Apple ได้เริ่มทดสอบการใช้งานฟอร์แมตรูปภาพทางเลือกของ JPEG ซึ่งพัฒนาโดย Google ชื่อว่า WebP บน Safari เวอร์ชันทดสอบทั้งบน iOS 10 และ macOS Sierra แล้ว ซึ่งไฟล์ WebP จะทำให้ภาพมีขนาดเล็กกว่า JPEG ถึง 25-35 เปอร์เซ็น ทำให้โหลดไวขึ้นและใช้ปริมาณข้อมูลน้อยลง ซึ่งตอนนี้มีเว็บไซต์บางแห่งเริ่มใช้งานแล้ว เช่น Facebook, YouTube
WebP ที่ Apple กำลังทดสอบอยู่นี้จะเป็น WebP เฉพาะภาพนิ่งเท่านั้น ยังไม่ได้ทดสอบภาพเคลื่อนไหวแต่อย่างใด และเนื่องจาก WebP อยู่ใน Safari เวอร์ชันทดสอบ จึงไม่แน่ใจว่า Apple จะตัดออกเมื่อถึงวันเปิดตัวจริง ๆ หรือไม่
Apple ได้ปล่อย Safari 10 เวอร์ชันทดสอบสำหรับนักพัฒนาบน OS X Yosemite และ OS X El Capitan แล้ว โดยสามารถดาวน์โหลดได้จาก Apple Developer Center
สำหรับ Safari 10 บน Yosemite และ El Capitan นี้จะไม่ได้มีฟีเจอร์ทั้งหมดเหมือน Safari 10 บน macOS Sierra อย่าง Apple Pay บนเว็บ, Picture in Picture แต่ก็มีฟีเจอร์หลัก ๆ บางอย่าง เช่น
Safari 10 ที่มาพร้อมกับ macOS Sierra มีหนึ่งในฟีเจอร์ที่น่าสนใจคือการปิด Flash เป็นค่าเริ่มต้นในการใช้งานเว็บ เพื่อเป็นการผลักดันการใช้งาน HTML5
แต่เดิมถ้าปิดการใช้งาน Flash บน Safari เว็บไซต์จะแสดงมีลิงก์สำหรับดาวน์โหลด Flash จากเว็บ Adobe โดยสำหรับ Safari เวอร์ชันใหม่จะเปลี่ยนเป็นคำถามผู้ใช้แทน คือเปิดตลอดเวลา, เปิดเฉพาะครั้งนี้ และปิด โดยถ้าผู้ใช้ยืนยันให้เปิดแล้ว Safari ก็จะดาวน์โหลดเนื้อหา Flash ตามปกติ
ลักษณะการทำงานของฟีเจอร์นี้จะคล้ายกับปลั๊กอิน Click-To-Flash ซึ่งหลายคนอาจจะมีใช้แล้วนั่นเอง โดยการที่ Apple ปิด Flash เป็นค่าเริ่มต้นบน Safari แบบนี้ก็ถือเป็นการผลักดัน HTML5 ได้เป็นอย่างดี รวมถึงเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพและประหยัดพลังงานอีกด้วย
Apple ได้ออก Safari Technology Preview โดยเป็น Safari ที่เน้นเอาไว้ทดสอบและพรีวิวฟีเจอร์ใหม่ โดยเป็น Safari ที่ยังไม่ใช่เวอร์ชันเสถียรสำหรับใช้งานทั่วไป แต่เสถียรกว่าเวอร์ชัน WebKit Nightly (คล้ายกับ Chrome Beta ที่ยังไม่เสถียรเท่า Chrome Stable แต่เสถียรกว่า Chrome Dev Channel และ Chrome Canary)
Safari Technology Preview จะใช้ระบบออกก่อนปล่อยตัวจริง 2 สัปดาห์เพื่อทำการทดสอบความเสถียร โดยจะใช้การอัพเดตผ่าน Mac App Store (ส่วน WebKit Nightly ใช้ระบบอัพเดตในตัว) รวมถึงข้อมูลต่างๆ บน iCloud ก็สามาถซิงค์ได้เช่นกัน
Nolan Lawson นักพัฒนาเว็บและแอพรายหนึ่งเขียนบทความนำเสนอปัญหาของวงการเว็บ ว่าทุกวันนี้เบราว์เซอร์พัฒนาเรื่องเทคโนโลยีเว็บไปมาก ผู้สร้างเบราว์เซอร์หลายค่ายทั้ง Google, Mozilla, Opera, Microsoft ต่างเข้ามามีส่วนร่วมในการร่างมาตรฐานเว็บกันเยอะ แต่ Safari ของแอปเปิลกลับแทบจะหยุดนิ่งในรอบหลายปีที่ผ่านมา
Safari บน OS X มีส่วนเสริมช่วยบล็อคโฆษณามานานแล้ว แต่สำหรับ Safari บน iOS ยังค่อนข้างจำกัดอยู่ โดยบน iOS 9 นั้น Apple จะเปิดกว้างอีกขั้นหนึ่ง โดยให้นักพัฒนาสร้างแอพที่มีส่วนเสริมสำหรับการบล็อคโฆษณาได้ โดยนักพัฒนาสามารถใส่ข้อมูลเพื่อจะบอกว่าอะไรที่ Safari ไม่ต้องโหลด ส่วนผู้ใช้สามารถสั่งเปิดหรือปิดการใช้งานได้ทาง Settings -> Safari -> Content Blockers
ทั้งนี้ยังไม่มีเกณฑ์การพิจารณาแอพเหล่านี้ออกมาว่า Apple จะกวดขันแอพเหล่านี้มากแค่ไหน คาดว่าอีกไม่นานนักน่าจะมีรายละเอียดเรื่องนี้ออกมา
ที่มา - 9to5Mac
ปัจจุบัน search engine หลักของ Safari เป็น Google ซึ่งเคยมีข่าวว่า Google อาจต้องจ่ายให้ Apple ถึงพันล้านดอลลาร์ต่อปี เพื่อให้เป็น search engine หลักของ iOS ซึ่งสัญญานี้ Apple ทำกับ Google ในปี 2010 และจะหมดในปี 2015 ทำให้ Microsoft กับ Yahoo! จึงรีบพยายามเข้าสวมรอยทันที
Yahoo! นำโดยซีอีโอหญิง Marissa Mayer เผยว่าเธออยากให้ Apple ทิ้ง Google จากการเป็น search engine หลักของ iOS โดยก่อนหน้านี้ Yahoo! ประสบความสำเร็จโดยได้เป็น search engine หลักของ Firefox ไปแล้ว และ Yahoo! ก็เป็นผู้ให้ข้อมูลหุ้นในแอพ Stocks บน iOS ด้วย
Firefox เคยออกเครื่องมือพัฒนาเว็บชื่อ WebIDE มีความสามารถดีบั๊กเว็บจากระยะไกล (remote debugging) โดยเบื้องต้นรองรับการทดสอบเว็บด้วย Firefox for Android และ Firefox OS ผ่านโพรโทคอล Firefox Developer Tools Protocol
ล่าสุด Mozilla ขยายฟีเจอร์การดีบั๊กระยะไกลโดยเพิ่ม Chrome, Chrome for Android, Safari for iOS ด้วย ดังนั้นนักพัฒนาเว็บสามารถเขียนเว็บและดีบั๊กด้วย WebIDE/Firefox Developer Tools ของ Firefox บนคอมพิวเตอร์ และส่งเว็บนั้นไปทดสอบบนเบราว์เซอร์อื่นๆ ข้างต้น โดยที่ยังสามารถ inspect ชิ้นส่วนต่างๆ ได้จาก Firefox ครับ (ดูวิดีโอประกอบ)
เว็บไซต์รีวิวฮาร์ดแวร์ชื่อดัง AnandTech ได้ทำการนำเอาเว็บเบราว์เซอร์หลัก ๆ ในตลาดมาทดสอบโดยการติดตั้งลงบนโน้ตบุ๊ก Dell XPS 15 ที่รันวินโดวส์ 8.1 64 บิต แล้วทำการจำลองการใช้เว็บเบราว์เซอร์แต่ละตัวด้วยซอฟต์แวร์ทดสอบอัตโนมัติที่เขียนขึ้นเอง เพื่อหาว่าจะใช้เวลากี่นาทีก่อนที่แบตเตอรี่จะเหลือเพียง 7%
สำหรับเว็บเบราว์เซอร์ที่เป็นเหยื่อการทดสอบครั้งก็มีดังนี้ครับ
ก่อนหน้านี้ แอพบน iOS ที่ต้องการจะแสดงผลข้อมูลอื่นๆ ผ่านเบราว์เซอร์ในตัวที่มากับแอพจะต้องใช้งานเบราว์เซอร์ตัวที่ช้ากว่า เนื่องจากแอปเปิลจำกัดการใช้งานเอนจินจาวาสคริปต์ Nitro ไว้ใช้งานกับเบราว์เซอร์ Safari เท่านั้น
ให้หลังการเปิดตัว iOS 8 นักพัฒนาพบว่าแอปเปิลเปิดให้สามารถเข้าถึงเอนจิน Nitro ได้แล้ว ทำให้นักพัฒนาที่ใช้งานเบราว์เซอร์ในแอพ หรือแม้แต่รายที่พัฒนาเบราว์เซอร์ลงบน iOS ได้ประสิทธิภาพการใช้งานที่สูงขึ้น
Huib Kleinhout นักพัฒนาของ Opera Coast บอกว่า WKWebView ตัวใหม่บน iOS 8 นั้นดูมีแววดีมาก แต่ความต่างระหว่างรุ่นก่อน จะเห็นได้ชัดเจนเมื่อเจอเว็บที่ใช้งานจาวาสคริปต์หนักๆ เท่านั้น รวมถึงต้องมีการทดสอบความเสถียร เพื่อปรับปรุงแก้ไขก่อนใช้งานจริงอีกที
ช่วงหลายปีที่ผ่านมานี้ เราเห็นโครงการพัฒนาด้านประสิทธิภาพการประมวลผล JavaScript ของเบราว์เซอร์ค่ายต่างๆ โดยโครงการที่โดดเด่นคือ asm.js ที่ริเริ่มจากฝั่ง Mozilla
ฝั่งของแอปเปิลที่สร้าง Safari อยู่บนโครงการ WebKit ก็มีความเคลื่อนไหวในเรื่องนี้เช่นกัน โดยใช้ชื่อโครงการว่า FTLJIT ย่อมาจาก (Fourth Tier LLVM JIT)
Francisco Tolmasky อดีตพนักงานของแอปเปิลผู้สร้าง Mobile Safari บน iPhone รุ่นแรก ออกมาเล่าประวัติศาสตร์ของการสร้าง iPhone ว่าเป็นอย่างไร
Tolmasky ถูกแอปเปิลจ้างมาเป็นพนักงานตั้งแต่อายุ 20 ปีและกำลังจะเรียนจบ เหตุเพราะเขาเป็นหนึ่งในชุมชนผู้พัฒนา WebKit ซึ่งตรงกับความต้องการของแอปเปิลที่จะนำ WebKit/Safari มารันบนมือถือ แต่เดือนแรกที่เขามาทำงาน สตีฟ จ็อบส์ พักร้อน 1 เดือน ทำให้เขาต้องรอจ็อบส์กลับมาสั่งงานว่าจะให้ทำอะไร
วันนี้แอปเปิลได้ออกอัพเดต Safari บน Mavericks เวอร์ชัน 7.0.3 ซึ่งมีรายละเอียดการปรับปรุง ดังนี้
สำหรับผู้ใช้ Mavericks สามารถดาวน์โหลด Safari 7.0.3 ได้จากหมวด Updates ใน App Store ครับ ส่วนผู้ใช้ Lion และ Mountain Lion มี Safari 6.1.3 ให้อัพเดตด้วยเช่นกัน
ก่อนหน้า Adobe ได้เริ่มใช้โหมด sandbox กับ Flash Player บนเบราว์เซอร์ เช่น Firefox, Chrome (1, 2) และทาง Adobe ก็ได้ทำงานร่วมกับแอปเปิลเพื่อเปิดใช้งาน Flash Player ในโหมด sandbox ด้วยเช่นกัน ในโอกาสที่แอปเปิลเปิดตัว OS X Mavericks ทาง Adobe ก็ได้อัพเดต Flash Player บน Safari ให้รองรับโหมด App Sandbox ของ OS X แล้ว
Adobe ต้องใช้โหมด sandbox กับ Flash Player เพราะ sandbox จะจำกัดความสามารถของซอฟต์แวร์ในการเข้าถึงคอมพิวเตอร์ โดยจะให้เข้าถึงเฉพาะในส่วนที่จำเป็นเท่านั้น เพื่อช่วยให้คอมพิวเตอร์มีความปลอดภัยมากยิ่งขึ้น
ออราเคิลออก Java 7u21 และ Java 6u45 บนแพลตฟอร์มอื่นๆ ไปแล้ว ทางฝั่งแอปเปิลที่ออก Java 6 เวอร์ชันของตัวเองบน OS X ก็อัพเดตตามเรียบร้อย (สำหรับผู้ที่ใช้ Java 7 ต้องอัพผ่านระบบของออราเคิลกันเองเหมือนระบบปฏิบัติการอื่นๆ)
อัพเดตของแอปเปิลตัวนี้ใช้ชื่อว่า Java for OS X 2013-003 (สำหรับ Lion ขึ้นไป) หรือ Java for Mac OS X 10.6 Update 15 (สำหรับ Snow Leopard) ผู้ใช้แมคที่ยังใช้ Java 6 ก็อัพเดตกันได้ผ่าน Software Update เพื่อความปลอดภัยครับ
ในโอกาสเดียวกัน แอปเปิลยังออก Safari 6.0.4 (Lion ขึ้นไป) และ Safari 5.1.9 (Snow Leopard) ซึ่งเพิ่มตัวเลือกการปิด Java เป็นรายเว็บไซต์ด้วย
วันนี้แอปเปิลออกอัพเดต OS X 10.8.3 และ Safari 6.0.3 เพื่อแก้ไขปัญหาและเพิ่มประสิทธิภาพหลายจุด
สำหรับ OS X มีรายการปรับปรุงหลายอย่าง ผมขอคัดมาเฉพาะที่สำคัญดังนี้
Don Melton อดีตผู้ริเริ่มโครงการ WebKit และ Safari ให้กับแอปเปิล (ปัจจุบันเขาไม่ได้อยู่กับแอปเปิลแล้ว) เขียนบล็อกเล่าความหลังถึงกระบวนการตั้งชื่อเว็บเบราว์เซอร์ตัวนี้
แอปเปิลเริ่มโครงการเบราว์เซอร์มาได้ระยะหนึ่ง ก่อนจะเปิดตัวต่อสาธารณะในเดือนมกราคม 2003 ซึ่งระหว่างการพัฒนาใช้ชื่อโครงการว่า "Alexander" และมีกระบวนการหาชื่อที่เหมาะสมอยู่เรื่อยๆ โดยช่วงกลางปี 2002 สตีฟ จ็อบส์ และทีมผู้บริหารก็เริ่มคิดชื่อที่น่าจะเหมาะสมออกมาหลายชื่อ ซึ่ง Melton ยอมรับว่าจำชื่อทั้งหมดไม่ได้เลย ยกเว้นชื่อ "Freedom" ที่สตีฟ จ็อบส์เป็นคนคิด แต่เขาคัดค้านชื่อนี้
บริษัท Chitika ออกรายงานส่วนแบ่งตลาดเบราว์เซอร์ บนระบบปฏิบัติการสำหรับอุปกรณ์พกพาอย่าง iOS และ Android พบว่าผู้ใช้ส่วนใหญ่ของทั้งสองระบบ นิยมใช้เบราว์เซอร์มาตรฐานเป็นหลัก
อย่างไรก็ตาม สิ่งที่น่าสนใจคือผู้ใช้ iOS กลับทดลองใช้เบราว์เซอร์ตัวอื่นๆ มากกว่า Android อยู่เล็กน้อย
รายงานชิ้นนี้วัดจากสถิติการท่องเว็บในสหรัฐและแคนาดา ใช้ข้อมูลจากเครือข่ายโฆษณาของ Chitika ระหว่างวันที่ 28 สิงหาคมถึง 4 กันยายน 2012
iOS
Android
นักพัฒนาค้นพบว่า Safari ใน iOS 6 ฝ่าฝืนข้อกำหนดของโปรโตคอล HTTP ด้วยการ cache หน้าเว็บที่ถูกเรียกด้วยเมท็อด POST ไว้ทั้งที่ไม่ควรจะทำ ซึ่งทำให้การแสดงผลหน้าเว็บผิดพลาดไปจากที่ควรจะเป็น
วิธีหรือเมท็อดที่ใช้ในการสื่อสารระหว่างเบราว์เซอร์กับเว็บเซิร์ฟเวอร์นั้นมีด้วยกันหลายชนิด แต่เมท็อดที่นิยมก็คือ GET และ POST ทั้งนี้การร้องขอหน้าเว็บโดยใช้เมท็อด GET ด้วยพารามิเตอร์เดิมนั้น มักจะได้หน้าเว็บที่เหมือนกันเสมอ ดังนั้นเมื่อเซิร์ฟเวอร์ส่งข้อมูลมาให้เบราว์เซอร์แล้ว เบราว์เซอร์มักจะเก็บ (cache) หน้าเว็บที่ได้มานั้นไว้ในเครื่อง เมื่อผู้ใช้เรียกหน้าเว็บเดิมด้วยพารามิเตอร์เดิมอีกครั้ง เบราว์เซอร์ก็จะแสดงหน้าเว็บที่เก็บไว้ในเครื่องเลยโดยไม่จำเป็นต้องร้องขอไปยังเซิร์ฟเวอร์อีกครั้งให้เสียเวลา
ข่าวภาคต่อของ กูเกิลอาจโดน FTC ปรับ โทษฐานละเมิดความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้ Safari ครับ สรุปคือกูเกิลยอมรับผิด จ่ายค่าปรับ 22.5 ล้านดอลลาร์ให้กับคณะกรรมการด้านการค้าของสหรัฐ (FTC) เป็นที่เรียบร้อย
ความสำคัญของข่าวนี้คือตัวเลข 22.5 ล้านดอลลาร์ถือเป็นค่าปรับสูงสุดเท่าที่ FTC เคยสั่งปรับมา ซึ่ง Jon Leibowitz ประธานของ FTC ก็ให้สัมภาษณ์ว่านี่เป็นสัญญาณที่ชัดเจนต่ออุตสาหกรรมออนไลน์ว่า ไม่ว่าจะเป็นบริษัทใหญ่แค่ไหนก็ต้องปฏิบัติตามระเบียบของ FTC เรื่องการรักษาความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้ ถ้ายอมปฏิบัติตามแต่โดยดีจะได้ไม่ต้องโดนปรับเยอะขนาดนี้และอาจต้องโดนปรับบ่อยๆ ถ้าผิดซ้ำอีก
หลังจากที่เปิดตัว Safari 6.0 ในระบบปฏิบัติการใหม่ของตัวเอง OS X Mountain Lion ล่าสุดแอปเปิลได้ถอดหน้าดาวน์โหลด Safari เวอร์ชันสำหรับวินโดวส์ออกจากเว็บตัวเองแล้ว โดยเวอร์ชันสุดท้ายที่ได้ปล่อยให้ดาวน์โหลดก่อนหน้านี้คือเวอร์ชัน 5.1.7
ก่อนหน้านี้ยอดการใช้งาน Safari ค่อนข้างต่ำ ในขณะที่ Chrome เว็บเบราว์เซอร์ที่ใช้เอนจิน WebKit เหมือนกันมีได้รับความนิยมมากกว่าหลายเท่า ตอนนี้ Safari จะกลายเป็นเบราว์เซอร์ที่สามารถใช้งานได้เฉพาะบนแพลทฟอร์มของแอปเปิลอย่างเดียว
ที่มา - AppleInsider
เมื่อวานนี้แอปเปิลออก Safari 6 พร้อมกับ OS X Mountain Lion ซึ่งก็สามารถใช้กับ OS X Lion ได้ด้วย
อย่างไรก็ตาม แอปเปิลยังไม่พูดอะไรเกี่ยวกับ Safari 6 for Windows ที่เป็นเวอร์ชันคู่ขนานกัน และมีผู้ใช้ไปค้นพบว่าแอปเปิลถอดลิงก์สำหรับดาวน์โหลด Safari 5 for Windows ออกจากเว็บไซต์ของตัวเองแล้วด้วย (ตัวไฟล์ยังอยู่และโหลดได้ถ้ารู้ direct link นะครับ) เลยเกิดกระแสคาดเดาว่าแอปเปิลอาจหยุดทำ Safari for Windows เสียแล้ว
ส่วนโครงการ WebKit ที่เป็นรากฐานของ Safari ยังออกรุ่น nightly build บนวินโดวส์อยู่เช่นเดิมครับ
แอปเปิลออก Safari รุ่นย่อย 5.1.7 แก้ปัญหาความปลอดภัยหลายจุด แต่ที่น่าสนใจที่สุดคือ Safari รุ่นนี้จะเริ่มเช็ค Flash Player ว่าเก่าเกินไปหรือไม่
ถ้าหากพบ Flash Player ที่เลขเวอร์ชันต่ำกว่า 10.1.102.64 (ออกเมื่อปลายปี 2010) ก็จะปิดการทำงานโดยย้ายไดเรคทอรีของไฟล์ปลั๊กอิน และเปิดหน้าเว็บดาวน์โหลด Flash Player ขึ้นมาให้แทน (ผู้ใช้สามารถย้ายไดเรคทอรีกลับคืนมาได้ถ้าอยากใช้ Flash รุ่นเก่าจริงๆ)
นโยบายใหม่ของแอปเปิลถือว่าน่าสนใจ เพราะช่วยอุดรูรั่วของปลั๊กอินเวอร์ชันเก่าๆ ได้มากขึ้น และทาง Adobe เองก็ออกมาสนับสนุนนโยบายใหม่นี้ของแอปเปิลเช่นกัน
ไม่ว่าจะชอบหรือไม่ชอบ Flash ก็อย่าลืมอัพเดตเวอร์ชันของ Flash Player กันบ่อยๆ นะครับ
บริษัท MajorSecurity ซึ่งเป็นบริษัทด้านความปลอดภัยได้ออกมาเปิดเผยถึงช่องโหว่ของเว็บเบราว์เซอร์ซาฟารีบน iOS 5.1 ที่ทำให้สามารถปลอมแปลงที่อยู่ใน Address Bar ให้ไม่ตรงกับเว็บไซต์ที่กำลังถูกแสดงอยู่ได้ด้วยคำสั่งใน JavaScript โดยถ้าเข้าลิงก์ตัวอย่างนี้ด้วย iPhone, iPad และ iPod touch ที่ติดตั้ง iOS เวอร์ชัน 5.1 และกดปุ่ม "Demo" จะพบว่าหน้าต่างของเว็บเบราว์เซอร์ที่ถูกเปิดขึ้นมาใหม่นั้นจะแสดงที่อยู่ของเว็บไซต์เป็น www.apple.com ทั้งๆ ที่เป็นหน้าเว็บของบริษัท MajorSecurity เอง