice รุ่นที่ 7 ออกมา ทางสถาบันวิจัยปัญญาประดิษฐ์ประเทศไทย ได้เทรนโมเดล Automatic Speech Recognition ภาษาไทยโดยวัดประสิทธิภาพจาก Common Voice ที่แบ่งใหม่พบว่า มีความแม่นยำทัดเทียมกูเกิลแล้ว ซึ่งถือเป็นโมเดล Automatic Speech Recognition ภาษาไทยที่มีประสิทธิภาพมากตัวหนึ่ง
Mozilla ออกอัพเดต Firefox เวอร์ชัน 99 มีของใหม่ดังนี้
ที่มา: Mozilla
MDN หรือชื่อเดิม Mozilla Developer Network เป็นคลังเอกสารอ้างอิงสำหรับนักพัฒนาเว็บมายาวนาน เปิดตัวบริการแบบพรีเมียม MDN Plus เพื่อเป็นช่องทางหารายได้มาสนับสนุน MDN อีกทางหนึ่ง หลังจาก Mozilla ประสบปัญหาทางการเงินในปี 2020 จนต้องปลดคนฝ่าย MDN ออกบางส่วน
หลัง Mozilla ประสบปัญหาในการดูแลรักษา MDN ทำให้ในปี 2021 ไมโครซอฟท์และกูเกิลเข้ามาช่วยบริจาคเงินให้โครงการไปต่อได้ ส่วนการออกแพ็กเกจ MDN Plus ก็ถือเป็นวิธีการหารายได้เพิ่มอีกทางนั่นเอง
สมาชิก MDN Plus จะได้ฟีเจอร์ชุดแรกคือ
Mozilla ออก Firefox 98 การเปลี่ยนแปลงสำคัญของเวอร์ชันนี้คือพฤติกรรมการดาวน์โหลดไฟล์ โดย Firefox จะเลิกถามแล้วว่าเราต้องการทำอะไรกับไฟล์นั้น
สิ่งที่เปลี่ยนคือ Firefox เลิกขึ้นหน้าต่างมาถามแล้ว แต่จะทำตามค่าดีฟอลต์ที่เราตั้งไว้สำหรับไฟล์นั้น (เช่น เปิดด้วย Firefox, เปิดด้วยโปรแกรมอื่น, เซฟลงดิสก์) ผู้ใช้สามารถเปลี่ยนค่าได้เองใน Settings/Preferences
กูเกิลและ Mozilla ร่วมกันออกประกาศเตือนสำหรับนักพัฒนาและผู้ดูแลเว็บไซต์ เนื่องจากทั้งเบราว์เซอร์ Chrome และ Firefox กำลังเข้าสู่เลขเวอร์ชัน 3 หลัก คือ 100 ในเวลาอันใกล้นี้
ปัญหาสำคัญที่ทำให้ทั้งสองบริษัทออกมาประกาศ คือเว็บไซต์อาจใช้วิธี parsing ตัวเลขเวอร์ชันเบราว์เซอร์ที่ส่งมาจาก User Agent (UA) โดยฮาร์ดโค้ดเป็นเลข 2 หลักเอาไว้ ซึ่งขั้นตอนนี้ใช้สำหรับการตรวจสอบความเข้ากันของเบราว์เซอร์กับเว็บไซต์ เมื่อค่าตัวเลขเปลี่ยนเป็น 3 หลัก ก็อาจเกิดปัญหาได้ ซึ่งปัญหานี้ก็เคยเกิดขึ้นเมื่อ 12 ปีที่แล้ว ตอนเบราว์เซอร์ขยับเลขเวอร์ชันเป็น 2 หลักที่เวอร์ชัน 10
กำหนดการออกอัพเดตเวอร์ชัน 100 ของทั้งสองเบราว์เซอร์เป็นดังนี้
เมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา Mozilla ผู้พัฒนา Firefox ได้ประกาศผ่านบล็อกว่า กำลังทำงานร่วมมือกับ Meta เพื่อเสนอตัวชี้วัดระบุที่มาของโฆษณาที่ชื่อว่า Interoperable Private Attribution หรือ IPA เพื่อติดตามและวัดอัตราความสำเร็จของการยิงโฆษณาออนไลน์โดยที่ยังเคารพความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้งาน
IPA มีเป้าหมายให้ผู้ลงโฆษณาสามารถระบุที่มาของโฆษณาได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยที่ไม่สามารถติดตามหรือกำหนดโปรไฟล์ผู้ใช้งานได้
หลังจากที่ทาง Mozilla ออกประกาศมา ได้เกิดกระแสแง่ลบออกมาจำนวนมาก นอกจากนั้นยังมีคนพบว่าประกาศดังกล่าวไม่ได้ประกาศในทวิตเตอร์ของ Mozilla เหมือนกับประกาศอื่น ๆ ที่ผ่านมา
Firefox ออกอัพเดตเวอร์ชัน 97 มีของใหม่คือรองรับ scrollbar แบบใหม่บน Windows 11 และปรับปรุงการทำงานบน macOS ให้รวดเร็วขึ้น
ในเวอร์ชันนี้มีการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญคือ ฟีเจอร์เปลี่ยนธีมสีที่เรียกว่า colorway ซึ่งออกมาตั้งแต่ Firefox เวอร์ชัน 94 ได้ถูกถอดออกไปในเวอร์ชัน ซึ่งเป็นไปตามที่ Firefox บอกก่อนหน้านี้ว่าจะมีให้ใช้งานแบบจำกัดเวลา ซึ่งหากผู้ใช้งานเลือกสีใดไว้ก่อนหน้า สีนั้นก็จะมีอยู่ให้ใช้งานต่อไป แต่ถ้าไม่ได้เลือกไว้ เวอร์ชัน 97 ก็มี colorway ชุดใหม่ให้เลือก 6 สีสันใน add-ons manager (นี่มันอะไรกันครับเนี่ย?)
ที่มา: Mozilla
Mozilla ประกาศหยุดเลิกทำ Firefox Reality เว็บเบราว์เซอร์สำหรับแว่น VR ที่เริ่มทำในปี 2018 โดยจะยกโครงการให้บริษัท Igalia ทำต่อภายใต้ชื่อใหม่ว่า Wolvic
Igalia เป็นบริษัทซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สจากสเปนที่เชี่ยวชาญการพัฒนาเบราว์เซอร์แบบคัสตอม โดยใช้เอนจินหลากหลายทั้ง WebKit, Blink/Chromium, Firefox/Gecko/Servo เน้นไปที่งานสาย embeded (บริษัทเพิ่งออกเบราว์เซอร์ชื่อ Balena ที่ใช้ WebKit)
Mozilla ออก Firefox 96 ตามรอบการออกทุก 6 เดือน เวอร์ชันนี้มีการเปลี่ยนแปลงไม่เยอะนัก ได้แก่
ที่มา - Mozilla
ดิสโทร Linux Mint ประกาศเซ็นสัญญา "เชิงพาณิชย์" กับ Mozilla เพื่อใช้ Firefox เป็นดีฟอลต์เบราว์เซอร์ในแบบที่ Mozilla ต้องการ
ในอดีต Linux Mint ใช้วิธีนำซอร์สโค้ดของ Firefox มาคัสตอมเอง ปรับค่าคอนฟิกต่างๆ โดยเฉพาะการเปลี่ยนหน้าเริ่มต้นเป็น https://www.linuxmint.com/start/ และใช้เสิร์ชเอนจินที่เป็นพาร์ทเนอร์กับ Mint (เช่น Yahoo, DuckDuckGo)
ภายใต้สัญญาใหม่ Linux Mint จะใช้ Firefox เวอร์ชันของ Mozilla เอง ซึ่งให้ประสบการณ์ใช้งานเหมือนกับบน OS อื่นๆ ซึ่ง Mint ระบุว่าลดภาระการดูแลแพ็กเกจ Firefox ของตัวเองลงด้วย การเปลี่ยนแปลงจะมีผลใน Firefox 96 เป็นต้นไปบน Linux Mint 19x, 20, 20.1, 20.2 และ LMDE 4 ส่วน Linux Mint 20.3 ตัวใหม่ล่าสุดเปลี่ยนมาใช้ Firefox ตัวใหม่เรียบร้อยแล้ว
เรื่องมีอยู่ว่า Mozilla ได้ประกาศผ่านทวิตเตอร์ต้อนรับปี 2022 ว่าจะรับเงินบริจาคผ่านช่องทาง BitPay ทำให้ผู้ใช้งานสามารถบริจาคเป็นเงินคริปโตได้อีกวิธีการหนึ่ง
อย่างไรก็ตามมีเสียงคัดค้านตามมา เช่น Jamie Zawinski ผู้ก่อตั้ง Mozilla และ Peter Linss ผู้ออกแบบเอ็นจิน Gecko ที่ Firefox ใช้งานอยู่ เสนอว่า Mozilla ควรหยุดสนับสนุนเงินคริปโต
ล่าสุด Mozilla จึงอัพเดตข้อมูล โดยพูดถึงผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นหนึ่งในเป้าหมายสำคัญขององค์กร Mozilla เองด้วย จึงหยุดรับเงินบริจาคที่เป็นเงินคริปโตชั่วคราว จนกว่าจะหาข้อสรุปในเรื่องนี้ได้
Mozilla เผยข้อมูลของ RLBox เทคนิคการทำ sandbox แบบใหม่ที่จะเริ่มใช้ใน Firefox 95 โดยเป็นความร่วมมือกับงานวิจัยของมหาวิทยาลัย UC San Diego และ University of Texas
เว็บเบราว์เซอร์ยุคปัจจุบันมีการทำ sandbox ห่อหุ้มเว็บไซต์ไว้ในโพรเซสของตัวเอง ป้องกันไม่ให้เว็บอันตรายสามารถเข้าถึงเว็บอื่นๆ หรือออกมาสร้างอันตรายนอกเบราว์เซอร์ได้
Mozilla บอกว่าเมื่อห่อหุ้มเว็บเพจได้แล้ว เป้าหมายต่อไปคือการแยกคอมโพเนนต์แต่ละส่วนของเบราว์เซอร์ ไม่ให้มายุ่งเกี่ยวกันได้ (เช่น แยกโพรเซสประมวลผลวิดีโอออกมา ไม่ต้องยุ่งกับเบราว์เซอร์หลัก) โดยเฉพาะไลบรารีภายนอกที่อาจมีช่องโหว่ แต่ Mozilla ไม่สามารถควบคุมคุณภาพของโค้ดได้เอง (ปํญหา supply-chain attack ที่เกิดขึ้นบ่อยในช่วงหลัง)
Tavis Ormandy จาก Project Zero ของกูเกิลรายงานถึงช่องโหว่ CVE-2021-43527 ในไลบรารี NSS (Network Security Services) สำหรับการเข้ารหัสและตรวจสอบลายเซ็นดิจิทัล ที่ใช้งานในซอฟต์แวร์จำนวนมากโดยเฉพาะ Firefox และ Thunderbird โดยพบช่องโหว่ที่เปิดทางให้แฮกเกอร์สามารถสร้างใบรับรองที่มุ่งร้ายจนรันโค้ดในเครื่องของเหยื่อได้เพียงแค่เปิดอ่านใบรับรอง
ช่องโหว่นี้เกิดจาก struct ที่ชื่อว่า VFYContext ที่เป็นโครงสร้างข้อมูลสำหรับการตรวจสอบใบรับรอง แต่กลับประกาศขนาดของลายเซ็นดิจิทัลไว้จำกัด ทำให้แฮกเกอร์สามารถสร้างใบรับรองที่มีลายเซ็นขนาดใหญ่มากจนล้นหน่วยความจำที่จองไว้ กลายเป็นการโจมตี heap overflow
Mozilla ประกาศปิด Firefox Lockwise แอพจัดเก็บรหัสผ่านบนมือถือ Android/iOS มีผลวันที่ 13 ธันวาคม 2021
Firefox Lockwise เป็นบริการที่แยกออกมาจากตัวจัดเก็บรหัสผ่านของ Firefox โดย Mozilla หวังให้เป็นบริการเสริมเพื่อสร้างรายได้ใหม่ๆ แต่สุดท้ายก็เข็นไม่ขึ้นในฐานะบริการแยกต่างหาก จนต้องตัดสินใจปิดตัว
ส่วนบริการจัดเก็บรหัสผ่านของ Firefox ยังใช้งานได้ตามปกติ ทั้งบนเดสก์ท็อปและบนมือถือ
Mozilla ออก Firefox 94 มีฟีเจอร์ใหม่ที่เป็นนวัตกรรมของวงการเบราว์เซอร์คิอ Colorway เปลี่ยนธีมสีของเบราว์เซอร์ได้ ตอบสนองอารมณ์ (mood) ของผู้ใช้ในแต่ละวัน
Mozilla บอกว่า Firefox มีระบบธีมอยู่แล้ว แต่เลือกใช้คำว่า Colorway เพื่อให้เป็นคำใหม่ สะท้อนถึงชีวิตประจำวันของผู้ใช้ มีความหมายมากกว่าการเปลี่ยนธีมแบบเดิม (เขาพูดแบบนี้จริงๆ นะ)