แอปพลิเคชั่นหาคู่สำหรับคนรักร่วมเพศ Grindr ถูกรายงานว่าได้แชร์ข้อมูลอ่อนไหวเรื่องผู้ใช้งานแอปที่มีเชื้อ HIV ให้แก่บริษัทภายนอกที่เป็นคู่สัญญาอย่างน้อย 2 แห่ง
ตัวแอป Grindr เปิดให้ผู้ใช้ระบุข้อมูลตัวเองว่ามีเชื้อ HIV หรือไม่ รวมทั้งวันที่ตรวจหาเชื้อล่าสุดด้วย เพื่อความปลอดภัยของการหาคู่ผ่านแอป แอปยังมีฟีเจอร์เตือนผู้ใช้ให้ตรวจหาเชื้อ HIV ทุก 3-6 เดือน ตัวแอปไม่เปิดเผยตัวว่าผู้ใช้รายนี้เป็นใคร แต่จะเปิดเฉพาะรสนิยมทางเพศบางอย่าง รูปร่าง เท่านั้น
จนกระทั่งบริษัทวิจัยข้อมูล SINTEF ไปพบว่า Grindr แชร์ข้อมูลอ่อนไหวของผู้ใช้งานให้บริษัทภายนอกที่เป็นคู่สัญญาของ Grindr อย่างน้อย 2 แห่งคือ Apptimize และ Localytics และยังบอกอีกว่าข้อมูลเชื้อ HIV ถูกแชร์ไปพร้อมกับข้อมูลอื่นด้วยเช่น ตำแหน่ง, ID โทรศัพท์, อีเมล ซึ่งถ้ามีการแชร์ข้อมูลมากๆเข้า บริษัทคู่สัญญาจะเดาได้ว่าเป็นข้อมูลของใคร
Tor Project ประกาศหยุดโครงการ Tor Messenger หลังจากที่ได้เปิดตัวเวอร์ชันเบต้ามาประมาณ 3 ปี และยังไม่ได้เปิดตัวเวอร์ชันจริง
Tor Messenger เป็นโครงการภายใต้ Tor Project ที่พัฒนามาตั้งแต่ปี 2014 ตัว Tor Messenger สามารถทำงานร่วมกับเครือข่ายและโปรโตคอลของบริการชื่อดังอย่างเช่น Facebook, Google, Twitter, Jabber (XMPP) และ Yahoo โดยจะทำให้ทราฟฟิกของการส่งข้อความไปวิ่งบนเครือข่าย Tor รวมถึงเป็นการบังคับใช้การเข้ารหัสกับการสนทนาแบบหนึ่งต่อหนึ่งได้โดยใช้ระบบ OTR (Off-the-Record) แต่ยังคงความง่ายในการใช้งานเพราะว่าเป็นการนำแพลตฟอร์มที่ผู้ใช้คุ้นเคยมาใช้งานบนเครือข่าย Tor อีกที
บริการเซิร์ฟเวอร์ DNS ไอพี 1.1.1.1 ของ CloudFlare เปิดตัวเป็นทางการเมื่อวันที่ 1 เมษายนที่ผ่านมา (วันที่ 1/4) ปรากฎว่าไอพีนี้มีความพิเศษหลายอย่าง
ทาง CloudFlare พยายามหาไอพีที่จำได้ง่ายระดับเดียวกับ 8.8.8.8 ของกูเกิล และอยากได้ 1.1.1.1 และ 1.0.0.1 ที่ APNIC ถืออยู่ โดยทาง APNIC ถือไอพีนี้ไว้เพื่อศึกษา "ข้อมูลขยะ" ที่เครื่องจำนวนมากส่งมายังไอพีนี้ โดยปกติแล้วคนที่จะได้ไอพีสำหรับเซิร์ฟเวอร์คงไม่อยากได้ไอพีแปลกแบบนี้ เพราะทราฟิกขยะก็ทำเน็ตเวิร์คเต็มได้ง่ายๆ แต่ทาง CloudFlare ยินดีรับทราฟิกไว้เอง และจะแบ่งข้อมูลทราฟิกให้ APNIC ศึกษาต่อไป
เรื่องมีอยู่ว่าเมื่อหลายวันก่อน หลังจากเหตุการณ์ข้อมูลผู้ใช้ Facebook หลุด 50 ล้านบัญชี นำมาสู่การขุดประเด็นต่างๆ เรื่องการใช้ข้อมูลส่วนตัวของผู้ใช้งาน Facebook มากมายตามมา ก็มีการถามถึงประเด็นนี้กับ Tim Cook ซีอีโอแอปเปิลในรายการโทรทัศน์หนึ่ง ซึ่ง Tim Cook บอกว่า เขาอยากให้บริษัทที่มีการใช้ข้อมูลส่วนบุคคลทำธุรกิจ ตรวจสอบควบคุมกันภายในให้มากขึ้น ซึ่งดีกว่าการรอให้หน่วยงานรัฐมาตรวจสอบ
สหรัฐอเมริกาเสนอปรับเกณฑ์การขอวีซ่าเข้าประเทศใหม่ โดยผู้ยื่นขอวีซ่าจะต้องกรอกข้อมูลโซเชียลมีเดียของตัวเองด้วย
การเปลี่ยนแปลงนี้จะมีผลในแบบฟอร์มการขอวีซ่า (สำหรับคนทั่วไปคือ DS-160 ที่กรอกผ่านอินเทอร์เน็ต) จะมีคำถามเพิ่มเติมดังนี้
GDPR กฎใหม่ด้านข้อมูลส่วนตัวของยุโรป กำลังจะมีผลบังคับใช้ในเดือนพฤษภาคม 2018 ทำให้บริษัทไอทีหลายรายเริ่มปรับตัว เพื่อให้ผ่านเกณฑ์ที่ GDPR ระบุไว้
แอปเปิลเป็นบริษัทล่าสุดที่ออกมาประกาศว่าจะทำตาม GDPR โดยจะเพิ่มตัวเลือกใหม่บนเว็บไซต์ Apple ID ให้ผู้ใช้สามารถดาวน์โหลดข้อมูลทั้งหมดของตัวเองมาจากแอปเปิลได้ นอกจากนี้ ผู้ใช้ยังสามารถปิดบัญชี Apple ID ของตัวเองชั่วคราว หรือจะลบข้อมูลทั้งหมดทิ้งอย่างถาวรเลยก็ได้เช่นกัน
ตัวเลือกนี้จะเพิ่มเข้ามาให้ผู้ใช้ในยุโรปช่วงต้นเดือนพฤษภาคม และผู้ใช้ในประเทศอื่นจะได้ตามมาในภายหลัง
CloudFlare ทำเว็บประกาศเซิร์ฟเวอร์ DNS ใหม่หลุดออกมาเป็นช่วงเวลาสั้นๆ โดยประกาศว่าจะเปิดเซิร์ฟเวอร์ 1.1.1.1 ให้บริการ DNS สำหรับคนทั่วไป โดยเป็นโครงการร่วมกับ APNIC
ในประกาศระบุว่า DNSPerf ทดสอบเซิร์ฟเวอร์ของ CloudFlare แล้วพบว่ามีความเร็วสูงสุด และบริการนี้รองรับ DNS over HTTPS เข้ารหัสการขอโดเมนเพื่อความเป็นส่วนตัว ทำให้ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตไม่สามารถดักแก้ไข หรือมอนิเตอร์การขอข้อมูล DNS ได้
หน้าเว็บที่หลุดออกมาเป็นหน้าที่ยังทำไม่เสร็จอย่างชัดเจน โดยลิงก์ไปยัง APNIC แต่ตัวลิงก์จริงเป็น example.com
ที่มา - Web Archive: dns.cloudflare.com
เรียกได้ว่าพอน้ำลดแล้วตอผุดออกมาหลายต่อหลายตอกันเลยทีเดียวสำหรับเฟซบุ๊ก หลังเรื่องราวทั้งหมดเริ่มจาก Cambridge Analytica ต่อเนื่องด้วยการเก็บบันทึกการโทรและข้อความ และสดๆ ร้อนๆ คือเก็บวิดีโอที่ผู้ใช้ไม่เคยแม้แต่อัพโหลด
ขณะที่ Mark Zuckerberg ซีอีโอออกมายืนยันว่าการปกป้องข้อมูลคือหน้าที่ของเฟซบุ๊ก รวมถึงลงโฆษณา พร้อมระบุว่าเราไม่ควรได้รับหน้าที่ปกป้องข้อมูลผู้ใช้ถ้าทำไม่ได้ ทว่าตอล่าสุดที่ผุดออกมา เหมือนจะตบหน้าซีอีโอเฟซบุ๊กเบาๆ ที่พยายามออกมายืนยันเรื่องการปกป้องข้อมูลผู้ใช้ตลอด ขณะสิ่งที่เฟซบุ๊กเชื่อมั่นคือการเติบโตของบริษัทและเชื่อมต่อผู้คน
เรียกได้ว่าเป็นความวัวไม่ทันหาย ความควายเข้ามาแทรกก็ว่าได้ หลังจากที่มีคนพบว่า Facebook แอบเก็บบันทึกการโทรและข้อความจากสมาร์ทโฟน Android ปรากฏว่ามีคนไปเจอไฟล์วิดีโอที่ Facebook เก็บบันทึกไว้ ทั้งที่เจ้าตัวยังไม่เคยโพสต์คลิปวิดีโอนั้นลงบน Facebook มาก่อนเลย
Madison Malone Kircher นักเขียนของเว็บ Select/All เล่าว่าน้องสาวของเธอตรวจสอบเรื่องการเก็บข้อมูลของ Facebook หลังทราบข่าวเรื่องการเก็บบันทึกการโทรและข้อความจากสมาร์ทโฟน โดยน้องสาวเธอได้ทำการดาวน์โหลดไฟล์เหล่านั้น แต่กลับพบว่าในบรรดาไฟล์ข้อมูลที่โหลดมา ดันมีไฟล์คลิปวิดีโอที่น้องของเธอเคยถ่ายเอาไว้ด้วย ทั้งที่ไม่เคยมีการโพสต์ไฟล์วิดีโอนั้นลงบน Facebook มาก่อน
ประเด็นความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้บนเฟซบุ๊กยังคงมีแง่มุมและท่าทีจากเฟซบุ๊กออกมาเรื่อยๆ ล่าสุดนอกจากยกเครื่องหน้า Setting แล้ว เฟซบุ๊กยังประกาศยกเลิกโครงการการเป็นพาร์ทเนอร์กับองค์กรที่ขายข้อมูลภายนอกหรือที่เรียกว่า Data Broker ที่เริ่มมาตั้งแต่ปี 2013
Data Broker คือกลุ่มบริษัทที่ขายข้อมูลที่ได้มา (จากทางอื่นที่ไม่ใช่เฟซบุ๊ก) เช่น รสนิยม, ความสนใจรายการทีวี, ยี่ห้อรถยนต์ที่ชอบ ฯลฯ ให้กับคนที่ซื้อโฆษณาบนเฟซบุ๊กให้สามารถโฆษณาได้ตรงกลุ่มเป้าหมายมากขึ้น โดยอิงจากข้อมูลผู้ใช้ที่เปิดเผยได้บนเฟซบุ๊ก อาทิ เพจที่ไลค์
Facebook ประกาศปรับปรุงส่วนการตั้งค่าผู้ใช้งาน โดยเฉพาะในส่วนการตั้งค่าความเป็นส่วนตัว ซึ่ง Facebook ยอมรับว่าผู้ใช้งานได้ให้ความเห็นว่าดูแล้วเข้าใจยาก จึงมีการปรับหน้าตาให้ดูง่ายขึ้น รายละเอียดมีดังนี้
Mozilla ออก add-on สำหรับ Firefox ใหม่ในชื่อว่า Facebook Container ซึ่งระบบนี้ Mozilla ได้พัฒนามานับปีแล้ว โดยมีจุดประสงค์เพื่อปกป้องความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้รวมถึงความปลอดภัยจากการติดตามของ Facebook ซึ่งมักจะมีเครือข่ายที่เอาไว้ติดตามผู้ใช้อยู่ตามเว็บไซต์ต่าง ๆ โดยโค้ดเหล่านี้จะคอยติดตามผู้ใช้แบบที่ไม่อาจรู้ตัว และไม่สามารถเลือกได้ว่าจะให้ส่งข้อมูลอะไรบ้าง
จากประเด็น Facebook เก็บข้อมูล metadata ทั้งบันทึกโทรและข้อความจากสมาร์ทโฟนแอนดรอยด์ที่เปิด permission วันนี้ Facebook ออกมาชี้แจง ดังนี้
Facebook บอกว่าเก็บข้อมูลดังกล่าวจริง เป็นการเก็บข้อมูลแบบ opt-in คือผู้ใช้อนุญาต เพื่อให้ง่ายต่อผู้ใช้เวลาติดต่อคนที่ต้องการติดต่อผ่าน Facebook แต่เมื่อใดก็ตามที่ผู้ใช้ต้องการปิดการเก็บข้อมูล ก็สามารถเข้าไปตั้งค่าได้ (Setting > App and Notification > เลือกแอป Facebook > Permission > ปิดทั้งหมด หรือเปิดเฉพาะเท่าที่จะอนุญาต)
ส่วนประเด็นที่ว่า Facebook นำข้อมูลที่ได้ไปขายหรือไม่ Facebook ยืนยันว่าไม่ได้ขายข้อมูลให้คนภายนอก และฟีเจอร์นี้ ก็ไม่ได้เก็บข้อมูลข้อความที่ผู้ใช้ส่งหากัน รวมทั้งเสียงสนทนาก็ไม่ได้บันทึกไว้
อินเดีย เป็นประเทศที่มีจำนวนประชากรมากเป็นอันดับ 2 ของโลก เป็นรองก็เพียงแต่จีนเท่านั้น ด้วยจำนวนประชากรราว 1.32 พันล้านคน (ข้อมูลจากปี 2016) มากกว่า 2 เท่าของจำนวนประชากรในทุกประเทศเขตเอเชียตะวันออกเฉียงใต้รวมกันด้วยซ้ำ นั่นทำให้ฐานข้อมูลเกี่ยวกับประชากรของประเทศนี้คือข้อมูลขนาดมหึมา การรวบรวมและดูแลจึงเป็นเรื่องไม่ง่ายเลย ซึ่งล่าสุดรัฐบาลอินเดียก็พลาดเรื่องนี้จนได้
เพื่อจัดการกับข้อมูลประชากรมหาศาล รัฐบาลอินเดียได้จัดตั้ง Aadhaar ฐานข้อมูลกลางแห่งชาติที่รวบรวมข้อมูลประจำตัวบุคคลซึ่งรวมถึงข้อมูลอัตลักษณ์ทางชีวภาพอย่างลายนิ้วมือ และภาพสแกนม่านตา โดยมีประชากรอินเดียราว 1.1 พันล้านคนลงทะเบียนข้อมูลแสดงตัวตนในฐานข้อมูล Aadhaar นี้
เคราะห์ซ้ำกรรมซัดสำหรับผู้ใช้เฟซบุ๊กมากๆ หลังประเด็นเรื่องข้อมูลผู้ใช้รั่วไปกับ Cambridge Analytica ยังไม่หาย มีประเด็นเรื่องความเป็นส่วนตัวผู้ใช้ซ้ำมาอีกระลอก เมื่อมีคนพบว่าเฟซบุ๊กเก็บข้อมูล metadata ทั้งบันทึกโทรและข้อความจากสมาร์ทโฟนแอนดรอยด์ที่เปิด permission มาตลอด
เฟซบุ๊กมีฟีเจอร์หนึ่งให้ผู้ใช้สามารถดาวน์โหลดข้อมูลทั้งหมดบนเฟซบุ๊กนับตั้งแต่สร้างโปรไฟล์ครั้งแรกมาดูได้ ก่อนที่ Dylan McKay ผู้ใช้คนหนึ่งจะพบว่าข้อมูลที่เขาโหลดมาจากเฟซบุ๊กนั้น มีบันทึกการโทร ชื่อปลายทาง ระยะเวลาที่โทร ไปจนถึงบันทึกการรรับส่งข้อความจากสมาร์ทโฟนแอนดรอยด์ที่เขาใช้
Sheryl Sandberg ซีโอโอ Facebook ออกมาให้สัมภาษณ์ MSNBC ต่อประเด็นร้อนแรงระหว่าง Facebook และบริษัทวิจัยข้อมูลทำแคมเปญหาเสียงการเมือง Cambridge Analytica เธอบอกว่า "เราเปิดกว้างสำหรับการควบคุม เราทำงานร่วมกับฝ่ายนิติบัญญัติทั่วโลก"
Sandberg ให้คำมั่นสัญญาว่า "เรารู้ว่านี่เป็นเรื่องของความไว้วางใจของผู้ใช้ และเรารู้ว่านี่เป็นช่วงเวลาที่สำคัญสำหรับบริษัท และเราจะทำทุกอย่างที่เราทำได้เพื่อแก้ไขมัน" เธอบอกด้วยว่า Facebook มีคนใช้เป็นพันล้านคนทั่วโลก นั่นหมายความว่า จะต้องมีคนที่พยายามใช้มันในทางที่ผิด สิ่งที่เราต้องทำคือ โต้กลับให้เร็วที่สุดที่จะแก้ปัญหา และเปิดเผยปัญหา
Sandberg ออกมาพูดถึงกรณีดังกล่าวหลังจาก Mark Zuckerberg เพียงวันเดียว เธอกล่าวเพิ่มเติมว่า Facebook ออกมาพูดถึงกรณี Cambridge Analytica ช้าเกินไป ถ้าย้อนเวลากลับไปยังสัปดาห์ก่อนหน้าได้ ก็อยากจะออกมาเปิดเผยให้เร็วกว่านี้
จากกรณีข้อมูลหลุดผู้ใช้ Facebook กับบริษัท Cambridge Analytica สร้างเสียงวิจารณ์อย่างกว้างขวาง
Mozilla ในฐานะองค์กรที่ผลักดันเรื่องความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้เน็ต จึงประกาศหยุดลงโฆษณาบน Facebook ชั่วคราว ด้วยเหตุผลว่าค่าดีฟอลต์ของ Facebook อนุญาตให้แอพภายนอกเข้าถึงข้อมูลส่วนตัวของผู้ใช้มากเกินไป โดยครอบคลุมถึงประวัติการศึกษา สถานที่ทำงาน เมืองที่อาศัย และการโพสต์บน timeline
ผู้ใช้ Facebook จำนวนมากไม่เคยสนใจเปลี่ยนค่าเหล่านี้ และใช้ค่าดีฟอลต์ที่ Facebook กำหนดให้ ส่งผลให้เกิดความเสี่ยงที่ข้อมูลจะรั่วไหลโดยไม่รู้ตัว Mozilla จึงออกมาเรียกร้องให้ Facebook แก้ไขค่าดีฟอลต์นี้ และหยุดลงโฆษณาชั่วคราวจนกว่า Facebook จะยอมเปลี่ยน
ในที่สุดก็มาถึงจุดนี้ จุดที่ผู้ใช้ Facebook จำนวนไม่น้อย คิดอยากจะลบบัญชี Facebook ออกไปให้รู้แล้วรู้รอด เพราะข่าวฉาวที่กระทบข้อมูลส่วนบุคคลโดยตรง ยังไม่นับข่าวปลอมต่างๆ บทความที่แล้ว Blognone เสนอฮาวทูตั้งค่าข้อมูลส่วนตัวบน Facebook ไม่ให้บริการภายนอกมาดูดไปง่ายๆ บทความนี้จึงเสนอฮาวทูลบบัญชี Facebook ออก โดยขอเตือนก่อนว่า ถ้าลบแล้วและจะกลับเข้ามาใช้ใหม่ ต้องสมัครใหม่ เริ่มจากศูนย์
จากเหตุการณ์ข้อมูลผู้ใช้ Facebook หลุด 50 ล้านบัญชี ซึ่งสร้างผลกระทบความเชื่อมั่นอยู่มาก ผ่านไปหลายวันในที่สุดซีอีโอ Mark Zuckerberg ก็ออกมาชี้แจงปัญหาดังกล่าวผ่านโพสต์บน Facebook แล้ว
Zuckerberg เปิดด้วยประโยคที่ว่า ความรับผิดชอบของ Facebook คือการปกป้องข้อมูลของทุกคน และหากเราทำไม่ได้ เราก็ไม่สมควรอยู่เพื่อให้บริการต่อ มาตรการที่ออกมาของ Facebook ในวันนี้เป็นสิ่งที่เคยทำมาก่อนหน้าแล้ว แต่มีความผิดพลาด ยังทำได้ไม่ดีพอ และมีอะไรที่ต้องปรับปรุงอีกมาก
เฟซบุ๊กประกาศเพิ่มมาตรการรักษาข้อมูลที่ถูกบริษัทอื่นนำไปใช้ให้หนาแน่นขึ้น โดยประกาศมาตรการ 6 ประการ ได้แก่
ข่าวข้อมูลผู้ใช้เฟซบุ๊ก 50 ล้านรายถูกดึงไปใช้งานโดย Cambridge Analytica ต่อเนื่องมาจนถึงนักข่าว Channel 4 เปิดเผยว่าซีอีโอของบริษัทพูดถึงการส่งหญิงสาวไปยังบ้านนักการเมืองฝั่งตรงข้าม เมื่อวานนี้ทางบริษัทก็ออกจดหมายข่าวชี้แจงข้อความนี้ โดยระบุว่าซีอีโอของบริษัทตกหลุมพลางนักข่าวที่พยายามล่อให้เข้าพูดประโยคเช่นนั้น
ประเด็นความเป็นส่วนตัวของข้อมูลใน Facebook กำลังดุเดือดอีกครั้ง จนถึงกับมีกระแสเลิกใช้ Facebook แต่ถ้าใครยังไม่พร้อมจะหักล้างกับ Facebook ก็ยังมีวิธีอื่นที่ช่วยรักษาข้อมูลส่วนบุคคลให้ปลอดภัย ไม่ถูกนำไปใช้ง่ายๆ
บทความนี้จึงนำวิธีตรวจสอบว่ามีแอพภายนอกอะไรบ้าง ที่ใช้การล็อกอินผ่าน Facebook และมีสิทธิเข้าถึงข้อมูลส่วนตัวของเรา รวมทั้งวิธีปิดไม่ให้คนภายนอกเข้าถึงข้อมูล แต่การปิดการใช้งานลักษณะนี้ อาจทำให้ผู้ใช้ Facebook เข้าใช้แอพอืื่น หรือใช้บริการอื่นหลายๆ ตัวไม่ได้ เช่น ใช้ Facebook ล็อกอินเข้าเกม A ไว้ ถ้าตั้งค่าปิดการใช้งานตามฮาวทูนี้ ข้อมูลในไทม์ไลน์ที่เคยโพสไว้, คะแนนสูงสุด อาจหายหมด
Mark Zuckerberg ซีอีโอเฟซบุ๊กน่าจะได้เข้าแทบทุกสภาใหญ่ในยุโรปจากการบินไปครั้งเดียว หลังก่อนหน้านี้ถูกคณะกรรมาธิการสภาผู้แทนอังกฤษเรียกตัว เพื่อให้ข้อมูลเกี่ยวกับ การรั่วไหลของข้อมูลผู้ใช้ที่ถูกนำไปใช้ด้านการเมือง ล่าสุดรัฐสภายุโรปเรียกตัวซีอีโอเฟซบุ๊กเพื่อให้ข้อมูลด้วยเช่นกัน
Antonio Tajani ประธานรัฐสภายุโรปได้ทวีตว่า สภาได้เชิญ Mark Zuckerberg เข้ามาให้ข้อมูลและให้ความกระจ่างกับสภาว่า ข้อมูลส่วนตัวของผู้ใช้ชาวยุโรปจะไม่ถูกใช้งานเพื่อบงการชักใยระบอบประชาธิปไตย
จากประเด็น Cambridge Analytica นำข้อมูลส่วนตัวของผู้ใช้บนเฟซบุ๊กไปทำแคมเปญหาเสียง (อ่านเรื่องราวทั้งหมดได้จากบทความนี้) ล่าสุดคณะกรรมาธิการของสภาสามัญชนของอังกฤษเรียกตัว Mark Zuckerberg ซีอีโอเฟซบุ๊กเพื่อให้ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับประเด็นข้างต้น
Damien Collins ประธานคณะกรรมาธิการ ระบุในหนังสือเรียกตัว Zuckerberg ว่าก่อนหน้านี้เฟซบุ๊กให้ข้อมูลที่ทำให้คณะกรรมาธิการเข้าใจผิด เมื่อถูกถามว่าข้อมูลที่ Cambridge Analytica นำไปใช้ไม่ได้รับความยินยอมจากผู้ใช้ใช่หรือไม่ ซึ่งรอบนี้ Collins ระบุว่าต้องการได้ยินข้อมูลจากผู้บริหารของเฟซบุ๊กที่มีอำนาจและมีข้อมูลที่ถูกต้อง พร้อมวางกรอบให้ซีอีโอเฟซบุ๊กตอบรับก่อน 26 มีนาคมนี้
2-3 วันนี้ ชาว Blognone อาจได้ยินข่าวดราม่าระลอกใหม่ของ Facebook ประเด็นข้อมูลส่วนบุคคล ที่มีบริษัทนำข้อมูลผู้ใช้งาน Facebook ไปทำแคมเปญหาเสียงทางการเมืองในสหรัฐฯ ข่าวนี้กลายเป็นประเด็นถกเถียงครั้งใหญ่ในสหรัฐอเมริกา ทั้งในแง่ความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้งานและในแง่การเมืองสหรัฐ
เพื่อให้ผู้อ่านได้เข้าใจที่มาที่ไปของประเด็นดังกล่าว Blognone จึงสรุปเหตุการณ์ในบทความนี้