มีรายงานว่าซัมซุงอิเล็กทรอนิกส์ เตรียมประกาศว่าบริษัทได้รับอนุมัติเงินสนับสนุนราว 6-7 พันล้านดอลลาร์ จากรัฐบาลสหรัฐในโครงการสนับสนุนการตั้งโรงงานผลิตชิป CHIPS Act
เงินสนับสนุนนี้ ซัมซุงจะนำมาใช้ในโครงการก่อสร้างโรงงานเซมิคอนดักเตอร์ 4 แห่ง ในเมืองเทย์เลอร์ รัฐเท็กซัส ที่บริษัทมีแผนลงทุนประมาณ 1.7 หมื่นล้านดอลลาร์ เป็นทั้งโรงงานผลิตชิป โรงงานแพ็คเกจจิ้งชิป และศูนย์วิจัยพัฒนา
ทั้งนี้ซัมซุงปฏิเสธที่จะให้ความเห็นต่อรายงานดังกล่าว
มีรายงานว่า Applied Materials บริษัทผู้ผลิตเครื่องจักรสำหรับใช้ในการผลิตชิปรายใหญ่ของอเมริกา อาจเลื่อนหรือยกเลิกแผนก่อสร้างศูนย์วิจัยและพัฒนาแห่งใหม่ในซิลิคอนแวลลีย์ เนื่องจากอาจไม่ได้รับเงินสนับสนุนจากรัฐบาลสหรัฐ ตามกฎหมายส่งเสริมการผลิตชิปในประเทศ CHIPS Act
ก่อนหน้านี้ Applied Materials ประกาศแผนสร้างศูนย์วิจัยและพัฒนาแห่งใหม่ มูลค่าโครงการประมาณ 4 พันล้านดอลลาร์ คาดว่าจะสร้างงานประมาณ 2,000 ตำแหน่ง และอีกมากกว่าหมื่นตำแหน่งในส่วนที่เกี่ยวข้อง ซึ่งทาง Applied Materials ก็ได้ยื่นคำขอรับเงินสนับสนุนด้วย โดยบอกว่าเป็นสิ่งจำเป็น
Groq บริษัทพัฒนาชิปสำหรับประมวลผลปัญญาประดิษฐ์แบบ LLM โดยเฉพาะ ประกาศเลิกขายชิปให้กับลูกค้าทั่วไปแล้ว หลังยอมรับว่าขายยากเพราะลูกค้าต้องลงทุนสูง และตอนนี้ก็มีลูกค้าบนบริการคลาวด์จำนวนมาก
หากลูกค้าของ Groq ต้องการชิปจำนวนมากหลังจากนี้จะเป็นการเซ็นสัญญาร่วมกับศูนย์ข้อมูลเพื่อเข้าไปติดตั้งเซิร์ฟเวอร์ให้ลูกค้าใช้งานโดยเฉพาะ ตอนนี้มีลูกค้าแบบนี้คือ Aramco บริษัทน้ำมันจากซาอุดิอาระเบีย แต่มีข้อยกเว้นอยู่บ้างคือโครงการภาครัฐที่ยังซื้อชิปตรงได้
รัฐบาลสหรัฐประกาศข้อตกลงเบื้องต้น ให้เงินอุดหนุนสูงสุด 6,600 ล้านดอลลาร์ภายใต้กฎหมายสนับสนุนการตั้งโรงงานผลิตชิปในประเทศ CHIPS Act กับ TSMC บริษัทผู้ผลิตชิปรายใหญ่ของโลกจากไต้หวัน เพื่อสร้างโรงงานแห่งใหม่ในสหรัฐอเมริกา และมีเงินกู้เพิ่มเติมอีก 5,000 ล้านดอลลาร์
ภายใต้ข้อตกลงนี้ TSMC จะสร้างโรงงานแห่งที่ 3 ในเมืองฟีนิกซ์ รัฐแอริโซนา วงเงินลงทุน 65,000 ล้านดอลลาร์ คาดว่าจะสร้างงานทั้งการก่อสร้างและในโรงงานรวม 25,000 อัตรา และสร้างทางอ้อมจากซัพพลายเออร์อีกจำนวนมาก
ในข้อตกลงนี้ยังมีการลงทุนเป็นเงินอีก 50,000 ล้านดอลลาร์ เพื่อสนับสนุนการฝึกอบรมและพัฒนาแรงงานในพื้นที่ ทำให้แรงงานไม่ต้องย้ายพื้นที่ไปทำงานด้านนวัตกรรมที่ค่าแรงสูงในเมืองอื่น
SK hynix ประกาศลงทุนเป็นเงินประมาณ 3,870 ล้านดอลลาร์ ตั้งโรงงานแพ็คเกจจิ้งชิปขั้นสูง ตลอดจนศูนย์วิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ AI ในเมือง West Lafayette รัฐอินดีแอนา
โรงงานแห่งนี้จะมีสินค้าหลักที่ผลิตคือหน่วยความจำ HBM ตลอดจนชิป DRAM ซึ่งถือเป็นสินค้าสำคัญในการประมวลผล AI ยุคนี้ คาดว่าจะเริ่มเดินสายการผลิตได้ในครึ่งหลังของปี 2028 ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากทางรัฐ และหน่วยงานท้องถิ่น
SK Hynix ยังประกาศย้ำแผนลงทุนในเกาหลีใต้วงเงิน 122 ล้านล้านวอน ในเขตอุตสาหกรรม Yongin ที่ประกาศไปในเดือนมกราคม
อินเทลประกาศเปลี่ยนแปลงการรายงานข้อมูลผลประกอบการทางการเงิน เพื่อให้สอดคล้องกับทิศทางบริษัทปัจจุบัน IDM 2.0 ซึ่งโรงงานผลิตชิปของอินเทลจะรับผลิตชิปให้ลูกค้าภายนอกด้วย รูปแบบการรายงานแบบใหม่นี้จะสะท้อนความสามารถของธุรกิจผลิตชิป Intel Foundry มากขึ้น
การเปลี่ยนแปลงในตัวเลขผลประกอบการจะแบ่งเป็น 3 กลุ่มธุรกิจ ดังนี้
รัฐบาลญี่ปุ่นประกาศให้เงินสนับสนุนสูงสุด 5.9 แสนล้านเยน (1.4 แสนล้านบาท) กับ Rapidus บริษัทด้านการผลิตชิปของญี่ปุ่น เพื่อสร้างโรงงานผลิตชิปขั้นสูงในประเทศ โดยบริษัทมีแผนก่อสร้างโรงงานที่ฮอกไกโด กำหนดเปิดในปี 2027 ซึ่งเป็นความร่วมมือกับ IBM และบริษัทวิจัยจากเบลเยียม Imec
รัฐมนตรีเศรษฐกิจของญี่ปุ่นบอกว่าเงินสนับสนุนนี้มีความสำคัญ เพื่อให้อุตสาหกรรมการผลิตชิปในญี่ปุ่นสามารถแข่งขันกับตลาดโลกได้
เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา TSMC บริษัทผู้ผลิตชิปรายใหญ่จากไต้หวัน ก็เพิ่งเปิดโรงงานแห่งแรกในญี่ปุ่น และเตรียมเปิดโรงงานเพิ่มอีกแห่ง ซึ่งได้รับเงินสนับสนุนจากรัฐบาลญี่ปุ่นเช่นกัน
Sony Semiconductor Solutions ประกาศเปิดโรงงานแห่งใหม่ในนิคมอุตสาหกรรมบางกระดี ด้วยเม็ดเงินลงทุนราว 10,000 ล้านเยนหรือราว 2,400 ล้านบาท ใช้เป็นฐานการผลิตเซ็นเซอร์ภาพ (image & sensing) , Micro OLED สำหรับจอขนาดเล็ก เช่น viewfinder ของกล้องหรือแว่น AR/VR, Laser Diode สำหรับหัวอ่าน HDD และชิปขนาดใหญ่ เสริมจากไลน์การผลิตเซ็นเซอร์ภาพที่มีอยู่แล้ว
ที่งาน GTC 2024 TSMC และ Synopsys ประกาศเตรียมใช้ไลบรารี NVIDIA cuLitho ในสายการผลิตชิปจริง หลังจาก NVIDIA เปิดตัวเทคโนโลยีนี้มาตั้งแต่ปีที่แล้ว โดยคาดว่าจะทำให้ระยะเวลาออกแบบชิปลดลง และประหยัดพลังงานระหว่างการออกแบบไปมาก
cuLitho ช่วยในการออกแบบพิมพ์เขียวสำหรับการออกแบบชิปที่เทคโนโลยีขนาดเล็กมากๆ เนื่องจากมีความผิดพลาดจากการเลี้ยวเบนของแสง ทำให้ต้องคำนวณปรับแก้ เรียกกระบวนการนี้ว่า optical proximity correction (OPC) หรือ inverse lithography technology (ILT) กระบวนการนี้กินพลังประมวลผลสูงมาก ปัจจุบันซอฟต์แวร์รันบนซีพียู 40,000 ตัว การใช้ cuLitho ทำให้สามารถรัน OPC ด้วยชิป H100 เพียง 350 ตัวเท่านั้น และการทำงานยังเร็วขึ้นเท่าตัว
Kye-Hyun Kyung ซีอีโอร่วมของซัมซุง เปิดเผยว่าธุรกิจแพ็กเกจจิ้งชิปจะมีรายได้ในปีนี้มากกว่า 100 ล้านดอลลาร์ ซึ่งส่วนธุรกิจแพ็กเกจจิ้งชิปนี้ ซัมซุงได้จัดตั้งแยกออกมาเมื่อปีที่แล้ว และคาดว่าจะทำให้กำไรภาพรวมของซัมซุงเพิ่มขึ้นด้วย
ปัจจุบันชิป DRAM เป็นธุรกิจเซมิคอนดักเตอร์ที่โดดเด่นของซัมซุง มีส่วนแบ่งการตลาดทั่วโลกถึง 45% ซึ่งทำให้ซัมซุงต้องรักษาความแข็งแกร่งนี้ด้วยการผลิตชิปหน่วยความจำแบนด์วิดท์สูง (HBM) รองรับงาน AI โดยเวอร์ชันล่าสุดสามารถซ้อนชิปหน่วยความจำได้ถึง 12 ชั้น เรียกชื่อว่า HBM3E และเตรียมออกรุ่นใหม่ HBM4 ที่แบนด์วิดท์มากขึ้นอีกในปี 2025
รัฐบาลสหรัฐอนุมัติเงินอุดหนุนภายใต้กฎหมาย CHIPS Act เพื่อส่งเสริมการตั้งโรงงานผลิตชิปในประเทศ โดยคราวนี้ให้เงินกับอินเทลเบื้องต้นสูงสุด 8,500 ล้านดอลลาร์ สำหรับโครงการสร้างโรงงานและศูนย์วิจัยใน Arizona, New Mexico, Ohio และ Oregon นอกจากนี้อินเทลยังอาจขอรับเงินกู้เพิ่มเติมได้อีก 11,000 ล้านดอลลาร์
อินเทลบอกว่าเงินอุดหนุนนี้ จะนำมาใช้กับโครงการที่อินเทลประกาศไปก่อนหน้า เพื่อลงทุนมากกว่า 1 แสนล้านดอลลาร์ ในสหรัฐอเมริกาในอีก 5 ปีข้างหน้า เพื่อรองรับการผลิตชิป ตามความต้องการในด้านต่าง ๆ รวมทั้ง AI ซึ่งอินเทลคาดว่าจะสร้างงานได้มากกว่า 10,000 อัตรา และงานด้านการก่อสร้าง 20,000 อัตรา ตลอดจนสร้างงานทางอ้อมกว่า 50,000 ตำแหน่ง จากส่วนสนับสนุนและซัพพลายเออร์ที่เกี่ยวข้อง
Jensen Huang ซีอีโอ NVIDIA เข้าร่วมงานสัมมนา Economic Policy Research Summit ที่จัดโดย Stanford University โดยตอบคำถามจากผู้ร่วมงานว่า เขาคิดว่าจะใช้เวลาอีกกี่ปีจึงจะมี AI ที่สามารถคิดได้แบบมนุษย์ทุกอย่าง
Huang บอกว่าคำถามนี้ค่อนข้างกว้าง อยู่ที่เรามองเป้าหมายไว้ขนาดไหน แต่ถ้าตีกรอบว่า AI นั้นต้องสามารถทำแบบทดสอบทุกอย่างที่มนุษย์มีได้ทั้งหมด น่าจะอีกไม่เกิน 5 ปี ตอนนี้ AI สามารถทำข้อสอบหลายวิชาได้ดีเท่ามนุษย์แล้ว แต่บางวิชาก็ยัง
เขายังเสริมว่า หากพูดถึงการมี AI ที่ทำงานได้ทุกอย่างแทนมนุษย์ (AGI - Artificial General Intelligence) อาจจะต้องใช้เวลานานกว่านั้น เพราะยังมีความเห็นต่างว่าไม่ว่ายังไงคอมพิวเตอร์ก็ไม่สามารถเลียนแบบการคิดของสมองมนุษย์ได้
อินเทลประกาศในงาน Intel Foundry Direct Connect 2024 ระบุว่ามีแผนเดินสายการผลิตชิปที่เทคโนโลยี 1nm หรือ 10A ในช่วงปลายปี 2027
แผนการผลิตของอินเทลยังแสดงให้เห็นว่ากำลังผลิตชิปในกลุ่ม EUV ได้แก่ Intel 4, Intel 3, Intel 20A, และ Intel 18A จะค่อยๆ เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนกลายเป็นกำลังผลิตส่วนใหญ่ (นับแผ่นเวเฟอร์ต่อสัปดาห์) ภายในปี 2026
นอกจากประเด็นเทคโนโลยีการผลิตชิปแล้ว อินเทลยังเตรียมเร่งกำลังการทำแพ็กเกจชิปขึ้นอย่างรวดเร็วในปี 2024 นี้ โดยเทคโนโลยีการแพ็กเกจกลุ่มนี้ได้แก่ Foveros, EMIB, SIP, และ HBI (hybrid bond interconnect) เทคโนโลยีการแพ็กเกจระดับสูงเหล่านี้ก็เป็นจุดสำคัญสำหรับการผลิตชิปประสิทธิภาพสูงๆ รุ่นใหม่
TSMC บริษัทรับผลิตชิปจากไต้หวัน ได้ทำพิธีเปิดโรงงานแห่งแรกในประเทศญี่ปุ่นเมื่อวานนี้ (24 กุมภาพันธ์) โดยโรงงานตั้งอยู่ที่จังหวัด Kumamoto ในชื่อ JASM (Japan Advanced Semiconductor Manufacturing) เป็นบริษัทร่วมทุนที่ TSMC ถือหุ้นใหญ่ ร่วมด้วยบริษัทญี่ปุ่นคือ Sony Semiconductor และ Denso
โรงงานแห่งนี้ประกาศโครงการตั้งแต่ปี 2021 เริ่มก่อสร้างในปี 2022 โดยได้รับเงินสนับสนุนเพิ่มเติมจากรัฐบาลญี่ปุ่น รองรับการผลิตชิปเทคโนโลยี 12/16/22/28 นาโนเมตร จะเป็นโรงงานผลิตชิปที่เทคโนโลยีก้าวหน้าที่สุดในญี่ปุ่น คาดว่าจะสร้างงานได้ 1,700 ตำแหน่ง เมื่อเริ่มการผลิตเต็มกำลังในสิ้นปีนี้
อินเทลประกาศเซ็นสัญญากับไมโครซอฟท์ โดยธุรกิจรับจ้างผลิตชิป Intel Foundry จะรับงานผลิตชิปของไมโครซอฟท์ ด้วยกระบวนการผลิต Intel 18A
ตอนนี้ไมโครซอฟท์ยังไม่ระบุรายละเอียดว่าเป็นชิปอะไร (เช่น ชิปสำหรับพีซี Surface, ชิป Xbox รุ่นหน้า หรือชิปเร่งความเร็ว AI) บอกเพียงว่าเลือก Intel Foundry เพราะความก้าวหน้าในกระบวนการผลิต และคุณภาพของการผลิตเซมิคอนดักเตอร์
ช่วงหลัง Intel Foundry ทยอยเปิดตัวลูกค้าแบรนด์ดังหลายรายที่เตรียมจ้างอินเทลผลิตชิปให้ เช่น MediaTek, Ericsson เป็นต้น
อินเทลประกาศแผนการผลิตชิปที่ระดับ 14A ในช่วงราวๆ ปี 2026 และ 14A-E ในปี 2027 โดยจะเป็นกระบวนการขั้นผลิตระดับถัดจาก Intel 18A ในปี 2025 ที่เคยประกาศไว้ก่อนหน้านี้
อินเทลในยุคของ Pat Gelsinger เคยประกาศแผนการอัพเกรดกระบวนการผลิตชิป 5 ขั้นใน 4 ปี (5N4Y คนละอย่างกับในวันพีซ) ไว้เมื่อปี 2021 โดยเริ่มจาก Intel 7 (2022), Intel 4 (2023), Intel 3 (2023), Intel 20A (2024) แล้วมาจบที่ Intel 18A (2025)
ประกาศรอบนี้ถือเป็นแผนการภาคถัดไปของอินเทล ที่จะออก Intel 14A ในปี 2026 โดยใช้เครื่องจักร High-NA EUV ของบริษัท ASML เป็นรายแรก
รัฐบาลสหรัฐได้อนุมัติเงินอุดหนุน 1,500 ล้านดอลลาร์ ภายใต้กฎหมาย CHIPS Act กับ GlobalFoundries เพื่อตั้งโรงงานผลิตชิปรองรับความต้องการในสหรัฐอเมริกา นอกจากนี้บริษัทยังได้รับเงินสนับสนุนเพิ่มอีกกว่า 600 ล้านดอลลาร์ จากรัฐนิวยอร์ก เพื่อตั้งและขยายโรงงานในพื้นที่ ทั้งนี้ GlobalFoundries จดทะเบียนสำนักงานใหญ่อยู่ที่นิวยอร์ก
Renesas Electronics บริษัทผู้ผลิตชิปจากญี่ปุ่น ประกาศแผนซื้อกิจการ Altium บริษัทซอฟต์แวร์สำหรับงานออกแบบวงจรอิเล็กทรอนิกส์จากออสเตรเลีย ที่มูลค่าดีล 9,100 ล้านดอลลาร์ออสเตรเลีย หรือประมาณ 2.1 แสนล้านบาท ซึ่งเป็นดีลซื้อกิจการบริษัทในออสเตรเลียที่ใหญ่ที่สุด จากบริษัทญี่ปุ่น
Hidetoshi Shibata ซีอีโอ Renesas กล่าวว่าเนื่องจาก Altium มีความเชี่ยวชาญในซอฟต์แวรสำหรับการออกแบบ PCB ดีลนี้จะทำให้กระบวนการออกแบบสินค้าอิเล็กทรอนิกส์สำหรับลูกค้ามีความคล่องตัวและรวดเร็วมากขึ้น ทั้งนี้ดีลดังกล่าวจะต้องได้รับการอนุมัติจากหน่วยงานกำกับดูแลในออสเตรเลียด้วย
ตัวเลขนั้นพิมพ์ถูกต้องแล้ว ซึ่งรายงานนี้มาจาก The Wall Street Journal อ้างแหล่งข่าวที่เกี่ยวข้องว่า Sam Altman ซีอีโอ OpenAI ได้เริ่มพูดคุยกับนักลงทุนหลายราย รวมทั้งรัฐบาลของ UAE, Masayoshi Son ซีอีโอ SoftBank ไปจนถึงตัวแทนของ TSMC เพื่อให้ร่วมลงทุนในบริษัทใหม่ เป้าหมายคือปรับเปลี่ยนอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ใหม่ทั้งหมด เน้นไปที่การพัฒนาชิปประมวลผลสำหรับ AI
รายงานบอกว่าตัวเลขที่ Altman เสนอสำหรับโครงการนี้ คือเงินลงทุนที่สูงถึง 5 ล้านล้าน จนถึง 7 ล้านล้านดอลลาร์ ถ้าคิดเป็นเงินไทยก็คือ 1.8-2.5 ร้อยล้านล้านบาท
TSMC ประกาศตั้งโรงงานผลิตชิปแห่งที่สองในญี่ปุ่น ตั้งอยู่ที่จังหวัด Kumamoto เช่นเดียวกับโรงงานแห่งแรก มีกำหนดเริ่มก่อสร้างช่วงปลายปี 2024 และมีเป้าหมายเดินสายการผลิตในปี 2027 ส่วนโรงงานแห่งแรกจะเริ่มเดินสายการผลิตภายในปี 2024 นี้
บริษัทของ TSMC ในญี่ปุ่นมีชื่อว่า Japan Advanced Semiconductor Manufacturing (JASM) มี TSMC เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ 86.5% และมี Sony, Denso, Toyota ร่วมถือหุ้นด้วยในสัดส่วน 6%, 5.5%, 2% ตามลำดับ
เมื่อโรงงานทั้งสองแห่งเดินสายการผลิตแล้ว จะมีกำลังการผลิตรวมกันที่ 100,000 แผ่นเวเฟอร์ต่อเดือน มีการจ้างงานพนักงานไฮเทคในญี่ปุ่น 3,400 ตำแหน่ง
ที่มา - TSMC
อินเทลประกาศความร่วมมือกับ UMC บริษัทผลิตชิปจากไต้หวัน พัฒนาสายการผลิต 12 นาโนเมตร FinFET ที่โรงงานในรัฐแอริโซนา สายการผลิตใหม่นี้จะใช้เครื่องจักรเดิมจำนวนมาก และเน้นให้บริการผลิตชิปจำนวนมากสำหรับลูกค้าภายนอก คาดว่าจะเริ่มเดินสายการผลิตได้จริงปี 2027
UMC นั้นให้บริการผลิตชิปจากโรงงานในไต้หวันมานาน และมีจุดเด่นที่ชุดพัฒนา Process Design Kit (PDK) พร้อมกับบริการช่วยเหลือในการออกแบบชิป ทำให้ครองตลาดกลุ่มยานยนต์, อุตสาหกรรม, ชิปแสดงผล, และชิปสื่อสาร ได้มาก โดยปัจจุบัน UMC มีโรงงาน 12 แห่ง รวมกำลังผลิต 880,000 เวเฟอร์ (เทียบเท่าเวเฟอร์ 8 นิ้ว) ต่อเดือน
เว็บไซต์ DigiTimes ที่รายงานข้อมูลด้านซัพพลายเชนเปิดเผยว่า แอปเปิลจะเป็นบริษัทแรกที่ได้รับส่งมอบชิปเทคโนโลยี 2 นาโนเมตร จาก TSMC ซึ่งเป็นลูกค้ารายแรกที่ทำคำสั่งซื้อชิปเทคโนโลยีใหม่นี้
TSMC คาดว่าจะเริ่มสายการผลิตชิป 2 นาโนเมตรได้ตั้งแต่ครึ่งหลังของปี 2025 ก่อนหน้านี้แอปเปิลก็เป็นลูกค้ารายแรกที่ได้ชิปเทคโนโลยีล่าสุด 3 นาโนเมตร ของ TSMC ซึ่งมีใช้งานแล้วใน iPhone 15 Pro (A17 Pro) และชิปตระกูล M3 ใน Mac
Pat Gelsinger ซีอีโอของอินเทล ให้สัมภาษณ์กับ CNBC ว่าโรงงานที่อินเทลกำลังสร้างในเมือง Madeburg ประเทศเยอรมนี จะเป็นโรงงานที่มีกระบวนการผลิตชิปก้าวหน้าที่สุดในโลกเมื่อสร้างเสร็จ ผลิตชิปที่ความแม่นยำระดับ 1.5nm ซึ่งไปไกลกว่ากระบวนการผลิตชิป 18A (sub-2nm) ของอินเทลที่เคยประกาศเอาไว้
Gelsinger ยังไม่เปิดเผยรายละเอียดของกระบวนการผลิตชิปยุคถัดจาก 18A ในตอนนี้ (เคยมีข่าวลือว่ามันจะเรียก 16A หรือ 14A) แต่ถ้าแผนการของอินเทลเป็นไปตามที่คิด โรงงานแห่งนี้จะทำให้ยุโรปกลายเป็นจุดผลิตชิปที่ก้าวหน้าที่สุดในโลกได้เป็นครั้งแรกในรอบหลายสิบปี
ที่มา - CNBC YouTube
TSMC ประกาศว่าโรงงานผลิตชิปแห่งที่สองในรัฐแอริโซนา จะเลื่อนกำหนดเปิดออกไปตามแผนเดิมที่กำหนดเปิดในปี 2026 ออกไปเป็นปี 2027 หรือ 2028 ซึ่งเหมือนกับโรงงานแห่งแรกที่แผนเดิมกำหนดเปิด 2024 ก็ประกาศเลื่อนออกไปเป็น 2025
นอกจากนี้ TSMC ยังบอกว่าโรงงานแห่งที่สองนั้น จากแผนเดิมที่ใช้เป็นโรงงานผลิตชิปขั้นสูง 3 นาโนเมตร อาจปรับมาผลิตชิปขนาดใหญ่ขึ้นแทนด้วย
Mark Liu ประธาน TSMC บอกว่าการตัดสินใจทิศทางของโรงงานแห่งที่สองนั้นจะขึ้นกับสถานการณ์ความต้องการสินค้าในตลาด และวงเงินที่รัฐบาลสหรัฐให้การช่วยเหลือและสนับสนุน
Synopsys บริษัทผู้สร้างซอฟต์แวร์ออกแบบวงจรอิเล็กทรอนิกส์ ประกาศซื้อกิจการ Ansys บริษัทซอฟต์แวร์ด้านซิมูเลชันสำหรับงานวิศวกรรม มูลค่าดีลรวมประมาณ 35,000 ล้านดอลลาร์ โดยผู้ถือหุ้น Ansys เดิม จะได้ผลประโยชน์เป็นเงินสดและหุ้นของ Synopsys
ดีลดังกล่าว Synopsys คาดว่าจะเสร็จสิ้นภายในครึ่งแรกของปี 2025 เนื่องจากต้องได้รับการอนุมัติจากหน่วยงานกำกับดูแลที่เกี่ยวข้อง