จากที่ไมโครซอฟท์ประกาศ วิธีออกรุ่นแบบใหม่ของ Windows Server แยกเป็นรุ่นออกบ่อยเน้นฟีเจอร์ใหม่ทุก 6 เดือน (Semi-Annual Channel) และรุ่นซัพพอร์ตระยะยาว ออกทุก 2-3 ปี (Long-Term Servicing Channel - LTSC)
วันนี้ไมโครซอฟท์ประกาศว่า Windows Server รุ่นออกบ่อยตัวแรกจะใช้ชื่อว่า Windows Server, version 1709 (ของแท้ต้องมี comma) โดยจะเปิดตัวในงานสัมมนา Microsoft Ignite วันที่ 25-29 กันยายนนี้
Windows Server, version 1709 พัฒนาต่อมาจากฐานของ Windows Server 2016 โดยจะเน้นที่ฟีเจอร์ใหม่ 3 ด้านคือ container, security และ software defined datacenter ซึ่งรายละเอียดของฟีเจอร์ต้องรอประกาศในงาน
หลังจากที่เปิดตัวมาตั้งแต่เดือนมีนาคม มาวันนี้ Android O ก็มีชื่ออย่างเป็นทางการ ซึ่งก็ตามความคาดหมายของหลายคน นั่นคือขนม Oreo นั่นเอง
Google เลือกวันเปิดตัวตรงกับปรากฎการณ์สุริยุปราคาเต็มดวงในประเทศสหรัฐอเมริกา โดยวิดีโอเปิดตัวมาในรูปแบบของซูเปอร์ฮีโร่ที่มีพลังแข็งแกร่ง ปกป้องผู้ใช้จากอันตรายต่างๆ รวดเร็วปานจรวด และทำงานอย่างอัจฉริยะไร้รอยต่อ แน่นอน Pixel กับ Nexus จะได้อัพเดทก่อนเป็นกลุ่มแรก ส่วนมือถือรุ่นอื่นๆ จะได้อัพเดทตามมาในภายหลัง
การ "เผยความมหัศจรรย์" (Open Wonder) ของ Google ในคราวนี้จะสร้างความว้าวได้ขนาดไหน คงต้องติดตามกันต่อไป
ไมโครซอฟท์กำลังดำเนินการปรับปรุงกระบวนการอัพเดต Windows 10 กรณีที่เป็นการอัพเกรดรุ่นเพื่อเพิ่มฟีเจอร์ใหม่ให้กับระบบปฏิบัติการ ซึ่งแต่เดิมจำเป็นจะต้องรีสตาร์ตเครื่องและรอการติดตั้งอัพเดตยาวนานหลายชั่วโมงให้รบกวนการใช้งานน้อยลง
โดยได้เริ่มทดลองปรับเปลี่ยนขั้นตอนการติดตั้งอัพเกรดใหม่ด้วยการโยกกระบวนการอัพเดตบางส่วนที่เคยรันในขณะที่พีซีกำลัง offline (ใช้งานเครื่องไม่ได้) เช่นการแบ็คอัพข้อมูลผู้ใช้งานและการเขียนไฟล์ระบบปฏิบัติการใหม่มารันในขณะพีซีกำลัง online (ช่วงก่อนรีสตาร์ตและยังใช้งานเครื่องได้) แทน ทำให้สามารถลดช่วงเวลาที่ไม่สามารถใช้งานพีซีลงได้
ไมโครซอฟท์เปิดตัว Windows 10 Pro for Workstations ถือเป็นรุ่นย่อย (edition) ใหม่ของ Windows 10 Pro ที่ออกแบบมาเพื่อตลาดเวิร์คสเตชันที่ต้องการสมรรถนะสูงโดยเฉพาะ
ฟีเจอร์ที่ทำให้ Windows 10 Pro for Workstations ต่างจาก Windows 10 Pro รุ่นปกติ มีดังนี้
จากข่าวที่ไมโครซอฟท์ประกาศว่ากำลังพัฒนา Windows 10 ให้รองรับซีพียูสถาปัตยกรรม ARM ซึ่งเป็นซีพียูที่นิยมใช้กับสมาร์ทโฟนและแท็บเล็ตหลายๆ รุ่น ทำให้มีอาจมีบางคน (เช่นแฟนๆ Windows Phone ที่ยังเหลือรอดอยู่) ตั้งข้อสงสัยว่ามือถือรุ่นล่าสุดของไมโครซอฟท์เองอย่าง Lumia 950 และ Lumia 950 XL จะมีสิทธิได้รับการอัพเดตเป็น Windows 10 on ARM ซึ่งเป็นวินโดวส์ตัวเต็มได้หรือไม่
ล่าสุดได้มีการยืนยันจากทางไมโครซอฟท์แล้วว่าจะไม่มีการพัฒนา Windows 10 on ARM ให้รองรับมือถือรุ่นปัจจุบันแต่อย่างใด เรื่องนี้ได้รับการเปิดเผยในรายการ Windows Insider Broadcast โดยผู้บริหารของไมโครซอฟท์ Joe Belfiore ได้ให้ข้อมูลดังนี้
ไมโครซอฟท์ออก Windows Insider Build 16257 ของใหม่นอกจาก Eye Control คือการปรับดีไซน์ของ Microsoft Edge มาใช้แนวทางการดีไซน์แบบใหม่ Fluent Design System ที่ประกาศไว้ในงาน Build 2017 ผลคือ Edge จะใช้พื้นหลังแนวโปร่งแสง (ไมโครซอฟท์เรียก acrylic) มากขึ้นอีกหน่อย
ฟีเจอร์สำคัญอีกตัวคือโปรแกรม Console (cmd.exe หรือ Command-Line หรือ Dos Prompt แล้วแต่จะเรียก) รองรับสีระดับ 24 บิทแล้ว ถือเป็นการปรับปรุงเรื่องสีที่ใช้แสดงผลใน Console เป็นครั้งแรกในรอบ 20 ปีเลยทีเดียว
ในงาน Build 2016 ไมโครซอฟท์ช็อควงการด้วย Windows Subsystem for Linux โดยนำบางส่วนของลินุกซ์มาอยู่ในวินโดวส์ ที่ผ่านมาตลอด 1 ปีกว่าๆ ฟีเจอร์นี้ยังมีสถานะเป็น Beta ที่ผู้ใช้ต้องเปิดใช้งานเองจากตัวเลือก Windows Features
สัปดาห์ที่ผ่านมา ไมโครซอฟท์ประกาศว่า Windows Subsystem for Linux (WSL) พ้นสถานะ Beta เรียบร้อยแล้ว ถือเป็นฟีเจอร์หนึ่งของ Windows อย่างเป็นทางการ โดยจะเริ่มมีผลใน Windows Insider Build 16251 และคนทั่วไปจะได้ใช้กันจริงใน Windows 10 Fall Creators Update (FCU)
การปลดสถานะ Beta ครั้งนี้ไม่มีผลในแง่ฟีเจอร์ใหม่ เป็นการบอกแค่ว่าฟีเจอร์นี้พร้อมใช้งานอย่างสมบูรณ์แล้ว
พบกันทุกเดือนกับ Android O รุ่นพรีวิวตัวใหม่ เดือนนี้ถือว่ากูเกิลออกค่อนข้างช้าเพราะค่อนมาเกือบปลายเดือน โดย Developer Preview 4 จะเป็นพรีวิวตัวสุดท้ายก่อนที่ Android O จะออกตัวจริงในช่วงปลายฤดูร้อน (ฝรั่ง) หรือประมาณเดือนสิงหาคม
ของใหม่ใน Preview 4 เน้นไปที่การแก้บั๊กและปรับปรุงเสถียรภาพ โดยไม่มีฟีเจอร์ใหม่เพิ่มเข้ามาจาก Preview 3 มากนัก
ไมโครซอฟท์ประกาศฟีเจอร์ที่จะถูกถอดออกจาก Windows 10 Fall Creators Update เนื่องจากไม่ค่อยมีคนใช้งาน
ก่อนหน้านี้มีรายงานว่าพีซีที่ใช้ซีพียู Intel Atom รุ่น Clover Trail ไม่สามารถอัพเดต Windows 10 เป็น Creators Update ได้ ล่าสุดไมโครซอฟท์ยืนยันแล้วว่าเป็นความจริง
เหตุผลเป็นเรื่องของไดรเวอร์ เพราะ Clover Trail ออกในช่วงปี 2012-2013 (ในยุคของ Windows 8) และตอนนี้อินเทลไม่อัพเดตไดรเวอร์ให้อีกแล้ว อุปกรณ์เหล่านี้จึงสามารถอัพเดตได้ถึงแค่ Windows 10 Anniversary Update แต่ไมโครซอฟท์ก็สัญญาว่าจะอัพเดตแพตช์ความปลอดภัยให้ถึงเดือนมกราคม 2023
ตัวอย่างอุปกรณ์ที่เป็น Atom Clover Trail คือ Asus VivoTab, HP Envy x2, Dell Latitude 10, Lenovo ThinkPad Tablet 2, Acer Iconia W3 เป็นต้น ส่วนอุปกรณ์ที่ใช้ Atom รุ่นอื่นไม่ได้รับผลกระทบจากปัญหานี้
ฟีเจอร์เด่นของ Android O คือ Project Treble หรือการแยกชั้นของฮาร์ดแวร์ออกมาจากระบบปฏิบัติการ ประโยชน์ของมันคือช่วยลดระยะเวลาการอัพเดตเวอร์ชัน เพราะชั้นฮาร์ดแวร์ยังใช้ของเดิมได้อยู่ เปลี่ยนเฉพาะชั้นของระบบปฏิบัติการ
ล่าสุด บล็อก Android Developers ยังอธิบายข้อดีของ Project Treble ว่านอกจากเรื่องอัพเดตเร็วแล้ว มันยังช่วยให้ Android O ปลอดภัยมากขึ้นด้วย
ไมโครซอฟท์เคยประกาศไว้ว่าจะทำ Windows Server Insider วันนี้ผู้ที่สนใจสามารถดาวน์โหลด Windows Server Insider Build 16237 ตัวแรกกันได้แล้ว
Windows Server Insider คือการพัฒนาต่อจาก Windows Server 2016 โดยยังไม่ระบุเลขเวอร์ชันว่ารุ่นถัดไปจะเรียกอะไร (ตอนนี้ก็เรียก Windows Server เฉยๆ กันไปก่อน) ของใหม่ใน Build 16237 ได้แก่
ไมโครซอฟท์ออก Windows 10 Insider Preview Build 16237 ที่เริ่มมีฟีเจอร์ใหม่น้อยลง และเน้นการแก้บั๊กเพื่อเตรียมออกเป็น Windows 10 Fall Creators Update ในเดือนกันยายน
ของใหม่ในเวอร์ชันนี้คือ
ฟีเจอร์สำคัญของ Windows 10 Fall Creators Update คือ Timeline หรือการย้อนดูว่าเราใช้งานแอพอะไรมาบ้าง
ล่าสุด Joe Belfiore แห่งไมโครซอฟท์ ประกาศผ่านทวิตเตอร์ว่าฟีเจอร์นี้เสร็จไม่ทัน Fall Creators Update และต้องเลื่อนไปอยู่ใน Windows 10 อัพเดตตัวต่อไปแทน
Belfiore ให้เหตุผลว่าไมโครซอฟท์ให้ความสำคัญกับฟีเจอร์ OneDrive Files On-Demand ก่อน จากนั้นจะทยอยทำฟีเจอร์ Timeline และ Cloud Clipboard
การดีเลย์ฟีเจอร์ของ Windows 10 ไม่ใช่เรื่องใหม่ เพราะคราวก่อนไมโครซอฟท์ก็ตัดสินใจ ถอดฟีเจอร์ People ออกจาก Windows 10 Creators Update และย้ายมาอยู่ใน Fall Creators Update แทน
ไมโครซอฟท์ออก Windows 10 Insider Preview Build 16232 โดยรุ่นนี้เน้นเพิ่มฟีเจอร์ด้านความปลอดภัยหลายอย่างเข้ามายัง Fall Creators Update
ฟีเจอร์สำคัญคือ Windows Defender Antivirus เพิ่มการปกป้องไฟล์ของเราจาก ransomware แล้ว ฟีเจอร์นี้เรียกว่า Controlled Folder Access
หน้าที่ของมันคือกำหนดว่าโฟลเดอร์ไหนที่ห้ามไม่ให้แอพแก้ไขไฟล์ในโฟลเดอร์นั้น (protected folder) ถ้าหากเราติด ransomware และมันพยายามเข้ารหัสไฟล์ของเราพร้อมลบไฟล์เก่าทิ้ง ตัว Windows Defender จะป้องกันไม่ให้แอพมีสิทธิเขียนไฟล์ในโฟลเดอร์ที่ป้องกันไว้
ผู้ใช้สามารถกำหนด protected folder ได้หลายอันตามต้องการ และสามารถ whitelist ให้แอพบางตัวที่มั่นใจว่าปลอดภัย มีสิทธิแก้ไขไฟล์ได้ด้วย
จากข่าว มีไฟล์ซอร์สโค้ดบางส่วนของ Windows 10 ขนาด 32TB หลุดออกสู่อินเทอร์เน็ต โฆษกของไมโครซอฟท์ชี้แจงกับ The Verge ว่าทีมงานของไมโครซอฟท์ตรวจสอบไฟล์ที่หลุดออกมาแล้ว พบว่ามีซอร์สโค้ดบางส่วนจากโครงการ Shared Source ที่ไมโครซอฟท์ส่งให้พาร์ทเนอร์อยู่จริง
อย่างไรก็ตาม The Verge ตรวจสอบว่าขนาดไฟล์ 32TB ตามที่ The Register อ้างถึงนั้นไม่ถูกต้อง และซอร์สโค้ดที่หลุดออกมามีน้อยมาก แถมเป็นซอร์สโค้ดที่ไมโครซอฟท์แชร์ให้พาร์ทเนอร์และลูกค้าบางรายอยู่แล้ว ไม่ได้เป็นความลับสุดยอดอะไร
ฝั่งของเว็บ Beta Archive ระบุว่าไฟล์ซอร์สโค้ดมีขนาดแค่ 1.2GB และทางเว็บตัดสินใจลบออกไปเอง โดยไมโครซอฟท์ไม่ได้มากดดันอะไร
ซัมซุงเริ่มเดินหน้าพัฒนาระบบปฏิบัติการ Tizen เวอร์ชัน 4.0 โดยออกรุ่นทดสอบแรก M1 (Milestone 1)
ฟีเจอร์เด่นของ Tizen 4.0 คือรองรับ .NET ของไมโครซอฟท์ นักพัฒนาสาย .NET สามารถใช้ภาษา C# และคอมไพล์แบบ CLI (Common Language Infrastructure) ได้ทันที (รองรับตามสเปก .NET Standard 2.0)
ซัมซุงยังจับมือกับไมโครซอฟท์ออก Visual Studio Tools for Tizen เพื่อให้พัฒนาแอพบน Tizen ด้วย Visual Studio ได้ง่าย ตัวปลั๊กอินจะออกเวอร์ชัน 1.0 ช่วงปลายปีนี้
ฟีเจอร์ใหม่อีกอย่างของ Tizen 4.0 คือจะเป็นระบบปฏิบัติการสำหรับอุปกรณ์ทุกประเภท เป็น unified build ไม่แยกรุ่นตามประเภทของอุปกรณ์ดังที่เคยทำมาใน Tizen เวอร์ชันก่อนๆ
ไมโครซอฟท์ปรับวิธีการออกรุ่นของ Windows Server ใหม่หมด โดยจะแยกเป็น 2 channel คือ รุ่นออกเร็วทุก 6 เดือน (semi-annual) และรุ่นซัพพอร์ตนาน ออกทุก 2-3 ปี (LTS)
รุ่นออกทุก 6 เดือนจะยึดรอบตาม Windows 10 ที่ประกาศไว้ก่อนหน้านี้ โดยจะออกปีละ 2 ครั้งในเดือนมีนาคมและกันยายน เน้นเพิ่มฟีเจอร์ใหม่ๆ เข้ามาบ่อยๆ วิธีการเรียกรุ่นจะอิงตามปี/เดือน (เช่น 1709, 1803, 1809) แต่ข้อจำกัดคือมีระยะเวลาซัพพอร์ตแค่ 18 เดือนต่อรุ่น
ส่วนรุ่น Long-term Servicing Branch ก็จะเหมือนของเดิมคือออกทุก 2-3 ปี มีระยะเวลาซัพพอร์ต 5+5 ปีเหมือนเดิม ระหว่างทางจะได้อัพเดตแก้บั๊ก-แพตช์ความปลอดภัยประจำเดือน แต่จะไม่ได้อัพเดตฟีเจอร์ใหม่ที่ย้ายไปออกในรุ่น 6 เดือนแทน
ไมโครซอฟท์ออก Windows 10 Insider Build 16215 เพิ่มฟีเจอร์หลายอย่างเตรียมความพร้อมสู่ Fall Creator Update
แอปเปิลเปิดตัว iOS 11 ในงาน WWDC ตามคาด อัพเดตความสามารถรอบด้าน
แอปเปิลเปิดตัว macOS รุ่นใหม่ในชื่อ High Sierra ซึ่ง Craig Federighi รองประธานฝ่ายวิศวกรรมซอฟต์แวร์บอกว่าเพื่อทำให้ macOS Sierra สมบูรณ์มากยิ่งขึ้น
การเปลี่ยนแปลงหลักๆ คือหันมาใช้ File System ใหม่ของแอปเปิลที่ชื่อ Apple File System - APFS ซึ่งมาเป็นดีฟอลท์ และมาพร้อม Metal 2 API กราฟิคเวอร์ชันใหม่ ที่รองรับชิปกราฟิคนอก, Machine Learning และ VR แล้วทั้งแพลตฟอร์ม Steam VR, Unity และ Unreal Engine
มีคนไปพบข้อมูลหลุดในโค้ดของ Windows 10 Insider บวกกับเอกสารหลุดของไมโครซอฟท์ ว่าไมโครซอฟท์กำลังทำ Windows 10 Pro for Advanced PCs หรืออีกชื่อคือ Windows 10 Pro for Workstation PCs อยู่
ตามข่าวบอกว่า Windows 10 Pro for Advanced PCs จะต่างจาก Windows 10 Pro รุ่นปกติดังนี้
ฟีเจอร์อย่างหนึ่งของ Android O คือ JobScheduler จำกัดการทำงานของแอพที่รันในแบ็คกราวนด์ เพื่อประหยัดพลังงานให้มากขึ้น ก่อนหน้านี้เราเข้าใจกันว่าฟีเจอร์นี้จะใช้ได้เฉพาะแอพที่ออกแบบมาให้รันบน O เท่านั้น
แต่ในบทสัมภาษณ์ของหัวหน้าทีม Android กับ Ars Technica ก็มีการอธิบายเรื่องนี้เพิ่มเติม กลายเป็นว่าแอพใดๆ ก็ได้ที่รันบน O สามารถถูกจำกัดการรันอยู่ในแบ็คกราวนด์ได้เช่นกัน เพียงแต่ผู้ใช้ต้องตั้งค่าเอาเองในหน้า Battery usage
การจำกัดการทำงานของ O ไม่ได้เป็นการห้ามรันแบ็คกราวนด์ 100% แต่ตัว JobScheduler จะคอยจัดการทรัพยากรให้แทน เช่น จำกัดความถี่ของการเข้าถึง location เป็นต้น
ปัญหาอย่างหนึ่งของแอนดรอยด์ คือการใช้เคอร์เนลลินุกซ์ที่เก่ามาก (แอนดรอยด์ใช้ 3.18 ที่ออกในปี 2014 ส่วนเคอร์เนลเวอร์ชันล่าสุดคือ 4.11)
Dave Burke หัวหน้าทีมวิศวกรรมแอนดรอยด์ ตอบคำถามเรื่องนี้ในบทสัมภาษณ์กับ Ars Technica ว่าเคอร์เนล 3.18 เป็นเคอร์เนลที่ซัพพอร์ตระยะยาว (LTS) ซึ่งมันหมดอายุซัพพอร์ตแล้วในเดือนมกราคม 2017
ปัญหาของเรื่องนี้เกิดจากแผนการซัพพอร์ต LTS ของลินุกซ์กับแอนดรอยด์มีระยะเวลาไม่เท่ากัน ลินุกซ์มีระยะซัพพอร์ต 2 ปี ส่วนแอนดรอยด์มีระยะซัพพอร์ตความปลอดภัย 3 ปี ทางแก้คือทีมแอนดรอยด์กำลังเจรจากับทีมลินุกซ์ให้ระยะการซัพพอร์ตยาวนานขึ้น
สิ่งหนึ่งที่ไม่มีพูดถึงเลยในงาน Google I/O 2017 คือระบบปฏิบัติการตัวใหม่ Fuchsia เรื่องนี้เลยมีคนยกมือถาม Dave Burke หัวหน้าทีม Android ในเรื่องนี้
คำตอบของเขาคือ Fuchsia เป็นโครงการทดลองที่เพิ่งเริ่มต้น (early stage experimental project) ซึ่งกูเกิลมีโครงการลักษณะนี้มากมาย และโครงการเหล่านี้อาจเปลี่ยนรูปแบบหรือยุบไปรวมกับโครงการอื่นในอนาคต ส่วน Fuchsia นั้นแยกการพัฒนาเป็นอิสระไม่ยุ่งกับ Android
สรุปว่าคำตอบของ Burke คือการไม่ให้ข้อมูลใดๆ เกี่ยวกับ Fuchsia เพิ่มเติมนั่นเอง
ที่มา - Android Police