Financial Times รายงานว่า วลาดีเมียร์ ปูติน ประธานาธิบดีรัสเซียลงนามในกฎหมายควบคุมอินเทอร์เน็ต ที่กำหนดให้ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตในรัสเซียสามารถตัดขาดการเชื่อมต่อจากเซิร์ฟเวอร์ต่างประเทศ และระบุให้มีการสร้างระบบโดเมนระดับประเทศ ซึ่งจะทำให้ประเทศสามารถออนไลน์ได้หากถูกตัดขาดจากอินเทอร์เน็ตทั่วโลก โดยกฎหมายจะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 พฤศจิกายนปีนี้
กฎหมายนี้จะเพิ่มการใช้อำนาจรัฐควบคุมการใช้งานอินเทอร์เน็ตของคนในชาติมากขึ้นไปอีก จากเดิมที่บล็อคเว็บไซต์ จำกัดการใช้งาน VPN การแชร์เนื้อหาสุ่มเสี่ยงก็สามารถติดคุกได้ เป็นต้น
ศาลมอสโควสั่งปรับเฟซบุ๊ก 3,000 รูเบิล หรือประมาณ 1,500 บาท หลังเฟซบุ๊กไม่ได้วางเซิร์ฟเวอร์สำหรับเก็บข้อมูลพลเมืองรัสเซียไว้ในประเทศ
ค่าปรับนี้เป็นค่าปรับต่ำสุดตามกฎหมาย แม้ว่าตัวกฎหมายจะออกมาตั้งแต่ปี 2014 แต่ที่ผ่านมาทางการรัสเซียก็ไม่ได้บังคับใช้นัก โดยครั้งนี้เฟซบุ๊กไม่ได้ส่งตัวแทนมาสู้คดีในศาลแต่อย่างใด แม้ว่าค่าปรับที่ศาลสั่งจะต่ำมาก แต่ก็อาจเปิดทางให้ทางการหามาตรการอื่น เช่นการบล็อคเว็บต่อไป
ทวิตเตอร์เองก็เพิ่งโดนปรับจำนวนเท่ากันเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว
ที่มา - ZDNet
สภาผู้แทนราษฎรของรัสเซียหรือ Duma กำลังอยู่ระหว่างการอภิปรายและพิจารณากฎหมาย Internet Sovereignty Act ในวาระแรก ซึ่งเบื้องต้นกฎหมายฉบับนี้กำหนดให้บริษัทอินเทอร์เน็ตของรัสเซียต้องเก็บข้อมูลไว้ภายในประเทศ ขณะที่ทราฟฟิคอินเทอร์เน็ตของทั้งประเทศก็จะถูกควบคุมดูแลโดยรัฐด้วย
ด้านนักฎหมายและนักสิทธิมนุษยชนออกมาโจมตีกฎหมายฉบับนี้ว่าปิดกั้นเสรีภาพในการแสดงออก (freedom of speech) รวมถึงอันตรายกับสังคมอินเทอร์เน็ตในภาพรวมของรัสเซีย เพราะรัฐบาลสามารถสั่งปิดอินเทอร์เน็ตเมื่อไหร่ก็ได้
สำนักข่าว RBK ของรัสเซียรายงานว่า ตอนนี้รัฐบาลรัสเซียและผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตรายใหญ่เริ่มวางแผนตัดการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตออกนอกประเทศ ตามนโยบายการสร้างอินเทอร์เน็ตที่ใช้งานได้แม้จะถูกตัดการเชื่อมต่อออกจากโลกภายนอกก็ตาม
เมื่อปีที่แล้ว รัสเซียเพิ่งเสนอ Digital Economy National Program ซึ่งเป็นแผนที่กำหนดให้ผู้ให้ ISP ในประเทศต้องทำให้อินเทอร์เน็ตใช้งานต่อไปได้แม้จะถูกตัดจากโลกภายนอกไปแล้ว คือ ISP ของรัสเซียจะต้อง redirect ทราฟฟิกเว็บไปยัง routing point ภายในประเทศ และจะต้องมีระบบ DNS ของตัวเอง
รัสเซียมีกฎหมายกำหนดให้บริษัทต้องเก็บข้อมูลของลูกค้ารัสเซียไว้ในประเทศ ซึ่ง Apple เองก็ยังไม่ได้ทำ แต่ล่าสุด Roskomnadzor หน่วยงานด้านการโทรคมนาคมและสื่อของรัสเซียได้ยืนยันแล้วว่า Apple กำลังจะเก็บข้อมูลลูกค้าในประเทศรัสเซียแล้ว
แต่เดิมนั้น Apple Russia ก็เก็บข้อมูลพื้นฐานประเภทชื่อ, ข้อมูลการติดต่อ, การศึกษา และสมาชิกครอบครัวของลูกค้ารัสเซียไว้ในประเทศ ส่วนข้อมูลอื่น ๆ อย่างเช่นข้อความที่เป็นมัลติมีเดียต่าง ๆ ผู้ให้บริการโทรคมนาคมในประเทศก็จะต้องเก็บไว้เป็นเวลา 6 เดือน และจะต้องให้เมื่อรัฐบาลร้องขอโดยไม่จำเป็นต้องมีคำสั่งศาลอยู่แล้ว
Roskomnadzor หน่วยงานเซ็นเซอร์ของรัสเซียกล่าวว่า Facebook และ Twitter ไม่ยอมทำตามกฎหมายรัสเซียที่ให้บริษัทโซเชียลมีเดียต้องตั้งเซิร์ฟเวอร์ในประเทศ
Roskomnadzor บอกด้วยว่าได้ส่งจดหมายไปยังบริษัทโซเชียลมีเดียทั้งสองตั้งแต่วันที่ 17 ธันวาคมปีที่แล้วแล้วว่ามีเวลา 30 วัน ในการทำให้ถูกต้องตามกฎหมาย จนถึงตอนนี้ครบ 30 วันแล้ว Roskomnadzor ก็จะเริ่มดำเนินการตามกฎหมาย
รายงานจาก Senate Intelligence Commission เผยว่า รัสเซียนอกจากจะใช้ Facebook เป็นช่องทางเผยแพร่ข่าวปลอมให้กระทบการเลือกตั้งสหรัฐฯ แล้ว ยังใช้เกม โปเกมอน โก ด้วย โดยกลุ่มเป้าหมายคือผู้เล่นสัญชาติ แอฟริกัน-อเมริกัน
สายการบิน Aeroflot เผลอปล่อย Docker registry ออกสู่อินเทอร์เน็ต ทำให้คนที่รู้ URL สามารถ pull เซิร์ฟเวอร์ไปได้ และเมื่อดาวน์โหลดไป จะเห็นซอร์สโค้ดของเว็บทั้งชุด
อย่างไรก็ดี ไม่มีข้อมูลส่วนตัวของลูกค้าอยู่ในอิมเมจแต่อย่างใด ความเสี่ยงสำคัญคือแฮกเกอร์สามารถนำโค้ดไปวิเคราะห์หาช่องโหว่ และใชัโจมตีเว็บจริงของทางสายการบินต่อไป
ประเด็นซอร์สโค้ดรั่วเป็นประเด็นสำคัญที่พบกันเรื่อยๆ ในองค์กรต่างๆ แม้แต่แอปเปิลก็ถูกขโมยโค้ด iBoot มาเปิดเผยต่อสาธารณะ
ที่มา - The Register
เมื่อวันที่ 30 สิงหาคมที่ผ่านมา สถานีอวกาศนานาชาติตรวจพบแรงดันอากาศในสถานีลดลงเล็กน้อย และเมื่อไล่ตรวจสอบ รอยรั่วขนาด 2 มิลลิเมตรบนยาน Soyuz MS-09 หลังจากนั้นนักบินได้แปะเทปอุดรอยรั่ว และป้ายน้ำยาอุดในภายหลัง
แต่สัปดาห์นี้ Dmitry Rogozin หัวหน้าองค์กรอวกาศรัสเซีย หรือ Roscosmos ตั้งข้อสงสัยว่ารอยรั่วนี้เกิดจากฝีมือมนุษย์ โดยระบุว่ามีความพยายามเจาะรูด้วยสว่าน และผู้เจาะมือไม่นิ่งพอทำให้มีรอยไถล
ขณะเกิดเหตุมีนักบินอวกาศอยู่บนสถานีอวกาศนานาชาติเพียง 6 คน เป็นคนสหรัฐฯ 3 คน, รัสเซีย 2 คน, และเยอรมัน 1 คน และยาน Soyuz MS-09 มีกำหนดพานักบิน 3 รายกลับสู่โลกในเดือนธันวาคมนี้
PIR Bank ธนาคารในรัสเซียกลายเป็นเหยื่อรายล่าสุดของกลุ่ม MoneyTaker กลุ่มแฮกเกอร์ที่มุ่งเป้าไปที่ธนาคารในสหรัฐฯ และรัสเซียมาตั้งแต่ปี 2016 โดยคดีล่าสุดถูกสั่งโอนเงินไปยังธนาคารอื่นๆ 17 ธนาคาร มูลค่าอย่างน้อย 920,000 ดอลลาร์
Group-IB ผู้เข้าไปสอบสวนการแฮกครั้งนี้ระบุว่า ธนาคารรู้ตัวอีกทีเมื่อเห็นว่ามีการโอนเงินก้อนใหญ่ออกจากธนาคารไปแล้ว แม้จะพยายามหยุดการโอนและการถอนเงินแต่เงินส่วนใหญ่ก็ถูกถอนออกไปทางตู้เอทีเอ็ม โดยเหตุการณ์ครั้งนี้เป็นเหตุการณ์ครั้งที่สามในปีนี้ของรัสเซีย โดยครั้งนี้แฮกเกอร์เข้าถึงเครือข่ายของธนาคารผ่านทางเราท์เตอร์สาขา ก่อนจะส่งคำสั่งไปยังระบบโอนเงินระหว่างธนาคาร
การแข่งขันฟุตบอลโลก 2018 ได้จบลงไปแล้ว ช่วงนี้ก็เป็นเรื่องของสถิติและข้อมูลต่าง ๆ เราได้เห็นการใช้เทคโนโลยีอย่าง VAR ที่เข้ามาช่วยกรรมการตัดสิน แต่ครั้งนี้ผู้ชมเองก็ใช้เทคโนโลยีเพิ่มขึ้นมากเช่นกัน
กูเกิลรายงานสถิติน่าสนใจว่าอัตราการใช้ Google Translate ในพื้นที่ประเทศรัสเซีย เพิ่มสูงขึ้นถึง 30% ในช่วงการแข่งขันฟุตบอลโลก เนื่องจากรัสเซียใช้ภาษาทางการเป็นภาษารัสเซียเอง ทำให้คนต่างประเทศที่ไปชมการแข่งขัน อาจเจออุปสรรคในการติดต่อสื่อสาร ซึ่ง Google Translate ก็เข้ามาช่วยลดช่องว่างนี้ลง
รูปแบบการแปลภาษาที่พบมากที่สุด คือการแปลจากภาษาสเปน ไปเป็นภาษารัสเซีย
นอกจากนี้กูเกิลบอกว่า คำค้นหาที่มีคำว่า World Cup เพิ่มขึ้นถึง 200% และคำว่าเบียร์ เพิ่มขึ้น 65%
Yandex ผู้ให้บริการค้นหาของรัสเซีย ซึ่งนอกจากจะได้ชื่อว่า Google แห่งรัสเซียแล้ว ต่อไปอาจได้ชื่อเป็น Amazon แห่งรัสเซียก็เป็นได้ โดย Yandex เปิดตัวลำโพงอัจฉริยะชื่อว่า Yandex.Station ที่ใช้พลังจาก Alice ผู้ช่วยอัจฉริยะภาษารัสเซีย
ความสามารถของ Yandex.Station คงไม่ต้องเล่ารายละเอียดมากเพราะมีความสามารถเทียบเท่ากับลำโพงอัจฉริยะแบรนด์อื่นๆ Yandex.Station มาในราคา 160 ดอลลาร์
Yandex.Station รวมเอาประสบการณ์การสตรีมวิดีโอโดยใช้ HDMI เชื่อมทีวี และถามผู้ช่วย Alice ในการค้นหาและเล่นวิดีโอ, รายการโทรทัศน์ที่ Yandex เป็นเจ้าของ เช่น KinoPoisk, ivi และ Amediateka (ผู้ให้บริการสตรีม HBO ในรัสเซีย)
แม้รัสเซียจะบล็อค Telegram ไปแล้ว แต่ก็ดูเหมือนว่ายังไม่สำเร็จเท่าที่ควร เพราะรัสเซียกำลังติดต่อ Apple เพื่อขอความช่วยเหลือในการปิดกั้นการบริการแอพ Telegram แอพส่งข้อความที่เป็นที่นิยมในประเทศ เพราะสื่อสารแบบเข้ารหัส end-to-end
อย่างไรก็ตาม Telegram ปฏิเสธรัฐบาลรัสเซียในการเข้าถึงระบบแบบลับๆ หน่วยงานความมั่นคง Federal Security Service หรือ FSB อ้างว่า อาชญากรที่ก่อเหตุก่อการร้ายใช้ Telegram เป็นช่องทางสื่อสาร จึงเป็นสาเหตุให้รัสเซียบล็อคคนรัสเซียไม่ให้เข้าถึง Telegram ตั้งแต่เดือนเมษายนที่ผ่านมา
แต่การบล้อคก็ไม่สามารถปิดกั้นได้อย่างสมบูรณ์ เมื่อ Roskomnadzor หน่วยเฝ้าระวังความปลอดภัยในประเทศบอกว่ารัฐบาลปิดกั้นการใช้งานได้เพียง 15 - 30% เท่านั้น รัฐบาลจึงยื่นเรื่องไปยัง Apple ให้หยุดบริการ Telegram บน App Store แก่คนรัสเซีย และยังขอให้หยุดการแจ้งเตือนจาก Telegram ด้วย
Alexander Zharov ผู้อำนวยการ Roskomnadzor ระบุในแถลงการณ์เพิ่มเติมว่า Apple มีเวลาหนึ่งเดือนในการลบแอพออกจาก App Store "เราส่งจดหมายที่มีผลผูกพันตามกฎหมายและรอการตอบกลับที่ถูกต้องตามกฎหมาย"
จากประเด็น รัฐบาลสหรัฐแบน Kaspersky โดยอ้างว่ามีความเชื่อมโยงกับรัฐบาลรัสเซีย ส่งผลสะเทือนต่อบริษัท จนต้องปรับมาตรการทางธุรกิจหลายอย่าง เช่น ให้บริษัทภายนอกเข้ามาตรวจสอบความโปร่งใสของโค้ด
Kaspersky ยังเดินหน้ากู้ความเชื่อมั่นคืนกลับมา มาตรการล่าสุดที่ประกาศคือย้าย "ฐานการผลิตซอฟต์แวร์" และเซิร์ฟเวอร์บางส่วนไปยังประเทศที่เป็นกลางแบบสุดๆ อย่างสวิตเซอร์แลนด์
พรรคเดโมแครตมีบทบาทสำคัญต่อการไต่สวน Facebook กรณีบัญชีปลอมรัสเซียซื้อโฆษณาเผยแพร่เนื้อหาการเมืองช่วงเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ ปี 2016 โดยโฆษณาทั้งหมดมีประมาณ 3,000 ชิ้น ล่าสุดทางพรรคก็เตรียมเปิดเผยโฆษณาทั้งหมดออกสู่สาธารณะ อย่างเร็วที่สุดคือภายในสัปดาห์นี้
โฆษณาทั้งหมดจะแสดง ภาพ เนื้อหา กลุ่มเป้าหมายของโฆษณา ซื้อโฆษณาเป็นจำนวนเงินเท่าไร มีคนเห็นโฆษณาแต่ละชิ้นกี่ราย การเปิดเผยครั้งนี้ทางพรรคระบุว่าเป็นไปเพื่อความโปร่งใส แต่ก็อดที่จะสร้างความสงสัยต่อสังคมไม่ได้ว่า พรรคมีเป้าหมายทางการเือง และอาจทำให้ประเด็นใครหนุนหลังแคมเปญข่าวปลอมรัสเซียกลับมาเป็นที่สนใจของสังคมอีกครั้ง
Facebook ประกาศนโยบายลงโฆษณาการเมืองดดยเน้นที่การเปิดเผยตัวตนของผู้ลงโฆษณามากขึ้น Google ก็เช่นกัน โดย Google ประกาศนโยบายลงโฆษณาการเมืองในสหรัฐฯ ผู้ลงต้องแสดงเลขประชาชนพิสูจน์ความเป็นพลเมืองสหรัฐฯ
ภายใต้หลักเกณฑ์ใหม่ Google ให้ผู้ลงโฆษณา ไม่ว่าจะเป็นบุคคล องค์กรหรือหน่วยงาน ต้องแสดงให้เห็นว่าตัวเองเป็นใคร และให้เปิดเผยข้อมูลที่ชัดเจนว่าใครเป็นผู้ชำระเงินค่าลงโฆษณา
การพิสูจน์ความเป็นพลเมืองสหรัฐฯ เป็นผลจากการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ ในปี 2016 มีปัญหาบัญชีปลอมจากรัสเซียซื้อโฆษณาเนื้อหาการเมืองเผยแพร่บนโซเชียลมีเดีย มีคนเห็นเป็นสิบๆ ล้านราย มาตรการนี้จึงตั้งขึ้นมาเพื่อแน่ใจว่าต่างประเทศจะไม่แทรกแซงการเลือกตั้งผ่านช่องทางนี้ได้อีก ซึ่งหลังจาก Facebook, Twitter ตั้งกฎเข้มงวดขึ้นมา Google ก็เอาด้วย
เช้าวันเสาร์ที่ 28 เมษายนที่ผ่านมา ณ St. Petersburg ประเทศรัสเซีย คือช่วงเวลาที่น่าจดจำสำหรับทีมงานช่างและวิศวกรหลายร้อยชีวิต พวกเขาได้ปลดปล่อยยักษ์ตนหนึ่งให้ออกเดินทาง มันเป็นยักษ์สีแดงที่ลอยตระหง่านเหนือผิวน้ำมีชื่อว่า Akademik Lomonosov และมันจะถูกทั้งโลกรู้จักในฐานะโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์แบบลอยน้ำได้ลำแรกของโลกที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อประโยชน์เชิงพาณิชย์
Akademik Lomonosov คือโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ที่สร้างโดย Rosatom บริษัทผู้สร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์และประกอบธุรกิจพลังงานรายใหญ่ของรัสเซีย โดยชื่อของเรือลำนี้ถูกตั้งตามชื่อของ Mikhail Lomonosov นักวิทยาศาสตร์ชาวรัสเซียที่มีชีวิตในช่วงศตวรรษที่ 18 ซึ่งเป็นผู้ค้นพบชั้นบรรยากาศบนดาวศุกร์ และพบกฎการอนุรักษ์มวลของปฏิกิริยาทางเคมี
Eugene Kaspersky ซีอีโอของบริษัทความปลอดภัยจากรัสเซีย Kaspersky Lab ได้ออกจดหมายเปิดผนึกถึงกรณีที่ Twitter แบนโฆษณาของบริษัท โดยมีจดหมายสั้นจากพนักงาน Twitter ที่ไม่เปิดเผยชื่อว่า เหตุผลที่แบนโฆษณาของ Kaspersky Lab เนื่องจากทางบริษัททำธุรกิจโดยใช้โมเดลธุรกิจที่ขัดแย้งกับหลักการทางธุรกิจที่ยอมรับได้สำหรับการโฆษณาบน Twitter
Kaspersky ยืนยันว่าบริษัทของเขาไม่เคยทำผิดกฎทั้งที่มีระบุเป็นลายลักษณ์อักษรหรือไม่มีระบุ ส่วนโมเดลธุรกิจของบริษัท Kaspersky Lab ก็ไม่ได้ซับซ้อน เพราะเหมือนกับบริษัทด้านความปลอดภัยไซเบอร์ทั่ว ๆ ไป คือขายสินค้าและบริการให้ลูกค้า และเมื่อปีที่แล้วทางบริษัทจ่ายเงินกว่า 75,000 ยูโรเป็นค่าโฆษณาใน Twitter ด้วย
ก่อนหน้านี้ทางการรัสเซียได้ออกคำสั่งบล็อก Telegram ไปแล้วเนื่องจากไม่ยอมให้ความร่วมมือกับภาครัฐ แต่ผลพวงจากการบล็อกครั้งนี้ส่งผลให้บริการอื่น ๆ ใช้ไม่ได้ด้วย
ตอนแรกที่คำสั่งศาลออกมา Telegram ได้พยายามหลีกเลี่ยงการบล็อกด้วยวิธีต่าง ๆ อย่างเช่นการสนับสนุนด้านการเงินให้ผู้ที่รัน VPN ช่วยหลบเลี่ยงการแบน หรือใช้วิธีสลับไอพีแอดเดรสเพื่อเปลี่ยนเส้นทางทราฟฟิกให้ไปวิ่งผ่านเซิร์ฟเวอร์ของบริษัทอื่นแทน ทำให้เมื่อวันอังคารที่ผ่านมา Fil Kulin นักวิจัยด้านไอทีเผยว่ารัสเซียได้สั่งบล็อกไอพีแอดเดรสกว่า 4 ล้านเลขหมาย แต่จากรายงานล่าสุดเผยว่าไอพีแอดเดรสที่รัสเซียแบนไปแล้วมีกว่า 19 ล้านเลขหมาย
WWDC ที่จะจัดขึ้นช่วงต้นเดือนมิถุนายนนี้น่าจะมีการเปิดตัว iPhone ใหม่อย่างน้อยก็ 2 รุ่นและอาจถึง 3 รุ่นตามข่าวลือ ทว่าล่าสุดแอปเปิลได้จดทะเบียน iPhone หลายรุ่นกับ Eurasian Economic Commission (ECC) คณะกรรมการด้านเศรษฐกิจของยูเรเชีย (ยุโรปตะวันออกบางประเทศ + รัสเซีย)
การจดทะเบียนอุปกรณ์ใหม่เป็นไปตามกฎหมายของรัสเซีย ที่ต้องจดทะเบียนอุปกรณ์ทุกชิ้นที่มีการเข้ารหัสหรือมีเครื่องมือเข้ารหัส โดยเลขโมเดลของ iPhone ที่จดมี 11 รุ่นซึ่งไม่ตรงกับโมเดลที่วางจำหน่ายในปัจจุบัน ซึ่งก็คาดว่าน่าจะหนีไม่พ้น iPhone รุ่นที่จะเปิดตัวในงาน WWDC ที่จะถึงนี้ เพราะปีที่แล้ว แอปเปิลก็จดทะเบียน MacBook รุ่นใหม่กับ EEC ก่อนจะเปิดตัวในงาน WWDC 2017
Facebook รายงานการปิดบัญชีที่เกี่ยวข้องกับหน่วยงาน Internet Research Agency หรือ IRA ของรัสเซีย เพิ่มเติม โดยรอบนี้ Facebook ปิดไปอีก 70 บัญชี, Instagram ปิดไป 65 บัญชี และ Facebook Page อีก 138 เพจ โดย 95% ของทั้งหมดนี้มีการรันโฆษณาโดยใช้กลุ่มเป้าหมายเป็นคนที่อยู่ในรัสเซียหรือคนพูดภาษารัสเซียทั่วโลก รวมถึงประเทศรอบข้างอย่างยูเครน, อุซเบกิสถาน, อาร์เซอร์ไบจานด้วย
Facebook เผยในรายงานว่า IRA นั้นยังคงมีการใช้เครือข่ายบัญชีปลอมเพื่อหลอกลวงและหวังผลจากคนใช้ Facebook ตั้งแต่ก่อนไปจนถึงระหว่างการเลือกตั้งประธานาธิบดีปี 2016 โดย Facebook ปิดบัญชีและเพจในรอบล่าสุดนี้เนื่องจากพบว่ามีการควบคุมโดย IRA ไม่ใช่ดูตามคอนเทนต์
ช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา Robert Mueller หนึ่งในคณะสืบสวน FBI ยื่นคำฟ้องร้อง 37 หน้า ฟ้องพลเมืองสัญชาติรัสเซีย 13 คน และบริษัท 3 แห่งของรัสเซีย ในข้อหาจัดทำแคมเปญโฆษณาชวนเชื่อแทรกแซงการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ ปี 2016 ในคำฟ้องของ Mueller ได้เปิดเผยด้านอันตรายอีกด้านหนึ่งของ Facebook Groups ด้วย
ธนาคารกลางรัสเซียเปิดเผยว่ามีธนาคารในรัสเซียถูกแฮกระบบเชื่อมต่อกับเครือข่าย SWIFT แล้วสั่งโอนเงินออกไปยังบัญชีปลายทาง มูลค่ารวม 339.5 ล้านรูเบิล หรือประมาณ 190 ล้านบาท ตั้งแต่ปีที่แล้ว
รายงานว่าแฮกเกอร์เริ่มแฮกเงินจากธนาคารได้ เริ่มปรากฎสู่สาธารณะอย่างต่อเนื่องตั้งแต่เดือนเมษายน 2016 เป็นต้นมา ทาง SWIFT เองแม้จะยืนยันว่าตัวระบบ SWIFT ไม่เคยถูกแฮก แต่ก็พยายามกดดันให้ธนาคารที่เชื่อมต่อกับเครือข่ายต้องปรับปรุงความปลอดภัย
ธนาคารกลางรัสเซียไม่ระบุชื่อธนาคาร ส่วนทาง SWIFT เองก็ระบุว่าจะไม่แสดงความเห็นต่อกรณีใดกรณีหนึ่งเป็นการเฉพาะ
ทางการรัสเซียจับกุมนักวิทยาศาสตร์ที่ทำงานอยู่ในศูนย์วิจัยและพัฒนาหัวรบนิวเคลียร์หลายคน ด้วยข้อหาแอบนำซูเปอร์คอมพิวเตอร์ของศูนย์ไปใช้ "ขุดเหมือง"
เหตุการณ์เกิดขึ้นที่ Federal Nuclear Centre ในเมือง Sarov ทางตะวันออกของกรุงมอสโก เป็นเขตหวงห้ามที่มีความลับทางการทหาร ระเบิดนิวเคลียร์ลูกแรกของโซเวียตก็ถูกสร้างขึ้นที่นี่ ปัจจุบันมีข้อมูลว่ามีคนทำงานในนี้ประมาณ 20,000 คน (ไม่ใช่ตัวเลขเป็นทางการ)
ศูนย์วิจัยแห่งนี้มีซูเปอร์คอมพิวเตอร์สมรรถนะ 1 petaflops ที่ไม่ได้เชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตเพื่อป้องกันความลับรั่วไหล แต่นักวิทยาศาสตร์จำนวนหนึ่งพยายามใช้มันต่อเน็ต ทำให้ศูนย์ตรวจพบความผิดปกติและนำไปสู่การจับกุม
Twitter อัพเดตข้อมูลผู้ใช้งานที่มีส่วนร่วมหรือ engagement ต่อโพสต์บัญชีปลอมจากรัสเซียช่วงเลือกตั้งประธานาธิบดี 2016 เป็น 1.4 ล้านราย เพิ่มขึ้นจากที่รายงานครั้งที่แล้วกว่าสองเท่า
ก่อนหน้านี้ช่วงต้นเดือนมกราคม Twitter เผยระบุบอทหรือบัญชีอัตโนมัติที่ทำขึ้นโดยรัสเซียและทำการทวีตเกี่ยวกับการเลือกตั้งในช่วงการลงคะแนนเสียงของชาวอเมริกันเป็นจำนวน 13,612 บอท รวมกับของเดิมที่เคยพบในปี 2017 ประมาณ 36,000 บอท รวมเป็น 50,258 บอท และมีประชาชน 677,000 คนในสหรัฐฯ ที่ได้ติดตามบัญชีที่ต้องสงสัย, รีทวิต หรือไลค์ทวิตเหล่านี้ ซึ่งล่าสุดตรวจพบเพิ่มเป็น 1.4 ล้านคน
ในแถลงการณ์ล่าสุดของ Twitter ระบุว่า ทางบริษัทได้ส่งอีเมลไปยังผู้ใช้ที่เข้าข่ายดังต่อไปนี้