หลังจากทดสอบกันมานานครึ่งปี วันนี้ไมโครซอฟท์ปรกาศออก Windows 10 October 2018 Update หรือ v1809 (Redstone 5) อย่างเป็นทางการ สามารถสั่งอัพเดตกันได้แล้วในวันนี้
Windows 10 October 2018 Update ถือเป็นอัพเดตใหญ่ของ Windows 10 รุ่นสุดท้ายของปีนี้ ก่อนพบกันในปีหน้ากับรุ่น 19H1 (เลิกเรียกโค้ดเนม Redstone แล้ว)
โดยปกติ Google จะปล่อยข้อมูลส่วนแบ่งของระบบปฏิบัติการณ์แอนดรอยด์เวอร์ชันต่างๆ ทุกๆ 7 วัน สำหรับนักพัฒนาแอปโดยวัดจากเข้า Play Store ซึ่งข้อมูลล่าสุดคือ 7 วันสุดท้ายในช่วงสิ้นเดือนกันยายนที่สิ้นสุดวันที่ 28 กันยายน
เวอร์ชันที่มีคนใช้เยอะที่สุดคือ Marshmallow 6.0 (API 23) ที่ 21.6% ตามมาด้วย Nougat 7.0 (API 24) ที่ 19% และ Lollipop 5.1 (API 22) ที่ 14.7% ส่วนเวอร์ชันเกือบล่าสุดอย่าง Oreo 8.0 (API 26) และ 8.1 (API 27) มีส่วนแบ่งอยู่ที่ 13.7% และ 5.8% ตามลำดับ ส่วนที่ใช้น้อยที่สุดคือ Gingerbread (API 10) และ Ice Cream Sandwich (API 15) ที่ 0.3%
ที่มา - Android Developer Blog
เมื่อ 4 ปีก่อน ไมโครซอฟท์เปิดซอร์สโค้ดของ MS-DOS และยกให้พิพิธภัณฑ์ Computer History Museum ซึ่งเปิดให้คนทั่วไปดาวน์โหลดมาศึกษาได้ แต่มีเงื่อนไขยุ่งยากพอสมควร เช่น ต้องยืนยันว่าไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่นำซอร์สโค้ดไปเผยแพร่ที่อื่น
ล่าสุดไมโครซอฟท์ปรับนโยบายใหม่ แก้ปัญหาความยุ่งยากข้างต้น โดยนำซอร์สโค้ดของ MS-DOS ขึ้นไปไว้บน GitHub ให้ดาวน์โหลดกันง่ายๆ เลย ผู้สนใจเข้าไปดูได้ที่ GitHub
ในงานสัมมนา Build 2018 เมื่อเดือนพฤษภาคม ไมโครซอฟท์เผยว่าตัวเลขอุปกรณ์ที่รัน Windows 10 อยู่ที่ "เกือบ 700 ล้านชิ้น"
ล่าสุดในงานสัมมนา Ignite 2018 วันนี้ ไมโครซอฟท์ระบุว่าตัวเลขแตะหลัก 700 ล้านชิ้นเรียบร้อยแล้ว
ความคืบหน้าของตัวเลขผู้ใช้งาน Windows 10 ถือว่าช้าลงเรื่อยๆ แต่เดิมไมโครซอฟท์เคยตั้งเป้าผู้ใช้ที่ 1 พันล้านชิ้น แต่ภายหลังก็ยอมรับว่าเป้านี้คงทำไม่สำเร็จในปี 2018 หลัง Windows Phone/Mobile ล้มเหลว
แอปเปิลปล่อยระบบปฏิบัติการ macOS 10.14 Mojave (อ่านว่า "โมฮาวี") ตัวจริงให้อัพเดตกันแล้ว ของใหม่ของ Mojave ได้แก่
macOS Mojave ต้องการฮาร์ดแวร์แมครุ่นที่เปิดตัวช่วงกลางปี 2012 เป็นต้นไป
ที่มา - Apple
Adobe ประกาศว่า Creative Cloud เวอร์ชันหน้าที่จะออกในเร็วๆ นี้ (น่าจะเปิดตัวในงาน Adobe MAX เดือนหน้า) จะไม่ซัพพอร์ตระบบปฏิบัติการรุ่นเก่าแล้ว ได้แก่
ส่วน Windows 7 ที่ยังมีผู้ใช้เป็นจำนวนมากจะยังซัพพอร์ตต่อไป ยกเว้นแอพพลิเคชันสายวิดีโอได้แก่ Adobe Media Encoder, After Effects, Audition, Character Animator, Prelude, Premiere Pro จำเป็นต้องใช้ Windows 10 v1703 ขึ้นไปเท่านั้น ไม่สามารถใช้บน Windows 7 ได้อีกแล้ว
ผู้ที่ใช้ระบบปฏิบัติการรุ่นเก่ายังสามารถใช้ Creative Cloud เวอร์ชันปัจจุบันได้ต่อไป แต่จะไม่สามารถติดตั้งแอพเวอร์ชันใหม่ได้แล้ว
แม้จะเคยมีข่าวก่อนหน้านี้ว่า Huawei ซุ่มพัฒนา OS ของตัวเอง เพื่อลดความเสี่ยงหากโดนแบนจากรัฐบาลสหรัฐ ล่าสุดผู้บริหารของ Huawei ได้ออกมาชี้แจงต่อข่าวลือดังกล่าวแล้ว พร้อมระบุว่ายังไม่มีแผนในตอนนี้
Dr. Wang Chenglu ตำแหน่ง President of Consumer Business Software Engineering ของ Huawei เปิดเผยว่า การพัฒนาระบบปฏิบัติการของตัวเองไม่ใช่เรื่องยาก ปัญหาไม่ใช่เรื่องเทคโนโลยี แต่อยู่ที่การพัฒนา ecosystem ที่รอบรับแอพและทำงานร่วมกันได้กับระบบปฏิบัติการ รวมไปถึงการดึงพาร์ทเนอร์ให้มาร่วมพัฒนาแอพสำหรับใช้งานทั้งแบบฟรีและชำระเงิน
Chrome OS กำลังจะได้ฟีเจอร์แชร์ไฟล์ผ่าน SMB ร่วมกับเครื่องวินโดวส์ ช่วยให้การใช้งาน Chrome OS ร่วมกับเครื่องวินโดวส์หรือ Windows Server ในองค์กรมีความสะดวกมากขึ้น
ก่อนหน้านี้ Chrome OS จำเป็นต้องติดตั้งส่วนขยายเพื่อใช้งาน SMB แต่หลังจาก Chrome OS เวอร์ชัน 70 เป็นต้นไป (ปัจจุบันคือ 69) จะมีความสามารถนี้ให้ในตัวเลย
ที่มา - Ars Technica
ในยุคของ Windows 10 ที่ยึดแนวคิด Windows as a Service ออกอัพเดตใหญ่ปีละ 2 ครั้ง และอัพเดตแต่ละรุ่นมีระยะเวลาซัพพอร์ตค่อนข้างสั้นคือ 18 เดือน (1 ปีครึ่ง)
ล่าสุดไมโครซอฟท์ประกาศนโยบายใหม่ว่า Windows 10 เฉพาะรุ่น Enterprise และ Education จะมีระยะเวลาซัพพอร์ตนานขึ้นเป็น 30 เดือน
อย่างไรก็ตาม รุ่นที่ซัพพอร์ตนาน 30 เดือนจะจำกัดเฉพาะรุ่นที่ออกในเดือนกันยายน (เลขเวอร์ชันลงท้ายด้วย 09 เช่น 1709, 1809) เท่านั้น ส่วนรุ่นที่ออกในเดือนมีนาคม (เลขเวอร์ชันลงท้าย 03) จะยังเป็น 18 เดือนเหมือนเดิม ใครงงแนะนำให้ดูตารางประกอบครับ
Windows 7 จะหมดระยะซัพพอร์ตแบบระยะสุดท้าย (extended support) ในวันที่ 14 มกราคม 2020 แต่ด้วยจำนวนผู้ใช้ Windows 7 ที่ยังเยอะอยู่มาก โดยเฉพาะในตลาดองค์กร ส่งผลให้ไมโครซอฟท์ตัดสินใจต่ออายุซัพพอร์ตแบบเสียเงินให้อีก 3 ปี
ซัพพอร์ตแบบใหม่มีชื่อเรียกว่า Windows 7 Extended Security Updates (ESU) มีอายุถึงเดือนมกราคม 2023 โดยมีให้แค่สำหรับ Windows 7 Professional และ Windows 7 Enterprise เท่านั้น การคิดราคาจะตามจำนวนอุปกรณ์ และราคาจะแพงขึ้นทุกปี
นอกจากนี้ไมโครซอฟท์ยังจะขยายระยะซัพพอร์ตของ Office 365 ProPlus (เวอร์ชันขายไลเซนส์ผูกกับเครื่อง ไม่ใช่ผูกกับบัญชีผู้ใช้) ให้หมดอายุเดือนมกราคม 2023 พร้อมกัน
Windows Server ในช่วงหลัง (อ้างอิงจากเวอร์ชัน 2016) แบ่งออกเป็น 3 edition ได้แก่ Essentials, Standard, Datacenter ตามฟีเจอร์จากน้อยไปหามาก โดย Essentials ถือเป็นรุ่นเล็กสุดที่ใช้กับธุรกิจ SME ขนาดเล็กที่มีพนักงานไม่เกิน 25 คนหรือพีซีไม่เกิน 50 เครื่อง และขายในราคาถูกกว่ารุ่นย่อยอื่นๆ
ไมโครซอฟท์เพิ่งประกาศว่า Windows Server 2019 ที่จะออกในปีนี้ จะยังมีรุ่นย่อย Essentials เหมือนเดิม และมีคุณสมบัติทางเทคนิค-เงื่อนไขการใช้งานเหมือนกับ 2016 Essentials เช่นเดิม
ไมโครซอฟท์ประกาศชื่อของ Windows 10 อัพเดตใหญ่ตัวถัดไป ที่เรารู้จักกันในโค้ดเนม Redstone 5 (RS5) ว่าจะใช้ชื่อ Windows 10 October 2018 Update
ชื่อนี้ไม่ผิดความคาดหมายแต่อย่างใด เพราะอัพเดตตัวปัจจุบันก็ใช้ชื่อในระบบเดือน/ปี ว่า April 2018 Update และคาดว่าไมโครซอฟท์จะใช้ชื่อแบบนี้ไปอีกนาน
เรื่องโค้ดเนมก็เป็นอีกประเด็นที่น่าสนใจ เพราะอัพเดตตัวนี้เป็นตัวสุดท้ายที่ใช้โค้ดเนมตระกูล Redstone แล้ว ส่วนอัพเดตตัวหน้าที่จะออกในช่วงเดือนเมษายน 2019 เปลี่ยนไปใช้โค้ดเนมนับตามปี 1H19 แทนแล้ว
กลับมาอีกครั้งกับความพยายามฟื้นคืนชีพ Windows 95 ระบบปฏิบัติการซึ่งมีอายุมากกว่า 20 ปี ให้กลับมาใช้งานบนอุปกรณ์สมัยใหม่ได้
โดยในครั้งล่าสุดไม่เพียงแต่เทคนิคที่ใช้จะพิสดารอย่างคาดไม่ถึงแล้ว การนำไปใช้ยังง่ายมากๆ อีกด้วย ซึ่งก็ต้องขอบคุณความไม่ตั้งใจของ Felix Rieseberg นักพัฒนาจาก Slack ที่ได้ลงมือดัดแปลง Windows 95 ด้วยเครื่องมืออย่าง Electron ให้กลายเป็นแอพที่สามารถติดตั้งและใช้งานได้บนทั้ง Windows 10, macOS และ Linux แถมผลลัพธ์ที่ได้ก็ออกมาดีระดับหนึ่งเลยทีเดียว
จนแม้แต่ตัว Rieseberg เองก็ยังพูดถึงโปรเจ็กต์ของเขาไว้บนทวิตเตอร์ว่า
ไมโครซอฟท์ออก Windows Server 2019 รุ่นทดสอบ Insider Preview Build 17744 ของใหม่โฟกัสที่ Hyper-V
ไมโครซอฟท์ประกาศระบบการอัพเดตรายเดือนแบบใหม่ของ Windows 10 ที่ไฟล์อัพเดตจะมีขนาดเล็กลง ดาวน์โหลดเร็วขึ้น และเปลืองทรัพยากรในการประมวลผลอัพเดตน้อยลง
ปัจจุบัน Windows 10 แบ่งการอัพเดตเป็น 2 แบบคือ
ประกาศของไมโครซอฟท์รอบนี้มีผลเฉพาะ quality update เท่านั้น
เว็บไซต์ xda รวบรวมข้อมูลของโครงการ "Campfire" ฟีเจอร์ลับบน Chrome OS ที่กูเกิลกำลังซุ่มทำอยู่ เปิดให้โน้ตบุ๊ก Chromebook สามารถติดตั้ง Windows 10 ได้
Campfire มีลักษณะคล้าย Bootcamp ของฝั่งแอปเปิล ที่ผ่านมาอุปกรณ์สาย Chrome OS จำเป็นต้องเปิดโหมด Developer ก่อนจึงจะสามารถติดตั้งระบบปฏิบัติการอื่นได้ แต่ต้องแลกกับข้อเสียคือฟีเจอร์รักษาความปลอดภัย Verified Boot จะถูกปิดไปด้วย คาดว่า Campfire จะเข้ามาช่วยแก้ปัญหานี้
ไมโครซอฟท์ประกาศปรับปรุงลอจิกของ Windows Update ด้วยการนำ Machine Learning มาคาดเดาเวลาที่เหมาะสมในการรีสตาร์ทได้อย่างแม่นยำใน Windows 10 Insider Preview Build 17723
โมเดลนี้จะตรวจสอบว่าเรากำลังใช้งานคอมพิวเตอร์อยู่ หรือเพิ่งลุกจากหน้าจอไปทำธุระอื่น ทำให้ผู้ใช้ไม่ต้องหยุดทำงานรอ Windows อัปเดตและรีสตาร์ทหลังกลับมาจากห้องน้ำ หรือไปหยิบถ้วยกาแฟแค่ 5 นาที นอกจากนี้ยังสามารถแจ้งปัญหาผ่าน Feedback Hub ถ้าพบการรีสตาร์ทผิดเวลาเพื่อเพิ่มความแม่นยำให้กับโมเดล
Bloomberg อ้างข้อมูลวงในของกูเกิล เกี่ยวกับระบบปฏิบัติการ Fuchsia ที่กูเกิลซุ่มพัฒนามานานกว่า 2 ปี
เมื่อไม่นานมานี้ เราเพิ่งเห็นข่าวไมโครซอฟท์เพิ่มฟีเจอร์ให้ Notepad ตัดบรรทัดแบบยูนิกซ์ได้ แต่การเปลี่ยนแปลงยังไม่จบแค่นั้น เพราะใน Windows 10 Insider Preview Build 17713 ไมโครซอฟท์ยังเพิ่มฟีเจอร์ใหม่ให้อีกชุดใหญ่ ดังนี้
ไมโครซอฟท์ออก Windows 10 Insider Preview Build 17711 การเปลี่ยนแปลงที่น่าสนใจคือ โปรแแกรมที่อยู่คู่วินโดวส์มานานอย่าง Registry Editor (regedit) ได้ฟีเจอร์ใหม่กับเขาด้วย!
ฟีเจอร์ใหม่ของ regedit เป็นฟีเจอร์เล็กๆ คือตัว address bar เพิ่มเมนู dropdown ช่วยให้เราเลือกตำแหน่งที่ต้องการได้สะดวกขึ้น แถมยังเพิ่มปุ่มลัด Ctrl+Backspace ช่วยลบคำที่พิมพ์ล่าสุด (last word) ได้ด้วย
การเพิ่มฟีเจอร์ให้ regedit ถือเป็นอีกความเคลื่อนไหวของไมโครซอฟท์ ที่ยังตามอัพเดตแอพเก่าๆ ที่ดูเหมือนจะไม่ได้อัพเดตอีกแล้ว ก่อนหน้านี้ Notepad ก็เพิ่งได้ความสามารถตัดบรรทัดแบบยูนิกซ์
ก่อนหน้านี้เพิ่งมี สถิติอย่างไม่เป็นทางการของการอัพเกรด Windows 10 April 2018 Update วันนี้ไมโครซอฟท์เผยข้อมูลอย่างเป็นทางการออกมาแล้ว
ไมโครซอฟท์อธิบายว่าใช้ AI ช่วยวิเคราะห์รูปแบบการอัพเกรด Windows 10 กับฮาร์ดแวร์รุ่นต่างๆ โดยใช้ machine learning เรียนรู้ว่าฮาร์ดแวร์รุ่นไหนอัพเกรดแล้วผลลัพธ์ดี หรือรุ่นไหนอัพเกรดแล้วมีปัญหา พอได้ข้อมูลแล้วจึงเลือกเครื่องที่จะปล่อยอัพเดตได้อย่างมั่นใจกว่าเดิม ส่วนเครื่องที่มีความเสี่ยงจะเกิดปัญหา จะชะลอไปก่อนจนกว่าจะแก้ปัญหาหลังบ้านเสร็จ
กูเกิลประกาศออก Android P Beta 2 รุ่นทดสอบตัวที่สาม (DP3 ตัวแรกไม่เรียกเป็น Beta) โดยเป็นรุ่นที่ API ( Level 28) นิ่งแล้วไม่เปลี่ยนแปลงใดๆ อีกในแง่ฟีเจอร์ ถัดจากนี้ไปเหลือแต่งานแก้บั๊กเท่านั้น
ของใหม่ใน Android P อ่านได้จากข่าวเก่าในหมวด Android P และเอกสารของกูเกิล Android P features and APIs
ผู้ที่สนใจทดสอบต้องเข้าร่วม Android Beta Program เช่นเดิม ส่วนคนที่เข้าร่วมแล้วตั้งแต่ Beta 1 จะอัพเดตต่อเป็น Beta 2 ให้อัตโนมัติ
การเปลี่ยนแปลงที่น่าสนใจใน macOS 10.14 Mojave ที่แอปเปิลไม่ได้ประกาศบนเวทีงาน WWDC 2018 คือ Mojave จะเป็นรุ่นสุดท้ายที่รองรับ OpenGL และ OpenCL
แอปเปิลประกาศบนเว็บไซต์ว่า สถานะของ OpenGL และ OpenCL จะถือเป็น deprecated (เลิกใช้) แอพที่เรียกใช้ API สองตัวนี้จะยังรันได้บน macOS 10.14 แต่ในระบบปฏิบัติการรุ่นหน้าจะใช้ไม่ได้อีกแล้ว
แอปเปิลประกาศแผนการสำคัญในการขยับ iOS และ macOS ให้เข้าใกล้กันมากขึ้น โดยรองรับ UIKit เฟรมเวิร์คด้าน UI ของ iOS บน macOS ด้วย ช่วยให้การพอร์ตแอพจาก iOS มารันบน macOS ทำได้ง่ายขึ้นมาก
การรองรับ UIKit บน macOS จะปรับปรุง UI ให้เหมาะสมกับการใช้งานบนคอมพิวเตอร์ เช่น รองรับเมาส์ รองรับการปรับขนาดหน้าต่าง การลากแล้ววาง และ scrollbar
ช่วงแรกแอปเปิลยังจำกัดฟีเจอร์นี้เฉพาะแอพของตัวเองเท่านั้น ตัวอย่างผลงานจากกระบวนการนี้คือ แอพ News, Stock, Voice Memo, Home จาก iOS 12 จะมาอยู่บน macOS Mojave ด้วย โดยที่แอปเปิลแก้ไขโค้ดเพียงเล็กน้อยเท่านั้น
แอปเปิลจะเปิดฟีเจอร์นี้ให้นักพัฒนาภายนอกบริษัทใช้งานในปี 2019
แอปเปิลเปิดตัว macOS รุ่นใหม่ โค้ดเนม Mojave (อ่านว่า โมฮาเว่ ตามภาษาสเปน) ตามชื่อทะเลทรายในรัฐแคลิฟอร์เนีย
ฟีเจอร์ใหม่ในเวอร์ชันนี้ได้แก่ ธีมสีเข้ม Dark Theme, Finder เพิ่ม Gallery View, Stack สำหรับจัดระเบียบไฟล์บนเดสก์ท็อป, Continuity สั่งงานกล้องบน iPhone ให้ถ่ายรูปแล้วโอนไฟล์มายังแมคอัตโนมัติ, Mac App Store ปรับหน้าตาใหม่