เวลาเข้าไปค้นหางานวิจัยในเว็บไซต์ NASA อาจต้องปวดหัวกับข้อมูลงานวิจัยจำนวนมากที่ถาโถมเข้ามา ล่าสุด NASA เปิดช่องทางค้นหางานวิจัยใหม่อีกช่องทางชื่อว่า PubSpace ที่ทางสถาบันหวังว่าจะช่วยให้ผู้ใช้ค้นหางานวิจัยง่ายกว่า รวมถึงเป็นการเผยแพร่งานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ให้คนเข้าถึงได้มากขึ้น ไม่เป็นงานขึ้นหิ้งอย่างเดียว
PubSpace คือแหล่งรวมงานวิจัยทั้งของนาซ่าเอง และของสถาบันต่างๆที่สนับสนุนโดยนาซ่า แบ่งเป็นหมวดหมู่ตามสถาบันที่ทำการวิจัย แต่ก่อนจะเข้าถึงไฟล์ได้ต้องลงทะเบียนยืนยันตัวตนก่อนเพราะเป็นเว็บไซต์ของหน่วยงานรัฐบาล ทุกงานวิจัยเปิดให้ดาวน์โหลดฟรี งานแต่ละชิ้นมีอายุ 1 ปีหลังจากเผยแพร่ผ่านเว็บไซต์แล้ว
เดือนกรกฎาคมโดยปกติเป็นช่วงที่ร้อนที่สุดในรอบปีของทั่วโลก ซีกโลกเหนือมีมวลดินมากกว่าซีกโลกใต้ ซึ่งมวลดินทำให้เกิดความร้อนเร็วกว่า ล่าสุดองค์การนาซ่าระบุ กรกฎาคมปีนี้ร้อนที่สุดเท่าที่เคยบันทึกมาตั้งแต่ปี 1880 อุณหภูมิสูงกว่าค่าเฉลี่ยรวม 0.55 ดีกรี
ในอเมริกาเหนือ ทางตอนใต้รวมถึงมลรัฐเท็กซัสและทางตอนเหนือของเม็กซิโกจะร้อนที่สุดในภูมิภาค สาเหตุที่ร้อนขึ้นเพราะสภาพความแปรปรวนทางอากาศและกิจกรรมของคนก็มีส่วนสำคัญให้อุณหภูมิโลกร้อนขึ้นได้
ที่มา - The Weather Channel
มนุษยชาติไปเยือนดวงจันทร์สำเร็จด้วยยาน Apollo 11 ในปี 1969 เบื้องหลังความสำเร็จของภารกิจนี้มีระบบคอมพิวเตอร์ควบคุมยานอวกาศ Apollo Guidance Computer (AGC) ที่พัฒนาโดย MIT Instrumentation Laboratory อยู่ด้วย ซึ่งถือเป็นความก้าวหน้าอย่างมากของวิทยาการคอมพิวเตอร์ในยุคนั้น
โค้ดทั้งหมดของ AGC ยังถูกพิมพ์ลงในกระดาษ และหลงเหลือมาอยู่ถึงปัจจุบัน โดยสถาบัน MIT สแกนเอกสารทั้งหมดเผยแพร่ผ่านอินเทอร์เน็ต และมีคนพยายามถอดภาพเหล่านั้นกลับมาเป็นโค้ดอีกครั้งด้วยมือ อย่างไรก็ตาม คุณภาพของการสแกนมีจุดบกพร่องทำให้ภาพไม่ชัดเจนนัก จนส่งผลให้โครงการล่าช้าไปพอสมควร
กลุ่ม AnonSec อ้างว่าสามารถแฮกเข้าสู่เซิร์ฟเวอร์ของนาซ่าได้ และดาวน์โหลดข้อมูลได้ถึง 250GB เป็นรายชื่อพนักงานของนาซ่า 2,414 คน รายการบินของเครื่องบินนาซ่า 2,143 รายการ รวมถึงวิดีโอบันทึกการบินอีก 631 ชุด
ทางกลุ่มอ้างว่าซื้อช่องทางเข้าถึงเครือข่ายมาจากกลุ่มแฮกเกอร์จีนอีกทีหนึ่ง และเจาะเข้าไปจนถึงเซิร์ฟเวอร์ของโครงการ Global Hawk โดรนสำรวจและพบข้อมูลการบินในอดีตและอนาคต ทางกลุ่ม AnonSec จึงเปลี่ยนแผนการบินเพื่อหลอกให้โดรนบินไปตกกลางทะเล แต่เจ้าหน้าที่รู้ตัวและบังคับโดรนด้วยมือเสียก่อน
ความหวังที่เราจะได้เห็นจรวดที่ประกอบจากเครื่องพิมพ์สามมิติใกล้เป็นจริงเข้าไปอีกนิด เมื่อไม่กี่อาทิตย์ที่ผ่านมา NASA ประสบความสำเร็จในการทดสอบเครื่องยนต์จรวดที่มีชิ้นส่วนผลิตมาจากเครื่องพิมพ์สามมิติเรียบร้อยแล้ว
การทดสอบเครื่องยนต์ดังกล่าวเกิดขึ้นที่ Marshall Space Flight Center โดยเครื่องยนต์จรวดใช้ส่วนประกอบที่ผลิตมาจากเครื่องพิมพ์สามมิติถึง 75% การทดสอบผ่านไปได้ด้วยดี ใช้เชื้อเพลิงเป็นไฮโดรเจนเหลวและตัวช่วยในการเผาไหม้เป็นออกซิเจนเหลว เครื่องยนต์จรวดเผาไหม้เชื้อเพลิงได้ 3,315 องศาเซลเซียส และทดสอบนานถึง 10 วินาที
Larry Zottarelli โปรแกรมเมอร์ผู้ดูแลซอฟต์แวร์ของยานวอยเอเจอร์ที่ยิงขึ้นจากโลกไปตั้งแต่ปี 1977 กำลังจะเกษียณอายุด้วยวัย 80 ปีในเร็วๆ นี้ หลังทำงานในโครงการนี้ต่อเนื่องตั้งแต่ก่อนยานยิงขึ้นไป และเขาเป็นโปรแกรมเมอร์คนเดียวในตอนนี้ที่ทำงานตั้งแต่ก่อนยานยิงขึ้นสู่อวกาศ โปรแกรมเมอร์คนอื่นๆ เกษียณอายุไปก่อนหน้าหรือบางคนก็เสียชีวิตไปแล้ว
ในช่วงเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา ไมโครซอฟท์ได้ส่งอุปกรณ์สุดล้ำของตัวเองอย่าง HoloLens ขึ้นไปบนสถานีอวกาศนานาชาติ (ISS) ผ่านยานขนส่งของ SpaceX ที่ถึงแม้ท้ายที่สุดจรวดที่จะนำ HoloLens ขึ้นไปบนอวกาศนั้นจะเกิดระเบิดขณะปล่อยตัว แต่ดูเหมือนไมโครซอฟท์จะยังไม่ยอมแพ้และเตรียมทำการส่งขึ้นอวกาศอีกครั้ง
ในครั้งนี้การขนส่งจะทำการส่ง HoloLens จำนวน 2 ตัวไปกับจรวดขนส่งทรัพยากรของ Orbital Sciences เพื่อไปที่สถานีอวกาศนานาชาติ และมีกำหนดการในการปล่อยตัวในวันที่ 3 ธันวาคม
ท่ามกลางกระแสฮือฮากับข่าวการสำรวจดาวพลูโตของยาน New Horizons ที่เพิ่งมีรายการถ่ายทอดสดช่วงเวลาที่ยานเดินทางเข้าใกล้ดาวพลูโตมากที่สุดพร้อมส่งรูปถ่ายดาวพลูโตกลับมาให้ชาวโลกได้ชม (แต่ดันมีเกรียนไทยไปป่วนงาน) มีความจริงที่น่าสนใจว่าการทำงานของ New Horizons นี้อาศัยการควบคุมโดยซีพียู MIPS R3000 รุ่นเดียวกันกับที่ใช้ในเครื่องเล่นเกม PS1 ของ Sony
วันนี้ หน้ายูทูบขององค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติ หรือนาซ่าได้ถ่ายทอดสดทางยูทูบ เกี่ยวกับกรณียานฮอไรซันส์บินเข้าใกล้ดาวพลูโตมากที่สุดหลังจากใช้เวลาเดินทางมากกว่า 9 ปี แต่แล้วก็มีผู้ใช้ชาวไทยบางส่วนเข้าไปฟลัดข้อความ (ส่งข้อความซ้ำๆ) เพื่อก่อกวนหน้าถ่ายทอดสดดังกล่าว ทำให้ผู้ใช้ที่เข้ามาถามคำถามกับนาซ่าถูกก่อกวนอยู่ตลอดช่วงรายการ
ณ เวลาที่เขียนข่าว (21.20น.) ก็ยังพบว่ายังมีผู้ใช้ชาวไทยเข้าไปฟลัดข้อความกันอย่างสนุกสนานโดยไม่สนใจความเห็นที่ต่อว่าพฤติกรรมดังกล่าวแต่อย่างใด แม้ว่ารายการจะจบไปแล้วก็ตาม
หลังจากที่ไมโครซอฟท์ประกาศแผนส่งแว่น HoloLens ให้นักบินอวกาศบน ISS ใช้งาน วันนี้เกิดข้อผิดพลาดที่ทำให้ต้องชะลอแผนนี้ออกไปก่อนเนื่องมาจากการระเบิดของจรวด Falcon 9 ของ SpaceX ที่ใช้ในการส่ง HoloLens
สินค้ายังไม่ทันออกขายจริง แต่ไมโครซอฟท์ก็เริ่มเดินหน้าสร้างพันธมิตรใช้แว่น HoloLens แล้ว พันธมิตรของไมโครซอฟท์คือ NASA ที่จะนำแว่นตัวนี้ไปให้นักบินอวกาศบนสถานีอวกาศนานาชาติ (ISS) ใช้งาน
โครงการนี้ชื่อว่า Project Sidekick โดยไมโครซอฟท์จะส่งแว่น 2 อันไปกับยานขนส่งอวกาศของบริษัท SpaceX ที่จะขึ้นไปยัง ISS ในวันที่ 28 มิถุนายนนี้ ส่วนรูปแบบการใช้งานแบ่งเป็น 2 อย่างคือ
เก็บตกโครงการน่าสนใจจาก NASA ที่ประกาศมาตั้งแต่สัปดาห์ที่แล้วอย่าง การแข่งขันออกแบบที่อยู่อาศัยสำหรับใช้ในการตั้งรกรากบนดาวอังคารที่ NASA วางแผนว่าจะเริ่มต้นภายในปี 2035
ตามแผนที่ออกมา ทาง NASA หวังว่าจะส่งคนไปจำนวนหนึ่ง แต่ด้วยขนาดที่จำกัดทำให้ไม่สามารถขนอุปกรณ์สำหรับก่อสร้างเข้าไปได้มากพอ จึงจะใช้การสร้างที่อยู่อาศัยจากวัตถุดิบบนดาวอังคาร ร่วมกับชิ้นส่วนที่รีไซเคิลจากยานอวกาศในการสร้างที่อยู่แทน
ตามโจทย์ที่ตั้งไว้ ผู้เข้าร่วมต้องออกแบบที่อยู่อาศัยขนาด 1,000 ตารางฟุต ซึ่งใช้วัตถุดิบ และวิธีการตาม NASA กำหนด ซึ่งหนึ่งในนั้นมีการใช้เครื่องพิมพ์สามมิติเข้ามาร่วม เพื่อชิงรางวัลรวมกว่า 2 ล้านเหรียญ
เดิมทีนั้นภาพถ่ายอวกาศที่มาจากองค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติหรือนาซานั้นถือเป็นผลงานของรัฐ ภาพเหล่านั้นจึงถือเป็นสาธารณสมบัติที่ใครก็ได้สามารถคัดลอกหรือนำไปใช้งานได้อิสระโดยปราศจากเงื่อนไข ทางนาซานั้นก็มีการปล่อยภาพที่จัดทำขึ้นมาอย่างสม่ำเสมอตามช่องทางต่างๆ หน้า Flickr ของนาซา อยู่แล้ว แต่กฎหมายก็ไม่ได้ระบุไว้ชัดเจนว่าผลงานที่ทำร่วมกับบริษัทเอกชนนั้นว่าจะต้องมีสัญญาอนุญาตแบบใด
Google ลงนามต่อสัญญาเช่าใช้พื้นที่บริเวณลานบิน Moffett ของ NASA ยาวไปอีก 60 ปี เพื่อใช้สถานที่นั้นสร้างศูนย์วิจัยของบริษัท
ในปัจจุบัน Google ได้เช่าใช้พื้นที่ดังกล่าวมานานหลายปีเพื่อใช้งานเป็นที่ขึ้น-ลงสำหรับเครื่องบินเจ็ทส่วนตัวของบริษัท แต่ล่าสุด Google ก็ตัดสินใจต่อสัญญาเช่าใช้พื้นที่นี้ไปอีก 60 ปี โดยจะจ่ายเงินให้แก่ NASA เป็นจำนวน 1.16 พันล้านดอลลาร์ และในขณะเดียวกันการปล่อยให้ Google เช่าใช้พื้นที่ครั้งนี้จะช่วยให้ NASA สามารถลดค่าใช้จ่ายเพื่อบำรุงรักษาสถานที่ได้อีกปีละ 6.3 ล้านดอลลาร์
Google ได้เล่าความคืบหน้าของการพัฒนารถยนต์ไร้คนขับของตนเอง หลังจากที่ได้เผยโฉมหน้าตารถยนต์รุ่นต้นแบบเวอร์ชันทำเองมาให้เห็นกันสักพักแล้ว (ก่อนหน้านี้ Google ใช้วิธีการดัดแปลงรถยนต์ที่มีวางจำหน่ายในท้องตลาดมาติดตั้งเซ็นเซอร์และระบบซอฟต์แวร์เพิ่มเข้าไป) โดยล่าสุดกำลังจะมีการนำรถรุ่นต้นแบบนี้ไปทดสอบในพื้นที่ศูนย์วิจัยของ NASA
หลายๆ คนน่าจะยังจำกันได้กับ Project Tango ซึ่ง NASA เคยเตรียมส่งหุ่นยนต์จากโครงการนี้ขึ้นสู่อวกาศมาก่อนแล้ว ล่าสุดทาง NASA ได้กำหนดวันที่จะส่งหุ่นยนต์ขึ้นไปยังสถานีอวกาศนานาชาติหรือ ISS เป็นวันที่ 11 กรกฎาคมนี้
โดยทาง NASA จะติดตั้งสมาร์ทโฟนที่อยู่ในโครงการ Project Tango เข้าไปกับหุ่นยนต์ SPHERES เพื่อใช้ในการช่วยเหลือภารกิจต่างๆ ของนักบินอวกาศ รวมถึงใช้ปฏิบัติภารกิจเสี่ยงภัยในอวกาศได้อีกด้วย
สำหรับรายละเอียดที่น่าสนใจเพิ่มเติมเกี่ยวกับโครงการนี้ สามารถรับชมได้ท้ายข่าวครับ
หากว่าในอนาคตมนุษย์เราจะต้องไปอาศัยอยู่บนดวงจันทร์ เราจะติดต่อใช้งานอินเทอร์เน็ตบนโลกได้หรือไม่? คำถามนี้มีคำตอบแล้วเมื่อนักวิจัยจาก MIT และ NASA ได้ทำการทดลองเชื่อมต่อสัญญาณอินเทอร์เน็ตสู่ดวงจันทร์
การส่งข้อมูลสู่ดวงจันทร์ในการทดลองนี้ มิได้ใช้การส่งสัญญาณด้วยแรงดันไฟฟ้าดังเช่นสัญญาณอินเทอร์เน็ตที่ส่งตามสายสัญญาณแบบที่ใช้กัน ทั้งยังมิใช่การส่งด้วยคลื่นวิทยุ หากแต่เป็นการส่งสัญญาณแบบไร้สายอีกวิธีหนึ่ง นั่นคือการใช้แสงเลเซอร์
NASA ร่วมมือกับบริษัทผลิตของเล่นเพื่อการเรียนรู้ littleBits สร้างชุดของเล่นเพื่อให้เด็กๆ ที่ฝันอยากเป็นนักบินอวกาศสามารถเรียนรู้และเข้าใจการปฏิบัติภารกิจในอวกาศด้วยชุดวงจรตัวต่อที่สามารถนำมาต่อเป็นวงจรต่างๆ ให้ทำงานตามที่ต้องการได้โดยไม่ต้องเขียนโปรแกรม
ตัวต่อของ littleBits จะยึดติดกันได้ด้วยแม่เหล็กโดยแต่ละตัวจะมีหน้าที่ต่างๆ เช่น เซ็นเซอร์แสง, หลอดอินฟราเรด, มอเตอร์, สวิตช์, จอแสดงตัวเลข เป็นต้น บนเว็บไซต์จะมีโปรเจคต่างๆ ทั้งจาก littleBits เองและจากผู้ใช้คนอื่น ตัวอย่างโปรเจคเช่น กีตาร์ไฟฟ้า, รถของเล่นควบคุมด้วยรีโมท, ป้ายไฟ ฯลฯ โดยสิ่งที่ littleBits ทำให้ NASA ก็คือการนำตัวต่อมารวมกันเป็นชุดตัวต่อ “Space Kit” ซึ่งประกอบไปด้วยตัวต่อ 12 ตัวพร้อมบทเรียนและอุปกรณ์เสริมต่างๆ
NASA เตรียมส่งเครื่องต้นแบบของ Project Tango ที่พัฒนาโดย Google ATAP (หน่วยงานวิจัยหน่วยหนึ่งของ Google) ขึ้นสู่สถานีอวกาศนานาชาติปลายเดือนพฤษภาคมนี้
สมาร์ทโฟนต้นแบบจำนวน 2 เครื่องจะถูกส่งขึ้นไปยังสถานีอวกาศนานาชาติ พร้อมกับอุปกรณ์และสัมภาระอื่น โดยตัวสมาร์ทโฟนของ Project Tango นี้จะถูกดัดแปลงติดตั้งเข้ากับ Sphere ซึ่งเป็นหุ่นยนต์เคลื่อนที่อัตโนมัติทรง 18 เหลี่ยมขนาดประมาณลูกฟุตบอล โดยแบตเตอรี่ Li-ion จะถูกถอดออกและใช้แบตเตอรี่ขนาด AA จำนวน 6 ก้อนแทน ส่วนชิปของระบบการโทรก็ถูกถอดออกเช่นกัน และมีการเพิ่มแผ่นปิดครอบหน้าจอเพื่อป้องกันการแตกเมื่อเกิดการกระแทกของ Sphere
หลังจากเมื่อวานนี้ทางรัฐบาลกลางสหรัฐอเมริกาได้ประกาศมาตรการ Government Shutdown ออกมา เพราะไม่สามารถพิจารณาจัดสรรงบประมาณปี 2557 ได้ทัน ทำให้ไม่มีงบประมาณมาดูแลส่วนงานของภาครัฐได้ มีผลให้หน่วยงานราชการหลายแห่งต้องหยุดให้บริการไปโดยปริยาย ซึ่งวันนี้เว็บไซต์ขององค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติ (NASA) ต้องปิดบริการชั่วคราว
โดยในหน้าแรกของเว็บไซต์ nasa.gov จะไม่มีข้อมูลแสดงแต่จะลิงก์ไปที่หน้าของ notice.usa.gov แทนและขึ้นข้อความแจ้งหยุดให้บริการในระหว่างที่รัฐบาลกลางประกาศมาตรการ Government Shutdown โดยไม่ได้แจ้งให้ทราบว่าจะกลับมาเปิดให้บริการเมื่อไหร่ ทั้งนี้ยังพบเว็บไซต์หน่วยงานภาครัฐด้านธรณีวิทยา (USGS) ก็หยุดให้บริการเช่นกัน
กูเกิลประกาศความร่วมมือกับศูนย์วิจัย NASA Ames Research Center เปิดห้องวิจัย Quantum Artificial Intelligence Lab มาวิจัยด้านปัญญาประดิษฐ์ด้วยเทคโนโลยี "ควอนตัมคอมพิวเตอร์"
ห้องวิจัยแห่งนี้จะใช้ควอนตัมคอมพิวเตอร์จากบริษัท D-Wave (อ่านรายละเอียดในข่าว Quantum Computer เริ่มวางขายแล้ว) เพื่อศึกษาว่าเทคโนโลยีด้านควอนตัมคอมพิวติงจะช่วยพัฒนาการวิจัยด้านการเรียนรู้ของเครื่องจักร (machine learning) ได้อย่างไร
Google ได้เพิ่มแผนที่ชุดใหม่เข้าสู่โครงการ Google Earth Engine แสดงภาพถ่ายดาวเทียมในบางพื้นที่เปรียบเทียบตามช่วงเวลาต่างๆ โดยใช้ภาพจากดาวเทียมของ NASA ที่เก็บรวบรวมไว้ตั้งแต่ปี 1984
ภาพถ่ายดังกล่าวมาจากดาวเทียม Landsat ซึ่งจากการปฏิบัติงานมายาวนานเกือบ 30 ปี ได้มีการเก็บรวบรวมภาพถ่ายพื้นที่ทั่วทุกมุมบนโลกไว้เป็นจำนวนมาก โดยมีขนาดข้อมูลรวมกันมากถึง 900TB
หมายเหตุ: ข่าวนี้หมายถึงพีซีบนสถานีอวกาศนานาชาติ ไม่ใช่คอมพิวเตอร์ระบบควบคุมสถานีอวกาศนานาชาตินะครับ
NASA ประกาศเปลี่ยนระบบปฏิบัติการสำหรับคอมพิวเตอร์พีซีบนสถานีอวกาศนานาชาติ (ISS) จากวินโดวส์มาเป็นลินุกซ์ โดยให้เหตุผลด้านเสถียรภาพและความน่าเชื่อถือ รวมถึงความสามารถในการแก้ไขและควบคุมระบบจากระยะไกล
นักบินอวกาศบนสถานีอวกาศนานาชาติจะได้ใช้พีซีที่ติดตั้งระบบปฏิบัติการ Debian 6 และยังไม่มีแผนจะเปลี่ยนเป็น Debian 7 ที่เพิ่งออกเมื่อสัปดาห์ก่อน
NASA จับมือกูเกิลจัด Google+ Hangout จากนอกโลกเป็นครั้งแรก โดยผู้สนใจสามารถร่วมพูดคุยกับนักบินอวกาศบนสถานีอวกาศนานาชาติแบบสดๆ ในวันที่ 22 กุมภาพันธ์นี้ เวลา 11.00 GMT-5 (23.00 ของบ้านเรา)
NASA แนะนำให้ผู้สนใจส่งวิดีโอคำถามสั้นๆ 30 วินาทีก่อนวันที่ 12 กุมภาพันธ์ (ใส่แท็ก #askAstro) และ NASA จะคัดเลือกวิดีโอบางอันไปถามนักบินอวกาศ นอกจากนี้ยังเปิดรับคำถามทั่วๆ ไป (ไม่ใช่วิดีโอ) แบบสดๆ ทั้งจาก Twitter/Facebook/Google+
นักบินอวกาศที่จะมาสนทนาผ่าน Hangout มีสามคน ได้แก่ Kevin Ford, Chris Hadfield และ Tom Marshburn
ที่มา - +NASA
แฮกเกอร์กลุ่ม Ghostshell ทำการเผยแพร่ฐานข้อมูลของนาซา เพนตากอน เอฟบีไอ รวมไปถึงองค์การอวกาศแห่งยุโรป (ESA) จำนวนกว่า 1.6 ล้านรายการ โดยอ้างว่าเป็นผลจากการปฏิบัติการภายใต้โครงการที่ชื่อว่า ProjectWhiteFox แฮกเกอร์กลุ่มนี้ยังอ้างอีกด้วยว่าปฏิบัติการใช้เวลากว่าหนึ่งปีโดยได้รับการสนับสนุนจากกลุ่มแฮกเกอร์ทั่วโลกด้วย