Sandeep Paruchuri อดีตผู้จัดการฝ่ายผลิตภัณฑ์ของไมโครซอฟท์ ให้สัมภาษณ์กับ Big Bets เล่าถึงประวัติการพัฒนา Cortana แอปผู้ช่วยสั่งงานด้วยเสียง ซึ่งเปิดตัวพร้อมกับ Windows Phone 8.1 ที่ตอนนี้ไมโครซอฟท์ได้ลดบทบาทความสำคัญลง
Bloomberg มีสกู๊ปเล่าประวัติของ Xbox รุ่นแรก และที่มาที่ไปของไมโครซอฟท์ก่อนเข้าสู่วงการเกมเมื่อ 20 ปีก่อน ประเด็นใหม่ในบทความนี้คือ Steve Ballmer ซีอีโอไมโครซอฟท์ในตอนนั้นเคยพยายามซื้อกิจการนินเทนโด แต่ไม่สำเร็จ
เรื่องนี้มาจาก Kevin Bachus อดีตผู้บริหารฝ่ายสานสัมพันธ์บริษัทเกม ที่โดน Ballmer สั่งให้นัดพบนินเทนโดเพื่อสอบถามว่าสนใจขายกิจการหรือไม่ ผลคือผู้บริหารนินเทนโดหัวเราะใส่นานเป็นชั่วโมง
หลังจากนั้นไมโครซอฟท์ยังไม่ละความพยายาม ช่วงต้นปี 2000 ไมโครซอฟท์เชิญตัวแทนของนินเทนโดมาหารือเรื่องการร่วมทุน โดยไมโครซอฟท์จะทำฮาร์ดแวร์และให้นินเทนโดทำเกม (เพราะนินเทนโดทำฮาร์ดแวร์สู้ PlayStation ไม่ได้) แต่ก็ไม่สำเร็จเช่นกัน
สตีฟ บัลเมอร์ อดีตซีอีโอไมโครซอฟท์ ไปพูดที่งาน Code Conference และมองย้อนถึงความผิดพลาดของเขาสมัยเป็นซีอีโอ ที่พาไมโครซอฟท์เข้าตลาดฮาร์ดแวร์ช้าเกินไป
บัลเมอร์บอกว่าสิ่งที่เขามองข้ามไปคือ ฮาร์ดแวร์กลายเป็นตัวถ่ายทอดคุณสมบัติของซอฟต์แวร์ และเขาควรพัฒนาให้ไมโครซอฟท์เป็นบริษัทฮาร์ดแวร์ระดับโลกให้ได้
เขาอ้างงานวิจัยของ Microsoft Research มองว่าในอนาคตระยะยาวจะเหลือเพียงซิลิคอน (ฮาร์ดแวร์) และคลาวด์ (บริการ) เท่านั้น สิ่งที่อยู่ตรงกลางจะถูกหลอมรวมไปกับทั้งสองฝั่ง ไมโครซอฟท์พัฒนาความสามารถในตลาดคลาวด์ได้ดี แต่กลับไม่สามารถทำแบบเดียวกันได้ในฝั่งฮาร์ดแวร์
ในระหว่างการให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าวบลูมเบิร์ก สตีฟ บัลเมอร์ อดีตซีอีโอไมโครซอฟท์เผยว่า เขากับ บิล เกตส์ ผู้ก่อตั้งและอดีตซีอีโอไมโครซอฟท์ มีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องทิศทางกลยุทธ์ของบริษัท รวมถึงความสำคัญของการเข้าสู่ธุรกิจฮาร์ดแวร์ โดยบัลเมอร์นั้นผลักดันแบรนด์ Surface มาก แต่บอร์ดกลับให้การสนับสนุนน้อยมากๆ แต่จุดวิกฤติที่สำคัญคือธุรกิจมือถือนั่นเอง
บัลเมอร์ยังกล่าวว่า เขาเสียดายที่ไม่เข้าสู่ธุรกิจฮาร์ดแวร์เร็วกว่านี้ โดยเฉพาะมือถือที่การขึ้นอยู่กับคู่ค้านั้นไม่ได้ผลเหมือนกับธุรกิจพีซีที่ไมโครซอฟท์เพียงแค่ขายซอฟต์แวร์ให้ผู้ผลิตฮาร์ดแวร์ภายนอก บทสัมภาษณ์ของบัลเมอร์นี้สะท้อนถึงที่ สัตยา นาเดลลา ซีอีโอคนปัจจุบันของบริษัท ซึ่งยอมรับว่าไมโครซอฟท์พลาดในตลาดมือถือไป แต่ก็พยายามไปผลักดันสินค้าประเภทใหม่ๆ แทน
ที่มา: สำนักข่าวบลูมเบิร์ก
สตีฟ บัลเมอร์ อดีตซีอีโอไมโครซอฟท์เปิดเผยระหว่างการให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าว CNBC ว่า เมื่อปี 2010 ไมโครซอฟท์เคยเสนอซื้อเฟซบุ๊กซึ่งยังเป็นบริษัทขนาดเล็กอยู่ในขณะนั้น ที่ 24 พันล้านดอลลาร์ แต่ถูกมาร์ค ซักเคอร์เบิร์ก ผู้ก่อตั้งและซีอีโอปฏิเสธ
บัลเมอร์ยังเผยว่า เขาไม่เคยสนใจที่จะซื้อทวิตเตอร์แต่ประการใด สำหรับการสัมภาษณ์ทั้งหมดนั้นดูได้ที่ CNBC ครับ
Steve Ballmer อดีตซีอีโอไมโครซอฟท์ ให้สัมภาษณ์กับ Business Insider ว่าชีวิตหลังเกษียณอายุของเขาเป็นอย่างไรบ้าง
ปัจจุบัน Ballmer ไม่มีตำแหน่งใดๆ ในไมโครซอฟท์ แต่ยังเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ ส่วนกิจกรรมหลักของเขาคือบริหารทีมบาสเก็ตบอล Los Angeles Clippers ในลีก NBA
Ballmer เล่าว่าความสัมพันธ์ของเขากับไมโครซอฟท์ตอนนี้เป็นเหมือน "คนนอก" (I'm an outsider) เขายังคุยกับซีเอฟโอของไมโครซอฟท์ทุกไตรมาส และคุยกับซีอีโอ Satya Nadella ปีละ 4-5 ครั้ง รวมถึงยังพบเจอเพื่อนเก่าในไมโครซอฟท์บ้างประปราย
Steve Ballmer อดีต CEO ของไมโครซอฟท์ ที่ปัจจุบันเป็นเจ้าของทีมบาสเกตบอล Los Angeles Clippers ได้แสดงความคิดเห็นที่การประชุมผู้ถือหุ้นของไมโครซอฟท์กับ Bloomberg ถึงปัญหาแอพน้อยที่เรื้อรังมานานของ Windows Phone เช่น แอพ Starbucks (หรือถ้าในไทยก็เหล่าแอพของธนาคารต่างๆ)
เขากล่าวว่าแนวทาง Universal App ที่เป็นการเขียนแอพครั้งเดียวสามารถใช้ได้ทั้งบนพีซี, แท็บเล็ต, โทรศัพท์ และ Xbox ที่ไมโครซอฟท์หวังว่าจะช่วยดึงดูดนักพัฒนามาได้ ยังไม่ใช่การตอบโจทย์ที่ถูกต้อง เนื่องด้วยส่วนแบ่งระบบปฏิบัติการอยู่ที่ยังอยู่ในเลขหลักเดียว และควรที่จะทำให้รันแอพจากระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ได้เพื่อแก้ไขปัญหานี้
Marc Benioff ซีอีโอ Salesforce.com เผยที่มาที่ไปของการเป็นพันธมิตรกับไมโครซอฟท์ ในระหว่างการให้สัมภาษณ์กับนิตยสาร Fortune
Steve Ballmer อดีตซีอีโอของไมโครซอฟท์ ให้สัมภาษณ์กับรายการ This Morning ของช่อง CBS หนึ่งในประเด็นที่น่าสนใจก็คือเรื่องของการลาออกจากการเป็นซีอีโอของไมโครซอฟท์ โดย Ballmer ให้กล่าวว่า "ไม่มีใครอยากให้ผมออกจากการเป็นซีอีโอ เรา (ไมโครซอฟท์) สนทนาในเรื่องที่ยากลำบากเกี่ยวกับประเด็นการเข้าซื้อกิจการโนเกีย มันเป็นการตัดสินใจครั้งใหญ่ของบริษัท"
Ballmer ยังเสริมอีกว่า "เรายังมีการสนทนาในแนวนี้อีกมากมาย (some dustup type discussions)" และยังบอกอีกว่า การตัดสินใจลาออกจากการเป็นซีอีโอของไมโครซอฟท์ เกิดขึ้นหลังจากทางบอร์ดอนุมัติดีลของโนเกีย ทั้ง ๆ ที่บอร์ดบริหารยังต้องการให้เขาเป็นซีอีโอของบริษัทต่อไป
ในช่วงที่ Ballmer ใกล้ลาออกจากบริษัทไมโครซอฟท์ เราได้เห็นปฏิกิริยาของเขาที่ออกมาเกี่ยวกับ Windows Phone มาโดยตลอด โดยเขามักจะบอกเสมอว่าเป็นสิ่งที่ "น่าผิดหวัง" สำหรับเขาที่ไม่สามารถนำพาบริษัทไปสู่ตลาดนี้ได้ และเรื่องนี้ก็ถูกพูดถึงอีกครั้งในการให้สัมภาษณ์ครั้งล่าสุดผ่านรายการ CBS This Morning ของสถานีโทรทัศน์ CBS สหรัฐอเมริกา
อดีตซีอีโอของไมโครซอฟท์ Steve Ballmer ออกมาให้สัมภาษณ์ผ่านสื่อว่า ตนเองในฐานะเจ้าของทีมบาสเก็ตบอล LA Clippers สั่งให้ทุกคนในทีม ซึ่งรวมถึงเจ้าหน้าที่ของทีม ผู้ฝึกสอน และผู้เล่นทุกคน เลิกใช้ iPad เป็นที่เรียบร้อยแล้ว
Ballmer ให้สัมภาษณ์กับทาง Reuters ว่า เจ้าหน้าที่และผู้เล่นส่วนใหญ่ของทีมต่างใช้ระบบปฏิบัติการ Windows เป็นหลัก มีเพียงผู้ฝึกสอนและผู้เล่นบางคนเท่านั้นที่ไม่ได้ใช้ โดยเขาได้พูดคุยกับ Doc Rivers ที่เป็นหัวหน้าทีมผู้ฝึกสอน และได้แจ้งแล้วว่าจะไม่ให้ผู้เล่นเหล่านั้นใช้ iPad อีกต่อไป
ทั้งนี้ เคยมีรายงานข่าวมาก่อนหน้านี้ว่า Ballmer ไม่อนุญาตให้คนในครอบครัว ใช้สินค้าของ Apple ไม่ว่าจะเป็น iPhone หรือ iPad
Raymond Chen พนักงานเก่าแก่ของไมโครซอฟท์ โพสต์ลงในบล็อกของ The New Old Thing ใน MSDN ของไมโครซอฟท์เกี่ยวกับเบื้องหลังการพัฒนา Blue Screen of Death โดยย้อนความไปในอดีตเมื่อประมาณ 20 ปีก่อน ในสมัยที่กำลังพัฒนา Windows 3.1 อยู่
เรื่องมีอยู่ว่า Steve Ballmer (ซึ่งตอนนั้นเป็นหัวหน้าแผนกระบบอยู่) ได้เข้าไปหาในทีม เขาได้ดูการเดโมฟีเจอร์ Ctrl+Alt+Delete เขาได้พยักหน้าแล้วบอกไปว่า "มันแจ๋วมากเลย แต่ผมไม่ชอบข้อความเหล่านั้น มันดูเหมือนไม่ใช่ในสิ่งที่ผมต้องการเลย"
สตีฟ บัลเมอร์ อดีตซีอีโอของไมโครซอฟท์ที่ย้ายไปรับตำแหน่งบอร์ดหลังมอบหน้าที่ให้ Satya Nadella ประกาศลาออกจากการเป็นบอร์ดของไมโครซอฟท์แล้ว
บัลเมอร์บอกว่าหลังจากไม่ได้เป็นซีอีโอแล้ว เขาก็ไม่ได้ว่างเลยเพราะไปซื้อทีมบาสเก็ตบอล L.A. Clippers และเริ่มสอนหนังสือตามมหาวิทยาลัย จึงไม่มีเวลาทุ่มเทให้กับการเป็นบอร์ด และอยากลาออกเพื่อไปใช้เวลากับงานใหม่ๆ มากกว่า
บัลเมอร์บอกว่ามั่นใจในอนาคตของไมโครซอฟท์ และจะยังถือหุ้นไมโครซอฟท์เอาไว้ ปัจจุบันบัลเมอร์เป็นผู้ถือหุ้นรายย่อย (ที่ไม่ใช่กองทุน) ที่มีหุ้นของไมโครซอฟท์ในมือมากที่สุด (บิล เกตส์ ขายหุ้นไมโครซอฟท์บางส่วน, สตีฟ บัลเมอร์ กลายเป็นผู้ถือหุ้นอันดับหนึ่ง)
เทศกาลราดน้ำแข็งเทหัวซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของแคมเปญระดมทุนเพื่อต่อสู้โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง (ALS) ยังคงระบาดในโลกไอที และอาจจะลามไปวงการกีฬาแล้ว
หนังสือพิมพ์ L.A. Times รายงานข่าววงในว่าสตีฟ บัลเมอร์ อดีตซีอีโอของไมโครซอฟท์ เตรียมหันไปเอาดีทางกีฬาแทน โดยเขาใกล้ปิดดีลซื้อทีมบาสเก็ตบอล L.A. Clippers ด้วยมูลค่าสูงถึง 2 พันล้านดอลลาร์
ตามข่าวบอกว่ามีกลุ่มทุน 3 กลุ่มกำลังแย่งกันซื้อ L.A. Clippers แต่บัลเมอร์ให้ราคาสูงกว่ากลุ่มอื่นๆ มาก (กลุ่มอื่นเสนอราคา 1.2 และ 1.6 พันล้านดอลลาร์) ส่วนสถิติการซื้อทีมบาสเก็ตบอลแพงที่สุดในสหรัฐคือ Milwaukee Bucks 550 ล้านดอลลาร์ แต่ถ้านับกีฬาทุกประเภทคือทีมเบสบอล Los Angeles Dodgers ที่ 2.1 พันล้านดอลลาร์
บิล เกตส์ เพิ่งประกาศขายหุ้นของไมโครซอฟท์ออกมา 4.6 ล้านหุ้น ผลคือตอนนี้เขามีหุ้นไมโครซอฟท์เหลือ 330.1 ล้านหุ้น กลายเป็นผู้ถือหุ้นอันดับสองของไมโครซอฟท์ น้อยกว่าอดีตซีอีโอสตีฟ บัลเมอร์ ที่มีอยู่ 333 ล้านหุ้น (ถือเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์บริษัทไมโครซอฟท์ที่บิล เกตส์ ไม่ได้เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่อันดับหนึ่ง)
การขายหุ้นของบิล เกตส์ ไม่ใช่เรื่องใหม่ เพราะเขาค่อยๆ ทยอยขายหุ้นไมโครซอฟท์ทุกปีเพื่อนำเงินมาใช้กับมูลนิธิ Bill & Melinda Gates Foundation ของเขาและภรรยา
นิตยสาร BusinessWeek ตีพิมพ์เบื้องลึกเบื้องหลังของการเปลี่ยนผ่านซีอีโอจาก Steve Ballmer เป็น Satya Nadella โดยอิงข้อมูลจากแหล่งข่าวหลายราย ขอเรียบเรียงสิ่งที่น่าสนใจตามลำดับเวลา ดังนี้
แหล่งข่าวระบุว่า Ballmer เป็นคนที่ "พูดมากกว่าฟัง" และตลอดทศวรรษที่ผ่าน บอร์ดก็ยอมตามที่อดีตซีอีโอขอทุกอย่าง จนกระทั่งเมื่อมีบุคคลนอกบริษัทคือ John Thompson และ Steve Luczo (ซีอีโอของซีเกต) เข้ามาเป็นบอร์ดด้วย ทั้งสองก็เริ่มรวมตัวกับบอร์ดท่านอื่นท้าทาย Ballmer รวมถึงกดดันให้อดีตซีอีโอผลักดันบริษัทให้เดินเร็วขึ้นเพื่อแข่งกับแอปเปิล กูเกิล และบริษัทอื่นที่ครอบงำเทคโนโลยีด้านโมบายอยู่
หลังจากหาผู้สืบทอดตำแหน่งซีอีโอได้ สตีฟ บัลเมอร์ ก็เขียนอีเมลถึงพนักงานไมโครซอฟท์ทุกคนเพื่อสั่งลา
บัลเมอร์พูดถึงซีอีโอใหม่ Satya ว่าเป็นผู้นำที่พิสูจน์ตัวเองแล้วว่ามีทักษะด้านเทคนิคที่แข็งแรง และมีมุมมองด้านธุรกิจควบคู่กันไปด้วย เขาสามารถเห็นทิศทางของตลาดว่าจะมุ่งไปทางไหน โอกาสทางธุรกิจคืออะไร และรู้ว่าจะนำพาไมโครซอฟท์ไปสู่จุดนั้นได้อย่างไร บัลเมอร์บอกว่าเขาทำงานกับ Satya มานานหลายปี และเขาเห็นความสามารถเหล่านี้ในตัวของ Satya หลายต่อหลายครั้ง
สตีฟ บัลเมอร์ ซีอีโอของไมโครซอฟท์ให้สัมภาษณ์กับ ZDNet ถึงยุทธศาสตร์ด้านฮาร์ดแวร์ของบริษัท โดยไมโครซอฟท์มองว่าการลงมาทำฮาร์ดแวร์เองถือเป็นการขยาย "ศักยภาพ" ทางเทคโนโลยี (build new capacity) ตามสภาพแวดล้อมของอุตสาหกรรมที่เปลี่ยนไป
บัลเมอร์ยกตัวอย่างว่าในอดีตไมโครซอฟท์ก็ปรับตัวโดยเปลี่ยนจากการทำระบบปฏิบัติการอย่างเดียว มาทำแอพพลิเคชันทางธุรกิจ และขยายมาเป็นบริการ ล่าสุดมาทำฮาร์ดแวร์ จากเดิมที่หารายได้จากการเก็บค่าลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ ก็กลายมาเป็นการเก็บค่าลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์+ขายฮาร์ดแวร์
ไม่รู้ว่านี่เป็นการฝากข้อความไปถึง Stephen Elop ที่อยากขาย Xbox กำจัด Bing หรือไม่นะครับ แต่ในการประชุมผู้ถือหุ้นของไมโครซอฟท์เมื่อวานนี้ ซีอีโอ สตีฟ บัลเมอร์ ก็พูดถึงความสำคัญของผลิตภัณฑ์ทั้งสองอย่างนี้ต่อไมโครซอฟท์ด้วย
บัลเมอร์ยกตัวอย่าง Xbox One ว่าเป็นการผนวกเอา "บริการ" ของบริษัทอย่าง Bing และ SkyDrive มาสู่อุปกรณ์ที่เป็นฮาร์ดแวร์ โดยเขาบอกว่ามันเป็นภาพสะท้อนว่าถ้าไมโครซอฟท์ทั้งบริษัทรวมกันเป็นหนึ่งใต้วิสัยทัศน์เดียวกันแล้วจะสร้างผลิตภัณฑ์ที่มีนวัตกรรมใหม่ๆ แบบนี้ได้
ส่วน Bing นั้น บัลเมอร์ก็บอกว่ามันช่วยทดสอบและพัฒนาบริการด้านกลุ่มเมฆอย่าง Azure ให้กับไมโครซอฟท์เช่นกัน
Wall Street Journal มีบทสัมภาษณ์เบื้องหลังการตัดสินใจลงจากตำแหน่งซีอีโอของสตีฟ บัลเมอร์ ที่เกิดจากความตั้งใจเปลี่ยนแปลงไมโครซอฟท์ของเขาเอง แต่การเปลี่ยนแปลงกลับเกิดขึ้นได้ช้ากว่าที่เขาคาด จนเขารู้สึกว่าปัญหาส่วนหนึ่งก็เกิดจากตัวเขาเองด้วยและตัดสินใจออกจากตำแหน่งเพื่อเร่งให้การเปลี่ยนแปลงเร็วขึ้น
เหตุการณ์เริ่มขึ้นเมื่อปีที่แล้ว ที่บัลเมอร์เริ่มคิดถึงการยกเครื่องไมโครซอฟท์ครั้งใหญ่ (ต้นฉบับใช้คำว่า reboot) เขาปรึกษากับ Allan Mulally ซีอีโอของ Ford ในช่วงคริสต์มาสเป็นเวลา 4 ชั่วโมง โดยบัลเมอร์นำสินค้าของไมโครซอฟท์และคู่แข่งไปขอความเห็นจาก Mulally และ Mulally ก็เล่าให้บัลเมอร์ฟังว่าเขาพลิกฟื้นกิจการของ Ford ด้วยการทำงานเป็นทีมและการทำให้แบรนด์ของ Ford เรียบง่ายขึ้น
สตีฟ บัลเมอร์ เขียนจดหมายประจำปีถึงผู้ถือหุ้นของไมโครซอฟท์ (และแน่นอนว่าเป็นจดหมายฉบับสุดท้ายของเขาในฐานะซีอีโอ) มีประเด็นที่น่าสนใจดังนี้
ไม่บ่อยครั้งนักที่ผู้บริหารระดับสูงขององค์กรจะมาแสดงเป็นตัวละคร หรือทำอะไรแปลกไปจากการใส่สูท ยืนพูดบนเวที รักษาภาพลักษณ์ขององค์กร เพื่อความน่าเชื่อถือ
วีดีโอนี้คาดว่าเป็นวีดีโอภายในองค์กร โดยในคลิปมีตัวละครเป็น ดร.อีวิล แสดงโดยสตีฟ บอลเมอร์ และ ออสติน แสดงโดยบิลเกต ลองมาชมว่าฝีมือการแสดงเป็นอย่างในได้ในคลิปท้ายลิงค์ครับ
รายละเอียดเชิญชมได้ในลิงค์
ที่มา businessinsider.com
สำนักข่าวรอยเตอร์เพิ่งรายงานว่านักลงทุนพยายามล็อบบี้บอร์ดไมโครซอฟท์เพื่อกดดันให้ Bill Gates ลงจากประธานบอร์ด เนื่องจากเขามีผลต่อการตัดสินใจและการทำงานของบริษัทจนอาจทำให้การเปลี่ยนแผนธุรกิจใหม่ๆ มีปัญหา และจะทำให้ผู้บริหารคนใหม่เปลี่ยนแปลงบริษัทได้ยาก แต่ล่าสุดรอยเตอร์รายงานว่าจาก proxy filing ประจำปีที่มีการเปิดเผยออกมาเมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา ทั้ง Gates และ Steve Ballmer อยู่ในรายชื่อที่บอร์ดไมโครซอฟท์จะเลือกกลับมาเป็นคณะกรรมการอีกครั้ง และมีความเป็นไปได้สูงมากที่ผู้ถือหุ้นจะเลือกทั้งสองกลับมาในการประชุมประจำปีในวันที่ 19 พ.ย. นี้
ไมโครซอฟท์มีธรรมเนียมการจัดประชุมใหญ่ประจำปีของบริษัท ที่เชิญพนักงานเข้าร่วมรับฟังผู้บริหารระดับสูงบอกเล่ายุทธศาสตร์ของบริษัทในอีก 1 ปีข้างหน้า
แต่การประชุมของปีนี้พิเศษหน่อยเพราะเป็นการประชุมครั้งสุดท้ายที่สตีฟ บัลเมอร์ จะขึ้นเวทีในฐานะซีอีโอ (หลังอยู่กับบริษัทมานาน 33 ปี)