เว็บไซต์ 9to5Google รายงานการพบไฟล์ Fuchsia SDK และ Android Emulator ใน repo บน Android Open Source Project (AOSP) ระบุ Fuchsia OS ใหม่ของกูเกิล จะสามารถรองรับแอป Android ด้วย ART (Android Runtime) เวอร์ชันพิเศษสำหรับ Fuchsia OS เพื่ออ่านไฟล์ .far ซึ่งเทียบเท่าไฟล์ .apk ของ Android
ภายใน AOSP ยังพบข้อมูลคำอธิบายของกูเกิลในไฟล์ README.md ด้วยว่า Fuchsia OS รองรับทั้งสถาปัตยกรรม x86 และ ARM64 ด้วยดังนี้
ไมโครซอฟท์ออก Windows 10 Insider Preview Build 18309 รุ่นทดสอบตัวแรกของปี 2019
ของใหม่ที่สำคัญเป็นการปรับฟีเจอร์ด้านการล็อกอินที่เริ่มเพิ่มเข้ามาใน Build 18305 ตัวก่อนหน้านี้ ให้ใช้ได้กับ Windows 10 ทุก edition (ตัวก่อนหน้านี้มีเฉพาะรุ่น Home)
สิ่งที่น่าสนใจคือไมโครซอฟท์ปรับให้บัญชี Microsoft Account สามารถใช้งานได้แบบไม่ต้องมีรหัสผ่านอีกแล้ว โดยผู้ใช้สามารถสร้างบัญชี Microsoft Account ด้วยหมายเลขโทรศัพท์เพียงอย่างเดียว แล้วล็อกอินด้วยโค้ดจาก SMS แทนรหัสผ่านแบบเดิม ไมโครซอฟท์เรียกมันว่า password-less phone number account
สถิติจาก Net Applications ในเดือนธันวาคม 2018 ระบุว่าส่วนแบ่งตลาดระบบปฏิบัติการของผู้ใช้เน็ต Windows 10 แซงหน้า Windows 7 ได้สำเร็จแล้ว
ตัวเลขล่าสุดของ Windows 10 ในเดือนล่าสุดอยู่ที่ 39.22% ของระบบปฏิบัติการเดสก์ท็อปทั้งหมด ส่วน Windows 7 อยู่ที่ 36.90%
ถ้าแยกตามระบบปฏิบัติการอย่างเดียว (รวมทุกเวอร์ชัน) Windows มีส่วนแบ่งตลาด 86.20%, mac OS 10.65%, Linux 2.78%, Chrome OS 0.32%
อย่าลืมว่า Windows 7 เหลืออายุซัพพอร์ตปีสุดท้ายแล้ว โดยจะหมดอายุอย่างถาวรในวันที่ 14 มกราคม 2020
ประเด็นสำคัญของโลกไอทีปี 2019 ที่ต้องจับตาคือ Windows 7 จะหมดระยะซัพพอร์ตในวันที่ 14 มกราคม 2020 เท่ากับว่าเราเหลือเวลาอีก 1 ปีพอดีก่อนที่ระบบปฏิบัติการจะหมดอายุ
ตามปกติแล้วไมโครซอฟท์มีระยะเวลาซัพพอร์ตระบบปฏิบัติการนาน 10 ปี โดยแบ่งเป็นช่วง mainstream support ที่แก้บั๊ก-ออกแพตช์-เพิ่มฟีเจอร์ ในช่วง 5 ปีแรก และช่วง extended support ที่ออกแค่แพตช์ความปลอดภัยในช่วง 5 ปีหลัง
กรณีของ Windows 7 ออกตัวจริงในเดือนกรกฎาคม 2009 มาถึงตอนนี้ก็เกือบครบ 10 ปีแล้ว โดยไมโครซอฟท์ยืดระยะซัพพอร์ตให้อีกเล็กน้อย ไปจบที่เดือนมกราคม 2020
ไมโครซอฟท์ออก Windows 10 Insider Preview Build 18305 (19H1) มีของใหม่หลายอย่าง ที่สำคัญคือปรับหน้าดีฟอลต์ของ Start Menu ใหม่เล็กน้อย โดยแสดงแถบ Tile เพียงแถวเดียว (จากปกติสองแถว)
ไมโครซอฟท์ระบุว่าต้องการให้ Start Menu เรียบง่ายกว่าเดิม นอกจากการเปลี่ยนค่าดีฟอลต์เป็นแถวเดียวในรอบนี้แล้ว แผนการนี้ยังรวมเรื่องที่ ไมโครซอฟท์อนุญาตให้ถอนการติดตั้งแอพพรีโหลดได้มากขึ้น และเมนู Unpin Group ที่เพิ่งเพิ่มเข้ามา
ระบบปฏิบัติการ FreeBSD ออกเวอร์ชัน 12.0 โดยทิ้งช่วงห่างจากเวอร์ชัน 11.0 ประมาณสองปี
ของใหม่ได้แก่
FreeBSD รองรับสถาปัตยกรรมซีพียูหลากหลาย ได้แก่ amd64, i386, powerpc, powerpc64, powerpcspe, sparc64, armv6, armv7, aarch64
ไมโครซอฟท์มาแปลกแหวกแนว ด้วยการทำ "เสื้อหนาวลาย Windows 95" ขึ้นมาเป็นของแจกในโลกโซเชียล
บัญชีทวิตเตอร์ @Windows โพสต์ภาพของเสื้อ Windows 95 และเชิญชวนแฟนๆ เข้ามาร่วมสนุกเพื่อชิงเสื้อหนาวลายพิเศษนี้ ตอนนี้มีพนักงานและนักพัฒนาบางส่วนได้เสื้อไปใส่โชว์กันแล้ว ดูภาพกันได้จากทวิตเตอร์แท็ก #WindowsUglySweater
ไมโครซอฟท์ไม่ได้อธิบายว่าทำไมจู่ๆ ถึงหันมาทำอะไรแบบนี้
Petri.com เว็บข่าวสายไมโครซอฟท์ รายงานข่าวว่าไมโครซอฟท์กำลังพัฒนาระบบปฏิบัติการตัวใหม่ที่เรียกกันเล่นๆ ว่า Windows Lite มาสู้กับ Chrome OS
ถึงแม้ไมโครซอฟท์มี Windows 10 S อยู่แล้ว (รวมถึง Windows RT ในอดีต) แต่ดูเหมือนยังไม่พอ ตามข่าวบอกว่าระบบปฏิบัติการตัวนี้มีชื่อเรียกภายในว่า Lite (ไม่ใช้คำว่า Windows ด้วยซ้ำ) พัฒนาจากแกนของ Windows Core OS และรองรับแอพเฉพาะ UWP (Universal Windows Platform) กับ PWA (Progressive Web App) ไม่สามารถรันแอพ Win32 (.exe) แบบเดิมได้
ไมโครซอฟท์ออก Windows 10 Insider Preview Build 18290 ซึ่งเป็นรุ่นทดสอบของอัพเดตใหญ่ที่จะออกช่วงต้นปีหน้า (19H1) ประมาณเดือนเมษายน ของใหม่ในรุ่นนี้ได้แก่
ที่มา - Microsoft
ฟีเจอร์ใหม่อีกอย่างของ Windows 10 Insider Preview Build 18282 ที่สำคัญจนต้องเขียนเป็นข่าวแยกคือ ความสามารถการหยุดพักอัพเดต (pause update)
จริงๆ ฟีเจอร์นี้ไม่ใช่ของใหม่ 100% เพราะมีมาสักระยะแล้ว แต่หลบอยู่ในตัวเลือก advanced options คราวนี้ไมโครซอฟท์หยิบมันออกมาให้เห็นกันชัดๆ แถมเพิ่มฟีเจอร์เล็กน้อยคือ สั่งหยุดอัพเดตเป็นจำนวนวัน หรือระบุวันที่ที่ต้องการได้ด้วย
ไมโครซอฟท์ออก Windows 10 Insider Preview Build 18282 ที่มีกำหนดออกช่วงเดือนมีนาคมปีหน้า (19H1) ของใหม่ในรุ่นนี้คือ Light Theme ที่ออกแบบใหม่
Windows 10 มี Light Theme มานานแล้ว แต่มีข้อจำกัดหลายๆ อย่างที่ไม่ได้ใช้สีโทนอ่อนทั้งหมด ที่เห็นได้ชัดเจนคือ Task Bar ที่ยังเป็นสีดำอยู่เสมอ
Light Theme เวอร์ชันใหม่ถูกปรับปรุงให้ใช้สีโทนขาวทุกส่วน ตั้งแต่ Task Bar, Start Menu, Action Center, Touch Keyboard เรียกได้ว่าส่วนที่เคยเป็นสีโทนเข้ม ถูกแปลงเป็นสีโทนขาวใสสไตล์ Acrylic ทั้งหมด นอกจากนี้ไมโครซอฟท์ยังทำภาพพื้นหลังแบบใหม่ที่เป็นหน้าต่างมีแสงส่องแบบเดิม แต่เป็นเวอร์ชัน Light ด้วย
หลังจากไมโครซอฟท์หยุดปล่อยอัพเดต Windows Server 2019 ชั่วคราว เพราะบั๊กลบไฟล์ของ Windows 10 v1809 และทิ้งช่วงเกือบ 1 เดือนเพื่อแก้บั๊กและตรวจสอบคุณภาพ ก่อนกลับมาปล่อยไฟล์อัพเดต v1809 รอบใหม่เมื่อวานนี้
ฝั่งของ Windows Server 2019 และ Windows Server v1809 ก็กลับมาเปิดอัพเดตให้อีกรอบเช่นกัน ลูกค้าของไมโครซอฟท์สามารถดาวน์โหลดได้ตามช่องทางต่างๆ เช่น Volume Licensing Service Center (VLSC) หรืออิมเมจบน Azure Marketplace
ไมโครซอฟท์ออก Windows 10 October 2018 Update อีกครั้งในวันนี้ หลังจากมีรายงานบั๊กกันออกมาแบบต่อเนื่อง จนไมโครซอฟท์ต้องหยุดปล่อยอัพเดตชั่วคราว และใช้เวลาทดสอบซ้ำจน October ต้องมาออกอัพเดตใน November แทน
โดยไมโครซอฟท์ได้เขียนบล็อกชี้แจงว่าหลังจากทำการทดสอบภายในเพิ่มเติม ตรวจซ้ำจนแน่ใจว่าไม่มีปัญหาอีกแล้ว ทั้งนี้ไมโครซอฟท์จะทยอยปล่อยอัพเดตกับผู้ใช้จำนวนไม่มากก่อนในวันนี้ และผู้ใช้ต้องเข้าไปเลือกอัพเดต Windows เอง ถึงจะเริ่มทำการอัพเดต นอกจากนี้หากตรวจพบปัญหาการเข้ากันกับแอป ก็จะไม่มีการลงอัพเดตจนกว่าปัญหาจะถูกแก้ไข
Windows 10 October 2018 Update หรือ v1809 ยังมีบั๊กโผล่ออกมาให้เห็นเรื่อยๆ โดยบั๊กตัวล่าสุดเกี่ยวกับการเปิดไฟล์ ZIP ถูกพูดถึงในชุมชนผู้ใช้มาสักระยะ แต่เพิ่งได้รับการยืนยันจากไมโครซอฟท์
บั๊กตัวนี้คือการเปิดไฟล์ ZIP ด้วย File Explorer แล้วลากไฟล์ภายใน ZIP ออกมาเพื่อคัดลอกหรือย้ายไฟล์ (โดยไม่ได้สั่ง extract หรือแตกไฟล์ ZIP ก่อน) แล้วโฟลเดอร์ปลายทางมีไฟล์ชื่อเดียวกันอยู่ก่อน หรือผู้ใช้ไม่มีสิทธิเขียนไฟล์ในโฟลเดอร์นั้น
บั๊กลบไฟล์ของ Windows 10 v1809 ส่งผลให้ไมโครซอฟท์ต้องระงับการปล่อยอัพเดตชั่วคราว เพื่อกลับมาแก้บั๊กก่อน สถานะตอนนี้คือไมโครซอฟท์กลับมาปล่อยอัพเดตให้กลุ่ม Insider แต่ยังไม่ปล่อยให้บุคคลทั่วไป
ไมโครซอฟท์เปิดซอร์สโค้ดของ Component Firmware Update (CFU) ช่วยให้ผู้ผลิตฮาร์ดแวร์สามารถอัพเดตเฟิร์มแวร์ของตนเองผ่าน Windows Update ได้สะดวกขึ้นมาก
ก่อนหน้านี้การอัพเดตเฟิร์มแวร์มีด้วยกัน 3 วิธีคือ
ไมโครซอฟท์เดินหน้าออก Windows 10 Insider Preview Build 18262 (โค้ดเนม 19H1) ที่จะออกช่วงต้นปีหน้า มีของใหม่ที่สำคัญคือ ผู้ใช้สามารถถอนการติดตั้งแอพที่พรีโหลดมากับวินโดวส์ได้เกือบทุกตัว
ปัญหา Windows 10 ออกอัพเดตใหญ่แล้วพังอยู่บ่อยครั้ง (รอบล่าสุดคือ v1809 ลบไฟล์ของผู้ใช้) ทำให้เริ่มมีเสียงเรียกร้องให้ไมโครซอฟท์ปรับปรุงคุณภาพของอัพเดตใหญ่-แพตช์รายเดือน หรือทบทวนนโยบายออกรุ่นทุก 6 เดือนจนควบคุมคุณภาพไม่ได้
เก็บตกรายละเอียดหลังเปิดตัว Google Home Hub หน้าจออัจฉริยะ (Smart Display) แบรนด์ของกูเกิลเอง
Ars Technica มีประเด็นน่าสนใจจากการพูดคุยกับวิศวกรของกูเกิล ว่า Home Hub ไม่ได้ใช้ระบบปฏิบัติการ Android Things (Android เวอร์ชัน IoT) เหมือนกับ Smart Display ตัวอื่นๆ ของพาร์ทเนอร์กูเกิล เช่น Lenovo Smart Display, LG, JBL
หลังจากไมโครซอฟท์ปล่อยอัพเดต KB4464330 แก้บั๊ก Windows 10 October 2018 Update ลบไฟล์ผู้ใช้ไปเมื่อไม่กี่วันก่อน ล่าสุดมีผู้ใช้คอมพิวเตอร์เอชพีแจ้งว่าเครื่องจะขึ้น BSOD ไม่สามารถบู๊ตเข้า Windows ได้
ต่อมาไมโครซอฟท์ซัพพอร์ตก็แจ้งผู้ใช้ที่ติดต่อเข้าไปว่าคอมพิวเตอร์ยี่ห้ออื่นอย่างเดลล์ก็ประสบปัญหาดังกล่าวเช่นกัน และได้หยุดการปล่อย KB4464330 เพื่อตรวจสอบปัญหาดังกล่าวก่อนที่จะปล่อยอัพเดตอีกครั้ง
สำหรับใครที่เจอกับ BSOD หลังการติดตั้งอัพเดตข้างต้น สามารถทำตามขั้นตอนในเว็บไซต์ Bleeping Computer ตามที่มาของข่าว เพื่อให้เครื่องสามารถบู๊ตเข้า Windows ได้ตามปกติครับ
ที่มา: Microsoft Community ผ่าน Bleeping Computer ผ่าน MSPoweruser
หลังจาก ไมโครซอฟท์หยุดปล่อย Windows 10 October 2018 Update ชั่วคราว หลังเจอปัญหาลบไฟล์ผู้ใช้ ล่าสุดไมโครซอฟท์แก้ไขปัญหาและเตรียมจะกลับมาปล่อยอัพเดตอีกครั้ง
ไมโครซอฟท์ให้ข้อมูลว่ามีผู้ใช้เจอปัญหานี้ 0.01% ของผู้ใช้ทั้งหมด แต่เรื่องข้อมูลหายเป็นเรื่องซีเรียสถึงระดับต้องหยุดพักการอัพเดตทั้งหมด (รวมถึง Windows Server 2019 และ IoT ที่ใช้แกนตัวเดียวกันด้วย) ส่วนปัญหาเกิดจากสิ่งที่เรียกว่า Known Folder Redirection (KFR)
KFR คือการสั่งย้ายตำแหน่งโฟลเดอร์พื้นฐานของวินโดวส์ที่เราคุ้นเคยกัน (พวก Desktop, Documents, Pictures) จากตำแหน่งดีฟอลต์ (c:\users\username\folder name) ไปยังตำแหน่งอื่น
ไมโครซอฟท์ขึ้นราคาขายปลีก Windows 10 Home แบบดาวน์โหลดจากเว็บไซต์ของไมโครซอฟท์เอง จากเดิม 119 ดอลลาร์ ขึ้นมาเป็น 139 ดอลลาร์ ส่วนราคาจาก Microsoft Store ของประเทศไทยคือ 6,199 บาท ทั้งนี้ไม่มีประกาศหรือคำอธิบายว่าทำไมถึงขึ้นราคา
ไมโครซอฟท์ประกาศหยุดปล่อยไฟล์อัพเดต Windows 10 October 2018 Update (v1809) ชั่วคราว หลังมีรายงานจากผู้ใช้บางรายว่าอัพเดตแล้วเจอปัญหาไฟล์หาย
ตัวอย่างอาการที่พบคือผู้ใช้แจ้งว่าโฟลเดอร์ Documents, Pictures, Music, Videos กลายเป็นโฟลเดอร์ว่างๆ ส่วนสาเหตุยังไม่ชัดเจนว่าเกิดจากอะไร (ตัวอย่างปัญหาที่โพสต์ใน Reddit และ Microsoft Support Forum
สัปดาห์ที่ผ่านมา ไมโครซอฟท์ออก Windows Server 2019 ตัวจริงที่เข้าสถานะ GA (general availability) เรียบร้อยแล้ว
ลูกค้าไมโครซอฟท์ที่ซื้อไลเซนส์แบบ Software Assurance สามารถดาวน์โหลด Windows Server 2019 ได้แล้ว ส่วนลูกค้าที่รันบน Azure ก็สามารถใช้งานได้จาก Azure Marketplace และไมโครซอฟท์ยังมีรุ่นทดลองใช้ฟรี 180 วันให้คนทั่วไปดาวน์โหลดจาก Evaluation Center
ฟีเจอร์ใหม่ใน Windows Server 2019 แบ่งออกเป็น 4 ด้าน ได้แก่