กูเกิลเปิดบริการ My Ad Center บริการปรับแต่งโฆษณาที่แสดงบนแพลตฟอร์มของกูเกิลเอง เช่น Google Search, YouTube, และ Discover โดยผู้ใช้สามารถปรับแต่งค่าการแสดงโฆษณาแยกออกจากการปรับค่าเพื่อใช้งานตามปกติ
ผู้ใช้สามารถเลือกหมวดโฆษณาที่อยากดูหรือไม่อยากดู และเข้าไปดูได้ว่าระบบคาดเดาข้อมูลสำหรับการยิงโฆษณาไว้อย่างไรบ้าง (เช่น เพศ, อายุ, หรือความสนใจ) นอกจากนี้เรายังสามารถปรับการใช้ประวัติการใช้งานมายิงโฆษณาได้ เช่น YouTube ที่เก็บประวัติการดูวิดีโอของผู้ใช้เอาไว้เพื่อแนะนำวิดีโอ เราสามารถปิดการใช้ประวัติการดูวิดีโอเพื่อเลือกโฆษณา ขณะที่ยังปล่อยให้ YouTube เก็บประวัติการใช้งานเพื่อแนะนำวิดีโอปกติที่ไม่ใช่โฆษณาต่อไปได้
Tech Shielder เว็บที่เก็บข้อมูลและวิจัยด้านความปลอดภัย เปิดเผยรายงาน Hack Hotspots ที่รายงานการเก็บข้อมูลของแอป โซเชียลและบันเทิง ที่ได้รับความนิยม รวมถึงแนวโน้มของปริมาณความสนใจในการแฮกแอปเหล่านี้
รายงานเผยว่าแอปในกลุ่ม Meta ล้วนมีการเก็บชุดข้อมูลของผู้ใช้ในสัดส่วนที่สูงที่สุด โดย Facebook และ Messenger เก็บชุดข้อมูลถึง 70% ของจำนวนชุดข้อมูลที่สามารถเก็บได้ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นข้อมูลส่วนบุคคล รองลงมาเป็น Instagram ที่ 67%, Snapchat 59%, WhatsApp และ Twitter เท่ากันที่ 53%
Google เตรียมจ่ายเงิน 85 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพื่อยุติคดีที่ถูกอัยการสูงสุดรัฐแอริโซนาฟ้องเหตุแอบเก็บข้อมูลประวัติสถานที่ของผู้ใช้เพื่อการโฆษณา
อัยการรัฐแอริโซนายื่นฟ้อง Google ในช่วงต้นปี 2020 กล่าวหาว่า Google ละเมิดกฎหมาย Consumer Fraud Act โดยเก็บข้อมูลโลเคชันของผู้ใช้แม้แต่หลังจากที่ผู้ใช้ตั้งค่าปิดฟีเจอร์ติดตามประวัติสถานที่ไปแล้วก็ตาม
ทางฝั่ง Google โต้กลับว่ากฎหมายคุ้มครองความเป็นส่วนตัวของผู้บริโภคห้ามไม่ให้เก็บข้อมูลเพื่อการเพิ่มยอดขายหรือการโฆษณา แต่นโยบายการโฆษณาที่อัยการของรัฐอ้างถึงเป็นนโยบายเก่าที่ Google เปลี่ยนแปลงมาหลายปีแล้ว และยืนยันว่าปัจจุบันบริษัทได้ควบคุมและลบประวัติสถานที่ของผู้ใช้โดยอัตโนมัติ รวมทั้งจะเก็บข้อมูลผู้ใช้ให้น้อยที่สุด
เมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา Google ได้ระบุเรื่องการรับคำร้องจากผู้ใช้เพื่อขอลบข้อมูล PII (personal identifiable information) ซึ่งหมายถึงข้อมูลเกี่ยวกับตัวบุคคลที่แม้จะไม่ใช่เลขประจำตัวหรือชื่อของบุคคลโดยตรง แต่เป็นข้อมูลที่สามารถนำมาใช้ประกอบกันเพื่อระบุตัวตนบุคคลได้อยู่ดี โดย Google ขยายขอบเขตรับเรื่องการขอลบข้อมูลที่อยู่,เบอร์โทรศัพท์ และอีเมล ออกจากหน้าแสดงผลการค้นหา มาถึงตอนนี้ Google ก็ได้ปล่อยฟีเจอร์สำหรับแอป Google บน Android ให้ผู้ใช้สามารถแจ้งเรื่องขอลบข้อมูลดังกล่าวได้ง่ายขึ้น
ผู้ใช้ Facebook 2 รายยื่นฟ้องแบบกลุ่มต่อศาลรัฐบาลกลางเมืองซานฟรานซิสโก จากเหตุที่มีนักพัฒนาซอฟต์แวร์ออกมาแฉว่า เบราว์เซอร์ของ Facebook, Messenger และ Instagram แอบฝังสคริปต์ติดตามตัวผู้ใช้ ซึ่งอาจผิดกฎหมายเรื่องการเก็บข้อมูลส่วนตัวของผู้ใช้
หลังจากรายงานออกมา Meta ได้โต้ตอบรายงานของ Krause ว่า แอปติดตามการใช้งานผ่านเบราว์เซอร์ของผู้ใช้จริงแต่ไม่ได้เก็บข้อมูลส่วนตัวของผู้ใช้อย่างผิดกฎหมาย
Facebook ได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงนโยบายการเก็บข้อมูลผู้ใช้ของ Apple ทำให้เก็บข้อมูลผู้ใช้ iOS เพื่อยิงโฆษณาได้ยากขึ้น ทำให้รายได้จากการโฆษณาลดลง
สหรัฐอเมริกามีกฎหมายความเหมาะสมด้านการสื่อสาร (Communications Decency Act) ที่ออกในปี 1996 เน้นควบคุมเนื้อหาอนาจารในอินเทอร์เน็ต กฎหมายฉบับนี้มีมาตราสำคัญคือมาตรา 230 ที่มีสาระสำคัญว่า ผู้ให้บริการไม่จำเป็นต้องรับผิดชอบต่อเนื้อหาที่ผู้ใช้โพสต์ลงบนแพลตฟอร์ม
มาตรา 230 เป็นแกนกลางสำคัญของการถกเถียงเรื่องเนื้อหาของแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียในช่วงหลัง โดยเฉพาะในยุคข่าวปลอมระบาด เพราะกลายเป็นยกประโยชน์ให้แพลตฟอร์มไม่ต้องรับผิดใด ๆ ในขณะที่มีหลายฝ่ายเริ่มมองว่า แพลตฟอร์มจำเป็นต้องรับผิดชอบต่อเนื้อหาที่ผิด ๆ หรือสร้างความแตกแยกในสังคม
Apple เริ่มบังคับใช้มาตรการความเป็นส่วนตัวที่เข้มข้นขึ้นในราวปี 2021 หลังปล่อย iOS 14 ที่มีฟีเจอร์ AppTrackTransparency (ATT) ทำให้ผู้ใช้ต้องกดเลือกตั้งแต่เปิดแอปครั้งแรกว่าจะให้แอปติดตามข้อมูลหรือไม่
การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวกระทบเจ้าของแพลตฟอร์มที่ทำโฆษณา Targets อย่าง Google หรือ Facebook มากที่สุด ซึ่งรายหลังมีความพยายามการงัดข้อกับ Apple ด้วยว่าบังคับให้คนอื่นทำ แต่ตัวเองไม่ทำตาม ด้วย
หน่วยงานกำกับดูแลของไอร์แลนด์ สั่งปรับ Instagram เป็นเงิน 405 ล้านยูโร หรือราว 14,000 ล้านบาท เนื่องจากละเมิดข้อกำหนดการปกป้องข้อมูลผู้ใช้งานของยุโรปหรือ GDPR
ในข้อร้องเรียนระบุว่า Instagram ไม่ได้ป้องกันข้อมูลผู้ใช้งานกลุ่มเด็กและเยาวชนดีพอ โดยพบว่าบัญชีที่เป็น Business สามาถเข้าถึงข้อมูลเพื่อการวิเคราะห์ได้ นอกจากนี้ผู้ใช้งานที่เป็นเด็กจะได้บัญชีแบบสาธารณะเป็นค่าเริ่มต้น อย่างไรก็ตามตัวแทนของ Meta ชี้แจงว่าข้อกล่าวหาดังกล่าวเป็นการตั้งค่าแบบเดิม ขณะที่ปัจจุบัน Instagram ได้แก้ไขการตั้งค่าเพื่อป้องกันปัญหาดังกล่าวไปทั้งหมดแล้ว อย่างไรก็ตาม Meta ไม่เห็นด้วยกับจำนวนเงินที่ถูกสั่งปรับและเตรียมอุทธรณ์ต่อไป
DuckDuckGo เปิดบริการ Email Protection ให้กับผู้ใช้ทุกคน ทำให้สามารถสร้างที่อยู่อีเมลเพื่อใช้งานกับบริการอะไรก็ได้ โดยที่อยู่อีเมลจะเป็นโดเมน @duck.com
บริการนี้มีสองส่วน คือ บริการที่อยู่อีเมลแบบตั้งเอง ใช้เป็นชื่อบัญชีของเรา อีเมลนี้อาจจะไม่ได้ป้องกันความเป็นส่วนตัวโดยตรง แต่อีเมลทุกฉบับที่ผ่านเซิร์ฟเวอร์ของ DuckDuckGo จะถูกเปลี่ยนลิงก์เพื่อตัดตัวติดตามต่างๆ ที่อาจจะพยายามยืนยันว่าเราเปิดอ่านและคลิกลิงก์จากอีเมล
Peiter Zatko อดีตผู้บริหารฝ่ายความปลอดภัยของ Twitter ได้ยื่นคำฟ้องให้กับ กลต. สหรัฐ (SEC), FTC และกระทรวงยุติธรรมสหรัฐ ที่ระบุถึงความบกพร่องร้ายแรงของ Twitter โดยรายละเอียดของคำร้อง เกี่ยวกับการนับบัญชีสแปมของ Twitter ที่ปกปิดและไม่ตรงความจริง ไปจนถึงความเป็นส่วนตัวของข้อมูลผู้ใช้ Twitter และความเกี่ยวข้องกับรัฐบาลอินเดีย
หลังจาก Felix Krause รายงานว่าเบราว์เซอร์ภายในแอปของ Meta ฝังสคริปต์ติดตามผู้ใช้ เขาก็รายงานเพิ่มเติมว่าเบราว์เซอร์ใน TikTok ก็ฝังสคริปต์แบบเดียวกัน แถมยังไม่มีตัวเลือกให้ใช้งานเบราว์เซอร์ปกติของระบบปฎิบัติการ
สคริปต์ที่ TikTok ฝังยังดักอีเวนต์ในเบราว์เซอร์อย่างหนัก อีเวนต์ที่สำคัญๆ เช่น keydown ดักการพิมพ์ทุกตัวอักษร และ click ที่ดักการคลิกทุกจุด อย่างไรก็ดี Krause ระบุว่าไม่มีหนักฐานชัดเจนว่า TikTok ฝังสคริปต์เพื่อมุ่งร้ายอะไร รวมถึงสคริปต์เก็บข้อมูลอย่างไร และส่งข้อมูลอะไรกลับเซิร์ฟเวอร์บ้าง
Mozilla ได้ตรวจสอบความเป็นส่วนตัวของข้อมูลในแอปพลิเคชันบันทึกรอบเดือนและแอปพลิเคชันติดตามการตั้งครรภ์ พบว่าส่วนใหญ่ไม่ผ่านมาตรฐานความเป็นส่วนตัวข้อมูล
Mozilla ตรวจสอบรวม 20 แอปและอุปกรณ์สวมใส่ที่สามารถติดตามรอบเดือนและการตั้งครรภ์ได้อีก 5 อุปกรณ์ ผลการสำรวจพบว่ามีเพียงอุปกรณ์สวมใส่ทั้ง 5 ได้แก่ Garmin, Fitbit, Apple Watch, Oura Ring และ Whoop Strap ร่วมกับแอปพลิเคชัน 2 แอปเท่านั้นที่ผ่านมาตรฐานของ Mozilla ได้แก่ Euki และ Natural Cycles และมีเพียงแอปพลิเคชัน Euki เท่านั้นที่ได้สถานะ Best Of (มีความเป็นส่วนตัวสูงที่สุด) ส่วนอีก 18 แอปขึ้นสถานะ Privacy Not Included (ไม่มีความเป็นส่วนตัว)
Felix Krause นักพัฒนาซอฟต์แวร์ผู้สร้างบริการ Fastlane สำหรับนักพัฒนาแอพมือถือ และเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านระบบความเป็นส่วนตัวของ iOS ออกมาเปิดเผยว่าเบราว์เซอร์ภายในแอพ Facebook, Messenger และ Instagram ทั้งบน iOS/Android แอบฝังสคริปต์บนหน้าเว็บที่เปิดลิงก์ เพื่อตามรอยผู้ใช้งาน และเก็บข้อมูลเพื่อยิงโฆษณาได้แม่นยำขึ้น
ปกติแล้ว แอพบน iOS/Android สามารถเลือกเปิดลิงก์ผ่านเบราว์เซอร์ของระบบ หรือผ่านเอนจินเบราว์เซอร์จำพวก WebView ก็ได้ แต่แอพใหญ่ๆ บางตัวเลือกทำเบราว์เซอร์เองบนเอนจินของระบบปฏิบัติการอีกที โดยเพิ่มส่วนควบคุมต่างๆ เข้ามาจาก WebView ปกติ
Facebook ส่งข้อมูลส่วนตัวของผู้ใช้งาน รวมถึงแชทส่วนตัวให้ตำรวจดำเนินคดีทำแท้งผิดกฎหมายหลังได้รับหมายค้น จนทำให้คู่แม่ลูกชาวเนบราสก้าถูกตัดสินว่ากระทำความผิดทางอาญาหลัง Jessica Burgess วัย 17 ปีผู้เป็นลูกสาวใช้ยายุติการตั้งครรภ์ ขณะมีอายุครรภ์ประมาณ 23 สัปดาห์ ซึ่งผิดกฎหมายเนบราสก้า
Meta บริษัทแม่ของ Facebook แถลงว่าหมายค้นไม่ได้กล่าวถึงการทำแท้งแต่ระบุเพียงว่าเจ้าหน้าที่ตำรวจกำลังสืบสวนคดีการเผาและการฝังศพทารกที่คลอดก่อนกำหนดอย่างผิดกฎหมายเท่านั้น และหมายค้นมาพร้อมกับคำสั่งห้ามเปิดเผยข้อมูลการทำคดีด้วย
ทวิตเตอร์ประกาศช่องถึงเหตุข้อมูลรั่วไหล โดยคนร้ายสามารถใส่อีเมลหรือเบอร์โทรศัพท์เข้าไปยังทวิตเตอร์ แล้วทวิตเตอร์จะบอกว่าบัญชีใดผูกกับอีเมลหรือเบอร์โทรศัพท์นี้ และตอนนี้มีคนร้ายรวบรวมข้อมูลเป็นวงกว้างเพื่อนำมาขาย
ช่องโหว่เกิดขึ้นระหว่างการอัพเดตโค้ดเมื่อกลางปี 2021 ที่ผ่านมา และมีนักวิจัยแจ้งปัญหาเมื่อต้นปี 2022 คนร้ายจึงอาจจะพยายามดึงข้อมูลระหว่างช่วงเวลานี้
โดยทั่วไปแล้ว ช่องโหว่นี้ไม่ได้กระทบกับความปลอดภัยของระบบโดยตรง แต่หากเป็นกลุ่มผู้ใช้งานที่ต้องการปกปิดตัวตน ก็อาจจะทำให้ถูกเปิดเผยตัวตนได้ จากเหตุการณ์ครั้งนี้ ทางทวิตเตอร์แนะนำว่าหากต้องการปกปิดตัวตนในการใช้งาน ควรสมัครด้วยอีเมลและหมายเลขโทรศัพท์ที่ไม่มีคนล่วงรู้ว่าเป็นของเรา
เบราว์เซอร์ DuckDuckGo ที่เคยถูกวิจารณ์ว่า "ว่าแต่เขาอิเหนาเป็นเอง" ชูภาพเรื่องความเป็นส่วนตัว แต่สุดท้ายยอมให้สคริปต์ตามรอยของไมโครซอฟท์ทำงาน เพราะมีสัญญาเชิงการค้าระหว่างกัน ออกมาประกาศว่าปรับนโยบายใหม่ ตอนนี้ระบบ 3rd-Party Tracker Loading Protection บล็อคสคริปต์ตามรอยของไมโครซอฟท์เพิ่มแล้ว หลังเคลียร์เรื่องเงื่อนไขในสัญญากับไมโครซอฟท์ได้
ตอนนี้เบราว์เซอร์ของ DuckDuckGo บล็อคสคริปต์การตามรอยของบริษัทใหญ่ๆ ได้แก่ Google, Facebook, Amazon, Microsoft การเปลี่ยนแปลงนี้มีผลในเบราว์เซอร์ DuckDuckGo บน Android/iOS และส่วนขยายของเบราว์เซอร์บนเดสก์ท็อป
Tim Hortons เชนร้านกาแฟรายใหญ่จากแคนาดา ถูกตรวจพบว่าแอพมือถือของแบรนด์แอบเก็บข้อมูลพิกัด (geolocation) ของลูกค้าโดยไม่ได้รับความยินยอมก่อน ในช่วงปี 2019-2020 และถูกหน่วยงานด้านข้อมูลส่วนบุคคลของแคนาดาสอบสวน
เรื่องนี้เป็นผลมาจาก Tim Hortons ใช้ระบบเก็บพิกัดของบริษัท Radar อีกต่อหนึ่ง โดยเก็บพิกัดของผู้ใช้แทบตลอดเวลา (แม้แอพรันอยู่ในแบ็คกราวน์) เพื่อใช้ตรวจเช็คว่าผู้ใช้เดินทางไปกลับจากบ้านและที่ทำงานอย่างไร และซื้อโดนัทจากร้านคู่แข่งรายไหนบ้าง
การนำสมาร์ทโฟนไปส่งซ่อมที่ร้านหรือศูนย์บริการ อาจสร้างความกังวลให้เจ้าของเครื่องว่าอาจถูกเข้าถึงข้อมูลส่วนตัวในเครื่อง ("ขอ PIN ปลดล็อคเครื่องให้ช่างด้วยค่ะ")
ซัมซุงเริ่มแก้ปัญหานี้แล้วด้วยการเพิ่ม Repair Mode ให้เจ้าของเครื่องสามารถสั่งปิดการเข้าถึงข้อมูลส่วนตัวได้ วิธีการใช้งานคือเข้าไปที่หน้าจอตั้งค่า Settings > Battery and Device Care สั่งเปิดโหมด Repair เครื่องจะรีบูตหนึ่งครั้งเพื่อเข้าโหมดที่ไม่มีข้อมูลส่วนตัวใดๆ มีเฉพาะแอพมาตรฐานที่ติดมากับรอมของเครื่องเท่านั้น
เมื่อซ่อมเสร็จแล้ว การออกจากโหมด Repair ต้องรีบูตเครื่องใหม่ และล็อกอินด้วยการสแกนลายนิ้วมือหรือ pattern เพื่อยืนยันตัวตนก่อน
กูเกิลประกาศเลื่อนการใช้งาน Privacy Sandbox เทคนิคการตามรอยผู้ใช้ที่เตรียมนำมาใช้แทนระบบคุกกี้แบบดั้งเดิม โดยให้เหตุผลว่าต้องการระยะเวลาทดสอบตัว API มากขึ้น
โครงการ Privacy Sandbox ประกอบด้วยเทคโนโลยีหลายตัว เช่น Topics API, FLEDGE API สำหรับยิงโฆษณาจากเว็บไซต์ที่เคยเข้ามาก่อนแล้ว (remarketing) และ Attribution Reporting API ใช้วัดว่าโฆษณาที่ถูกคลิกหรือชมนั้นเปลี่ยนเป็นการซื้อจริง (conversion) แค่ไหน
ต่อจากข่าว สมาชิก กสทช. สหรัฐ ขอให้แอปเปิล-กูเกิล แบน TikTok เพราะเป็นภัยต่อความมั่นคง ส่งข้อมูลกลับจีน ล่าสุดมีจดหมายของ Shou Zi Chew ซีอีโอของ TikTok เขียนถึงวุฒิสมาชิกสหรัฐ 9 คนเพื่อชี้แจงเรื่องนี้ โดย Chew ยอมรับว่ามีพนักงานในจีนเข้าถึงข้อมูลของผู้ใช้ในสหรัฐได้จริง
TikTok ยอมรับว่ามีพนักงานในจีน สามารถเข้าถึงข้อมูลของผู้ใช้ในสหรัฐได้ แต่ก็ต้องได้รับการอนุมัติจากทีมความปลอดภัยในสหรัฐก่อนเท่านั้น
Google ประกาศนโยบายในด้านความเป็นส่วนตัวและความปลอดภัยของข้อมูลผู้ใช้ด้านสุขภาพ ซึ่งเป็นประเด็นเกี่ยวเนื่องหลังจากที่ศาลสหรัฐฯ กลับคำพิพากษาเรื่องการทำแท้ง
จุดสำคัญของอัพเดตครั้งนี้ คือ Google จะลบข้อมูลการเข้าใช้บริการสถานและบริการเกี่ยวกับการแพทย์ ซึ่งเป็นข้อมูลเฉพาะบุคคลมาก ๆ เช่น สถานที่ทำแท้ง, คลินิคลดน้ำหนัก, คลินิคศัลยกรรม, ศูนย์บำบัดอาการติดยา และอื่น ๆ ข้อมูลเหล่านี้จะถูกลบออกจาก Location History ทันทีหลังจากเข้าใช้บริการแล้ว โดยฟีเจอร์นี้จะเริ่มเปิดใช้งานในอีกไม่กี่สัปดาห์ข้างหน้า
Firefox 102 เพิ่งออกมาเมื่อวานนี้ มีการปรับปรุงฟีเจอร์ความเป็นส่วนตัวเพิ่มเติม คือการตัดคิวรีที่ใช้ติดตามตัวออกจาก URL โดยอัตโนมัติเมื่อเปิดใช้งานโหมดรักษาความเป็นส่วนตัว (Enhanced Tracking Protection - ETP) ทำให้เว็บไซต์จำนวนมากที่ติดตามการกดลิงก์ด้วยคิวรีเหล่านี้ไม่สามารถใช้งานได้อีกต่อไป
เว็บไซต์ที่ใช้คิวรีติดตามตัวชัดเจนที่สุดคงเป็นเฟซบุ๊ก ที่เพิ่มคิวรี fbclid=
ต่อท้าย URL ที่กดออกจากเฟซบุ๊ก ซึ่งทำให้เฟซบุ๊กรู้ได้ว่าผู้ใช้เว็บภายนอกนั้นได้ลิงก์มาจากโพสใด แม้เราจะเปิดลิงก์ในโหมด incognito หรือแม้แต่การแชร์ลิงก์ให้เพื่อนผ่านแชตก็ตาม
รัฐบาลเมืองอามางาซากิ ประเทศญี่ปุ่นออกมาแถลงข่าวขอโทษประชาชน หลังลูกจ้างบริษัทที่ช่วยจัดการเงินช่วยเหลือ COVID-19 ทำแฟลชไดร์ฟข้อมูลประชาชนในเมืองสูญหายระหว่างไปทานอาหารเย็นเมื่อวันอังคารที่ผ่านมา
ข้อมูลในแฟลชไดร์ฟประกอบด้วย ชื่อ, ที่อยู่, วันเกิด, หมายเลขบัญชี, และข้อมูลอื่นๆ โดยไฟล์ข้อมูลเข้ารหัสเอาไว้ และตอนนี้ไม่มีหลักฐานบ่งชี้ว่าข้อมูลรั่วไหล
ที่มา - Japan Times ภาพจาก Pixabay
Firefox ประกาศใช้งาน Total Cookie Protection แยกการเก็บ cookie ของแต่ละเว็บไซต์ออกจากกัน เป็นค่าดีฟอลต์ หลังเริ่มทดสอบมาตั้งแต่ต้นปี 2021 และเปิดใช้เป็นดีฟอลต์กับ Firefox Focus บน Android ในช่วงต้นปี 2022
แนวทางของ Total Cookie Protection คือแยกถังเก็บคุกกี้ของแต่ละเว็บไซต์ออกจากกัน ไม่ให้เว็บไซต์มองเห็นว่าในเบราว์เซอร์มีคุกกี้ของเว็บอื่นหรือไม่ ช่วยป้องกันเรื่องการตามรอยข้ามเว็บได้ (เช่น Facebook จะไม่เห็นว่าเราไปเข้าเว็บอื่นอันไหนอีกบ้าง ก็จะไม่สามารถยิงโฆษณาที่ตรงกับความสนใจของเราได้)
สำนักงานคณะกรรมการความเป็นส่วนตัวของแคนาดาออกประกาศการสอบสวนเชนร้านกาแฟและโดนัทในประเทศ Tim Hortons โดยระบุว่าทางแบรนด์เก็บข้อมูลพฤติกรรมลูกค้าที่อาจนำไปใช้ในการโฆษณาตามกลุ่มเป้าหมายได้ และเป็นการเก็บข้อมูลเกินกว่าที่เคยแถลงไว้